รายงาน เรื่อง AR (Augmented Reality) จัดทำโดย นางสาวอภิญญา ปาปะเก รหัสนักศึกษา 643110080115 เสนอ อาจารย์ดร.ปวริศ สารมะโน รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาการก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ ภาคการศึกษาที่2 ปี การศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ก คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวิทยาการก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ จัดทำขึ้นเพื่อ การศึกษา เกี่ยวกับเรื่อง AR (Augmented Reality) โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้ต่าง ๆ อาทิ เช่น ตำรา หนังสือ วารสาร ห้องสมุด และความรู้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยรายงานเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AR (Augmented Reality) และอื่น ๆ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่สนใจในเรื่องที่ เกี่ยวกับ AR (Augmented Reality) และได้รับประโยชน์จากรายงานเล่มนี้ไม่มากก็น้อย นางสาวอภิญญา ปาปะเก ผู้จัดทำ
ข สารบัญ เนื้อหา หน้า คำนำ....................................................................................................................................................ก สารบัญ .................................................................................................................................................ข ความเป็นมาของ AR (Augmented Reality) .............................................................................................1 แนวคิดของ AR (Augmented Reality) ....................................................................................................1 หลักการทำงานของ AR (Augmented Reality).........................................................................................2 ประเภทของ AR (Augmented Reality) จำแนกได้ 2 ประเภท....................................................................2 องค์ประกอบของ AR (Augmented Reality) ............................................................................................3 ความสำคัญของการนำเทคโนโลยี AR ไปใช้ในอนาคต..................................................................................3 ประโยชน์ของเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ..................................................................................3 ประโยชน์ของ AR (Augmented Reality) ในด้านต่าง ๆ.............................................................................4 ข้อดีและข้อจำกัดของ AR (Augmented Reality) .............................................................................5 4 อุปกรณ์ Augmented Reality (AR) สุดล้ำที่ควรรู้จัก...............................................................................6 แนวโน้มของการประยุกต์ใช้ AR ในอนาคตที่จะมาถึง...................................................................................8 Augmented Reality (AR) การนำวัตถุมาอยู่ในโลกจริง............................................................................10 ซอฟต์แวร์สร้างสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม..............................................................................................10 การนำ Augmented Reality (AR) ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ..............................................11 อ้างอิง.................................................................................................................................................12
1 ความเป็นมาของ AR (Augmented Reality) เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 จัดเป็นแขนงหนึ่งของงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ว่า ด้วยการเพิ่มภาพเสมือนของโมเดลสามมิติที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ลงไปในภาพที่ถ่ายมาจากกล้องวิดีโอ กล้องเว็บ แคม หรือกล้องในโทรศัพท์มือถือ แบบเฟรมต่อเฟรมด้วยเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ด้วยข้อจำกัดทาง เทคโนโลยีจึงมีการใช้ไม่แพร่หลายเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมือถือ และการสื่อสารข้อมูลไร้สาย รวมทั้งการ ประมวลต่าง ๆ มีความรวดเร็วขึ้นและมีราคาถูก จึงทำให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต ทำให้เทคโนโลยีที่อยู่ แต่ในห้องทดลอง กลับกลายมาเป็นแอพที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันง่าย ๆ ไปแล้ว โดยในช่วง 2-3 ปีมานี้ AR เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ แม้จะไม่ฮอตฮิตเหมือนแอพตัวอื่น ๆ ก็ตาม แต่อนาคตยังไปได้อีกไกล ทั้ง VR และ AR สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางหลากหลาย ทั้งด้าน อุตสาหกรรม การทหาร การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร และ การศึกษา แนวคิดของ AR (Augmented Reality) แนวคิดของเทคโนโลยีเสมือนจริง คือการพัฒนา เทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงและความ เสมือนจริง เข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น เว็บแคม คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งภาพเสมือนจริงนั้นจะ แสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ บนเครื่อง ฉายภาพ หรือบนอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ โดยภาพเสมือนจริงที่ ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ทันที ทั้งในลักษณะที่เป็น ภาพ นิ่งสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว หรืออาจจะเป็นสื่อที่มีเสียงประกอบ ขึ้นกับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบว่าให้ ออกมาแบบใด โดยกระบวนการภายในของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่ - การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการ ค้นหา Marker จากภาพที่ได้จากกล้องแล้วสืบค้น จากฐานข้อมูล (Marker Database) ที่มีการเก็บข้อมูลขนาดและรูปแบบของ Marker เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบ ของ Marker - การคำนวนค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation)ของMarker เทียบกับกล้อง - กระบวนการสร้างภาพสองมิติ จากโมเดลสามมิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพ โดย ใช้ค่าตำแหน่ง เชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง(ดังภาพประกอบ)
2 หลักการทำงานของ AR (Augmented Reality) Augmented Reality (AR) เป็นเทคโนโลยีที่เปิดประสบการณ์ใหม่ในการมองเห็นโลกโดยการผสมผสาน ข้อมูลเสมือนลงไปในความเป็นจริง หลักการทำงานของ AR สามารถอธิบายได้ดังนี้ 1. การรับข้อมูลจากโลกความเป็นจริง: เทคโนโลยี AR ใช้กล้องหรือเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ในการส่งข้อมูลจาก ความเป็นจริงมายังอุปกรณ์ ข้อมูลนี้จะถูกนำไปประมวลผลเพื่อให้เทคโนโลยี AR รู้ว่าวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใน ภาพคืออะไร 2. การประมวลผลข้อมูล: หลังจากที่รับข้อมูลจากโลกความเป็นจริง ระบบ AR จะประมวลผลข้อมูลด้วย ซอฟต์แวร์พิเศษ เพื่อทำความเข้าใจวัตถุ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ หลังจากนั้น ระบบจะนำข้อมูลเสมือนมาผสมผสาน กับภาพความเป็นจริงที่มาจากกล้อง 3. การแสดงผลลัพธ์: เมื่อระบบประมวลผลข้อมูลเสร็จสิ้น ภาพเสมือนที่ผสมผสานกันระหว่างความเป็นจริง และข้อมูลเสมือนจะถูกแสดงผลผ่านหน้าจอ, แว่นตา AR หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตามที่ผู้ใช้มีอยู่ ผลลัพธ์นี้จะทำให้ผู้ใช้ เห็นข้อมูลเสมือนรวมกับความเป็นจริง 4. การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม: เทคโนโลยี AR สามารถตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ทั้งการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ และการเปลี่ยนแปลงของวัตถุหรือสิ่งแวดล้อม โดย อัตโนมัติ นำไปสู่ประสบการณ์ที่ยืดหยุ่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น 5. ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้: หนึ่งในความสามารถที่น่าสนใจของ AR คือการที่ผู้ใช้สามารถปฏิสัมพันธ์กับข้อมูล เสมือนที่ถูกนำเข้ามาในความเป็นจริง ผู้ใช้สามารถเคลื่อนย้าย หรือจัดการกับข้อมูลเสมือนในระบบ AR นั้น ๆ โดยตรง ประเภทของ AR (Augmented Reality) จำแนกได้ 2 ประเภท 1. AR แบบ Marker-based จะถูกสร้างโดยใช้การรับรู้รูปภาพเพื่อระบุวัตถุที่ได้ตั้งโปรแกรมเอาไว้แล้วใน อุปกรณ์หรือแอพลิเคชัน AR ของคุณ เมื่อวางวัตถุในมุมมองตามจุดอ้างอิง วัตถุดังกล่าวจะสามารถช่วยให้อุปกรณ์ AR ของคุณกำหนดตำแหน่งและทิศทางของกล้องได้ โดยทั่วไปแล้วจะทำได้โดยการเปลี่ยนกล้องของคุณเป็น ระดับสีเทาและตรวจจับเครื่องหมายเพื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายนั้นกับเครื่องหมายอื่นๆ ทั้งหมดในคลังข้อมูล เมื่อ อุปกรณ์ของคุณพบเครื่องหมายที่ตรงกัน อุปกรณ์จะใช้ข้อมูลนั้นกำหนดท่าทางและวางรูปภาพ AR ในจุดที่ถูกต้อง 2. AR แบบ Marker-less มีความซับซ้อนมากกว่าเพราะจะไม่มีจุดให้อุปกรณ์ของคุณโฟกัส ด้วยเหตุนี้ อุปกรณ์ของคุณต้องจดจำสิ่งต่างๆ เมื่อสิ่งเหล่านั้นปรากฏให้เห็น อุปกรณ์จะค้นหาสี รูปแบบ และคุณสมบัติที่ คล้ายกันเพื่อกำหนดว่าวัตถุนั้นคืออะไรโดยใช้อัลกอริธึมการรู้จำ จากนั้นจะใช้ข้อมูลด้านเวลา เครื่องวัดความเร่ง
3 GPS และข้อมูลเข็มทิศเพื่อปรับทิศทางตัวเองแล้วใช้กล้องเพื่อซ้อนภาพของสิ่งที่คุณต้องการภายในสภาพแวดล้อม ในโลกแห่งความเป็นจริงของคุณ องค์ประกอบของ AR (Augmented Reality) 1. AR Code หรือตัว Marker ใช้ในการกำหนดตำแหน่งของวัตถุ 2. Eye หรือกล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม กล้องโทรศัพท์มือถือหรือตัวจับ Sensor อื่น ๆ ใช้มองตำแหน่งของ AR Code แล้วส่งข้อมูลเข้า AR Engine 3. AR Engine เป็นตัวส่งข้อมูลที่อ่านได้ผ่านเข้าซอฟต์แวร์หรือส่วนประมวลผลเพื่อแสดงเป็นภาพต่อไป 4. Display หรือจอแสดงผลเพื่อให้เห็นผลข้อมูล ที่ AR Engine ส่งมาให้ในรูปแบบของภาพหรือ วิดีโอ หรือ อีกวิธีหนึ่งเราสามารถรวมกล้อง AR Engine และจอภาพเข้าด้วยกันในอุปกรณ์เดียว เช่น โทรศัพท์มือถือหรืออื่น ๆ ความสำคัญของการนำเทคโนโลยี AR ไปใช้ในอนาคต เทคโนโลยี AR มีศักยภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมในอนาคต การนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ใน การศึกษา การแพทย์ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม อาจนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิต และการทำงานที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อไปนี้คือความสำคัญของการนำเทคโนโลยี AR ไปใช้ในอนาคต - ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษา ให้สามารถสื่อสารความรู้และข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทำให้ นักเรียน นักศึกษา และผู้เรียนรู้สามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา - ในฐานะเครื่องมือในการฝึกอบรม การนำเสนอข้อมูลสำหรับการฝึกหัด หรือการสำรวจสถานที่ทำงาน ทำให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ - ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบเสมือน ทำให้เราไม่จำเป็นต้องใช้ ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งพิมพ์ในการสื่อสาร - ในการแพทย์ เทคโนโลยี AR สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรค การอบรมแพทย์ หรือการสำรวจความ คืบหน้าของการรักษา ทำให้การดูแลสุขภาพของคนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประโยชน์ของเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) แน่นอนว่าการเกิดของเทคโนโลยีที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วเช่น AR ต้องมีประโยชน์ที่คุณควรรู้ เช่น - สามารถเป็นสื่อและข้อมูลที่ทำให้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเช่น สัตว์โลกดึกดำบรรพ์ ที่จำลองป่า รวมไปถึงสภาพแวดล้อมให้เราเห็นได้ - ใช้ในเรื่องการจัดบ้านเพราะคุณจะได้เห็นตำแหน่งและการจัดบ้านจริงๆ ก่อนที่จะซื้อของ
4 - ใช้ในด้านงานศิลปะที่สามารถจำลองภาพต่างๆ ก่อนการจัดจริงว่าควรทำอย่างไรให้ดูสวย - ใช้สำหรับการเล่นเกม เช่น Pokemon Go ส่วนใหญ่จะใช้ในการค้นหาโปเกม่อนและการจับเพราะเราไม่รู้ ว่ามันอยู่ไหนจนกว่าจะหันเจอ เรียกได้ว่าเป็นอีกเทคโนโลยีที่มีประโยชน์อย่างมากและมีความหลากหลายที่หลายคนต้องรู้และควรปรับใช้กัน ประโยชน์ของ AR (Augmented Reality) ในด้านต่าง ๆ หลายคนอาจจะพอสังเกตเห็นแล้วบ้างว่าในปัจจุบัน Augmented Reality (AR) นั้นได้ถูกพัฒนาจน สามารถสร้างประโยชน์ให้เราในหลากหลายด้าน และกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าสนใจของยุค ซึ่งในวันนี้เราจะ มาลองดูกันว่า เทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกหยิบไปใช้ในด้านไหนแล้วบ้าง 1. การศึกษา AR นั้นถูกหยิบไปใช้เพื่อการศึกษาอยู่บ่อยครั้ง เพราะภาพ 3 มิติจะมีส่วนช่วยให้ผู้ที่กำลังศึกษาสามารถ เข้าใจถึงเนื้อหาบางอย่างมากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษาเรื่องอวัยวะภายในร่างกาย เป็นต้น และถ้าเป็นการศึกษาสำหรับ เด็ก ภาพ 3 มิติจะยังช่วยให้นักเรียนตัวน้อย ๆ เหล่านั้นหันมาสนใจเนื้อหาของเรื่องที่กำลังเรียนอยู่ได้อีกด้วย 2. สื่อบันเทิง AR ถูกนำไปใช้ร่วมกับสื่อบันเทิงมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยที่เทคโนโลยีดังกล่าวยังไม่ได้รับการพัฒนาที่ดีพอจะ เหมาะแก่การนำไปประยุกต์ ส่วนในปัจจุบัน AR ด้านนี้จะเข้าถึงได้ง่ายมาก จากการมีแอพเกมหรือแอพสื่ออื่น ๆ ที่ เกี่ยวกับ AR ออกมามากมาย เช่น Pokémon go, Minecraft Earth หรือถ้าใครเป็นคนที่ชอบเล่น Instagram, Snapchat อยู่แล้วก็คงจะเคยได้ลองเล่นเจ้า Face Filter กันมาบ้าง…ซึ่งสิ่งนี้เองก็มี AR เป็นส่วนร่วมเช่นเดียวกัน 3. โฆษณา มีการนำ AR ไปใช้ร่วมกับสื่อโฆษณาเพื่อช่วยในการโปรโมทรูปลักษณ์ของสินค้า และเพื่อเป็นการสร้างสื่อ ที่สามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้ ซึ่งทั้งสองข้อนี้จะมีผลทำให้สื่อโฆษณาตัวนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ในบางรายก็นำ AR มาประยุกต์เพื่อเข้าไปช่วยในการตัดสินใจของเหล่าผู้บริโภค เช่น AR ที่เราสามารถทดลองวางเฟอนิเจอร์ไว้ ภายในบ้านได้ เป็นต้น แม้ว่าจะไม่แพร่หลายนัก แต่ก็มีบริษัทในไทยเริ่มนำมาใช้แล้วเหมือนกัน
5 4. การท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งก็ได้นำ AR เข้าไปช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในเรื่องของข้อมูลที่ จำเป็นต้องรู้ เช่น สถานที่สำคัญของพื้นที่นั้น ร้านค้า ที่พัก และอื่น ๆ หรือบางแห่งก็นำ AR ไปใช้โปรโมทจุด ท่องเที่ยวที่สำคัญ เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวของตนนั้นเป็นที่สนใจแก่เหล่านักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น การท่องเที่ยวของไทยเองก็ได้นำ AR ไปใช้เหมือนกัน เช่น สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า (SIPA) ก็ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น AR ตัวหนึ่งขึ้นมาเพื่อช่วยในการนำเสนอ ข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวอย่างแอปพลิเคชั่น SEE THRU THAILAND 5. การนำทาง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่นาน กับการหยิบ AR มาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการนำทาง โดยส่วนใหญ่จะเน้นไป ที่การนำทางสำหรับเส้นทางที่อยู่ภายในอาคารเป็นหลัก เพราะเส้นทางลักษณะดังกล่าวการนำทางในรูปแบบ 2 มิติ จะไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้มากนัก แม้ว่า Augmented Reality ส่วนใหญ่แล้วจะเข้าไปมีประโยชน์กับในเรื่องของสื่อเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสื่อ การสอน สื่อเพื่อความบันเทิง หรือสื่อการโฆษณาก็ตาม แต่ว่าเทคโนโลยีนี้ก็เพิ่งจะใช้กันอย่างกว้างขวางเป็นเวลาไม่ นานนัก จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต อาจจะมีการนำ AR ไปใช้ประโยชน์กับในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การทำอาหาร, การฝึกซ้อม เป็นต้น ข้อดีและข้อจำกัดของ AR (Augmented Reality) ข้อดีของ AR 1. ประสบการณ์ใช้งานที่น่าสนใจ: AR สร้างประสบการณ์ที่มีความสมจริงสูง เพิ่มความเพลิดเพลินและ น่าสนใจในการปฏิสัมพันธ์กับโลกแบบใหม่ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล 2. ประโยชน์ในหลากหลายอุตสาหกรรม: มีการใช้งานในหลายสาขาอุตสาหกรรม เช่น การแพทย์ (การฝัง ข้อมูลการแพทย์ในภาพเพื่อช่วยในการตรวจวินิจฉัย), การศึกษา (การให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความสมจริง), การตลาด (การสร้างประสบการณ์โฆษณาที่สร้างสรรค์), และอื่น ๆ 3. การพัฒนาและการเรียนรู้: AR ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหา โดยให้ ประสบการณ์ที่ไร้เทียมทานและน่าสนใจเพื่อการศึกษาและพัฒนาทักษะต่าง ๆ
6 ข้อจำกัดของ AR 1. ความเชื่อมโยงกับอุปกรณ์: การใช้งาน AR มักต้องใช้อุปกรณ์พกพา เช่น สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ซึ่ง อาจเป็นข้อจำกัดสำหรับผู้ใช้บางคนที่ไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม 2. การสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง: การสร้างเนื้อหา AR ที่มีความสมจริงและคุณภาพสูงอาจต้องการความ ชำนาญและทรัพยากรที่มากมาย 3. ความเชื่อมโยงกับโลกที่แข็งแกร่ง: บางครั้งการใช้งาน AR อาจพบปัญหาในการระบุตำแหน่งหรือความ เชื่อมต่อกับโลกภายนอกในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิค 4 อุปกรณ์ Augmented Reality (AR) สุดล้ำที่ควรรู้จัก 1) Smart Glasses Smart Glasses หรือ แว่นตาอัจฉริยะ อุปกรณ์ AR ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องถือ เพราะมีการเสริม ภาพ ข้อความ หรือกราฟฟิก ขึ้นมาทับซ้อนกับสิ่งที่เรามองเห็นด้วยสายตาผ่านเลนส์ของแว่นตา โดยสิ่งที่เจ้าแว่นตา อัจฉริยะนี้สามารถทำได้ก็มีความหลากหลายเป็นอย่างยิ่ง แตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์ของผู้ผลิตแต่ละเจ้า เช่น ใช้อ่านโซเชียลมีเดียและรับฟังการแจ้งเตือนต่างๆ ใช้ในการนำทางด้วยระบบ GPS ใช้ถ่ายภาพ ใช้เป็นเสมือน กล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัย ใช้ในการให้ข้อมูลทางการศึกษาในสถานที่จริง ไปจนถึงใช้ในการให้ข้อมูล ทางสุขภาพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจหรือแคลอรี่ เป็นต้น
7 2) Head Up Display (HUD) Head Up Display หรือ HUD หมายการฉายภาพโปร่งใสแบบดิจิทัลของข้อมูลต่างๆ ลงบนกระจกหน้า รถของเรา เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมรถ เช่น ความเร็วปัจจุบัน สถานะเครื่องยนต์ เกจวัด อุณหภูมิ ไปจนถึงแผงควบคุมต่างๆ เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญเหล่านี้ได้โดยไม่จำเป็นต้อง ละสายตาไปจากถนนเพื่อมองแผงควบคุม วิทยุ หรือโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น HUD จึงเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาเพื่อ สนับสนุนการขับขี่ปลอดภัยและการลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง 3) Hologram Display Hologram Display เป็นเครื่องแสดงผลหรือเครื่องฉายภาพ Hologram ที่เราอาจจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ ในหนังแนวไซไฟหรือสายลับเรื่องต่างๆ นั่นเอง ปัจจุบันเจ้าเครื่อง Hologram Display นี้ก็ได้ถูกผลิตขึ้นจริงเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว โดยหลักการของมันก็คือการ Input ไฟล์ Video 3D เข้าไป เพื่ออาศัยการสะท้อนภาพจากหน้าจอ แสดงผลออกมาให้เราเห็นเป็นภาพสามมิติที่ลอยตัวอยู่ในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องสวมแว่นตาใดๆ เพื่อการรับชม โดยภาพสามมิติที่เห็นนั้นเราจะสามารถมองได้จากสามด้านคือ ด้านหน้า ด้านซ้าย และด้านขวา ยกเว้นก็แต่ ด้านหลังที่เป็นผนังสีดำซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้
8 4) Smartphone-based AR Smartphone-based AR หรือ Augmented Reality ในรูปแบบที่พวกเราคุ้นเคยกันมากที่สุด อย่างการ เปิดโปรแกรม AR ที่ออกแบบไว้แล้วใช้มือถือ Smartphone ของเราส่องไปยังสถานที่หรือวัตถุที่กำหนด ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ฟิลเตอร์ใน Instagram ที่มาพร้อมกับสติกเกอร์หรือเครื่องสำอางสำเร็จรูปซึ่งทำงานผ่านการ ตรวจจับใบหน้าของผู้ใช้, เกม Pokémon Go ที่ผสานตัวโปเกมอนเข้ากับสภาพแวดล้อมบนแผนที่ในโลกจริงนั่นเอง แนวโน้มของการประยุกต์ใช้ AR ในอนาคตที่จะมาถึง 1. ส่งเสริมการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ให้มีมิติมากยิ่งขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ Facebook ได้หันไปจับมือกับแบรนด์แว่นตาชั้นนำอย่าง Ray-Ban เพื่อผลิตนวัตกรรม ล้ำสมัยอย่าง “Ray-Ban Stories” แว่นตาอัจฉริยะที่พร้อมรองรับการทำงานต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น การ ถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ ฟังเพลง รับโทรศัพท์ ทั้งยังรองรับการทำงานด้วยคำสั่งเสียง สามารถใช้งานควบคู่กับแอพพลิเค ชันโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ถือเป็นโปรเจคนำร่องเพื่อสร้างช่องทางการใช้งานใหม่ ๆ ให้ใกล้เคียงกับ แนวคิด Metaverse ที่จะมาถึง แม้จะยังต้องพัฒนาอีกมากถึงจะสามารถนำเทคโนโลยี AR มาใช้งานร่วมได้อย่าง เต็มรูปแบบ แต่คอนเซปต์หลักของอุปกรณ์นี้ก็ทำให้เราเห็นภาพในอนาคตว่า หาก Ray-Ban Stories ถูกพัฒนาจน เสร็จสมบูรณ์ชีวิตประจำวันเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การมาถึงของ AR จะทำให้เส้นแบ่งระหว่างโลกออนไลน์ กับชีวิตจริงถูกขีดขึ้นมาใหม่ มิติการทำงานจะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้ดีกว่าเดิม ไม่ต้องพึ่งสมาร์ตโฟน ไม่ต้องพึ่งคอมพิวเตอร์ เวลาออกจากบ้านไปไหนก็แค่พกแว่นตาอัจฉริยะนี้ไปด้วย กิจกรรม ทุกอย่างที่เราทำจะไหลลื่นสอดคล้องไปกับโลกออนไลน์ ซึ่งจะทำให้ชีวิตของเราง่ายดายขึ้นกว่าเดิม
9 2. ภาคธุรกิจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน เทคโนโลยี AR จะกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการยกระดับการทำงานด้านต่าง ๆ ให้มีความละเอียดมาก ยิ่งขึ้น ซึ่งในภาคธุรกิจนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในหลายอย่าง สายการผลิตสินค้าจะมีความรวดเร็ว และมีคุณภาพสูงขึ้น ตัวธุรกิจจะสามารถลดต้นทุนด้านเวลาหรือทรัพยากรลงได้ เพราะบุคลากรจะมีตัวช่วยที่ทำให้ การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคยมี เพื่อให้ตัวธุรกิจสามารถตอบโจทย์การทำงานตรงนี้ได้ การเตรียมพร้อม รับความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เจ้าของธุรกิจต้องคอยมองหาโอกาสที่จะเติบโตไปพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีอยู่ เสมอ ไม่ว่า Metaverse จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม 3.การตลาดออนไลน์จะเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม รูปแบบของการตลาดออนไลน์ในยุค Metaverse มีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงโมเดลการทำงานไปจากเก่า เพราะการมาถึงของเทคโนโลยี AR นั้น จะส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไป โลกความ จริงกับโลกออนไลน์จะหลอมรวมเข้าหากันได้อย่างแนบสนิท ผู้คนจะออกไปใช้ชีวิตและประกอบกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมอุปกรณ์ AR การทำการตลาดบนโลกออนไลน์เพียงอย่างเดียวจึงไม่พอ อาจต้องมุ่งเน้นกลยุทธ์ที่สามารถ ทำงานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ในเวลาเดียวกัน หรือเพิ่มช่องทางการใช้งานให้หลากหลายมากขึ้น ใน ขณะเดียวกันวิธีการเข้าหาผู้บริโภคจะเปิดกว้างและยืดหยุ่นกว่าเดิม มีช่องทางมากมายให้เราเลือกสรรได้ตามใจ ชอบ เป็นการปลดล็อกมิติการทำงานใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนไม่มีใครรู้ได้ว่าในอนาคต Metaverse จะ เกิดขึ้นจริงหรือไม่ บางที เทคโนโลยี AR ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่อาจจะถูกนักวิจัยพับเก็บไว้จนลืมเลือนหายไปตาม กาลเวลา แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถมองข้ามความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเรา ต่างก็เห็นกันมาแล้วว่าสมาร์ตโฟนเปลี่ยนโลกไปมากขนาดไหน ดังนั้นไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ความสามารถในการ “ปรับตัว” คือสิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้ามด้วยประการทั้งปวง
10 Augmented Reality (AR) การนำวัตถุมาอยู่ในโลกจริง Augmented Reality (AR) คือ การซ้อนทับเนื้อหาดิจิทัลประเภทต่างๆในรูปแบบภาพสามมิติ วีดิโอ ข้อความ หรือข้อมูลประเภท Interactive บนสภาพแวดล้อมจริง ด้วยการมองผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ แทป เล็ต ลองนึกภาพถึงเกมสที่โด่งดัง Pokemon Go ที่สร้างปรากฎการณ์ให้สาวก Pokemon เล่นเกมจับ Monster ผ่านแอพลิเคชันบนมือถือได้แทบจะทั่วโลก โดยนอกเหนือจากการแสดงผลผ่านมือถือหรือแทปเล็ตแล้ว เทคโนโลยี AR ยังสามารถสร้างผ่านกล้องหรือแว่นตาแบบพิเศษ แล้วเราสามารถมองเห็นภาพหรือข้อความในรูปแบบสามมิติ ขึ้นมาในสภาพแวดล้อมจริง เช่น - อิเกีย (IKEA) ทำแอปพลิเคชันให้ลูกค้าลองเอาเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบสามมิติไปลองวางในบ้าน ก่อนการ ตัดสินใจสั่งซื้อ - ในงานโฆษณาพวกนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ ที่นำเอาเทคโนโลยี AR มาทำให้เอกสารมองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ ผ่านมือถือหรือแทปเล็ต - ร้านขายเสื้อผ้าให้ลูกค้าลองใส่ชุดผ่านหน้าจอ ที่ใช้เทคโนโลยี AR - การให้ความรู้ เช่น ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ เรียนรู้ส่วนประกอบของร่างกาย - การแสดงป้ายราคาหรือข้อมูลสินค้า เช่น ภาพศิลปะในพิพิธภัณฑ์ร้านขายเสื้อผ้า ซอฟต์แวร์สร้างสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม 1. Artivive (artivive.com) เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยทำให้ภาพนิ่ง 2 มิติกลายเป็นภาพเทคโนโลยีโลกเสมือน (AR) 3 มิติได้เมื่อผู้ใช้งานนำ แอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนไปสแกนที่รูปภาพ จะเห็นภาพขยับได้เหมือนเวทมนตร์จากภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่อง แฮร์รี่พอตเตอร์ 2. Layar (layar.com) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างสื่อ AR บนคลาวด์ นิยมใช้กับการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์โต้ตอบได้ เบื้องต้นเวอร์ ชั่นฟรีสามารกสร้างชิ้นงานได้ 1 หน้า รองรับไฟล์มัลติมีเดียที่หลากหลาย 3. Zappar (zappar.com) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างสื่อ AR บนคลาวด์ ที่มีความสามารถหลากหลายและใช้งานง่าย สามารก ทดลองใช้งานได้ฟรี 30 วันมีลูกเล่นมากมายที่สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้
11 4. Assemblr (assemblrworld.com) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างสื่อ AR บนคลาวด์ ที่ผู้ใช้สามารถสร้างสื่อ AR แบบปฏิสัมพันธ์ได้ง่ายทั้งใน คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนอีกทั้งยังมีเทมเพลตสำเร็จรูปให้เลือกใช้มากมาย 5. Unity + Vuforia (unity.com + developer.vuforia.com) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างสื่อ AR แบบอิสระ อาจมีวิธีการใช้งานที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้สร้างสื่อ AR จะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หลายชนิด เช่น Unity, Visual Studio, Android Studio, Java JDK และสมัครเช้าใช้งาน Vuforia ใช้งานได้ฟรีและไม่มีข้อจำกัดด้านจำนวนโปรเจ็คต์ จำนวน Image Target และได้แอปพลิเคชั่นเป็นของ ตัวเอง การนำ Augmented Reality (AR) ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน 1. เรียนรู้เสมือนจริงแม้อยู่ในชั้นเรียน (Augmented Reality classroom) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่ง ต่างๆได้แม้ว่าสิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในห้องเรียน เช่น ผู้เรียนสามารถเห็นปลาวาฬ หรือระบบสุริยะจักรวาล ได้โดยไม่ต้อง ดำน้ำไปดู หรือขึ้นกระสวยอวกาศออกไปดูนอกโลก 2. ช่วยอธิบายเนื้อหาที่เข้าใจยากให้เห็นภาพได้มากขึ้น (Explain abstract and difficult concepts) ผู้เรียนสามารถเข้าใจการทำงานของเครื่องยนต์กลไกได้จากการใช้สมาร์ทโฟนส่องไปที่รูปภาพ หรือเครื่องยนต์ ภายนอก 3. สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาการเรียน (Engagement and interaction) ผู้เรียน สามารถควบคุมมุมมอง หรือการเรียนรู้เนื้อหาได้ด้วยตนเอง เช่นสามารถดูส่วนต่างๆในมุมต่างๆของร่างกายมนุษย์ ด้วยการเคลื่อนที่สมาร์ทโฟนไปรอบๆ ผู้เรียนสามารถกดปุ่ม โต้ตอบกับสื่อARได้ สามารถย้อนกลับมาเรียนรู้ได้ ตลอดเวลา 4. เรียนรู้จากโมเดลสามมิติ (Objects modelling) ผู้เรียนสามารถมองเห็นรูปร่างของวัตถุ AR ในรูปแบบ สามมิติ คือเห็นได้ทุกมุมมองรอบด้านของวัตถุนั้นๆ ต่างจากการมองดูรูปภาพแบนๆ(สองมิติ)บนหนังสือตำราเรียน ทั่วๆไป 5. ส่งเสริมทักษะและการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Training) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอบรม เช่นอบรมฝึกให้ช่างซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารได้ด้วยตนเอง ช่างสามารถใช้ สมาร์ทโฟนฉายไปที่เครื่องถ่ายเอกสาร แล้วมีข้อมูลขั้นตอนการซ่อมแซมแสดงขึ้นมาให้เรียนรู้ได้ตนเอง
12 อ้างอิง https://www.scimath.org/article-technology/item/7755-ar-augmented-reality https://quickerpthailand.com/blog-2023-what-is-ar/ https://dynamics.microsoft.com/th-th/mixed-reality/guides/what-is-augmented-reality-ar/ https://www.trueplookpanya.com/education/content/88039/-teaartedu-teaarthttps://shorturl.asia/PSKJx https://arforedu.blogspot.com/2017/10/ar_10.html https://nfteasy.co.th/news/4-best-augmented-reality-equipment-you-should-know https://www.cotactic.com/blog/what-is-ar-augmented-reality/#content_3