ก
ก รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา สำนักงานปลัดประทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ก คำนำ ตามความในพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 16 วรรค 5 กล่าวว่า “เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติ ราชการประจำเสนอต่อผู้บริหาร” ดังนั้น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา จึงได้จัดทำรายงานผล การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ซึ่งมีผลการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 30 โครงการ ที่ดำเนินการร่วมกับจังหวัดพะเยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในฐานะผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค รวมเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 22,930,292.45 บาท มีผลการดำเนินงานในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 99.98 รายละเอียดของรายงานผลการดำเนินงานประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมหน่วยงาน ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยาจำแนกตามประเด็นยุทธศาสตร์ และ ส่วนที่ 3 รายงานการใช้งบประมาณ รายงานผลการดำเนินงานประจำปีฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารของสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดพะเยา และได้รับการอนุเคราะห์ข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานจากผู้รับผิดชอบโครงการบุคลากร ภายในหน่วยงานทุกกลุ่ม จึงส่งผลให้รายงานผลการดำเนินงานฉบับนี้บรรลุผลสำเร็จ และครบถ้วนทุกโครงการ จึงขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมา ณ โอกาสนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานผลการดำเนินงานฉบับนี้จะเป็น ประโยชน์ในเชิงวิชาการสำหรับหน่วยงานทางการศึกษา หน่วยงานเอกชน ตลอดจนผู้สนใจในการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไป สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ตุลาคม 2566
ข บทสรุปผู้บริหาร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้กำหนด กรอบเป้าหมายการบริหารจัดการภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า การลดขั้นตอนการให้บริการ และการอำนวยความสะดวกเพื่อประโยชน์ของประชาชนผู้รับบริการเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ในรายละเอียดของหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้กำหนดว่า ก่อนการดำเนินการงานใดจะต้องมีแผนปฏิบัติ งานล่วงหน้าที่สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงาน และตอบสนองต่อความสำเร็จของเป้าหมายหน่วยงาน ต้นสังกัดและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน และยังต้องมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลเพื่อปรับปรุงภารกิจงานให้ทันต่อเหตุการณ์และสภาพ ของความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และมาตราที่ 16 วรรคท้าย ได้ระบุไว้ว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการ จัดทำรายงานและผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการ ในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยาเสนอต่อผู้บริหาร หน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบและประชาสัมพันธ์ ให้สาธารณชนที่สนใจได้รับทราบ 2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานในปีงบประมาณต่อไป ส่วนประกอบรายละเอียดในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมหน่วยงาน ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงาน ส่วนที่ 3 รายงานการใช้งบประมาณ รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ได้เชื่อมโยงข้อมูลสู่ระบบติดตาม และประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and country Reform : eMENSCR) ตามระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.2562 เพื่อสรุปรวบรวมผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา โดยมีสาระสำคัญตามแผนปฏิบัติ ราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา (ฉบับปรับปรุง ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ครั้งที่ 1) ทั้งนี้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ได้ดำเนินงาน ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นงบดำเนินงาน งบลงทุนและงบ รายจ่ายอื่น จำนวน 28 โครงการ เป็นเงินจำนวน 5,987,413.45 บาท มีผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 100 งบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 1 โครงการ เป็นเงินจำนวน 500,213 บาท มีผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 98.91 งบประมาณจากจังหวัดพะเยา จำนวน 1 โครงการ
ค เป็นเงิน จำนวน 142,080 บาท มีผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 100 และเงินอุดหนุนโครงการอาหารเสริม นมของนักเรียนโรงเรียนเอกชน จำนวน 16,300,586 บาท มีผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 100 รวมงบประมาณที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยาได้ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 22,930,292.45 บาท มีผลการดำเนินงานในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 99.98 สรุปแผนงาน/โครงการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำแนกตามประเด็นยุทธศาสตร์6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคม จำนวน 2 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ 2. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา จังหวัดพะเยา ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากำลังคนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จำนวน 1 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่อง เชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ จำนวน 10 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการนิเทศการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. โครงการยกย่องผู้มีผลงานดีเด่นต่อการพัฒนากิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ 3. โครงการโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 4. โครงการส่งเสริมระเบียบวินัยลูกเสือ – เนตรนารี ประจำปี 2566 5. โครงการนิเทศกิจกรรมยุวกาชาดในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566 6. โครงการส่งเสริมการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย ประจำปี 2566 7. โครงการอาสาสมัคร กระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 8. โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 9. โครงการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ จังหวัดพะเยา ประจำปี 2566 10. โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา จำนวน 6 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการจัดทำฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน เป้าหมายของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา SDG4 จังหวัดพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อเด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา จังหวัดพะเยา
ง 3. โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่ จังหวัดพะเยา ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 4. โครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนเอกชนในระบบ ประจำปีงบประมาณ 2566 5. โครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชนนอกระบบ 6. โครงการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการศึกษาจังหวัด โดยผ่าน กลไก กศจ. ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ จำนวน 8 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของจังหวัดพะเยา และของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา 2. โครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา 3. โครงการตรวจติดตามการบริหารจัดการงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประจำปีงบประมาณ 2566 4. โครงการตรวจ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 5. โครงการประชุมเครือข่ายพัฒนาการศึกษาเอกชน จังหวัดพะเยา ประจำปีงบประมาณ 2566 6. โครงการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนเอกชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 7. โครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 8. โครงการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา จากผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ส่งผลให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา มีผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐด้านการเปิดเผย ข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency : OIT) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2566 ระดับ AA และผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับคุณภาพ (100 คะแนน)
จ สารบัญ หน้า คำนำ ก บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ข สารบัญ จ ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมหน่วยงาน 1 ทำเนียบผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ปี 2566 1 ภารกิจและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย 2 วิสัยทัศน์ พันธกิจ 2 ค่านิยม 3 เป้าประสงค์รวม 4 ยุทธศาสตร์ 5 โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ 6 อัตรากำลัง 7 ข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2565 8 ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงาน 14 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง 17 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากำลังคนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 21 ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ 24 ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 35 ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 42 ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ 44 ส่วนที่ รายงานการใช้งบประมาณ 52 สรุปการใช้งบประมาณ 52 ภาคผนวก คณะผู้จัดทำ
ฉ
1
2
3
4
5
6
7
8 ข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2565 ข้อมูลจำนวนสถานศึกษา นักเรียน นักศึกษา ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ตารางที่1 จำนวนสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 สังกัด แห่ง รวมทั้งหมด 391 กระทรวงศึกษาธิการ - สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 9 - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 42 - สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา) 229 - สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ) 2 - สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 8 กระทรวงมหาดไทย - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 86 สำนักนายกรัฐมนตรี - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ - กองพุทธศาสนสถาน 9 กระทรวงสาธารณสุข - สถาบันพระบรมราชชนก 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3
9 ตารางที่2 จำนวนสถานศึกษา จำแนกตามสังกัด และประเภทการศึกษา ปีการศึกษา 2565 สังกัด แห่ง รวมทั้งหมด 391 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ - สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา 9 - สมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดพะเยา • ประเภทสามัญศึกษา 14 • ประเภทการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา 4 • ประเภทการศึกษาสงเคราะห์ 3 • เอกชนนอกระบบ 21 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 80 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 131 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 18 - ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา 1 - โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 24 1 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา - มหาวิทยาลัยพะเยา 1 - มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา 1 - โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยพะเยา 1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา - สถานศึกษาของรัฐ 5 - สถานศึกษาของเอกชน 3 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 70 - โรงเรียนเทศบาล 16 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - โรงเรียน ตชด.เบ็ตตี้ ดูเมน 1 - ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน.อินทรีอาสา(บ้านห้วยปุ้ม) 1 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ - โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 9 กระทรวงสาธารณสุข - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 1
10 ตารางที่3 จำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษา ปีการศึกษา 2565 สังกัด คน รวมทั้งหมด 89,596 กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 4,973 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 8,825 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา) 38,092 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ) 1,229 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 21,666 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 5,479 กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 7,980 สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 161 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กองพุทธศาสนสถาน 788 กระทรวงสาธารณสุข สถาบันพระบรมราชชนก 403
11 ตารางที่4 จำนวนนักเรียน นักศึกษา จำแนกตามสังกัด และประเภทสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 สังกัด คน รวมทั้งหมด 89,596 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ - สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา 4,973 - สมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดพะเยา 8,825 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 14,756 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 8,639 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 14,697 - ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา 287 - โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 942 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา - มหาวิทยาลัยพะเยา 20,600 - มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา 282 - โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยพะเยา 784 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา - สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพะเยา 5,479 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4,226 - โรงเรียนเทศบาล 3,754 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - โรงเรียน ตชด.เบ็ตตี้ ดูเมน 104 - ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน.อินทรีอาสา(บ้านห้วยปุ้ม) 57 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ - โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 788 กระทรวงสาธารณสุข - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 403
12 ตารางที่5 จำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษา จำแนกตามระดับ และประเภทการศึกษา ปีการศึกษา 2565 ระดับการศึกษา จำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งหมด 89,596 การศึกษาในระบบ 84,623 ระดับก่อนประถมศึกษา 12,822 เตรียมความพร้อม 4,513 อนุบาล 1 1,419 อนุบาล 2 3,317 อนุบาล 3 3,573 ระดับประถมศึกษา 23,937 ประถมศึกษาปีที่ 1 3,606 ประถมศึกษาปีที่ 2 3,722 ประถมศึกษาปีที่ 3 3,975 ประถมศึกษาปีที่ 4 4,279 ประถมศึกษาปีที่ 5 4,239 ประถมศึกษาปีที่ 6 4,116 ระดับมัธยมศึกษา 26454 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 12,157 มัธยมศึกษาปีที่ 1 4,062 มัธยมศึกษาปีที่ 2 4,038 มัธยมศึกษาปีที่ 3 4,057 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 14,297 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สามัญศึกษา) 8,943 มัธยมศึกษาปีที่ 4 3,179 มัธยมศึกษาปีที่ 5 2,878 มัธยมศึกษาปีที่ 6 2,886 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (อาชีวศึกษา) 5,354 ระดับ ปวช. 3,722 ระดับ ปวส. 1,632 ระดับอุดมศึกษา 21,500 อนุปริญญา 26 ปริญญาตรี 20,430 ปริญญาตรีควบปริญญาโท - ปริญญาโท 758 ปริญญาเอก 196 การศึกษานอกระบบ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา 4,973
13 ตารางที่6 จำนวนครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จำแนกตามสังกัด ปีการศึกษา 2565 สังกัด จำนวน รวมทั้งหมด 5,535 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ - สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา 45 - สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา 218 - สมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดพะเยา** 531 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน* - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 992 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 993 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 1,542 - ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา 49 - โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา 104 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา - มหาวิทยาลัยพะเยา โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยพะเยา 78 - มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา 62 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา - สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพะเยา 315 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น *** - สถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 399 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ - โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา 134 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ*** - โรงเรียน ตชด.เบ็ตตี้ ดูเมน 13 - ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน.อินทรีอาสา(บ้านห้วยปุ้ม) 7 กระทรวงสาธารณสุข - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 53
14
15
16
17 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุ ความสำเร็จ ผู้ รับผิดชอบ 1.โครงการสร้างและ ส่งเสริมความเป็นพลเมือง ดีตามรอยพระยุคลบาท ด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ (งบประมาณ 220,000 บาท) ร้อยละ 100 ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับ ความรู้ เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ของพระมหากษัตริย์ไทยและพระมหา กรุณาธิคุณที่มีต่อประชาชนชาวไทย สถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 แห่ง จำนวนนักเรียน 900 คน จำนวน 3 รุ่นๆละ 300 คน บรรลุ กลุ่มลูกเสือฯ (นางเพียรทอง เวียงนาค) ร้อยละ 100 ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับ การส่งเสริมให้มีทัศนคติที่ถูกต้อง ต่อบ้านเมืองมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง เข้มแข็ง มีคุณธรรม มีอาชีพ มีงานทำ และเป็นพลเมืองดี นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 3 แห่ง ได้มีทัศคติที่ดี มีคุณธรรม มีอาชีพ มีงานทำ และเป็นพลเมืองดี บรรลุ ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ นวัตวิถีของท้องถิ่นและชุมชน นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ วัตวิถีของท้องถิ่นและชุมชน ตามจำนวน 6 แห่ง บรรลุ 2.โครงการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติดใน สถานศึกษา จังหวัดพะเยา (งบประมาณ 22,000 บาท) ร้อยละ 90 สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและ อบายมุขไม่มีนักเรียนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ ยาเสพติดและอบายมุข สถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ 22 แห่ง ทั้ง 22 แห่ง ไม่มีนักเรียนเข้าไป ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข บรรลุ กลุ่มลูกเสือฯ (นางสาวนงไว ชวนคิด) ร้อยละ 80 บุคลากร เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติ งานด้านยาเสพติดของหน่วยงาน การศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในจังหวัดพะเยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการการทำงานด้านการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน บุคลากร เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ด้านยาเสพติดของหน่วยงานการศึกษา 6 หน่วยงาน บูรณาการการทำงาน ร่วมกันทั้ง 6 หน่วยงาน บรรลุ ร้อยละ 70 ของการรายงานผล การดำเนินงานผ่านระบบสารสนเทศ ยาเสพติดจังหวัด (INSPA) ระบบดูแลและ ติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา (CATAS) ระบบกำลังพล และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มีความถูกต้อง ครบถ้วน (1) NISPA จำนวน 277 แห่ง นำเข้า ระบบ 262 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 94.58 (2) CATAS จำนวน 255 แห่ง นำเข้า ระบบ 188 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 73.72 (3) ระบบกำลังพลจำนวน 6 หน่วยงาน นำเข้าระบบครบทุกแห่ง บรรลุ
18 โครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ งบประมาณ 220,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียรทอง เวียงนาค นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรมบรรยายพิเศษพระราชกรณียกิจ พระมหากษัตริย์ ของราชวงศ์จักรี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ โดยวิทยากรจิตอาสาพระราชทาน ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อส่งเสริมให้มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมืองมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง เข้มแข็ง มีคุณธรรม มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดีมีกิจกรรม แบ่งเป็น 5 ฐาน 1.ฐานกิจกรรม “ใต้ร่วมพระบารมี จักรีวงศ์” 2.ฐาน กิจกรรม “จิตอาสารักษ์บ้าน รักษ์ถิ่น” 3.ฐานกิจกรรม “พลเมืองดีของสังคม” 4.ฐานกิจกรรม “สำรวจตัวเอง สู่อาชีพ 5.ฐานจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์และจัดการประกวดคลิปวิดีโอในหัวข้อ “เยาวชนคนดี มีจิตอาสา, จิตอาสารักบ้าน รักถิ่น” ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และฝึกทักษะและพัฒนากระบวนการคิดโดยใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจ มีเจตคติที่ดีต่อบ้านเมือง เป็นพลเมืองดีและมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงและมีคุณธรรม ตามแนวทางของพระบรมราโชบายด้านการศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และขยายผลในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 นำไปขยายผลสู่ท้องถิ่นและชุมชน
19 โครงการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณ 22,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนงไว ชวนคิด นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มพัฒนาการศึกษา ดำเนินการประชุมชี้แจงแนวทาง การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ ติดในสถานศึกษา จัดประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดของกระทรวงศึกษาธิการ ในระดับพื้นที่ และซักซ้อมการนำเข้าข้อมูลกำลังพล ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด นอกจากนี้ได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการประเมินผลงานสถานศึกษา ด้านเอกสารและเชิงประจักษ์ของสถานศึกษาที่ขอรับการประเมินเป็น “สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุขดีเด่น ระดับทอง ระดับเพชร และรักษามาตรฐานระดับเพชร มีการอบรมขยายผลวิทยากร และผู้ประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขในจังหวัดพะเยา ประเมินผล การดำเนินงานด้านเอกสารและเชิงประจักษ์ จัดกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลการปฏิบัติงาน ด้านการป้องกันยาเสพติดและการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดโดยดำเนินการมอบ เกียรติบัตรรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเงิน โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและ อบายมุข นอกจากนี้ได้ดำเนินการร่วมกับศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดพะเยา (ศอ.ปส.จ.พย.) ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อำเภอเมืองพะเยา (ศอ.ปส.อ.) สพป.พะเยา เขต 1 ฝ่ายความมั่นคง อำเภอเมืองพะเยา และกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดพะเยาที่ 2 ในการสุ่มตรวจ ปัสสาวะหาสารเสพติด (เมทแอมเฟตามีนและกัญชา) ในนักเรียน นักศึกษา พื้นที่อำเภอเมืองพะเยา จำนวน 354 คน
20
21 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนกำลังคนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุ ความสำเร็จ ผู้ รับผิดชอบ 1.โครงการส่งเสริมเวที และประชาคมเพื่อการ จัดทำรูปแบบและการ พัฒนาหลักสูตรต่อเนื่อง เชื่อมโยงการศึกษาขั้น พื้นฐานกับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา (งบประมาณ 70,000 บาท) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา มีหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษา ขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา แบบบูรณาการที่ส่งเสริมให้มีผู้เรียนมี ความรู้ด้านอาชีพ เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3 หลักสูตร สำนักงานศึกษาธิการได้มีรูปแบบ และหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง การศึกษาโดยใช้แม่ข่ายในสังกัด อาชีวศึกษาจำนวน 5 แห่ง มีหลักสูตร และรูปแบบที่หลากหลายตามบริบท ของสถานศึกษาแม่ข่ายได้มีการจัด ตามสาขาของบุคลากร เป็นดังนี้ 1) หลักสูตรอบรมวิชาชีพระยะสั้น 2) หลักสูตรเทียบโอนผลการเรียน (ทวิภาคี) และ 3)หลักสูตรสะสมผล การเรียน(อุดมศึกษา) credit bank บรรลุ กลุ่มนิเทศฯ (นายธนนท์ มณีชัย) ร้อยละ 100 ของผู้เรียนได้รับการส่งเสริม ให้มีความรู้ด้านอาชีพ ร้อยละ100 ของผู้เรียนได้รับ การส่งเสริมให้มีความรู้ด้านอาชีพ บรรลุ โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง การศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา งบประมาณ 70,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนนท์ มณีชัย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล ดำเนินโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบ และการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ประจำปี งบประมาณ 2566 เพื่อพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้ในระดับ การศึกษา ขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่อย่างบูรณาการ ส่งเสริม ให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ร่วมมือกันในการบูรณาการหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาอย่างยั่งยืน และส่งเสริมให้สถานประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความเชื่อมโยง การจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของ ความต้องการของตลาดแรงงานอันจะนำไปสู่การส่งเสริมการมีอาชีพและการมีงานทำ โดยดำเนินการจัดประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ประกอบการ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาหลักสูตรจัดแสดงผลงาน และคัดเลือกตัวแทนการปฏิบัติงานที่ดี จัดมหกรรมทางการศึกษาสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เผยแพร่ผลงาน (BP) และมอบรางวัล ในงาน “Phayao Education Fair” นำเสนองานในระดับภาค การอบรมการเขียนรายงาน นวัตกรรมโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง การศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
22 ส่งผลให้หน่วยงานทางการศึกษาของจังหวัดพะเยามีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) รางวัลชนะเลิศ ระดับยอดเยี่ยม ชื่อผลงานการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและ อุดมศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเชียงคำ
23
24 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุ ความสำเร็จ ผู้ รับผิดชอบ 1.โครงการนิเทศการจัด กิจกรรมลูกเสือใน สถานศึกษา ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 (งบประมาณ 10,000 บาท) ร้อยละ 80 ของครูและบุคลากร ทางลูกเสือในสถานศึกษาเข้ารับการอบรม ร้อยละ100ของครูและบุคลากร ทางลูกเสือในสถานศึกษาเข้ารับการ ฝึกอบรม จำนวน 18 แห่ง รวมจำนวน 20 คน บรรลุ กลุ่มลูกเสือ (นางสาว สร้อยมาลา เงินงาม) ครูและบุคลากรทางการลูกเสือในสถาน ศึกษาได้ความรู้ความเข้าใจด้านกระบวน การลูกเสือ แนวทางการดำเนินงานและ วิธีปฏิบัติในการจัดกิจกรรมลูกเสือต่างๆ ในสถานศึกษาในสถานศึกษาให้มีความ ถูกต้องเหมาะสม ครูและบุคลากรทางการลูกเสือร้อยละ 100 ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ด้านกระบวนการลูกเสือ แนวทางการ ดำเนินงานและวิธีปฏิบัติในการจัด กิจกรรมลูกเสือต่างๆในสถานศึกษาให้ มีความถูกต้องเหมาะสม ซึ่งผู้เข้าร่วม กิจกรรมมีความพึงพอใจในประเด็น การได้รับความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และแนวคิดที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น อยู่ระดับ ความพึงพอใจมากที่สุด จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 บรรลุ 2.โครงการยกย่องผู้มี ผลงานดีเด่นต่อการพัฒนา กิจกรรมลูกเสือของ กระทรวงศึกษาธิการ (งบประมาณ 6,220 บาท) ร้อยละ 80 ของจำนวนผู้ที่ได้รับการ คัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นต่อการพัฒนา กิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 66.67 ของจำนวนผู้ได้รับการ คัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นต่อการพัฒนา กิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ (จำนวน 2 รางวัล คือ ประเภท ครูผู้สอน และ ประเภทผู้ให้การ สนับสนุน /ในส่วนรางวัลประเภท ผู้บริหารไม่มีผู้ส่งผลงาน) บรรลุ กลุ่มลูกเสือ (นางสาว สร้อยมาลา เงินงาม) สร้างขวัญและกำลังใจ ยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์และเป็น แบบอย่างที่ดีทางการลูกเสือเพื่อสร้างแรง ขับเคลื่อนให้การดำเนินงานกิจการลูกเสือ ไทยเจริญก้าวหน้า เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ยกย่อง เชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นเป็นที่ ประจักษ์และเป็นแบบอย่างที่ดี ทางการลูกเสือเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อน ให้การดำเนินงานกิจการลูกเสือไทย เจริญก้าวหน้า บรรลุ
25 โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุ ความสำเร็จ ผู้ รับผิดชอบ 3. โครงการโรงเรียนดีวิถี ลูกเสือ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 (งบประมาณ 6,000 บาท) ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาที่ได้รับการ คัดเลือกให้ผ่านเกณฑ์และได้รับรางวัล ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาได้รับการ คัดเลือกให้ผ่านเกณฑ์และได้รับรางวัล จำนวน 2 แห่ง โรงเรียนฟากกว๊าน วิทยาคม ได้ 94 คะแนน (ผ่านเกณฑ์ การประเมิน และได้รับโล่โรงเรียนดีวิถี ลูกเสือ , โรงเรียนบ้านขุนกำลัง ได้ 90 คะแนน (ผ่านเกณฑ์การประเมิน) บรรลุ กลุ่มลูกเสือ (นางสาว สร้อยมาลา เงินงาม) สถานศึกษาสามารถบูรณาการแผนพัฒนา ลูกเสือในสถานศึกษาในด้านหลักสูตร การเรียนการสอน สภาพแวดล้อม การกิจกรรม การฝึกอบรมครูการสร้าง เครือข่าย และการบำเพ็ญประโยชน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาสามารถบูรณาการ แผนพัฒนาลูกเสือในสถานศึกษา ในด้านหลักสูตรการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรม การฝึกอบรมครูการสร้างเครือข่าย และการบำเพ็ญประโยชน์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ บรรลุ 4.โครงการส่งเสริม ระเบียบวินัยลูกเสือ – เนตรนารี ประจำปี 2566 (งบประมาณ 35,040 บาท) ร้อยละ100 ของลูกเสือ–เนตรนารีประเภท สามัญรุ่นใหญ่และผู้บังคับบัญชาลูกเสือ– เนตรนารีที่สมัครสามารถเข้าร่วมกิจกรรม การประกวดระเบียบแถวลูกเสือ-เนตรนารี ประเภทสามัญรุ่นใหญ่ระดับจังหวัดได้ ร้อยละ 100 ของลูกเสือประเภทสามัญ รุ่นใหญ่ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ที่สมัคร เข้าร่วมกิจกรรมการประกวด ระเบียบแถวลูกเสือ-เนตรนารีประเภท สามัญรุ่นใหญ่ระดับจังหวัดได้จำนวน 36 คน บรรลุ กลุ่มลูกเสือ (นางสาว สร้อยมาลา เงินงาม) เยาวชนได้รับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบความซื่อสัตย์ สุจริต มีความเข้มแข็ง อดทน มีความเป็น ผู้นำ ความพร้อมเพรียง ความสามัคคี รู้จัก เสียสละช่วยเหลือผู้อื่น มีทักษะการอยู่ ร่วมกัน สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีคุณภาพ เยาวชนได้รับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต มีความเข้มแข็ง อดทน มีความเป็นผู้นำ ความพร้อม เพรียง ความสามัคคี รู้จักเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่น มีทักษะการอยู่ร่วมกัน สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ ผ่านกระบวนการลูกเสือ บรรลุ 5. โครงการส่งเสริมการจัด งานวันคล้ายวันสถาปนา ยุวกาชาดไทย ประจำปี 2566 (งบประมาณ 40,000 บาท) โรงเรียนอนุบาลพะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มีผู้บังคับบัญชาและ สมาชิกยุวกาชาด จำนวน 400 คน ผู้บังคับบัญชาและสมาชิกยุวกาชาด แสดงถึงความเป็นระเบียบ ความพร้อม เพรียง และการพัฒนาของกิจกรรม ยุวกาชาด บรรลุ กลุ่มลูกเสือฯ (นางเพียรทอง เวียงนาค) ผู้บังคับบัญชาและสมาชิกยุวกาชาด ได้เข้า ร่วมพิธีสวนสนามและกล่าวคำปฏิญาณตน ของสมาชิกยุวกาชาด ผู้บังคับบัญชาและสมาชิกยุวกาชาด ได้ ร่วมกันกล่าวคำปฏิญาณตนและบำเพ็ญ ประโยชน์ต่อส่วนร่วมและชุมชน บรรลุ
26 โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุ ความสำเร็จ ผู้ รับผิดชอบ 6.โครงการนิเทศกิจกรรม ยุวกาชาดในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566 (งบประมาณ 10,000 บาท) ร้อยละ 90 ของครูผู้สอน ผู้บังคับบัญชา ยุวกาชาด เจ้าหน้าที่และบุคลากร ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ โรงเรียนได้รับการนิเทศจากคณะ กรรมการสามารถนำขบวนการปฏิบัติ ที่ถูกต้องไปปฏิบัติกับสมาชิกยุวกาชาด ได้อยางถูกต้อง บรรลุ กลุ่มลูกเสือฯ (นางเพียรทอง เวียงนาค) เจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาดใน สถานศึกษาได้รับความรู้ข้อเสนอแนะและ มีทักษะทางกระบวนการยุวกาชาดเพิ่มขึ้น และสามารถนำไปดำเนินการจัดกิจกรรม ยุวกาชาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด ในสถานศึกษาได้รับความรู้ ข้อเสนอแนะ มีทักษะ ทางกระบวนการ ยุวกาชาดเพิ่มขึ้น และสามารถนำไป ดำเนินการจัดกิจกรรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ บรรลุ 7.โครงการอาสาสมัคร กระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 (งบประมาณ 59,000 บาท) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา มีอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธการ (อส.ศธ.) ในพื้นที่ เพื่อช่วยงาน ด้านการศึกษา จังหวัดพะเยามีอาสาสมัครจิตอาสาที่มี คุณภาพในพื้นที่ เพื่อช่วยงาน ด้านการศึกษาและพัฒนาเด็กที่อยู่ใน วัยเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุ กลุ่มลูกเสือฯ (นางเพียรทอง เวียงนาค) นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับ การส่งเสริมและพัฒนาให้มีความพร้อมทั้ง ทางด้านร่างกายและจิตใจรวมถึงได้รับ การปกป้องคุ้มครองความปลอดภัย เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพและมีความสุข นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการ ส่งเสริมและพัฒนาให้มีความพร้อมทั้ง ทางด้านร่างกายและจิตใจรวมถึงได้รับ การปกป้องคุ้มครองความปลอดภัย และเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ อย่างมีคุณภาพและความสุข บรรลุ 8.โครงการส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพ ความประพฤตินักเรียน และนักศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 (งบประมาณ 33,000 บาท) ร้อยละ 80 ของคณะกรรมการส่งเสริม ความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา จังหวัดพะเยาเข้าร่วมประชุมฯ ร้อยละ 84.62 ของคณะกรรมการ ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและ นักศึกษาจังหวัดพะเยา เข้าร่วมประชุม คณะกรรมการฯ ณ สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดพะเยา บรรลุ กลุ่มลูกเสือ (นางสาว สร้อยมาลา เงินงาม) จำนวนผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติพนักงาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน และนักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (รางวัลเสมาพิทักษ์) มีผู้ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล เชิดชูเกียรติพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (รางวัลเสมา พิทักษ์) ในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 3 คน บรรลุ ร้อยละ 85 ของจำนวนค่าเป้าหมาย ของศูนย์เสมารักษ์สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดพะเยา ดำเนินการเฝ้าระวังปัญหา และสถานการณ์ความประพฤตินักเรียน และนักศึกษา ศูนย์เสมารักษ์สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดพะเยา ดำเนินการเฝ้าระวัง ปัญหาและสถานการณ์ความประพฤติ นักเรียนและนักศึกษา จำนวน 28 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 บรรลุ
27 โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุ ความสำเร็จ ผู้ รับผิดชอบ 9.โครงการจัดงานฉลอง วันเด็กแห่งชาติ จังหวัด พะเยา ประจำปี 2566 (งบประมาณ 30,000 บาท) เด็กรู้จักการแสดงออกอย่างเหมาะสม เกิดความภาคภูมิใจ และเกิดการ พัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมงานฉลองวันเด็ก แห่งชาติจังหวัดพะเยา ประจำปี 2566 ได้แสดงออกอย่างเหมาะสม และเกิดการ พัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา บรรลุ กลุ่มพัฒนา การศึกษา (นางวรรณฺริยา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา) สถานศึกษา ส่วนราชการต่าง ๆ องค์กรภาครัฐและเอกชน ให้ความ ร่วมมือสนับสนุนในการจัดดกิจกรรม ในงานจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี2566 สถานศึกษา และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการสนับสนุนจัดกิจกรรมในการจัดงาน ฉลองวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2566 บรรลุ 10.โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (งบประมาณ 86,000 บาท) จังหวัดพะเยามีรูปแบบ/แนวทางการ นิเทศ ติดตามและประเมินผล การศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้าง นวัตกรรมการศึกษา มีรูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผล การศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม การศึกษา จำนวน 1 รูปแบบ บรรลุ กลุ่มนิเทศ (นางสาว คัชรินทร์ มหาวงศ์) ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมี นวัตกรรมการบริหารจัดการ หรือ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือ นวัตกรรมการนิเทศการศึกษา ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 83.33 มีนวัตกรรม การศึกษา บรรลุ จังหวัดพะเยามีศูนย์กลางข้อมูล สารสนเทศทางการศึกษา นวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษา มีเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศ ทางการศึกษา นวัตกรรมและการวิจัย ทางการศึกษา เผยแพร่ทาง Website : https://sites.google.com/view/katcharin บรรลุ จังหวัดพะเยามีเครือข่ายความร่วมมือ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาในจังหวัดพะเยา จำนวน 7เครือข่าย บรรลุ
28 โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัด พะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณ 86,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวคัชรินทร์ มหาวงศ์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล ดำเนินการจัดการประชุมคณะกรรมการดำเนินการโครงการ และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา”โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดพะเยา โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน นอกจากนี้ได้ดำเนินการนิเทศ ติดตามสถานศึกษา โดยการลงพื้นที่ (Onsite) และออนไลน์ ผ่านระบบ Google meet โดยให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม โดยให้ผู้รับการนิเทศ นำเสนอความก้าวหน้า การดำเนินการ โดยความร่วมมือของศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ศึกษานิเทศก์ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1, เขต 2 และ สพม.พะเยา รวมทั้งจัดกิจกรรมการ คัดเลือก Best Practice ระดับจังหวัดและระดับภาคจังหวัดพะเยา ส่งผลให้จังหวัดพะเยามีแนวทางการพัฒนา นวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาได้จริงในระดับพื้นที่ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ด้านนวัตกรรมการบริการจัดการการศึกษา รางวัลอันดับ 1 คุณภาพดีเยี่ยม ระดับภาคชื่อผลงาน “รูปแบบการบริหารสถานศึกษาด้วยภาคีเครือข่าย เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนราชานุเคราะห์” ด้านนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้รางวัลอันดับ 3 คุณภาพดีเยี่ยม ระดับภาค ชื่อผลงาน “การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลภูกามยาว”
29 โครงการนิเทศการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566 งบประมาณ 10,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสร้อยมาลา เงินงาม นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ดำเนินการประชุมคณะวิทยากรโครงการนิเทศ การจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา เพื่อดำเนินการวางแผนการจัดกิจกรรมตามโครงการฯ จัดกิจกรรมนิเทศ การจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา ในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นครู และบุคลากรทางการลูกเสือของโรงเรียนเอกชนในระบบ จำนวน 18 แห่ง รวม 20 คน และติดตามผล การดำเนินการนิเทศการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา โดยส่งแบบติดตามฯ ไปยังสถานศึกษาที่เข้าร่วม กิจกรรม จำนวน 18 โรงเรียน มีผลการติดตามการจัดกิจกรรมให้กับลูกเสือและเนตรนารีของจังหวัดพะเยา รวมจำนวน 4,337 คน โครงการยกย่องผู้มีผลงานดีเด่นต่อการพัฒนากิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณ 6,220 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสร้อยมาลา เงินงาม นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก ผู้มีผลงานดีเด่นต่อการพัฒนากิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน โดยมี ผลการพิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นต่อการพัฒนากิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ รางวัลประเภทผู้บริหาร ไม่มีผู้ส่งผลงาน รางวัลประเภทครูผู้สอน ได้แก่ นายจตุรภัทร คำรศ ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลแม่ใจ (บ้านศรีถ้อย) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พะเยา เขต 1 รางวัลประเภทผู้ให้การสนับสนุน ได้แก่ นางเพียรทอง เวียงนาค ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญ การ สังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา
30 โครงการโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ งบประมาณ 6,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสร้อยมาลา เงินงาม นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน จัดประชุมคณะกรรมการติดตามประเมินผล เพื่อพิจารณาให้คะแนนและคัดเลือกสถานศึกษาที่สมควรได้รับรางวัลโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ และลงพื้นที่ประเมิน สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ณ โรงเรียนบ้านขุนกำลัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา และ โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยมีผลการพิจารณาคัดเลือกสถานศึกษา ที่สมควรได้รับรางวัลโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ดังนี้ประเภทโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ อันดับที่ 1 โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา อันดับที่ 2โรงเรียนบ้านขุนกำลัง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 โรงเรียนดีวิถีลูกเสือ (ที่ปรึกษา) คือโรงเรียนบ้านร่องห้า สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โครงการส่งเสริมระเบียบวินัยลูกเสือ เนตรนารี งบประมาณ 35,040 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสร้อยมาลา เงินงาม นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ดำเนินการประชุมชี้แจงแนวทางการตัดสิน การประกวดระเบียบแถวลูกเสือ – เนตรนารี ประเภทสามัญรุ่นใหญ่ คณะกรรมการตัดสินการประกวดระเบียบ แถวลูกเสือ – เนตรนารี ประเภทสามัญรุ่นใหญ่ ระดับจังหวัด ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริม ระเบียบวินัยลูกเสือ - เนตรนารี ประจำปี 2566 และจัดประกวดระเบียบแถวลูกเสือ - เนตรนารี ประเภทสามัญ รุ่นใหญ่ระดับจังหวัด ณ ห้องประชุมโรงเรียนแม่ใจวิทยาคม อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยมีโรงเรียนเข้าร่วม การประกวดระเบียบแถวลูกเสือ - เนตรนารี ประเภทสามัญรุ่นใหญ่ระดับจังหวัด จำนวน 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนแม่ใจวิทยาคม มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และลูกเสือ เข้าร่วมจำนวน 36 คน และคณะกรรมการตัดสิน การประกวดระเบียบแถวฯ คณะกรรมการดำเนินงานจัดโครงการ จำนวน 16 คน ทั้งนี้ได้คัดเลือกกองลูกเสือ โรงเรียนแม่ใจวิทยาคม จำนวน 42 คน เป็นตัวแทนจังหวัดพะเยา เข้าร่วมกิจกรรมเข้าร่วมกิจกรรมประกวด ระเบียบแถวลูกเสือ – เนตรนารี ประเภทสามัญรุ่นใหญ่ ระดับประเทศ ณ สนามศุภชลาศัย ภายในสนามกีฬา แห่งชาติ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
31 โครงการอาสาสมัคร กระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ) งบประมาณ 59,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียรทอง เวียงนาค นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน จัดโครงการอาสาสมัคร กระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาให้มี ประสิทธิภาพ ระหว่างสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุน พัฒนา ผู้เรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จัดประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ให้กับ อาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ในพื้นที่ จำนวน 60 คน ณ ห้องประชุมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด พะเยา ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว มีวิทยากร เจ้าหน้าที่ นักเรียน ครู และอาสาสมัครจิตอาสาที่มีคุณภาพ ในจังหวัดพะเยา เข้ามาช่วยขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาและพัฒนาเด็กที่อยู่ในวัยเรียนด้วยกิจกรรมที่ หลากหลาย มีผู้เรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 จำนวน 120 คน เข้าร่วมกิจกรรม ส่งผลให้สถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนำคู่มือการจัดกิจกรรมโครงการ อาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ) ไปจัดดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามกรอบแนวทางการดำเนิน กิจกรรมตามโครงการอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ) ได้เต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพ
32 โครงการนิเทศกิจกรรมยุวกาชาดประจำปี 2566 งบประมาณ 10,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียรทอง เวียงนาค นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรมการนิเทศกิจกรรมยุวกาชาด ประจำปี 2566 มีการประชุมคณะกรรมการนิเทศติดตามการจัดกิจกรรมยุวกาชาด ณ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดพะเยา และออกนิเทศติดตามการจัดกิจกรรมยุวกาชาดในสถานศึกษา จำนวน 4 โรงเรียน ดังนี้ โรงเรียนอนุบาลพะเยา โรงเรียนเทศบาล 3 โรงเรียนอนุบาลแม่ใจ (บ้านศรีถ้อย) และโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ส่งผลให้โรงเรียนที่ได้รับการนิเทศจากคณะกรรมการสามารถนำกระบวนการปฏิบัติที่ถูกต้องไปปฏิบัติกับ สมาชิกยุวกาชาดได้อย่างถูกต้อง และสามารถการจัดเก็บเอกสารได้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน โครงการวันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดประจำปี 2566 งบประมาณ 40,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียรทอง เวียงนาค นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน จัดงานวันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดประจำปี 2566 โดยมีพิธีสวนสนามและกิจกรรมกล่าวคำปฏิญาณตนของสมาชิกยุวกาชาด ณ โรงเรียนอนุบาลพะเยา อำเภอ เมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เพื่อให้สมาชิกยุวกาชาดเกิดความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จ พระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงก่อตั้งกิจกรรมยุวกาชาดไทยมีความภูมิใจในการเป็นสมาชิกยุวกาชาด และมีความเป็นระเบียบ มีวินัย ความอดทน ความพร้อมเพรียง เป็นแบบอย่างที่ดีและเกิดการพัฒนา ของกิจกรรมยุวกาชาด โดยมีผู้บังคับบัญชายุวกาชาด สมาชิกยุวกาชาด เข้าร่วมพิธีสวนสนามและกล่าว คำปฏิญาณตน และร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 400 คน
33 โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา งบประมาณ 32,500 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียรทอง เวียงนาค นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน จัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมความประพฤติ นักเรียนและนักศึกษาจังหวัดพะเยา โดยมีนายบำรุง สังข์ขาว รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธาน ในที่ประชุม จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน และนักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (รางวัลเสมาพิทักษ์ )ได้ดำเนินการคัดเลือกรางวัลเชิดชูเกียรติพนักงาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (รางวัลเสมาพิทักษ์) ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมี นางสาวประไพพร อิทธิยา ศึกษาธิการจังหวัดพะเยา เป็นประธานในที่ประชุมมีผลการคัดเลือก ดังนี้ ๑. นางจิรพรรณ จำรัส ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพะเยา เขต 1ได้ 91 คะแนน เป็นผู้ผ่านการประเมินระดับดีเด่น ๒. นายธนนท์ มณีชัย ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ได้ 86 คะแนน เป็นผู้ผ่านการ ประเมินระดับดีมาก ๓. นางสาวปาลิตา สุขสำราญ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัด สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ได้ 83 คะแนน เป็นผู้ผ่านการประเมินระดับดีมาก และลงพื้นที่เฝ้าระวังความประพฤติ นักเรียนและนักศึกษา ในพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆ จำนวน 28 ครั้ง พบนักเรียนนักศึกษา ประพฤติตนไม่เหมาะสม ตามกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๔๘ กำหนด จำนวน 5 คน โดยแยกเป็นเพศหญิง จำนวน 5 คน โครงการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจังหวัดพะเยา ประจำปี2566 งบประมาณ 30,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณริยา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน กลุ่มพัฒนาการศึกษา ดำเนินการจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในฐานะเป็นหน่วยงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคในการจัดงาน ฉลองวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งในปี 2566 ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา จึงได้จัดทำโครงการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ จังหวัดพะเยา ประจำปี 2566 ณ ลานอเนกประสงค์เทศบาล เมืองพะเยา เพื่อให้เด็กและเยาวชนของจังหวัดพะเยาได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมต่างๆ และแสดงออกทางความรู้ ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในกิจกรรมที่เข้าร่วม และรู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับ สิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม
34
35 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุ ความสำเร็จ ผู้ รับผิดชอบ 1.โครงการจัดทำฐาน ข้อมูลและระบบติดตาม ประเมินผลระดับพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการ ขับเคลื่อนเป้าหมาย ของสหประชาชาติ ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการศึกษา SDG4 จังหวัดพะเยา ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 (งบประมาณ 29,000 บาท) ร้อยละ100 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมี การดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา ตาม SDG4 Roadmap หน่วยงานทางการศึกษาของจังหวัด พะเยามีความรู้ความเข้าใจในแนว ทางการดำเนินงานขับเคลื่อนเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) และสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงาน ต่างๆ ให้ตรงตามเป้าหมายการพัฒนาฯ บรรลุ กลุ่มนโยบาย และแผน (นายรชฎ พลอยเล็ก) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา มีฐานข้อมูล เพื่อการจัดทำรายงานผลการ ดำเนินงานตามตัวชี้วัด SDG4 Roadmap สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ประสานงานร่วมกับหน่วยงานทางการ ศึกษาในจังหวัดเพื่อดำเนินการจัดทำ ฐานข้อมูลกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้อง กับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ของจังหวัด พะเยา บรรลุ 2.โครงการส่งเสริมและ สนับสนุนการจัด การศึกษาเพื่อเด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาส ทางการศึกษาจังหวัด พะเยา (งบประมาณ 10,000 บาท) ร้อยละ 80 ของหน่วยงานการศึกษา จังหวัดพะเยา สามารถจัดเก็บข้อมูลเด็ก พิการและเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาใน สังกัดอย่างเป็นระบบ หน่วยงานการศึกษาจังหวัดพะเยา มี ข้อมูลเด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาสทาง การศึกษาในสังกัดที่เป็นระบบ และนำไป เป็นข้อมูลในการจัดการศึกษาเพื่อเด็ก พิการ และเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ทุกระดับ ทุกประเภท ของจังหวัดพะเยา ได้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียน บรรลุ กลุ่มลูกเสือฯ (นางสาวรพิชา อนุศักดิกุล) ร้อยละ 90 ของครูในจังหวัดพะเยา ที่เข้าร่วมรับการอบรมฯสามารถนำความรู้ ไปใช้ในการจัดทำสื่อการเรียนสอนสำหรับ เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสในโรงเรียนได้ ครูที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาสื่อการเรียน การสอนสำหรับเด็กพิการและเด็กด้อย โอกาส เพื่อเติมเต็มศักยภาพของผู้เรียน ได้อย่างเต็มที่ บรรลุ ร้อยละ 100 การค้นหาและติดตามผู้เรียน ที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออก กลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือ ช่วยเหลือส่งต่อผู้เรียนที่หลุดออกจาก ระบบการศึกษาได้ครบถ้วน จังหวัดพะเยามีแนวทางการค้นหาและ ติดตามผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบ การศึกษา และออกกลางคันกลับเข้าสู่ ระบบการศึกษา พร้อมทั้งดูแล ช่วยเหลือ ส่งต่อผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบ การศึกษา บรรลุ 3.โครงการพัฒนางาน วิชาการโรงเรียนเอกชน ในระบบ ประจำปี งบประมาณ 2566 ร้อยละ 80 ของโรงเรียนเอกชน ในระบบ มีการพัฒนางานวิชาการ - ครูโรงเรียนเอกชน ได้รับการพัฒนางาน วิชาการ ทำให้สถานศึกษามีประสิทธิภาพ และส่งผลโดยตรงถึงนักเรียน ทำให้ นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น บรรลุ กลุ่มเอกชน (นางสาว ปรินทร์ญาดา อ่อนคง)
36 โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุ ความสำเร็จ ผู้ รับผิดชอบ (งบประมาณ 25,000 บาท) ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม การสัมมนา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริหารงานวิชาการ - ครูโรงเรียนเอกชน ได้รับการพัฒนา งานวิชาการ มีความรู้และเข้าใจและ สามารถถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานได้ บรรลุ 4.โครงการส่งเสริมและ พัฒนาระบบประกัน คุณภาพการศึกษา โรงเรียนเอกชนนอก ระบบ (งบประมาณ 5,000 บาท) ร้อยละ 80 ของผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน นอกระบบที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน นอกระบบมีความรู้ความเข้าใจ ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพ การศึกษาโรงเรียนนอกระบบ บรรลุ กลุ่มเอกชน (นางสาว ปรินทร์ญาดา อ่อนคง) ร้อยละ 80 ของผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน นอกระบบที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ให้ความร่วมมือการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษามีความรู้ความเข้าใจต่อระบบการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน นอกระบบมีความรู้ความเข้าใจการ สนับสนุน และติดตามการจัดการศึกษา ของโรงเรียนเอกชนให้มีระบบการ ประกันคุณภาพการศึกษาที่มี ประสิทธิภาพ บรรลุ 5.โครงการขับเคลื่อน การพัฒนาการจัด การศึกษาปฐมวัย ในระดับพื้นที่ จังหวัด พะเยา ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 (งบประมาณ 45,000 บาท) ร้อยละ 80 ของครูปฐมวัยที่มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดประบการณ์เรียนรู้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้าน ร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์สังคม สติปัญญา และทักษะ การเรียนรู้ที่สมวัย ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในการจัด ประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนา การเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และทักษะ การเรียนรู้ที่สมวัย บรรลุ กลุ่มนิเทศฯ (นางสาว ปาลิตา สุขสำราญ) จังหวัดพะเยามีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนา คุณภาพการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยผ่าน กระบวนการนิเทศ ติดตามและประเมินผล จังหวัดพะเยามีเครือข่ายความร่วมมือ 5 เครือข่าย บรรลุ จังหวัดพะเยามีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ/นวัตกรรม จากหน่วยงานจัดการศึกษาทุกสังกัด ด้านการ บริหารจัดการ และ ด้านการจัดประสบการณ์ เรียนรู้ ในระดับปฐมวัย - ด้านการบริหารจัดการ 4 ผลงาน - ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ระดับ ปฐมวัย 4 ผลงาน บรรลุ 6.โครงการขับเคลื่อน การยกระดับคุณภาพ การศึกษาและ ประสิทธิภาพการศึกษา จังหวัด โดยผ่านกลไก กศจ (งบประมาณ 90,900 บาท) ร้อยละ 90 ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกระดับ ทุกสังกัดในจังหวัดพะเยา ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจแนวทางการจัดทำสื่อทำมือ ที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ครูภาษาอังกฤษทุกระดับทุกสังกัด ในจังหวัดพะเยามีความรู้ความเข้าใจ และสามารถทำสื่อทำมือที่ส่งเสริมทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่าง มีประสิทธิภาพ บรรลุ กลุ่มนิเทศฯ (นางวรฤทัย สักลอ) ร้อยละ 90 ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกระดับ ทุกสังกัดในจังหวัดพะเยาที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจแนวทางการจัดทำสื่อ มัลติมีเดียที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกระดับทุกสังกัด ในจังหวัดพะเยามีความรู้ความเข้าใจ และสามารถทำสื่อมัลติมีเดียที่ส่งเสริม ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุ จังหวัดพะเยามีรูปแบบ/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)ในการพัฒนาสื่อทำมือและสื่อ มัลติมีเดียที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ จังหวัดพะเยามีรูปแบบและวิธีปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการ พัฒนาสื่อนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษระดับ ประถมศึกษาในระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับอำเภอและระดับจังหวัด บรรลุ
37 โครงการขับเคลื่อนเป้าหมายของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา SDG4 จังหวัดพะเยา งบประมาณ 29,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรชฏ พลอยเล็ก นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ กลุ่มนโยบายและแผน ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างการรับรู้และทบทวนแผนที่นำทาง SDG4 จังหวัดพะเยา เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานทางการศึกษาของจังหวัดพะเยา กำหนดกรอบ ทิศทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาและแผนที่ นำทาง SDG4 Roadmap ไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีกิจกรรมการบรรยาย พิเศษ “SDG4 กับสังคมและจังหวัดพะเยา” และกิจกรรมก ลุ่มการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการศึกษา โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา มีคณะทำงานขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาระดับจังหวัด และหน่วยงานทางการศึกษา ทุกสังกัดเข้าร่วมการประชุม โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อเด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาจังหวัดพะเยา งบประมาณ 10,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรพิชา อนุศักดิกุล นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มพัฒนาการศึกษา ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา "พาน้องกลับมาเรียน” จังหวัดพะเยาและผู้เกี่ยวข้อง และจัดอบรมหลักสูตรผู้ดำเนินการคัดกรองคนพิการทางการศึกษา และอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรบริการ สอนเสริมวิชาการตามสาระการเรียนรู้ (CS0101)” ให้แก่ครูโรงเรียนในจังหวัดพะเยา ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานการศึกษา ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ บุคลากรสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดพะเยา และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโอกาสความเสมอภาคและความ เท่าเทียมทางการศึกษา "พาน้องกลับมาเรียน” จังหวัดพะเยาและผู้เกี่ยวข้อง รวม 40 คน ส่งผลให้ผู้ร่วม โครงการ ร้อยละ 90 สามารถจัดเก็บข้อมูลเด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในสังกัดอย่างเป็นระบบ ครูที่เข้าร่วมรับการอบรมฯ ร้อยละ 90 สามารถนำความรู้ไปใช้ในการคัดกรองคนพิการทางการศึกษาในโรงเรียน ได้และส่งผลให้การค้นหาและติดตามผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบ การศึกษาหรือช่วยเหลือส่งต่อผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาได้ครบถ้วน คิดเป็น ร้อยละ 100
38 โครงการการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่จังหวัดพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณ 45,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาลิตา สุขสำราญ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล ดำเนินการจัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานคณะกรรมการ ดำเนินงาน โครงการฯทบทวนภารกิจเครือข่ายปฐมวัยจังหวัดพะเยา การนำเครือข่ายความร่วมมือโดยใช้ กระบวนการนิเทศติดตามผลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่เป็นไปตามมาตรฐานสถาน พัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในระดับพื้นที่จังหวัดพะเยาไปใช้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และคัดเลือกนวัตกรรม และจัด มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดพะเยา และการเผยแพร่นวัตกรรมการจัดการศึกษาปฐมวัย ของจังหวัดพะเยา ส่งผลให้ครูปฐมวัยร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการจัดประสบการณ์ เรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้าน ร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์สังคม สติปัญญา และทักษะ การเรียนรู้ที่สมวัย สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยของจังหวัดพะเยา รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานด้านการจัด การศึกษาปฐมวัยร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจและมีคุณภาพตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2561 จังหวัดพะเยามีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย ผ่านกระบวนการนิเทศ ติดตามและประเมินผล มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ/นวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการ และ ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ในระดับปฐมวัย ด้านละ 4 ผลงาน ดังนี้ ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล รางวัลอันดับ 2 ระดับดีเลิศ ระดับภาค ชื่อผลงาน “การนิเทศโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) 3+ เพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อการศึกษาระดับปฐมวัย กับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2” ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้รางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม ระดับภาค ชื่อผลงาน “การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยผ่านเกมการศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ EISS” โรงเรียนบ้านจำป่าหวาย สพป.พะเยา เขต 1 ด้านบริหารจัดการ รางวัลระดับดี ระดับภาค ชื่อผลงาน “การบริหารชั้นเรียนคุณภาพเชิงรุกเพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับ โรงเรียน “CACIP DONKAEW MODEL" โรงเรียนบ้านดอนแก้ว สพป.พะเยา เขต 2
39 โครงการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการศึกษาจังหวัดโดยผ่านกลไก กศจ. การพัฒนาสื่อนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จังหวัดพะเยา ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 งบประมาณ 90,900 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรฤทัย สักลอ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำสื่อทำมือ และสื่อ มัลติมีเดีย ที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกระดับ ทุกสังกัดนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาสื่อนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษา อังกฤษของครูผู้สอน ภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรมทั้ง 2 หลักสูตร กิจกรรมถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชื่นชมความสำเร็จ และประกวดคัดเลือกรูปแบบ/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการพัฒนาสื่อนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษ ส่งผลให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกสังกัดในจังหวัดพะเยา จำนวน 35 คน มีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการจัดทำสื่อทำมือ และสื่อมัลติมีเดีย ที่ส่งเสริมทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษ และจังหวัดพะเยามี วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการพัฒนาสื่อทำมือและสื่อมัลติมีเดียที่ส่งเสริม ทักษะการสื่อสารภาษา อังกฤษ ประเภทสื่อทำมือรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ ระดับจังหวัด “Going Shopping ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก” โรงเรียนบ้านน้ำปุก สพป.พะเยา เขต 2 ประเภทสื่อมัลติมีเดีย รางวัลเหรียญทองชนะเลิศ ระดับจังหวัด “ การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษ เรื่อง Food and Drinks ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก” โรงเรียนบ้านน้ำปุก สพป.พะเยา เขต 2 โครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชนนอกระบบ งบประมาณ 5,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปรินทร์ญาดา อ่อนคง นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน ร่วมกับคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน นอกระบบจังหวัดพะเยาได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียน เอกขนนอกระบบ ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อดำเนินการจัดอบรมการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และนิเทศ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชนนอกระบบในสังกัด
40 โครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนเอกชนในระบบ ประจำปีงบประมาณ 2566 งบประมาณ 25,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปรินทร์ญาดา อ่อนคง นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน ดำเนินการจัดอบรมพัฒนาวิชาการโรงเรียนเอกชนในระบบ เพื่อสร้าง และพัฒนารูปแบบวิธีปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาตนเองและ จากการประเมินหน่วยงานภายนอก และพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนปัจจัยหนุนการเรียนรู้ ที่สนองต่อความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมขุนจอมธรรม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา
41
42 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ผลการดำเนินงาน การบรรลุ ความสำเร็จ ผู้ รับผิดชอบ 1.โครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี งบประมาณ พ.ศ. 2566 (งบประมาณ 9,500 บาท) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ,และ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพะเยา เขต 1,2 จำนวน 8 โรงเรียน สถานศึกษาสามารถขับเคลื่อนงานสวน พฤษศาสตร์โรงเรียนในโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ในจังหวัดพะเยา โดยสามารถทำหน้าที่ ในการบริหารจัดการ ประสานงาน และกำกับ ติดตาม นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และแผนแม่บท อพ.สธ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ บรรลุ กลุ่มลูกเสือ (นางเพียรทอง เวียงนาค) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารี ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2566 งบประมาณ 9,500 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียรทอง เวียงนาค นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานโครงการสนับสนุน การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2566 และได้มีการติดตามโรงเรียนพฤษศาสตร์ ระหว่างวันที่ 6-9 มิถุนายน 2566 ณ อำเภอเชียงคำ อำเภอปง และอำเภอจุน เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 จำนวน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม โรงเรียนดงเจนวิทยาคม โรงเรียนปงรัชดาภิเษก และโรงเรียนปงพัฒนาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พะเยาเขต 2 จำนวน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านดอนเงิน โรงเรียนบ้านดอนแก้ว โรงเรียนบ้านร่องแมด และโรงเรียน บ้านห้วยกั้ง ส่งผลให้สถานศึกษาสามารถขับเคลื่อนงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรม พืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในจังหวัดพะเยา โดยสามารถทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ ประสานงาน และกำกับติดตาม นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และแผนแม่บท อพ.สธ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ