The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สภาเด็กและเยาวชนตำบล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by สสว.5 จังหวัดขอนแก่น, 2021-10-25 06:24:58

สภาเด็กและเยาวชนตำบล

สภาเด็กและเยาวชนตำบล

เอกสารวิชาการ

สภาเด็กและเยาวชนตำบล

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น
ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

คำนำ

ย์

เอกสารวิชาการ เรื่อง “สภาเด็กและเยาวชนตำบล” ดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นองค์ความรู้
ในการดำเนินงานให้แก่หน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึง
ภาคีเครือข่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1–11 มีภารกิจส่งเสริม
ค ว า ม รู้ ท า ง วิ ช า ก า ร ใ ห้ คำ ป รึ ก ษ า แ น ะ นำ ใ ห้ บ ริ ก า ร ทุ ก ก ลุ่ ม เ ป้ า ห ม า ย แ ล ะ ห น่ ว ย ง า น ใ น เ ข ต พื้ น ที่ ใ ห้ บ ริ ก า ร
ข อ ง ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์ ทุ ก จั ง ห วั ด ส่ ง เ ส ริ ม ส นั บ ส นุ น ใ ห้ เ กิ ด ร ะ บ บ
เครือข่าย และประสานการดำเนินงานในพื้นที่รวมถึงเป็นหน่วยงานที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในแง่
จากการวิจัยการถอดบทเรียนโครงการสำคัญต่างๆและการจัดทำเอกสารวิชาการครั้งนี้นับว่าเป็นการ
ส่ ง เ ส ริ ม ง า น วิ ช า ก า ร เ พื่ อ เ ป็ น แ น ว ท า ง ก า ร ดำ เ นิ น ง า น แ ล ะ เ ป็ น ข้ อ เ ส น อ แ น ะ ก า ร ดำ เ นิ น ง า น ด้ า น ส ภ า เ ด็ ก
แ ล ะ เ ย า ว ช น ตำ บ ล เ พื่ อ ใ ห้ ห น่ ว ย ง า น ใ น สั ง กั ด ไ ด้ นำ ไ ป ใ ช้ ป ร ะ โ ย ช น์

ขอขอบคุณสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยและกรมกิจการเด็กและเยาวชนที่ให้เข้าถึง
ข้อมูลการดำเนินงานด้านสภาเด็กและเยาวชนตำบลทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารวิชาการ
เล่มนี้จะสร้างประโยชน์และมีคุณค่าในทางวิชาการต่อไป

ก ลุ่ ม ก า ร วิ จั ย แ ล ะ ก า ร พั ฒ น า ร ะ บ บ เ ค รื อ ข่ า ย
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5

สารบัญ

เ รื่ อ ง ห น้ า

ย์ 1
2
คำนำ 3
สารบัญ 6
บทนำ 7
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และคำนิยาม 8
ส รุ ป ส า ร ะ สำ คั ญ พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร พั ฒ น า เ ด็ ก 10
แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินกิจการ 11
ความเชื่อมโยงของโครงสร้าง

บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่ของสภาเด็กและเยาวชนตำบล
ประโยชน์ที่เด็กและเยาวชนจะได้รับ
แบบฟอร์มสภาเด็กและเยาวชนตำบล/เทศบาล




สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

สภาเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
พ.ศ. 2550 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2551 มีทั้งหมด 3 ระดับ คือ สภาเด็กและเยาวชน
ระดับอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด สภาเด็กและเยาวชนระดับชาติโดยกำหนดให้กรมกิจการเด็ก
และเยาวชน(สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุในขณะนั้น)
และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นผู้ดูแลและดำเนินการจัดตั้ง

ในปี พ.ศ. 2553 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในขณะนั้น
ได้เสนอให้มีการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนในระดับตำบลขึ้นโดยให้ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้อง
ถิ่นให้ดำเนินการจัดตั้งขึ้นต่อที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติและที่
ประชุมมีมติให้ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนระดับ
ตำบลขึ้นปัจจุบันได้มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมและได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็ก
และเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2560 ทำให้เกิดสภาเด็กและเยาวชนตำบลและ

1 เทศบาลขึ้นทั่วประเทศไทย

วิสัยทัศน์ พันธกิจและคำนิยาม



อัตลักษณ์
“มีอิสระทางความคิด มีไหวพริบแก้ปัญหา จิตอาสาพัฒนาสังคม”

วิสัยทัศน์
สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนด้านวิชาการและส่งเสริมกิจกรรม

ในการพัฒนาป้องกัน และแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน สร้างสรรค์สังคม บริหารงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
มีวินัย โปร่งใส เป็นที่ยอมรับ สร้างผู้นำสู่ความเป็นสากลแห่งอาเซียน

พั น ธ กิ จ
1. จัดสมัชชาเสริมสร้างการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนทุกภาคส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย
ที่ ทำ ง า น ด้ า น ก า ร พั ฒ น า เ ด็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น
2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของสภาเด็กและเยาวชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็ก
และเยาวชน สร้างองค์ความรู้และจิตสำนึกที่ดีในการทำงานให้กับสภาเด็กและเยาวชนและภาคี

2 เครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

3. ศึกษาสถานการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูล
ด้านเด็กและเยาวชน

4. สนับสนุนการทำกิจกรรมของเด็กและเยาวชนในพื้นที่
5. กำหนดมาตรฐานในการทำงานและการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีการตรวจสอบและประเมินผล

การทำงานอย่างต่อเนื่อง
6. ผลักดันการเสนองบประมาณด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนสำหรับเด็กและเยาวชนทุกกลุ่มสู่แผน

ก า ร พั ฒ น า เ ด็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ
7. เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของคณะบริหารฯ จัดการบริหารโดยส่งเสริมบุคคลให้มีความ

สามารถ และสร้างภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยน
8. เรียนรู้และเปิดพื้นที่ระหว่างเด็กและเยาวชนในประเทศอาเซียนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำ

วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา แก้ไขปัญหา และร่วมกำหนดนโยบายด้านเด็กและเยาวชน รวมทั้ง

ก า ร ส่ ง เ ส ริ ม ส นั บ ส นุ น ก า ร มี ส่ ว น ร่ ว ม ข อ ง ป ร ะ ช า ช น ใ น ก า ร ส่ ง เ ส ริ ม แ ล ะ พั ฒ น า เ ด็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น

การจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ 8,781 แห่ง
1. สภาเด็กและเยาวชนตำบล และสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล (7,775 แห่ง)
2. สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ (878 แห่ง) และสภาเด็กและเยาวชนเขต (50 แห่ง)
3. สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด (76 แห่ง) สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร (1 แห่ง)
4. สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (1 แห่ง)

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์




สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550

และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560




พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2560 ได้จัดแยกเนื้อหาของกฎหมาย เป็น 3 หมวด 1 บทเฉพาะกาล สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
คำนิยามตามมาตรา 4 ที่สำคัญมีดังนี้

“เด็ก” หมายความว่า บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
“คณะบริหาร” หมายความว่า คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบล คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน
เทศบาล คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเขต คณะบริหารสภาเด็ก
และเยาวชนจังหวัด คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร และคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน
แห่งประเทศไทย
“สำนักงาน” หมายความว่า กรมกิจการเด็กและเยาวชน

3 “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ

หมวด 1 บททั่วไป กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีหน้าที่ในการพัฒนา

เด็กและเยาวชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่อาจมีผลกระทบในทางลบต่อเด็กและเยาวชน โดยกำหนดให้เด็กทุกคน

มีสิทธิได้รับการจดทะเบียนการเกิดการยอมรับการคุ้มครอง และโอกาสในการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน

เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความผูกพันต่อค รอบครัวภาคภูมิใจ ในความเป็นไทยมีสุขภาพและพลานามัยแข็งแรง

รู้จักการป้องกันตนเองจากโรคและสิ่งเสพติด มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ตามสมควรแก่วัย จริยธรรม และคุณธรรม

รวมทั้งมีทักษะและเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจในการทางานสุจริต และให้กรมกิจการ

เด็กและเยาวชน ส่งเสริมและประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจัดทำแผน

พั ฒ น า เ ด็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น ใ น ร ะ ดั บ ท้ อ ง ถิ่ น ใ ห้ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ แ ผ น พั ฒ น า เ ด็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น แ ห่ ง ช า ติ แ ล ะ ใ ห้ อ ง ค์ ก ร ป ก ค ร อ ง

ส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

หมวด 2 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
(1) คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี
หรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงกลาโหมปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม
ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ประธานสภา
เด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ผู้แทนภาคเอกชน ผู้แทนเด็กและเยาวชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ โดยให้อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชนเป็นกรรมการและเลขานุการ
(2) คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ เสนอนโยบายและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยต้องคำนึงถึงพันธกรณีระหว่างประเทศ เสนอแนวทางปรับปรุง
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน กำหนดระเบียบและวิธีปฏิบัติ
เกี่ยวกับการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนแก่หน่วยงานของรัฐและ

4 เอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือทางวิชาการ การวิจัยและพัฒนา เงินอุดหนุน สิ่งอำานวยความสะดวก
หรือบริการต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดสมัชชาการพัฒนาเด็กและ
เยาวชนแห่งชาติอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชน ทบทวนกลไกและกระบวนการ
ทำงานและพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศ ตลอดจนจัดการ
ประเมินผลการดำเนินงาน และเสนอรายงานการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน ของประเทศต่อคณะ
รัฐมนตรีและรัฐสภาอย่างน้อยปีละครั้ง
(3) กรมกิจการเด็กและเยาวชน ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็ก
และเยาวชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน และรับผิดชอบ
งานธุรการและวิชาการของคณะกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน
แห่งชาติเสนอต่อคณะกรรมการกำหนดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายและ
แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านเด็กและเยาวชน การสำรวจ ศึกษา
รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของเด็กและเยาวชน ตามอนุสัญญา
ว่าด้วยสิทธิเด็ก และความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ตลอดจนกฎหมายภายในประเทศ
ก า ร ส นั บ ส นุ น แ ล ะ ป ร ะ ส า น ง า น กั บ ห น่ ว ย ง า น ทั้ ง ใ น ป ร ะ เ ท ศ แ ล ะ ต่ า ง ป ร ะ เ ท ศ เ พื่ อ ร่ ว ม มื อ กั น พั ฒ น า เ ด็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น
ส่งเสริมการดำเนินกิจการสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับ เป็นศูนย์กลางประสานงาน วางแผนงบประมาณเกี่ยว
กับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตลอดจนให้การสนับสนุนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชน
ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ดำเนินการจัดสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน
แห่งประเทศไทยอย่างน้อยปีละครั้ง จัดทำรายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนเสนอต่อคณะกรรมการ
และคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละครั้ง

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

หมวด 3 มาตรการส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน
ส่วนที่ 1 สภาเด็กและเยาวชน

การจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล/เทศบาล กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล
โดยคำแนะนำของหัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัดจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็ก

5 และเยาวชนเทศบาล แล้วแต่กรณี ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย เด็กและเยาวชนที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหาร

ส่วนตำบลหรือเทศบาลนั้น โดยให้มีคณะบริหำรประกอบด้วย ประธาน 1 คน และผู้บริหาร ไม่เกิน 20 คน
ซึ่งคัดเลือกกันเองจากสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ให้มีหน้าที่บริหารงานทั่วไปของสภาเด็กและเยาวชน และปรึกษาหารือ
ร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ รวมทั้งดำเนินการอื่นใด
ที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล
หรือสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ส่วนที่ 2 การส่งเสริมบทบาทขององค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

1) ให้องค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนที่มีกิจกรรมหรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน
และไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในทางการเมืองหรือมุ่งหากำไร มีสิทธิขอจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชน
ด้ า น ก า ร พั ฒ น า เ ด็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น

2) องค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนที่จดทะเบียนอาจได้รับเงินอุดหนุนความช่วยเหลือหรือการสนับสนุน
จากรัฐในการดำเนินการด้านต่าง ๆ เช่น การจัดให้มีอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาเด็ก
และเยาวชน การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลหรือข่าวสารเพื่อสร้างจิตสำนึกของสาธารณชน ที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
การพัฒนาเด็กและเยาวชนการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนในด้านอื่น ๆ แก่เด็กและเยาวชนที่ถูกละเมิดสิทธิ
เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย การแพทย์ การบำบัดฟื้ นฟู การสงเคราะห์เด็กและเยาวชน เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินกิจการให้มีสภาเด็กเด็กและเยาวชน
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550

และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

1. จัดทำแนวทางการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและ
เยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

2. ประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์การจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับตามพระราชบัญญัติส่ง
เสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 โดย
กรมกิจการเด็กและเยาวชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่

3. กำหนดวันในการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนแต่ละระดับ คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็ก
และเยาวชนแห่งชาติ กำหนดวันในการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนแต่ละระดับ

4. จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนแต่ละระดับ
4.1 แต่ละจังหวัด จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล/เทศบาล สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ และสภา

เด็กและเยาวชนจังหวัด โดยแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด อำเภอ

6 องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล บูรณาการดำเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับตามวันที่
ส่วนกลางกำหนด
4.2 ในกรุงเทพมหานคร จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนเขตและสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร
โดยแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนระดับเขต และกรุงเทพมหานคร
4.3 กรมกิจการเด็กและเยาวชน จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย

5. จัดทำฐานข้อมูลสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ
อบต. และเทศบาล ผู้รับผิดชอบจากทีมงานบูรณาการของ พม. แจ้งข้อมูลให้หัวหน้าบ้านพักเด็ก

และครอบครัว สำหรับจัดทำเป็นฐานข้อมูล ดังนี้
- ประกาศรายชื่อคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน และทำเนียบคณะบริหารฯ แต่ละระดับ
- ประกาศรายชื่อที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนแต่ละระดับ

6. ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ
หน่วยงานภารัฐ องค์กรเอกชน ภาคประชาสังคมร่วมส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของสภา

เด็กและเยาวชน ให้สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของสมาชิก จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ
เช่น จิตอาสา กิจกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชน ชุมชน สังคม ประชุมคณะบริหาร
อย่างน้อยปีละ2ครั้ง การประชุมสามัญประจำปี เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

ความเชื่อมโยงของโครงสร้าง
สภาเด็กและเยาวชน

สมาชิก คัดเลือกกันเอง คณะบริหาร

7 เด็กและเยาวชนทุกคนตาม 1.ประธาน 1 คน
ทะเบียนราษฎร์ ที่อยู่ในเขตพื้นที่ 2.ผู้บริหารไม่เกิน 20 คน
สภาเด็กและเยาวชน
ตำบล/เทศบาล

สภาเด็กและเยาวชน คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน 1.ประธาน 1 คน
อำเภอ ตำบล/เทศบาลทุกคนที่อยู่ในเขต 2.ผู้บริหารไม่เกิน 20 คน

พื้ น ที่ อำ เ ภ อ นั้ น

สภาเด็กและเยาวชน 1.ประธานสภาเด็กและเยาวชน 1.ประธาน 1 คน
จังหวัด อำเภอทุกอำเภอ 2.ผู้บริหารไม่เกิน 20 คน

2.ผู้แทนจากคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน
ทุกอำเภอๆละ4คน

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์




บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสภาเด็กและเยาวชนตำบล

1. บ้านพักเด็กและครอบครัว
- ส่งเสริม สนับสนุน และประสานให้เกิดการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล
- ส่งเสริม สนับสนุนในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนตำบล
- ส่งเสริม และพัฒนาพี่เลี้ยง ให้มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชน
ให้มีความเข้มแข็ง
- จัดทำฐานข้อมูลสภาเด็กและเยาวชนตำบล

2. องค์การบริหารส่วนตำบล
- ดำเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบลตามแนวทางที่กำหนดไว้
- จัดทำประกาศและทำเนียบของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบล
- จัดทำบัตรประจำตัวให้กับคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบล
- พัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนตำบลให้มีความเข้มแข็งได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
- ประสานให้สมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบลประชุมสามัญประจำปี อย่างน้อยปีละ1ครั้ง
- ประสานให้สภาเด็กและเยาวชนจัดทำข้อบังคับของสภาเด็กและเยาวชนตำบล

8 - ประสานให้สภาเด็กและเยาวชน จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของสภาเด็กและเยาวชนตำบล
- กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนตำบล
- สรุปผลการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนตำบล ให้กับบ้านพักเด็กและครอบครัว

3. นายอำเภอ
- ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนตำบล
- เป็นที่ปรึกษาให้กับสภาเด็กและเยาวชนตำบล โดยการให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะเมื่อสภาเด็ก
และเยาวชนตำบลเกิดปัญหาอุปสรรค

4. พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ร่วมมือกับบ้านพักเด็กและครอบครัว สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- เป็นที่ปรึกษาให้กับสภาเด็กและเยาวชนตำบล โดยการให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะเมื่อสภาเด็ก
และเยาวชนตำบลเกิดปัญหาอุปสรรค

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์




บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสภาเด็กและเยาวชนตำบล (ต่อ)

5. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ
- ศึกษา พัฒนารูปแบบ แนวทาง โดยการศึกษาวิจัย การพัฒนานวัตกรรม การถอดบทเรียน
นำไปต่อยอดขยายผล
- การประเมินผล ติดตามผล วิเคราะห์สังเคราะห์ ผลกระทบในระดับนโยบาย และผลสัมฤทธิ์
ของสภาเด็กและเยาวชน ต่อทิศทางการพัฒนากลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัด
- ให้คำปรึกษาแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน การจัดทำโครงการ กิจกรรมในแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

6. ศึกษาธิการจังหวัด
- ให้ความร่วมมือ ประชาสัมพันธ์ การจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบลใน-นอก ระบบโรงเรียน
- ให้ความร่วมมือกับ พมจ. และบ้านพักเด็กและครอบครัวในการดำเนินการของสภาเด็กและเยาวชนตำบล

7. หน่วยงานของรัฐ/เอกชน อื่นๆในพื้นที่
- ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนตำบล

9 - เป็นที่ปรึกษาให้กับสภาเด็กและเยาวชนตำบล โดยการให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะเมื่อสภาเด็กและเยาวชน
ตำบล เกิดปัญหาอุปสรรค

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์




หน้าที่ของสภาเด็กและเยาวชนตำบล

สภาเด็กและเยาวชนตำบลและสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. ประสานงานระหว่างสภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็กและเยาวชนเทศบาล สภาเด็กและ
เยาวชนอำเภอ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆของเด็กและเยาวชน
2. ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการ การศึกษา สุขภาพ กีฬา
อาชีพและวัฒนธรรมในท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน
3. ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้อง
กับความรู้ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก
และเยาวชน
4. จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น ให้มีความรู้ ความ
สามารถรวมทั้งคุณธรรมจริยธรรม
5. รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่
เ พื่ อ ส่ ง ต่ อ ข้ อ มู ล ดั ง ก ล่ า ว ใ ห้ กั บ ส ภ า เ ด็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น ตำ บ ล
6. เสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่นวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมละพัฒนาเด็กและเยาวชน

10 รวมทั้งการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่
7. เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา
เด็กและเยาวชนในท้องถิ่น
8. เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและองค์กร
เ อ ก ช น ห รื อ อ ง ค์ ก ร ชุ ม ช น ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั บ เ ด็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น ใ น เ ข ต พื้ น ที่
9. ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ โดยให้คณะบริหาร
สภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล แล้วแต่กรณี เป็นผู้เสนอ ทั้งนี้
ให้สอดคล้องกับข้อบังคับของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

ประโยชน์ที่เด็กและเยาวชน
จะได้รับในการเข้ามาเป็นสภาเด็กและเยาวชนตำบล

1. การสร้างความเป็นผู้นำและความเสียสละเพื่อส่วนรวม:สภาเด็กและเยาวชนจะได้รับการฝึก
การเป็นผู้นำที่ดีรู้หน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงความเสียสละ มีจิตอาสา เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

2. มีความรอบรู้และการใช้ทักษะในการดำรงชีวิตรวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม
สภาเด็กและเยาวชนมีการจัดอบรมให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนในประเด็นต่างๆ และช่วยเป็นกระบอก
เสียง ในการสะท้อนปัญหาจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับนโยบายและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและ
พัฒประเทศชาติ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันว่าด้วยอนุสัญญาสิทธิเด็ก ซึ่งทุกประเทศต้องรับประกันว่า
เด็กในประเทศของตนมีสิทธิจะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา
และสิทธิ การมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่อาจมีผลกระทบในทางลบ

11 ต่อเด็กและเยาวชน

3. เรียนรู้ทักษะสำคัญในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณลักษณะ
ที่สามารถใช้ชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความรับผิดชอบ มีทักษะการเรียนรู้ที่เป็นระบบและ
สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดยสามารถใช้ประเมินผลและวิเคราะห์เทคโนโลยีสนเทศ รวมทั้ง
สื่อใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

แบบฟอร์ม
สภาเด็กและเยาวชนตำบล/เทศบาล

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น

ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น
สำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์
ที่ตั้ง : 36/2 หมู่ 9 ตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 40250

โทรศัพท์ / โทรสาร : 0-4342-1249


Click to View FlipBook Version