คำนำ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๕ ดำเนินการขับเคลื่อน โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ประจำปี งบประมาณ 2566 ภายใต้โครงการศูนย์บริการวิชาการพัฒนาสังคมและ จัดสวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่ ตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทาง การให้บริการศูนย์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ส่งเสริมและสนับสนุน งานวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมในเขตพื้นที่ กลุ่มจังหวัด ตลอดจนการพัฒนารูปแบบ และกำหนดแนวทางให้บริการ แก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ซึ่งได้ศึกษาการจัดการองค์ความรู้ (KM) เรื่อง “การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ สสว.๕” โดยกำหนดองค์ความรู้ในรูปแบบ “ห้องสมุดมีชีวิต” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้บริการประชาชน ภาคีเครือข่าย เกี่ยวกับงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานสวัสดิการสังคมและพัฒนา สังคมในพื้นที่ และขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เครือข่ายการทำงานของ พม. และบุคลากรทีม One Home เขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.5 ที่ร่วมมือ ร่วมใจทำให้เกิดองค์ความรู้ “การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ สสว.5” เล่มนี้ คณะผู้จัดทำ กันยายน 2566 ก
สารบัญ ส่วนที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญ 1 คำนิยามสำคัญ 2 ขอบเขตและกรอบแนวคิด 4 - ประเภทความรู้ 6 - รูปแบบเรียนรู้ 7 - กรอบแนวคิดการจัดการความรู้ “Tuna Model” 8 - กระบวนการสร้างองค์ความรู้ 9 ส่วนที่ 2 กระบวนการพัฒนาความรู้ KM 11 กระบวนการจัดทำแผนการจัดการความรู้ 12 แผนพัฒนาศูนย์เรียนรู้ 15 องค์ความรู้ในรูปแบบ “ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้” 20 ความท้าทายในการบริหารจัดการ 30 ปัจจัยที่ทำให้ KM ประสบความสำเร็จ 32 ข
ส่วนที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น (สสว.5) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นส่วนราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โดยมีอำนาจหน้าที่ คือ 1) วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาทางวิชาการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ให้สอดคล้องกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 2) ส่งเสริมและสนับสนุนงาน ด้านวิชาการ องค์ความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ หน่วยงานบริการทุกกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้บริการ ในความรับผิดชอบของ กระทรวง ร่วมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ภาคเอกชน และประชาชน 3) ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์และ สภาพแวดล้อม เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของสถานการทางสังคมและ ผลกระทบ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาสังคมและจัดทำยุทธศาสตร์ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด 4) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด 5) เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนา สังคมและจัดสวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด 6) สนับสนุนการ นิเทศงาน ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเชิงวิชาการตามนโยบายและ ภารกิจของกระทรวงในพื้นที่กลุ่มจังหวัด และ 7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือ สนับสนุนหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สสว.5 ได้ให้ความสำคัญกับ การเตรียมความพร้อมด้านระบบบริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรและบุคลากร เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ผลงานทางวิชาการด้านสังคม และเป็นศูนย์กลาง ในการแสวงหาความรู้ โดยได้ขับเคลื่อนงานตามโครงการมาอย่างต่อเนื่อง การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5 1
การจัดการองค์ความรู้(KM : Knowledge Management) การจัดการความรู้หมายถึง การรวบรวมความรู้จากผู้มีประสบการณ์ ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจาก การเรียนรู้เจตคติในงาน ประสบการณ์การทำงาน ละพฤติกรรมการทำงานของแต่ละบุคคล ซึ่งปฏิบัติงานเรื่องเดียวกันหรือคน ละเรื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เมื่อ รวบรวมแล้วก็มีการนำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ (Analysis) สังเคราะห์ (synthesis) และจัดระบบใหม่ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับ องค์กร มีการจัดเก็บข้อสรุปทั้งมวลอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การยอมรับ แล้วนำมาเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดการต่อยอดความรู้และนำไปปฏิบัติให้ เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร รวมทั้งเป็นแบบอย่างต่อหน่วยงานอื่น อันจะยังประโยชน์ในงานวิชาการและการศึกษาต่อไป ความรู้ หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือ ประสบการณ์รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติโดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1. ความรู้ที่ฝั่งอยู่ใน ตัวบุคคล (Tacit knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่มีสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้ โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้ง จึงเรียกว่า เป็นความรู้แบบนามธรรม 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎีคู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่า เป็นความรู้แบบรูปธรรม 2 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
องค์ประกอบสำคัญของวงจร “คน” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นแหล่งความรู้และเป็น ผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ “เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น “กระบวนการความรู้” เป็นการบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่ง ความรู้ไปให้ผู้ใช้ซึ่งทำให้เกิดการ ปรับปรุง และนวัตกรรม ประกอบด้วย Socialization การแบ่งปันและสร้างความรู้จาก Tacit Knowledge ไปสู่ Tacit Knowledge โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของผู้ที่สื่อสาร ระหว่างกัน เช่น พูดคุย หรือถ่ายทอดจาก สมองของคนๆ หนึ่ง ไปสู่สมอง ของคนอีกหลายๆ คน เป็นต้น องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่าง สมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและ สามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมา ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้อง ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้าง วิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของ ข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มี ประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน 3 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
ในปีงบประมาณ 2566 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๕ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานโครงการการจัดการความรู้ (KM) หัวข้อ “การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ สสว.๕” ภายใต้โครงการส่งเสริม ประสานบูรณา การ การจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสังคมระดับพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อกำหนดแนวทางการให้บริการศูนย์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบท พื้นที่ ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและการจัด สวัสดิการสังคมในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด ตลอดจนการพัฒนารูปแบบ และ กำหนดแนวทางให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 1.2 ขอบเขต/กรอบแนวคิด ศูนย์เรียนรู้ทางสังคม : การเรียนรู้ทางสังคมเป็นกระบวนการ เผยแพร่ความรู้ ความคิด พฤติกรรม หรือแม้แต่วัตถุ สิ่งของ เทคนิควิธีการ เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในสังคมที่มีระบบสังคมเป็นปัจจัยสำคัญใน การกำหนดกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม การถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ ความคิด และมีการใช้สื่อรวมทั้งกระบวนการสื่อสารในสังคม โดยเฉพาะ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการสร้างให้เกิดเครือข่ายทางสังคม ออนไลน์ การสร้างเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงเกิดขึ้นได้ง่าย มีการเรียนรู้ทางสังคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีกระบวนการของการเรียนรู้ แยกย่อย ดังนี้ 1. กระบวนการสร้างความสนใจ ขั้นตอนนี้เป็นการสร้างความ โดดเด่น (Salience) ให้เกิดความแพร่หลาย (Prevalence) กระทบกับภาวะ ของการรับรู้และกระบวนการทางปัญญาที่สามารถเข้าใจ (Cognitive Capabilities) กระตุ้นความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น จนทำให้เกิดความพึง พอใจ อิทธิพลของสื่อสมัยใหม่สามารถสร้างความสนใจและเข้าถึงผู้คน ส่วนมากได้อย่างง่ายและรวดเร็ว 4 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
2. กระบวนการสร้างความคงทน เป็นส่วนสำคัญที่ต้องออกแบบ สถานการณ์ของการเรียนให้สามารถคงทนได้ดี ทั้งนี้อาจใช้กระบวนการทำ ให้เกิดภาวะ “สะดุดในกระบวนการทางปัญญา” หรือ Cognitive Disfluency เป็นการใช้สัญลักษณ์ และวาทกรรมที่โดนใจรวมทั้งอาจสร้าง หรือทำสิ่งที่ แปลกใหม่ ล่อแหลม ท้าทายต่อความถูกต้องเชิงวัฒนธรรมและ กฎหมายเพื่อสร้างความคงทนในการจดจำสิ่งที่ได้รับรู้มาจากกระบวนการ สร้างความสนใจ 3. กระบวนการแสดงออกเป็นผลิตภาพ เป็นกระบวนการเชื่อมโยง และถ่ายโอนของกระบวนการทางปัญญามาสู่พฤติกรรม สังเกตได้จาก พฤติกรรมการแสดงออก ทั้งการพูดและการกระทำที่เป็นกระบวนการที่ สร้างแบบแผนพฤติกรรมใหม่ที่มีแบบแผนเฉพาะขององค์กร 4. กระบวนการสร้างแรงจูงใจเป็นแบบอย่าง ในกระบวนการนี้ เป็นการยืนยันและรับเอาแบบแผนแห่งตนเข้ามาเป็นบุคลิกภาพของตน ในขั้นนี้อาจมีการให้รางวัลตนเอง หรือสนับสนุนการกระทำของ ตนเอง รวมทั้งเผยแพร่แบบอย่าง ของตนสู่ผู้อื่นให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ทาง สังคมขึ้นต่อ ๆ ไป เมื่อมีความเข้าใจตรงกันในกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมแล้ว สามารถนำหลักการและกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมดังกล่าวมาใช้ให้เกิด ประโยชน์กับสังคม ด้วยการออกกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบต่าง ๆ เพื่อใช้ สำหรับการควบคุม ส่งเสริม ป้องกัน กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และ กำหนดมาตรการหรือแนวทางให้สังคมได้เรียนรู้ในทิศทางที่เหมาะสม 5 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
สร้างความสงบสุขในสังคมได้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมยังสามารถ อธิบาย วิเคราะห์สาเหตุต่าง ๆ ของปรากฏการณ์ในสังคมตามทฤษฎีการ เรียนรู้ทางสังคม เพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้อง เหมาะสม และไม่เป็นการสร้าง หรือซ้ำเติมปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่สามารถ แก้ปัญหาให้ลดลงหรือหมดไปได้ 1.3 ประเภทความรู้ 1) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถ เผยแพร่ให้อยู่ในรูปแบบของ เอกสารวีซีดีเทป ฐานข้อมูล 2) ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิด จากทักษะ ประสบการณ์ความคิด พรสวรรค์ของแต่ละบุคคลความรู้ ประเภทนี้จะมี2 ส่วน คือความรู้ที่อธิบายได้แต่ยังไม่ได้ถูกบันทึกให้เป็น ความรู้ที่ชัดแจ้งกับความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายได้จริง ๆ เช่น งานศิลป์ งานที่ ต้องวัดคุณภาพจากรูป รส กลิ่นเสียง ที่ไม่สามารถกำหนดได้ตายตัว 6 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
1.4 รูปแบบการเรียนรู้ 1) การกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) เป็นขั้นตอนแรก ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน การสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่ 2) การส่งออกความรู้(Externalization) เป็นขั้นตอนที่สอง ในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่และเผยแพร่ออกมาเป็นลาย ลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้จากTacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge 3) การผสานความรู้(Combination) เป็นขั้นตอนที่สามในการ แปลงความรู้ขั้นต้นเพื่อการสร้าง Explicit Knowledge จาก Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit Knowledge ใหม่ 4) การฝังความรู้เข้าภายใน (Internalization) เป็นขั้นตอนที่สี่และ ขั้นตอนสุดท้ายในการ แปลงความรู้จาก Explicit Knowledge กลับสู่Tacit Knowledge ซึ่งจะนําความรู้ที่เรียนมาใช้ในการฝังความรู้ปฏิบัติงานหรือใช้ ในชีวิตประจำวัน การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5 7
1.5 กรอบแนวคิดการจัดการความรู้ “Tuna Model” แนวคิดการจัดความรู้แบบ Tuna Model เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่าย มีลักษณะที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก มีความเหมาะสมในการใช้เป็นแนวทาง เพื่อดำเนินการในการจัดการความรู้โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือน ปลา ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนหัว ส่วนลำตัว และส่วนหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้ • ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision – KV) คือการมองว่ากำลังจะ ไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า “ทำ KM ไปเพื่ออะไร” หรือก็คือ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ ทิศทางของการจัดความรู้ กำหนดเส้นทางที่ จะเดินไป แล้ววิเคราะห์หา จุดหมายว่าจะทำในรูปแบบไหน อย่างไร ต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ความเป็นจริงของการจัดการความรู้ ไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นกระบวนการหรือกลยุทธ์ที่ทำให้งานบรรลุผลตามที่ ต้องการโดยใช้ความรู้เป็นฐานหรือเป็นปัจจัยให้งานสำเร็จ ที่มา : แนวคิดการจัดการความรู้ https://www.optimistic-app.com/tuna-model การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5 8
• ส่วนกลางลำตัว (Knowledge Sharing – KS) คือส่วนที่เป็นหัวใจ ได้ให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน การจะแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ไปให้ผู้อื่นนั้น ต้องอาศัย ความผูกพัน การเป็นมิตร ความสนิทชิดเชื้อ ความไว้วางใจ กระบวนการนี้จึงต้องเริ่มต้นที่การทำกิจกรรมสร้างความคุ้นเคย ก่อนเป็นลำดับแรก และบรรยากาศที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ดี ควรเป็นบรรยากาศที่สบายๆ มีความเป็น และไม่เป็นทางการ มากนัก กลุ่มแลกเปลี่ยนควรเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยผลัดกันเล่า ความสำเร็จ ความภูมิใจ เพราะอะไรจึงทำให้ได้รับความสำเร็จ • ส่วนหาง (Knowledge Assets – KA) คือ สร้างคลังความรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ “สะบัดหาง” สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ ซึ่งเปรียบเสมือน ‘ถัง’ ที่เรานำ ความรู้มาใส่ไว้ แล้วใช้ระบบจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สามารถ เข้าใจได้ง่าย และเพื่อผู้ใช้ประโยชน์สามารถเอาไปใช้ได้จริง 1.6 กระบวนการสร้างองค์ความรู้ กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็น กระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่ จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1)การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) เป็นการพิจารณา ว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้องใช้อะไร ปัจจุบันมีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) เป็นการสร้าง แสวงหา รวบรวมความรู้ทั้งภายใน/ภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป 9 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็น การกำหนดโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เพื่อให้สืบค้น เรียกคืน และ ใช้งานได้ง่าย 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์ 5) การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) เป็นการทำให้ผู้ใช้ ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) เป็นการ แบ่งปัน สามารถทำได้หลายวิธีการ เช่น จัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มและ นวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น 7) การเรียนรู้ (Learning) เป็นการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการ ตัดสินใจ แก้ปัญหา และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการ เรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้ และ ประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง 10 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
ส่วนที่ 2 2. กระบวนการการพัฒนาความรู้ KM กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นองค์กรที่ มุ่งมั่นในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ เพื่อให้บริการอย่างครอบคลุมทั่วถึง และอำนวยประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทั้งการบริหารราชการส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ที่เน้นการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความต้องการและความเดือดร้อนของ ประชาชน มุ่งผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าประชาชนได้รับประโยชน์จากการ พัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกระทรวง พม. ได้กำหนดนโยบายการขับเคลื่อน งานในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด ในการบูรณาการการขับเคลื่อนเป็นทีมจังหวัด ภายใต้แนวคิดบ้านเดียวกัน (One Home) อย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ในกระบวนการทำงานของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ ๕ (สสว.5) ดำเนินการประสานหน่วยงาน พม. ในเขตพื้นที่ รับผิดชอบ 7 จังหวัด ซึ่งได้ประสานสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) แต่ละจังหวัดเป็นหลัก โดยสังกัดสำนักงาน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สป.พม.) มีอำนาจหน้าที่กำกับและประสานงานร่วมกับหน่วยงานทีม One Home จังหวัด ในสังกัด 5 กรม คือ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, กรมกิจการ เด็กและเยาวชน, กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, กรมกิจการ ผู้สูงอายุ และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งบทบาท หน้าที่ของแต่ละกรมจะมีกองทุน – ระเบียบ – กฎหมาย – เงื่อนไขการจัด สวัสดิการสู่กลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน สสว.5 จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความ เข้าใจในรายละเอียดของแต่ละกรม เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ การถอดบทเรียน การกำกับติดตามที่รู้เท่าทันสถานการณ์สังคมและ สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดสวัสดิการและการเข้าถึงกองทุนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีหน่วยงานในสังกัด 11 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
กระทรวง พม. ที่เรียกว่า One Home มีการบูรณาการการขับเคลื่อนงาน เป็นทีม พม. จังหวัด ภายใต้แนวคิดบ้านเดียวกัน (One Home) จึงเป็น แนวทางประการหนึ่งที่มุ่งพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องและตอบโจทย์การพัฒนา ระบบบริหารจัดการภาครัฐ และสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ พม. 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ในด้านการยกระดับองค์กรสู่การเป็นผู้นำทางสังคม ผ่านการพัฒนาระบบงาน ในรูปแบบการทำงานเป็นทีม การเชื่อมโยงและ บูรณาการทรัพยากรในการบริหารให้เกิดความคุ้มค่า มุ่งผลสัมฤทธิ์และ ผลประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส 2.1 กระบวนการจัดทำแผนการจัดการความรู้ การจัดทำแผนการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM) ภายใต้ โครงการส่งเสริม ประสานบูรณาการ การจัดทำและขับเคลื่อนนโยบาย ด้านการพัฒนาสังคมระดับพื้นที่ หัวข้อ “การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ สสว.5” มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การแต่งตั้งคณะทำงานการจัดการความรู้ KM และบทบาท หน้าที่ในการขับเคลื่อนงาน 2) จัดทำแผนการดำเนินงาน KM ตามกระบวนการจัดการความรู้ Knowledge Management Process) ลำดับ แผนงาน / กิจกรรม วิธีการดำเนินงาน/ผลลัพธ์ ระยะเวลา 1 การบ่งชี้ความรู้ : การกำหนดประเด็น ความรู้และเป้าหมาย การจัดการความรู้ ▪ ประชุมคณะทำงาน เพื่อร่วม กำหนดประเด็นการจัดทำองค์ ความรู้ ▪ ได้หัวข้อการจัดทำชุดองค์ ความรู้ที่สอดคล้องกับภารกิจ องค์กรและเป็นประโยชน์ต่อ หน่วยงานต่างๆ และภาคี เครือข่ายในพื้นที่ ม.ค. 66 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5 12
ลำดับ แผนงาน / กิจกรรม วิธีการดำเนินงาน/ผลลัพธ์ ระยะเวลา 2 การสร้างและแสวงหา ความรู้ ▪ จัดทำคำสั่งคณะทำงาน และ มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ ▪ ร่วมแลกเปลี่ยนระดมความคิด กำหนดวัตถุประสงค์จัดทำ แผน ม.ค. - ก.พ. 66 3 การรวบรวมความรู้ให้ เป็นระบบ ▪ ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการ กำหนดหมวดหมู่ กิจกรรม ภายในศูนย์ ออกแบบและ พัฒนาการจัดเก็บข้อมูล มี.ค. - เม.ย. 66 4 การประมวล และ กลั่นกรองความรู้ ▪ ทบทวนเนื้อหาและพัฒนาชุด องค์ความรู้ สามารถนำไปใช้ใน การปฏิบัติงานได้ ▪ มีการทดลองใช้ความรู้จากฐาน การเรียนรู้และความรู้อื่นภาวะ แวดล้อมทั้งในระบบ Onsite และ online จนเกิดการกลุ่น กรองและตกผลึกองค์ความรู้ที่ สามารถเผยแพร่ได้ พ.ค. - มิ.ย. 66 5 การเข้าถึงความรู้ ▪ จัดทำชุดองค์ความรู้ในรูปแบบ อินโฟกราฟิก ▪ นำเข้าข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ส ำ น ั ก ง า น line OA เ พื่ อ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ▪ จัดเก็บข้อมูลผ่านระบบ Google drive ก.ย. 66 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5 13
ลำดับ แผนงาน / กิจกรรม วิธีการดำเนินงาน/ผลลัพธ์ ระยะเวลา 5 การเข้าถึงความรู้ (ต่อ) ▪ มีการสื่อสารองค์ความรู้ที่ หลากหลายช่องทาง เช่น บุคคล ระบบIT เอกสาร และ การศึกษาดูงาน ก.ค. 66 6 การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ▪ จัดประชุมตามแผนปฏิบัติการ การจัดการความรู้ KM ใน รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของคณะทำงาน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สสว.5 ▪ นำเข้าข้อมูล และปรับปรุง เว็บไซต์ ▪ ได้รูปแบบองค์ความรู้/การ พัฒนาศูนย์เรียนรู้ให้มีชีวิต และเชื่อมโยงองค์ความรู้จาก ฐานเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์กับ กลุ่มเป้าหมาย มิ.ย. - ก.ค. 66 7 การเรียนรู้ ▪ การให้บริการศูนย์เรียนรู้ สสว. 5 แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานพื้นที่ใกล้เคียง ▪ การสืบค้นข้อมูลด้านการ พัฒนาสังคม และสวัสดิการ/ กฎระเบียบต่างๆ ของกรม ตามบทบาทและภารกิจของ กระทรวง พม. ▪ มีแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้บริการ แก่กลุ่มเป้าหมาย ก.ย 66 - ปีงบประมาณ 2567 14 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
2.2 แผนพัฒนาศูนย์เรียนรู้ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 (สสว.5) ได้ดำเนินการ ขับเคลื่อนโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) หัวข้อ “การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ สสว.๕” ภายใต้โครงการศูนย์บริการวิชาการ พัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่ โดยใช้ชื่อว่า “พม. Leaning center” ซึ่งได้ดำเนินการในรูปแบบ “ห้องสมุดแห่งการ เรียนรู้” ทั้งนี้ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมด้านพัฒนาสังคม การส่งเสริมทักษะชีวิต ห้องสมุดที่สามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มเป้าหมาย กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง การให้บริการ ประชาชนตามบทบาทภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ มีกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และ มีบรรยากาศที่ดี เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในองค์กร และสร้างนิสัย รักการอ่านอย่างยั่งยืน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง 15 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อกำหนดแนวทางการให้บริการศูนย์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับ บริบทพื้นที่ 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการด้านการพัฒนาสังคม และการจัดสวัสดิการสังคมในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด 3. เพื่อพัฒนารูปแบบ ละกำหนดแนวทางการให้บริการแก่ กลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนกระบวนการ 1. แต่งตั้งคณะทำงานโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge management : KM) ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 โดยมี อำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1.1 ประชุมชี้แจงและสร้างความเข้าใจโครงการ การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ร่วมกับหน่วยงาน พม. (ทีม One Home) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.5 1.2 จัดทำแผนและกำหนดแนวทางการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ภายในองค์กรของสำนักงานส่งเสริม และสนับสนุนวิชาการ 5 1.3 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ และจัดทำแผน สารสนเทศเอกสารหรือคู่มือ โดยกลุ่มการวิจัยและการพัฒนาระบบเครือข่าย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๕ 2. การจัดทำแผนการจัดการความรู้ 2.1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อนำเสนอหัวข้อการจัดการ ความรู้ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ ๑) การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ สสว.5 และ 2) ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา 16 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
2.2 จัดทำแผนการดำเนินงาน (Action plan) 2.3 กระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน (Knowledge Management Process) 17 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
18 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5 3. การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ 3.1 เขียนโครงการ และขออนุมัติดำเนินการ 3.2 ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงการ ขับเคลื่อนโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ทีม One Home ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.5 3.3 สรุป/รายงานผลการ ดำเนินงาน เพื่อนำส่งสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 6 และกลุ่มพัฒนาระบบ บริหาร สป.พม. ตามแผนตัวชี้วัดระดับ ความสำเร็จของการจัดการความรู้ (KM) ของหน่วยงานสังกัด สป.พม. (รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน) 4. กระบวนการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ สสว.5 การจัดทำองค์ความรู้ในรูปแบบ “ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้” ภายใต้การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ สสว.5 ได้ดำเนินการจัดทำชุดองค์ความรู้ตาม บทบาทและภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และข้อมูลตามบริบทพื้นที่ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 5 ทั้งนี้เพื่อเป็นการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการให้บริการห้องสมุด ข้อมูลข่าวสาร ด้านงานวิชาการ ผลงานวิจัย สวัสดิการและกฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการกลุ่มเป้าหมาย และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ตลอดจนการจัดทำสื่อเกี่ยวกับการให้บริการด้าน การพัฒนาสังคมและสวัสดิการของกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. เพื่อให้ ได้องค์ความรู้ที่นําไปปฏิบัติได้จริงและเกิดประโยชน์ต่อผู้มารับบริการและ เข้าชมศูนย์เรียนรู้ และรับชมผ่านเว็ปไซต์ สสว.5 โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1) องค์ความรู้ และ 2) จุดบริการ
การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ สสว.๕ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น
3. องค์ความรู้ในรูปแบบ “ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้” 3.1 การศึกษาค้นหาข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตามบทบาทและภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ โดยเน้นเรื่องการให้บริการ สวัสดิการและกฎระเบียบตามภารกิจของ กรมต่างๆ ได้แก่ o กรมกิจการเด็กและเยาวชน : มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเด็ก และเยาวชน การส่งเสริมสวัสดิการเด็กและครอบครัว โดยการกำหนด นโยบาย มาตรการ กลไก ส่งเสริมและสนับสนุน ภาครัฐและภาคเอกชน ติดตามและประเมินผลการด ดำเนินการตามนโยบายและมาตรการที่กำหนด เพื่อให้เด็กและเยาวชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความ มั่นคงในการดดำรงชีวิต o กรมกิจการผู้สูงอายุ : มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการและการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ รวมทั้งการพัฒนารูปแบบงานด้านสวัสดิการสังคมให้ ครอบคลุมและตอบสนองต่อสภาพการณ์ทางสังคม กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก พันธกรณีและ ความตกลง ระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตและเสริมสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตของ ผู้สูงอายุ o กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว : มีภารกิจเกี่ยวกับ การพัฒนาศักยภาพสตรีการส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียม ระหว่างเพศ การส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสตรี ผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด และบุคคลในครอบครัว 20 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว การป้องกันและแก้ไขปัญหา ความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพ บุคคลในครอบครัว การตรวจสอบ การชดเชยและ เยียวยาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรม ระหว่างเพศ และการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพผู้ ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี o กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ : มีภารกิจ เกี่ยวกับการเสนอนโยบายและจัดทำแผนงานด้านการส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ รวมทั้งดำเนินการด้านการคุ้มครอง การส่งเสริมสิทธิ และสวัสดิการของคนพิการ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคแก่คนพิการ การตรวจสอบการได้รับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ การขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคน พิการ การให้คำแนะนำและช่วยเหลือคนพิการให้ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวย ความสะดวก สวัสดิการ และความช่วยเหลืออื่นได้ตาม ความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล o กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ : การพัฒนาสังคม การจัด สวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ และการ ให้บริการสวัสดิการสังคมแก่คนไร้ที่พึ่ง ผู้ทำการขอทาน สมาชิกนิคมสร้าง ตนเอง ราษฎรบนพื้นที่สูง และกลุ่มเป้าหมายพิเศษ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสังคม และการจัดสวัสดิการสังคมโดยการมีส่วนร่วมของ ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดกิจกรรมตาม โครงการพิเศษ 21 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
ที่มา : จากเว็ปไซต์กระทรวง พม. https://www.m-society.go.th/news_view.php?nid=1731 22 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
จุดที่ 1 : ข้อมูลทั่วไป ศูนย์เรียนรู้ สสว.5 ได้ดำเนินการภายใต้โครงการส่งเสริม ประสาน บูรณาการการจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสังคมระดับพื้นที่ โดยกำหนดจุดที่ 1 เรื่องข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย บทบาทและภารกิจของ สสว. 5 เขตพื้นที่รับผิดชอบของสสว.5 และหน่วยงาน พม. ในเขตพื้นที่ รับผิดชอบ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามบริบทพื้นที่ 1) บทบาทและภารกิจของสสว.5 ▪ พัฒนางานด้านวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ให้สอดคล้องกับพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย ▪ ส่งเสริมและสนับสนุนงาน ด้านวิชาการ องค์ความรู้ ข้อมูล สารสนเทศให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานบริการ ทุกกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้บริการในความรับผิดชอบของ กระทรวงรวมทั้ง อปท. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ภาคเอกชนและประชาชน ▪ ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์และสภาพแวดล้อมเพื่อ คาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคม และ ผลกระทบรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาสังคมและ จัดทำยุทธศาสตร์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด 23 00 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
▪ สนับสนุนการนิเทศงานติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เชิงวิชาการตามนโยบาย และภารกิจของกระทรวงในพื้นที่กลุ่ม จังหวัด ▪ ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2) เขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 5 ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย 3) เขตตรวจราชการ แบ่งออกเป็น 2 เขต ประกอบด้วย ▪ เขตตรวจราชการที่ 10 : จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดเลย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย ▪ เขตตรวจราชการที่ 12 : จังหวัดขอนแก่น จังหวัด มหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด ข้อมูล ณ วันที่ ตุลาคม 2565 24 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
4) กลุ่มเป้าหมาย กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นองค์การและกลไกด้านสังคม ในการบรรลุนโยบายของรัฐบาลที่ให้ ป ร ะ ชา ชน ทุ ก ก ลุ ่ ม เ ป ้ า หมาย ที่ประกอบด้วย เด็ก เยาวชน สตรี ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ให้มี การพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยบูรณาการแนวคิด ทิศทาง และการบริหารให้เป็นระบบจาก ภาคีทุกภาคส่วนและทุกระดับ จุดที่ 2 : ประชาสัมพันธ์และการให้บริการ เป็นการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ โดยให้บริการด้านข้อมูล ข่าวสาร การขอความช่วยเหลือสิทธิและสวัสดิการ ตามบทบาทและภารกิจของกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์และการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร ผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ ▪ เว็บไซต์หน่วยงาน สสว.5 : http://tpso-5.m-society.go.th ▪ Line OA : TPSO 5 khonkaen ▪ Face book : สนง สสว ห้า 25 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
นอกจากการนี้ ศูนย์เรียนรู้ สสว.5 ได้จัดมุมให้บริการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายและผู้มาใช้บริการในองค์กร และพื้นที่ใกล้เคียง ในการสืบค้นข้อมูล ข่าวสาร ฯลฯ โดยจัดให้มีการ ลงทะเบียนก่อนการเข้าใช้บริการ เพื่อบันทึกเป็นสถิติรายเดือน ของผู้มาใช้บริการ อีกทั้งเป็น แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้รับบริการแสวงหา ความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวาง และต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ ผู้รับบริการเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 26 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
จุดที่ 3 : เอกสารวิชาการ/ผลงานวิจัย เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตาม บทบาทและภารกิจของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 และ การขับเคลื่อนงานตามนโยบายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ โดยการนำเสนอเป็นเอกสารวิชาการ และสื่อออนไลน์ ได้แก่ E – book และ E – library ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 5 27 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
จุดที่ 4 : ห้องสมุด ห้องสมุดจัดเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้และเป็นแหล่งการเรียนรู้ ขององค์กรเพื่อให้บริการแก่ กลุ่มเป้าหมายทั้งภายในและ ภายนอก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่ทันสมัย อยู่เสมอ จึงส่งเสริมให้มีการใช้ ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้และ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแหล่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข องค์ประกอบของห้องสมุดประกอบด้วย ดังนี้ ▪ การจัดกิจกรรมภายในศูนย์เรียนรู้ ได้ขับเคลื่อนตาม นโยบายและภารกิจของหน่วยงาน โดยกำหนดจัดกิจกรรมการจัดการ ความรู้ KM “เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สาระน่ารู้ ข่าวสาร สถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งได้ดำเนินการจัดกิจกรรมทุกวัน จันทร์ของสัปดาห์ ▪ บริการข่าวสาร ข้อมูลทันสมัยรวดเร็วโดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร การให้บริการ สารนิเทศระบบออนไลน์ และสื่อ อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เพื่อการส่งเสริม การศึกษาค้นคว้า ▪ จัดมุมหนังสือและสื่อประเภท ต่าง ๆ ได้แก่ เอกสารวิชาการ ผลงานวิจัย เอกสารที่เกี่ยวข้องของ กระทรวง พม. และหนังสือประเภทองค์ความรู้ และสาระน่ารู้ทั่วไป 28 7 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
ทั้งนี้ ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ยังเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมทาง สังคม เพื่อการเสริมสร้างศิลปะวัฒนธรรม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น เปิดรับบริการแก่กลุ่มผู้ที่สนใจ สามารถขอใช้บริการสถานที่ในการ จัดกิจกรรมได้ เพื่อเอื้ออำนวยความ สะดวกให้กลุ่ม องค์กรอื่น ๆ เข้ามา จัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การจัดอบรม การถ่ายทอดภูมิปัญญา องค์ความรู้ที่ หลากหลาย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน จุดที่ 5 : มุมเช็คอินศูนย์เรียนรู้ สสว.5 เป็นอีกหนึ่งจุดบริการ ที่ได้รับความนิยมในการถ่ายภาพเป็นที่ ระลึก สื่อถึงการเยี่ยมชมและเข้ามารับบริการของศูนย์เรียนรู้ สสว.5 29 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
ความท้าทายในการบริหารจัดการความรู้ Km หลักการของ KM คือ การบริหารจัดการความรู้ที่ต้องการให้คนทำงานได้ อย่างมีประสิทธิผล และส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ ตามนิยามของ Right Knowledge Right People Right Time เป็นหลักการสำคัญใน การจัดการความรู้KM โดยเน้นไปที่การ พัฒนาคน พัฒนาผลงาน และพัฒนา องค์กร ถ้าคนมีความเข้าใจและสามารถ พัฒนาตนเองให้เก่งขึ้น ผลงานก็จะออกมา ดี แน่นอนว่าผลการดำเนินงานขององค์กรก็จะ บรรลุเป้าหมายตามไปด้วย หากพิจารณาองค์ประกอบหลักในการ ประยุกต์ใช้KM ในองค์กร มีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนคือ คน กระบวนการ และ เทคโนโลยีหลักการจัดการ ซึ่งการค้นหาคนที่มีความรู้ทักษะ และความ เชี่ยวชาญเน้นคนที่มีประสบการณ์ตรงมาถ่ายทอดความรู้ผ่านกระบวนการ ต่างๆ แล้ว จัดเก็บองค์ความรู้นั้นเข้าระบบด้วยเครื่องมือหรือเทคโนโลยี เพื่อให้สะดวก ต่อการจัดเก็บข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูล พร้อมทั้งต้อง ผลักดันให้คนในองค์กรนำความรู้ที่รวบรวมไว้ไปใช้งาน และต้อง Update ความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ KM… พัฒนาคน งาน และองค์กร ▪ KM ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรมีภารกิจที่คล้ายคลึงกัน มีบทบาทหน้าที่เหมือนกัน แต่การให้บริการกลุ่มเป้าหมายมีความแต่งต่างกัน ▪ หากองค์กรเราสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายในเรื่อง การรับบริการด้านการพัฒนาสังคมต่าง ๆ ทำให้ผู้รับบริการเกิด ความพึงพอใจ ก็ถือว่าเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือได้ 30 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
▪ ยิ่งถ้าองค์กรใดมีองค์ความรู้ที่สั่งสมกันมาแบบรุ่นต่อรุ่น ทั้งในแง่ ของการดำเนินงาน และประสบการณ์ต่างๆ ที่เป็นองค์ความรู้ที่อยู่ ในตัวคนคนนั้น (Tacit Knowledge) จะทำให้องค์กรของเรา ได้เปรียบกว่าที่อื่น ทั้งนี้ การที่จะนำ KM เข้ามาปรับใช้ในองค์กรผู้บริหารพนักงาน และผู้ที่ เกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจแก่นแท้ของ KM เสียก่อน เพราะจะทำให้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานของตนเองได้ บูรณาการ KM เพื่อปรับปรุงองค์กร KM จะสามารถพัฒนาต่อได้จะต้องนำไปบูรณาการกับระบบการปรับปรุง ภายในองค์กร เมื่อองค์กรมีปัญหาหรือมีแนวคิดที่จะปรับปรุงหรือพัฒนา องค์กรต้องทำความเข้าใจกับเครื่องมือการบริหารจัดการนั้นๆ ก่อน และ ทบทวนทำความเข้าใจกับขั้นตอนการปฏิบัติงานอาจวิเคราะห์ แบบง่ายๆ ตามหลัก PDCA แล้ว เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม (อาจเป็น 5ส, QCC, ISO หรืออื่นๆ ) มาดำเนินการปรับปรุงตามหลักเครื่องมือบริหารจัดการนั้นๆ อีกทั้ง นำหลักการ KM เข้าไปเสริม เกิดเป็นองค์ความรู้แล้วนำองค์ความรู้ที่ ได้ไปจัดเก็บเข้าระบบ องค์ความรู้นั้นไม่จำเป็นต้องมาจากผลงานที่ประสบ ความสำเร็จ แต่ควรนำสิ่งที่ล้มเหลวมาศึกษาเรียนรู้ไม่ให้เกิดซ้ำอีก ส่วนผลงานที่ประสบความสำเร็จก็นำมาเป็นต้นแบบและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น สิ่งสำคัญในการทำ KM ให้เกิดขึ้นในองค์กร คือ จะต้องคิดให้เป็นระบบ ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง สร้างบรรยากาศให้คนรู้สึกสนุกกับการทำ และต้อง ฝัง KM เข้าไปในระบบการทำงานของทุกคนในองค์กรแล้ว KM จะเกิดขึ้น และคงอยู่กับองค์กรต่อไปได้อย่างยั่งยืน 31 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
ปัจจัยที่ทำให้KM ประสบความสำเร็จในองค์กร 1. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในองค์กร คนในองค์กรต้องมีความเจตคติที่ดีในการสร้างความรู้ใหม่ แบ่งปัน ความรู้ และนำความรู้ที่มีอยู่มาเป็นฐานในการต่อยอดความรู้ของคนรุ่นใหม่ ต่อไป องค์กรต้องมีวัฒนธรรมภายในประกอบด้วย ความเชื่อใจ และให้ เกียรติกัน เคารพในสิทธิและความคิดเห็นของผู้ร่วมงานในทุกระดับ การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเรื่อง รวมถึงสิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดในอดีต ที่สำคัญต้องสามารถถอดประสบการณ์มาเป็นความรู้ตัวอักษรที่ให้ผู้อื่นได้ เรียนรู้ “ต้องเป็นคนช่างคิดช่างฝัน” 2. ผู้นำ และการสร้างกลยุทธ์ ผู้บริหารระดับสูงมีความเชื่อในคุณค่าของคนและความรู้ที่มี ในองค์กร เข้าใจลักษณะของปัญหาและพันธกิจขององค์กร ส่งเสริมและ สนับสนุนความเป็นมืออาชีพในด้านต่างๆ ให้เกิดขึ้น ค้นหาและเชิดชู กระบวนการทำงานที่เป็นเลิศจากหน่วยงานภายใน เป็นต้นแบบการแบ่งปัน และเรียนรู้และกำหนดทิศทางในการพัฒนาระบบที่จะประสบผลสัมฤทธิ์ 3. เทคโนโลยีสารสนเทศ ความพร้อมของอุปกรณ์ทันสมัยของเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุน การทำงานและการเรียนรู้ของคนในองค์กรได้ การสร้างฐานข้อมูลและการ จัดการระบบฐานข้อมูล ตลอดจนวิธีการที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อกลางใน การรวบรวมและส่งต่อองค์ความรู้ 4. การวัดผลและการนำไปใช้ จัดทำระบบการติดตามและวัดผลของการจัดการความรู้และ ประโยชน์จากการนำไปใช้ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้คนในองค์กรมีความ ต้องการอยากเรียนรู้และอยากมีส่วนร่วมในการสร้างฐานความรู้ให้เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง 32 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สสว.5
เอกสารอ้างอิง https://www.econ.cmu.ac.th/km/ การจัดการความรู้ https://www.m-society.go.th/home.php กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ที่มา : แนวคิดการจัดการความรู้ https://www.optimistic-app.com/tunamodel http://www.udesa2.go.th/wp-content/uploads/2021/ คู่มือการจัดการ ความรู้ (knowledge Management) : สพป.อุดรธานี เขต 2 https://knowledge.nsru.ac.th/Description_knowlage/ การจัดการความรู้ (KM) : Knowledge มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ องค์การแห่งความรู้ : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ =The Knowledge Organization : From Concept to Practice / ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์
คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา นางสาวนงลักษณ์ ยะสูงเนิน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 คณะทำงาน นางเยาวภา บุญคง หัวหน้ากลุ่มการวิจัยและการพัฒนาระบบเครือข่าย นางสาวเกษสุดา เพชรก้อน นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นายวิชานนท์ ศรีธรรมวงษ์ นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นายโดม ศิลาแยง นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นางสาวปฏิพัทธ์ ดวงแสง นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นางจุฬาลักษณ์คำสีแก้ว นักพัฒนาสังคม นายภิรนันท์ ภูริพงษ์พิพัฒน์ นักพัฒนาสังคม นางสาวจินตหรา ทิพฤาตรี เจ้าหน้าที่ศูนย์ให้บริการทางวิชาการ