The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การจัดการองค์ความรู้ KM หัวข้อ การขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชต.) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by สสว.5 จังหวัดขอนแก่น, 2023-09-08 05:53:58

การจัดการองค์ความรู้ KM หัวข้อ การขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชต.) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.5

การจัดการองค์ความรู้ KM หัวข้อ การขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชต.) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.5

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๕ ดำเนินการขับเคลื่อน โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ประจำปี งบประมาณ 2566 ภายใต้โครงการศูนย์บริการวิชาการพัฒนาสังคมและ จัดสวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่ ตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนบทบาทและหน้าที่ ของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ ทีม One home และคณะทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนศูนย์ ช่วยเหลือสังคม และเพื่อสร้างการรับรู้และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้กับองค์กรและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง คณะทำงานได้ศึกษาการจัดการ องค์ความรู้ (KM) เรื่อง “การขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล” ได้ดำเนินการในรูปแบบการจัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเวที ถอดบทเรียนจากการทำงาที่ผ่านมา เพื่อนำข้อมูลมาสังเคราะห์ให้เกิดองค์ ความรู้ของหน่วยงาน โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ ขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมในระยะต่อไป และขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล สำคัญ เครือข่ายการทำงานของ พม. และบุคลากรทีม One Home เขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.5 ที่ร่วมมือร่วมใจทำให้เกิดองค์ความรู้ “การขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล” เล่มนี้ คณะผู้จัดทำ กันยายน 2566 ก คำนำ


ส่วนที่ 1 บทนำ - ที่มาและความสำคัญ 1 ส่วนที่ 2 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน 4 - บทบาทหน้าที่และภารกิจศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 7 - แผนการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 10 - แนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในพื้นที่11 ส่วนที่ 3 การถอดบทเรียนและร่วมแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนงาน ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชต.) - กระบวนการรับเรื่องศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 14 ส่วนที่ ๔ ผลการถอดบทเรียนและแนวทางการพัฒนาศูนย์ช่วยเหลือ สังคมตำบล (ศชต.) สู่ความเข้มแข็ง - ข้อค้นพบและแนวทางการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ 15 - แนวทางพัฒนาการขับเคลื่อนงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 25 - กระบวนการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 32 - ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 35 หน้า ข สารบัญ


ส่วนที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 (สสว.5) สำนักงาน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงาน ราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค มีอำนาจหน้าที่ คือ 1) วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาทางวิชาการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ สอดคล้องกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 2) ส่งเสริมและสนับสนุนงาน ด้านวิชาการองค์ความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงาน บริการทุกกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้บริการ ในความรับผิดชอบของกระทรวง ร่วมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชน และประชาชน 3) ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์และสภาพแวดล้อม เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของสถานการทางสังคมและผลกระทบ รวมทั้งให้ ข้อเสนอแนะการพัฒนาสังคมและจัดทำยุทธศาสตร์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด 4) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด 5) เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสังคมและจัด สวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด 6) สนับสนุนการนิเทศงาน ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเชิงวิชาการตามนโยบายและภารกิจของ กระทรวงในพื้นที่กลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ สสว.5 ได้ให้ความสำคัญกับการเตรียม ความพร้อมด้านระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ วิชาการและบุคลากร เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์และเป็นศูนย์กลางในการแสวงหาความรู้ของภาคีเครือข่าย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีนโยบาย การปรับจุดสำคัญ (Refocus) โดยใช้กลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่มุ่งเน้นการ พัฒนาสังคมแบบองค์รวม ลดการมุ่งเน้นแต่ภารกิจของตนเอง และยกระดับ การทำงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการโดยให้บริการสวัสดิการสังคมของทุก หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ จุดเดียว เป็นองค์รวม หรือการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) อันครอบคลุมบริการสวัสดิการสังคมและบริการอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับประชาชนอย่างหลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ ประชาชนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ผ่านการขับเคลื่อน “ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ตำบล” และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเพื่อช่วยแก้ปัญหากลุ่ม เปราะบาง แบบครบวงจร สามารถตอบสนองต่อสภาพปัญหาและความ ต้องการของครัวเรือนเปราะบางและประชาชนได้อย่างทันท่วงที โดยเน้น การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่ม เปราะบางและประชาชนอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ปีงบประมาณ 2566 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๕ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานโครงการการจัดการความรู้ (KM) หัวข้อ “การขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล” ภายใต้โครงการส่งเสริม ประสานบูรณาการ การจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสังคม ระดับพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนบทบาทและหน้าที่ของศูนย์ ช่วยเหลือ การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ ทีม One home และ คณะทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคม และเพื่อ สร้างการรับรู้และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับองค์กรและภาคี เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนารูปแบบ และกำหนดแนวทาง ให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 2


1. แต่งตั้งคณะทำงานโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge management : KM) ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 2. การจัดทำแผนการจัดการความรู้และกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน (Knowledge Management Process) 3. การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ 3.1 เขียนโครงการ และขออนุมัติดำเนินการ 3.2 ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงการ ขับเคลื่อนโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ทีม One Home ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.5 3.3 จัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนและทบทวนการทำงานของ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล และเวทีถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานที่ผ่านมา เพื่อนำข้อมูลมาสังเคราะห์ให้เกิดองค์ความรู้ของหน่วยงาน 3 . 3 สร ุ ป / ร า ย ง า น ผ ล ก า ร ดำเนินงาน ตามแผนตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของ การจัดการความรู้ (KM) ของหน่วยงานสังกัด สป.พม. (รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน) 2 3


ส่วนที่ 2 ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชต.) : นโยบายสำคัญเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) เป็นเป้าหมายใหญ่ ของการขับเคลื่อนประเทศเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้ ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน การพัฒนาประเทศในช่วง ระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติจะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยครอบคลุมใน 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ชาติ ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 “ยุทธศาสตร์ ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์” โดยมี เป้าหมายให้สังคมไทย มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคน ตลอดช่วงชีวิตและมุ่งเน้นการพัฒนาคนเชิงคุณภาพในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ ช่วงการตั้งครรภ์ ปฐมวัย วัยเด็ก วัยรุ่น วัยเรียน วัยผู้ใหญ่ วัยแรงงาน และ วัยผู้สูงอายุ เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ มีทักษะความรู้ เป็นคนดี มีวินัย เรียนรู้ได้ด้วยตนเองในทุกช่วงวัย และยุทธศาสตร์ที่ 4 “ยุทธศาสตร์ ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม” ที่มีเป้าหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ กระจายศูนย์กลาง ความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็น กำลังในการพัฒนาประเทศในทุกระดับ รวมถึงเพิ่มความสามารถของชุมชน ท้องถิ่นในการพัฒนาการพึ่งตนเอง และการจัดการตนเอง เพื่อสร้างสังคม คุณภาพ 3 4


ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม จึงเป็นแนวทางประการหนึ่ง ที่มุ่งพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องและตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์” และ “ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม” และสอดคล้องกับแผนปฏิบัติ ราชการ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ของกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงการปรับรูปแบบ การทำงานเป็นทีม การเชื่อมโยงและบูรณาการทรัพยากรในการบริหารให้เกิดความคุ้มค่า มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพคน ตลอดช่วงชีวิต ตลอดจนการสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงบริการของภาครัฐ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็น กำลังในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และเพิ่มความสามารถของชุมชน ท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเอง และการจัดการตนเอง เพื่อสร้างสังคม คุณภาพ ผ่านการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและการบริการคนทุกช่วงวัย และ บูรณาการการบริการสวัสดิการสังคม ของทุกกรมของกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ จุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) การลดความซ้ำซ้อนและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนให้เข้าถึงสวัสดิการ สังคมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา รวมทั้ง มีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อตอบสนอง ความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส 2.1 แนวคิดของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ได้นำแนวคิดการพัฒนาการให้บริการ สังคมแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) และแนวคิดการใช้ ชุมชนเป็นฐานในการให้บริการ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและยกระดับ กลไกการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่ให้เป็นศูนย์ 5


ช่วยเหลือสังคมตำบล เพื่อจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ทุกช่วงวัยในทุกมิติแบบองค์รวม โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทุกวัยในชุมชน สามารถเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว นำไปสู่ชุมชนและสังคมที่ เข้มแข็ง เกิดการระดมทรัพยากรและความร่วมมือทั้งภายในและภานนอก ชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและบริการสำหรับประชาชน ทุกช่วงวัย และเชื่อมโยงให้ทุกคนได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินงานของ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เป็นศูนย์กลางในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไข ปัญหาในทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะทำให้ปัญหาสังคมลดน้อยลง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และแก้ไขปัญหาความยากจน ทำให้ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล จักเป็นการ พัฒนาศูนย์บริการ/ศูนย์ชุมชนรูปแบบต่างๆ เพื่อทำหน้าที่หรือดำเนินการ จัดตั้งใหม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบทพื้นที่ ความพร้อมและศักยภาพของชุมชนภาคี เครือข่าย 6


2.2 บทบาทหน้าที่และภารกิจของศูนย์ช่วยเหลือสังคม ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลเป็นกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่ของ พม. ชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ และภาครัฐเอกชน ในการจัดบริการและประสาน ส่งต่อบริการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และลดปัญหาความ เดือดร้อนเฉพาะหน้า แก้ไขปัญหาทางสังคม ได้แก่ ประชาชนทุกช่วงวัย ในชุมชน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายหลัก ประกอบด้วย เด็กและเยาวชน สตรีและ ครอบครัว แม่เลี้ยงเดี่ยว คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่งหรือผู้ทำการขอทาน ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ครัวเรือนเปราะบาง และประชาชนทั่วไป โดยมี วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและการบริการสวัสดิการสังคม สำหรับประชาชนทุกช่วงวัย 2) เพื่อบูรณาการการบริการสวัสดิการสังคมของทุกส่วนราชการใน สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ จุดเดียวและ เป็นองค์รวม หรือการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) 3) เพื่อลดความซ้ำซ้อนด้านทรัพยากรในการบริหารจัดการการจัด สวัสดิการสังคม ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการเข้าถึงสวัสดิการสังคมอย่าง ทั่วถึงและเป็นธรรม 4) เพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการพัฒนา คุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย และประชาชน 7


ภารกิจและบทบาทหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ที่กำหนดไว้ เป็นพื้นฐานการทำงานเบื้องต้น ได้แก่ 1) สำรวจ/วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูล โดยการใช้ข้อมูลจากระบบ บริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) เป็นฐานข้อมูลหลัก ในการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 2) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายตามสภาพปัญหา และความต้องการ และประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร 3) จัดสวัสดิการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 4) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้ ครอบคลุมทุกมิติ 5) เป็นศูนย์กลางการบูรณาการความร่วมมือในการบริการ สวัสดิการสังคมคนทุกช่วงวัย กลุ่มเป้าหมายศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 8


ประโยชน์ของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 9


2.3 แผนการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กำหนดนโยบาย ให้ทุกจังหวัดมีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล และให้ขับเคลื่อนศูนย์ ช่วยเหลือสังคมตำบลที่จัดตั้งแล้วเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและการบริการ สวัสดิการสังคมสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย เพื่อให้การขับเคลื่อนศูนย์ ช่วยเหลือสังคมตำบลในพื้นที่ เป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพ ตามแผนการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคม ดังนี้ 1) ทบทวนการประเมินศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล : เพื่อยืนยัน ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ พร้อมยกระดับการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตครัวเรือนเปราะบาง (ศูนย์ A B C และ D) 2) ทบทวนโครงสร้างคณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล : เพิ่มผู้ประสาน One home ผู้ประสานงานระดับจังหวัด สภาเด็กและเยาวชน ที่อยู่ และเบอร์โททรศัพท์ 7 8 10


3) ส่งคืนข้อมูลครัวเรือนเปราะบางให้ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล : เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 4) สร้างการรับรู้แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคม ตำบล : พัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 5) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน : ภายในกรอบพัฒนา 5 มิติ 6) ดำเนินกิจกรรมเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล : ตามแผนพัฒนากลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน 7) บูรณาการแผนและประสานทรัพยากร : พัฒนากลุ่ม เปราะบางรายครัวเรือนกับทุกภาคส่วน 8) รายงานผลการดำเนินงาน : ผ่านเว็บไซต์ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ตำบล (One Home / ศชต.) 9) ติดตามและประเมินผล: การขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคม ตำบลผ่านกลไกการตรวจราชการ (ผต. / สสว.) 2.4 แนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในพื้นที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล มีการขับเคลื่อนดำเนินงานเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็ก เยาวชน สตรี ครอบครัว แม่เลี้ยงเดี่ยว คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน ผู้ประสบ ปัญหาทางสังคม ครัวเรือนเปราะบาง ประชาชนทั่วไป ซึ่งมีกระบวนการ รับเรื่องศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลเพื่อให้การช่วยเหลือ ดังนี้ 1. ผู้ประสบปัญหาทางสังคม และประชาชน Walk In หรือติดต่อ ผ่านทาง Application ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 2. เวรปฏิบัติงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลสอบข้อเท็จจริง เบื้องต้น โดยใช้แบบรับคำร้องเบื้องต้น หรือ แบบสอบผู้ประสบ ปัญหาทางสังคม 11


3. วิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการรับการช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมายที่ขอรับบริการ และภารกิจของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง 4. ส่งเรื่องต่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการประสานเรื่องเพื่อส่ง ต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับเรื่อง และมอบหมายผู้รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา รวมถึงให้ คำแนะนำปรึกษา 7. ผู้ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา รวมถึงให้คำแนะนำปรึกษา ตามสภาพปัญหาและความต้องการ และแจ้งผลการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวให้ผู้ใช้บริการและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ 12


ส่วนที่ 3 การถอดบทเรียนและร่วมแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนงาน ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชต.) สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 ได้ดำเนินการจัดประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนร่วมกับทีม One Home จังหวัด องค์การ บริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำ กลุ่ม/องค์กร และคณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือสังคม ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้โครงการนิเทศติดตามโครงการสำคัญของ กระทรวง พม. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.5 ทั้ง 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี และหนองคาย และพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยมีกระบวนการ การจัดการความรู้การขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ดังนี้ ▪ ทบทวนและสร้างความรู้ ความเข้าใจภารกิจและบทบาทหน้าที่ ของคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ▪ ทบทวนแผนการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล และ แนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม ใน พื้นที่ ทั้ง 9 ขั้นตอน ▪ ถอดบทเรียนสรุปประเด็นปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการทำงานของศูนย์ช่วยเหลือสังคมที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมาย : ประกอบด้วย สสว.5 ทีม One Home จังหวัด อปท. และ คณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ข้อค้นพบและ แนวทางดำเนินงาน ปัญหา/อุปสรรค ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไข 1 2 3 13


14


ส่วนที่ ๔ ผลการถอดบทเรียนและแนวทางการพัฒนาศูนย์ช่วยเหลือ สังคมตำบล (ศชต.) สู่ความเข้มแข็ง ๔.๑ ผลการถอดบทเรียน สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๕ ได้ทำการสังเคราะห์ ข้อมูลจากการระดมความคิดเห็นและร่วมแลกเปลี่ยนถอดบทเรียนการ ขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชต.) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สำนักงานส่งเสริมและสนับวิชาการ 5 ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี และหนองคาย โดยมีกรอบตามขั้นตอน ที่กำหนดไว้ในแผนการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ๙ ขั้นตอน ซึ่งผลการสังเคราะห์ทำให้ได้รับทราบประเด็นปัญหาอุปสรรคที่เป็น ความท้าทาย และบทเรียนที่เป็นข้อค้นพบ คำแนะนำซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะ ในการนำไปพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชต.) ให้เป็นรูปธรรม มีความเข้มแข็งในการเป็นกลไกระดับพื้นที่ในการรับ เรื่อง จัดบริการ ประสานส่งต่อบริการ และเชื่อมโยงประสานทรัพยากรและ ภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชา สังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะครัวเรือน เปราะบาง ผู้อยู่ในภาวะยากลำบาก ภาวะพึ่งพิง โดยครอบคลุม ทั่วถึง และ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 15


16


17


18


19


20


21


22


23


24


๔.๒ แนวทางพัฒนาการขับเคลื่อนงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ผลการถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานตามแผนการขับเคลื่อนศูนย์ ช่วยเหลือสังคมตำบล พบว่าฟันเฟืองความสำเร็จในการดำเนินการในแต่ละ กระบวนการมีจุดมุ่งเน้นที่ต้องพัฒนา และจุดท้าทายที่ต้องปรับกลไกหรือ เงื่อนไขบางประการเพื่อให้ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชต.) สามารถ ดำเนินการได้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ตามสภาพปัญหาและความต้องการทั้งเด็ก เยาวชน สตรี ครอบครัว แม่เลี้ยงเดี่ยว คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการ ขอทาน ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ครัวเรือนเปราะบาง รวมถึงประชาชน ทั่วไป ซึ่งมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้กลไกความร่วมมือระดับ กระทรวง จังหวัด และพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในการแก้ไข ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า โดยการกำหนดแนวทางการพัฒนา/ยกระดับ การทำงาน ภายใต้องค์ประกอบและกระบวนการตามคู่มือการจัดตั้งศูนย์ ช่วยเหลือสังคมระดับตำบล ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ดังนี้ คู่มือการดำเนินการศูนย์ช่วยเหลือสังคมระดับตำบล 25


๔.2.1 โครงสร้างศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล • แนวทางการพัฒนา 1) ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ สำคัญและแนวคิดของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลให้กับหน่วยที่เป็นกลไก ความร่วมมือระดับจังหวัด ควบคู่กับกลไกระดับพื้นที่ (ตำบล) 2) เปิด/สร้างช่องทางในการเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือ ระหว่างกลไกระดับจังหวัดและพื้นที่ 3) กำหนดศูนย์/หน่วย/กลไกส่งต่อข้อเสนอ/ประเด็นความท้าทาย/ ความต้องการสนับสนุนจากระดับพื้นที่ จังหวัด เพื่อเข้าสู่เวทีความร่วมมือ ระดับกระทรวง 26


4) เน้นยกระดับศูนย์บริการ/กลไกคณะกรรมการ/กลุ่มหรือหน่วย รูปแบบอื่นๆ ในชุมชน/ตำบล ทั้งแบบทางการและไม่ทางการ ที่มีการ ขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคม และมีผู้แทนที่ หลากหลาย ในการปฏิบัติภารกิจศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล หรือร่วมเป็น เครือข่ายการทำงานของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ๔.2.2 องค์ประกอบของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล • แนวทางการพัฒนา การบริหารจัดการ : คณะกรรมการบริหาร 1) การพิจารณาคัดสรร/เชิญชวน/คัดเลือก ควรใช้กระบวนการมี ส่วนร่วมควบคู่กับการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นผู้ที่ตระหนัก ถึงความสำคัญของการมี ศชต. ในพื้นที่ และมีความมุ่งมั่นในการที่จักร่วม ทำงานอย่างเต็มความสามารถ 2) ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ความเข้าใจของคณะกรรมการ 27


3) คณะกรรมการต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับ/เป็นตัวแทนชุมชน ทั้งมีทักษะความสามารถในการเชื่อมโยง ประสานความร่วมมือในกลุ่ม คณะกรรมการ กับชุมชน ภาคีภาคส่วนการพัฒนาทั้งรัฐ เอกชน 4) การมีภาคธุรกิจเอกชน/องค์กรสาธารณประโยชน์/มูลนิธิ ร่วม เป็นคณะกรรมการ เป็นการเพิ่มทุนชีวิตให้แก่ ศชต. ทั้งในด้านทรัพยากร(เงิน สิ่งของ) ความรู้ และกำลังคน 5) คณะกรรมการบริหารควรมีจำนวนที่ไม่มากจนเกินไปเพื่อให้ สามารถขับเคลื่อนงานได้คล่องตัว โดยอาจใช้รูปแบบคณะทำงานแต่ละด้าน เข้ามาทดแทน การบริหารจัดการ : แผนการดำเนินงาน 1) หน่วย พม. ที่รับผิดชอบในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้ง ศชต. ต้องจัดทำแผนปฏิบัติการจัดตั้ง ศชต. ตั้งแต่กระบวนการเตรียมความ พร้อมพื้นที่ พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ และออกแบบการขับเคลื่อน ศชต. โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ เพื่อให้ได้รูปแบบการบริหาร จัดการที่เหมาะสม รวมถึงกระบวนการประสานส่งต่อบริการที่คล่องตัว มีประสิทธิภาพ 2) การติดตามผลและประเมินศักยภาพ ศชต. ควรเป็นตัวแทน ทีมงานที่มาจากหลายภาคส่วน ทั้งจักต้องมีแผนการติดตามในช่วงระยะเวลา ที่เหมาะสม การบริหารจัดการ : ระเบียบ/กติกา 1) ควรมีการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กติกา ขั้นตอนการทำงานของหน่วยบริการภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ ศชต. เพื่อประโยชน์ในการประสานส่งต่อบริการ ติดตามเรื่อง และเป็นตัวแทนทำ ความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ 2) ศชต. ควรมีการกำหนดกรอบระเบียบ แนวทางในการขับเคลื่อน งานของ ศชต. เพื่อเป็นเครื่องมือให้คณะกรรมการและภาคีเครือข่าย โดยมีกรอบเกณฑ์กลางที่ พม.กำหนดเป็นเครื่องกำกับทิศ 28


3) การกำหนดเกณฑ์ประเมินควรออกแบบโดยการมีส่วนร่วมของ พื้นที่ และวางกรอบการประเมินที่ชัดเจน ไม่ควรนำภารกิจ/บริการของ หน่วยงานในพื้นที่มาใช้ในการเป็นเกณฑ์ประเมินของ ศชต. แต่สามารถ พิจารณาในเกณฑ์การให้ข้อมูลหรือส่งต่อบริการ วิธีการหนุนเสริมให้ ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ : ทรัพยากรแหล่งทุน 1) ควรมีการจัดทำแผนที่ทุนทางสังคม และทุนภาครัฐ รวมถึงการ ออกแบบเพื่อการระดมทุนในการบริหารจัดการตนเองของ ศชต. เช่น การตั้ง กองทุนขยะเพื่อสวัสดิการทุกช่วงวัย การตั้งกองทุนสวัสดิการจากการปัน ผลประโยชน์/รายได้ของสมาชิกกลุ่มในชุมชน/กิจกรรมหารายได้ หรือการ จัดผ้าป่าสามัคคี หรือรับบริจาคเงินและสิ่งของ รวมถึงการจัดคู่ Buddy/กลุ่ม มีศักยภาพเพื่อหนุนเสริมพลังครอบครัวคนเปราะบาง เป็นต้น 2) การออกกฎระเบียบ/ปรับกฎระเบียบ หรือทำความตกลงกับ กรมบัญชีกลางเพื่อให้ ศชต. เป็นหน่วยรับเงินงบประมาณเพื่อดำเนิน โครงการของ พม. ได้ 3) สนับสนุน ศชต. ให้จดทะเบียนองค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กร ชุมชน เพื่อเข้าถึงแหล่งทุนภาครัฐ การบริหารจัดการ : กลไกการขับเคลื่อน 1) ศชต. ต้องพัฒนาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกลไกในพื้นที่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลักเพื่อรับเรื่อง ให้การดูแลคุ้มครอง ช่วยเหลือในเบื้องต้น และประสานส่งต่อบริการได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้ง สามารถดึงทรัพยากรและโครงการ/กิจกรรมเข้าสู่พื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหา พัฒนาศักยภาพได้ตรงจุด โดยเฉพาะกลุ่มอาสาสมัครของหน่วยงานรัฐ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน/มูลนิธิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึง หน่วยงานรัฐในพื้นที่และอำเภอ 29


2) การสร้างเครือข่าย ศชต.ระดับอำเภอ จังหวัด และเปิดให้มีเวที การเรียนรู้ข้ามพื้นที่ทำให้ ศชต. มีโอกาสพัฒนาศักยภาพและรูปแบบการ ทำงานที่ตอบสนองกับบริบทภูมิสังคมได้อย่างเหมาะสม นำไปสู่การพัฒนา อย่างยั่งยืน ๔.2.3 ภารกิจและบทบาทหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ภารกิจและบาทบาทหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล มีดังนี้ 1) สำรวจ/วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูล โดยการใช้ข้อมูลจาก ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) เป็นฐานข้อมูล หลักในการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 2) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายตามสภาพ ปัญหาและความต้องการ และประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร 3) จัดสวัสดิการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 4) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ให้ครอบคลุมทุกมิติ 5) เป็นศูนย์กลางการบูรณาการความร่วมมือในการบริการ สวัสดิการสังคมคนทุกช่วงวัย • แนวทางการพัฒนา 1) ควรมีการอธิบายถึงความมุ่งหวังของภารกิจ ศชต. ที่ชัดเจน โดยต้องออกแบบกรอบกระบวนงานหรือขั้นตอนการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนงานในแต่ละภารกิจของ ศชต. ในเบื้องต้น พร้อมทั้งให้ ศชต.สามารถปรับปรุง พัฒนา รูปแบบกระบวนงานของตน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง 2) ควรมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาดูงาน ในพื้นที่ ระหว่าง ศชต. ด้วยกัน และระหว่าง ศชต. กับศูนย์/คณะกรรมการ ต่างๆ ในชุมชน เพื่อพัฒนากลไก ศชต. ให้เข้มแข็ง หรือมีการบูรณาการ/ รวมศูนย์เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัยแบบเบ็ดเสร็จ หรือแบบ บูรณาการ ในที่สุด 30


๔.2.4 เครื่องมือการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เครื่องมือการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เช่น 1) ระบบการบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) 2) สมุดพกครอบครัว 3) Family Line 4) เว็บไซต์ “Violence” ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และ 5) เว็บไซต์ “ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล” 1. https://www.tpmap.in.th/ ระบบการบริหารจัดการข้อมูลการ พัฒนาคนชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) 2. ระบบสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์ https://mso-logbook.m-society.go.th/ 2. เพื่อนครอบครัว (Family Line) โดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว https://www.xn-- 42ca5dfr6ac6azcd1c9c9f0e.co m/startup/list 4. เว็บไซต์ “ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล” 24 31


• แนวทางการพัฒนา 1) เครื่องมือการขับเคลื่อนงาน ศชต. ในส่วนที่เกี่ยวกับ การปฏิบัติภารกิจและบทบาท ศชต. โดยเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการ วิเคราะห์เพื่อจัดบริการ/ออกแบบกิจกรรม ยังคงเป็นเครื่องมือที่หน่วยงาน รัฐเป็นผู้บริหารจัดการข้อมูล ต้องใช้รหัสความปลอดภัย เช่น TPMAP, MSO-Logbook ศชต.สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เฉพาะประเภทสถิติ ที่หน่วยงานเผยแพร่ พม. จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดทำระบบข้อมูล หรือ สร้างช่องทางการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นในการขับเคลื่อน ศชต. โดยให้มี ผู้รับผิดชอบข้อมูลในระดับพื้นที่ และมีช่องทางในการส่งต่อข้อมูลหรือการใช้ ข้อมูลร่วมกันกับ เพื่อให้เครื่องมือดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ 2) ควรมีการรวบรวมและจัดทำช่องทางเข้าถึงเครื่องมือใน ส่วนที่เป็นการให้ความรู้ การพัฒนาศักยภาพของ ศชต. ซึ่งมีจำนวนมากให้ อยู่ในช่องทางเดียวกัน โดยเริ่มจากข้อมูลและเครื่องมือในส่วนของ พม. เช่น เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น เว็บเพจ ที่ยังมีช่องทางเข้าถึงกระจัดกระจาย ๔.3 กระบวนการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล /ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ระดับพื้นที่ (ใหม่) การดำเนินงานของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เน้นบูรณาการ การบริการสวัสดิการสังคมของทุกส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ จุดเดียวและเป็นองค์รวม ลดความ ซ้ำซ้อนของระบบบริหารจัดการในการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเป็นรูปธรรม และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสวัสดิการสังคมอย่าง ทั่วถึงและเป็นธรรม โดยมีรูปแบบการจัดสถานที่ของศูนย์ช่วยเหลือสังคม ตำบล ดังนี้ 25 32


ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม 1. ควรพิจารณาอาคาร สถานที่ที่มีอยู่เดิมในชุมชน และ ปรับปรุงตามความเหมาสมต่อการใช้ประโยชน์ เช่น สถานที่ในพื้นที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล วัด สถานีอนามัย อาคาร โรงเรียน หรือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล ซึ่งประชาชนในชุมชน ตำบล สามารถเดินทางมาใช้บริการได้อย่างสะดวก และระยะทาง ไม่ห่างจากชุมชนมากจนเกินไป เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึง กิจกรรมและบริการภายในศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว 2. ควรมีการจัดสถานที่ให้สะอาด ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และถูกสุขลักษณะตามความเหมาะสม และบริบทของพื้นที่ ๓. การปรับปรุงสถานที่ทำงานให้สามารถระบายอากาศได้ ดีขึ้น เช่น การเพิ่มระบบระบายอากาศ ให้มีการหมุนเวียนอากาศ มากขึ้น ๔. การจัดทำป้ายชื่อของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลอย่าง ชัดเจน ๕. การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สถานที่ให้ เหมาะสมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เช่น ทางลาด ราวจับ และ บริการ Wheel chair เป็นต้น ด้านบริการ ๑. ควรกำหนดจุดลงทะเบียนในการขอรับบริการ และมี การกำหนดผังหรือป้ายที่แสดงรายละเอียดของสถานที่ให้บริการ ภายในศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลอย่างชัดเจน ๒. การกำหนดจุดรับเรื่องราวร้องทุกข์ ให้ประชาชน สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของอาคาร และ กำหนดบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน ที่มาใช้บริการของ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เช่น 26 33


ผู้แทนจากสภาเด็กและเยาวชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ (อพม.) รวมถึงการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ผ่านทาง Application เช่น Line 1300 , Family Line ๓. การจัดสถานที่โดยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ที่มาใช้บริการ ผ่านการเชื่อมต่อบริการ ด้วยระบบ Internet ๔. การจัดทำปฏิทินกิจกรรม โดยบูรณาการขับเคลื่อนศูนย์ ช่วยเหลือสังคมตำบลร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ ๕. การจัดเวรเจ้าหน้าที่ หรืออาสาสมัครที่มีจิตอาสา รับเรื่องราวร้องทุกข์ และขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมภายในศูนย์ ช่วยเหลือสังคมตำบล อย่างต่อเนื่อง • แนวทางที่ควรเพิ่มเติม 1) กรณีไม่สามารถจัดสถานที่ให้ถูกสุขลักษณะตามที่ กำหนดขั้นต้นได้ จำเป็นต้องดำเนินงานตามมาตรการป้องกัน ควบคุมการ ระบาดของเชื้อติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในมาตรการ พื้นฐานโดยเคร่งครัด และครบถ้วน 2) กรณีที่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลพิการ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้อยู่ในภาวะเปราะบางอื่น ให้ประสานงานใช้ สถานที่ที่มีความเหมาะสม หรือการลงพื้นที่แทน 3) อาจกำหนดให้บุคคล หรือกลุ่ม เป็นกลไกในการรับเรื่อง ประสานงานของ ศชต. เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ และสร้างการเข้าถึงที่ รวดเร็ว 4) พม.ต้องประสานกลไกระดับกระทรวงตาม MOU ในการเชื่อมโยงและพัฒนาระบบบริการ และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อน ศชต. เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนทุกช่วงวัย และการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า 34


๔.4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนศนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 1) คณะกรรมการ ศชต. มีเข้าใจบทบาทหน้าที่ของศูนย์ช่วยเหลือ สังคมตำบล ทราบถึงข้อมูลบริการและแหล่งทรัพยากรภาครัฐ และ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ ทีม One Home พม. และองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ๒) ศชต. ที่ยกระดับจากศูนย์/คณะกรรมการที่มีอยู่เดิมในชุมชน ซึ่งมีศักยภาพอยู่แล้ว เช่น ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน ศูนย์พัฒนาครอบครัว ในชุมชน โรงเรียนผู้สูงอายุ หรือเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน ๓) การมีแนวทางการขับเคลื่อนงานที่ชัดเจน มีชุดองค์ความรู้ และ มีหน่วยในการให้คำปรึกษาแนะนำ ให้ข้อมูลในการขับเคลื่อน ศชต. ๔) การมี ศชต.ที่มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน เป็นต้นแบบในการเรียนรู้และพัฒนา ศชต. 35


คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา นางสาวนงลักษณ์ ยะสูงเนิน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 คณะทำงาน นางเยาวภา บุญคง หัวหน้ากลุ่มการวิจัยและการพัฒนาระบบเครือข่าย นางสาวเกษสุดา เพชรก้อน นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นายวิชานนท์ ศรีธรรมวงษ์ นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นายโดม ศิลาแยง นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นางสาวปฏิพัทธ์ ดวงแสง นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นางจุฬาลักษณ์คำสีแก้ว นักพัฒนาสังคม นายภิรนันท์ ภูริพงษ์พิพัฒน์ นักพัฒนาสังคม นางสาวจินตหรา ทิพฤาตรี เจ้าหน้าที่ศูนย์ให้บริการทางวิชาการ


Click to View FlipBook Version