The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

bookking17

bookking17

พอ่ตามรอย

ชีวติ พอเพยี ง...สกู่ ารพัฒนาที่ยง่ั ยนื

ดร.จริ ายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ดร.ปรยี านุช ธรรมปยิ า



พอ่ตามรอย

ชีวิตพอเพยี ง...สูก่ ารพฒั นาทีย่ ่งั ยนื

โดย ดร.จริ ายุ อิศรางกรู ณ อยุธยา
ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา

สารบัญ

ง ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
๒ หลกั พอเพียง

คอื หลกั พัฒนาคนให้มีคุณภาพ เพือ่ การพฒั นาที่ยงั่ ยนื

๑๐ ชวี ติ พอเพยี ง

คือ ชีวิตทก่ี ้าวหนา้ ไปพรอ้ มกบั ความสมดลุ

๒๔ ตามรอยพอ่

เพ่อื ประโยชนส์ ว่ นรวม และความสขุ ทีย่ ่งั ยนื

๓๒ พัฒนาคุณภาพคน ใหม้ ีคุณธรรมกำ�กับความรู้

คือ หัวใจของหลกั พอเพียง

๔๒ บรรณานกุ รม



เศรษฐกจิ พอเพียง แปลวา่ Sufficiency Economy
.....ค�ำ ว่า Sufficiency Economy นี้ ไมม่ ใี นต�ำ ราเศรษฐกิจ.

จะมไี ดอ้ ย่างไร เพราะวา่ เปน็ ทฤษฎใี หม่
...Sufficiency Economy นัน้ ไมม่ ใี นตำ�รา
เพราะหมายความวา่ เรามีความคิดใหม.่ .....
และโดยทีท่ ่านผ้เู ชยี่ วชาญสนใจ กห็ มายความวา่
เรากส็ ามารถทจี่ ะไปปรบั ปรุง หรือไปใช้หลักการ
เพ่ือทจ่ี ะให้เศรษฐกจิ ของประเทศและของโลกพัฒนาดขี ้นึ .



พระราชด�ำ รสั เน่อื งในโอกาสวนั เฉลิมพระชนมพรรษา :
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒



ฆ ตามรอยพ่อ ชีวติ พอเพยี ง ...สูก่ ารพัฒนาทยี่ งั่ ยนื

เศรษฐกิจพอเพยี ง

เศรษฐกจิ พอเพยี ง เป็นปรชั ญาทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั
ทรงมีพระราชด�ำ รสั ชี้แนะแนวทางการดำ�เนินชีวติ
แก่พสกนิกรชาวไทย มาโดยตลอดนานกวา่ ๓๐ ปี
ต้ังแตก่ อ่ นเกดิ วกิ ฤตกิ ารณท์ างเศรษฐกจิ
และเม่ือภายหลังได้ทรงเน้นยาํ้ แนวทางการแกไ้ ข
เพื่อใหร้ อดพ้น และสามารถดำ�รงอยูไ่ ด้อย่างมนั่ คงและยงั่ ยนื
ภายใตก้ ระแสโลกาภวิ ตั นแ์ ละความเปล่ยี นแปลงตา่ งๆ

ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพยี ง ...สู่การพฒั นาทีย่ ัง่ ยืน ง

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง *

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำ�รงอยู่และปฏิบัติตน
ของประชาชนในทุกระดับ ต้ังแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึง
ระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำ�เนินไปใน
ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลก
ยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมี
เหตผุ ล รวมถงึ ความจ�ำ เปน็ ทจี่ ะตอ้ งมรี ะบบภมู คิ มุ้ กนั ในตวั ทดี่ พี อสมควร
ตอ่ การมผี ลกระทบใดๆ อนั เกิดจากการเปล่ียนแปลงทัง้ ภายนอก และ
ภายในทง้ั นจี้ ะตอ้ งอาศยั ความรอบรู้ความรอบคอบและความระมดั ระวงั
อยา่ งยงิ่ ในการน�ำ วชิ าการตา่ งๆ มาใชใ้ นการวางแผนและการด�ำ เนนิ การ
ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพ้ืนฐานจิตใจของคน
ในชาติ โดยเฉพาะเจา้ หนา้ ทขี่ องรฐั นกั ทฤษฎี และนกั ธรุ กจิ ในทกุ ระดบั
ให้มีสำ�นึกในคุณธรรม ความซ่ือสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่
เหมาะสม ด�ำ เนินชวี ติ ด้วยความอดทน ความเพยี ร มสี ติ ปัญญา และ
ความรอบคอบ เพื่อใหส้ มดุลและพร้อมตอ่ การรองรบั การเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม ส่ิงแวดล้อม และ
วฒั นธรรมจากโลกภายนอก ไดเ้ ป็นอยา่ งดี

* ประมวลและกล่ันกรอง จากพระราชด�ำ รัสของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัว เรอื่ งเศรษฐกจิ พอเพียง ซ่งึ พระราชทาน
ในวโรกาสต่างๆ รวมทงั้ พระราชดำ�รสั อนื่ ๆ ทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง โดยไดร้ ับพระราชทานพระบรมราชานุญาตใหน้ �ำ ไปเผยแพร่
เมื่อวนั ที่ ๒๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๒ เพื่อเปน็ แนวทางปฏิบัตขิ องทุกฝ่ายและประชาชนโดยท่วั ไป

จ ตามรอยพ่อ ชวี ิตพอเพียง ...สู่การพฒั นาท่ยี ัง่ ยืน

SUFFICIENCY ECONOMY
Sufficiency Economy is a philosophy bestowed by
His Majesty the King to his subjects through royal remarks
on many occasions over the past three decades.
The philosophy provides guidance on appropriate
conduct covering numerous aspects of life.
After the economic crisis in 1997, His Majesty reiterated
and expanded on the “Sufficiency Economy” in remarks
made in December 1997 and 1998.
The philosophy points the way for recovery that will
lead to a more resilient and sustainable economy,
better able to meet the challenges arising from
globalization and other changes.

ตามรอยพ่อ ชวี ิตพอเพียง ...สกู่ ารพัฒนาที่ย่ังยนื ฉ

PHILOSOPHY OF THE “SUFFICIENCY ECONOMY” *
Sufficiency Economy is a philosophy that stresses the middle
path as an overriding principle for appropriate conduct by the
populace at all levels. This applies to conduct starting from
the level of the families, communities, as well as the level of
nation in development and administration so as to modernize
in line with the forces of globalization. “Sufficiency” means
moderation, reasonableness, and the need of self-immunity
for sufficient protection from impact arising from internal
and external changes. To achieve this, an application of
knowledge with due consideration and prudence is essential.
In particular great care is needed in the utilization of theories
and methodologies for planning and implementation in every
step. At the same time, it is essential to strengthen the moral
fibre of the nation, so that everyone, particularly public officials,
academic, businessmen at all levels, adheres first and foremost
to the principle of honesty and integrity. In addition, a way of
life based on patience, perseverance, diligence, wisdom and
prudence is indispensable to create balance and be able to
cope appropriately with critical challenges arising from extensive
and rapid socioeconomic, environmental, and cultural changes
in the world.

* Unofficial translation. A working definition compiled from remarks made by His Majesty the King on
various occasions and approved by His Majesty and sent by His Majesty’s Principal Private Secretary
to the NESDB on November 29, 1999

ช ตามรอยพอ่ ชวี ิตพอเพียง ...สกู่ ารพฒั นาที่ยงั่ ยนื

“ ...คนเราถา้ พอในความต้องการ ก็มคี วามโลภนอ้ ย

เม่ือมีความโลภน้อย ก็เบยี ดเบยี นคนอนื่ น้อย.
ถ้าทกุ ประเทศมคี วามคดิ - อันน้ีไมใ่ ชเ่ ศรษฐกิจ -
มีความคดิ ว่าทำ�อะไรต้องพอเพียง หมายความว่า
พอประมาณ ไมส่ ดุ โต่ง ไมโ่ ลภอย่างมาก คนเรากอ็ ยเู่ ป็นสุข.
พอเพียงน้ีอาจจะมีมาก อาจจะมีของหรหู ราก็ได้
แตว่ ่าตอ้ งไม่ไปเบียดเบียนคนอ่นื .
ตอ้ งใหพ้ อประมาณตามอตั ภาพ

”พูดจาก็พอเพียง ท�ำ อะไรก็พอเพยี ง ปฏบิ ัตติ นกพ็ อเพียง....

พระราชด�ำ รสั เน่อื งในโอกาสวันเฉลมิ พระชนมพรรษา :
๔ ธนั วาคม ๒๕๔๑

ตามรอยพอ่ ชีวติ พอเพยี ง ...ส่กู ารพฒั นาที่ย่งั ยนื ซ

สรุปปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุ / สงั คม / สง่ิ แวดลอ้ ม / วฒั นธรรม
สมดุล และพร้อมรบั ต่อการเปลี่ยนแปลง

น�ำ สู่

ทางสายกลาง ww พอเพยี ง

พอประมาณ
ò

มีเหตผุ ล มีภูมิคมุ้ กนั ในตวั ท่ีดี

เงื่อนไขความรู้ เง่อื นไขคณุ ธรรม

รอบรู้ รอบคอบ ระมดั ระวัง ซอื่ สัตย์สจุ ริต ขยันอดทน
เพยี ร สตปิ ญั ญา

ฌ ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียง ...สู่การพฒั นาทีย่ งั่ ยืน

“ ...การพัฒนาประเทศจ�ำ เปน็ ตอ้ งทำ�ตามลำ�ดับขน้ั

ตอ้ งสร้างพื้นฐาน คอื ความพอมี พอกนิ พอใช้
ของประชาชนส่วนใหญ่เปน็ เบอ้ื งต้นก่อน
โดยใช้วิธีการและใชอ้ ุปกรณ์ทป่ี ระหยัด แตถ่ กู ตอ้ งตามหลักวิชา
เม่ือได้พ้ืนฐานม่นั คงพร้อมพอควรและปฏบิ ัติไดแ้ ลว้
จงึ ค่อยสรา้ งคอ่ ยเสริมความเจริญ

”และฐานะเศรษฐกิจข้ันทส่ี ูงข้ึนโดยล�ำ ดบั ตอ่ ไป...

พระบรมราโชวาทในพธิ ีพระราชทานปรญิ ญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ :
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗

ตามรอยพอ่ ชวี ิตพอเพียง ...สกู่ ารพฒั นาที่ย่ังยนื 1

ตามรอยพอ่ *

ชีวติ พอเพยี ง...สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

* บทความน้ี น�ำ เสนอครั้งแรกในการสัมมนา เรอื่ ง “เศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้ :
จากงานวิจัยขยายผลสู่ชุมชน” จัดโดย สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในวัน
พฤหสั บดีที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๒ ณ โรงแรมรอยลั แม่โขง อำ�เภอเมอื ง จงั หวัดหนองคาย

2 ตามรอยพอ่ ชีวติ พอเพียง ...ส่กู ารพัฒนาทีย่ ่งั ยืน

๑ หลักพอเพยี ง

คอื หลกั พัฒนาคนใหม้ ีคุณภาพ เพอื่ การพฒั นาที่ยั่งยืน

นั บเป็นเวลากว่าสามทศวรรษแล้วท่ีคำ�ว่า “การพัฒนาท่ีย่ังยืน

(Sustainable Development)” ไดถ้ กู น�ำ มาใชอ้ ยา่ งกวา้ งขวาง
เพื่ออธิบายความหมายเกี่ยวกับอนาคตของสังคมมนุษย์ และโลกท่ี
มนษุ ยอ์ าศยั อยู่รว่ มกนั แต่แม้ในปจั จุบนั กย็ งั คงมีความพยายามอยา่ ง
ต่อเนื่องท่ีจะหาแนวทางและกลไก วิธีการดำ�เนินการ เพื่อให้เกิดการ
ขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน และเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
สาเหตสุ �ำ คญั ประการหนง่ึ อาจเปน็ เพราะสงั คมโดยรวม ยงั ไมส่ ามารถ
มองทะลุให้เห็นถึงเหตุและปัจจัยสำ�คัญ ท่ีจะทำ�ให้ทุกภาคส่วน
ร่วมมือกัน ในการปรับเปลี่ยนวิถีการพัฒนา ที่จะนำ�ไปสู่ความย่ังยืน
ได้อย่างจริงจัง ทำ�ให้เร่ืองนี้เป็นประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ที่นักวิชาการ
และนกั พฒั นาทัว่ โลกยงั ขบคิด หารอื เสวนากันวา่ จะทำ�ใหก้ ารพัฒนา
ทย่ี ่งั ยนื เกิดข้นึ จริงๆ ได้อยา่ งไร
แนวคิดเรอ่ื งการพัฒนาทย่ี งั่ ยืน ได้แปรเปลีย่ นมาจากค�ำ นยิ าม
ของ World Commission on Environment and Development
(๑๙๘๓) ซ่ึงไดเ้ สนอแนะวา่ “การพฒั นาที่ยั่งยนื คอื รปู แบบของการ

หลกั พอเพียง คอื หลกั พฒั นาคนใหม้ ีคณุ ภาพ เพอื่ การพัฒนาท่ียั่งยนื 3

พฒั นา ทต่ี อบสนองตอ่ ความตอ้ งการของคนในรนุ่ ปจั จบุ นั โดยไมท่ �ำ ให้
คนรนุ่ ตอ่ ไปในอนาคต ต้องประนีประนอม ยอมลดทอนความสามารถ
ในการท่ีจะตอบสนองความตอ้ งการของตนเอง”
สำ�หรับประเทศไทยน้ัน ได้นำ�เสนอคำ�นิยามของการพัฒนา
ท่ียั่งยืนจากมุมมองของประเทศไทย ในการประชุมสุดยอดของโลก
วา่ ดว้ ยการพฒั นาทย่ี ง่ั ยนื ณ นครโจฮนั เนสเบอรก์ ประเทศแอฟรกิ าใต้
เมอ่ื เดอื นกนั ยายน ๒๕๔๕ วา่ “การพฒั นาทยี่ ง่ั ยนื ในบรบิ ทไทย เปน็ การ
พัฒนาท่ีต้องคำ�นึงถึงความเป็นองค์รวมของทุกๆ ด้าน อย่างสมดุล

4 ตามรอยพอ่ ชวี ติ พอเพียง ...สกู่ ารพฒั นาทีย่ ั่งยืน

บนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย
ดว้ ยการมสี ว่ นรว่ มของประชาชนทุกกลุ่ม ดว้ ยความเอ้อื อาทร เคารพ
ซ่งึ กันและกัน เพื่อความสามารถในการพ่งึ ตนเอง และคุณภาพชวี ิตที่
ดีอย่างเท่าเทียม” ซ่ึงเป็นข้อเสนอที่มีพ้ืนฐานมาจากหลัก “ปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามพระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จ
พระเจา้ อยู่หวั ภมู ิพลอดลุ ยเดช รัชกาลปัจจบุ นั ทีร่ ฐั บาลได้อัญเชญิ มา
เปน็ กรอบทศิ ทางการพฒั นาและบรหิ ารประเทศ ตงั้ แตป่ ี ๒๕๔๕ จนถงึ
ปัจจบุ นั โดยใหค้ วามส�ำ คญั กับการพัฒนาท่ีสมดุล ทัง้ ด้านวตั ถุ สังคม
สง่ิ แวดลอ้ ม และวฒั นธรรม เพอ่ื ใหป้ ระเทศรอดพน้ จากวกิ ฤต สามารถ
ด�ำ รงอยไู่ ดอ้ ย่างมน่ั คง และนำ�ไปส่กู ารพัฒนาที่มีคุณภาพ และย่ังยืน

หลกั พอเพยี ง คือ หลกั พัฒนาคนให้มคี ุณภาพ เพอื่ การพัฒนาท่ีย่ังยืน 5

ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เกิดขึน้ ในชว่ งเวลาที่ชาวโลก
ทง้ั นกั วชิ าการ และนกั พฒั นา ก�ำ ลงั ปรกึ ษา หารอื ถกเถยี งกนั เกย่ี วกบั
การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาท่ีจะนำ�ไปสู่ความยั่งยืน โดย
จดุ เดน่ ของหลกั ปรัชญาฯ ท่ีเพิ่มวิสัยทัศน์ มมุ มองใหม่ ทจี่ ำ�เปน็ ในการ
ทำ�ให้เกดิ วถิ กี ารพฒั นามงุ่ สูค่ วามยง่ั ยืนมี ๔ ประการ คือ
(๑) การใหค้ วามส�ำ คญั กบั การพฒั นาทส่ี มดลุ โดยเสนอแนวทาง
ในการตดั สินใจเกี่ยวกบั การใช้ทรัพยากรเพ่ือการพัฒนา ที่สามารถน�ำ
มาใช้ได้ ทั้งในระดับบคุ คล องคก์ ร หนว่ ยงาน ตลอดไปจนถึงรฐั บาล
ต้ังแต่การใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างสมดุล ท้ังทรัพยากรทาง
กายภาพ ทเ่ี ปน็ วตั ถุ เงนิ ทนุ ระบบนเิ วศวทิ ยาตา่ งๆ ไปจนถงึ ทรพั ยากร
ทางสงั คม วฒั นธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นอยู่ ค่านยิ ม
และการกำ�หนดเป้าหมายการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าไปพร้อมกับ
ความสมดุล ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลง (Dynamic balance)
มากกว่า การท่ีจะมุ่งขยายการเจริญเติบโตให้มากขึ้น เพียงมิติเดียว
ดังทีเ่ คยดำ�เนินมาในอดีต
(๒) การให้ความสำ�คัญกับเป้าหมายของกิจกรรมพัฒนา
ที่มุ่งเน้น ประโยชน์ส่วนรวม เน่ืองจากลักษณะการมองโลกอย่างเป็น
องค์รวมของปรัชญาฯ จึงให้ความสำ�คัญกับความเชื่อมโยงสัมพันธ์
ของมนุษย์กบั สรรพส่ิง (คนกับวัตถุ / คนกบั คน / คนกับธรรมชาติ /
และคนรุ่นต่างๆ ที่สืบทอดชนชาติต่อๆ กันมา) จากมุมมององค์รวม
ดังกล่าว ทำ�ให้ปรัชญาฯ นี้ มองว่า การกระทำ�ของแต่ละบุคคล
ในท่ีสุดแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้อื่นและสังคมส่วนรวม ไม่ช้าก็เร็ว
และไม่มากก็น้อย ฉะนั้น แต่ละคนจึงควรใส่ใจที่จะกำ�หนดเป้าหมาย
ย่อยส่วนบุคคล ในทิศทางท่ีสอดคล้องกับเป้าหมายท่ีเป็นประโยชน์
ส่วนรวม และในขั้นปฏิบัติ แต่ละบุคคลควรดำ�เนินภารกิจตนให้ดี
ทส่ี ดุ เพอื่ บรรลเุ ปา้ หมายนน้ั ๆ ภายใตบ้ รบิ ทและขอ้ จ�ำ กดั ของแตล่ ะคน

6 ตามรอยพ่อ ชวี ติ พอเพียง ...ส่กู ารพัฒนาท่ีย่ังยืน

(Think global, act local.) เพื่อใหเ้ กดิ ท้งั ประโยชน์ตนและประโยชน์
สว่ นรวมไปพรอ้ มๆ กนั
(๓) การให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาที่ก้าวหน้าไปอย่างม่ันคง
โดยเรมิ่ จากการพฒั นาฐานรากของสงั คม (Foundation) คอื การสรา้ ง
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับครอบครัวให้เข้มแข็ง พออยู่พอกิน
สามารถพง่ึ ตนเองไดร้ ะดบั หนง่ึ กอ่ น แลว้ จงึ เพมิ่ ระดบั การพฒั นาอยา่ ง
เป็นข้ันเป็นตอน (step-by-step development) เช่น การพัฒนา
กลุ่มอาชีพ การจัดการระบบการออม และสวัสดิการชุมชนต่างๆ
ไปจนถงึ การพฒั นาในระดบั เครอื ขา่ ย ทข่ี ยายสสู่ งั คมและประเทศชาติ
ในทสี่ ดุ ซง่ึ การพฒั นาอยา่ งเปน็ ขน้ั ตอนโดยเรม่ิ จากฐานรากน้ี จะท�ำ ให้
ผลพวงทีเ่ กดิ จากการพฒั นาตกถงึ แกป่ ระชาชนสว่ นใหญโ่ ดยตรง และ
เปน็ แนวทางการพฒั นาทไ่ี ม่เสย่ี งตอ่ การเกิดวกิ ฤต ลม้ ละลายทงั้ ระบบ
อยา่ งที่เคยเกิดข้นึ ในหลายๆ ประเทศ
(๔) การใหค้ วามส�ำ คญั กบั การพฒั นาคนใหม้ คี ณุ ภาพ (Quality
of people) โดยเฉพาะอย่างย่ิง ให้มี คุณธรรมกำ�กับความรู้ ในการ
ดำ�เนินชีวิต จึงจะสามารถทำ�ให้เกิดวิถีการพัฒนาสู่ความยั่งยืนได้
เพราะคนที่มีคุณภาพจะสามารถใช้สติ ปัญญา ในทางท่ีถูกต้อง
เป็นเหตุเป็นผล และใส่ใจ เรียนรู้ คิดค้น ปรับปรุง วิธีการ แนวทาง
ในการจัดการทรพั ยากรตา่ งๆ ให้เหมาะสม สมดลุ และปอ้ งกัน แก้ไข
ข้อบกพร่อง เพ่อื ให้เกิดผลดีขึ้นเร่อื ยๆ ท้งั ต่อตนเองและสังคมโดยรวม
ในขณะเดยี วกัน ซงึ่ ในทีส่ ุดก็จะน�ำ ไปสู่ การพัฒนาทยี่ งั่ ยนื น่ันเอง
หลงั จากภาวะวกิ ฤตเศรษฐกจิ ๒๕๔๐ ประเทศไทยได้บทเรยี น
ท่ีมีผลมาจากการพัฒนาท่ีไม่สมดุล และขาดเสถียรภาพ ขาดความ
ใส่ใจในการพัฒนาคุณภาพคนในทุกระดับอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
จนสภาวะวกิ ฤตสง่ ผลกระทบตอ่ ความเปน็ อยขู่ องประชาชนในวงกวา้ ง
จากบทเรยี นในครง้ั นนั้ รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช

หลักพอเพยี ง คอื หลักพัฒนาคนให้มคี ุณภาพ เพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืน 7

๒๕๕๐ จึงได้กำ�หนดให้รัฐบาลต้องบริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไป
เพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่าง
ย่ังยืน โดยต้องส่งเสริมการดำ�เนินการตามปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง และคำ�นึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็น
สำ�คญั (มาตรา ๗๘ วรรค ๑) รวมถงึ รฐั ต้องสง่ เสริมและสนับสนุนให้
มีการด�ำ เนินการตามแนวปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง (มาตรา ๘๓)
ในปัจจุบัน หน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชน ชุมชน
สถานศึกษา ประชาชนทั่วไป ฯลฯ ได้เริ่มน้อมนำ�หลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ดำ�เนินธุรกิจ พัฒนา
อาชพี และด�ำ เนินชวี ติ กันอยา่ งกว้างขวาง

8 ตามรอยพอ่ ชีวิตพอเพยี ง ...สูก่ ารพฒั นาทยี่ ่ังยนื

และไม่ใช่แต่เฉพาะชาวไทยเท่าน้ัน ท่ีควรยึดหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงในการดำ�เนนิ ชวี ติ หรือในการพัฒนาชมุ ชน สงั คม และ
ประเทศชาติ ชาวโลกทุกคนก็สามารถใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง เพื่อทำ�ให้เกิดประโยชน์และความสุข ในการดำ�เนินชีวิตได้
เช่นเดียวกัน ดังคำ�กล่าวประกาศราชสดุดีของ นายโคฟี อันนัน อดีต
เลขาธกิ ารสหประชาชาติ ในคร้ังทที่ ูลเกลา้ ฯ ถวายรางวัล “ความส�ำ เรจ็
สงู สดุ ด้านการพัฒนามนุษย”์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั เมอ่ื วนั ท่ี
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ณ พระราชวงั ไกลกงั วล อำ�เภอหวั หนิ จังหวัด
ประจวบครี ขี ันธ์ ความตอนหนึ่งว่า
“...ด้วยพระปรีชาสามารถในการเป็นนักคิดของใต้ฝ่าละออง
ธุลีพระบาท ทำ�ให้นานาประเทศตื่นตัวในการปรับรูปแบบการพัฒนา
อย่างยั่งยืน ตามแนวทางพระราชปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่ช้ีถึง
แนวทางการพัฒนาท่ีเน้นความพอประมาณ การบริโภคด้วยสำ�นึกใน
คุณธรรม ความรับผิดชอบอย่างเป็นเหตุเป็นผล และการมีภูมิคุ้มกันใน
ตัวที่ดี พอที่จะต้านทาน และลดผลกระทบจากการเปลย่ี นแปลงต่างๆ ซงึ่

หลักพอเพยี ง คอื หลกั พฒั นาคนให้มีคณุ ภาพ เพ่อื การพฒั นาทยี่ ั่งยนื 9

พระราชปรชั ญานเ้ี ปน็ คณุ ปู การยง่ิ ตอ่
การพฒั นาในยคุ ปจั จบุ นั ทปี่ ระสบกบั
การเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว จาก
กระแสโลกาภวิ ตั น์ และดว้ ยพระราช
ปรัชญาดังกล่าวน้ี สหประชาชาติ
จึงมุ่งเน้นเพียรพยายาม ที่จะ
ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาท่ีให้
ความสำ�คัญต่อคนและความอยู่ดี
มีสุขของประชาชนอย่างยั่งยืน เป็น
ศูนย์กลางของการพฒั นา
รางวัลความสำ�เร็จสูงสุดด้าน
การพัฒนามนุษย์น้ี ข้าพระพุทธเจ้า
ท้ังหลายมีปณิธานท่ีจะส่งเสริมประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติ ในการ
นำ�ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันทรงคุณค่าอย่างหาที่สุดมิได้ของ
พระองคท์ า่ น มาชว่ ยจดุ ประกายแนวความคดิ สนู่ านาประเทศ ในโอกาสน้ี
ข้าพระพุทธเจ้ามีความปลื้มปีติและภาคภูมิใจ ทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัล
ความสำ�เร็จสงู สุดด้านการพฒั นามนษุ ย์ แด่ใต้ฝ่าละอองธลุ ีพระบาท”
บทความนี้ จะกล่าวถึงคุณลักษณะเด่นของปรชั ญาของเศรษฐกิจ
พอเพยี ง ในการน�ำ มาประยกุ ตใ์ ช้ เพอ่ื พฒั นาตนเอง ชมุ ชน สงั คม ประเทศ
ชาติ ให้เกิดผลอย่างยั่งยืน โดยเน้นท่ี การพัฒนาท่ีสมดุล การพัฒนา
ท่ีก้าวหน้าไปอย่างม่ันคง โดยเร่ิมจากฐานราก อย่างเป็นข้ันเป็นตอน
การกำ�หนดเป้าหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และการพัฒนาคุณภาพคน
ใหม้ คี ณุ ธรรมก�ำ กบั ความรใู้ นการด�ำ เนนิ ชวี ติ เพอื่ ใหส้ ามารถอมุ้ ชตู วั เองได้
อย่างเต็มภาคภูมิ ซ่ึงท้ังหมดน้ีเป็นหัวใจหลักของการใช้ชีวิตพอเพียง
ตามรอยพ่อ

10 ตามรอยพ่อ ชวี ติ พอเพยี ง ...สกู่ ารพัฒนาทย่ี ่งั ยนื

๒ ชีวติ พอเพียง
คอื ชวี ติ ทกี่ ้าวหนา้ ไปพรอ้ มกบั ความสมดลุ

ป รัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาในการดำ�เนินชีวิต

ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำ�รัสชี้แนะ
แกพ่ สกนกิ รชาวไทยมาโดยตลอดนานกวา่ ๓๐ ปี ดว้ ยสายพระเนตรท่ี
ยาวไกล และลกึ ซง้ึ ยง่ิ กวา่ นกั พฒั นา หรอื นกั วชิ าการใดๆ จะมสี ตปิ ญั ญา
เสมอเหมือนได้ ดังพระบรมราโชวาทและพระราชดำ�รัสของพระองค์
นบั ตง้ั แตป่ ี ๒๕๑๖ เปน็ ตน้ มา ทไ่ี ดท้ รงเนน้ ยา้ํ แนวทางการแกไ้ ขปญั หา
ตา่ งๆ เพอื่ ใหร้ อดพน้ วกิ ฤต และแนวทางการพฒั นาใหก้ า้ วหนา้ ไปอยา่ ง
เปน็ ขนั้ ตอน บนหลกั แนวคดิ พง่ึ ตนเอง มคี ณุ ธรรมก�ำ กบั ความรู้ เพอ่ื ให้
คนสว่ นใหญ่ พออยู่ พอกนิ พอมี พอใช้ และทำ�ใหส้ งั คมเจริญก้าวหนา้
ไปอย่างสมดุล ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ท่ีมากับการเปล่ียนแปลงใน
รูปแบบต่างๆ

ชวี ิตพอเพียง คอื ชีวิตที่ก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุล 11

เศรษฐกจิ พอเพยี ง เปน็ ทง้ั หลกั คดิ และแนวทางปฏบิ ตั ติ นของ
แตล่ ะบคุ คล และองค์กรในทกุ ระดบั โดยคำ�นึงถึง ๓ หลักการ ไดแ้ ก่
(๑) ความพอประมาณกับศักยภาพของตนเองและสภาวะแวดล้อม
ตามความเป็นจริง (๒) ความมีเหตุมผี ลบนพน้ื ฐานความถูกต้อง และ
(๓) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง คือ ไม่ประมาทในการดำ�เนินชีวิต
ที่ต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตลอดเวลา และการที่จะ
คิด พดู ทำ� อยา่ งพอเพียงได้นัน้ จ�ำ เปน็ จะต้องใชค้ วามรู้ตา่ งๆ อย่าง
ถูกหลักวิชาการ ด้วยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ควบคู่
ไปกับการมีคุณธรรมเป็นพน้ื ฐานของจิตใจ และการดำ�เนินชีวิต คอื
สามารถรู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ละอายที่จะทำ�ความช่ัว เกรงกลัว
ตอ่ ผลจากการกระท�ำ ทไี่ มถ่ กู ตอ้ งตามท�ำ นองคลองธรรม ใชส้ ติ ปญั ญา

12 ตามรอยพอ่ ชีวติ พอเพยี ง ...สกู่ ารพัฒนาท่ยี ั่งยืน

พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ในการทำ�อะไรที่ไมเ่ บยี ดเบียน หรือ
กอ่ โทษใหเ้ กดิ กบั ผอู้ น่ื หรอื สงั คม เหน็ คณุ คา่ ของการแบง่ ปนั ชว่ ยเหลอื
เออื้ เฟอ้ื เผ่อื แผ่ แก่ผู้อ่ืนและชีวติ อืน่ ๆ เหน็ ความส�ำ คัญของการร่วมมือ
ปรองดองกันในสังคม ซ่ึงจะช่วยเสริมสร้างสายใยเชื่อมโยงคนในภาค
สว่ นตา่ งๆ ของสงั คมใหม้ คี วามสามคั คี มคี วามเพยี รทจี่ ะรว่ มสรา้ งสรรค์
พลังในทางบวก อันจะนำ�ไปสู่ความเจริญก้าวหน้าที่สมดุลและยั่งยืน
พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ว่า
จะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุ เศรษฐกิจ ด้านสังคม ชุมชน
ด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม ประเพณี
คา่ นยิ ม ต่างๆ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ หลักพอเพียง เป็น
หลักการดำ�เนินชีวิตตามแนวทางสายกลาง ที่ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้าง
หนง่ึ เปน็ วธิ กี ารทเ่ี นน้ การรกั ษาความสมดลุ ในการปฏบิ ตั ภิ ารกจิ ตา่ งๆ
บนพน้ื ฐานของความเป็นจรงิ ความถูกตอ้ งอยา่ งเปน็ เหตเุ ป็นผล และ
ไม่ประมาท ไม่เสี่ยง เป็นหลักการที่สอดคล้องกับ วิถีชีวิตด้ังเดิมของ
สงั คมไทย ซง่ึ มพี น้ื ฐานตง้ั อยบู่ นค�ำ สง่ั สอนในพระพทุ ธศาสนา อนั เปน็
คำ�สอนท่ีเป็นสากล ทันสมัยตลอดเวลา เพราะเป็นคำ�สอนให้มนุษย์
สามารถนำ�ไปปฏิบัติ เพื่อใหเ้ ปน็ มนุษย์ทส่ี มบูรณ์ และนำ�ไปประยกุ ต์
ใช้ไดท้ ุกยคุ ทกุ สมยั แม้ในยุคปัจจุบนั ในการปฏิบัติตน ในทุกมิตชิ ีวิต
ทุกภาคส่วน และทุกด้านของการพัฒนา เพ่ือสังคมส่วนรวมจะได้อยู่
ร่วมกนั อยา่ งสันติสขุ และเจริญกา้ วหน้าไปอยา่ งม่นั คง และยงั่ ยืน
การใช้ชีวิตตามหลักพอเพียง หรือ ชีวิตพอเพียง น้ัน หากมี
ความเข้าใจองคป์ ระกอบพ้ืนฐานของหลกั ปรัชญาฯ อย่างถูกต้อง และ
ชัดเจน กจ็ ะสามารถน�ำ ไปปรบั ใชไ้ ด้ ในสถานการณต์ ่างๆ เพอื่ ใหเ้ กิด
ประโยชน์ และความสขุ ได้

ชวี ิตพอเพียง คอื ชวี ติ ท่ีกา้ วหน้าไปพร้อมกับความสมดลุ 13

๒.๑ ความพอเพยี งของทรัพยากรดา้ นต่างๆ
ในการพฒั นาส่คู วามยั่งยืน
ในขณะท่ี หลักเศรษฐศาสตร์ หรือทฤษฎีการพัฒนาท่ัวไป
ให้ความสำ�คัญกับทุน (Capital) ทรัพยากรมนุษย์ (Labour) และ
เทคโนโลยี (Technology) ในการเป็นปัจจัยสำ�คัญในการผลิต และ
บรกิ าร เพอื่ ใหเ้ กดิ การพฒั นาทางเศรษฐกจิ และในชว่ งทศวรรษ ๒๕๒๐
นักพัฒนาและนักวิชาการ ก็ได้เพ่ิม ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural
resources) เข้าไปเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งของปัจจัยการผลิต ซ่ึง
เปน็ ผลมาจากกระแสความสนใจ การพฒั นาทย่ี ง่ั ยนื ในโลก และตอ่ มา
หลังจากท่ีธนาคารโลก ได้ให้ความสนใจพิเศษในเร่ีอง ทุนทางสังคม
(Social capital) โดยได้รับอิทธิพลทางความคิดจากบทความที่มี
ชื่อเสียงของ Robert D. Putnum (๑๙๙๕) ปัจจัยทางด้านสังคม
กเ็ ปน็ อีกหนงึ่ องคป์ ระกอบทีว่ งการพัฒนา ให้ความส�ำ คัญ
กรอบแนวคดิ ภายใตห้ ลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ไดเ้ พม่ิ
อีกปัจจัยหน่ึง คือ ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม เพ่ือให้วงการพัฒนาได้
ตระหนกั ถงึ ความส�ำ คญั โดยเนน้ การพฒั นาทตี่ อ้ งค�ำ นงึ ถงึ องคป์ ระกอบ
ใน ๔ ดา้ น ได้แก่ วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวฒั นธรรม อยา่ งเปน็
องคร์ วม คอื ไมแ่ ยกสว่ น แตเ่ ชอ่ื มโยง สมั พนั ธก์ นั อยา่ งเปน็ เหตเุ ปน็ ผล
ตามหลักอทิ ัปปจั จยตาของพระพทุ ธศาสนา องค์ประกอบ ท้งั ๔ ดา้ น
เปน็ ทงั้ ปจั จยั ทใ่ี ชใ้ นกระบวนการผลติ การบรกิ าร และในขณะเดยี วกนั
ก็เป็นปัจจัยท่ีได้รับผลกระทบจากการพัฒนา จึงกล่าวได้ว่า คนเป็น
ศูนย์กลางของการพัฒนา คือทั้งเป็นผู้กระทำ� และได้รับผลของการ
กระทำ� จากการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบเหล่านี้ รายละเอียด
ของแต่ละองคป์ ระกอบ มดี ังนี้

14 ตามรอยพอ่ ชีวติ พอเพียง ...ส่กู ารพัฒนาทยี่ ่ังยืน

(๑) วัตถุ หมายถึง วตั ถุตา่ งๆ เชงิ กายภาพ ที่มนษุ ยส์ รา้ ง หรือ
ประดษิ ฐข์ นึ้ เชน่ วตั ถดุ บิ สง่ิ ของ วสั ดุ อปุ กรณ์ เครอ่ื งใชไ้ มส้ อย อาหาร
เส้ือผ้าอาภรณ์ ทอ่ี ยอู่ าศยั ตา่ งๆ เป็นต้น ซงึ่ นอกจากจะผลติ ไวใ้ ช้เองได้
หรือใช้วิธแี ลกเปล่ียนกนั ดังเชน่ ในอดตี ในยุคปัจจบุ นั ก็สามารถซ้อื หา
มาเพื่อบริโภคได้โดยเงินทุน องค์ประกอบน้ี จึงเป็นปัจจัยท่ีเก่ียวข้อง
กับด้านเศรษฐกิจ หรือเงินทุน (ในความหมายแคบ) เป็นหลัก แต่ใน
กระบวนการผลติ วัตถตุ า่ งๆ เหลา่ น้ี ก็จำ�เปน็ ต้องอาศัยทรัพยากรด้าน
อ่นื ๆ ที่มีอยู่อย่างจ�ำ กดั เป็นปัจจยั ประกอบร่วมดว้ ย

ชีวิตพอเพยี ง คือ ชีวิตทีก่ ้าวหนา้ ไปพร้อมกับความสมดลุ 15

(๒) สงิ่ แวดล้อม รวมถึง ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ ม
ของชมุ ชน สงั คม ประเทศชาติ และโลกโดยรวม ไดแ้ ก่ ความอดุ มสมบรู ณ์
ของทรพั ยากรดิน นาํ้ ปา่ แรธ่ าตุ ความหลากหลายทางชวี ภาพ ความ
เป็นปกตขิ องภมู อิ ากาศ กระแส/ทิศทางลม คลืน่ พลังงานแสงอาทิตย์
เป็นต้น ซ่ึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติน้ี นอกจากจะเป็นปัจจัยในการ
ผลติ และบริการแลว้ ยงั เป็นสภาพแวดล้อมทสี่ �ำ คัญและจ�ำ เปน็ ในการ
ด�ำ รงชวี ติ และการด�ำ เนนิ ชวี ติ ของมนษุ ย์ และสง่ิ มชี วี ติ ทง้ั หลายบนโลก
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม จึงควรเป็น
ไปดว้ ยความเคารพและระมดั ระวงั ดว้ ยความรบั ผดิ ชอบตอ่ คนรนุ่ หลงั
ท่จี �ำ เป็นตอ้ งพง่ึ พงิ ทรพั ยากรตา่ งๆ เหล่านี้ ในการดำ�รงชีวติ เชน่ กนั
(๓) สังคม หมายถึง สภาพการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม
ความสมั พนั ธ์ของคนในสงั คม เช่น การไวเ้ นื้อเชื่อใจกนั การชว่ ยเหลอื
แบ่งปนั เอ้อื เฟื้อเผอ่ื แผ่ การมวี ินยั เคารพ กฎ เกณฑ์ ระเบยี บ กตกิ า
การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเคร่งครัด การมีกฎหมาย และระบบ
ยุติธรรม ที่เช่ือถือได้ว่าเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ การมีความ
ผูกพัน รักใคร่ สามัคคี ปรองดองของหมู่คณะและในสังคม การมี
สถาบันทางสังคมที่เข้มแข็ง เช่น ครอบครัวอบอุ่น เครือญาติสามัคคี
การจัดระบบสวัสดิการทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ทั้งเป็นทางการ
และไมเ่ ปน็ ทางการ ทพ่ี ฒั นาขน้ึ มา เพอ่ื สรา้ งภมู คิ มุ้ กนั ทด่ี ใี นยามวกิ ฤต
ใหก้ บั สมาชกิ ในสงั คม เปน็ ตน้ ซง่ึ ทง้ั หมดน้ี เปน็ องคป์ ระกอบทส่ี �ำ คญั ยง่ิ
ในการพัฒนาท่ียั่งยืน เพราะมีตัวอย่างให้เห็นอยู่มากมายในหลายๆ
ประเทศ ทง้ั ในอดตี และปจั จบุ นั วา่ ปจั จยั ทางดา้ นสงั คม เปน็ พน้ื ฐานท่ี
ส�ำ คญั ยง่ิ ในการพฒั นา เพราะการพฒั นาไมว่ า่ จะดา้ นใดๆ จะไมส่ ามารถ
ด�ำ เนนิ ไปไดด้ ว้ ยดี หรอื ราบรนื่ หรอื ไมส่ ามารถน�ำ มาซง่ึ ประโยชน์ และ
ความสุขอย่างต่อเน่ืองได้ หากสังคมอ่อนแอ พื้นฐานจิตใจของคนใน
สงั คมไม่ตั้งอยบู่ นหลักศลี ธรรม กฎหมายไม่ศกั ด์ิสิทธิ์ คนไมส่ ามคั คีกนั
เปน็ ต้น

16 ตามรอยพอ่ ชีวิตพอเพยี ง ...สู่การพฒั นาทย่ี ง่ั ยนื

(๔) วฒั นธรรม หมายถงึ วถิ กี ารด�ำ เนนิ ชวี ติ และการด�ำ รงชวี ติ
ซง่ึ รวมถงึ ความเชอ่ื ศาสนา ระบบคณุ คา่ ภมู ปิ ญั ญา การประกอบอาชพี
วัฒนธรรมการกิน อาหารพนื้ เมอื ง การอยู่ของผ้คู น การรกั ษาสขุ ภาพ
การแตง่ ตวั ขนบธรรมเนยี ม ประเพณี ศลิ ปะ การแสดง โบราณสถานตา่ งๆ
เปน็ ตน้ วฒั นธรรมมคี วามส�ำ คญั อยา่ งมากในการบง่ บอกถงึ เอกลกั ษณ์
ความเป็นตัวตน การดำ�รงอยู่ในสังคมท่ีมีความหลากหลาย อย่าง
มีศักด์ิศรี นอกจากวัฒนธรรมจะเป็นต้นทุนสำ�คัญที่เป็นเอกลักษณ์
ของแต่ละท้องถ่ิน ทั้งในการผลิต การให้บริการ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์
มีคุณลักษณะเฉพาะ (Product identity / differentiation) แล้ว
ในระยะยาว การพฒั นาที่สมดุลนน้ั ควรสอดคลอ้ งกับวถิ ีความเปน็ อยู่
ค่านิยม ความเช่ือ ของคนในท้องถิ่น แล้วจึงค่อยๆ ต่อยอดพัฒนา
ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการเปล่ียนแปลงต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อ
ไม่ให้วถิ กี ารพฒั นา สร้างความแตกแยก หรอื ความแปลกแยก ข้ึนใน
สงั คม และในขณะเดยี วกนั กม็ คี วามจ�ำ เปน็ อยา่ งยง่ิ ทตี่ อ้ งมกี ารพฒั นา
ทดี่ �ำ รงไวซ้ งึ่ วฒั นธรรม เพอ่ื คงความเปน็ เอกลกั ษณข์ องทอ้ งถนิ่ /ชมุ ชน/
ชนชาติ ไมใ่ ห้ถูกกลนื หายไป
นักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์วัฒนธรรม (ฉัตรทิพย์,
๒๕๔๒) แสดงความเห็นในเรื่องนี้โดยสรุปว่า “...สินทรัพย์ของ
ประเทศนั้น ไม่ใชส่ ง่ิ ของทีจ่ บั ต้องได้อยา่ งเดียว แต่คือ ประวัตศิ าสตร์
วัฒนธรรม คุณค่า และปัญญาของชาวไทยเรา ไทยเป็นประเทศท่ี
ร่ํารวยทางประวัติศาสตร์ มวี ัฒนธรรมอนั เกา่ แก่ อุดมด้วยนํ้าใจไมตรี
และมีขันติธรรม สืบเนื่องมายาวนาน ชุมชน และวัฒนธรรมชุมชน
คือสินทรัพย์ที่มีค่าสูงย่ิงของประเทศ คือรากฐานของเศรษฐกิจแห่ง
ชาติ...” นอกจากน้ีแล้ว ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium
Declaration) ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ตา่ งกต็ กลงกัน
ที่จะให้ความสำ�คัญต่อการให้เกียรติและเคารพวัฒนธรรมท่ีแตกต่าง

ชวี ติ พอเพยี ง คอื ชีวติ ท่กี า้ วหนา้ ไปพรอ้ มกบั ความสมดลุ 17

เน่ืองจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นสมบัติที่มีคุณค่ายิ่งของ
มนุษยชาติ (“Human beings must respect one other, in all
their diversity of belief, culture and language. Differences
within and between societies should be neither feared nor
repressed, but cherished as a precious asset of humanity.”
- United Nations, 2000.)

๒.๒ ใช้หลักพอเพียง ๓ หลกั การ
เพอื่ จดั การทรพั ยากรอย่างสมดลุ
ดังได้กล่าวในข้างต้นแล้วว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นทั้งหลักคิด และแนวทางปฏิบัติตน โดยยึด ๓ หลักการ ความ
พอประมาณ ความมเี หตมุ ผี ล และการมภี มู คิ มุ้ กนั ในตวั ทดี่ ี การบรหิ าร
จดั การทรพั ยากรทมี่ คี า่ ทง้ั ๔ ดา้ น ใหเ้ ปน็ ไปอยา่ งสมดลุ เพอื่ การพฒั นา
ที่ยัง่ ยืนน้นั กต็ อ้ งยดึ ๓ หลกั การนี้ เปน็ แนวทางในการตัดสินใจ และ
การกระทำ� ดังน้ี
(๑) ความพอประมาณ หมายถงึ การใช้ทรัพยากรที่มีอย่เู ปน็
ทนุ เดมิ ของตนเอง หรือภายในทอ้ งถิน่ ให้เกดิ ประโยชน์สงู สดุ ก่อนท่ี
จะแสวงหาทรพั ยากร แหลง่ ทนุ วตั ถดุ บิ หรอื สงิ่ ของ บรกิ ารตา่ งๆ จาก
ภายนอก จงึ จะเปน็ การใชท้ รพั ยากรอยา่ งพอเหมาะ พอควรกบั สภาวะ
ทางเศรษฐกิจ สังคม ส่ิงแวดล้อม รวมท้ังวัฒนธรรมในแต่ละท้องถ่ิน
-ภูมิสังคม-- เป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจากภายใน โดยสร้าง
ความเขม้ แขง็ ใหก้ บั ทอ้ งถน่ิ ชมุ ชน กอ่ น แลว้ จงึ คอ่ ยขยาย เชอื่ มโยงกบั
ภายนอก อย่างเปน็ ขั้นตอน ตามความจ�ำ เป็น

18 ตามรอยพอ่ ชีวิตพอเพยี ง ...สกู่ ารพัฒนาทยี่ ง่ั ยืน

ส่วนการใช้ทรัพยากรน้ัน ก็ต้องคำ�นึงถึงความจำ�เป็น สถานะ
ของตนเอง สถานการณ์แวดลอ้ มต่างๆ วา่ เหมาะสมหรอื ไม่ โดยรกั ษา
ระดับของความพอประมาณ ไม่มากเกินศักยภาพ และก็ต้องไม่น้อย
เกนิ ไปจนขาดแคลน หรอื ไมเ่ พยี งพอทจี่ ะด�ำ เนนิ การใหเ้ กดิ ประโยชนไ์ ด้
โดยการใช้อย่างมธั ยสั ถ์ รู้คุณค่า ดูแลรักษา พัฒนาตอ่ ยอด ใหเ้ พ่มิ พนู
และดีย่ิงๆ ข้ึน ซ่ึงการจะตัดสินว่าอยู่ในระดับพอประมาณน้ี จำ�เป็น
ต้องคำ�นึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ และจำ�เป็นต้องใช้ท้ัง ๔ ด้าน ตามท่ี
กลา่ วขา้ งตน้ โดยอาศยั ความรอบรู้ ความรอบคอบ ในการวางแผน และ
ตดั สินใจ และตอ้ งอยบู่ นพน้ื ฐานของคุณธรรมดว้ ย เช่น ไมเ่ บยี ดเบยี น
ตนเองและผู้อื่น ไม่ทำ�ให้สังคมเดือดร้อน และไม่ทำ�ลายธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม ต้งั มัน่ อยู่บนพ้ืนฐานความซื่อสตั ยส์ ุจรติ เปน็ ต้น

ชีวิตพอเพียง คือ ชีวิตท่ีกา้ วหน้าไปพรอ้ มกบั ความสมดลุ 19

(๒) ความมเี หตผุ ล หมายถงึ การตดั สนิ ใจด�ำ เนนิ การเรอ่ื งตา่ งๆ
อย่างมีเหตุผล บนพื้นฐานของความถูกต้อง ความเป็นจริง ตามหลัก
วิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม
ค่านิยมท่ีดีงาม โดยพจิ ารณาจากเหตปุ จั จัยที่เก่ยี วข้อง ตลอดจนคำ�นงึ
ถงึ ผลทค่ี าดวา่ จะเกดิ ขน้ึ จากการกระท�ำ นน้ั ๆ ทงั้ ในระยะสนั้ ระยะยาว
ทง้ั ต่อตนเอง ตอ่ ผู้อื่นและสว่ นรวม อยา่ งรอบคอบ
การคิดพิจารณาแยกแยะ ให้เห็นถึงความเช่ือมโยงของเหตุ
ปจั จยั ต่างๆ อย่างตอ่ เนอ่ื ง อยา่ งเปน็ ระบบ จะชว่ ยใหบ้ รรลเุ ปา้ หมาย
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อผิดพลาดน้อย และเช่นเดียวกัน การท่ี
จะวางแผน ดำ�เนนิ การ หรือจะทำ�อะไรอยา่ งสมเหตสุ มผลได้นนั้ ตอ้ ง
อาศยั ความรอบรู้ มคี วามขยนั หมน่ั เพยี ร ความอดทน ทจี่ ะจดั เกบ็ ขอ้ มลู
อย่างเปน็ ระบบ และแสวงหาความร้ทู ่ีถูกตอ้ งอย่างสม่าํ เสมอ มีความ
รอบคอบในการคดิ พจิ ารณา ตดั สนิ ใจ โดยใช้สติ ปญั ญา ดว้ ยความ
ต้งั ม่นั ของจิต ท่มี ีคุณภาพ ในทางท่ีถกู ท่ีควร
(๓) การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวท่ีดี หมายถึง การเตรียมตัวให้
พรอ้ มรบั ตอ่ ผลกระทบและการเปลย่ี นแปลงในดา้ นตา่ งๆ ไมว่ า่ จะเปน็
ด้านวัตถุ สังคม ส่ิงแวดล้อม และวัฒนธรรม เพ่ือให้สามารถปรับตัว
และรับมือได้อย่างทันท่วงที กล่าวโดยย่อ คือ การที่เห็นว่าทุกอย่าง
ไม่แน่นอน มีความเป็นไปได้ที่จะแปรปรวน ผันผวน เปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลา ฉะน้ัน การที่จะทำ�อะไรก็ตาม ต้องไม่เสี่ยง ไม่ประมาท
คดิ ถงึ ความเปน็ ไปไดข้ องสถานการณต์ า่ งๆ ทอ่ี าจจะเกดิ ขน้ึ แลว้ เตรยี ม
ตนเองและผู้ท่ีเก่ียวข้องให้มีภูมิต้านทานที่จะคุ้มกันตัวเองได้ เตรียม
วธิ กี ารท�ำ งานในรปู แบบตา่ งๆ ใหพ้ รอ้ มทจ่ี ะรบั มอื กบั การเปลย่ี นแปลง
ตา่ งๆ จะได้สามารถด�ำ เนนิ ภารกจิ ตอ่ ไปได้ โดยไมข่ ลุกขลัก ต้องหยุด
ชะงกั กลางคนั และน�ำ มาซึ่งความต่อเน่อื งของการพฒั นาในระยะยาว

20 ตามรอยพอ่ ชีวิตพอเพยี ง ...สกู่ ารพฒั นาทีย่ ั่งยนื

๒.๓ มุง่ พฒั นาใหม้ ัน่ คง เร่มิ จากสร้างฐานรากที่เข้มแขง็
และกา้ วหนา้ ไปอยา่ งเป็นขั้นเป็นตอน
เนื่องจากพื้นฐานประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
ประชากรส่วนใหญ่ต้องพ่ึงพิงการผลิตภาคเกษตรเพ่ือการดำ�รงชีวิต
เมื่อประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุคพัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึง
ทรงมีความห่วงใยเกษตรกรรายยอ่ ย ซง่ึ เปน็ คนส่วนใหญ่ของประเทศ
ว่าอาจจะถูกละเลยจากยุทธศาสตร์การพัฒนา และกลายเป็นเหย่ือ
ของการพัฒนาไปในท่ีสุด ด้วยเหตุน้ีพระองค์จึงได้ทรงทำ�การค้นคว้า
ทดลองโครงการด้านการเกษตรหลายโครงการ ในพ้ืนท่ีบริเวณรอบๆ
พระราชวังจิตรลดารโหฐาน โดยมีจุดเน้นอยู่ที่การค้นหาเทคโนโลยี
ตลอดจนวธิ กี ารทเ่ี หมาะสม กบั การน�ำ ไปประยกุ ตใ์ ช้ ส�ำ หรบั เกษตรกร
รายยอ่ ยในประเทศไทย ซง่ึ ตอ่ มาไดพ้ ฒั นาเปน็ โครงการอนั เนอ่ื งมาจาก
พระราชดำ�ริกว่า ๓,๐๐๐ โครงการทั่วประเทศ
แม้ว่าโครงการพระราชดำ�ริเหล่าน้ี จะมีความหลากหลาย
แตกต่างกันไป แต่จุดเน้นที่สำ�คัญ คือ การทำ�การเกษตรในระดับ
ครอบครวั ใหม้ คี วามเขม้ แขง็ สามารถพง่ึ ตนเองไดใ้ นขน้ั ตน้ ซงึ่ จะเปน็
รากฐานท�ำ ใหช้ มุ ชนมีความเขม้ แข็งในทสี่ ุด กลา่ วคอื ท�ำ ใหค้ รอบครัว
เกษตรกรสามารถอยไู่ ดอ้ ยา่ งพออยพู่ อกนิ และลดความเสยี่ ง จากตอ้ ง
พึ่งพาน้ําฝนท่ีมีความไม่แน่นอน และจากการปลูกพืชเพียงไม่ก่ีชนิด
รวมทง้ั มีความเสีย่ งจากความผนั ผวนของตลาด ซง่ึ ต่อมาในปี ๒๕๓๗
แนวพระราชดำ�รนิ ี้ ได้พัฒนามาเป็นทฤษฎใี หม่ ๓ ข้นั ตอน ที่พระองค์
ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างของการพัฒนาจากระดับฐานรากให้
ม่นั คง อย่างเปน็ ขนั้ ตอน ในภาคเกษตร ดังน้ี

ชีวติ พอเพยี ง คอื ชวี ติ ทีก่ ้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดลุ 21

ขนั้ ตอนที่ ๑ เปน็ แนวทางการจดั การพนื้ ทเ่ี กษตรกรรมในระดบั
ครอบครวั ทส่ี อดคลอ้ งกบั ระบบนเิ วศวทิ ยา เพอื่ ใหพ้ ออยพู่ อกนิ สมควร
แก่อตั ภาพ ในระดับท่ีประหยัด และเลย้ี งครอบครวั ได้ โดยแบ่งพนื้ ที่
ออกเปน็ ๔ สว่ น เพอ่ื (๑) ขดุ บอ่ ส�ำ หรบั เกบ็ นาํ้ ไวใ้ ชใ้ นการเพาะปลกู ใน
ชว่ งฤดแู ลง้ และใชเ้ ลยี้ งปลา (๒) ปลกู ขา้ วใหพ้ อเพยี งส�ำ หรบั การบรโิ ภค
ในครอบครวั ตลอดทง้ั ปี (๓) ปลูกไม้ยืนต้น สวนผลไม้ และพืชผลอน่ื ๆ
และ (๔) ไว้เป็นบริเวณท่ีอยู่อาศัยปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์เพื่อ
การบริโภคภายในครัวเรือนโดยมีการพื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การควบคุมวชั พชื ตลอดจนการควบคมุ แมลงศัตรพู ืชโดยวิธธี รรมชาติ
ทงั้ หมด เปน็ ระบบการผลติ ทเ่ี นน้ การเกอื้ กลู กนั ระหวา่ งสตั วเ์ ลยี้ งและ
พืชผล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถนำ�ไปปรับใช้ได้ในทุก
ภูมภิ าคใหเ้ หมาะสมกับสภาพของดนิ นํ้า และชนิดของพชื ซงึ่ แตกตา่ ง
กนั ไปในแตล่ ะแห่ง
แนวทางการจดั สรรทรพั ยากรทหี่ ลากหลายในลกั ษณะทเ่ี กอ้ื กลู
กันตามหลักธรรมชาติดังกล่าวน้ี สามารถแก้ปัญหาที่เกิดข้ึนในภาค
การเกษตรของไทยในช่วง ๕๐ ปีท่ีผ่านมา เพราะหลีกเลี่ยงการปลูก
พืชเชิงเด่ียว ที่ต้องพ่ึงพาสารเคมีตลอดเวลา ทำ�ให้คุณภาพดินเสื่อม
ทงั้ ยงั ใหผ้ ลก�ำ ไรตาํ่ และเสย่ี งกบั ความไมแ่ นน่ อนของตลาด นอกจากน้ี
ยังช่วยแก้ปัญหาของการขาดแคลนน้ํา ซึ่งมีแนวโน้มท่ีจะเพ่ิมข้ึน
จึงเป็นวิธีการท่ีจะทำ�ให้เกษตรกรมีชีวิตม่ันคงสามารถเล้ียงตัวเองได้
แต่พระองค์ก็ทรงยอมรับว่า ทฤษฎีใหม่นี้ “ปฏิบัติลำ�บากเพราะผู้ท่ี
ปฏิบัติต้องมีความเพียรและต้องอดทน” อย่างไรก็ดี การทำ�เกษตร
ในลักษณะน้ี จะทำ�ให้มีส่วนเกินของผลผลิตในระยะยาว มากกว่า
ความจำ�เป็นที่จะบริโภคภายในครอบครัว และส่วนเกินดังกล่าว
สามารถนำ�ไปแลกเปลี่ยนซื้อขายในตลาดท้องถิ่น ทำ�ให้เกิดรายได้
เพมิ่ ข้ึน

22 ตามรอยพอ่ ชีวติ พอเพียง ...สกู่ ารพัฒนาทยี่ งั่ ยืน

“ ...เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้กา้ วหนา้ ไปอีก

ว่าไม่ใช่ว่าเพยี งแตป่ ลูกข้าวใหพ้ อกนิ ...
มันตอ้ งมพี อท่จี ะต้งั โรงเรียน มพี อที่จะมแี ม้แตศ่ ิลปะ...
กจ็ ะถือวา่ ประเทศไทยเจริญ เปน็ ประเทศทีเ่ จริญในทกุ ทาง
เจรญิ ในทางไมห่ วิ มีกนิ คอื ไม่จน แลว้ ก็มกี นิ

”แล้วก็มอี าหารใจ อาหารท่เี ป็นศลิ ปะหรอื อะไรอื่นๆ ใหม้ ากๆ...

พระราชด�ำ รสั เนอ่ื งในโอกาสวนั เฉลมิ พระชนมพรรษา :
๔ ธนั วาคม ๒๕๔๖

ชวี ิตพอเพยี ง คือ ชีวติ ที่ก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดลุ 23

ข้ันตอนท่ี ๒ มีเป้าหมายอยู่ท่ีสร้างความสามารถในการ
พง่ึ ตนเองในระดบั ชมุ ชน ดว้ ยการน�ำ เอาผลผลติ สว่ นเกนิ ของครอบครวั
ตา่ งๆ มาจดั การรว่ มกนั ในระดบั ชมุ ชน และยดึ หลกั การแบง่ งานกนั ท�ำ
และการช่วยเหลือเก้ือกูลกัน เพื่อให้ประหยัดและคุ้มทุน ซ่ึงจะทำ�ให้
เกดิ การเพมิ่ ผลผลติ และท�ำ ใหม้ สี นิ คา้ และบรกิ ารในทอ้ งถน่ิ เพม่ิ มากขนึ้
การพงึ่ ตนเองในระดบั ชมุ ชนสามารถท�ำ ไดห้ ลายทาง โดยการรวมกลมุ่
หรอื รว่ มมอื กนั ในรปู สหกรณ์ เพอ่ื จดั การการผลติ การตลาด และพฒั นา
สวัสดิการของชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดตั้งกลุ่มการผลิตร่วมกัน
ธนาคารข้าว/โค/กระบือ กลุ่มออมทรัพย์ชุมชน ศูนย์บริการสุขภาพ
ชมุ ชน กลมุ่ ฌาปนกจิ ชมุ ชน เปน็ ตน้ เปน็ การสรา้ งความสามคั คภี ายใน
ท้องถ่ิน และเตรียมความพร้อมก่อนก้าวสู่โลกภายนอก โดยยังคงยึด
หลักการใช้ความสามารถและทรัพยากรท่ีมีอยู่ในชุมชนเป็นหลัก
แม้วา่ ในข้ันนี้ การแลกเปลยี่ นกบั ภายนอกจะเพมิ่ มากขน้ึ แตก่ ย็ ังคงให้
ความส�ำ คญั กบั การแลกเปลย่ี นกนั เองภายในชมุ ชน เพราะชว่ ยประหยดั
ค่าขนสง่ และค่าการตลาด ตา่ งๆ
ข้ันตอนท่ี ๓ ติดต่อสัมพันธ์กับระบบตลาด และเศรษฐกิจ
ภายนอก เพอ่ื จดุ ประสงคต์ า่ งๆ เชน่ จ�ำ หนา่ ยผลผลติ สว่ นเกนิ แสวงหา
เทคโนโลยี และทรัพยากรจากภายนอก มาใช้ในกิจการของชุมชน
เชน่ การสร้างโรงสขี า้ ว ใช้บริการสินเชื่อธนาคาร และสถาบนั การเงนิ
ตลอดจนสถาบนั ทางเศรษฐกิจอื่นๆ และถ้าหากชมุ ชนมีความเขม้ แข็ง
เพ่ิมมากขึน้ กอ็ าจจะมกี ารเจรจาต่อรองความรว่ มมือกบั บรรษัทธุรกจิ
เพื่อประโยชนข์ องทง้ั สองฝา่ ย
การพฒั นาอยา่ งเปน็ ขน้ั เปน็ ตอน ตามแนวทางทฤษฎใี หม่ ๓ ขน้ั น้ี
ท้ายทีส่ ดุ แลว้ จะน�ำ ไปสกู่ ารพฒั นาท่มี ่นั คง อยา่ งตอ่ เน่อื ง และเจรญิ
กา้ วหน้าไปสรู่ ะดับการพฒั นาทสี่ ูงและซับซอ้ นขึ้น

24 ตามรอยพ่อ ชวี ติ พอเพยี ง ...สูก่ ารพฒั นาที่ยง่ั ยืน

๓ ตามรอยพ่อ

เพอ่ื ประโยชนส์ ว่ นรวม และความสุขที่ย่งั ยืน

ห ลังจากที่แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึง

ตวั อยา่ ง และผลทเี่ กดิ ขนึ้ ในทางปฏบิ ตั ิ ในระดบั ตา่ งๆ ไดร้ บั การ
เผยแพรข่ ยายไปในวงกวา้ ง ท�ำ ใหเ้ กดิ ความสนใจ เกยี่ วกบั หลกั ปรชั ญาฯ
และการน�ำ ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นภาคสว่ นตา่ งๆ เพม่ิ มากขนึ้ และโดยเฉพาะ
อยา่ งยงิ่ หลงั จากทม่ี กี ารเผยแพรผ่ า่ นหนงั สอื “รายงานการพฒั นาคน
ของประเทศไทย ปี ๒๕๕๐ : เศรษฐกิจพอเพยี งกับการพัฒนาคน”
ทจี่ ดั พมิ พ์โดย สำ�นกั งานโครงการพฒั นาแหง่ สหประชาชาติ (United
Nations Development Programme) ท�ำ ใหแ้ นวความคดิ การพฒั นา
ท่ใี หค้ วามส�ำ คญั ต่อการพัฒนาคน มคี วามลุ่มลกึ มากขนึ้ อกี ระดับหนง่ึ
เนือ่ งด้วยปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ให้ความส�ำ คัญกับการพฒั นา
คนใหม้ ีคุณภาพ โดยเฉพาะการพฒั นาดา้ นความรู้ทางวิชาการ ท่ีเน้น
การฝกึ ใหม้ คี วามรอบรู้ ใช้ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการ
ใชค้ วามรู้ ควบคู่ไปกบั การพฒั นาในดา้ นคณุ ธรรม ใหเ้ ห็นถงึ ประโยชน์

ตตามามรอรอยยพพอ่ อ่ เพเพือ่ อ่ืปประรโะยโยชนชน์สส์ ่วว่นนรวรวมมและความสขุ ที่ย่งั ยืน 25

ที่แท้จริง คือ ประโยชนใ์ นระยะยาว ผา่ นการสร้างจิตสำ�นึกรับผดิ ชอบ
การอยู่ร่วมกนั ในสังคม การใชท้ รัพยากรของสงั คม/โลก โดยคำ�นึงถึง
ประโยชน์ส่วนรวม เพราะทา้ ยทส่ี ุดแลว้ ในระยะยาว การกระท�ำ ใดๆ
ก็ตาม จะส่งผลกระทบต่อส่วนรวม และย้อนกลับมากระทบต่อส่วน
บคุ คลในที่สดุ

26 ตามรอยพอ่ ชีวติ พอเพียง ...ส่กู ารพัฒนาท่ยี ัง่ ยืน

๓.๑ การเหน็ คุณค่าของประโยชน์ส่วนรวม

มนษุ ยเ์ ราไมส่ ามารถอยคู่ นเดยี วในโลกได้ จ�ำ เปน็ ตอ้ งอยรู่ ว่ มกบั
ผูอ้ น่ื ในสงั คม ซ่งึ การจะอยู่รว่ มกบั ผูอ้ น่ื ในสงั คมนน้ั จ�ำ เปน็ ต้องมีความ
เขา้ ใจถงึ ผลกระทบทจ่ี ะเกดิ ขนึ้ จากการกระทำ�ของแตล่ ะคน ทง้ั ในระยะ
สัน้ และระยะยาว รวมถึงผลกระทบต่อตนเอง คนรอบข้าง สว่ นรวม
และทา้ ยทสี่ ดุ ผลกระทบทย่ี อ้ นกลบั มาหาตนเองในทส่ี ดุ และเนอื่ งจาก
ทรพั ยากรมอี ยอู่ ยา่ งจ�ำ กดั สภาพแวดลอ้ มทางสงั คม/สงิ่ แวดลอ้ มในโลก
มกี ารเปลยี่ นแปลงตลอดเวลา ไมแ่ นน่ อน การทจ่ี ะตดั สนิ ใจท�ำ กจิ กรรม
อะไรกต็ าม เชน่ การผลติ การบรโิ ภค การลงทนุ การเดนิ ทาง การเลอื ก
แหล่งท่ีอยู่อาศัย ฯลฯ จึงควรจำ�เป็นต้องมีหลักยึด ในการตัดสินใจ
และการปฏิบัติ ซ่ึงหากเป้าหมายของแต่ละคน คือประโยชน์และ
ความสขุ ทแ่ี ทจ้ รงิ แลว้ กค็ วรด�ำ เนนิ ชวี ติ ตามหลกั พอเพยี ง โดยมหี ลกั ใน
การตดั สนิ ใจเชงิ เปา้ หมายทค่ี �ำ นงึ ถงึ ผลทจี่ ะเกดิ ขน้ึ ในระยะยาว (ความ
ยง่ั ยนื ) โดยค�ำ นงึ ถงึ ผลประโยชนส์ ว่ นรวม และค�ำ นงึ ถงึ ความสมดลุ ของ
การใชท้ รัพยากรต่างๆ
การคำ�นึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เริ่มต้ังแต่การใช้ทรัพยากร
ต่างๆ เพื่อการด�ำ เนนิ ชวี ติ โดยการพจิ ารณาอยา่ งรอบคอบ กอ่ นที่จะ
ดำ�เนินการใดๆ ในการตัดสินใจเลือก หรือจัดลำ�ดับความสำ�คัญในส่ิง
ท่ีจะทำ� ทรัพยากรที่จะใช้ วิธีการที่จะดำ�เนิน ว่าจะส่งผลกระทบต่อ
สว่ นรวม และตอ่ ตนเองในระยะยาวอยา่ งไร และหากมสี ว่ นรว่ มในการ
พิจารณาดำ�เนินโครงการ หรอื กิจกรรมพัฒนาชมุ ชน/สงั คม ก็ควรใช้
หลักพอเพยี ง คอื มุ่งใหเ้ กิดประโยชนก์ ับคนสว่ นใหญ่ หรือประโยชน์
ส่วนรวม เป็นหลัก โดยจัดลำ�ดับความสำ�คัญตามความเร่งด่วน และ
ความจ�ำ เปน็ ของปัญหา คำ�นงึ ถึงความคมุ้ ค่าของการใช้ทรัพยากรและ

ตามรตอยามพร่ออยเพื่อปชรวีะโิตยพชนอ์สเพว่ ียนงรว.ม..สแู่กลาะรคพวฒั ามนสาขุ ทท่ยี ยี่ ั่งง่ั ยยืนืน 27

การลงทนุ มากกว่าการวดั ดว้ ยตวั เลขผลกำ�ไร หรือรายไดท้ ีจ่ ะเกิดขึ้น
อย่างเดียว ตามหลักเศรษฐศาสตร์ทว่ั ไป
เม่ือแต่ละคน สามารถดำ�เนินชีวิตพอเพียงในระดับบุคคลได้
แลว้ กค็ วรใหค้ วามส�ำ คญั กบั การอยรู่ ว่ มกนั ในสงั คม โดยเรม่ิ จากการให้
การแบง่ ปนั แกผ่ ทู้ ย่ี งั ขาด ยงั ขดั สนอยใู่ นสงั คม ทง้ั วงแคบและวงกวา้ ง
ตามกำ�ลังทีแ่ ต่ละคนมี การไมเ่ บียดเบยี นกัน การให้ การแบ่งปนั การ
มไี มตรจี ติ เอื้อเฟือ้ เผอื่ แผ่ต่อกนั ของคนในสงั คม เปน็ พื้นฐานของความ
ไว้ใจกันวา่ สามารถพ่งึ พาอาศัยกันได้ ช่วยเหลอื กนั ได้ ในยามที่จำ�เปน็
ซง่ึ จะท�ำ ใหส้ งั คมโดยรวม สามารถอยไู่ ดอ้ ยา่ งสงบสขุ มคี วามปลอดภยั
ของชีวิตและทรัพย์สินในเบื้องต้น เพราะเมื่อมีการช่วยเหลือบุคคล

28 ตามรอยพอ่ ชวี ติ พอเพยี ง ...สู่การพฒั นาท่ยี ั่งยนื

ตามรอตยาพมรอ่ อยเพพอ่ื ่อปรชะวี โยิตชพนอ์สเพ่วนียรงวม...สแลู่กะาครพวาฒั มสนขุาทย่ี ง่ั ยืน 29

“ ...ทั้งนี้ คนอื่นจะวา่ อยา่ งไรก็ชา่ งเขา จะวา่ เมืองไทยล้าสมัย

ว่าเมอื งไทยเชย วา่ เมอื งไทยไมม่ สี ่ิงทีส่ มยั ใหม่ แตเ่ ราอยพู่ อมีพอกนิ
และขอให้ทกุ คนมคี วามปรารถนาทจ่ี ะใหเ้ มอื งไทยพออยพู่ อกิน
มคี วามสงบ และท�ำ งานต้ังจิตอธษิ ฐานปณิธาน...
ในทางนี้ ที่จะให้เมอื งไทยอยู่พออยพู่ อกิน
ไม่ใชร่ ุ่งเรอื งอยา่ งยอด แต่ว่าการพออย่พู อกินมีความสงบน้ัน
ถ้าจะเปรยี บเทียบกบั ประเทศอืน่ ๆ
ถ้ารักษาความพออยู่พอกินน้ันได้ เราก็จะยอดยิ่งยวด...
ฉะน้นั ถ้าทกุ ท่านซ่งึ ถือว่าเปน็ ผู้ที่มคี วามคดิ ...มีอิทธิพล มพี ลัง
ท่จี ะท�ำ ใหผ้ อู้ น่ื ซ่ึงมคี วามคิดเหมอื นกัน ช่วยกันรกั ษาสว่ นรวม
ให้อยู่ดกี นิ ดพี อสมควร ขอย้ํา พอควร พออยู่ พอกนิ มีความสงบ
ไม่ใหค้ นอนื่ มาแยง่ คุณสมบัติน้ีจากเราไปได้

”ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดทีถ่ าวรท่จี ะมคี ุณคา่ อยตู่ ลอดกาล...

พระราชดำ�รัสเนอ่ื งในโอกาสวนั เฉลมิ พระชนมพรรษา :
๔ ธนั วาคม ๒๕๑๗

30 ตามรอยพอ่ ชีวติ พอเพยี ง ...สู่การพัฒนาท่ียั่งยนื

ที่ขาดแคลนปัจจัยพ้ืนฐานในการครองชีพ โอกาสที่คนจะประกอบ
อาชญากรรม กระท�ำ ความผดิ เพราะความบบี คนั้ ทตี่ อ้ งแสวงหาปจั จยั
พื้นฐานมาด�ำ รงชวี ติ กจ็ ะน้อยลง และน�ำ ไปสู่ความสามคั คี และความ
เขม้ แข็ง ในที่สุด

๓.๒ เรียนรหู้ ลักการทรงงาน เพอื่ ดำ�เนินตามรอยพ่อ

การมุ่งประโยชน์สุขส่วนรวม เป็นเป้าหมายหลัก ในการทรง
งาน ของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู ัว เช่นเดียวกบั การคิดอย่างเป็น
องค์รวม มองเชงิ ระบบ เพ่ือให้เหน็ ความเชือ่ มโยง ของ เหตุ ปจั จยั
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินชีวิต และการพัฒนา ดังนั้น เพ่ือให้
เกิดประโยชน์ส่วนรวมในทางปฏิบัติจริง เราสามารถเรียนรู้แนวทาง
หรอื วธิ กี ารท�ำ งาน ไดจ้ ากหลักการทรงงานตา่ งๆ ของพระองคท์ า่ นได้
ยกตัวอย่าง เช่น
การศกึ ษาขอ้ มลู อยา่ งเปน็ ระบบ เพอื่ ใหร้ วู้ า่ เรามที รพั ยากร
อะไรบา้ ง ทง้ั เชงิ ปรมิ าณ และคุณภาพ หรอื มีปญั หาอย่างไร เปน็ การ
รู้จักตนเองให้ดีก่อน อย่างรอบรู้ จะได้ตัดสินใจเลือกเส้นทางพัฒนา
องค์กร/ชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ ได้อย่างเหมาะสมกับสถานภาพ
ในแตล่ ะปจั จบุ ัน ตามความเปน็ จรงิ
เน้นกระบวนการมีส่วนรว่ ม จากทุกฝ่ายที่มสี ว่ นเก่ียวขอ้ ง
เพ่ือให้เกิดความรอบคอบ ตลอดจนสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ และ
รับผิดชอบร่วมกัน ในกระบวนการพัฒนา แต่ละคนจะได้มีความ
กระตือรือร้น สนใจ ใส่ใจ ในปัญหาและแนวทางการพัฒนาชุมชน
รวมถึงผลท่ีจะเกิดขนึ้ ทั้งตอ่ ตนเอง และส่วนรวม

ตามรอตยาพม่อรอยเพพ่อื อ่ ปรชะีวโยิตชพนอส์ เ่วพนียรงวม...แสลกู่ ะาครพวาฒั มสนุขาทย่ี ่งั ยืน 31

การพฒั นาใหเ้ ปน็ ไปอยา่ งเปน็ ขนั้ ตอน เพอื่ ใหส้ ามารถรกั ษา
สมดุลในแต่ละย่างก้าวของการพัฒนาได้ เพราะการพัฒนานำ�มาซึ่ง
การเปล่ียนแปลงต่างๆ และมนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้ และปรับ
ตัวต่างกัน การที่จะทำ�ให้ประโยชน์ของการพัฒนากระจายสู่ส่วนรวม
ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงพ้ืนฐาน ศักยภาพ
และสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ในแต่ละช่วงเวลา แล้วค่อยๆ ต่อยอด
การพัฒนาให้กา้ วหน้าข้ึนเร่อื ยๆ จากฐานรากตามความเป็นจริง อย่าง
เหมาะสม เพื่อให้การพัฒนามีความม่ันคง ชุมชนและสังคมมีความ
เขม้ แข็ง ไมเ่ กดิ ความแตกแยกในสังคมบนเส้นทางการพฒั นา

32 ตามรอยพอ่ ชวี ิตพอเพียง ...สกู่ ารพฒั นาทีย่ ่ังยนื

๔ พัฒนาคุณภาพคน
ใหม้ ีคุณธรรมกำ�กบั ความรู้ คอื หัวใจของหลกั พอเพียง

ก ารพฒั นาคน ทเ่ี นน้ คณุ ภาพคน ดา้ นคณุ ธรรม คอื ท�ำ สงิ่ ทถี่ กู ตอ้ ง

อยา่ งเปน็ เหตเุ ปน็ ผล เพอ่ื การอยรู่ ว่ มกนั อยา่ งสนั ตสิ ขุ ควบคไู่ ป
กับการใช้สตปิ ัญญา ใหเ้ กิดความรอบรู้ รอบคอบนี้ เปน็ ประเดน็ ใหม่
ของการพัฒนาคน ที่ยังไม่มแี นวคดิ หรอื ทฤษฎกี ารพัฒนา ได้กลา่ วถงึ
หรือ ให้ความสำ�คัญ ดังเช่นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายงาน
การพฒั นาคนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๐ (UNDP, 2007) ไดร้ ะบุไว้
อย่างชัดเจนว่า “...เศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนา
พื้นฐานจิตใจและจิตวิญญาณ มากกว่าการพัฒนาวัตถุ โดยเฉพาะ
อยา่ งยงิ่ เศรษฐกจิ พอเพยี งถอื วา่ การพฒั นาจติ นน้ั ตอ้ งเปน็ สว่ นหนง่ึ ของ
การพัฒนาทุกชนิดโดยไม่อาจแยกออกจากกันได”้
ค�ำ นยิ าม ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ทพ่ี ระราชทานมา ให้
ข้อคิดเกี่ยวกับเงื่อนไขสำ�คัญท่ีจะทำ�ให้การตัดสินใจ และการกระทำ�
เป็นไปอย่างพอเพียง นั่นคือ จะต้องอาศัยทั้งคุณธรรมและความรู้
ของคน เป็นส�ำ คัญในการพัฒนาสคู่ วามพอเพยี ง โดยอาจสรปุ ได้ดังนี้

พัฒนาคุณภาพคน ให้มตคีามณุ รธอรยรพมก่อำ�กชับวี คติ วพาอมเรพู้ ยี คงือ .ห..ัวสใู่กจาขรอพงฒัหลนกั าพทอีย่ เพ่งั ยยี ืนง 33

เง่ือนไขความรู้ ประกอบด้วยการฝึกตนให้มีความรอบรู้
เก่ียวกับวิชาการต่างๆ ที่เก่ียวข้องอย่างรอบด้าน มีความรอบคอบ
และความระมัดระวังท่ีจะนำ�ความรู้ต่างๆ เหล่าน้ันมาพิจารณาให้
เชือ่ มโยงกัน เพ่อื ประกอบการวางแผนและในข้ันปฏบิ ัติ ความรู้ เปน็
องค์ประกอบสำ�คัญในการตัดสินใจ อย่างถูกต้อง และเป็นประโยชน์
จึงต้องมีการแสวงหาความรู้ เพิ่มพูนความรู้ จัดการความรู้ ต่อยอด
ความรู้ อยู่ตลอดเวลา ให้เท่าทันการเปลย่ี นแปลงในโลก

34 ตามรอยพ่อ ชวี ติ พอเพยี ง ...สู่การพัฒนาทย่ี ั่งยนื

“ ความกตัญญกู ตเวทคี ือสภาพจิตที่รับรคู้ วามดี

และยินดที ่จี ะกระทำ�ความดีโดยศรัทธาม่นั ใจ.
คนมีกตัญญู จงึ ไมล่ บล้างทำ�ลายความดี
และไมล่ บหลู่ผู้ท่ีไดท้ ำ�ความดมี าก่อน
หากเพยี รพยายามรักษาความดีท้งั ปวงไวใ้ หเ้ ปน็
พน้ื ฐานในความประพฤตปิ ฏบิ ตั ิทุกอยา่ งของตนเอง.
เมือ่ เต็มใจและจงใจกระท�ำ ทกุ สง่ิ ทกุ อย่างดว้ ยความดดี ังน้ี
กย็ ่อมมแี ต่ความเจริญมน่ั คงและรงุ่ เรอื งกา้ วหนา้ ยง่ิ ๆ ข้ึน.
จงึ อาจกลา่ วได้วา่ ความกตัญญูกตเวทีเปน็ คณุ สมบตั อิ นั ส�ำ คัญยง่ิ

”สำ�หรับนกั พัฒนา และผู้ปรารถนาความเจรญิ ก้าวหน้าทกุ คน.

พระบรมราโชวาทพระราชทานแกค่ ณะกรรมการวันกตัญญกู ตเวที สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย :
๘ เมษายน ๒๕๒๖

พฒั นาคณุ ภาพคน ใหต้มีคามุณรธอรยรพมกอ่ �ำ กชบัีวคิตวพาอมเพรู้ ียคงอื .ห..วัสใกู่ จาขรอพงฒั หลนักาพทอยี่ เพง่ั ยยี นื ง 35

เง่ือนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างให้เป็นพื้นฐานจิตใจ
ของคนในชาติ ประกอบดว้ ย ดา้ นจติ ใจ คือการตระหนักในคุณธรรม
รู้ผิดชอบช่ัวดี ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ในการดำ�เนินชีวิต และด้านการกระทำ�คือ มีความขยันหม่ันเพียร
อดทน ไมโ่ ลภ ไมต่ ระหนี่ รจู้ กั แบง่ ปนั และรบั ผดิ ชอบในการอยรู่ ว่ มกบั
ผู้อืน่ ในสงั คม
การดำ�เนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ท่ีเน้น
ให้ใชห้ ลกั ๓ ประการ ในการจัดการทรพั ยากรทกุ มติ ิ อยา่ งสมดุลน้ัน
จ�ำ เปน็ ตอ้ งเรม่ิ จากการพฒั นาคนใหม้ คี ณุ ภาพ คอื ตอ้ งมคี ณุ ธรรมก�ำ กบั
ความรู้ ในการด�ำ เนนิ ชวี ติ (๒ เงอ่ื นไข สคู่ วามพอเพยี ง) เพอ่ื ใหส้ ามารถ
ชว่ ยตวั เอง และยนื อยบู่ นขาของตนเองไดอ้ ยา่ งเตม็ ภาคภมู ิ ไมเ่ ขยง่ กา้ ว
กระโดดตามคนอนื่ โดยใชช้ ีวติ อย่างประมาณตน เป็นเหตุเปน็ ผล และ
มีการเตรยี มความพร้อมท่ีดี เพือ่ รองรบั การเปลยี่ นแปลงตา่ งๆ โดยไม่
ประมาท ซงึ่ การทแี่ ตล่ ะบคุ คลจะสามารถพง่ึ ตนเองไดต้ ามความหมายน้ี
จ�ำ เปน็ อยา่ งยง่ิ ทจ่ี ะตอ้ งมคี วามรอู้ ยา่ งถกู ตอ้ ง และเพยี งพอ ในเรอ่ื งใดๆ
กต็ ามทจ่ี ะท�ำ การ และมกี รอบหรอื หลกั ในการปฏบิ ตั ิ ทจี่ ะไมท่ �ำ ใหเ้ กดิ
โทษ แตน่ �ำ มาซง่ึ ประโยชนฝ์ า่ ยเดยี ว นน่ั กค็ อื การตอ้ งยดึ หลกั คณุ ธรรม
ความถูกต้อง เป็นเหตุเป็นผล ตามความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความ
เดอื ดรอ้ นต่อตนเอง หรือผู้อ่ืน กล่าวคอื การยึดถอื ประโยชนส์ ่วนรวม
ก่อนประโยชน์ส่วนตัว และก็ต้องประกอบไปด้วยความเพียร อย่าง
สมํ่าเสมอ เพ่ือป้องกันข้อบกพร่องไม่ให้เกิดข้ึน และพัฒนาปรับปรุง
ให้เกดิ ผลทดี่ ยี ิง่ ๆ ข้นึ ไป
แม้ว่า คุณธรรม จะเป็นพ้ืนฐานสำ�คัญในการดำ�รงชีวิต และ
ด�ำ เนนิ งานทกุ ขนั้ ตอน แตเ่ นอื่ งจาก มาตรฐานคณุ ธรรมของคนในสงั คม
มคี วามแตกตา่ งกนั หรอื มรี ะดบั การปฏบิ ตั ทิ แี่ ตกตา่ งกนั แตล่ ะสงั คมจงึ

36 ตามรอยพอ่ ชวี ิตพอเพียง ...สู่การพัฒนาที่ยงั่ ยืน

ตอ้ งกำ�หนดกฎ เกณฑ์ กติกา ของการอย่รู ่วมกันของคนในสังคม และ
ต้องมรี ะบบบงั คับใชก้ ฎหมาย กฎระเบียบทีม่ ปี ระสิทธิภาพ และท�ำ ให้
สงั คมเกิดความสงบ เปน็ ระเบยี บเรียบรอ้ ย ในขณะเดียวกัน กจ็ ำ�เปน็
ตอ้ งมกี ารสรา้ งสภาพแวดลอ้ มให้คนพฒั นาตัวเองใหม้ ีคุณธรรมด้วย
ยกตัวอย่าง หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ตามเส้นทางของ
ศีล สมาธิ และปญั ญา อันเป็นคณุ ธรรมพ้นื ฐานของการดำ�รงชีวติ เพอื่
ให้คนในสังคมเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน มีจิตสำ�นึกรับผิดชอบใน
ผลของการกระทำ�ของตน โดยเริ่มจากการท่ีแต่ละบุคคลมีความเห็น
ตรงเห็นชอบ ตามหลักเหตุผล ความเป็นจริง เช่น เช่ือว่าการกระทำ�
ทุกอยา่ ง แม้เลก็ น้อย ดีหรอื ช่ัว มีผลจรงิ แล้วมคี วามคดิ ชอบ คอื การ
คิดริเริ่มอะไรก็ตามไปในทางที่ดีที่ถูกที่ควร มีวาจาชอบ คือการกล่าว
วาจาทีเ่ ป็นเหตเุ ปน็ ผล ไมห่ ยาบกระด้าง ไมส่ อ่ เสียดนินทา ไมเ่ พ้อเจ้อ
มกี ารกระท�ำ ชอบ คอื การกระท�ำ อะไรกแ็ ลว้ แต่ ตอ้ งท�ำ ในสง่ิ ทถ่ี กู ตอ้ งดี
งาม ไมก่ อ่ ใหเ้ กดิ โทษตอ่ ตนเอง หรอื ผอู้ น่ื โดยเฉพาะการประกอบอาชพี
ที่ต้องเลอื กสัมมาอาชีพ แลว้ มงุ่ ม่ันในอาชพี ด้วยความเพียร อตุ สาหะ
ในอาชีพนั้นๆ จดจอ่ ดว้ ยความมสี ติปญั ญา ด้วยสตชิ อบ และฝกึ จิตให้
มีความต้ังม่ันเปน็ สมาธิในการประกอบภารกิจทงั้ ปวงอย่างสมํ่าเสมอ
ตัวอย่างการประยุกตใ์ ชห้ ลกั พอเพียง
การหาเลี้ยงชีพ (ผลิต/บริการ) อย่างพอเพียง โดยคำ�นึง
ถึงทรพั ยากรในด้านตา่ งๆ ทมี่ อี ยู่ในพ้นื ที่ รวมถึงความสามารถในการ
บริหารจัดการ ทั้งความรู้ เทคโนโลยี ประสบการณ์ และศักยภาพ
ของคนและชมุ ชน แล้วเลือกผลิตสินคา้ ที่ใชท้ รพั ยากร/ปจั จัยการผลิต
สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของคนและภูมิสังคม โดยคำ�นึงถึง
กรรมวิธีการผลิตท่ีไม่ก่อให้เกิดโทษต่อคน/สังคม/สิ่งแวดล้อม หรือ


Click to View FlipBook Version