The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จดหมายข่าวส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี MOAC Saraburi Newsletter เดือนมีนาคม 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-03-30 05:17:25

จดหมายข่าวส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี MOAC Saraburi Newsletter เดือนมีนาคม 2565

จดหมายข่าวส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี MOAC Saraburi Newsletter เดือนมีนาคม 2565

MOAC Saraburi Newsletter

ส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี

Green for HOPE

Ltheetw'stoSgoeArrheVlr dE

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี

ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี ชั้น 2 (ฝั่งทางรถไฟ)
เลขที่ 123 ตำบลตะกุด อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000

0-3634-0740, 0-3634-0741
E-mail [email protected]

MOAC Saraburi Newsletter

ส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี

การตรวจราชการแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 1 ของผู้ตรวจราชการสำนักนายก
รัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 1 (นางรุ่งรัตนา บุญ-หลง) และคณะผู้ตรวจราชการ เขตตรวจราชการที่ 1

ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะแด่พระบาท ร่วมการประชุมประชาพิจารณ์ (ร่าง) ข้อเสนอแนะ
สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช เชิงนโยบายด้านดิจิทัลทางการเกษตร
มหาราชบรมนาถบพิตร "พระบิดาแห่งมาตรฐาน สำหรับประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว
การช่างไทย" จากสถานการณ์ COVID-19

เดือนมีนาคม 2565

1 คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี

Green for HOPE

โครงการใบไม้สีเขียว

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สป.กษ) เริ่มจัดกิจกรรมรณรงค์การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการใบไม้สีเขียว (Green for HOPE) มาตั้งแต่
ปี งบประมาณ พ.ศ. 2558 เพื่อปลูกฝั งจิตสำนักในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ในการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมภายในสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคนได้เรียนรู้ที่จะใช้
ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์การอย่างชาญฉลาด และเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด โดยจัดกิจกรรมรณรงค์
ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน สนับสนุนการดำเนินงานที่เป็ นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่ น จัดทำ
เอกสารความรู้ แจ้งเวียนหน่วยงานในสังกัด สป.กษ. และจัดตั้งถังขยะแยกประเภทบริเวณอาคาร
ใน สป.กษ.

ดังนั้น ในปี งบประมาณ พ.ศ. 2560 เพื่อให้เกิดการต่อยอด และขยายผลการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงดำเนินกิจกรรมโครงการใบไม้สีเขียว หรือ Green for HOPE
เพื่อให้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในหน่วยงานพวกเราชาว สป.กษ. ได้ร่วมมือกันขับเคลื่อน
โครงการให้เกิดความยั่งยืน

ใช้ถุงผ้าแทน ลดการใช้กล่องโฟม Car Pool ทางเดียวกันไปด้วยกัน
ถุงพลาสติก เก็บกระป๋อง ไส้ลูกแม็ก
เพื่อบริจาคทำขาเทียม
การคัดแยกขยะตาม
ประเภทที่เหมาะสม

เพิ่มพื้นที่สีเขียวในที่ทำงาน

คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี 2

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7

อำนาจหน้าที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7

1. จัดทำและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศการเกษตรในระดับพื้นที่ที่รับผิดชอบให้เป็ นเอกภาพ
รวมทั้งเป็ นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศการเกษตรในระดับพื้นที่

2. ติดตามและประเมินผลความสำเร็จ และผลกระทบของการดำเนินงานตามมาตรการ
แผนงาน โครงการต่าง ๆ ในพื้นที่

3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เศรษฐกิจการเกษตรที่สำคัญในระดับท้องถิ่น
4. ศึกษา วิเคราะห์ ความเชื่อมโยง และความสอดคล้องของแผนพัฒนาการเกษตร

ในระดับกระทรวง ที่นำไปสู่แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตรในระดับภูมิภาค
5. ศึกษา วิเคราะห์ ประสาน และให้คำปรึกษาในการจัดทำยุ ทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัด

ด้านการเกษตรแก่หน่ วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
6. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำเป้ าหมายการผลิตสินค้าเกษตรในระดับพื้นที่

ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี

อำนาจหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี

1. ฝ่ ายบริหารงานทั่วไป งานธุ รการ การเงิน พัสดุ ครุ ภัณฑ์ งานจัดการไร่นา
งานช่ างเครื่องกลเกษตร ประสานงานวิชาการ งานโครงการตามแนวพระราชดำริ
และโครงการพิเศษต่างๆ ให้เป็ นไปตามแผนงาน และงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี

2. กลุ่มวิชาการ ค้นคว้าวิจัยเรื่องข้าวตามแผนงานวิจัยข้าว ของกรมการข้าว
ซึ่งมีสาขางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ งานปรับปรุ งพันธุ์ งานปรับปรุ งการผลิต
งานอารักขาพืช งานวิทยาการเมล็ดพันธุ์ งานวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
โดยมุ่งเน้นงานวิจัยเพื่อแก้ปั ญหาและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น

3. กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์คัด พันธ์ุ หลัก และพันธุ์ดีที่มี
คุณภาพดีตรงตามพันธุ์และมาตรฐานที่กำหนด

4. กลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี มีหน้าที่รับผิดชอบงานถ่ายทอดเทคโนโลยีทุกรู ปแบบ
ได้แก่ งานศูนย์บริการชาวนา งานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ งานสารวัตรเกษตร
งานจัดทำแปลงสาธิต งานฝึ กอบรม งานจัดนิทรรศการ งานผลิตเอกสารเผยแพร่
งานจัดประชุ มสัมมนาต่างๆ

3 คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ สระบุรี

อำนาจหน้าที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ สระบุรี

1. ศึกษา วิจัย ทดสอบ และพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต การขยายพันธุ์
หม่อนไหมและวัสดุย้อมสี การอนุรักษ์พันธุ กรรมและภูมิปั ญญา

2. ดำเนินการผลิต ขยายให้บริการพันธุ์หม่อนไหม และพันธุ์ไม้ย้อมสี
3. ทดสอบ ตรวจสอบ รับรองมาตรฐานคุณภาพหม่อนไหม
4. เป็ นแหล่งข้อมูล ศูนย์บริการข้อมูลและพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ด้านหม่อนไหม
5. ถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างเครือข่ ายและให้บริการทางวิชาการด้านหม่อนไหม
6. ศึกษาสภาพปั ญหาเกี่ยวกับหม่อนไหม ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
7. ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่ วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

อำนาจหน้าที่สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

1. วางแผนวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชในพื้นที่รับผิดชอบ
2. ศึกษา วิจัย พัฒนา และทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืช
3. ให้บริการ วิเคราะห์ ตรวจสอบดิน น้ำ พืช ปุ๋ ย สารเคมี ผลิตภัณฑ์พืช

และตรวจรับรองสินค้าเกษตร
4. เป็ นศูนย์บริการข้อมูลวิชาการด้านการผลิตพืช
5. ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตพืช
6. เป็ นผู้แทนกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่รับผิดชอบ
7. ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่ วยงานอื่น ๆ

คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี 4

ข่าวเด่น

การตรวจราชการแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 1 ของผู้ตรวจราชการสำนักนายก
รัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 1 (นางรุ่งรัตนา บุญ-หลง) และคณะผู้ตรวจราชการ เขตตรวจราชการที่ 1

วันที่ 4 มีนาคม 2565 นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 1 เข้าร่วมประชุม
การตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 1 ของผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรี
เขตตรวจราชการที่ 1 โดยมี นางรุ่งรัตนา บุญ-หลง ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 1 เป็นประธาน
ณ ห้องประชุมพระพุทธบาท ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี

ในการนี้ ข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี เข้าร่วมประชุมเพื่อรายงานประเด็นการตรวจติดตาม
การจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวเพื่อความยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
(BCG Model) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของคณะผู้ตรวจราชการ และการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 ของผู้ตรวจราชการ

ประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการ
ในระดับพื้นที่ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 1
วันที่ 29 มีนาคม 2565 การประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการ
ในระดับพื้นที่ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 1 โดยมี นายสุรเดช สมิเปรม
ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 1 เป็นประธาน
ในการนี้ ข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานตามแผน
การตรวจราชการและขับเคลื่อนแบบบูรณาการ ในระดับพื้นที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 ตามแบบรายงานผลการตรวจราชการ ฯ ตามรายสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดสระบุรี และปรับปรุงแผนพัฒนาการเกษตร
และสหกรณ์ระดับจังหวัด โดยผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

5 คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี

ประชาสัมพันธ์

คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี 6

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร "พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย"
วันที่ 2 มีนาคม 2565 นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ
แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร "พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย“
เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร โดยมี นายสมภพ สมิตะสิริ รองผู้ว่าราชการ
จังหวัดสระบุรี เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้ง ข้าราชการพลเรือน ศาล ทหาร ตำรวจ ร่วมพิธีฯ โดยพร้อมเพรียงกัน ณ หอประชุม
​ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี​ตำบลตะกุด อำเภอเมืองสระบุรี​จังหวัดสระบุรี

ร่วมสัมมนา เรื่อง การขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (HIGH PERFORMANCE PROVINCES)
วันที่ 2 มีนาคม 2565 นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี มอบหมายให้ นางสาวศุภกาญจน์ พระเพชร

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เข้าร่วมสัมมนา เรื่อง การขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Provinces)
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการทำความเข้าใจ เร่งรัด ผลักดันให้เกิดจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูงให้บรรลุเป้าหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศ
โดยมี พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา
ผ่านระบบการประชุมวีดีทัศน์ทางไกล Video Conference System ณ ห้องประชุมพระพุทธบาท ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี

7 คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี

ร่วมสัมมนาเกษตรอินทรีย์วิถีในเมือง ภายหลังสถานการณ์ COVID-19 สู่ความปกติถัดไป (NEXT NORMAL) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี

วันที่ 3 มีนาคม 2565 นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี มอบหมายให้ นางสาวนันทกา แสงจันทร์
หัวหน้ากลุ่มสารสนเทศการเกษตร เข้าร่วมโครงการสัมมนาเกษตรอินทรีย์วิถีในเมือง ภายหลังสถานการณ์ COVID-19 สู่ความปกติถัดไป
(Next Normal) วันที่ 1 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาตระหนักถึงนโยบายและความ
สำคัญของเกษตรกรรมยั่งยืนโดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองที่สร้างความมั่นคงทางอาหารของคนเมือง โดยมี นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการ
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กล่าวเปิดการฝึกอบรม และนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บรรยายพิเศษ เรื่อง เกษตรกรรมยั่งยืนวิถีในเมือง จาก Post Covid-19 สู่ Next Normal

ทั้งนี้ในการฝึกอบรม ยังมีการบรรยายในหัวข้อเรื่อง เกษตรอินทรีย์ในเมืองกรณีศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา โดย นางสาวไปรยา
เศวตจินดา กงสุล (ฝ่ายเกษตร) ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิศ และเรื่อง กินอย่างไรไกลโรคสู่ Next Normal
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เอกราช เกตวัลห์ รองผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 4 มีนาคม 2565 นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี มอบหมายให้ นางสาวทิพย์วรรณ
นันใจยะ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เข้าร่วมโครงการสัมมนาเกษตรอินทรีย์วิถีในเมือง ภายหลังสถานการณ์ COVID-19
สู่ความปกติถัดไป (Next Normal) วันที่ 2 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting โดยในการสัมมนา วันที่ 2 มีการเสวนา และบรรยาย ดังนี้

1) การเสวนา เรื่อง “เกษตรกรรมยั่งยืนวิถีชุมชนเมืองยุค Next Normal” โดย คุณอนันตโชค ศักดิ์สวัสดิ์ ผู้จัดการเครือข่ายธนาคาร
อาหารประเทศไทย คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิก และกรรมการผู้จัดการบริษัท ฉมา จำกัด และคุณชาคริต โภชะเรือง
กลุ่มสวนผักคนเมืองหาดใหญ่

2) การบรรยาย เรื่อง “Success case : เกษตรกรรมยั่งยืนวิถีคนเมือง โดย คุณวีระ สรแสดง ผู้ประกอบการจาก Res-Q farm
เกษตรกลางกรุงที่ไร้ขีดจำกัด และคุณชารีย์ บุญญวินิจ ผู้ประกอบการจากฟาร์มลุงรีย์ เกษตรอินทรีย์ครบวงจร

คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี 8

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี ลงพื้นที่ติดตามลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ณ อำเภอวิหารแดง
อำเภอหนองแค อำเภอแก่งคอย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอหนองโดน อำเภอหนองแซง
และอำเภอเมืองสระบุรี

นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี มอบหมายให้ นายเจนวิทย์ เจริญจำรัสชีพ นักวิเคราะห์นโยบาย
และแผนปฏิบัติการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี ลงพื้นที่ติดตามลูกหนี้กองทุนหมุนเวียน
เพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการชำระหนี้ และให้การช่วยเหลือแจ้งแนวทางการประกอบอาชีพ
เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ณ อำเภอวิหารแดง อำเภอหนองแค อำเภอแก่งคอย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
อำเภอหนองโดน อำเภอหนองแซง และอำเภอเมืองสระบุรี ทั้งหมดจำนวน 27 ราย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วันที่ 10 มีนาคม ลงพื้นที่ติดตามลูกหนี้กองทุนฯ ณ อำเภอวิหารแดง และอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 10 ราย

วันที่ 22 มีนาคม 2565 ลงพื้นที่ติดตามลูกหนี้กองทุนฯ ณ อำเภอแก่งคอย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอหนองโดน
จังหวัดสระบุรี จำนวน 8 ราย

วันที่ 23 มีนาคม 2565 ลงพื้นที่ติดตามลูกหนี้กองทุนฯ ณ อำเภอหนองแซง และอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
จำนวน 9 ราย

9 คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี

ร่วมจัดเวทีชุมชน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2565 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี
นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี มอบหมายให้ นางสาวศุภกาญจน์ พระเพชร นักวิเคราะห์นโยบาย
และแผนชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี ร่วมจัดเวทีชุมชนภายใต้โครงการระบบส่งเสริม
เกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2565 เพื่อสร้างความเข้าใจของสมาชิกในชุมชน และร่วมกันกำหนดกฎระเบียบของกลุ่ม เลือกตั้งคณะกรรมการ
และร่วมพิจารณาแผนการผลิตกำหนดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว คุณภาพผลผลิต
ตั้งแต่การเตรียมดินการปรับปรุงบำรุงดิน การเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี การปลูก การดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยว และเชื่อมโยง
บริหารจัดการเรื่องการตลาด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วันที่ 15 มีนาคม 2565 ร่วมจัดเวทีชุมชนฯ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลห้วยแห้ง หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยแห้ง
อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมี นางฐิติกานต์ ฆ้องทอง เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน เป็นประธาน

วันที่ 16 มีนาคม 2565 ร่วมจัดเวทีชุมชนฯ ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 9 ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี
โดยมี นางฐิติกานต์ ฆ้องทอง เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน เป็นประธาน

วันที่ 18 มีนาคม 2565 ร่วมจัดเวทีชุมชนฯ ณ บ้านประธานกลุ่ม นายสุเทพ แจ่มแสง บ้านเลขที่ 31 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านยาง
อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี 10

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี ร่วมการประชุมประชาพิจารณ์ (ร่าง) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านดิจิทัลทางการเกษตรสำหรับประเทศไทย
เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวจากสถานการณ์ COVID-19
วันที่ 15 มีนาคม 2565 นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี พร้อมด้วย นางสาวนันทกา แสงจันทร์
หัวหน้ากลุ่มสารเทศการเกษตร และนางสาวทิพย์วรรณ นันใจยะ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เข้าร่วมการประชุม
ประชาพิจารณ์ (ร่าง) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านดิจิทัลทางการเกษตรสำหรับประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวจากสถานการณ์
COVID-19 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex meeting ณ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี โดยมี ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์
ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเปิดงาน เพื่อรับทราบผลการศึกษาวิเคราะห์
เบื้องต้นจากการสำรวจแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก จากทีมวิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ ซึ่งมี ดร.วิษณุ อรรถวานิช เป็นหัวหน้าโครงการฯ ผู้บรรยายและดำเนินการประชุม
ที่ประชุมยังได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลทางการเกษตร
ของประเทศไทย จากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคเกษตรกร พร้อมนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหา
และอุปสรรคที่ได้จากการประชุมไปเพิ่มเติม ปรับปรุงใน (ร่าง) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านดิจิทัลทางการเกษตร ฯ ต่อไป

ประชุมชี้แจงแนวทางการตรวจราชการ ตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการ
ในระดับพื้นที่ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

วันที่ 21 มีนาคม 2565 นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยนางสาวสุภิญญา บุญช่วย
หัวหน้ากลุ่มช่วยเหลือเกษตรกรและโครงการพิเศษ นางวารุณี จุโฬทก นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และเจ้าหน้าที่กลุ่ม
ยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการตรวจราชการ ตามแผนการตรวจราชการ และการขับเคลื่อน
แบบบูรณาการในระดับพื้นที่ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้การตรวจราชการเป็นไปตามนโยบายและทิศทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงาน
ในระดับพื้นที่ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ณ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี โดยมี นายอานนท์ นนทรี
ผู้อำนวยการสำนักตรวจราชการ เป็นประธาน

11 คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี

ร่วมกิจกรรม “ตลาดนัดขยะรีไซเคิล” จังหวัดสระบุรี ครั้งที่ 2/2565 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี
วันที่ 24 มีนาคม 2565 นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี มอบหมายให้ นางสาวรัตนา พึ่งโต
นักจัดการงานทั่วไป พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี เข้าร่วมกิจกรรม “ตลาดนัดขยะรีไซเคิล”
ครั้งที่ 2/2565 เพื่อให้เกิดการบูรณาการทุกหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านมาตรการ
ลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานของจังหวัดสระบุรี โดยนำขยะรีไซเคิลในหน่วยงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นกิจกรรม
ที่ช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ณ บริเวณข้างหอประชุมศูนย์ราชการ จังหวัดสระบุรี
ศาลากลางจังหวัดสระบุรี โดยมี นายปริญญา คุ้มสระพรม ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี
เป็นประธานเปิดกิจกรรมฯ

งานแถลงข่าวการจัดงานส่งเสริมและสืบสานประเพณี ประเพณีวัฒนธรรมไท – ยวนสระบุรี
ตานก๋วยสลาก ย้อนตำนานไท – ยวน ประจำปี พ.ศ. 2565

วันที่ 25 มีนาคม 2565 นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี มอบหมายให้ นางสาวนันทกา แสงจันทร์
หัวหน้ากลุ่มสารสนเทศการเกษตร ร่วมงานแถลงข่าวการจัดงานส่งเสริมและสืบสานประเพณี ประเพณีวัฒนธรรมไท – ยวนสระบุรี
ตานก๋วยสลาก ย้อนตำนานไท – ยวน ประจำปี พ.ศ. 2565 ณ บริเวณกาดฮิมน้ำพระยาทด ตำบลพระยาทด อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
เพื่อให้สื่อมวลชน รวมทั้งผู้รับฟังการแถลงข่าวได้ทราบและประชาสัมพันธ์การจัดงานดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างจิตสำนึกของคนในท้องถิ่น ให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
และเพื่อให้เยาวชน ประชาชนในท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมสืบสานประเพณีตานก๋วยสลากที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมตามบรรพบุรุษสืบสานต่อไป
โดยมี นางอังคณา ชิตะติตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธาน ซึ่งจะมีการจัดงานระหว่างวันที่ 8 - 10 เมษายน 2565
ณ บริเวณกาดฮิมน้ำพระยาทด ตำบลพระยาทด อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี 12

สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี

ร่วมติดตามผลการดำเนินงานโครงการในพื้นที่อำเภอมวกเหล็ก ในการตรวจราชการแบบบูรณาการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 1

วันที่ 4 มีนาคม 2565​ดร. รุจีพัชร บุญจริง​เกษตร​จังหวัดสระบุรี มอบหมายให้ นายบรรจงศิลป์ วุฒิอุทัย หัวหน้า
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ให้การต้อนรับนางรุ่งรัตนา บุญ-หลง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 1
นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายกันตพงศ์ รังสีสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมคณะ ในการติดตามการดำเนินงานโครงการในพื้นที่อำเภอมวกเหล็ก เรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยว
และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (การท่องเที่ยวเชิงเกษตร) ณ ฟาร์มสายทอง ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องการปลูกมัลเบอร์รี่ การแปรรูปจากมัลเบอร์รี่ ได้แก่ น้ำมัลเบอร์รี่ แยมมัลเบอร์รี่ และอื่น ๆ อีกมากมาย

เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการอ้อยระดับท้องถิ่นเขต 17 จังหวัดสระบุรี ครั้งที่ 2 /2565
วันที่ 14 มีนาคม 2565 ดร. รุจีพัชร บุญจริง​เกษตรจ​ังหวัดสระบุรี เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการอ้อย

ระดับท้องถิ่นเขต 17 จังหวัดสระบุรี ครั้งที่ 2/2565 จัดโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตาม
ผลการดำเนินโครงการพัฒนาด้านอ้อยปี 2565 และติดตามสถานการณ์อ้อยและน้ำตาลทรายในพื้นที่ ณ ห้องประชุมสมาคม
ชาวไร่อ้อยเขื่อนป่าสักสระบุรี อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี

ติดตามผลการดำเนินงานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์ชะอม
วันที่ 14 มีนาคม 2565 ​ดร. รุจีพัชร บุญจริง​เกษตร​จังหวัดสระบุรี ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์ชะอม ตำบลชะอม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมีนายทวี จันทร์ลา ประธานวิสาหกิจชุมชนฯ
คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอแก่งคอยให้การต้อนรับ ในการนี้ได้ให้คำแนะนำในการดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยว
เชิงเกษตร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการบริการให้เกิดความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว

13 คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี

ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ นิทรรศการเสมือนจริงศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรมจุฬาลงกรณ์ สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี
มหาวิทยาลัย-สระบุรี 2565
วันที่ 24 มีนาคม 2565 ดร. รุจีพัชร บุญจริง​เกษตรจ​ังหวัดสระบุรี ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ นิทรรศการเสมือนจริง
ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - สระบุรี 2565 (AIC Chula-Saraburi Virtual Expo 2022)
ในรูปแบบออนไลน์ ในเรื่อง “ ศักยภาพการเกษตรของจังหวัดสระบุรี ” โดยนำเสนอการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการเกษตร
เพื่อพัฒนาเกษตรกรไปสู่ Smart Agriculture

ร่วมออกบูทนิทรรศการเสมือนจริงศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
สระบุรี 2565
สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี ร่วมออกบูทนิทรรศการเสมือนจริงศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรมจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย - สระบุรี 2565 (AIC Chula-Saraburi Virtual Expo 2022) ในหัวข้อการใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตรในการพัฒนา
กลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี โดยนิทรรศการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 25 มีนาคม 2565
ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zipeventapp

ร่วมงานเปิดศูนย์เกษตรอินทรีย์คนพิการโรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
วันที่ 28 มีนาคม 2565 เวลา 10.00 – 11.20 น.​ดร. รุจีพัชร บุญจริง​เกษตร​จังหวัดสระบุรี ร่วมงานเปิดศูนย์เกษตรอินทรีย์
คนพิการโรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ดำเนินการโดยโรงพยาบาลแก่งคอย ร่วมมือกับบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)
การจัดตั้งศูนย์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ต่อยอด สำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และคนในชุมชน
โดยเปิดโอกาสให้คนพิการที่ไม่มีที่ทำกิน ได้มีอาชีพงานด้านเกษตรอินทรีย์ สร้างรายได้หาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
ณ โรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี 14

Recommend

Restaurant App
แอปพลิเคชันแนะนำสำหรับผู้บริโภค

เพื่อค้นหาร้านอาหารปลอดภัย ใกล้ตัวท่าน

จังหวัดสระบุรีภายใต้โครงการร้านอาหารวัตถุดิบปลอดภัย "เลือกใช้สินค้า "

Download App

14 คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี

ประชาสัมพันธ์

วันปลานิลแห่งชาติ

17 มีนาคม

1

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิ
อากิฮิโต เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารแห่งประเทศ
ญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าฯ ถวายปลาน้ำจืดในตระกูลทิลาเปีย (Tilapia)
จำนวน 50 ตัว แด่พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร ในระยะแรกพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้นำปลาดังกล่าวไปเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ บริเวณ
พระตำหนักสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ต่อจากนั้น 2 ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จ
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายปลาลงเลี้ยงในบ่อดิน
และต่อมาในเวลาประมาณ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่าในบ่อที่เลี้ยง พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
มีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก พระบรมชนกาธิเบศร บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระกรุณา ลูกปลาดังกล่าว ขนาดความยาว 3–5 เซนติเมตร จำนวน
โปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อดินเพิ่มขึ้นเป็น 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 10,000 ตัว จากบ่อดินในบริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา

พ.ศ. 2508 ได้ทรงปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แก่กรมประมง เพื่อนำไปขยายพันธุ์ ณ แผนกทดลอง
และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่กรมประมง และเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลางบางเขน จังหวัดพระนคร
ทำการตรวจสอบการเจริญเติบโตของปลาทุกเดือน ซึ่งผลการตรวจ (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม.) และสถานีประมง
สอบพบว่า ปลาชนิดนี้เจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก มีขนาดเฉลี่ยถึง ต่าง ๆ 15 แห่ง ทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้ดำเนินการเพาะเลี้ยง
178.8 กรัม ในระยะเวลา 6 เดือน
ขยายพันธุ์พร้อมกัน และได้พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า
3 “ปลานิล”

ใสแในาหล้นยมะีพาไขัมดนน้วใ่ธาุา์ชด้แใ“ใทนป้หพตกลญั่่าานอขรนึม้ธิุนผ์ลาหแลใสินึตนตา่่งยปพจีัพำซนึั่นพนงธุวเ์.ธปุปศน์็จลนิล.ตา2ทดีนร5่ิลยลล2งอด7เมซหึา่รไง”ลัืดนบอ้ัทบกเัำพนว่ีกาทยัเา่งวปร็โปน7ลรปกับบล่อปานริุลงบ่อ

คณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี 15

ที่ปรึกษา เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี

นายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร

กองบรรณาธิการ

นางสาวนันทกา แสงจันทร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
นางสาวทิพย์วรรณ นันใจยะ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
นางสาวฤทัยรัตน์ จันทอินทร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

อนุเคราะห์ข้อมูลข่าวโดยคณะทำงานประชาสัมพันธ์การเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดสระบุรี

นางสาวศิรดา อารักษ์วาณิช ผู้แทนสำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี

QR code สำหรับดาวน์โหลด

MOAC Saraburi Newsletter


Click to View FlipBook Version