ลีลาบรรเลงเพลงเดี่ยว
ชุดทักษิณสั งคีต ปราณีตดุริยางค์
โดย
นิสิตชั้นปีที่ ๔ รุ่นที่ ๑๓ หลักสูตร ดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
รับชมได้ทาง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
วันเสาร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป
กำหนดการ
โครงการลีลาบรรเลงเพลงเดี่ยว ชุดทักษิณสังคีต ปราณีตดุริยางค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕
วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป
๑๓ : ๓๐ – ๑๔ : ๐๐ น. พิธีเปิด
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ ประธานหลักสูตร ดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย) กล่าวต้อนรับ
- นายชนาธิป คงอ่อน ประธานโครงการ กล่าวรายงาน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระวีวัฒน์ ไทยเจริญ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ประธานในพิธี กล่าวเปิดโครงการ
๑๔ : ๐๐ – ๑๖ : ๐๐ น. รายการที่ ๑ การบรรเลงเดี่ยวขิม เพลงนกขมิ้น สามชั้น ทางครูชยุดี วสวานนท์
โดย นายพัชรพล กิ้มถ้อง
รายการที่ ๒ การบรรเลงเดี่ยวซอด้วง เพลงสุรินทราหู สามชั้น ทางครูวรยศ ศุขสายชล
โดย นายวันเฉลิม วงค์แสง
รายการที่ ๓ การบรรเลงเดี่ยวขิม เพลงพญาโศก สามชั้น ทางครูชยุดี วสวานนท์
โดย นายกิตติชัย เปาปวง
รายการที่ ๔ การบรรเลงเดี่ยวจะเข้คู่ เพลงกราวใน สองชั้น ทางครูสุธารณ์ บัวทั่ง
โดย นายชนาธิป คงอ่อน และนายเสกข์ศักย์ ไชยชาญ
รายการที่ ๕ การบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางครูเพชร จรรย์นาฏย์
โดย นายจิรวัฒน์ ทองกลอม
กำหนดการ (ต่อ)
รายการที่ ๖ การบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ เพลงนกขมิ้น สามชั้น ทางครูสอน วงฆ้อง
โดย นางสาวเบญจมาศ พิกุลทอง
รายการที่ ๗ การบรรเลงเดี่ยวปี่ใน เพลงลาวแพน ทางจางวางทั่ว พาทยโกศล
โดย นายณัฐวุฒิ คำนึง
รายการที่ ๘ การบรรเลงเดี่ยวระนาดทุ้ม เพลงพญาโศก สามชั้น ทางครูสุบิน จันทร์แก้ว
โดย นายธีรวัฒน์ คงวัดใหม่
รายการที่ ๙ การบรรเลงเดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่ เพลงลาวแพน ทางครูเพชร จรรย์นาฏย์
โดย นายเกียรติศักดิ์ สดพงษ์
รายการที่ ๑๐ การบรรเลงดนตรีประกอบการรำกระบี่ตีท่า สายขุนอุปถัมภ์นรากร
โดย นายชัยวัฒน์ อินไชยทอง และนายศุภกร แก้วทอง
๑๖ : ๐๐ น. จบรายการแสดง
คำนิยม
ผศ.ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์
ประธานหลักสูตร ดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ
อาจารย์ประจำหลักสูตร ดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
อาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ
อาจารย์ประจำหลักสูตร ดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
อาจารย์โสวภา สงขาว
อาจารย์ประจำหลักสูตร ดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
อาจารย์ปรัชญา บุญมาสูงทรง
อาจารย์ประจำหลักสูตร ดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
วัตถุประสงค์ที่สำคัญของรายวิชาทักษะดนตรีไทย ตามหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิตก็คือ
มุ่งเน้นให้นิสิตแต่ละเครื่องมือเอก ใช้เวลาสั่งสมบ่มเพาะทักษะและประสบการณ์ นำมาใช้แสดงออกซึ่งความ
สามารถในการปฏิบัติเพลงเดี่ยวในปีสุดท้ายของการศึกษา เพื่อสะท้อนให้เห็นความสามารถอันสมบูรณ์พร้อม
ที่จะเป็นบัณฑิต การแสดงเพลงเดี่ยว ชุดทักษิณสังคีต ปราณีตดุริยางค์ ในครั้งนี้ จึงนับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้
เห็นถึงศักยภาพของนิสิตที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพได้เป็นอย่างดี
ในฐานะอาจารย์ประจำหลักสูตรดุริยางคศาสตร์ไทย ใคร่ขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมสนับสนุน
กิจกรรมนี้ทุกท่าน อันเป็นเหตุให้การแสดงผลงานในครั้งนี้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี และขอแสดงความชื่นชมใน
ความพยายามและสามัคคีของนิสิตทุกคนมา ณ โอกาสนี้
อาจารย์ชยุดี วสวานนท์
อาจารย์พิเศษหลักสูตร ดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
รายการที่ ๑
การบรรเลงเดี่ยวขิม เพลงนกขมิ้น สามชั้น ทางครูชยุดี วสวานนท์
เพลงนกขมิ้น แต่เดิมเป็นอัตราจังหวะสองชั้น อยู่ในเพลงเรื่องชื่อ เพลงเรื่องนกขมิ้น หรือเรื่องแม่หม้ายคร่ำครวญ เป็นเพลง
รวมอยู่ในเรื่องเพลงช้าทำนองเก่าสมัยอยุธยา มีเพลงช้าคือเพลงนกขมิ้น (เพลงนกขมิ้นนั้นแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ นกขมิ้นตัวผู้และ
นกขมิ้นตัวเมีย)
ต่อมาครูเพ็งได้นำเพลงนกขมิ้น สองชั้น ทำนองเก่าสมัยอยุธยานี้ มาแต่งขยายเป็นอัตราจังหวะสามชั้นสำหรับบรรเลงร้องส่ง
เป็นเพลงสามท่อน เฉพาะในท่อนที่ ๓ ครูเพ็งได้แต่ง "ว่าดอก" เพื่อเปิดโอกาสให้อวดความสามารถในการขับร้องและบรรเลงเดี่ยวของ
เครื่องดนตรี เพลงอัตราจังหวะสามชั้นนี้ได้รวมเข้าชุดและเป็นเพลงสุดท้ายในตับต้นเพลงฉิ่ง ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ ครูมนตรี ตราโมท
ได้ทำทำนองอัตราจังหวะ สามชั้นของครูเพ็งที่มีการ "ว่าดอก" มาแต่งตัดเป็นอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว บรรเลงติดต่อกันเป็น
เพลงเถา โดยยังคงให้มีทำนองและการว่าดอกตามแบบของครูเพ็ง
เพลงนกขมิ้น สามชั้น ที่จะใช้บรรเลงเดี่ยวขิมในวันนี้ เป็นทางที่ครูชยุดี วสวานนท์ เป็นผู้ถ่ายทอดให้กับนายพัชรพล กิ้มถ้อง
ซึ่งทางที่ท่านได้ถ่ายทอดให้นั้น คุณพ่อของครู หรือคุณตาพยนต์ วสวานนท์ ได้ถ่ายทอดให้กับครูชยุดี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ ขณะ
นั้นครูชยุดีอายุได้เพียง ๗ ขวบ
รายนามนักดนตรี นายพัชรพล กิ้มถ้อง
ขิมสาย นายกิตติชัย เปาปวง
ฉิ่ง นายชนาธิป คงอ่อน
โทน - รำมะนา
รายการที่ ๒
การบรรเลงเดี่ยวซอด้วง เพลงสุรินทราหู สามชั้น ทางครูวรยศ ศุขสายชล
เพลงสุรินทราหู อัตรา สองชั้น เป็นเพลงเก่าที่มีลีลาไพเราะ เย็น ๆ หูเพลงหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้บรรเลงรวมอยู่ใน
เพลงมโหรี ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงนำมาใช้ในการบรรเลงปี่พาทย์และเรียบเรียงเป็นเพลงเรื่อง เรียกว่า “เรื่องสุรินทราหู” มีเพลง
สุรินทราหู จันทราหู กระต่ายชมเดือน แม่วอนลูก และลูกวอนแม่
มาถึงสมัยราว ๆ ปลายรัชกาลที่ ๓ หรือต้นรัชกาลที่ ๔ จึงมีผู้นำเพลงสุรินทราหู สองชั้นนั้นมาแต่งทำนองดนตรีขึ้นเป็นอัตรา
สามชั้น สำหรับบรรเลงรับร้อง ส่วนในทางร้อง ท่านนักปราชญ์ในทางคีตศิลป์ก็ได้แต่งทำนองขึ้นประกอบในรุ่นราวคราวเดียวกัน ซึ่งนับ
ว่าเป็นเพลงร้องที่ไพเราะน่าฟังอย่างยิ่งเพลงหนึ่ง แต่ทั้งผู้แต่งทำนองดนตรี และผู้แต่งทำนองร้อง ไม่ทราบว่าท่านผู้ใด
เพลงสุรินทราหู สามชั้น ที่ใช้บรรเลงในครั้งนี้ เป็นทางที่อาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ ได้รับการถ่ายทอดจากครูวรยศ ศุขสายชล
และนำมาถ่ายทอดให้กับ นายวันเฉลิม วงค์แสง
รายนามนักดนตรี นายวันเฉลิม วงค์แสง
ซอด้วง นายศุภกร แก้วทอง
ฉิ่ง นายพัชรพล กิ้มถ้อง
โทน - รำมะนา
รายการที่ ๓
การบรรเลงเดี่ยวขิมเพลงพญาโศก สามชั้น ทางครูชยุดี วสวานนท์
เพลงพญาโศก สองชั้น เป็นเพลงที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีเพียงท่อนเดียว อยู่ในเพลงเรื่องพญาโศก ความหมายของ
เพลงแสดงถึงอารมณ์เศร้าสลด การสูญเสีย รำพึงถึงความทุกข์ยาก ใช้ประกอบการแสดงบทโศกเศร้า ใช้บรรเลงและขับร้องในวงมโหรี
และวงปี่พาทย์ ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๔ พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ได้แต่งขยายขึ้นเป็นอัตราจังหวะสามชั้น
เพลงพญาโศก สามชั้น ที่เดี่ยวในครั้งนี้เป็นทางเพลงของครูประสงค์ อ่างสำอางค์ ซึ่งท่านเป็นนักดนตรีไทยอาวุโสที่ทุกคนเคารพ
ครูชยุดี วสวานนท์ ชอบทางเพลงพญาโศกของท่าน จึงได้ขอเพลงพญาโศกจากท่านไว้เป็นที่ระลึกในปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ ระหว่างนั้น
ครูชยุดี รับราชการเป็นฝ่ายปกครองนักเรียนดุริยางค์หญิง โรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ (กองทัพเรือ) จนได้มาเป็นอาจารย์พิเศษ
(เครื่องมือเอกขิม) ให้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ จึงได้ถ่ายทอดเพลงเดี่ยวพญาโศกให้กับลูกศิษย์ต่อไป
รายนามนักดนตรี นายกิตติชัย เปาปวง
ขิมสาย นายพัชรพล กิ้มถ้อง
ฉิ่ง นายชนาธิป คงอ่อน
โทน - รำมะนา
รายการที่ ๔
การบรรเลงเดี่ยวจะเข้คู่เพลงกราวใน สองชั้น ทางครูสุธารณ์ บัวทั่ง
เพลงกราวใน เป็นเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาการเดินทางของตัวละครฝ่ายยักษ์ เป็นเพลงที่ประกอบด้วยเนื้อทำนองและกลุ่ม
ลูกโยนเสียงต่าง ๆ ๑๐ กลุ่ม ๖ เสียง มีคุณลักษณะเหมาะสมในการนำมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยว เนื่องจากในกลุ่มลูกโยนต่าง ๆ ที่ปรากฏ
ในเพลงนั้น เปิดอิสระในการคิดประดิษฐ์ทำนองให้พลิกแพลงได้อย่างหลากหลาย ตลอดทั้งมีการเปลี่ยนกลุ่มเสียงภายในตัวเองมากถึง ๓
กลุ่มเสียง จึงทำให้เพลงกราวในโดดเด่นในเรื่องของการดำเนินทำนองและระดับเสียง
ในขณะที่อาจารย์ปรัชญา บุญมาสูงทรง กำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาบัณฑิตที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ได้รับการถ่ายทอด
ทางเดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน สองชั้น จากครูสุธารณ์ บัวทั่ง ในโอกาสที่ได้รับมอบหมายให้ไปช่วยฝึกซ้อมดนตรีไทยแก่สมาชิกชมรม
ดนตรีไทยของวังพญาไท โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร
รายนามนักดนตรี นายชนาธิป คงอ่อน
จะเข้ นายเสกศักย์ ไชยชาญ
นางสาวสุกฤษยา พวงแก้ว
ฉิ่ง นายพัชรพล กิ้มถ้อง
โทน - รำมะนา
รายการที่ ๕
การบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางครูเพชร จรรย์นาฏย์
เพลงแขกมอญ อัตราสามชั้น ของเก่า เป็นเพลงประเภทหน้า
ทับปรบไก่ มี ๓ ท่อน ท่อนละ ๖ จังหวะ ปรากฏอยู่ในเพลงช้าเรื่อง
แขกมอญ เพลงนี้ได้รับความนิยมนำมาเรียบเรียงในอัตราจังหวะต่าง ๆ ดังนี้
๑ . พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) นำมาประพันธ์ขยายขึ้นเป็นสามชั้น
๒ . พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) จางวางทั่ว พาทยโกศล และครูมนตรี ตราโมท ได้ลดอัตราลงเป็นชั้นเดียว
ครบเป็นเถาตามทางของตน
เพลงแขกมอญ สามชั้น ที่ใช้บรรเลงในครั้งนี้ เป็นทางที่ครูไพรัตน์ จรรย์นาฏย์ ได้ถ่ายทอดให้กับนายจิรวัฒน์ ทองกลอม ซึ่งเป็น
ทางของครูเพชร จรรย์นาฏย์ ประกอบด้วยกลวิธีต่าง ๆ คือ การสะบัด การสะเดาะ การขยี้ การตีเก็บ รัวลูกเดียว รัวสองลูก รัวสามลูก
รัวสี่ลูก รัวห้าลูก และรัวเหวี่ยง
รายนามนักดนตรี นายจิรวัฒน์ ทองกลอม
ระนาดเอก นายเกียรติศักดิ์ สดพงษ์
ฉิ่ง นายณัฐวุฒิ คำนึง
กลองสองหน้า
รายการที่ ๖
การบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ เพลงนกขมิ้น สามชั้น ทางครูสอน วงฆ้อง
เพลงนกขมิ้น สามชั้น ประพันธ์โดยครูเพ็ง ท่านได้ขยายขึ้นจากเพลงนกขมิ้น สองชั้น ซึ่งเดิมบรรเลงอยู่ในเพลงช้าเรื่องนกขมิ้น
และในเพลงตับต้นเพลงฉิ่ง มีจำนวน ๓ ท่อน ประเภทหน้าทับปรบไก่ ท่อน ๑ มี ๓ จังหวะ ท่อน ๒ และท่อน ๓ มีท่อนละ ๒ จังหวะ ทาง
ร้องมีการแทรกร้องว่าดอกในท่อน ๓ อีกด้วย เพลงนกขมิ้นนอกจากนิยมบรรเลงรับร้องโดยทั่วไปแล้ว ยังนิยมนำมาประดิษฐ์เป็นทาง
เดี่ยวเครื่องดนตรีหลายชนิด มีลีลาที่ไพเราะน่าฟัง
เดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงนกขมิ้น สามชั้น ทางครูสอน วงฆ้อง มีความไพเราะงดงาม ประกอบด้วยกลวิธีการบรรเลงต่าง ๆ ได้แก่
การตีสะบัด การตีประคบมือ การตีกวาด การตีกรอ และการตีไขว้ นับว่าเป็นทางบรรเลงที่มีความนิยมมากที่สุดอีกทางหนึ่ง ทางบรรเลง
ในครั้งนี้ได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ
รายนามนักดนตรี นางสาวเบญจมาศ พิกุลทอง
ฆ้องวงใหญ่ นายณัฐวัฒน์ เสริฐประสม
ฉิ่ง นายพัสกร สมรักษ์
กลองสองหน้า
รายการที่ ๗
การบรรเลงเดี่ยวปี่ใน เพลงลาวแพน ทางจางวางทั่ว พาทยโกศล
เพลงลาวแพน เป็นเพลงสำเนียงลาวที่โบราณนิยมนำมาบรรเลงเป็นทางเดี่ยว และประกอบการแสดงฟ้อนแพน มีการนำเพลงนี้มา
ผูกขึ้นสำหรับเดี่ยวปี่ใน ต่อมามีการประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวเครื่องมืออื่น ๆ เช่น จะเข้ ระนาดเอก เป็นต้น เพลงลาวแพนเป็นเพลงโบราณ
มีทํานองและกลอนเพลงที่น่าฟัง เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีสำนวนที่ไพเราะ ฟังง่าย สนุกสนานเร้าใจ
เพลงลาวแพนเป็นเพลงที่มีความไพเราะเพลงหนึ่งและเป็นที่นิยมบรรเลงแพร่หลายในวงการดนตรีไทย “เพลงลาวแพน” ใช้หน้าทับ
ลาว ในอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว เพลงลาวแพนเป็นเพลงที่มีท่วงทำนองกระชับ สนุกสนาน มีการใช้เสียงกระทบซึ่งเป็นลักษณะ
เด่นของเสียงแคน เดี่ยวปี่ในเพลงลาวแพน ทางจางวางทั่ว พาทยโกศล เป็นการประพันธ์สำนวนที่สอดแทรกกลวิธีในการบรรเลง เช่น
การควงเสียง การล้วงจังหวะ การขยี้ การสะบัด การโปรยเสียง การพรม การปริบ การครั่น การตอด
เรือตรี สุวิทย์ แก้วกมล (ครูสอิ้ง) ได้นำมาถ่ายทอดให้เหล่าลูกศิษย์และได้สืบทอดมาถึงอาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ โดยอาจารย์พัน
พงษ์ผล
รายนามนักดนตรี นายณัฐวุฒิ คำนึง
ปี่ใน นายณัฐวัฒน์ เสริฐประสม
ฉิ่ง นายพัสกร สมรักษ์
ฉาบเล็ก นายจิรวัฒน์ ทองกลอม
กลองแขก นายเกียรติศักดิ์ สดพงษ์
รายการที่ ๘
การบรรเลงเดี่ยวระนาดทุ้ม เพลงพญาโศก สามชั้น ทางครูสุบิน จันทร์แก้ว
แต่เดิมเพลงพญาโศกเป็นเพลงประเภทอัตรา สองชั้นฉาย รวมอยู่ในเพลงเรื่อง พญาโศก เป็นเพลงลำดับที่ ๒ จาก ๕ เพลง คือ
เพลงพญาฝัน เพลงพญาโศก เพลงพญาครวญ เพลงพญาตรึก และเพลงพญารำพึง เพลงพญาโศกเป็นเพลงสมัยกรุงศรีอยุธยา บาง
โอกาสถูกแยกมาใช้ประกอบการแสดงโขนละครในบทที่มีอารมณ์เศร้าโศก รำพึงรำพัน หรือการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก ต่อมาในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) แต่งขยายเป็นอัตราสามชั้นสำหรับขับร้องในวงมโหรีปี่พาทย์
แล้วประดิษฐ์เป็นทำนองเดี่ยวขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ดุริยางคศิลปินได้ยึดเป็นแบบฉบับในปัจุบัน
การบรรเลงเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงพญาโศก เป็นทางของครูสุบิน จันทร์แก้ว ศิษย์ของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
ถ่ายทอดผ่านศาสตราจารย์ ดร. เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี อาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ และนายธีรวัฒน์ คงวัดใหม่ ตามลำดับ
รายนามนักดนตรี นายธีรวัฒน์ คงวัดใหม่
ระนาดทุ้ม นายณัฐวัฒน์ เสริฐประสม
ฉิ่ง นายพัสกร สมรักษ์
กลองสองหน้า
รายการที่ ๙
การบรรเลงเดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่ เพลงลาวแพน ทางครูเพชร จรรย์นาฏย์
เพลงลาวแพน เป็นเพลงสำเนียงลาวที่โบราณนิยมนำมาบรรเล
งเป็นทางเดี่ยว และประกอบการแสดงฟ้อนแพน มีการนำเพลงนี้มา
ผูกขึ้นสำหรับเดี่ยวปี่ ต่อมาจึงประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวจะเข้และเครื่องมืออื่น ๆ เพลงนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีสำนวนที่
ไพเราะ ฟังง่าย สนุกสนานเร้าใจ
เพลงลาวแพนที่ใช้บรรเลงในครั้งนี้ เป็นทางที่อาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ ได้รับการถ่ายทอดจากศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุล
ศรี และนำมาถ่ายทอดให้กับนายเกียรติศักดิ์ สดพงษ์
รายนามนักดนตรี นายเกียรติศักดิ์ สดพงษ์
ฆ้องมอญวงใหญ่ นายณัฐวัฒน์ เสริฐประสม
ฉิ่ง นายพัสกร สมรักษ์
ฉาบเล็ก นายจิรวัฒน์ ทองกลอม
กลองแขก นายณัฐวุฒิ คำนึง
รายการที่ ๑๐
การบรรเลงดนตรีประกอบการรำกระบี่ตีท่า สายขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่ม เทวา)
กระบี่ตีท่า เป็นการรำชุดหนึ่งอยู่ในบทปฐมของการแสดงโนรา
เป็นการรำเฉพาะอย่างสายขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่ม เทวา) ผู้ที่คิดค้น
การรำกระบี่ตีท่าคือ โนราพลัด คชรัตน์ อยู่ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โนราพลัด คชรัตน์ เป็นลูกศิษย์ของขุน
อุปถัมภ์นรากร (พุ่ม เทวา) ได้ถ่ายทอดกระบวนการรำให้กับอาจารย์จิณ ฉิมพงษ์ อาจารย์พิโรธ อำไพฤทธิ์ อาจารย์วีนัส ทองรัตน์
อาจารย์ศุภชัย รักษ์สกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ได้ถ่ายทอดให้กับอาจารย์วิระเดช ทองคำ อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์
จันทร์น้อย การรำกระบี่ตีท่านี้เป็นการรำที่ดัดแปลงมาจากลิงสู้รบกัน ซึ่งการรำกระบี่ตีท่าต้องผ่านการถ่ายทอดจากสายขุนอุปถัมภ์
นรากรโดยตรงจึงจะสามารถเข้าใจในกระบวนการรำได้เห็นชั้นเชิง การบรรเลงดนตรีที่สอดคล้องกับกระบวนการรำ ใช้ผู้รำเพียงสอง
คน ซึ่งเป็นชายหรือหญิงก็ได้ ผู้ที่รำกระบี่ตีท่าจะต้องผ่านกระบวนการรำมาเป็นอย่างดี
รายนามนักดนตรีและนักแสดง
ทับ นายชัยวัฒน์ อินไชยทอง
กลองโนรา นายศุภกร แก้วทอง
โหม่ง-ฉิ่ง นายวีระศักดิ์ ยัคพันธ์
ปี่ใต้ นายการุณ โยธา
ซออู้ นายณัฐวุฒิ คำนึง
แตระ นายอานนท์ ปาลสี
ผู้รำโนรา นายอภิรมย์ หวังขวัญ
นายธนากร ชัยมนตรี
ชื่อ : นายพัชรพล กิ้มถ้อง ประวัติส่ วนตัว
ชื่อเล่น : โอม
วันเดือนปีเกิด : ๒ มีนาคม ๒๕๔๓
ที่อยู่ : ๑๕๓ หมู่ที่ ๖ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ๙๐๑๖๐
เครื่องมือเอก : ขิม
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนาทวีวิทยาคม
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย)
ประวัติการศึกษาดนตรีไทย สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้าพเจ้าได้เริ่มศึกษาดนตรีไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยเริ่มเรียนระนาดเอกกับครูสุพรรณิการ์ ทับถม เป็นเครื่องมือ
แรก ในภายหลังครูเห็นว่าเหมาะสมแก่การเล่นซอด้วงมากกว่า จึงได้เริ่มหัดสีซอด้วง และถือได้ว่าซอด้วงเป็นเครื่องมือแรกที่ได้แข่งขัน
ต่อมาเมื่อเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ข้าพเจ้าสนใจในการบรรเลงขิม จึงเลือกเรียนขิมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในระดับมัธยมศึกษานั้น
ข้าพเจ้าได้เรียนทักษะพื้นฐานในวงเครื่องสายจากคุณครูหลายท่าน ได้แก่ คุณครูสุภัทรา พรหมทอง คุณครูวราภรณ์ ดุริยาฤทัย คุณครู
กอบลาภ จันมุณี และคุณครูพัณนิตา มณี
ในระดับอุดมศึกษา ข้าพเจ้าเลือกที่จะต่อยอดในด้านของดนตรีไทย จึงเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางศาสตร์ไทย)
สาขาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ในเครื่องมือเอกขิม ข้าพเจ้าได้เรียนขิมกับอาจารย์ชยุดี วสวานนท์
ถือเป็นเกียรติสูงสุดที่ได้เรียนกับครูขิมที่มีชื่อเสียงในลำดับต้นๆของไทย นอกจากนี้แล้วยังได้ศึกษาวิชาด้านทฤษฎีและปฏิบัติในเครื่อง
อื่นๆ จากอาจารย์อีกหลายท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ อาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ อาจารย์โสว
ภา สงขาว และอาจารย์ปรัชญา บุญมาสูงส่ง
ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างสูง ที่ให้ความเมตตา อมรมสั่งสอน และให้วิชาความรู้แก่ข้าพเจ้า
ชื่อ : นายวันเฉลิม วงค์แสง
ชื่อเล่น : ป็อบ
วันเดือนปีเกิด : ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๓
ที่อยู่ : ๕๙ หมู่ที่ ๑๔ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ๙๐๑๖๐
เครื่องมือเอก : ซอด้วง
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนาทวีวิทยาคม
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย)
สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ประวัติการศึกษาดนตรีไทย
ข้าพเจ้าได้เริ่มศึกษาดนตรีไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยเรียนระนาดทุ้มกับครูสุพรรณิการ์ ทับถม เมื่อเข้าศึกษาในระดับ
มัธยมศึกษา ข้าพเจ้าได้เรียนทักษะพื้นฐานในวงเครื่องสายจากคุณครูหลายท่าน ได้แก่ คุณครูสุภัทรา พรหมทอง คุณครูวราภรณ์
ดุริยาฤทัย คุณครูพัณนิตา มณี และข้าพเจ้าได้เรียนปี่ใต้กับคุณครูกอบลาภ จันมุณี
เมื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในหลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางศาสตร์ไทย) สาขาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ทักษิณ ข้าพเจ้าได้เรียนซอด้วงกับอาจารย์ชาคริต เฉลิมสุข และอาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ นอกจากนี้แล้วยังได้ศึกษาวิชาด้านทฤษฎีและ
ปฏิบัติเครื่องอื่นๆ จากอาจารย์อีกหลายท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ อาจารย์โสวภา สงขาว
และอาจารย์ปรัชญา บุญมาสูงส่ง
ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ให้ความเมตตาอมรมสั่งสอน ให้วิชาความรู้แก่ศิษย์ ซึ่งนับเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
ชื่อ : นายเสกข์ศักย์ ไชยชาญ
ชื่อเล่น : อิน
วันเดือนปีเกิด : ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๓
ที่อยู่ : ๒๙/๒ หมู่ ๗ ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ๙๒๑๔๐
เครื่องมือเอก : จะเข้
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย)
สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ประวัติการศึกษาดนตรีไทย
ข้าพเจ้าได้เริ่มศึกษาดนตรีไทยในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ โดยเล่นระนาดทุ้ม กับครูอัจฉรา ลายดี และต่อมาได้เรียนซออู้กับครู
ณัฐธิชาภัทร เหมรัตน์
เมื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุมดมศึกษาในหลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ข้าพเจ้า
ได้เริ่มเรียนจะเข้ กับอาจารย์ชาคริต เฉลิมสุข นอกจากนี้ยังได้ศึกษาวิชาด้านทฤษฎี และปฏิบัติกับด้านอื่น ๆจากอาจารย์อีกหลายท่าน
ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ อาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ อาจารย์โสวภา สงขาว
อาจารย์อภิชัย พงษ์ลือเลิศ
ข้าพเจ้าขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ได้อบรมสั่งสอน ให้วิชาความรู้แก่ลูกศิษย์ เพื่อนำไปประกอบอาชีพ ในภายภาคหน้า นับเป็น
พระคุณแก่ศิษย์ยิ่ง
ชื่อ : นายชนาธิป คงอ่อน
ชื่อเล่น : เก่ง
วันเดือนปีเกิด : ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓
ที่อยู่ : ๗๒ หมู่ ๖ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ๙๐๑๖๐
เครื่องมือเอก : จะเข้
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนาทวีวิทยาคม
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย)
ประวัติการศึกษาดนตรีไทย สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ได้เริ่มศึกษาดนตรีไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยได้เรียนระนาดเอกกับครูสุพรรณิการ์ ทับถม เป็นเครื่องแรก ตามด้วย
เครื่องประกอบจังหวะ คือ โทน-รำมะนา และขับร้องเพลงไทยเดิม ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ได้เข้ามาอยู่ในวงดนตรีไทย เรียนขับร้อง
เพลงไทยเดิม จากครูสุภัทรา พรหมทอง และเรียนระนาดเอก จากครูกอบลาภ จันทร์มุณี ต่อมาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรียนขับ
ร้องเพลงไทยเดิม จากครูวราภรณ์ ดุริยาฤทัย เรียนฆ้องวงเล็ก จากผศ.กี จันทศร มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และเรียนจะเข้ จากครู
พันณิตา มณี
ต่อมาเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยทักษิณ สาขาดุริยางคศาสตร์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมดนตรี
ไทย ในด้านทฤษฎีและปฏิบัติจากอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ อาจารย์ชยุดี วสวานนท์ อาจารย์ชาคริต เฉลิมสุข อาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ
อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ ผศ.ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ อาจารย์ปรัชญา บุญมาสูงทรง
ทั้งนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างสูง ที่ได้ให้ความรู้ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในเรื่องดนตรีไทยอย่างลึกซึ้ง อีกทั้งคอย
อบรมสั่งสอนนิสิต ตลอดระยะเวลา ๔ ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งนับว่าเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
ชื่อ : นายจิรวัฒน์ ทองกลอม
ชื่อเล่น : ปีเตอร์
วันเดือนปีเกิด : ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๒
ที่อยู่ : ๑๓๑/๑ หมู่ ๘ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๒๕๐
เครื่องมือเอก : ระนาดเอก
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย)
สาขาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ประวัติการศึกษาดนตรีไทย
เริ่มศึกษาดนตรีไทยตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ กับครูเอกชัย ผอมดำ โดยเริ่มเรียนขลุ่ยเพียงออเป็นเครื่องมือแรก และ
ระนาดเอกตามลำดับ ต่อมาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้เรียนดนตรีไทยกับครูทิวัตถ์ ศรีวิโรจน์ และครูณัฐพงศ์ กลั่นพิกุล โดยได้เข้า
ร่วมการประกวดในรายการต่าง ๆ มากมาย
เมื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในหลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย) สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยได้เรียนปี่พาทย์กับอาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ นอกจากนี้แล้วยังได้เรียนรู้ทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติเครื่องมือ
อื่น ๆ จากคณาจารย์หลายท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ อาจารย์โสวภา สงขาว อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ อาจารย์
ปรัชญา บุญมาสูงทรง และอาจารย์ชาคริต เฉลิมสุข
ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก ในด้านทฤษฎีและ
การปฏิบัติ ตลอดจนประสบการณ์การประกวด การปฏิบัติทักษะดนตรีไทยในวาระโอกาสต่าง ๆ และทักษะการใช้ชีวิตในสังคม ตลอด
ระยะเวลา ๔ ปี ขอขอบพระคุณครับ
ชื่อ : นางสาวเบญจมาศ พิกุลทอง
ชื่อเล่น : แพรว
วันเดือนปีเกิด : ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๒
ที่อยู่ : ๒๔ หมู่ ๙ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ๘๖๑๗๐
เครื่องมือเอก : ฆ้องวงใหญ่
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนละแมวิทยา
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย)
สาขาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ประวัติการศึกษาดนตรีไทย
ข้าพเจ้าได้เริ่มเรียนดนตรีไทยในระดับชั้นมัธยมปีที่ ๕ เรียนการเป่าขลุ่ยเป็นพื้นฐาน ในรายวิชาเพิ่มเติม และได้สนใจเรียนระนาดทุ้ม
และฆ้องวงใหญ่ ถ่ายทอดโดย คุณครูกฤษฏิ์ วงตระกูล ต่อมาได้ฝึกฝนและร่วมบรรเลงในโอกาสต่างๆของงานโรงเรียน เมื่อเข้าศึกษา
ระดับอุดมศึกษาในหลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย) หลักสูตรดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาทักษิณ ข้าพเจ้าได้เริ่ม
เรียนฆ้องวงใหญ่กับอาจารย์ คฑาวุธ พรหมลิ นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังได้ศึกษาวิชาด้านทฤษฎีและปฏิบัติเครื่องดนตรีต่างๆ จากอาจารย์
อีกหลายท่าน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ อาจารย์ชาคริต เฉลิมสุข อาจารย์ศรัทธา จันทรมณีโชต อาจารย์โสว
ภา ส่งขาว และอาจารย์ปรัชญา บุญมาสูงทรง ข้าพเจ้าขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่เมตาถ่ายทอดความรู้ให้แก่ข้าพเจ้าอย่างลึกซึ้งอีกทั้ง
ยังคอยตักเตือนและอบรมสั่งสอนข้าพเจ้ามาโดยตลอด นับเป็นพระคุณยิ่งแก่ศิษย์
ชื่อ : นายณัฐวุฒิ คำนึง
ชื่อเล่น : ธีแระ
วันเดือนปีเกิด : ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
ที่อยู่ : ๑ หมู่ที่๒ ถ.เทศบาล ๖๓ ซอย ๑ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
๙๐๒๓๐
เครื่องมือเอก : ปี่ใน
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูติ ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย)
สาขาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ประวัติการศึกษาดนตรีไทย
ข้าพเจ้าได้เริ่มศึกษาดนตรีพื้นบ้านและดนตรีไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยเริ่มเรียนเครื่องดนตรีพื้นบ้านและดนตรีไทย
กับครูเกษมสุข ลอองศรี และครูผุสดี ลอองศรี ต่อมาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ได้เรียนดนตรีไทยกับครูทิวัตถ์ ศรีวิโรจน์ และได้เริ่ม
เรียนเฉพาะเจาะจงวิชาเครื่องหนังและวิชาซ่อมสร้างเครื่องดนตรีไทยกับครูณัฐพงศ์ กลั่นพิกุลและได้เริ่มเรียนขลุ่ยและปี่ในกับครูสุรศักดิ์
อยู่คง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
ในระดับอุดมศึกษาในหลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย) สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ทักษิณ โดยได้เรียนปี่พาทย์และเครื่องสายกับอาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ และได้เรียนดนตรีพื้นบ้านกับอาจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์
นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ทฤษฎีจากคณาจารย์หลายๆท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ อาจารย์
ชาคริต เฉลิมสุข อาจารย์โสวภา สงขาว และอาจารย์ปรัชญา บุญมาสูงทรง
ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณคุณครูและอาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน
รวมถึงทักษะการใช้ชีวิตในสังคมตลอดระยะเวลาการศึกษา ขอขอบพระคุณครับ
ชื่อ : นายเกียรติศักดิ์ สดพงษ์
ชื่อเล่น : เเบงค์
วันเดือนปีเกิด : ๑๗ เมษายน ๒๕๔๓
ที่อยู่: ชัยมงคล ซอย ๓ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ๙๐๐๐๐
เครื่องมือเอก : ฆ้องวงใหญ่
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดหัวป้อมนอก
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตร คศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
สาขาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ
ประวัติการศึกษาดนตรีไทย
ข้าพเจ้าเริ่มศึกษาดนตรีไทยตั้งเเต่ระดับชั้นมัธยมปีที ๔ กับครูสมประสงค์ บุญถนอม โดยเริ่มเรียนเครื่องหนัง เป็นเครื่องเเรก
ไม่เคยจับเครื่องดนตรีอื่นเลย ทำไห้มีความชอบทางด้านเครื่องหนังมาก เเละมีโอกาสเข้าร่วมการประกวดในรายการต่าง ๆ มากมาย เมื่อ
เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในหลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย) สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ทักษิณ โดยได้เรียนปี่พาทย์กับอาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ นอกจากนี้แล้วยังได้เรียนรู้ทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติเครื่องมืออื่น ๆ จาก
คณาจารย์หลายท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ อาจารย์โสวภา สงขาว อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ อาจารย์ปรัชญา บุญมา
สูงทรง ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก เเละดนตรี
พื้นบ้านในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ ตลอดจนประสบการณ์ ในการทำงานได้จริงเเละได้นำไปสู่ชุมนุมเเละสอนนักเรียนในโอกาสต่างๆและ
การปฏิบัติทักษะดนตรีไทย และทักษะการใช้ชีวิตในสังคม ทำให้มีโอกาสได้นำไปใช้จริง ตลอดระยะเวลา ๔ ปี ขอขอบพระคุณครับ ขอให้
ทุกท่านสุขภาพเเข็งเเรงครับ
ชื่อ : นายชัยวัฒน์ อินไชยทอง
ชื่อเล่น : เก๋
วันเดือนปีเกิด : ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๓
ที่อยู่ : ๓ หมู่ ๔ ตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ๙๐๑๖๐
เครื่องมือเอก : ดนตรีพื้นบ้าน
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนาทวีวิทยาคม
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย)
สาขาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ประวัติการศึกษาดนตรีไทย
ข้าพเจ้าเริ่มศึกษาดนตรีไทยตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ กับครูชาตรี จันทร์บัว โดยเริ่มเรียนกลองแขกเป็นเครื่องมือแรก
และต่อมาได้เรียนทับ ต่อมาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้เรียนดนตรีไทยกับครูสุภัทรา พรหมทอง ครูวราภรณ์ ดุริยาฤทัย โดยได้เข้าร่วม
การประกวดในรายการต่าง ๆ มากมาย เมื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในหลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย) สาขาวิชา
ดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยได้เรียนดนตรีพื้นบ้าน กับอาจารย์วิรเดช ทองคำ อาจารย์ธรรมนิตย์
นิคมรัตน์ (ศิลปินแห่งชาติ) และอาจารย์ โสวภา สงขาว นอกจากนี้แล้วยังได้เรียนรู้ทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติเครื่องมืออื่น ๆ จาก
คณาจารย์หลายท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ อาจารย์คฑาวุธ พรมลิ อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ อาจารย์ปรัชญา บุญมา
สูงทรง และอาจารย์ชาคริต เฉลิมสุข ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านดนตรีไทยดนตรี
พื้นบ้านและดนตรีตะวันตก ในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ และประสบการณ์ทางด้านการประกวดและ การปฏิบัติทักษะดนตรีพื้นบ้านใน
วาระโอกาสต่าง ๆ และทักษะการใช้ชีวิตในสังคม ตลอดระยะเวลา ๔ ปี ขอขอบพระคุณครับ
ชื่อ : นายศุภกร แก้วทอง
ชื่อเล่น : กาย
วันเดือนปีเกิด : ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
ที่อยู่ : ๗๓ หมู่ ๖ ตำบลฉาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ๙๐๑๖๐
เครื่องมือเอก : ดนตรีพื้นบ้าน
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนาทวีวิทยาคม
ระดับปริญญาตรี กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตร ดศ.บ.(ดุริยางคศาสตร์ไทย)
สาขาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ประวัติการศึกษาดนตรีไทย
ข้าพเจ้าได้เริ่มศึกษาดนตรีไทย ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ได้เข้ามาอยู่ในวงดนตรีไทย เริ่มหัดตีเครื่องประกอบ
จังหวะ จากครูสุภัทรา พรหมทอง เริ่มเล่นโนรา นายชาตรี จันบัว ครูกอบลาภ จันทร์มุณี ต่อมาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เริ่มเป่า
ขลุ่ย จากครูวราภรณ์ ดุริยาฤทัย ครูพันณิตา มณี
ในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา สาขาดุริยางคศาสตร์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จึงได้ศึกษาเพิ่ม
เติมดนตรีไทย ในด้านทฤษฎีและปฏิบัติจากอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ อาจารย์ ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ อาจารย์วิระเดช ทองคำ อาจารย์
ชาคริต เฉลิมสุข อาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ ผศ.ดร.ปาหนัน กฤษณรมย์ และอาจารย์ปรัชญา บุญมาสูง
ทรง ทั้งนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างสูง ที่ได้ให้ความรู้ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในเรื่องดนตรีโนรา ดนตรีไทย อย่างลึก
ซึ้ง อีกทั้งคอยอบรมสั่งสอนนิสิต ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งนับว่าเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
ขอขอบพระคุณ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ระวีวัฒน์ ไทยเจริญ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
อาจารย์รัชกฤต ภานุอัครโชค ผู้ช่วยคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาหนัน กฤษณรมย์ ประธานหลักสูตร ดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
อาจารย์ศรัทธา จันทมณีโชติ อาจารย์ประจำหลักสูตรดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
อาจารย์คฑาวุธ พรหมลิ อาจารย์ประจำหลักสูตรดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
อาจารย์โสวภา สงขาว อาจารย์ประจำหลักสูตรดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
อาจารย์ปรัชญา บุญมาสูงทรง อาจารย์ประจำหลักสูตรดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
อาจารย์ชยุดี วสวานนท์ อาจารย์พิเศษหลักสูตรดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย)
สาขาดุริยางคศาสตร์สากล เอื้อเฟื้ออุปกรณ์การบันทึกเสียง
สาขาศิลปะการแสดง เอื้อเฟื้อเครื่องแต่งกายและห้องเรียนในการถ่ายทำ
เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ครอบครัวนิสิตชั้นปีที่ ๔ รุ่นที่ ๑๓ หลักสูตรดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย) มหาวิทยาลัยทักษิณ
พี่ - น้องสาขาดุริยางคศาสตร์ไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ