The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ.2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by primlak_kon, 2020-06-22 05:05:22

แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ.2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ.2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Keywords: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

44

1.3 การปฏบิ ตั ิการ คอื การบรหิ ารโครงการตามกลยทุ ธ์ท่ไี ดว้ างไว้
1.4 การติดตามและเรียนรู้ คือ การติดตามประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของการ
ดาเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้ ซึ่งหลายๆ หน่วยงานได้ประยุกต์ใช้รายงานการประเมินตนเอง
(Self Assessment Report – SAR) และ War Room เป็นเคร่ืองมอื ในการติดตามประเมินผลได้
1.5 การทดสอบและปรับยุทธศาสตร์ คือ การปรับยุทธศาสตร์ให้เข้ากับสถานการณ์หรือความ
ต้องการของประชาชนผู้รับบริการที่เปล่ียนแปลงไปโดยต้องมีการประเมินความเสี่ยง ด้านยุทธศาสตร์ (Strategic
Risk) เพ่ือป้องกนั มใิ หย้ ทุ ธศาสตร์คลาดเคลอื่ นและไม่ตรงต่อสถานการณท์ ี่เปลีย่ นแปลงไป

2. การแปลงแผนปฏบิ ัติราชการรายปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช สูก่ ารปฏบิ ัติ
ในการแปลงแผนปฏิบัติราชการรายปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ไปสู่การ

ปฏิบัตินั้น ในที่นี้หมายถึงการแปลงแผนปฏิบัติราชการประจาปี โดยการถ่ายทอดนโยบาย ผลผลิต ผลลัพธ์ และ
ค่าเป้าหมายให้แก่ คณะ สานัก สถาบัน หน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติสาหรับ คณะ
สานกั สถาบัน หน่วยงานให้เป็นไปอย่างสอดประสานกนั ทงั้ ในแง่ทิศทางและจังหวะเวลา โดยมีแนวปฏบิ ตั ติ ่างๆ ดังนี้

2.1 เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ จัดอบรมเพ่ือสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกัน
เกี่ยวกับแผน และกลวิธีนาแผนลงสู่ระดับหน่วยงาน และบุคคล เพื่อให้บุคลากรทุกระดับได้รับทราบและเกิดทักษะ
ในการนาไปปฏบิ ตั ิ

2.2 การถ่ายทอดแผนปฏิบัติราชการรายปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
สรู่ ะดับคณะ สานัก สถาบัน หน่วยงานโดยการชี้แจง ทาความเข้าใจในแต่ละประเด็น โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ
แบบมีส่วนร่วม เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนภายใต้กรอบทิศทางของยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที่ 1)
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ และแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องระดับประเทศ (แผนระดับที่ 2) ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพื่อการเพอื่ การพัฒนาทอ้ งถ่นิ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) และนโยบายสภามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2559
– 2562 เพือ่ กาหนดคา่ เป้าหมาย กลยทุ ธ์ โครงการ/กิจกรรม ตลอดจนทรพั ยากรทีต่ ้องการสาหรับจัดทางบประมาณ
ประจาปกี ารกากบั ผลการปฏบิ ตั ิงานต่อไป

2.3 สนับสนุนให้ระดับคณะ สานัก สถาบัน หน่วยงานชี้แจง ทาความเข้าใจ และความชัดเจนใน
ภารกิจที่หน่วยงานต้องรับผิดชอบ สู่ระดับหน่วยงานย่อย และบุคลากรในสังกัดในรูปแบบต่างๆ เช่น การประชุม
สมั มนา เป็นตน้

2.4 พิจารณาสนับสนุน ส่งเสริม เพื่อให้โครงการท่ีกาหนดไว้สามารถดาเนินไปได้ ทั้งน้ี มหาวิทยาลัย/
หน่วยงานระดับคณะ สานัก สถาบัน หน่วยงาน ต้องให้การสนับสนุนในด้านการปรับโครงสร้าง การปรับระบบงาน
หรือระเบียบการจดั หรอื ปรบั บคุ คลากร การจดั สรรหรอื จัดหางบประมาณ การสนับสนุนสถานท่ี วสั ดุ อปุ กรณต์ ่าง ๆ

2.5 การสร้างพลังและความร่วมมือเพ่ือนาไปสู่ผลที่ตั้งเป้าหมายไว้ ตามแผนงานและโครงการ ตั้งแต่
การเปลี่ยนแปลงและการให้บุคลากรยอมรับการเปล่ียนแปลง ดังนั้น วิธีการท่ีจะนามาใช้ประกอบด้วย
การพัฒนาศักยภาพและภาวะผู้นาของผู้บริหารระดับต่างๆ การมีส่วนร่วม การทางานเป็นทีม ความผูกพัน และ
การยอมรบั การจงู ใจ

2.6 มหาวทิ ยาลัยจะจัดระบบการส่ือสารองคก์ รอยา่ งทัว่ ถงึ และต่อเน่ืองแก่สาธารณะ และบุคลากรใน
ทุกระดับ การวางระบบสนับสนุนต่าง ๆ เช่น การบริหารการเปล่ียนแปลง การพัฒนาบุคลากร การบริหารแบบมี
ส่วนร่วม การจัดการความรู้ การบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ตลอดจนการกาหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ เพื่อ
ถ่ายทอดวิสยั ทัศน์ พนั ธกิจ และค่าเปา้ หมายที่สาคัญให้แก่คณะ สานัก สถาบัน หน่วยงานตลอดจนภาคส่วนต่างๆ ที่
เกีย่ วข้อง โดยพฒั นาระบบการสื่อสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อประชาสัมพันธ์แผนให้บุคลากรได้รับทราบโดยทั่วกัน
ดว้ ยรปู แบบทีห่ ลากหลาย ได้แก่ ทางเวบ็ ไซต์ สื่อแผ่นพับ เป็นต้น

45

2.7 มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีระบบการจัดการความรู้ในองค์กรโดยจัดเวทีแลกเปล่ียนเรียนรู้
ประสบการณ์ที่ดี (Best Practice) การสร้างระบบแรงจูงใจต่างๆ เพ่ือเสริมสร้างขีดความสามารถขวัญและกาลังใจ
ของบุคลากรหน่วยงานและองค์กรให้มีความเข้มแข็ง และมีระบบการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์ เพื่อให้สามารถ
สนองตอบต่อการเปล่ียนแปลงได้ดี เสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรจัดทาแผนพัฒนาบุคลากร แผนจัดการความรู้
เพ่อื รองรบั การดาเนินงานตามยุทธศาสตร์ และการจัดหาทรัพยากรสนับสนนุ การพัฒนาอย่างพอเพียง

2.8 การบรหิ ารผลการปฏบิ ตั ิงาน มหาวทิ ยาลัยจะจดั ระบบการบรหิ ารผลการปฏิบัติงานให้มีกลไกเพ่ือ
เฝ้าระวังและตรวจสอบผลการดาเนินงานที่มีความคลาดเคล่ือนจากแผนเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะต้องมีการ
แก้ไขอย่างไร โดยให้มีการรายงานตามลาดับข้ันของความรับผิดชอบเป็นรายเดือนและหรือรายไตรมาสข้ึนอยู่กับ
ลักษณะงาน วิธีการติดตามจะใช้การกาหนดกิจกรรมและข้ันตอนกิจกรรมการกาหนดตารางเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
การจดั ทากิจกรรม เปน็ กลไกกากับ

2.9 พัฒนาระบบบริหารความเส่ียงเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข การดาเนินงานตาม
ยุทธศาสตร์ให้บรรลุผลโดยแต่งต้ังคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์เพ่ือร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยเส่ียงที่
ทาให้การขับเคลือ่ นยทุ ธศาสตรเ์ กิดความล่าชา้ พร้อมทง้ั กาหนดแนวทางแกไ้ ขปรบั ปรงุ

2.10 การประเมินผลการปฏิบัติงานของงาน/โครงการและความสาเร็จขององค์กรมหาวิทยาลัยจะจัด
ให้มีกลไกเพ่ือควบคุมการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ และก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเน่ือง ตลอดจนการเรียนรู้ใน
องค์กรโดยดาเนินการเปรียบเทียบผลการปฏิบตั งิ านที่ไดจ้ รงิ กับเปา้ หมายท่กี าหนดไว้ทั้งในรปู ผลผลิต (Output) และ
ผลลพั ธ์ (Outcome) ภายใตก้ ารบรู ณาการระบบการประเมินผลการปฏบิ ัติราชการของหนว่ ยงานต่าง ๆ

3. ระบบ กลไกการนาแผนสกู่ ารปฏิบตั ิ
ในการนาแผนปฏิบตั ิราชการรายปี ไปสู่การปฏบิ ัตินนั้ มหาวทิ ยาลัยดาเนนิ การตามข้นั ตอน ดังน้ี
3.1 กองนโยบายและแผน แจ้งให้หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยรับทราบแผนปฏิบัติราชการรายปี

และทุกหน่วยงานจัดทาแผนปฏิบัติราชการรายปีระดับหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการระดับ
มหาวทิ ยาลยั โดยโครงการ/กจิ กรรมท่ปี รากฏในแผนปฏิบัติราชการรายปีระดับหน่วยงานสามารถมีได้ทั้ง โครงการ/
กิจกรรมท่ีได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัย โครงการ/กิจกรรม ที่ไม่ได้ใช้งบประมาณ โครงการ/กิจกรรม ที่ได้รับ
งบประมาณสนบั สนุนจากภายนอก โครงการ/กจิ กรรม ที่ใชเ้ งนิ จากเงินรายได้ของหน่วยงาน ฯลฯ โดยระบุให้ชัดเจน
ถงึ แหลง่ ทม่ี าของงบประมาณ

3.2 แผนปฏิบัติราชการรายปีระดับหน่วยงานภายในต้องกาหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายให้ชัดเจนเพ่ือ
การตดิ ตามประเมนิ ผล โดยตวั ชีว้ ดั ของหน่วยงานมาจาก

3.2.1 ตัวช้ีวัดของมหาวิทยาลัยท่ีปรากฏในแผนปฏิบัติราชการรายปี ตัวชี้วัดตามท่ีมหาวิทยาลัย
ไดม้ อบหมายใหห้ นว่ ยงานรับผดิ ชอบ และที่เกยี่ วของกับหนวยงาน

3.2.2 สรางตัวชี้วัดเพิ่มเติมข้ึนมาได้ตามอัตลักษณ์ของหน่วยงาน หากหน วยงานมีจุดเดน
และตัวชี้วัดของมหาวทิ ยาลยั ยงั ไมมกี ารกาหนดไว

3.2.3 เลือกตัวชี้วัดที่ปรากฏในคู่มือ/เอกสารการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจาปี
การศึกษา โดยการประเมินผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก โดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คณุ ภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) และการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
ของสานกั งานคณะกรรมการการอุดมศกึ ษา (สกอ.) ทเี่ กีย่ วของกบั หนวยงาน

3.3 เสนอแผนปฏิบัติราชการรายปีระดับหน่วยงานให กองนโยบายและแผน วิเคราะห
ความสอดคล้องกับนโยบายสภามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2559 – 2562 แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 –
2565) แผนปฏิบตั ิราชการรายปี พ.ศ. 2563 และจดุ เนน้ ของมหาวิทยาลยั ราชภัฏนครศรธี รรมราช

46

3.4 เมื่อกองนโยบายและแผนตรวจสอบแผนปฏิบัติราชการรายปีระดับหน่วยงาน แล้วเสร็จ
ส่งคืนหน่ ว ยงานเพ่ือเสนอคว ามเห็นช อบจาก ที่ประชุมคณะกรรมการของหน่วยงาน เพ่ือเป นการติดตามและ
ประเมนิ ผลการดาเนนิ งานของหนวยงานโดยการพิจารณาเลือกตัวช้วี ดั ตาม 3.2

47

ภาคผนวก 4
การกากบั ตดิ ตาม และประเมนิ ผล

การกากับ ติดตาม ประเมินผล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชในฐานะมหาวิทยาลัยของรัฐท่ี
เป็นส่วนราชการ ในระบบการกากับ ติดตาม และประเมินผล ของรัฐมีอยู่หลายระบบจากหลายหน่วยงานกลาง ซ่ึง
ต้องปฏิบัติตามแนวทางและวิธีการของหน่วยงานกลางท่ีรับผิดชอบตามปกติ ในท่ีน้ีจะแสดงผลการกากับ ติดตาม
ประเมนิ ผลแผนปฏบิ ัติราชการรายปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลยั ราชภฏั นครศรธี รรมราช โดยมีรายละเอียดดงั นี้

1. กรอบการกากับ ตดิ ตามและประเมนิ ผล มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏนครศรีธรรมราช พ.ศ.2563
สาหรับกรอบการกากับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของแผนงาน โครงการ/กิจกรรมและ

ความสาเร็จขององค์กรนั้น มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีกลไกเพื่อควบคุมการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ และก่อให้เกิดการ
ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการเรียนรู้ในองค์กร โดยดาเนินการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงาน ท่ีได้จริงกับ
เป้าหมายท่ีกาหนดไว้ทั้งในรูปผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ท้ังน้ีจะใช้รูปแบบการประเมิน
3 ลักษณะ คือ (1) การประเมินเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Evaluation) (2) การประเมินเชิงปริมาณ
(Quantitative Evaluation) และ (3) การตรวจสอบโดยผู้มสี ่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Audit) นอกจากน้ันจะ
ประเมินท้ังระหว่างโครงการ (In-process Evaluation) และเม่ือเสร็จส้ินโครงการ (Post-project Evaluation)
ภายใตก้ ารบรู ณาการระบบการประเมนิ ผลจากหนว่ ยงานต่างๆ ให้เป็นเอกภาพ

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติระดับหน่วยงาน ภายใต้การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาค
ส่วนในองค์กร และการสนับสนุนทรัพยากรท่ีเหมาะสม เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ การกากับ
ติดตามและประเมินผลการดาเนินงานเพ่ือการสนับสนุน แก้ไข และปรับแผนให้เหมาะสม เป็นกลไกสาคัญท่ีจะ
ผลักดันการขบั เคลอ่ื นยุทธศาสตร์ภายใต้แผนอีกวิธีหน่ึง กอปรกับปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสาคัญต่อการพัฒนาระบบ
ราชการ. โดยนาเกณฑ์การประเมินมาใช้เป็นแนวทางในการยกระดับการบริหารงานภาครัฐ พร้อมกับตรวจวัด
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการดาเนินงานของหน่วยงาน ตลอดจนการติดตามประเมินคุณภาพการศึกษาของ
หนว่ ยงานต่าง ๆ ที่เกีย่ วข้อง เช่น

 สภาพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ : การประเมนิ ความคุม้ ค่าการปฏิบัตงิ านภาครฐั

 สานักงบประมาณ : แบบสงป. 301-302

 สานกั งานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) : การตรวจประเมิน
คุณภาพการศึกษาภายนอก

 สานกั งานคณะกรรมการการอุดมศึกษา : การตรวจประเมนิ คุณภาพการศึกษาภายใน

 อ่นื ๆ

2. วตั ถปุ ระสงคของการติดตามประเมนิ ผล
2.1 เพ่อื เปรียบเทยี บผลการดาเนินงานในชวงปงบประมาณ กบั เปาหมายทีก่ าหนดไว
2.2 เพื่อใช้เป็นข้อมูลสะท้อนกลับ (After Action Review - AAR) ให้มหาวิทยาลัยใช้เป็นแนวทางใน

การปรับปรุงพัฒนาระบบงานต่างๆ รวมทั้งเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทบทวนทิศทาง นโยบาย และ
แนวทางในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ ชุมชน สังคม และ
ประเทศชาติ

48

3. กรอบแนวคดิ การกากบั ติดตามและประเมนิ ผล
มหาวิทยาลัยราชภฏั นครศรธี รรมราชได้พฒั นากรอบแนวทางการกากับ ตดิ ตามและประเมินผลให้เป็น

ระบบ ครบวงจร เชือ่ มโยงจากระบบการประเมนิ ผลของประเทศ ดังน้ี
3.1 ตดิ ตามกากับการดาเนินงานตามประเดน็ ยุทธศาสตร์
3.2 พฒั นาระบบการกากับ ติดตาม และประเมนิ ผลใหส้ อดคล้องเชอ่ื มโยงกันทง้ั 3 มิติ คอื
มติ ิวาระ (Agenda , Policy)

 นโยบายรฐั บาล กระทรวงต่าง ๆ ท่ีเก่ียวขอ้ ง

 โครงการเรง่ ดว่ น หรือโครงการพเิ ศษต่าง ๆ
มติ ิภารกจิ (Function)

 ประเมนิ คุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก

 การจัดสรรงบประมาณตามเอกสารงบประมาณ
มติ พิ ้ืนที่ (Area)

 การดาเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิน่

 พัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสารสนเทศของมหาวิทยาลัย เพื่อรวบรวมตัวช้ีวัดท่ี
สาคญั และท้าทายสาหรบั เปน็ ขอ้ มลู ประกอบการตัดสินใจดาเนินงานของผูบ้ รหิ าร

4. แนวทางการกากับ ติดตามและประเมินผล
การติดตามประเมินผลตามแผนปฏิบัติราชการตามปีงบประมาณ มีแนวทางการกากับ ติดตามและ

ประเมินผลการบริหารผลการปฏิบัติงานระดับมหาวิทยาลัย และระดับหน่วยงาน และประเมินความก้าวหน้า
(Formative Evaluation) และการวัดผลระดับความสาเร็จของโครงการ/กิจกรรม (Summative Evaluation) และ
งบประมาณท่ีได้รับจัดสรร เพ่ือเฝ้าระวังและตรวจสอบผลการดาเนินงานที่มีความคลาดเคล่ือนจากแผนปฏิบัติ
ราชการรายปี เพอ่ื ประกอบการตัดสนิ ใจวา่ จะตอ้ งมกี ารแกไ้ ขอยา่ งไร ดังนี้

4.1 เม่ือหนวยงานไดดาเนินงานในโครงการ/กิจกรรมแล้วเสร็จให้หน่วยงานจัดส่งหลักฐานเก่ียวกับ
การเบิกจ่ายไปงานการเงิน งานพัสดุมหาวิทยาลัย และรายงานการใช้จ่ายงบประมาณผ่านระบบ MIS มหาวิทยาลัย
ทันที

4.2 เมื่อส้ินไตรมาสของแต่ละปีงบประมาณ กาหนดให้หน่วยงานรายงานผลการดาเนินงาน
ต่อคณะกรรมการการกากับติดตามและประเมินผลตามแผนปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัย ซ่ึงทาหน้าท่ีในการ
กากับ ติดตาม ผลการดาเนินงานของหน่วยงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัย และรายงานผลการดาเนินงานตาม
แผนของมหาวทิ ยาลยั ไปพร้อม ๆ กับการตรวจประกันคุณภาพภายในทุกปี

4.3 เม่ือหนวยงานไดดาเนินงานในโครงการ/กิจกรรม ตามแผนปฏิบัติราชการแล วเสร็จเม่ือใด
ใหรายงานผลการปฏิบตั งิ านทั้งในดานการใชจายงบประมาณทันที การบรรลุเปาหมายทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ที่ไดจากการดาเนินโครงการ/กิจกรรม ตอมหาวิทยาลัยโดยผานกองนโยบายและแผนภายใน
15 วนั หลังเสรจ็ สิ้นการดาเนินโครงการ/กิจกรรม

4.4 ทกุ หน่วยงานมีหน้าท่ีรายงานทุกโครงการท้ังที่ใช้และไม่ใช้งบประมาณเข้าสู่ระบบ eMENSCR ซึ่ง
ย่อมาจาก Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform
เป็นระบบภายใต้ระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดาเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและ
แผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.2562 พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

49

ปัจจบุ นั ควบคุมการใชง้ านโดยสานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีวัตถุประสงค์ท่ีจะเป็น
ระบบฐานข้อมูลแห่งชาตทิ ่ีรวบรวมโครงการของหน่วยงานรัฐทั้งหมด และเปิดให้หน่วยงานรัฐด้วยกันสามารถเข้าถึง
ข้อมูลได้ เพื่อลดขน้ั ตอนการทางานระหวา่ งกันและลดการใช้กระดาษ

4.4 เม่ือสิ้นปงบประมาณใหหนวยงานจัดทารายงานประจาปี และรายงานการประเมินตนเองตาม
ตวั ชี้วดั ที่ปรากฏในแผนปฏิบัติราชการรายปรี ะดบั หนว่ ยงานเปนเลมเดยี วกัน

4.5 ประเมินภายในโดยคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลงานมหาวิทยาลัยซึ่งแต่งตั้ง
โดยสภามหาวทิ ยาลัย

4.6 ประเมินคุณภาพภายในโดยคณะกรรมการตรวจการประเมินคุณภาพภายใน ซ่ึงแตงต้ังโดย
มหาวิทยาลัย และการประเมินคุณภาพภายนอก โดยสานกั งานรับรองมาตรฐานและประเมินคณุ ภาพการศกึ ษา

5. การควบคุมคณุ ภาพ
การปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการรายปีระดับมหาวิทยาลัย และระดับหน่วยงานจะถูกควบคุม

โดยระบบการตรวจสอบภายใน และระบบ กลไกการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย ดัชนีตัวชี้วัด
ความสาเรจ็ ของการดาเนินงานตามแผนจึงเป็นดัชนตี วั ชว้ี ัดที่มหาวิทยาลัยพัฒนาข้ึนเพ่ือควบคุมคุณภาพภายใน และ
เป็นตัวช้ีวัดท่ีดาเนินการตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก เพ่ือให้ระบบการติดตามประเมินผล
ภายในของมหาวทิ ยาลยั มีความเปน็ เอกภาพ

50

ภาคผนวก 5
การทบทวน และการปรับแผน

มหาวิทยาลัยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของบริบทที่อาจขึ้นไดตลอดเวลา จึงไดกาหนดใหมีการ
ทบทวน ปรับแผนปฏิบัติราชการไดเพ่ือใหยืดหยุ่นและเหมาะสมกับสถานการณในลักษณะแบบ Rolling Plan
ซึ่งจะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงใหม่ให้ทันต่อสถานการณ์อย่างต่อเน่ืองกันไป โดยหน่วยงานระดับคณะ/
สถาบัน/สานกั ตองเสนอมหาวิทยาลัยเพ่ือขออนุมัติปรับแผนปฏิบัติราชการ โดยเฉพาะอยางยิ่งหากการยกเลิกหรือ
ปรับปรุงโครงการมีผลทาใหเปาหมายการดาเนินงาน กิจกรรม และงบประมาณเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กรณีที่ไมมี
การขอปรับแผนปฏิบัติราชการท่ีกล าวมา การกากับ ติดตาม และประเมินผลจะยึดถือแผนปฏิบัติราชการที่
มหาวิทยาลยั อนมุ ัตไิ วเดิม

Download กองนโยบายและแผน มหาวทิ ยาลัยราชภัฏนครศรธี รรมราช
WWW.NSTRU.AC.TH


Click to View FlipBook Version