The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารเสริมความรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เล่มนี้ เป็นเอกสารที่ได้คิดค้น ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทำขึ้นเพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องตามแผนแม่บทภายใต้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561 - 2580) แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และแนวทางการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ
ขอบเขตของเนื้อหาเอกสารเสริมความรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ครอบคลุมดังนี้ กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อความสามารถในการสื่อสาร การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเสริมความรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในการนำไปศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ตรงตามหลักมาตรฐานสากล ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ประกอบการรับการนิเทศ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั้งระบบเพื่อเพิ่มระดับความสามารถให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
นางพิมพ์วรี วงษ์ภัทรกร
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by pimwaree.mnr, 2022-03-31 01:49:33

เอกสารเสริมความรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

เอกสารเสริมความรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เล่มนี้ เป็นเอกสารที่ได้คิดค้น ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทำขึ้นเพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องตามแผนแม่บทภายใต้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561 - 2580) แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และแนวทางการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ
ขอบเขตของเนื้อหาเอกสารเสริมความรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ครอบคลุมดังนี้ กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อความสามารถในการสื่อสาร การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเสริมความรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในการนำไปศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ตรงตามหลักมาตรฐานสากล ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ประกอบการรับการนิเทศ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั้งระบบเพื่อเพิ่มระดับความสามารถให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
นางพิมพ์วรี วงษ์ภัทรกร
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Keywords: English Teaching,Lesson Planning,Communicative Language Teaching,CEFR,Language Assessment,Supervision,Thailand,High school

43

3. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้
อยา่ งต่อเนื่องนอกหอ้ งเรียนอกี ด้วย

4. ไดผ้ ลลพั ธ์ในการถา่ ยทอดความร้ใู กลเ้ คยี งกบั การเรยี นรูร้ ูปแบบอ่ืนแต่ไดผ้ ลดีกว่าในการพัฒนา
ทักษะด้านการคดิ และการเขียนของผเู้ รียน

5. ผู้เรียนมีความพึงพอใจกับการเรียนรู้แบบนี้มากกว่ารูปแบบที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้
ซง่ึ เป็นการเรียนรแู้ บบตงั้ รบั (Passive Learning)

6. มุ่งเน้นความรับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนรู้โดยผ่านการอ่าน เขียน คิด อภิปราย
และเข้าร่วมในการแก้ปัญหาและยังสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม
(Bloom taxonomy) ท้ังในด้านพุทธพิ ิสยั ทักษะพสิ ัย และจติ พิสยั

ประเภทกจิ กรรมการสอนภาษาองั กฤษเชิงรุก (Active Learning)

กจิ กรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยวธิ ีใช้กิจกรรมเป็นฐานมีหลากหลายกจิ กรรม การนำมาใช้ขึ้นอยู่
กับความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนั้นๆ ว่ามุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือ
พัฒนาในเร่ืองใด โดยทว่ั ไปสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คอื

1. กิจกรรมเชิงสำรวจ เสาะหา ค้นคว้า (Exploratory) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรวบรวม สั่งสม
ความรู้ ความคิดรวบยอด และทักษะ

2. กจิ กรรมเชงิ สร้างสรรค์ (Constructive) ซ่งึ เกี่ยวข้องกบั การรวบรวม สงั่ สมประสบการณ์
โดยผา่ นการปฏิบตั ิหรือการทำงานท่ีรเิ ริม่ สรา้ งสรรค์

3. กิจกรรมเชงิ การแสดงออก (Expressional) ได้แก่ กิจกรรมที่เกีย่ วกับการนำเสนอผลงาน
กจิ กรรมการเรียนรูท้ น่ี ิยมใช้
1. การอภิปรายในช้ันเรียน (class discussion) ที่กระทำได้ทั้งในห้องเรียนปกติและ
การอภิปรายออนไลน์
2. การอภิปรายกลุ่มยอ่ ย (Small Group Discussion)
3. กจิ กรรม “คดิ -จับค-ู่ แลกเปล่ียน” (think-pair-share)
4. เซลลก์ ารเรยี นรู้ (Learning Cell)
5. การฝกึ เขียนขอ้ ความสั้นๆ (One-minute Paper)
6. การโตว้ าที (Debate)
7. บทบาทสมมุติ (Role Play)
8. การเรยี นรโู้ ดยใชส้ ถานการณ์ (Situational Learning)
9. การเรียนแบบกลมุ่ รว่ มแรงร่วมใจ (Collaborative learning group)
10. ปฏิกริ ยิ าจากการชมวิดิทัศน์ (Reaction to a video)

44

11. เกมในชัน้ เรียน (Game)
12. แกลเลอรว่ี อล์ค (Gallery Walk)
13. การเรียนรโู้ ดยการสอน (Learning by Teaching)
หลกั การเลอื กกิจกรรมภาษาอังกฤษเพือ่ นำมาสอนควรคำนงึ ถึงหลกั การดงั ตอ่ ไปนี้
1. ให้ความสนใจทตี่ วั ผเู้ รียน
2. เรียนรู้ผา่ นกจิ กรรมการปฏบิ ตั ทิ ่ีน่าสนใจ
3. ครผู ู้สอนเป็นเพยี งผู้อำนวยความสะดวก
4. ใชป้ ระสาทสมั ผัสทัง้ 5 ในการเรียน
5. ไม่มกี ารสอบแต่ประเมินผลจากพฤติกรรม ความเข้าใจ และผลงาน
6. เพอื่ นในชนั้ เรยี นชว่ ยส่งเสริมการเรียน
7. มีการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาความคิดและเสริมสร้างความมั่นใจ
ในตนเอง

วธิ ีการสอนภาษาองั กฤษโดยใช้กิจกรรม

1. การอภิปรายในช้ันเรยี น (class discussion) เป็นการอภปิ รายรว่ มกนั ถึงประเด็นท่ีได้
กำหนดไว้ โดยผู้เรียนสามารถนำเสนอความเห็นทั้งที่เห็นพ้องกับเห็นต่างได้แต่ต้องแสดงเหตุผลหรือ
ข้อมูลเพื่อสนับสนุนข้อคิดเห็น จากนั้นต้องลงความเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน (วัชรี เกษพิชัยณรงค์,
2557, หน้า 14-15)

2. การอภปิ รายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) วธิ ีสอนโดยใชก้ ารอภิปรายกลุ่มย่อย
คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการจัด
ผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4-8 คน และให้ผู้เรียนในกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น
และประสบ ก าร ณ์ ใ นป ร ะเ ด็ น ที ่ กำ หน ดแ ล ะส รุ ปผ ล ก าร อภ ิป ร าย อ อ ก ม าเ ป็ น ข้ อส รุ ป ข อ ง ก ลุ่ ม
วัตถุประสงค์วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อยเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม
การเรียนรู้อย่างทั่วถึง มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อันจะช่วยให้ผู้เรียน
เกิดการเรยี นรู้ในเร่ืองที่เรียนกว้างข้ึน (ทศิ นา แขมมณี, 2547, หน้า 49-50)

2.1 องค์ประกอบสำคัญของวธิ ีสอน
2.1.1 มกี ารจดั ผู้เรยี นเปน็ กลุ่มยอ่ ย ๆ กลมุ่ ละประมาณ 4-8 คน
2.1.2 มปี ระเด็นในการอภิปราย
2.1.3 มีการพูดคยุ แลกเปล่ียนความคิดเห็น ความรู้สกึ และประสบการณ์กันระหว่าง
สมาชิกในกลุม่ ตามประเดน็ การอภิปราย
2.1.4 มีการสรุปสาระทีส่ มาชิกลมุ่ ไดอ้ ภิปรายกันเปน็ ข้อสรุปของกลมุ่
2.1.5 มีการนำข้อสรุปของกลุม่ มาใช้ในการสรปุ บทเรยี น

45

2.2 ขั้นตอนสำคญั ของการสอน
2.2.1 ผู้สอนจดั ผเู้ รียนออกเปน็ กลุ่มย่อย ๆ กล่มุ ละประมาณ 4-8 คน
2.2.2 ผู้สอน / ผ้เู รียนกำหนดประเด็นในการอภปิ ราย
2.2.3 ผู้เรียนพูดคยุ แลกเปล่ียนความคดิ เหน็ กันตามประเดน็ อภิปราย
2.2.4 ผ้เู รยี นสรปุ สาระที่สมาชกิ กลุม่ ได้อภิปรายรว่ มกนั เป็นข้อสรปุ ของกลุ่ม
2.2.5 ผ้สู อนและผ้เู รยี นนำขอ้ สรปุ ของกลมุ่ ย่อยมาใชใ้ นการสรุปบทเรียน

2.3 เทคนคิ และขอ้ เสนอแนะตา่ ง ๆ ในการสอนโดยใชก้ ารอภิปรายกลุ่มย่อยให้มปี ระสทิ ธภิ าพ
2.3.1 การจัดผูเ้ รียนเป็นกลุ่มย่อยจำนวนสมาชิกในกลุ่มยอ่ ยควรมีประมาณ 4-8 คน

จำนวนที่เหมาะสมที่สุดคือระหว่าง 4-6 คน คือเป็นกลุ่มที่ไม่เล็กเกินไปและไม่ใหญ่เกินไปเพราะถ้า
กลุ่มเล็กเกินไปกลุ่มจะไม่ได้ความคิดท่ีหลากหลายเพยี งพอ ถ้ากลุ่มใหญ่เกินไปสมาชิกกลุ่มจะมีโอกาส
แสดงความคิดเห็นได้น้อยหรือได้ไม่ทั่วถึง การแบ่งผู้เรียนเข้ากลุ่มอาจทำโดยวิธีสุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนมี
โอกาสได้ร่วมกลุ่มกับเพื่อนไม่ซ้ำกันหรืออาจจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถเพื่อให้ผู้เรียนที่เก่ง
ช่วยเหลือผู้ที่เรียนอ่อนหรืออาจจัดผู้เรียนเข้ากลุม่ จำแนกตามเพศ วัย (ถ้าผู้เรียนมีหลายวัย) ความสนใจ
ความสามารถ หรือเลอื กอย่างเจาะจงตามปัญหาท่มี ีขน้ึ กับวัตถุประสงคข์ องผสู้ อนและสิ่งท่จี ะอภิปราย
เทคนิคที่ใช้ในการแบง่ กลุ่มมีหลากหลาย เช่น ใช้การนับหมายเลขหรือเปน็ ภาพเป็นข้อความให้ผ้เู รียน
เกิดความสนกุ สนาน จนกระทั่งในที่สุดครูสัง่ ใหจ้ บั กลุ่มตามจำนวนทีค่ รตู ้องการ เทคนิคการจัดกลุ่มจะช่วยให้
ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการแบ่งกลุ่มโดยเฉพาะเมื่อครูจำเป็นต้องแบ่งกลุ่มบ่อย ๆ จะช่วยให้
ผู้เรียนรู้สึกสนุกและสนใจที่จะเรียนรู้ในกิจกรรมต่อไป เมื่อจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มแล้วผู้สอนควรดูแลให้
กล ุ ่ มจ ั ด ที ่ น ั ่ ง ภ า ย ใน กล ุ ่ มให ้ เ ร ี ย บ ร ้ อย ให ้ อย ู ่ ใน ล ั กษ ณะ ที ่ ทุ กคน มอง เ ห ็ น กั น แ ล ะร ั บ ฟั ง กั น ไ ด ้ ดี
นอกจากนั้นในกรณีที่มีหลายกลุ่มผู้สอนควรจัดกลุ่มให้ห่างกันพอสมควร เพื่อไม่ให้เสียงอภิปรายจาก
แต่ละกล่มุ รบกวนกันและกนั

2.3.2 ประเดน็ การอภิปราย การอภิปรายจำเปน็ ต้องมปี ระเดน็ ในการอภปิ รายและมี
วัตถุประสงค์ของการอภิปรายที่ชัดเจน ประเด็นการอภิปรายอาจจะมาจากผู้สอนหรือผู้เรียนแล้วแต่
กรณี การอภิปรายแตล่ ะครั้งไมค่ วรมีประเดน็ มากจนเกินไปเพราะจะทำให้ผ้เู รยี นอภิปรายได้ไม่เต็มท่ี

2.3.3 การอภิปราย การจัดกลุ่มอภปิ รายมีหลายแบบผู้สอนควรเลือกใชใ้ ห้เหมาะสม
กบั วตั ถปุ ระสงค์ ในการอภิปรายทด่ี โี ดยท่ัวไปควรมีการกำหนดบทบาทหนา้ ที่ที่จำเป็นในการอภิปราย
เช่น ประธานหรือผู้นำในการอภิปราย เลขานุการผู้จดบันทึกการประชุมและผู้รักษาเวลา เป็นต้น
นอกจากนั้นสมาชิกลุ่มทุกคนควรมีความเข้าใจตรงกันว่าตนมีบทบาทหน้าที่ที่จะต้องช่วยให้กลุ่ม
ทำงานได้สำเร็จ มิใช่ปล่อยให้เป็นความรับผิดชอบของสมาชิกเพียงบางคน หากสมาชิกกลุ่มมีความรู้
ความเข้าใจว่าสมาชิกกลุ่มที่ดีควรทำอะไรบ้าง เช่น ให้ข้อมูลแสดงความคิดเห็น ซักถาม โต้แย้ง
สนับสนุน ช่วยไม่ให้กลุ่มออกนอกเรื่องและสรุป เป็นต้น การอภิปรายจะเป็นไปได้ดี ผู้สอนจึงควรให้
ความรู้ความเข้าใจหรือคำแนะนำแก่กลุ่มก่อนการอภิปรายและควรย้ำถึงความสำคัญของการให้
สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการอภิปรายอยา่ งทั่วถึง ไม่ให้มีการผูกขาดการอภิปรายโดยผู้ใดผูห้ นง่ึ

46

เพราะวตั ถปุ ระสงคห์ ลักของการอภิปรายก็คือการให้ผู้เรยี นมีโอกาสแสดงความคิดเหน็ อย่างท่ัวถึงและ
ได้รบั ฟังความคิดเหน็ ทีห่ ลากหลายอันจะชว่ ยใหผ้ ู้เรียนมีความคิดทีล่ ึกซึ้งและรอบคอบข้ึน การอภิปรายท่ี
ดีควรดำเนนิ การไปทีละประเด็นจะไดไ้ ม่เกิดความสับสนและในกรณีทีม่ หี ลายประเดน็ ควรมีการจำกัด
เวลาของการอภิปรายแต่ละประเดน็ มิฉะนน้ั การอภปิ รายอาจยืดยาว เย่นิ เย้อ และประเด็นท่ีอยู่ท้าย ๆ
จะไม่ได้รับการอภิปรายเพราะหมดเวลาเสียก่อน ประเด็นการอภิปรายกับเวลาที่ให้ควรมี
ความพอเหมาะกัน

2.3.4 การสรุปผลการอภิปราย ก่อนที่การอภิปรายจะยตุ ลิ ง กลมุ่ จำเปน็ ตอ้ งมีการสรุปผล
การอภิปรายเพื่อให้ได้คำตอบตามประเด็นที่กำหนด ผู้สอนควรบอกหรือให้สัญญาณแก่กลุ่มอภิปราย
ประมาณ 3-5 นาที ก่อนหมดเวลาเพื่อกลุ่มจะได้สรุปผลการอภิปรายเป็นข้อสรุปของกลุม่ ซึ่งหลังจากนั้น
ผ้สู อนอาจใหแ้ ตล่ ะกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายแลกเปล่ียนกนั หรอื ดำเนินการในรปู แบบอ่ืนต่อไป

3. กิจกรรม “คิด-จับคู่-แลกเปลี่ยน” (think-pair-share) กลวิธี คิดเดี่ยว คิดคู่
แลกเปลีย่ นความคดิ เป็นกลวธิ ีหนึ่งของการจดั การเรียนรู้แบบรว่ มมือรว่ มใจ (Cooperative Learning )
มีวัตถุประสงค์ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดโดยให้นักเรียนฝึกกระบวนการคิดด้วยตนเอง แล้ว
แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนเป็นคู่ แบ่งปันในกลุ่มของตัวและนำมาแบ่งปันให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่ม
ใหญ่ โดยเร่มิ จากให้นักเรียนคิดเป็นรายบุคคลแล้วนักเรยี นจับคู่กันเพื่อแลกเปล่ียนความคิดเห็นของกัน
และกนั ต่อไปอาจขยายขนาดกลุ่มโดยการแลกเปล่ียนความคิดเหน็ เพิ่มข้ึนทีละคู่ ตอนสุดท้ายจะต้องให้
นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันทั้งห้องเรียน กลวิธีนี้ใช้เมื่อต้องการให้ นักเรียนฝึกทักษะการคิด
วิเคราะห์คิดสังเคราะห์คิดอย่างมีเหตุผล ฝึกทักษะการสื่อสารการแสดงออกและการยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้อืน่ ขน้ั ตอนของกิจกรรม “คดิ -จบั ค-ู่ แลกเปล่ยี น” (think-pair-share) มีดังตอ่ ไปนี้ ผู้สอนตัง้ ปญั หา -
ผู้เรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเองก่อน 4-5 นาที - จับคู่กับเพื่อนเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น -
แลกเปลย่ี นเรียนรรู้ ่วมกนั ท้ังชน้ั เรียน (วชั รี เกษพิชัยณรงค์, 2557, หน้า 14-15)

4. การโต้วาที (Debate) การโต้วาทีเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมากที่ช่วยให้ผู้เรียนฝึก
ทักษะในหลายๆด้าน ทั้งการนำเสนอ สรุปประเด็น ค้นคว้าข้อมูล และการอภิปรายเพื่อสนับสนุนและ
คัดค้าน เหมาะสำหรับเนื้อหาที่แยกประเด็น 2 ด้านชัดเจนและเท่าเทียม (วัชรี เกษพิชัยณรงค์, 2557,
หนา้ 14-15)

5. บทบาทสมมุติ (Role Play) การแสดงบทบาทสมมุติเป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึก
การแสดงออกตามสถานการณ์ที่กำหนดให้เพื่อเป็นประสบการณ์ที่จะนำไปแก้ไขปัญหาและ
สถานการณ์จริงในชีวิต ผู้เรียนจะได้แสดงออก ฝึกวางแผนการทำงานและทำงานร่วมกัน เข้าใจ
ความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและของผู้อื่นและได้เรียนรู้จากการแสดงบทบาทสมมุติ (วัชรี
เกษพิชัยณรงค,์ 2557, หนา้ 14-15)

6. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ (Situational Learning) การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์
จำลองเสมือนจริงเป็นวิธีการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ด้วย

47

ตนเองเสมือนอยู่ในสถานการณ์จริงการสรุปผลการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดประสบการณ์จาก
สถานการณ์จำลองช่วยถ่ายโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติผู้เรียนได้ทำความเข้า ใจวิเคราะห์
ความคิด ความรู้สึกต่อกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติในสถานการณ์และสรุปหลักการหรือแนวคิดที่จะนำไป
ประยกุ ตใ์ นสถานการณ์ใหม่ (สมจิตต์ สินธชุ ยั , 2560, หนา้ 113)

7. เกมในช้นั เรยี น (Game) การจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม คือ เกมการศกึ ษา
เป็นวิธีการจดั การเรียนการสอนทเ่ี นน้ ผ้เู รยี นเปน็ สำคญั เป็นเกมทมี่ ีลักษณะการเลน่ เพ่อื การเรียนรู้ “Play to
learning” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในขณะหรือหลังจากการเล่นเกม เรียนไป
ด้วยและสนุกไปด้วยพร้อมกัน ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความสุข การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็น
กระบวนการท่ผี ู้สอนใชใ้ นการช่วยใหผ้ ู้เรยี นเกิดการเรียนรูต้ ามวตั ถุประสงค์ท่ีกำหนดโดยการให้ผู้เรียน
เล่นเกมตามกตกิ าและนำเนื้อหาและข้อมลู ของเกม พฤติกรรมการเล่น วธิ ีการเลน่ และผลของการเล่น
เกมของผู้เรียนมาใช้ในการสรุปการเรียนรู้โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ
อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้ประสบการณ์ตรง เป็นวิธีท่ี

เปดิ โอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมสงู (ทศิ นา แขมมณี, 2544, หนา้ 81-85) เกมทน่ี ำมาใชใ้ นการสอนส่วน

ใหญจ่ ะเปน็ เกมที่เรียกว่าเกมการศึกษา เปน็ เกมที่มวี ัตถุประสงค์ให้ผูเ้ ลน่ เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ท่ี
กำหนดไว้ มิใช่เล่นเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น จึงสรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้
เกมมีประโยชน์ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน เกิดความคิดรวบยอด
เกีย่ วกับส่งิ ที่เรยี นและเป็นการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียนไปโดยทผ่ี ้เู รียนไม่รู้ตวั รวมท้ังส่งเสริม
กระบวนการทำงานและอยู่รว่ มกนั (คณาภรณ์ รศั มมี ารยี ์, 2561, หนา้ 15)

8. แกลเลอรี่วอล์ค (Gallery Walk) กลวิธีเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ Gallery Walk
เป็น กลวิธีที่ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานของกลุ่มในการศึกษาเรื่องเดียวกันภายหลังจบบทเรียน ให้กลุ่ม
อื่นมาชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงาน แสดงความคิดเห็น อภิปรายภายในกลุ่มโดยเขียน เครื่องหมาย
หน้าข้อความที่มีความเห็นเหมือนกันและเขียนความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ถ้าไม่แน่ใจในประเด็นท่ี
เพ่ือนนำเสนอให้ใส่เครื่องหมายคำถามไว้กลวิธีนี้ใช้เมื่อต้องการใหน้ ักเรยี นนำเสนอผลงานโดยทุกคนมี
สว่ นร่วม กลวธิ ีนี้ช่วยฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์การต้ังคำถาม การตอบคำถาม การสื่อสารและการยอมรับ
ฟังความคดิ เห็นของผ้อู น่ื โดยมขี ้ันตอนวธิ ีการ ดังน้ี (กญั ญา ชยั รตั น์, 2554, หน้า 90)

8.1 แบง่ นักเรียนออกเปน็ กลมุ่ ๆ ละ 3 – 4 คน
8.2 ให้นกั เรยี นรว่ มกนั ทำกิจกรรม อภิปราย และสรปุ ความคิดเห็นของกลุ่ม เขียนลงใน
กระดาษโปสเตอร์แลว้ นำไปติดไว้ทผ่ี นัง ระยะห่างกนั พอสมควร
8.3 แจกปากกาสีใหแ้ ต่ละกลุ่มอธิบายวธิ ีการเดนิ ชมแลกเปลีย่ นเรียนรผู้ ลงานของกลุ่มอื่น
8.4 ให้นกั เรียนแตล่ ะกลุ่มยืนตรงโปสเตอรข์ องตนเอง

48

8.5 ให้สัญญาณให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเดินไปหยุดที่โปสเตอร์ของกลุ่มถัดไปศึกษาผลงาน
อภปิ ราย และสรปุ ความคิดเห็น ถ้าเหน็ ดว้ ยในประเด็นใดให้เขยี นเคร่อื งหมายหนา้ ประเด็นนน้ั ถ้าไม่เห็นด้วย
ในประเดน็ ใดใหเ้ ขยี นความคดิ เหน็ ของตนเองลงไป ถา้ ไมแ่ นใ่ จในประเด็นใดให้เขยี นเคร่ืองหมายคำถาม

8.6 ให้นักเรียนทำกจิ กรรมเช่นเดมิ จนครบทุกโปสเตอรห์ รือ 2 – 3 โปสเตอรต์ ามเวลาท่มี ี
8.7 นำอภิปรายทัง้ ช้ันโดยครเู พอื่ สรุปความคดิ เหน็ ของห้อง

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞

49

คำถามทบทวนความเข้าใจ

เรื่อง การออกแบบกจิ กรรมการเรียนรู้เพื่อความสามารถในการส่ือสาร
(Communicative Lesson Design)

คำชีแ้ จง จงคำถามเพ่ือทบทวนความเข้าใจ
1. การออกแบบกจิ กรรมเพ่อื ส่งเสริมทักษะการฟงั ครคู วรคำนงึ ถึงสง่ิ ใด
2. ครคู วรออกแบบกจิ กรรมในในการจดั การเรยี นการสอนการพดู ภาษาอังกฤษอย่างไร
3. ส่อื ที่ใชใ้ นการสอนการอา่ นภาษาอังกฤษควรเป็นส่ือประเภทใด
4. การสอนการเขยี นควรคำนึงถึงองคป์ ระกอบใด
5. จงบอกขอ้ ดขี องการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรยี นร้ภู าษาองั กฤษแบบ Active Learning

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞

50

แบบทดสอบ

เรอ่ื ง การออกแบบกิจกรรมการเรยี นรู้เพื่อความสามารถในการสื่อสาร
(Communicative Lesson Design)

คำชี้แจง แบบทดสอบฉบบั น้ีเปน็ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ จำนวน 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน
ใชเ้ วลาในการทำแบบทดสอบ 10 นาที โดยเลอื กคำตอบทีถ่ ูกท่ีสดุ เพยี งคำตอบเดยี ว

1. ข้อใดไมใ่ ช่ขอ้ ท่ีควรพจิ ารณาในการออกแบบกจิ กรรมเพอ่ื ส่งเสรมิ ทักษะการฟัง
1) กจิ กรรมในการสอนการฟัง
2) สถานการณ์ในการฟัง
3) กิจกรรมกอ่ นการฟัง
4) จำนวนผู้ฟัง

2. ขั้นตอนในการสอนการฟงั แบ่งออกเป็นกี่ขัน้ ตอน
1) 2 ข้นั ตอน ได้แก่ กิจกรรมก่อนการฟัง (Pre-listening) และกจิ กรรมหลงั การฟัง (Post-listening)
2) 3 ขัน้ ตอน ได้แก่ กิจกรรมก่อนการฟัง (Pre-listening) กจิ กรรมขณะทส่ี อนฟัง (While-
listening) และกจิ กรรมหลงั การฟัง (Post-listening)
3) 4 ข้ันตอน ไดแ้ ก่ การอา่ นลว่ งหนา้ (Background pre-reading) กจิ กรรมก่อนการฟงั (Pre-listening)
กจิ กรรมขณะทีส่ อนฟงั (While-listening) และกิจกรรมหลงั การฟัง (Post-listening)
4) 4 ข้ันตอน ไดแ้ ก่ กิจกรรมก่อนการฟัง (Pre-listening) กิจกรรมขณะทีส่ อนฟัง (While-listening)
กิจกรรมหลงั การฟงั (Post-listening) และกิจกรรมการอภิปรายเร่ืองท่ีฟังและสรปุ (Post-
listening Discussion)

3. กจิ กรรมต่อไปนเ้ี ปน็ ตวั อยา่ งของกจิ กรรมก่อนการฟัง (Pre-listening) ยกเว้นขอ้ ใด
1) การอภิปรายเกีย่ วกบั อารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด
2) การใหผ้ ู้เรียนดูรปู ภาพเก่ียวกับเรื่องท่ีจะฟัง
3) การทบทวนคำศัพทจ์ ากความรเู้ ดมิ ทร่ี ูอ้ ยู่แล้ว
4) การให้ผเู้ รียนอ่านคำถามทีเ่ ก่ียวข้อง

4. ข้อใดต่อไปนี้กลา่ วไม่ถูกต้องเก่ียวกับกิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening)
1) เป็นกจิ กรรมท่มี ุง่ เน้นให้ผเู้ รียนได้ฝึกการใช้ภาษาหลังจากได้ปฏิบัติกจิ กรรมการฟังแล้ว
2) ตวั อยา่ งกจิ กรรมสำหรับผเู้ รยี นระดับตน้ เช่น การเขียนตามคำบอก (Dictation)
3) มจี ุดประสงค์เพ่ือชว่ ยสรา้ งความเข้าใจในบริบทของเร่ืองท่ีฟัง
4) ตวั อย่างกิจกรรมสำหรบั ผเู้ รยี นระดบั สงู เช่น การอภปิ รายเกยี่ วกับสารทฟี่ ัง

51

5. ขอ้ ใดต่อไปนเ้ี ปน็ องค์ประกอบท่ีต้องคำนึงหากต้องการพูดได้อย่างประสบความสำเร็จ
1) จุดมงุ่ หมายของการพูด
2) เสยี ง สหี น้า อากปั กริยา
3) ผู้ฟงั (Audience)
4) ถกู ทุกข้อ

6. การสอนทักษะการพูดภาษาองั กฤษมกี ี่ข้นั ตอน
1) 4 ขน้ั ตอน ได้แก่ ข้นั เสนอเน้ือหา ข้ันการฝึก ข้ันถา่ ยโอน และขัน้ ประเมินผล
2) 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเสนอเน้ือหา ขั้นการฝึก และข้นั ถ่ายโอน
3) 4 ขั้นตอน ไดแ้ ก่ ข้นั บอกจดุ ประสงค์ ขัน้ เสนอเนื้อหา ขั้นการฝึก และข้นั ถ่ายโอน
4) 3 ข้ันตอน ไดแ้ ก่ ข้ันบอกจดุ ประสงค์ ขั้นการฝึก และขัน้ ประเมินผล

7. ข้อใดต่อไปน้ีกลา่ วถกู ต้องเกีย่ วกับเทคนิคการอา่ นเร่ืองใหเ้ ขา้ ใจ
1) Skimming คือเทคนิควิธกี ารอ่านแบบ “กวาดสายตา” เป็นเทคนคิ การอ่านเรว็ โดยใชส้ ายตา
อา่ นกวาดขอ้ ความอยา่ งคร่าวๆ และรวดเรว็
2) จุดประสงคห์ ลักของการอา่ นแบบสำรวจ คือเพื่อจับสาระหรอื ใจความสำคัญ
3) หากจะต้องค้นหารายช่อื ของบคุ คลหนง่ึ อย่างรวดเร็วในบทความ เทคนิคท่ดี ีทีส่ ดุ คือการอา่ น
แบบ Scanning
4) ถูกทุกข้อ

8. ข้อใดต่อไปน้ีกล่าวไม่ถกู ต้องเกี่ยวกบั ข้ันตอนและกิจกรรมการสอนการอ่าน

1) การนำเอกสารจริงมาใช้ในการสอนอ่านไม่ควรแกไ้ ขให้ภาษางา่ ยขึ้น
2) การอ่านออกเสยี ง (Oral Reading) เป็นการอ่านเพ่ือฝึกความถกู ต้อง (Accuracy) ของ

นักเรยี นเท่าน้ัน

3) การอ่านในใจ (Silent Reading) เปน็ การอา่ นเพ่อื รบั รู้และทำความเข้าใจในสิง่ ท่ีอ่านซ่ึงเปน็

การอา่ นอย่างมีจดุ มุ่งหมาย

4) บทอ่านทน่ี ำมาใช้สอนควรเป็นเอกสารจรงิ ที่ไม่ได้เขียนข้ึนมาเพื่อจุดประสงคใ์ นการสอนภาษา

โดยตรง
9. ขอ้ ใดต่อไปน้ีกลา่ วถูกต้องเกย่ี วกบั แนวคดิ เกี่ยวกับการเรียนการสอนการเขียน

1) ครตู อ้ งคำนงึ ถึงใหม้ ากทีส่ ุด คือ ต้องให้นกั เรยี นมีขอ้ มลู เกย่ี วกบั คำศัพท์ (Vocabulary)
ไวยากรณ์ (Grammar) และเนอ้ื หา (Content) อย่างเพยี งพอ

2) การท่ีนักเรียนจะสามารถเขียนไดไ้ ม่จำเปน็ ต้องมที ักษะการฟังหรือพูดก่อน

52

3) การสอนการเขียนสามารถแบ่งออกไดเ้ ปน็ 3 ลักษณะได้แก่ การเขยี นแบบคัดลอก
(Mechanical Copying) การเขยี นแบบควบคุม (Controlled Writing) และการเขียนอิสระ
(Free Writing)

4) การทีค่ รูประเมนิ ความสามารถทางการเขยี นของนักเรียนควรเนน้ เฉพาะความถูกต้องทาง
ไวยากรณ์เปน็ เกณฑ์เทา่ นนั้

10. ข้อใดไมใ่ ช่กิจกรรมการเรียนรู้เชงิ รุกโดยวิธีใชก้ จิ กรรมเปน็ ฐานมหี ลากหลายกิจกรรม
1) กจิ กรรมเชิงสำรวจ เสาะหา ค้นคว้า (Exploratory)
2) กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Constructive)
3) กจิ กรรมเชงิ การแสดงออก (Expressional)
4) กิจกรรมเชิงเคลื่อนที่ (Movement)

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞

53

แนวตอบคำถามทบทวนความเข้าใจ

เรื่อง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพ่ือความสามารถในการส่ือสาร
(Communicative Lesson Design)

1. การออกแบบกจิ กรรมเพ่ือส่งเสริมทักษะการฟัง ครคู วรคำนึงถงึ สิง่ ใดบ้าง
แนวตอบ การออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการฟัง ครูควรคำนึงถึงสถานการณ์หรือ

บริบทโดยเลือกเนื้อหาและออกแบบกิจกรรมที่หลากหลายนา่ สนใจ มีข้อควรพิจารณา 2 ประการ
คือ 1) สถานการณ์ในการฟัง ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง
หรือสถานการณ์จำลองในห้องเรียน และ 2) กิจกรรมในการสอนฟัง แบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ
กิจกรรมก่อนการฟัง (Pre - listening) กิจกรรมระหว่างการฟังหรือขณะที่สอนฟัง (While -
listening) และกิจกรรมหลังการฟัง (post-listening) โดยครูจะต้องออกแบบกิจกรรมในการสอน
ฟังให้เหมาะสมและราบร่นื ในแตแ่ ตล่ ะข้นั ตอนในการสอน

2. ครคู วรออกแบบกจิ กรรมในในการจดั การเรียนการสอนการพดู ภาษาอังกฤษอย่างไร
แนวตอบ ครูควรออกแบบกิจกรรมเพ่อื เสรมิ ทักษะการพดู จากง่ายไปหายากเพื่อลดความวติ กกังวล

ของนักเรียน กิจกรรมควรเป็นที่ยอมรับของเจ้าของภาษาด้วย นักเรียนควรได้รับการส่งเสริม
พัฒนาการทางการพูดที่เหมาะสมและได้ฝึกบ่อยๆ เพื่อการสื่อสารถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและ
ความต้องการของตนเองให้ผู้อ่ืนเข้าใจโดยใช้นำ้ เสยี ง อากัปกริ ยิ าซง่ึ เป็นอวัจนภาษาด้วยและพูดให้
ถูกต้องและชัดเจนขึ้น กิจกรรมในการสอนการพูดภาษาอังกฤษควรฝึกเริ่มจากการฝึกโดยมีกรอบ
หรือการควบคุม ต่อมาก็ลดการควบคุมลงจนนักเรียนสามารถใช้ภาษาได้ เพื่อให้นักเรียนสามารถ
พูดส่อื สารภาษาองั กฤษได้ในสถานการณท์ ่ีเปน็ จริง

3. ส่อื ทีใ่ ช้ในการสอนการอา่ นภาษาอังกฤษควรเป็นสื่อประเภทใด
แนวตอบ บทอ่านที่นำมาใช้สอนการอ่านภาษาอังกฤษควรเป็นเอกสารจริง (Authentic

Material) เพราะบทอา่ นท่เี ขียนขึ้นเพอ่ื เปน็ เคร่ืองมือในการสอนศัพท์และไวยากรณ์ จะมลี ักษณะท่ี
ไม่เป็นธรรมชาติ เนื่องจากผู้เขียนจะคำนึงถึงโครงสร้างหรือหลักไวยากรณ์ที่ต้องการสอนมาก
เกินไป บทอ่านที่เป็นเอกสารจริงซึ่งใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ โฆษณา ข่าว ฉลากยา หรือป้าย
ประกาศ เป็นตน้ และในการนำเอกสารจริงมาใช้ไม่ควรแก้ไขให้ภาษางา่ ยข้ึน สรปุ หรือยอ่ เพราะจะ
ทำให้ข้อความผิดไปจากเดิมเนื่องจากเอกสารท่ีผู้อ่านจะได้พบในชีวิตประจำวนั นั้นไม่มีใครมาปรบั
ระดับความยากง่ายให้

54

4. การสอนการเขียนควรคำนงึ ถงึ องค์ประกอบใดบา้ ง
แนวตอบ การสอนการเขียนควรคำนึงถึงองค์ประกอบด้านเนื้อหา (Content) ข้อความท่ี

ผู้เขียนต้องการสื่อให้กับผู้อ่าน รูปแบบ (Form) การวางรูปแบบของการเขียนไวยากรณ์ (Grammar)
การใช้กฎไวยากรณ์ และโครงสร้างประโยคต่างๆ ลีลาในการใช้ภาษา (Style) การเลือกใช้ศัพท์
สำนวนเพื่อให้เกิดอรรถรสทางภาษา กลไกทางภาษา (Mechanics) การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
การสะกดคำศัพท์ และการใช้อักษรตวั เล็กและใหญ่ไดอ้ ย่างถูกต้อง

5. การออกแบบกจิ กรรมการจดั การเรยี นรู้ภาษาอังกฤษแบบ Active Learning มขี อ้ ดีอยา่ งไร
แนวตอบ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยการเน้นผู้เรียนเป็น

ศูนย์กลางควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่
กจิ กรรมเริ่มต้นจนจบกจิ กรรมปลายทาง ซ่ึงการเรียนรจู้ ากการกระทำผา่ นกระบวนการเรียนรู้ด้วย
บทเรียนบูรณาการสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงได้ อย่างยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างให้
กระบวนการเรยี นรู้เป็นกระบวนการที่สนุกและมชี ีวิตชีวามากขึ้น จัดสถานการณ์ใหม่ๆ ด้วยการใช้
บทเรียนบูรณาการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบองค์ความรู้ด้วย
ตนเอง มุ่งให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มแบบร่วมมือ (Task) เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านตา่ งๆ ให้
ผูเ้ รียนซง่ึ จะนำพาผเู้ รียนไปสู่การเกดิ การเรยี นรทู้ ่ีมีประสิทธภิ าพ

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞

55

เฉลยแบบทดสอบ
เร่อื ง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรเู้ พ่ือความสามารถในการส่ือสาร

(Communicative Lesson Design)

1. 4) จำนวนผู้ฟงั
2. 2) 3 ขนั้ ตอน ได้แก่ กจิ กรรมก่อนการฟัง (Pre-listening) กิจกรรมขณะทส่ี อนฟัง (While-listening) และ

กิจกรรมหลังการฟัง (post-listening)
3. 1) การอภปิ รายเกี่ยวกับอารมณห์ รือเจตคติของผพู้ ูด
4. 3) มีจดุ ประสงค์เพ่ือชว่ ยสร้างความเข้าใจในบรบิ ทของเร่ืองที่ฟัง
5. 4) ถกู ทุกข้อ
6. 2) 3 ขัน้ ตอน ได้แก่ ขน้ั เสนอเน้ือหา ขั้นการฝกึ และขั้นถ่ายโอน
7. 4) ถกู ทุกข้อ
8. 2) การอ่านออกเสยี ง (Oral Reading) เป็นการอ่านเพื่อฝกึ ความถูกตอ้ ง (Accuracy) ของนักเรียน

เทา่ นนั้
9. 1) ครตู อ้ งคำนงึ ถงึ ใหม้ ากท่ีสดุ คือ ต้องใหน้ ักเรียนมีข้อมูลเกย่ี วกับคำศัพท์ (Vocabulary)

ไวยากรณ์ (Grammar) และเนอ้ื หา (Content) อยา่ งเพียงพอ
10.4) กิจกรรมเชิงเคลอ่ื นท่ี (Movement)

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞

56

ตอนท่ี 4

การจดั ทำแผนการจดั การเรยี นรู้
(Lesson Planning)

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความสำคัญหลายประการ ผู้จัดทำจำเป็นต้องศึกษา
วิเคราะห์ วางแผน และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้
ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย คำนึงถึงความแตกต่าง
ระหว่างผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ช่วยให้ผู้สอนจัดกิจกรรมได้
อย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สร้างแนวทางการสอนที่เป็นขั้นตอนและ
ตอบสนองวตั ถปุ ระสงคข์ องหลักสูตร

ความหมายของแผนการจดั การเรยี นรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่จะต้องทำแผนการจัดการเรียนรู้
ตลอดภาคเรยี นมาสร้างเป็นกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ การใช้สอื่ อปุ กรณ์การจัดการเรียนรู้และการวัดผล
ประเมินผล โดยจัดเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนย่อย ๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือ

57

จุดเนน้ ของหลักสูตร สภาพของผูเ้ รยี น ความพรอ้ มของโรงเรียนในด้านวัสดุอุปกรณ์และตรงกับชีวิตจริง
ในห้องเรยี น

แผนการจัดการเรียนรู้เป็นแนวทาง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีเขียนไว้ล่วงหน้า ทำ
ใหผ้ ูส้ อนมคี วามพร้อมและมน่ั ใจว่าสามารถสอนได้บรรลุจุดประสงค์ทีก่ ำหนดไว้และดำเนนิ การสอนได้
ราบร่ืน (ชนาธปิ พรกลุ , 2552 หนา้ 85)

วสั ดหุ ลักสตู รท่คี วรพัฒนามาจากหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดไว้เพ่ือให้การจัดการเรียนการสอน
บรรลุป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรเป็นส่วนที่แสดงการจัดการเรียนการสอนตาม
บทเรียนและประสบการณก์ ารเรียนร้เู ปน็ รายวนั หรือรายสัปดาห์ (เอกรนิ ทร์ ลมี่ หาศาล, 2552, หนา้ 409)

แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึงเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรของครูผู้สอน ซึ่งเป็น
แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละครั้งโดยใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนให้
สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เนื้อหา เวลา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนใหเป็นไปอย่าง
เต็มศกั ยภาพ (ชวลิต ชูกำแพง, 2553, หนา้ 25)

แผนการจัดการเรยี นรเู้ ป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการจัดการเรียนรู้ การใช้ส่ือการจัด
การเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลให้สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือ
กลา่ วอกี นยั หน่ึงได้ว่า แผนการจดั การเรยี นรูเ้ ป็นแผนทจ่ี ัดทำข้ึนจากค่มู ือครูหรือแนวทางการจัดการเรียนรู้
ของกรมวิชาการทำใหผ้ จู้ ัดการเรยี นรู้ทราบว่าจะจัดการเรยี นรู้เน้ือหาใด เพ่อื จุดประสงค์ใด จัดการเรียนรู้
อย่างไร ใชส้ ่ืออะไร และวัดผลประเมินผลโดยวิธีใด (วมิ ลรตั น์ สนุ ทรวโิ รจน์, 2553, หน้า 203-213)

แผนการสอนมีความหมายเช่นเดียวกันกับแผนการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ เป็นแผนการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้และ
จุดประสงค์การเรยี นรู้ท่ีกำหนด (อาภรณ์ ใจเทยี่ ง, 2553, หน้า 20)

ความสำคัญของแผนการจดั การเรียนรู้

การวางแผนการจัดการเรยี นร้มู ีสว่ นสำคญั ท่ที ำให้การจดั การเรยี นรู้ประสบความสำเร็จหรือ
ล้มเหลวนั้นจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์และออกแบบหลายประการ จากการศึกษารวบรวมข้อมูล
ทศั นะของนักวชิ าการได้อธบิ ายความสำคญั ของแผนการจดั การเรียนรไู้ ว้ดงั นี้

แผนการจัดการเรียนรู้มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรยี นรู้เปน็ หลักฐานที่แสดง
ถึงการเป็นครูมืออาชีพ มีการเตรียมล่วงหน้า แผนการจัดการเรียนรู้จะสะท้อนให้เห็นถึงการใช้เทคนิค
การสอน สื่อนวัตกรรมและจิตวิทยาการเรยี นรู้มาผสมผสานกันหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพ
ของนักเรียนที่ตนเองสอนอยู่ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมให้ผู้สอนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้
เก่ียวกับหลกั สูตร เทคนคิ การสอน ส่อื นวตั กรรม และวธิ กี ารวัดและประเมนิ ผล 3) แผนการจัดการเรียนรู้
ทำให้ครผู ูส้ อนและครูทจ่ี ะปฏิบัติการสอนแทนสามารถปฏิบัตกิ ารสอนแทนได้อยา่ งม่นั ใจและมีประสิทธิภาพ

58

4) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นหลักฐานที่แสดงข้อมูลด้านการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลที่จะ
นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป 5) แผนการจัดการเรียนรู้เป็นหลักฐานที่แสดงถึง
ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพครูซ่ึงสามารถนำไปเสนอเป็นผลงานทางวิชาการเพ่ือขอเลื่อนวทิ ยฐานะหรอื
ตำแหน่งได้ (ศริ ิวรรณ วณชิ วฒั นวรชยั , 2558 หน้า 347-348)

แผนการจัดการเรียนรู้มีความสำคัญหลายประการดังนี้ 1) ทำให้ผู้สอนสอนด้วยความมั่นใจ
เมื่อเกิดความมั่นใจในการสอนย่อมจะสอนด้วยความคล่องแคล่ว เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่าง
ราบรื่น ไม่ติดขัด การสอนจะดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างสมบูรณ์ 2) ทำให้เป็นการสอนที่มี
คุณค่าคุ้มกับเวลาที่ผ่านไปเพราะผู้สอนอย่างมีแผนมีเป้าหมายและมีทิศทางในการสอนมิใช่สอนอย่าง
เลื่อนลอย ผู้เรียนจะได้รับความรู้ ความคิด เกิดเจตคติ เกิดทักษะ เกิดประสบการณ์ใหม่ตามที่ผู้สอน
วางแผนไว้ ทำให้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณค่า 3) ทำให้เป็นการสอนที่ตรงตามหลักสูตร
ทงั้ นี้เพราะในการวางแผนการจดั การเรียนรู้ ผ้สู อนตอ้ งศึกษาหลักสูตรทง้ั ด้านจุดประสงค์ เน้ือหาสารที่
จะสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอนและการวัดผลและประเมินผลแล้วจัดทำ
ออกมาเป็นแผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตร 4) ทำให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสทิ ธิภาพ เนื่องจาก
ผู้สอนต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างรอบคอบในทุกองค์ประกอบรวมทั้งการจัดเวลา สถานท่ี
และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่รอบคอบและปฏิบัติ
ตามแผนการจัดการเรียนรู้ท่วี างไว้ ผลของการสอนย่อมสำเร็จได้ดีกว่าการไม่ได้วางแผนการจัดการเรียนรู้
5) ทำให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสอนต่อไป ทำให้ไม่เกิด
ความซ้ำซ้อนและเป็นแนวทางในการทบทวนหรือการออกข้อสอบเพือ่ วัดผลและประเมินผลผู้เรียนได้
นอกจากนี้ทำให้ผูส้ อนมีเอกสารไว้เปน็ แนวทางแก่ผู้ที่เข้าสอนในกรณีจำเป็น เมื่อผู้สอนไมส่ ามารถเขา้
สอนเองได้ผู้เรียนจะได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ต่อเนื่องกัน 6) ทำให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อ
ผ้สู อนและต่อวชิ าทเี่ รยี น ทัง้ น้เี พราะผู้สอนสอนด้วย ความพรอ้ มเปน็ ความพร้อมทั้งทางด้านจิตใจ คือ
ความม่นั ใจในการสอน และความพร้อมทางด้านวัตถุ คือ การท่ีผู้สอนได้เตรียมเอกสารหรือส่ิงการสอน
ไวอ้ ยา่ งพร้อมเพรียง เมื่อผสู้ อนมีความพร้อมใน การสอนย่อมสอนด้วยความกระจ่างแจ้ง ทำให้ผู้เรียน
เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนในบทเรียน อันจะส่งให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและต่อวิชาที่เรียน
(อาภรณ์ ใจเท่ยี ง, 2553 หนา้ 20)

ผลดีของการจัดทำแผนการจัดการเรยี นรู้ มีดงั นี้ 1) ทำใหเ้ กดิ การวางแผนวิธกี ารจัดการเรียนรู้
วิธีเรียนที่มีความหมายมากขึ้นเพราะเป็นการจัดทำอย่างมหี ลักการทีถ่ ูกต้อง 2) ช่วยให้ครูมีสื่อการจัด
การเรียนรู้ท่ที ำด้วยตนเองทำให้เกิดความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ ทำให้การจดั การเรียนรู้ครบถ้วน
ตรงตามหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ได้ทันเวลา 3) เป็นผลงานทางวิชาการที่สามารถเผยแพร่เป็น
ตัวอย่างได้ 4) ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ครูผู้จัดการเรียนรู้แทนในกรณีที่ผู้จัดการเรียนรู้ไม่สามารถ
จัดการเรยี นรไู้ ด้เอง (สงบ ลักษณะ, 2533 ; อ้างองิ จากศศธิ ร เวียงวะลัย. 2556 หนา้ 51)

59

การวางแผนการจัดการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
ทำให้ผู้สอนสอนด้วยความมั่นใจและเป็นการสอนที่มีคุณค่าคุ้มกับเวลาที่ผ่านไป การสอนตรงตาม
หลักสูตรซึ่งส่งผลให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งทำให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำ
และทำใหผ้ ู้เรยี นเกดิ เจตคตทิ ด่ี ีต่อผสู้ อนและตอ่ วิชาท่ีเรยี น

ประเภทของแผนการจดั การเรยี นรู้

ประเภทของแผนการจดั การเรยี นรู้ แผนการจดั การเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาขน้ั พื้นฐาน
ตามหลักสูตรอิงมาตรฐาน สามารถสรุปได้เป็น 2 ประเภท (ชนาธิป พรกุล. 2552 หน้า 85-86 ;
นาตยา ปลิ ันธนานนท.์ 2545 หนา้ 168) มี รายละเอียดดงั นี้

1) แผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้ เป็นแผนที่ระบุเป้าหมายหลักและระบุ
เฉพาะกจิ กรรมหลกั ๆ

2) แผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนหรือแผนรายชั่วโมง เป็นแผนที่ระบุกิจกรรมหลักและ
กจิ กรรมย่อยอยา่ งละเอยี ดชัดเจนเป็นรายช่ัวโมงหรอื รายครงั้

แผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนมี
ลักษณะที่คล้ายคลึงกันและจะสอดคล้องสัมพันธ์กันด้วย เพราะแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียน
จะให้รายละเอียดของเป้าหมายการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหา สาระ สื่อการเรียน
การสอน การวัดประเมินผลในบทเรียนยอ่ ย ๆ ทปี่ ระกอบกันเป็นหน่วยการเรียนรู้

ลกั ษณะของแผนการจดั การเรียนรู้ทด่ี ี

แผนการจดั การเรยี นรถู้ อื เปน็ เครื่องมอื สำคญั ของผู้สอนทจี่ ะช่วยสง่ เสรมิ ใหผ้ ู้เรยี นเกดิ การเรียนรู้
ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งสามารถสรุปลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีได้ จากการศึกษา
นักวิชาการได้อธิบายลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี (นาตยา ปิลันธนานนท์, 2545 หน้า 172-
173) ดังนี้

ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องประกอบไปด้วย 1) เจตคติที่ดี ผู้สอนควรมี
ความรู้สึกที่ดีต่อการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ไม่ควรมองว่างานเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการสร้าง
ภาระความยุ่งยากเพราะแผนการจัดการเรียนรู้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้สอน ผู้เรียน ผู้บริหาร
สถานศกึ ษาและตอ่ สงั คมท่ีจะจดั การศึกษาให้มีคุณภาพ หากผู้สอนมีความรูส้ ึกและมีเจตคติท่ดี ีต่อการเขียน
แผนการจัดการเรียนรู้ก็จะทำให้แผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพและนำไปใช้ได้จริง 2) นักวางแผน นักคิด
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ก็เช่นเดียวกับประมวลการสอนหรือแนวการสอนหรือกำหนดการสอน
คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สามารถสะท้อนความเป็นนักวางแผน นักคิดสร้างสรรค์ของผู้สอนได้
3) เครื่องมือสื่อสาร แผนการจดั การเรียนรู้เช่นเดยี วกบั ประมวลการสอนท่ีใช้เป็นเคร่ืองมือสือ่ สารความเขา้ ใจ
สำหรับตัวผู้สอน ผู้บริหาร พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบว่าโรงเรียนจัดการศึกษาอย่างไร
ผเู้ รียนได้รับการศกึ ษาทม่ี ีคณุ ภาพอย่างไร 4) เฉพาะเจาะจง ครอบคลมุ พอเพยี ง การเขยี นแผนการจัด

60

การเรียนรู้ควรต้องระบุสิ่งที่จะเรียนจะสอนให้ชัดเจน ครอบคลุมและพอเพียงที่จะทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ
ความรู้ความสามารถตาม มาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ไม่ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ด้วย
การกำหนดจุดประสงค์ท่ีกว้างมากเกินไปหรือน้อยเกินไปและต้องเป็นประโยชน์กับผู้เรยี น 5) ยืดหยุ่น
ปรับเปลี่ยนได้ แผนการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ได้เตรียมการล่วงหน้าก่อนจะมีการเรียนการสอนจริงๆ
การกำหนดข้อมูลใดๆ ไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ควรมีความยืดหยุ่นที่จะสามารถปรับเปลี่ยน
แกป้ ญั หาไดใ้ นกรณีที่มปี ัญหาเมอื่ มีการนำไปใช้หรือไม่สามารถดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้นั้น
สามารถปรับเปล่ียนเป็นอยา่ งอ่นื ได้ โดยไม่กระทบกระเทือนตอ่ การเรยี นการสอนและผลการเรยี นรู้

แผนการจัดการเรียนร้ทู ด่ี ี ควรมลี ักษณะทช่ี ่วยสง่ เสรมิ เจตคตทิ ด่ี ี ชว่ ยสะทอ้ นใหผ้ ้สู อนเป็น
นักคิด นักวางแผน เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดี มีความเฉพาะเจาะจง ครอบคลุมและ มีความยืดหยุ่น
สามารถปรบั เปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมตลอดจนมีความชดั เจน ทุกคนสามารถแปลความได้ตรงกัน
และมกี ารนำไปใชแ้ ละพฒั นาอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบของแผนการจัดการเรยี นรู้

องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรตระหนักถึงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการเขียน
แผนการจัดการเรียนร้จู ำเปน็ ต้องเขียนตามลำดบั องค์ประกอบและหากขาดองค์ประกอบใดก็มิอาจทำ
ใหแ้ ผนการจดั การเรยี นรู้นั้นสมบูรณ์

แผนการเรียนรู้ (Lesson Plan) ประกอบด้วย 9 หัวข้อ โดยการบูรณาการของหน่วย
ศึกษานิเทศก์ (สำลี รักสุทธี และคณะ, 2541 หนา้ 136–137)

1. สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่ต้องการให้
เกดิ กบั นักเรียน เม่ือเรียนตามแผนกาสอนแล้ว

2. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives) เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่ต้องการให้เกิด
กับผู้เรียนเมื่อเรียนจบตามแผนการจัดการเรียนรู้แล้วเขียนในลักษณะจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ซึ่งเม่ือ
ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติทุกพฤติกรรมในแต่ละแผนการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้แล้วบรรลุผลตาม
วัตถุประสงค์ ตัวช้วี ัด และมาตรฐานผลการเรยี นรทู้ กี่ ำหนดไวใ้ นแต่ละหนว่ ย

3. สาระการเรยี นรู้ (Content) เปน็ เนอ้ื หาท่ีจัดกิจกรรมและต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
เป็นการเขียนเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นประเด็นสำคัญสั้นๆ สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ใน
แผนการจดั การเรียนรู้

4. กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities) ขั้นตอนหรือกระบวนการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด เมื่อจบบทเรียนผู้เรียนจะได้รับความรู้ ทักษะ
กระบวนการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ครบถ้วนตามเป้าหมายการเรียนรู้ของตัวชี้วัดและมาตรฐาน
การเรยี นรทู้ ี่กำหนดไว้ โดยออกแบบการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ทผ่ี ้เู รียนต้องปฏบิ ตั ิในแต่ละรายชว่ั โมงอย่าง
ชัดเจน

5. สื่อและอุปกรณ์ (Instructional Media) เป็นสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
ทก่ี ำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรรู้ วมถึงแหล่งการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้จะกำหนดส่ือการเรียนรู้ท่ี
ใช้ประกอบการเรียนการสอนไว้อย่างชัดเจน มีใบความรู้ ใบงาน แบบฝึกทักษะการเรียนรู้เอกสาร

61

เพิ่มเติมสำหรับผู้สอนตามความเหมาะสมและบอกแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่จะช่วยให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เป็นไปตามเป้าหมายท่กี ำหนด

6. การวัดผลและประเมินผล (Measurement and Evaluation) เป็นการกำหนดขั้นตอน
หรือวิธีการวัดและประเมินผลว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
แยกเป็นก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน ทุกแผนการจัดการเรียนรู้จะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ
เรื่องการวัดและประเมินผล ได้แก่ หลักฐานการเรียนรู้ ร่องรอยการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผล
เครือ่ งมือในการวดั และประเมินผล

7. กจิ กรรมเสนอแนะ (Suggestion Activity) เป็นกิจกรรมทบ่ี ันทึกการตรวจแผนการจดั การเรยี นรู้
8. ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา (Comment) เป็นการบันทึกตรวจแผนการจัดการเรียนรู้เพ่ือ
เสนอแนะหลังจากได้ตรวจสอบความถูกต้อง การกำหนดรายละเอียดในหัวข้อต่าง ๆ ในแผนการจัด
การเรียนรู้
9. บันทึกการสอน (Post Teaching Record) เป็นการบันทึกของผู้สอนหลังจากนำ
แผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้แล้วเพื่อเป็นการปรับปรุงและใช้ในคราวต่อไป เป็นการบันทึกผลการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ให้
บรรลุเป้าหมาย มี 3 หัวข้อ คอื

9.1 ผลการเรยี น เป็นการบันทึกผลการเรียนด้านสขุ ภาพและปริมาณทง้ั 3 ดา้ น คือ ดา้ น
พทุ ธพิ สิ ยั จิตพสิ ยั และทักษะพิสยั ซึง่ กำหนดในขั้นกจิ กรรมการเรยี นการสอนและการประเมิน

9.2 ปัญหาและอุปสรรค เปน็ การบนั ทึกปัญหาและอุปสรรคท่ีเกดิ ขึ้นในขณะสอน ก่อนสอน
และหลังทำการสอน

9.3 ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข เปน็ การบันทึกข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรบั ปรุงการเรียน
การสอน ใหเ้ กดิ การเรียนรู้บรรลุจดุ ประสงค์ของบทเรียนทห่ี ลักสตู รกำหนดรูปแบบของแผนการเรียนรู้

องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยสาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและอุปกรณ์ การวัดผลและประเมินผล กิจกรรม
เสนอแนะ ข้อเสนอแนะของผู้บงั คับบญั ชา และบันทึกการสอน

หลกั ในการเขยี นแผนการจดั การเรียนรู้

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ควรคำนึงถึงหลักในการเขียนว่าจะต้องมีเนื้อหาและ
กระบวนการในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร โดยเรียบเรียงเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อ
การนำไปใช้ศึกษาหรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางในการสอนผู้เรียน โดยหลักในการเขียน
แผนการจดั การเรียนรูค้ วรคำนงึ ถึงรายละเอยี ดดังน้ี

1. ควรเขียนให้ชัดเจนแจ่มแจ้งในทุกหัวข้อเพื่อให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่าน มีรายละเอียด
พอสมควร ไม่ย่นย่อและไม่ละเอยี ดเกินไป

2. ใช้ภาษาเขยี นทส่ี ื่อความหมายให้เขา้ ใจได้ตรงกัน เปน็ ประโยคทีไ่ ด้ใจความ ไมใ่ ช่ความค้าง
ไมย่ ดื ยาว เย่ินเย้อ

62

3. เขียนทุกหวั ข้อเรื่องใหส้ อดคล้องกัน
4. สาระสำคัญตอ้ งสอดคลอ้ งกับเนอ้ื หา
5. จุดประสงคต์ ้องสอดคล้องกับเนือ้ หา กิจกรรมและการวดั ผล
6. สื่อการสอนต้องสอดคล้องกบั กิจกรรมและการวดั ผล
7. เขยี นให้เป็นลำดบั ขัน้ ตอนก่อนหลงั ในทกุ หัวขอ้
8. เขียนหวั ข้อให้ถูกต้องชดั เจน เช่น จุดประสงค์ตอ้ งเขยี นให้เป็นจุดประสงคเ์ ชิงพฤติกรรม
9. จดั เนอ้ื หากจิ กรรมให้เหมาะสมกับเวลาทกี่ ำหนด
10. คดิ กจิ กรรมท่นี ่าสนใจอยเู่ สมอ
11. เขียนใหเ้ ป็นระเบยี บ ง่ายแก่การอา่ น และสะอาดชวนอา่ น
12. เขยี นในสงิ่ ทีส่ ามารถปฏิบัติไดจ้ รงิ และสอนตามแผนทวี่ างไว้
หลักในการเขยี นแผนการจัดการเรยี นรู้ ผเู้ ขียนจะต้องวางแผนล่วงหน้าก่อนการเรียนการสอน
โดยศกึ ษาเนื้อหาท่ีจะเขยี นให้ละเอียดและตามลำดับขั้นตอน แบง่ หน่วยเนื้อหาย่อย แบง่ เวลาที่ใช้การสอน
ทุกหัวข้อมีความสอดคล้องกัน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย รวมทั้งต้องมีการหาประสิทธิภาพของแผนการจัด
การเรียนรู้

รปู แบบของแผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจดั การเรยี นร้ไู ม่มรี ปู แบบท่ีตายตัวแต่แผนจะมีลักษณะท่ีคลา้ ยคลึงกนั นักวชิ าการท่ี
ได้ศึกษาวเิ คราะห์ไวว้ ่าลักษณะของแผนน้นั สถานศึกษาให้อสิ ระในการออกแบบแผนการจดั การเรียนรู้
ซง่ึ มหี ลายรปู แบบ รายละเอียดมดี งั นี้

1. แผนการจัดการเรยี นรู้แบบบรรยายหรือแบบความเรียง เป็นการเขียนองค์ประกอบตา่ ง ๆ
ของแผนการจัดการเรียนรู้โดยเขียนร้อยเรียงกันเป็นความเรียงตามลำดับซึ่งจะมีวิธีการเขียนโดยใช้
ประเดน็ ท่ีสำคัญมากำกับแต่การลำดบั กจิ กรรมการเรยี นการสอนจะเขยี นเป็นเชิงบรรยายกจิ กรรมท่ีครู
จัดเตรียมไว้โดยไม่ระบชุ ัดเจนวา่ นักเรียนทำอะไร

2. แผนการจัดการเรียนรู้แบบตาราง เป็นการเขียนองค์ประกอบในรูปแบบตารางซึ่งจะทำ
ให้มองเห็นภาพรวมขององค์ประกอบต่าง ๆ ได้เข้าใจง่าย แผนการจัดการเรียนรู้แบบนี้เขียนโดยใช้
คำสำคัญมากำกับและบรรจลุ งในตารางเกอื บทง้ั หมด

3. แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นการเขียนองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัด
การเรียนรูท้ ีผ่ สมผสานทงั้ 2 แบบ คอื แบบความเรยี งและแบบตาราง

รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอน หรือ
สถานศึกษาจะเลอื กใชใ้ หเ้ หมาะสมและสะดวกต่อการนำไปใชอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ

63

ขัน้ ตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรเขียนเป็นขั้นตอนโดยนำมาตรฐานหลักสูตร
การศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐานมาจัดการเรยี นรู้ (วิมลรัตน์ สุนทรวิโรจน์, 2553, หน้า 203-213) ดงั นี้

1. ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระการเรียนรู้ท่ี
จัดทำหลกั สตู รเพ่อื ใหเ้ ขา้ ใจเป้าหมายและทศิ ทางของการจัดการเรยี นรู้

2. วเิ คราะหม์ าตรฐานการเรียนรู้ชว่ งช้ัน เพื่อกำหนดสาระการเรยี นรู้ชว่ งชั้นและกำหนดผล
การเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี รายภาค (เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกำหนดสาระการเรียนรู้เป็น
รายภาคเรียน) สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นการกำหนดเนื้อหาที่จะต้องเรียนโดยคำนึงถึงจุดเน้นของ
หลักสูตร ความต้องการของผู้เรียน ความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน จำนวนเวลาที่จัดการเรียนรู้
ในแต่ละสัปดาห์ วัยและระดับชั้น ส่วนการกำหนดผลการเรยี นรู้ทีค่ าดหวังรายปี รายภาคเรียนน้ัน เปน็
การระบุถงึ ความรทู้ กั ษะและคุณลักษณะของผู้เรียนซึง่ จะเกดิ ขึ้นหลงั จากการเรียนรใู้ นแตล่ ะปี/ภาค

3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาคเรียน เพื่อ
กำหนดเป็นสาระการเรียนรู้รายปี รายภาค กล่าวคือเป็นเนื้อหาที่จะต้องเรียนให้สอดคล้องกับสภาพ
และความต้องการของท้องถิน่ และชุมชน

4. นำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี รายภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/รายภาคมา
พิจารณาเพ่อื จัดทำคำอธิบายรายวชิ า

5. นำคำอธิบายรายวชิ ามากำหนดเป็นหนว่ ยการเรยี นรู้ ซ่งึ อาจอธิบายได้วา่ เป็นหนว่ ยการเรียนรู้
เปรยี บเสมือนบทเรียนหน่ึง ๆ ซ่งึ ประกอบด้วยเนื้อหาหลายเรื่องที่มีความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้การจัดทำ
หนว่ ยการเรยี นรู้อาจใช้หลักการบูรณาการหลายกลมุ่ สาระการเรียนรู้เข้าดว้ ยกันโดยใชว้ ิชาใดวิชาหน่ึง
เช่น สังคมศกึ ษา แลว้ นำลกั ษณะเน้ือหาของกลุ่มสาระการเรียนรูอ้ ื่นที่มีความสัมพันธ์เชือ่ มโยงเขา้ ดว้ ยกัน

6. นำหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยมาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เปน็ รายหนว่ ย
7. นำแผนการจัดการเรยี นร้รู ายหนว่ ยมาจัดทำแผนการเรยี นรรู้ ายช่วั โมง
ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถจัดทำได้
ตามขั้นตอน (อาภรณ์ ใจเท่ียง, 2553 หนา้ 230-231) ดงั นี้
1. วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำโครงสร้างรายวิชาที่ประกอบด้วย
หน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลาเรียน และน้ำหนัก
คะแนนในแต่ละหน่วย ซึ่งจะเห็นในภาพรวมในระดับรายวิชาว่าผู้สอนจะต้องจัดการเรียนรู้ในแต่ละปี
การศกึ ษาหรอื ภาคการศึกษาท้ังหมดก่หี น่วยการเรียนรูใ้ ช้เวลาเรียนเท่าใด
2. วิเคราะห์จุดประสงค์รายวิชาและมาตรฐานรายวิชา โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ เพื่อนำมาเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยให้ครอบคลุมพฤติกรรมท้ัง
ดา้ นความรู้ ทักษะ กระบวนการ เจตคตแิ ละคา่ นิยม

64

3. วิเคราะห์สาระการเรยี นรโู้ ดยวเิ คราะหจ์ ากตัวชีว้ ดั หรอื ผลการเรียนรูท้ ่ีกำหนดไว้ในแต่ละ
รายวิชา เพื่อนำมาใช้ในการเลือกและขยายสาระที่เรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน ชุมชน และท้องถ่ิน
รวมทั้งวิทยาการและเทคโนโลยใี หม่ ๆ ท่เี ป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน

4. วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้และ
ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตลอดจนสาระการเรียนรู้ โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติจริง มีความน่าสนใจ สอดคล้องกับวัยและธรรมชาติของ
ผู้เรยี น สามารถนำความรู้ไปใช้ในชวี ิตประจำวันและชีวิตจริงได้

5. วิเคราะหก์ ระบวนการประเมนิ ผล โดยเลอื กใชว้ ธิ ีการวดั และประเมนิ ผลทีห่ ลากหลาย ใช้
เครือ่ งมือวัดทีม่ ีความนา่ เชื่อถือและเกณฑก์ ารประเมินทสี่ อดคล้องกับจดุ ประสงค์การเรียนรู้

6. วิเคราะห์แหล่งการเรยี นรู้ โดยคัดเลอื กสอ่ื การเรียนรู้และแหลง่ การเรียนรู้ทั้งในและนอก
ห้องเรยี นให้เหมาะสมสอดคลอ้ งกบั กระบวนการเรียนรู้

ขน้ั ตอนการจดั ทำแผนการจัดการเรยี นรู้ ตอ้ งเริ่มจากการศึกษาหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
โดยศึกษามาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สาระการเรียนรู้
ตัวชีว้ ัดรายป/ี รายภาค แลว้ กำหนดเปน็ สาระการเรียนรูใ้ ห้สอดคล้องกับสภาพบริบทและความตอ้ งการ
ของท้องถิ่นและชุมชน หลังจากนั้นจึงนำตัวชี้วัดชั้นปีและสาระการเรียนรู้รายปีมาพิจารณาจัดทำ
คำอธิบายรายวิชา แล้วจึงกำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้
การจัดการเรียนรู้ต่อไป การวางแผนการจัดการเรียนรู้ควรเป็นสิ่งที่ครูสร้างขึ้นด้วยความรู้สึกที่ดีท่ี
สะท้อนการเป็นนักคิด นักวางแผน เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร มีความยืดหยุ่น ทุกคนแปลความได้
ตรงกันและมีการนำไปใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระบวนการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง
ซึ่งมีองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้และการเขียนองค์ประกอบต่าง ๆ ควรเขียนให้มีความ
สอดคล้องสัมพันธ์กันและผสู้ อนสามารถนำไปสอนได้จริงเพ่ือให้เกิดประโยชนส์ งู สดุ กับผูเ้ รียนตอ่ ไป

65

ภาพที่ 3.1 ลำดบั การจดั ทำแผนการจดั การเรียนรู้

วเิ คราะหค์ ำอธิบายรายวิชา เพอ่ื กำหนดหน่วยการเรยี นรู้ หัวขอ้ การเรยี นรู้ และเวลาทจ่ี ะใช้

วเิ คราะห์จุดประสงค์รายวิชา เพื่อกำหนดผลการเรียนรู้ท่ีคาดหวงั ใหเ้ กิดข้นึ กบั ผู้เรยี น ทงั้ ดา้ น
และมาตรฐานรายวชิ า ความรูท้ ักษะกระบวนการ เจตคตแิ ละพฤตกิ รรมลกั ษณะนิสยั ท่ี
พึงประสงค์ โดยการเขยี นในรูปจดุ ประสงค์ทวั่ ไปและเชงิ พฤติกรรม
วเิ คราะหส์ าระการเรยี นรู้
จากผลการเรยี นรู้ - เลอื กและขยายสาระการเรยี นรูใ้ หส้ อดคลอ้ งกบั ผเู้ รียน ชุมชน ท้องถิ่น
- สาระการเรยี นรตู้ อ้ งมีความเท่ียงตรง ปฏบิ ตั ไิ ดจ้ รงิ ทันสมยั และ
เป็นตัวแทนของความรู้
- มีความสำคญั ท้ังในแนวกว้างและแนวลกึ
- จัดสาระการเรยี นรูใ้ หเ้ รยี งลำดบั จากง่ายไปหายากและต่อเนือ่ ง
- จัดสาระทเี่ รยี นรู้ให้สมั พันธ์กับรายวชิ า / กลุ่มวิชาอ่นื ๆ

วิเคราะห์ - เลือกรูปแบบการจดั การเรยี นร้ใู หส้ อดคล้องกบั จดุ ประสงค์การเรียนรู้ว่า
กระบวนการจดั การเรยี นรู้ มุ่งไปในทิศทางใด
- มีความสนใจสำหรบั ผ้เู รยี น
- สามารถเรยี นรไู้ ดง้ า่ ย เหมาะสมกบั วยั ธรรมชาตขิ องผเู้ รยี นและสถานท่ี
- เลือกวธิ ีการนำเขา้ สูก่ ารเรียน
- ให้ผู้เรียนทำกจิ กรรมตามขน้ั ตอนของรปู แบบการเรยี นรู้ ผเู้ รียน
ทีม่ คี วามสามารถแตกตา่ งกนั ไม่จำเปน็ ตอ้ งทำกิจกรรมเหมือนกนั
- ควรเน้นกจิ กรรมทีท่ ำงานเปน็ ทีมมากว่ารายบุคคล
- กจิ กรรมทใี่ ห้ผู้เรียนปฏบิ ัติต้องนำเทคนิคและวธิ กี ารตา่ ง ๆ มา
เปน็ เคร่ืองมอื ใหผ้ เู้ รียนบรรลุตามจดุ ประสงค์การเรียนรู้
- กิจกรรมที่ปฏบิ ัตคิ วรสอดคลอ้ งกบั ชวี ติ ประจำวันและชีวติ จริง
- กิจกรรมท่ีปฏิบตั มิ ีทงั้ ในห้องเรยี นและนอกหอ้ งเรียน
- เปดิ โอกาสใหผ้ ู้เรียนฝึกฝนและถ่ายทอดการเรยี นร้ไู ปสู่สถานการณ์
- ใหม่ ๆ พรอ้ มทงั้ ทำใหเ้ กดิ ความจำระยะยาว
- ตรวจสอบความเขา้ ใจโดยใหผ้ ้เู รยี นสรปุ รวมทง้ั ส่งเสรมิ ให้
เชื่อมโยงสิ่งทเี่ รยี นรู้และท่จี ะเรียนตอ่ ไป

วิเคราะห์ - วิธกี ารวัดและประเมนิ ผลต้องสอดคลอ้ งกบั จดุ ประสงค์การเรยี นรู้
กระบวนการประเมินผล - ใชว้ ิธกี ารวดั ทหี่ ลากหลาย
- เลอื กใชเ้ ครอ่ื งมือวดั ทม่ี คี วามเชอื่ มน่ั
วิเคราะหแ์ หล่งการเรยี นรู้ - แปลผลการวัดและการประเมินเพ่อื นำไปสกู่ ารพฒั นาและปรบั ปรงุ

ให้เรียนรจู้ ากแหล่งความรู้หลากหลาย ทงั้ ในและนอกห้องเรียน

ทมี่ า : อาภรณ์ ใจเท่ยี ง. (2553). หลักการสอน. พมิ พ์ครง้ั ท่ี 5 กรงุ เทพฯ : โอเดยี นสโตร.์

66

ตารางที่ 3.1 ข้อแนะนำการเขียนแผนการจัดการเรยี นรู้

องค์ประกอบ ข้อแนะนำการเขียนการเขียนแผนการจดั การเรยี นรู้

1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้/ เขียนใหช้ ัดเจน กะทดั รดั เหมาะสมครอบคลุมเน้ือหาสาระการเรียนรู้และ

หัวข้อเรอื่ ง เวลาทีก่ ำหนด

2. สาระสำคัญ เขียนให้กะทัดรัด เป็นหัวข้อย่อยหรือความเรียงก็ได้ แต่ต้องสอดคล้องกบั

ชื่อหน่วย/หัวข้อเรื่อง เน้นให้รู้ว่าจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรและเรื่องน้ัน

สำคัญอยา่ งไร

3. จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้ กำหนดสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยให้ครอบคลุมหัวข้อเรื่อง เน้น

พฤตกิ รรมและจติ พสิ ัย โดยเขยี นเปน็ ขอ้ ๆ เรยี งตามลำดบั แบ่งเป็นจดุ สงค์

ทั่วไปและจดุ ประสงคเ์ ชิงพฤตกิ รรม

4. สาระการเรียนรู้ กำหนดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เวลา ระดับความรู้ของผู้เรียน จึง

เรยี งลำดบั อยา่ งเหมาะสมจากง่ายไปหายาก โดยเขยี นเนน้ เฉพาะประเดน็ ที่

สำคัญ (รายละเอียดอยู่ในใบความรู้)

5. กจิ กรรมการเรียนรู้ ระบุกิจกรรมที่เลือกตามบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน โดยเขียนให้ชัดเจน

ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้และเหมาะสมกับเวลา หากมี

หลายกิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมต่อเนื่องตามลำดับที่ต้องการให้เกิดการ

เรยี นรูต้ ามจดุ ประสงค์การเรยี นรูท้ ่ีกำหนดไว้

6. ส่อื การเรยี นรู้ กำหนดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้

และเวลา โดยทัว่ ไปจะแบง่ เปน็ สื่อส่งิ พมิ พ์ (เอกสารตำรา

ใบช่วยสอน) และส่ือโสตทัศน์

7. การวัดประเมนิ ผล ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเวลา โดยกำหนดจำนวนครั้ง วิธีวัดและวิธี

ประเมนิ ผลให้ชัดเจน โดยทว่ั ไปแบ่งเปน็ การประเมนิ ภาคทฤษฎี (ประเมินด้าน

พทุ ธพิสยั และจิตพิสัย) และการประเมินภาคปฏิบัติ (ประเมินด้านทักษะพิสัย)

รวมท้ังตอ้ งกำหนดเคร่ืองมอื ท่ีใช้วัดและเกณฑ์การประเมินใหช้ ดั เจน

8. งานมอบหมาย/กจิ กรรม กำหนดให้สอดคล้องกับเน้ือหาและจุดประสงค์ โดยอาจเป็นงานท่ีทำนอกเวลา

เสนอแนะ เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจ ทักษะและประสบการณ์ หรือสิ่งที่ต้องเตรียม

ลว่ งหนา้ จึงต้องกำหนดเวลาสง่ งานและเกณฑก์ ารให้คะแนนด้วย
9. เอกสารอ้างอิงหรือ เขยี นตามแบบทนี่ ิยมรูปแบบใดรปู แบบหนง่ึ ทง้ั สื่อสงิ่ พมิ พแ์ ละสื่อโสตทศั น์
บรรณานกุ รม

10. บ ั น ท ึ ก ห ล ั ง ก า ร ระบุถงึ ข้อดี ข้อดอ้ ย ปญั หาอุปสรรคในการจัดการเรยี นรแู้ ละแนวทางแก้ไข

จัดการเรียนรู้

ทม่ี า: วัฒนาพร ระงับทกุ ข์. (2542). แผนการสอนท่ีเนน้ ผเู้ รียนเปน็ ศนู ย์กลาง. กรุงเทพฯ : แอล.ที.เพรส.

67

ตวั อยา่ งการจัดแผนการจดั การเรียนรู้

กล่มุ สาระการเรียนรูภ้ าษาต่างประเทศ วิชา ภาษาอังกฤษ 3 รหัสวิชา อ 32.........

ภาคเรยี นที่ 1 ชัน้ มธั ยมศกึ ษาปีที่ 2 เรือ่ ง My Perfect Weekend

จำนวน 1 ชั่วโมง ครผู ู้สอน……………………………………..

.....................................................................................................................................................................................

1.มาตรฐานการเรยี นรู้/

ต.1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคดิ รวบยอด และความคิดเห็นในเร่อื งต่างๆ โดยการพูด

และการเขยี น

2. ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้

ต 1.3 ม.2/1 พดู และเขยี นบรรยายเกี่ยวกบั ตนเอง กิจวตั รประจำวัน ประสบการณแ์ ละขา่ ว/

เหตกุ ารณ์ที่อยใู่ น ความสนใจของสงั คม

3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives)

1. ฟงั และบอกความหมายของคำศัพท์เกยี่ วกับกจิ วัตรประจำวันและกจิ กรรมในวันหยุดสดุ

สปั ดาห์ได้ถูกตอ้ ง

2. เข้าใจวธิ ีการใชค้ ำศัพท์ สำนวน โครงสรา้ งประโยคเก่ยี วกบั กิจวตั รประจำวันและกิจกรรม

ในวันหยุดสดุ สัปดาห์

3. สามารถอ่านออกเสยี งคำศัพท์ สำนวน ประโยค ถกู ต้องตามหลกั การอ่าน

4. มที ักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลีย่ นข้อมูลเกี่ยวกับกจิ วัตรประจำวันและ

กจิ กรรมในวันหยดุ สุดสปั ดาห์

5. สามารถเขียนบรรยายเกี่ยวกบั กจิ วตั รและกิจกรรมในวันหยุดสดุ สปั ดาห์

4. สาระสำคญั (Concepts)

การฟงั และบอกความหมายของคำศพั ท์ เขา้ ใจวิธกี ารใช้คำศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยค

เกย่ี วกับกิจวตั รประจำวันและกิจกรรมในวันหยุดสดุ สัปดาห์ สามารถอ่านข้อความ พดู โต้ตอบ เขียน

บรรยาย และนำเสนอเปน็ ภาษาอังกฤษ เก่ยี วกบั กิจวัตรประจำวนั และกจิ กรรมในวนั หยุดสุดสัปดาห์

โดยมวี นิ ัยในการเรยี น มุ่งม่นั ในการทำงาน มีความมั่นใจในการแสดงออก มเี จตคติทด่ี ตี ่อภาษาองั กฤษ

และใช้ภาษาองั กฤษเปน็ เครือ่ งมอื ในการเรยี นรู้

5.สาระการเรยี นรู้ (Contents)

5.1 ดา้ นความรู้ Knowledge (K)

1) ความหมายของคำศัพท์เกี่ยวกบั กิจวัตรประจำวนั และกิจกรรมในวันหยุดสุดสัปดาห์

2) การใชค้ ำศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคเกีย่ วกบั กจิ วตั รประจำวนั และกิจกรรมใน

วนั หยดุ สดุ สัปดาห์

68

4.2 ดา้ นทักษะ/กระบวนการ Skills /Process (P)
1) การอา่ นออกเสียงคำศัพท์ สำนวน ประโยค ถูกตอ้ งตามหลกั การอา่ น
2) ทักษะการส่อื สารทางภาษาในการแลกเปลีย่ นข้อมลู เกีย่ วกบั กิจวัตรประจำวนั และ

กิจกรรมในวันหยดุ สดุ สัปดาห์
3) การเขยี นบรรยายเก่ยี วกบั กจิ วัตรประจำวนั และกิจกรรมในวนั หยดุ สุดสปั ดาห์

4.3 ด้านคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ Attitudes and desirable characteristics) (A)
1) การพดู และเขียนเรอื่ งท่ีเก่ียวกับกจิ วตั รประจำวันและกิจกรรมในวนั หยุดสุดสปั ดาห์มี

ความสามารถในการส่ือสารอยา่ งมีประสิทธภิ าพและเหมาะสม
2) การมองเห็นความสำคญั ของการมมี ารยาททีด่ ที ี่ในการสื่อสารกบั บุคคลอ่ืน

6. กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities)
ขนั้ ที่ 1 การนำเสนอ (Presentation)
1) ทบทวนคำถามที่ใช้ Present Simple and Present Continuous as future โดยการ

เขยี นตัวอยา่ งคำตอบบนกระดานและใก้นกั เรยี นถามคำถามของคำตอบนนั้ ๆ เชน่
How often do you watch movies? - Twice a week
Are you studying this evening? - Yes, I am. I’ve got a test tomorrow.
2) สมุ่ นักเรียน 2 -3 คน ให้มาเขียนคำตอบลงบนกระดานและใหน้ กั เรยี นในหอ้ งช่วยกันตง้ั

คำถามทส่ี มั พันธก์ บั คำตอบโดยใช้ Present Simple and Present Continuous
3) สรปุ ทบทวนโครงสร้าง present Simple พูดถงึ ส่งิ ท่ีกระทำเปน็ กิจวตั ร และ present

continuous as future เนน้ ยำ้ กริยา verb to be ใน present continuous แสดงการกระทำที่
กำลังดำเนนิ อยู่ในปัจจบุ นั สว่ น present continuous as future ใช้ แสดงการกระทำท่ีวางแผนว่า
จะทำในอนาคต

ขนั้ ท่ี 2 การฝกึ ปฏิบัติ (Practice)
4) นำเสนอบัตรภาพท่ีมคี ำศัพท์ประกอบเก่ียวกับกจิ วตั รและกจิ กรรมในวนั หยุดสุดสัปดาห์
(Handout: Find someone who…) ให้นกั เรียนฝกึ อ่านออกเสียง โดยครูอา่ นก่อนและใหน้ ักเรยี น
ออกเสียงตาม
5) แจกใบงานนักเรียน อธิบายว่านกั เรียนจะต้องเดนิ ไปถามเพื่อนในช้นั เรียนเพื่อเตมิ คำตอบ
ให้สมบูรณ์ทุกข้อ โดยยกตวั อยา่ งคำถามจากใบงาน 3 – 4 ขอ้ โดยให้ทั้งชั้นชว่ ยกนั ตัง้ คำถาม เช่น
How often do you travel by bus?
What do you usually have for breakfast?
โดยนกั เรียนอาจจะตอ้ งถามมากกวา่ 1 คำถามเพื่อใหไ้ ด้คำตอบ เชน่ หากต้องการจะหาเพอ่ื น
ท่เี ล่นบาสเกตบอลทกุ สัปดาห์อาจจะต้องถามวา่

69

Do you play basketball?
How often do you play?
6) นักเรยี นเดนิ ไปรอบช้ันเรยี นพร้อมกบั ใบงาน กำหนดเวลา 15 นาทเี พื่อท่จี ะหาชอ่ื เพ่ือน
เตมิ ลงในใบงาน เน้นย้ำวา่ พูดภาษาองั กฤษแบบเต็มประโยคเทา่ นน้ั และห้ามให้ใครเหน็ คำตอบ
7) เมื่อครบเวลาใหน้ ักเรียนน่ังประจำท่แี ละเปรียบเทยี บคำตอบกบั เพื่อนเป็นคู่
8) รว่ มกนั อภิปรายท้งั ชน้ั เรยี นวา่ คำตอบใดที่พบและไม่พบ คำถามใดท่หี าคำตอบยากทส่ี ุด
พรอ้ มทง้ั ถามเหตุผล
ข้นั ที่ 3 การนำไปใช้ (Production)

9) ให้นกั เรียนทำงานเปน็ กลุม่ 4-6 คน และเปรียบเทยี บกจิ วตั รประจำวันธรรมดาและกจิ วตั ร
ในวัดหยดุ สดุ สัปดาห์ (Weekday daily routines VS their routines at the weekend) จัดทำ
แบบสอบถาม (Survey) จำนวน 10 คำถามเกีย่ วกับกจิ วัตรประจำวนั ธรรมดาและกิจวตั รในวดั หยดุ
สดุ สัปดาห์ (Weekday daily routines VS their routines at the weekend) และให้สำรวจเพื่อน
กลมุ่ อ่นื เพอื่ เติมคำตอบลงในแบบสอบถามของกล่มุ ตนเอง

10) บอกนกั เรยี นให้จินตนาการวา่ สัปดาหห์ นา้ จะเป็นวันหยดุ ท่ีสมบรู ณแ์ บบ Perfect
Weekend ของนกั เรียนทุกคน ให้นักเรยี นเตรยี มโปสเตอร์ท่ีอธิบายแผนการของ My Perfect
Weekend โดยใช้ Present Continuous tense เชน่ On Saturday, I’m getting up at 10
o’clock. I’m having breakfast at fast food restaurant with my friend. จากน้ันใหน้ ักเรียน
นำเสนอโปสเตอร์ Perfect Weekend บนผนังรอบห้องเรยี นและให้เพือ่ นร่วมช้ันคนอ่ืนชมผลงาน

70

7. การวัดผลและประเมนิ ผล (Evaluation and Assessment)

ส่งิ ที่ต้องวดั วิธีวดั เครือ่ งมือวดั เกณฑก์ ารประเมนิ ผล
1. การบอกความหมายของคำศพั ท์ การประเมินการอา่ น แบบประเมินการอา่ น ผา่ นเกณฑ์ตง้ั แต่
เก่ยี วกบั กิจวัตรประจำวันและ ออกเสียงและ ออกเสียงและ รอ้ ยละ 60 คะแนน
กิจกรรมในวนั หยดุ สดุ สัปดาหไ์ ด้ ความหมาย ความหมาย ขึ้นไป
ถูกตอ้ ง
2. การอ่านออกเสียงคำศัพท์ ประเมินความสามารถ แบบประเมิน ผา่ นเกณฑ์ตง้ั แต่
สำนวน ประโยค ถูกต้องตาม ในการสนทนา ความสามารถในการ รอ้ ยละ 60 คะแนน
หลกั การอ่าน Handout: Find สนทนา ขึ้นไป
3. ความเข้าใจวธิ กี ารใช้คำศพั ท์ someone who…
สำนวน โครงสร้างประโยคเก่ียวกบั แบบประเมนิ งานเขยี น ผ่านเกณฑต์ ั้งแต่
กิจวตั รประจำวนั และกจิ กรรมใน การเขยี นโปสเตอร์
วนั หยุดสดุ สปั ดาห์ บรรยายเร่อื ง My My Perfect รอ้ ยละ 60 คะแนน
4. ทักษะการส่อื สารทางภาษาในการ Perfect Weekend
แลกเปลย่ี นข้อมลู เกยี่ วกับกจิ วตั ร Weekend ขึน้ ไป
ประจำวนั และกิจกรรมในวนั หยดุ สุด
สัปดาหไ์ ด้
5. การเขยี นบรรยายเกย่ี วกับกจิ วตั ร
และกิจกรรมในวันหยดุ สดุ สปั ดาห์
ของตนเองได้

71

7.1 แบบประเมินการอ่านออกเสยี งและความหมาย

ระดับคณุ ภาพ

ประเดน็ การประเมนิ ดี ปานกลาง พอใช้ ปรับปรงุ

( 5 คะแนน) ( 4 คะแนน) (3 คะแนน) (2 คะแนน)

ความเข้าใจ ตอบคำถามหลงั จาก ตอบคำถามหลงั จาก ตอบคำถามหลังจาก ตอบคำถามหลังจากที่
ทอ่ี ่านได้ร้อยละ 100 ทอ่ี า่ นได้รอ้ ยละ 80 ท่อี ่านได้ร้อยละ 60 อ่านไดต้ ่ำกว่ารอ้ ยละ 50

สามารถออกเสียง สามารถออกเสียง สามารถออกเสียง สามารถออกเสยี งคำศพั ท์

การอา่ นออกเสียง คำศัพท์และเน้นเสยี ง คำศัพทแ์ ละเน้นเสยี ง คำศัพท์และเนน้ เสียง และเน้นเสยี งสูงตำ่ ได้
สูงตำ่ ได้ถูกตอ้ งตาม สงู ต่ำได้ถกู ตอ้ งตาม สูงต่ำได้ถูกต้องตาม ถกู ตอ้ งตามหลกั การ ตำ่

หลกั การร้อยละ 100 หลักการร้อยละ 80 หลกั การรอ้ ยละ 60 กวา่ รอ้ ยละ 50

สามารถบอก สามารถบอก สามารถบอก สามารถบอก

การรู้ความหมาย ความหมายและ ความหมายและ ความหมายและ ความหมายและ
ของคำศพั ท์ อธิบายความหมาย อธบิ ายความหมาย อธบิ ายความหมาย อธิบายความหมายของ
ของคำศัพทไ์ ด้ ของคำศพั ทไ์ ด้ ของคำศัพทไ์ ด้ คำศัพทไ์ ด้

รอ้ ยละ 100 รอ้ ยละ 80 ร้อยละ 60 ต่ำกว่ารอ้ ยละ 50

คะแนนเต็ม 15 คะแนน

เกณฑก์ ารประเมนิ
15 - 13 คะแนน ดีมาก
12 - 10 คะแนน ดี
9 - 8 คะแนน พอใช้
นอ้ ยกว่า 7 คะแนน ควรปรับปรงุ

72

7.2 เกณฑก์ ารประเมนิ ความสามารถในการสนทนา

ระดบั คณุ ภาพ

ประเดน็ การประเมิน ดี ปานกลาง พอใช้ ปรับปรงุ

( 4 คะแนน) ( 3 คะแนน) (2 คะแนน) (1 คะแนน)

ออกเสยี งถกู ตอ้ งตาม ออกเสยี งถกู ต้อง ออกเสยี งถูกตอ้ ง ออกเสียงไม่ถกู ต้อง

การออกเสยี ง หลักการออกเสยี ง ตามหลักการ ออก เปน็ บางส่วน ทำให้ไม่เข้าใจ
มเี สียงเน้นหนกั ในคำ/ เสยี งเปน็ ส่วนใหญ่ แตพ่ อเขา้ ใจ

ประโยคอยา่ งสมบรู ณ์

ใช้คำศพั ท์ สำนวน ใช้คำศัพท์ สำนวน ใชค้ ำศพั ท์ สำนวน ใชค้ ำศพั ทส์ ำนวน

คำศัพทส์ ำนวนและ และโครงสร้างภาษา และโครงสร้าง และโครงสรา้ ง และโครงสร้าง
โครงสร้างภาษา ถกู ต้องและเหมาะสม ประโยคถูกตอ้ ง เป็น ประโยคแบบงา่ ย ๆ ประโยคแบบงา่ ย ๆ
สว่ นใหญ่ แตไ่ ม่ และมขี อ้ ผิดบ้าง และมขี ้อผิดมาก

หลากหลาย

เนือ้ หา เนือ้ หาถูกต้อง มี เน้ือหาถูกต้องเปน็ เนื้อหาถูกต้องเป็น เน้ือหาไม่ถูกตอ้ ง

รายละเอียด ส่วนใหญ่ บางส่วน หรือมีขอ้ ผดิ มาก

พดู ไดอ้ ยา่ งเปน็ พูดตดิ ขดั บางครง้ั พดู คลา้ ยแบบ พูดเปน็ แบบท่องจำ

ความคล่องแคลว่ ธรรมชาติ แตย่ งั สามารถ ท่องจำ พอสือ่ สาร ตะกกุ ตะกกั

คลอ่ งแคลว่ สื่อสาร สื่อสารไดช้ ัดเจน ได้บา้ ง สือ่ สารไดน้ อ้ ยมากหรอื

ไดช้ ดั เจน ไม่ไดเ้ ลย

แสดงทา่ ทางและพูด แสดงทา่ ทางและพูด พูดโดยไม่แสดง พดู โดยไมแ่ สดง

การแสดงท่าทาง ดว้ ยนำ้ เสียงที่ ด้วยน้ำเสียงท่หี มาะสม ท่าทางประกอบ ทา่ ทางประกอบ

น้ำเสยี งประกอบการพดู เหมาะสมกบั บทบาท กับบทบาทและ น้ำเสียงคล้ายการอ่าน น้ำเสยี งเปน็ การพดู

และสถานการณ์ดมี าก สถานการณ์ในระดบั ดี หรือการทอ่ งจำ แบบทอ่ งจำ

คะแนนเต็ม 20 คะแนน

เกณฑก์ ารประเมิน
18-20 คะแนน ดีมาก
17-15 คะแนน ดี
14-12 คะแนน พอใช้
นอ้ ยกว่า 11 คะแนน ควรปรบั ปรุง

73

7.3 เกณฑก์ ารประเมนิ งานเขียน My Perfect Weekend

ระดบั คุณภาพ

ประเดน็ การประเมนิ ดี ปานกลาง พอใช้ ปรบั ปรงุ

( 5 คะแนน) ( 4 คะแนน) (3 คะแนน) (2 คะแนน)

เขียนถกู ตอ้ ง เขยี นถูกตอ้ ง เขียนผิดบา้ งและไม่ เขียนผิดมากและให้

เน้อื หา ครอบคลมุ เน้ือหา ครอบคลมุ เน้อื หา ครอบคลมุ เนื้อหา ข้อมูลน้อย

อย่างสมบูรณ์ เป็นสว่ นใหญ่

ใช้คำศัพท์ สำนวน ใชค้ ำศพั ท์ สำนวน ใชค้ ำศัพท์ สำนวน ใชค้ ำศัพท์ สำนวน

คำศพั ท์ สำนวน และโครงสร้าง และโครงสร้าง และโครงสรา้ ง และโครงสร้าง
และโครงสร้างภาษา ภาษาถกู ต้อง ภาษาถูกต้อง ภาษาแบบงา่ ย ๆ ภาษาแบบงา่ ย ๆ
เหมาะสมและ เหมาะสม และมีข้อผิดบ้าง และมีข้อผิดมาก

หลากหลาย

องค์ประกอบของ องคป์ ระกอบของ องค์ประกอบของงาน องค์ประกอบของ

งานเขียนแสดงให้ งานเขียนมี เขยี นน่าสนใจแต่ขาด งานเขียนไม่

องคป์ ระกอบ เหน็ ความคดิ รเิ รมิ่ ความสัมพนั ธ์ ความสมั พันธต์ ่อเนอ่ื ง น่าสนใจ

ของงานเขยี น สรา้ งสรรคม์ ี ตอ่ เนอ่ื งนา่ สนใจ

ความสัมพันธ์

ตอ่ เน่ืองนา่ สนใจมาก

คะแนนเต็ม 15 คะแนน

เกณฑ์การประเมิน
15 - 13 คะแนน ดีมาก
12 - 10 คะแนน ดี
9 - 8 คะแนน พอใช้
น้อยกว่า 7 คะแนน ควรปรับปรุง

74

8.ชิน้ งานหรือภาระงาน (Assignments)
1. Handout: Find someone who….
2. My Perfect Weekend

9.สอื่ การเรยี นการสอน (Instructional Media)
1. บทเรียนประเภทส่ืออิเลคทรอนกิ ส์
2. รูปภาพต่างๆ
3. คลิปวดิ ีโอตา่ งๆ
4. ใบงานตา่ งๆ
5. บอรด์ นทิ รรศการ

75

Handout: Find Someone Who…………

ที่มา: Meredith Levy; Nicholas Murgatroyd.(2009). Pair work and Groupwork: Multi-level
Photocopiable Activities for Teenagers (Cambridge Copy Collection). Cambridge: Cambridge
University Press.

76

ขอ้ เสนอแนะของหัวหนา้ กลมุ่ สาระการเรียนรู้

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ..........................................................
(..........................................................)

หัวหนา้ กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาต่างประเทศ

ข้อเสนอแนะของฝา่ ยวชิ าการ

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ลงช่ือ..........................................................
(..........................................................)
รองผู้อำนวยการฝ่ายวชิ าการ

ขอ้ เสนอแนะของหวั หนา้ สถานศกึ ษา

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ลงชือ่ ..........................................................
(..........................................................)
ผูอ้ ำนวยการโรงเรยี น..................

77

บนั ทกึ หลังการใช้แผนจัดการเรยี นการสอน

1. ผลการเรยี นรู้

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

2. ปัญหา/อปุ สรรค

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

3. ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ปัญหา

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ลงช่อื ..................................................
(.....................................................)

ครกู ลุม่ สาระการเรยี นรู้ภาษาตา่ งประเทศ

78

คำถามทบทวนความเข้าใจ

เรอ่ื ง การจัดทำแผนการจดั การเรียนรู้
(Lesson Planning)

คำช้แี จง จงคำถามเพอื่ ทบทวนความเข้าใจ

1. จงอธิบายความหมายและความสำคญั ของการเขียนแผนการจดั การเรียนรตู้ ามความเขา้ ใจ
2. จงอธิบายประเภท และรูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ว่ามีอะไร
3. จงอธบิ ายลกั ษณะของแผนการจดั การเรียนรู้ทีด่ ีควรมลี กั ษณะอย่างไร
4. แผนการจดั การเรียนรทู้ ดี่ ี มีองค์ประกอบก่อี งค์ประกอบและมีอะไรบา้ งจงอธิบาย
5. ขน้ั ตอนการเขียนแผนการจัดการเรยี นรู้ เป็นอย่างไรจงเขียนอธบิ ายมาพอสงั เขป

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞

79

แบบทดสอบ

เรื่อง การจดั ทำแผนการจดั การเรียนรู้
(Lesson Planning)

คำช้ีแจง แบบทดสอบฉบับนเ้ี ป็นแบบทดสอบแบบเลอื กตอบ จำนวน 10 ขอ้ ข้อละ 1 คะแนน
ใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ 10 นาที โดยเลอื กคำตอบทถ่ี ูกทส่ี ดุ เพยี งคำตอบเดยี ว

1. ขอ้ ใด้ ไมใ่ ชค่ วามสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
1) ทำให้ผูส้ อนมีการวเิ คราะหผ์ ูเ้ รียนเปน็ รายบคุ คล
2) ทำให้ผสู้ อนสอนดว้ ยความมั่นใจ
3) ทำให้เปน็ การสอนที่ตรงตามหลกั สูตร
4) ทำใหผ้ ้สู อนมีเอกสารเตือนความจำ

2. เพราะเหตุใดการใชส้ อ่ื การสอนจึงตอ้ งมคี วามสัมพนั ธก์ ับเนอื้ หาของบทเรยี น
1) จะทำใหเ้ ด็กเกิดการเรยี นรตู้ ามเนื้อหาของบทเรยี น
2) สอื่ สารสอนถูกกำหนดการใช้ส่อื การสอนไวแ้ ลว้
3) เน้ือหาของบทเรยี นกำหนดการใช้สอ่ื การสอนไวแ้ ล้ว
4) สอ่ื การสอนจะต้องใชใ้ ห้เด็กเกิดการเรียนรู้

3. การเขียนแผนการสอนท่เี หมาะสมทีส่ ุดจดั ลำดบั หวั ข้ออย่างไร
1) จุดประสงค์ สาระสำคัญ เนอ้ื หา กิจกรรม
2) สาระสำคญั จดุ ประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม
3) สาระสำคัญ จดุ ประสงค์ กจิ กรรม เนอ้ื หา
4) จดุ ประสงค์ สาระสำคญั กจิ กรรม

4. จดุ มุ่งหมายเชิงพฤตกิ รรม คือจุดมุ่งหมายท่เี ป็นอยา่ งไร
1) ระบุว่านักเรยี นรู้อะไรบ้าง
2) ระบุพฤติกรรมท่สี งั เกตและวัดได้ของนกั เรยี น
3) ระบวุ ่าพฤติกรรมจะเปล่ียนแปลงไปอยา่ งไร
4) ระบุว่านักเรยี นจะมีเจตคติทีม่ ีต่อวชิ าทีส่ อน

5. ขอ้ ใดทไี่ ม่ใช่ลักษณะของจุดม่งุ หมายเชงิ พฤติกรรม
1) บอกโครงสร้างของประโยค
2) อธิบายความแตกตา่ ง Present simple และ Present Continuous
3) ทำแบบฝึกหัดเร่ือง Present simple และ Present Continuous
4) เข้าใจในความแตกตา่ งของ Present simple และ Present Continuous

80

6. ผ้เู รยี นจะสนใจและอยากเรยี นมากขึน้ ในเมื่อส่ิงที่เรียนน้ันเป็นอยา่ งไร
1) มีความสวยงาม
2) เคล่ือนไหวได้
3) มคี วามหมายต่อผูเ้ รียน
4) ผเู้ รียนเคยพบเห็นมาแลว้

7. การมหี ลักและวิธสี อนท่ีดใี หป้ ระโยชน์ในเร่อื งใด
1) นกั เรยี นสนใจเรยี น
2) ประหยัดเวลาในการสอน
3) นักเรยี นเกดิ ความคดิ รเิ ริ่ม
4) การเรยี นการสอนท่มี ีประสทิ ธิภาพ

8. วธิ กี ารที่จะวัดพฤติกรรมแต่ละด้านใหค้ รอบคลุมและเหมาะสมนั้น จะตอ้ งปฏบิ ตั อิ ยา่ งไร
1) ใช้วิธกี ารวดั ทผ่ี เู้ รียนทุกคนสามารถทำได้
2) ใช้เครือ่ งมือวดั ท่ีเหมาะสมและชัดเจน
3) กำหนดจุดประสงค/์ เนื้อหาให้ชดั เจน
4) วเิ คราะห์จุดประสงค์/เนื้อหาทจี่ ะวดั

9. ข้อใดคือจดุ มุ่งหมายของการสอน
1) เพือ่ ใหเ้ ด็กมีความรู้ความสามารถตามที่กำหนด
2) เพื่อให้เด็กนำไปใช้ได้
3) เพื่อให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
4) เพ่ือให้เดก็ สามารถแก้ปญั หาชีวติ ประจำวนั ได้

10. ขอ้ ใดเปน็ ส่งิ ทีต่ ้องบนั ทึกหลงั แผนการจัดการเรียนรู้
1) ขอ้ ดี ข้อด้อย
2) ปญั หาอปุ สรรคในการจัดการเรียนรู้
3) แนวทางแก้ไข
4) ถูกทุกข้อ

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞

81

แนวตอบคำถามทบทวนความเขา้ ใจ

เรอื่ ง การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
(Lesson Planning)

1. จงอธิบายความหมายและความสำคญั ของการเขยี นแผนการจัดการเรียนรู้ตามความเขา้ ใจ
แนวตอบ แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึงแนวการจัดการเรียนการสอนของครูภายใต้

กรอบเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยกำหนดจุดประสงค์ วิธีการ
ดำเนินการหรือกิจกรรม ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย และวิธี
วัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับ จุดประสงค์การเรียนรู้ การวางแผนการจัดการเรียนรู้มี
ความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก คือ ทำให้ผู้สอนสอนด้วย
ความมั่นใจ ทำให้เป็นการสอนที่มีคุณค่าคุ้มกับเวลาที่ผ่านไป ทำให้เป็นการสอนที่ตรงตาม
หลักสูตร ทำให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำ
และทำให้ผู้เรียนเกดิ เจตคติที่ดตี ่อผสู้ อนและต่อวชิ าที่เรียน
2. จงอธิบายประเภท และรูปแบบของแผนการจดั การเรยี นรู้ว่ามีอะไรบ้าง

แนวตอบ ประเภทของแผนการจัดการเรยี นรโู้ ดยท่ัวไปมี 2 ประเภท
1) แผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้ เป็นแผนที่ระบุเป้าหมายหลักและระบุ
เฉพาะกจิ กรรมหลกั ๆ
2) แผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนหรือแผนรายชั่วโมง เป็นแผนที่ระบุกิจกรรม
หลกั และกิจกรรมยอ่ ยอยา่ งละเอยี ดชดั เจนเป็นรายชัว่ โมงหรือรายครั้ง
โดยแผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ระดับ
บทเรียนมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและจะสอดคล้องสัมพันธ์กันด้วย เพราะแผนการจัดการ
เรยี นรู้ระดบั บทเรียนจะให้รายละเอยี ดของเปา้ หมายการเรยี นรู้ การจัดกจิ กรรมการเรียนการ
สอน เนื้อหา สาระ สื่อการเรียนการสอน การวัดประเมินผล ในบทเรียนย่อย ๆ ที่ประกอบ
กนั เป็นหน่วยการเรยี นรู้
3. จงอธิบายลกั ษณะของแผนการจดั การเรยี นรู้ทีด่ ีควรมีลกั ษณะอยา่ งไร
แนวตอบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรมีลักษณะที่ชว่ ยสง่ เสริมเจตคตทิ ี่ดชี ่วยสะทอ้ น
ให้ผู้สอนเป็นนักคิด นักวางแผน เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดี มีความเฉพาะเจาะจง ครอบคลุม
และมีความ ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ตลอดจนมีความชัดเจนทกุ
คนสามารถแปลความได้ตรงกนั และมกี ารนำไปใช้และพฒั นาอยา่ งตอ่ เน่อื ง

82

4. แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ดี มอี งค์ประกอบก่อี งคป์ ระกอบและมีอะไรบ้างจงอธบิ าย
แนวตอบ องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย สาระสำคัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและอุปกรณ์ การวัดผล
และประเมนิ ผล กิจกรรมเสนอแนะ ข้อเสนอแนะของผ้บู ังคับบญั ชา และบันทกึ การสอน
5. ขนั้ ตอนการเขยี นแผนการจัดการเรียนรู้ เปน็ อยา่ งไรจงเขยี นอธิบายมาพอสังเขป

แนวตอบ ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ต้องเริ่มจากการศึกษาหลักสูตร
การศึกษา ขั้นพื้นฐาน โดยศึกษามาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิเคราะห์
มาตรฐานการเรยี นร้ชู ่วงชั้น สาระการเรยี นรูต้ วั ชีว้ ดั รายปี รายภาค แล้วกำหนดเป็นสาระการ
เรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพบริบท และความตอ้ งการของทอ้ งถิ่นและชุมชน หลังจากนั้นจงึ
นำตวั ชี้วดั ชัน้ ปีและสาระการเรียนรรู้ ายปมี า พจิ ารณาจัดทำคำอธิบายรายวชิ า แลว้ จึงกำหนด
เป็นหน่วยการเรยี นรแู้ ละจดั ทำแผนการจัดการเรยี นรู้ เพือ่ ใชก้ ารจดั การเรียนรตู้ ่อไป

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞

83

เฉลยแบบทดสอบ
เรอื่ ง การจดั ทำแผนการจัดการเรยี นรู้

Lesson Planning

1. 1) ทำใหผ้ สู้ อนมีการวเิ คราะห์ผู้เรยี นเปน็ รายบคุ คล
2. 1) จะทำใหเ้ ดก็ เกดิ การเรยี นรูต้ ามเนื้อหาของบทเรียน
3. 3) สาระสำคญั จดุ ประสงค์ กจิ กรรม เน้อื หา
4. 2) ระบุพฤตกิ รรมที่สงั เกตและวดั ได้ของนกั เรยี น
5. 4) เข้าใจในความแตกต่างของ Present simple และ Present Continuous
6. 3) มคี วามหมายตอ่ ผูเ้ รยี น
7. 4) การเรยี นการสอนที่มปี ระสิทธิภาพ
8. 2) ใช้เครือ่ งมอื วดั ทเี่ หมาะสมและชดั เจน
9. 1) เพอ่ื ใหเ้ ด็กมคี วามรูค้ วามสามารถตามทกี่ ำหนด
10. 4) ถูกทุกข้อ

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞

84

ตอนท่ี 5

การวดั และประเมินผลการจัดการเรยี นรู้
(Evaluation and Assessment)

การวดั และการประเมินผลการจัดการเรียนรภู้ าษาอังกฤษเปน็ ส่ิงสำคญั เพราะถือเป็นกิจกรรม
อย่างหนึ่งที่ครูต้องวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกบั จุดประสงค์การเรยี นรู้ ซึ่งวัตถุประสงคห์ ลักของ
การวัดผลการเรียนรู้ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2557, หน้า 2) ได้กล่าวไว้ใน
หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน มดี งั น้ี

จดุ ม่งุ หมายของการวดั และประเมนิ ผลการเรียนรู้

การวดั และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนจุดมุ่งหมายพ้ืนฐานสองประการ ดังน้ี
1. การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียน
และการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง บันทึก วิเคราะห์ แปล
ความหมายข้อมูล แล้วนำมาใช้ในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอน
ของครู การวดั และประเมินผลกับการสอนจึงเป็นเรื่องทสี่ ัมพันธ์กัน หากขาดส่ิงหนึ่งสิ่งใดการเรียนการสอน
จะขาดประสทิ ธิภาพ การประเมนิ ระหว่างการเรยี นการสอนเพือ่ พัฒนาการเรียนรู้เชน่ นเ้ี ปน็ การวัดและ

85

ประเมนิ ผลเพ่อื การพฒั นา (Formative Assessment) ท่ีเกิดข้ึนในหอ้ งเรยี นทุกวันเป็นการประเมินเพื่อให้รู้
จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุง จึงเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนาในการเก็บข้อมูล ผู้สอนต้องใช้วิธีการและ
เครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การซักถามการระดมความคิดเห็นเพื่อให้ได้มติ
ขอ้ สรุปของประเด็นที่กำหนด การใช้แฟม้ สะสมงาน การใชภ้ าระงานทเ่ี นน้ การปฏบิ ตั ิการประเมนิ ความรู้
เดิม การให้ผู้เรียนประเมินตนเอง การให้เพื่อนประเมินเพื่อนและการใช้เกณฑ์การให้คะแนน
(Rubrics) สิ่งสำคัญที่สุดในการประเมินเพื่อพัฒนา คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนในลักษณะ
คำแนะนำทเี่ ช่ือมโยงความรูเ้ ดิมกับความรู้ใหม่ทำให้การเรียนรู้พอกพูน แก้ไขความคิด ความเข้าใจเดิม
ท่ีไม่ถกู ต้อง ตลอดจนการใหผ้ เู้ รยี นสามารถต้ังเปา้ หมายและพัฒนาตนได้

2. การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นการประเมินสรุปผลการเรียนรู้
(Summative Assessment) ซึ่งมีหลายระดับ ได้แก่ เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียน จบรายวิชาเพื่อ
ตัดสินให้คะแนนหรือให้ระดับผลการเรียน ให้การรับรองความรู้ความสามารถของผู้เรียนว่าผ่าน
รายวิชาหรือไม่ ควรได้รับการเลื่อนชั้นหรือไม่ หรือสามารถจบหลักสูตรหรือไม่ ในการประเมินเพื่อ
ตัดสินผลการเรียนท่ีดีต้องให้โอกาสผู้เรียนแสดงความรู้ความสามารถด้วยวิธีการที่หลากหลายและ
พิจารณาตัดสินบนพนื้ ฐานของเกณฑ์ผลการปฏิบัตมิ ากกวา่ ใช้เปรยี บเทียบระหว่างผู้เรียน

วัตถุประสงค์ของการวัดและประเมินผล (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,
ม.ป.ป. หนา้ 143) มดี งั นี้

1. เพอ่ื ประเมินวิธีสอนของครูวา่ วธิ ีสอนแบบใดชว่ ยให้เกิดการเรียนรู้และวิธีใดที่ต้องมีการปรับปรุง
2. ประเมินสัมฤทธิ์ผลในการเรียนของผู้เรียนว่ามีความรู้ความสามารถตามพัฒนาการ
ความก้าวหน้าของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรมจริยธรรมและ
คุณลักษณะอนั พึงประสงค์
3. เพอ่ื จำแนกหรอื จัดลำดับความสามารถของผ้เู รยี นแตล่ ะคนเพ่ือจัดชั้นเรียนหรือแบ่งกลุ่ม
นักเรยี นตามความสามารถ เพื่อใหน้ กั เรยี นไดเ้ รยี นในกลมุ่ ทีม่ คี วามสามารถเทา่ เทียมกัน
4. เพอ่ื วนิ ิจฉยั ขอ้ บกพร่ อง และจุดเด่นการเรียนการสอนของแตล่ ะบุคคล
5. เพ่ือประโยชนในการซอ่ มเสริมแก่ผูเ้ รียน
6. เพื่อประเมินประสทิ ธิภาพการสอนของครู
7. เพื่อใหท้ ราบกระบวนการเรยี นรู้ภาษาของเด็กในแต่ละระดับ
8. เพื่อทดสอบผลการทดลองเก่ยี วกบั การเรยี นการสอนในชนั้ เรียน

ประเภทของการวดั และประเมนิ ผลการเรียนรู้

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สามารถแบ่งได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ทีใ่ ช้ใน

การจำแนก (สำนกั วชิ าการและมาตรฐานการศึกษา, 2555 หน้า 86 - 88)

86

1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้จำแนกตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนก่อน
เรียนระหวา่ งเรียนและหลงั เรียน ดงั นี้

1.1 การประเมินเพื่อจัดวางตำแหน่ง (Placement Assessment) เป็นการประเมินก่อน
เร่ิมเรยี นเพ่ือต้องการข้อมูลทแี่ สดงความพร้อม ความสนใจ ระดบั ความรูแ้ ละทักษะพื้นฐาน ที่จำเป็นต่อ
การเรียนเพื่อให้ผู้สอนนำไปใช้กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ วางแผนและออกแบบกระบวนการ
เรยี นการสอนทเี่ หมาะสมกับผู้เรยี นท้ังรายบุคคล รายกล่มุ และรายชน้ั เรียน

1.2 การประเมินเพื่อวินิจฉยั (Diagnostic Assessment) เปน็ การเก็บข้อมูลเพ่ือค้นหา
ว่าผู้เรียนรู้อะไรมาบ้างเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียน สิ่งที่รู้มาก่อนนี้ถูกต้องหรือไม่ จึงเป็นการใช้ในลักษณะ
ประเมินกอ่ นเรยี น นอกจากน้ี ยงั ใช้เพอื่ หาสาเหตุของปัญหาหรืออุปสรรคต่อการเรยี นรขู้ องผู้เรียนเป็น
รายบุคคลที่มักจะเป็นเฉพาะเรื่อง เช่น ปัญหาการออกเสียงไม่ชัด แล้วหาวิธีปรับปรุงเพื่อให้ผู้เรียน
สามารถพฒั นาและเรียนรู้ขนั้ ต่อไป วิธกี ารประเมินใช้ได้ทั้งการสังเกต การพดู คยุ สอบถามหรือการใช้
แบบทดสอบก็ได้

1.3 การประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) เป็นการประเมินเพ่ือ
พัฒนาการเรียนรู้ (Assessment for Learning) ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดการเรียนการสอน
โดยมิใช่ใชแ้ ตก่ ารทดสอบระหว่างเรียนเป็นระยะๆอย่างเดียว แต่เปน็ การท่คี รูเกบ็ ข้อมลู การเรียนรู้ของ
ผู้เรียนอย่างไม่เป็นทางการด้วย ขณะที่ให้ผู้เรียนทำภาระงานตามที่กำหนด ครูสังเกต ซักถาม จดบันทึก
แล้ววเิ คราะหข์ ้อมูลว่าผูเ้ รียนเกิดการเรยี นรหู้ รอื ไม่ จะตอ้ งใหผ้ เู้ รยี นปรบั ปรงุ อะไร หรอื ผสู้ อนปรับปรุง
อะไรเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามมาตรฐาน/ ตัวชี้วัดการประเมินระหว่างเรียน
ดำเนินการได้หลายรูปแบบ เช่น การให้ข้อแนะนาข้อสังเกตในการนำเสนอผลงานการพูดคุยระหว่าง
ผสู้ อนกบั ผู้เรียนเปน็ กลมุ่ หรือรายบุคคล การสมั ภาษณต์ ลอดจนการวเิ คราะหผ์ ลการสอบ เปน็ ตน้

1.4 การประเมินเพ่อื สรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) มักเกิดขนึ้ เมื่อจบ
หน่วยการเรียนรู้เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดและยังใช้เป็นข้อมูลใน
การเปรียบเทียบกับการประเมินก่อนเรียนทำให้ทราบพัฒนาการของผู้เรียน การประเมินสรุปผลการเรียนรู้
ยังเป็นการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตอนปลายปี/ปลายภาคอีกด้วย การประเมินสรุปผลการ
เรียนรู้ใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินได้อย่างหลากหลาย โดยปกติมักดำเนินการอย่างเป็นทางการ
มากกว่าการประเมนิ ระหว่างเรียน

2. การวัดและประเมินผลการเรียนรจู้ ำแนกตามวตั ถปุ ระสงค์ของการประเมิน ดงั นี้
2.1 การประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: Aal) เป็นกระบวนการ

รวบรวมหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเรยี นรู้ขณะเรยี นรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนตระหนักในการ
เรยี นร้ขู องตน สามารถวางแผนการเรียนรู้ กำกบั การเรยี นรู้ วนิ จิ ฉยั ประเมนิ และปรบั ปรุงการเรียนรู้

87

ของตน การให้ผ้เู รยี นออกแบบแผนการเรียนรู้ ฝกึ ใหผ้ ูเ้ รียนคดิ ทบทวนเกย่ี วกับการเรียนรู้และกลยุทธิ์
ในการเรยี นรู้จะช่วยใหผ้ ูเ้ รียนพฒั นาการเรียนรขู้ องตนเองตลอดเวลา

2.2 การประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) เป็นกระบวนการ
รวบรวมหลกั ฐานขอ้ มลู เชงิ ประจักษ์ต่าง ๆ ตามสภาพจรงิ เกย่ี วกบั การเรียนรู้ของผูเ้ รียน เพอ่ื ระบุและ
วินิจฉัยปัญหาการเรียนรู้และให้ข้อติชมที่มีคุณภาพแก่ผู้เรียนเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ให้ดีขึ้นโดยใช้
วธิ กี ารประเมินหลากหลายและเพ่ือใหเ้ ขา้ ใจการเรยี นรู้ของผ้เู รยี นในแงม่ มุ ต่าง ๆ อยา่ งรอบดา้ นอันจะ
นำไปสกู่ ารปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอนให้มปี ระสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.3 การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning: AoL) เป็นกระบวนการ
รวบรวมหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้เพื่อตัดสินคุณค่าในการ
บรรลุวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งแสดงถึง
มาตรฐานทางวิชาการในเชิงสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สารสนเทศดังกล่าวนำไปใช้ใน
การกำหนดระดับคะแนนให้ผู้เรยี น รวมทัง้ ใช้ในการปรบั ปรงุ หลกั สูตรและการเรียนการสอน

3. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้จำแนกตามวิธีการแปลความหมายผลการเรียนรู้มี
2 ประเภททีแ่ ตกตา่ งกันตามลกั ษณะการแปลผลคะแนน ดงั นี้

3.1 การวัดและประเมินแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Assessment) เป็นการวัด
และประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนำเสนอผลการตัดสินความสามารถหรือผล สัมฤทธิ์ของผู้เรียนโดย
เปรยี บเทยี บกันเองภายในกลุ่มหรือในช้นั เรียน

3.2 การวัดและประเมินแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Assessment) เป็นการ
วัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนำเสนอผลการตัดสินความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนโดย
เปรียบกบั เกณฑ์ที่กำหนดขน้ึ

การประเมนิ สภาพจริง (Authentic Assessment)

การประเมินสภาพจริงเปนวิธี การประเมินที่ออกแบบมาเพื่อสะทอนใหเห็นพฤติกรรมและ
ทักษะที่จําเปนของผูเรียนในสถานการณที่เปนจริงและเปนวิธีการประเมินท่ีเนนงานหรอื กิจกรรมท่ผี ูเรียน
ไดแสดงออกโดยการกระทํา เนนกระบวนการเรียนรูผลผลิตและผลงาน เปดโอกาสใหผูเรียนมีสวนรวมใน
การประเมนิ และรวมในการจดั กระบวนการเรียนรูของตนเอง ซงึ่ วิธกี ารนเี้ ช่อื วาจะชวยพัฒนาการการเรียนรู
ของผูเรียนไดอยางตอเนื่อง กระบวนการประเมินอาจใชวิธีการสังเกต การบันทึก การรวบรวมขอมู
ลจากผลงานและวิธีการที่ผูเรียนไดเคยทําไว ดวยวิธกี ารที่หลายหลาย กลยุทธสําคัญของการประเมิน
ตามสภาพจริงคือการกระตุ นหรือท าทายใหผูเรียนไดแสดงออกโดยการกระทําว าตนเองมี
ความสามารถอะไร และไดเคยทําสิ่งใดบางแทนการทําแบบทดสอบหรือขอสอบเหมือนการประเมิน
แบบเดิมๆ นอกจากเนน เรื่องการกระทําและผลงานแลว การประเมินนี้ยังเนนความสามารถทางสติปญญา

88

กระบวนการสรางความสัมพันธระหวางบุคคล การแกปญหา มากกวาการเนนเรือ่ งการ ทองจํา หรือ
การหาคาํ ตอบจากแบบทดสอบ (สมศกั ด์ิ ภูวภิ าดาวรรธน, 2554, หน้า 101-104)

ลกั ษณะสําคญั ของการวัดประเมินสภาพจรงิ
การวัดประเมินผลตามสภาพจริงเปนการประเมินทางเลือกใหม่(Alternative Assessment)
ที่เนนการประเมนิ ผลจากการปฏิบัตงิ านซึ่งตางจากการประเมินท่ีเนนการทดสอบเปนสาํ คัญ ลักษณะสําคัญ
ของการวดั ประเมินผลตามสภาพจรงิ มีดังน้ี
1. การประเมนิ ท่เี นนแนวคดิ ที่วาความรู้เร่ืองใดเร่อื งหนง่ึ มีความหมายไดหลากหลาย ดังน้ัน
การวดั ควรใชวธิ ีการอยางหลากหลาย
2. การเรยี นรูเปนกระบวนการตามความตองการของผูเรยี นมากกวาการบังคับใหเรียน ดังนั้น
ผูเรยี นจงึ มีความกระตือรือรนและแสวงหาความรู้เพื่อความอยากรูมากกวาการเรียนเพ่ือใหทําขอสอบ
ไดคะแนนสูงๆ
3. การวัดประเมินผลตามสภาพจรงิ เนนกระบวนการเรยี นรูและผลผลิตโดยพิจารณาจากส่ิง
ทผ่ี ูเรยี นเรยี นรูและทําไมจงึ เกิดการเรยี นรูเชนน้ัน
4. การวัดประเมินผลตามสภาพจริงมุ่งเนนการสืบเสาะ พัฒนาทักษะการแกปญหาตาม
สภาพจริงที่เกดิ ข้ึน ผูเรยี นตองสังเกต วเิ คราะหและทดสอบความรู้ของตนเองจากการปฏบิ ตั ิ
5. การวัดประเมนิ สภาพจรงิ มีจุดประสงคเพ่ือกระตุนและอํานวยความสะดวกใหกบั ผูเรียน
และสะทอนผลการเรยี นรูเพอื่ การพัฒนาใหกับผูเรยี น
เครอ่ื งมือวดั และประเมนิ ตามสภาพจริง
โดยทั่วไปการวัดและประเมินผลใหตรงกับสิ่งที่ตองการวัดมักตองใชอาศัยเทคนิคการเก็บ
รวบรวมขอมูลและใช ครื่องมือที่มีคุณภาพเหมาะสมกับคุณลักษณะที่ต องการศึกษารวมถึงเงื่อนไข
บริบทอ่ืน ๆ อาทิจุดประสงคการวัดลักษณะผูสอบ ปรมิ าณ ระยะเวลา สถานท่ี งบประมาณ การประเมิน
ตามสภาพจริงมักใชวิธีการประเมินหลากหลาย สวนเทคนิคการเกบ็ รวบรวมขอมลู ประกอบดวยการทดสอบ
การสอบสมั ภาษณ การสังเกต การตรวจผลงาน การใชแฟมสะสมงาน การประเมินโดยใชศูนยประเมนิ
1. การทดสอบมักใชแบบทดสอบเพื่อประเมินความรู้ความสามารถของผูเรียน เครื่องมือท่ี
ใชประกอบดวย แบบสอบเขยี นตอบ แบบสอบเลือกตอบ และสอบภาคปฏิบัติและแบบวัดตางๆ เปนตน
2. การสอบสัมภาษณ เปนวิธีการวัดผลดวยการซักถาม สนทนา โตตอบ เพื่อประเมิน
ความคิด ทัศนคติตาง เครื่องมือที่ใชไดแก แบบสัมภาษณแบบมีโครงสราง (เตรียมคําถามไวลวงหนา)
และคาํ ถามแบบไมมโี ครงสราง (กาํ หนดเฉพาะแนวทาง หรือประเดน็ แตไมมีคําถามท่ชี ดั เจน)
3. การสังเกต เปนการวัดและประเมินที่มีรายการพฤติกรรมเปาหมายที่ตองการเกบ็ ขอมลู
ดว้ ยประสาทสมั ผสั โดยเฉพาะอยางย่งิ ทางหูและตา เพื่อศกึ ษาพฤติกรรมท่ีมความละเอยี ด ชดั เจนของ

89

ผูเรยี นในสภาพการณตางๆ ท่ีกาํ หนด เครอื่ งมือทใี่ ชประกอบดวย แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตรวัด
ประเมนิ คา และแบบบันทกึ เปนตน

4. การตรวจผลงานเปนการวัดและประเมินดวยการกําหนดงาน กิจกรรมหรือแบบฝกใหผูเรียน
ไดปฏิบัติฝกฝน โดยผูสอนจะเปนผูตรวจสอบความถูกตองดวยตนเองหรือเพื่อนผูเรียนที่ไดรับมอบหมาย
เพื่อใหไดขอมูลจริงสําหรับสะทอนผลการปรับปรุงแกไขพฤติกรรมการเรียนรูของผูเรียนอยางเปน
ระบบตอไป เครือ่ งมือที่ใชไดแก แบบประเมนิ ผลงาน

5. การใช้แฟ้มสะสมงาน เปนการวัดและประเมินที่ใชหลักการเก็บหลักฐานผลงานที่ดีและมี
ความภาคภูมิใจท่ีเปนตัวแทนงานที่ปฏิบตั ิของผูเรียนเกี่ยวกับทักษะ แนวคิด ความสนใจ ความสําเรจ็
โดยมีผลการประเมินจุดเดน จุดดอยของชิ้นงาน อันแสดงถึงความกาวหนาในการเรียนดวยตนเองของผูเรียน
เอง เพื่อนรวมช้ัน หรือผูสอน แลวนําหลักฐานมาบรรจุ ลงในแฟม สมุดโนต แผนบันทกึ ขอมูล เปนตน
ลักษณะแฟมสะสมงานที่ดีควรมีความหลากหลาย สามารถสะทอน ความสามารถที่แทจริงของผูเรียน
แตละคน เครื่องมือที่ใชสําหรับประเมินแฟมสะสมงาน ไดแก แบบบันทึก แบบประเมินผลงานและ
แบบประเมนิ ตนเอง เปนตน

6. การประเมินโดยใชศนู ยประเมนิ ศูนยประเมนิ คือสถานทหี่ รือคอมพิวเตอรและซอฟแวร
ทสี่ รางหรือกําหนดข้ึนเพ่ือใหสําหรับทดสอบหรือประเมินผูเรียนภายใตสถานการณจําลองหรือสิ่งเรา เพื่อ
ใหผูเรียนตอบสนองโดยการแสดงออกตามพฤติกรรมบงชี้ การประมวลความรู้และทักษะตางของผู
เรียนวามีมากนอยเพียงใดและอยูในระดับใด กิจกรรมหรือสถานการณที่กําหนดใหมีหลากหลาย ไดแก เกม
แบบฝกขัน้ ตอนการทํางาน ใบงาน การสนทนากลุม การทํางานเปนกลุม และการแสดงบทบาทสมมติ
การนําเสนองาน เครื่องมือที่ใชวัด ประกอบดวย แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตรวัดประเมินคา แบบ
บนั ทึกพฤติกรรม แบบประเมนิ ผลงาน และแบบทดสอบ เปนตน

การวัดและประเมนิ ผลการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสาร

การวัดและประเมินผลตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารควรมีจุดประสงค์เพื่อวัด
ความสามารถในการสอ่ื สารของผูเ้ รยี น รูปแบบของการทดสอบต้องสอดคล้องกบั รูปแบบการสอน การวัด
และประเมินผลการเรยี นการสอนภาษาเพอ่ื การสอ่ื สารสามารถทำไดห้ ลายวิธีท้ังโดยการทดสอบและไม่มี
การทดสอบ การวัดและประเมินผลโดยไม่มี การทดสอบอาจทำได้โดยการสังเกตความสนใจ การปฏิบัติ
กิจกรรม การอภิปราย ซักถาม ตลอดจนความร่วมมือในการทำกิจกรรมส่วนการวัดและประเมินโดย
การทดสอบความสามารถในการใชภ้ าษาของผู้เรยี นอาจใชก้ ารทดสอบความสามารถด้านองค์ประกอบ
ของภาษา ได้แก่ เสียง ศัพท์ ไวยากรณ์ หรือ การทดสอบลักษณะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับระดับของผู้เรียน
และจุดมุ่งหมายของการทดสอบนั้น โดยมีความยากง่ายเหมาะสมกับนักเรียนและสอดคล้องกับ
จุดประสงค์ของหลักสูตร เกณฑ์ตัดสินความสำเร็จมิใช่ความถูกต้องตามแบบแผน แต่เป็นประสิทธิผลใน

90

การสื่อสาร การนำไปใช้จริง (Use) การปฏิบัติตนในสถานการณ์การสื่อสารไม่ใช่ความรู้ทางไวยากรณ์
(Usage) แบบทดสอบจึงเป็นการใช้ภาษาตามหน้าที่ ทักษะ และความรู้ เกี่ยวกับภาษา แบบสอบรวม
และแบบสอบแบบบูรณาการ (Integrative Test) จึงนิยมใช้เป็นแบบทดสอบที่ทดสอบการใช้ภาษา

เพ่อื การส่ือสาร (Communicative Use of Language) (สมุ ติ รา อังวฒั นกุล, 2539 หนา้ 202 - 204)

การทดสอบความสามารถทางภาษาควรคำนึงถึงรากฐานปรัชญาท่เี ปน็ พ้ืนฐานในการจัดการเรียนรู้
ในปัจจุบันซึ่งยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีวัตถุประสงค์และตัวแปรเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นองค์ประกอบหลักใน
การศึกษาครูเป็นเพียงผู้อำนวยการเรียนรู้ การทดสอบความสามารถทางภาษาควรกระทำเมื่อผู้เรียน
พร้อมและอาจทำการสอบเป็นรายบุคคล ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการของผู้เรียนมากกว่า
เปรียบเทียบกับผู้อื่น การทดสอบจึงเป็นแบบอิงเกณฑ์ (Criterion – referenced) และมีการวัดตัวแปร
เกี่ยวกับผู้เรียน ได้แก่ ทัศนคติ แรงจูงใจ เชาวน์ปัญญา ความถนัด และบุคลิกภาพการทดสอบ
ความสามารถในการส่ือสารแบง่ ออกเปน็ 2 ลกั ษณะ ดงั นี้

1. การทดสอบความสามารถทางภาษาแบบรวม (Integrative or Global Tests) การทดสอบ
ลักษณะนี้จะมีการทดสอบมากกว่าหนึ่งทักษะและผู้เรียนต้องใช้ความสามารถทางภาษาภายในเวลา
จำกัด แบบทดสอบทน่ี ิยม ได้แก่

1.1 การเขียนตามคำบอก (Dictation) ข้อความที่บอกให้เขียนต้องอ่านด้วยความเร็ว ปกติ
จะหยุดต่อเมื่อถึงท้ายประโยคหรืออนุประโยค การเขียนตามคำบอกที่อ่านอย่างช้าๆ ทีละคำ เป็นการทดสอบ
การสะกดคำ ผู้เรียนควรจำข้อความยาวๆ แล้วเขียนสิ่งที่ได้ยินเพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจการเขียน
สะกดคำผิดจะไม่หกั คะแนนถ้าหากไม่เก่ียวขอ้ งกับความเข้าใจในการฟังแต่ข้ึนอยู่กับการตัดสินใจของ
ผสู้ อนดว้ ย

1.2 การเขียนตามคำบอกที่มีเสียงรบกวน (Noise Test) แบบสอบลักษณะนี้ต่างจาก
การเขียนตามคำบอกคือการบันทึกข้อความลงในเทปจะบันทึกด้วยความเร็วปกติและลดการซ้ำซ้อนทาง
ภาษาลงโดยบันทึกเสียงรบกวนลงไปด้วยซึ่งผู้เรียนจะสามารถเข้าใจประโยคที่ได้ยินอย่างง่าย หากไม่ได้
บนั ทึกเสียงรบกวนลงไปดว้ ย การเขยี นสะกดคาผิดจะไมห่ ักคะแนนถ้าเห็นวา่ ผู้เรียนเขา้ ใจในสิ่งที่ไดย้ นิ

1.3 การทดสอบแบบโคลซ (Cloze Test) เป็นแบบสอบที่มีข้อความให้ผู้เรียนอ่านแล้ว
เว้นคำใหเ้ ติม ปกติจะเป็นทุกๆ 5,6,7 คำ ประโยคแรกมกั จะไม่ละคำเพื่อช่วยสร้างบรบิ ท ผู้เรียนจะได้
คะแนนจากคำท่ีเติมไดถ้ กู ต้องซงึ่ อาจจะเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกนั ก็ได้ ลักษณะของแบบทดสอบ
โคลซ แบง่ เปน็ 3 ลกั ษณะ ดงั นี้

1.3.1 แบบทดสอบโคลซมาตรฐาน เปน็ การเวน้ คำให้ผ้เู รียนเติมอย่างเปน็ ระบบ
1.3.2 แบบทดสอบโคลซชนิดใหเ้ ลอื กคำทถ่ี ูกตอ้ งเพียงคำเดียวจาก 2 คำทใี่ ห้
1.3.3 แบบทดสอบโคลซชนิดทมี่ ลี ักษณะคล้ายกับแบบสอบชนดิ ใหเ้ ลอื กตอบ
1.4 การสอบสมั ภาษณ์ (Oral Interview) เป็นการทดสอบการพูดสนทนาหรือสมั ภาษณ์
ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยผู้สอนกำหนดหัวข้อหรือสถานการณ์ให้นักเรียนพูดหรืออาจเป็นการทดสอบ

91

การสนทนาระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน โดยการแสดงบทบาทสมมติ เน้นความสามารถในการสื่อความหมาย
ให้เขา้ ใจกนั และการใช้ภาษาท่เี หมาะสมกบั สถานการณ์ของผู้พูด

2. การทดสอบความสามารถทางภาษาจุดย่อย (Discrete Point Tests) เป็นการวัด
องค์ประกอบย่อยของภาษา เช่น เสียง ศัพท์ โครงสร้าง หรือทักษะต่าง ๆ แยกออกเป็นการฟัง การ
พูด การอ่าน และการเขียน โดยแยกทดสอบเป็นส่วนๆ ตามองค์ประกอบของภาษาหรือตามทักษะท่ี
ตอ้ งการวัด ดังน้ี

2.1 การทดสอบเสียง วิธีทดสอบที่ตรงที่สุดคือการสอบปากเปล่าแต่จะมีปัญหาในการให้
คะแนน วธิ ีการทน่ี ยิ มใช้คอื การทดสอบความสามารถในการแยกเสียงที่มีความเหมอื นหรือต่างกัน เช่น

2.1.1 การทดสอบความสามารถในการแยกเสียงโดยใช้คู่เทียบเสียง (Minimal
Pairs) โดยให้ฟงั คำเป็นค่ๆู แล้วให้ผูเ้ รียนบอกวา่ คำท่ไี ดย้ นิ น้นั ออกเสยี งเหมือนหรือต่างกัน

2.1.2 ใหฟ้ ังคำเป็นชุด ชดุ ละ 3 คำ แล้วใหผ้ ู้เรียนสังเกตเสียงคำทเี่ หมือนกนั
2.1.3 ให้ฟงั ประโยค 2 ประโยค แล้วทดสอบความสามารถในการแยกเสียง
2.2 การทดสอบคำศัพท์ การคัดเลือกคำศัพท์อาจพิจารณาจากหลักสูตรแบบเรียน
บทความ เนื้อเรื่อง ที่ให้นักเรียนอ่านคำศพั ท์ทีน่ ักเรียนมักเขยี นผิดหรือใช้ผิด คำศัพท์ที่ใช้บ่อยหรือไม่
ค่อยได้ใช้ การเลือกว่าจะทดสอบคำศัพท์ใช้บ่อยในการฟังพูดหรือการอ่านเขียนขึ้นอยู่กับ ระดับของ
นักเรียน ถ้าเป็นนักเรียนในระดับกลางคำศัพท์ที่ใช้บ่อยจะเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในการฟัง - พูด สำหรับ
นักเรยี นในระดับสูงจะเป็นคำศัพทท์ ี่ใช้ในการอา่ น - เขียน เชน่
2.2.1 เลอื กคำศพั ทใ์ หต้ รงกบั ภาพท่ีกำหนดให้
2.2.2 เลือกคำศัพท์ให้ตรงกับคำจำกดั ความท่ีกำหนดให้
2.2.3 เลอื กคำศัพทท์ มี่ ีความหมายเหมอื นกบั คำที่กำหนดให้
2.2.4 เลอื กคำศัพท์ท่จี ะนำมาแทนทีค่ ำศัพท์ในประโยคได้ถูกต้อง

2.2.5 เลือกคำศพั ทจ์ ากกลุ่มคำไปเตมิ ในชอ่ งว่างให้ได้ความหมาย

2.2.6 ขดี เส้นใต้คำศพั ท์ทีม่ ีความหมายเกย่ี วข้องกบั คำทก่ี ำหนดให้

2.2.7 เขียนคำศพั ท์ที่มคี วามหมายเดียวกบั คำทก่ี ำหนดให้

2.2.8 เติมวภิ ตั ิ (Prefix) หน้าคำทีก่ ำหนดให้เพ่ือเปลีย่ นความหมายเปน็ คำตรงกนั ขา้ ม

2.3 การทดสอบไวยากรณ์ นักเรียนท่ีเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศส่วนใหญ่

มีจุดประสงคเ์ พอื่ ทดสอบความสามารถดา้ นรูปประโยคว่าครอบคลุมเนื้อหาเพียงใด ลักษณะของ

ข้อทดสอบไวยากรณม์ ี ดังนี้

2.3.1 เลือกรูปประโยคทถี่ ูกตอ้ งไวยากรณ์

2.3.2 เลือกส่วนของประโยคที่เขียนผิดไวยากรณ์

2.3.3 เรียงลำดบั คำใหถ้ กู ต้อง

92

2.3.4 เขียนประโยคใหม่โดยให้คงความหมายเดิม โดยขึ้นต้นประโยคด้วยคำที่
กำหนดให้ นอกจากนี้อาจทดสอบโดยให้เขียนประโยคใหม่โดยคงความหมายเดิมไว้โดยใช้คำท่ี
กำหนดให้แทนคำทีม่ ีความหมายตรงกนั ในประโยค

การทดสอบความสามารถในการสื่อสารมี 2 ลักษณะ โดยลักษณะแรกเป็นการทดสอบ
ความสามารถทางภาษาแบบรวม เป็นแบบทดสอบที่ต้องการให้ผู้เรียนแสดงออกมากกว่าหนึ่งทักษ ะ
เพื่อวัดความสามารถในการใช้ทักษะสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ การประเมินอาจทำโดยใช้
การสงั เกตพฤตกิ รรมการใช้ภาษาเพ่ือประเมนิ ผลตามสภาพความสามารถทแ่ี สดงออกจรงิ หรือประเมิน
ด้วยแบบทดสอบก็ได้และลักษณะที่สองคือแบบทดสอบความสามารถทางภาษาจุดย่อยเป็น
แบบทดสอบที่วัดองค์ประกอบย่อยของภาษา เช่น เสียง ศัพท์ โครงสร้าง หรือทักษะต่าง ๆ ซึ่งแยก
ออกเป็นทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตามองค์ประกอบของภาษาหรือตามทักษะที่
ตอ้ งการวัด ทั้งนีข้ ้ึนอยกู่ ับวัตถปุ ระสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสำคญั

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞


Click to View FlipBook Version