อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
สมาชิก
ด.ช.กรวิชญ์ บุญมี เลขที่1
ด.ช.ชิษณุพงศ์ โดรณ เลขที่3
ด.ช.ณัชฐ์พงศ์ แก้วแดง เลขที่6
ด.ช.ธนากร แตงน้อย เลขที่9
ด.ช.นราธิป กรณีย์ เลขที่10
ด.ช.พิรชัช รอดเขียน เลขที่13
ด.ญ.ชุติกาญจน์ ตรีวงษ์ เลขที่22
ด.ญ.ณฐมณ เสถียร เลขที่23
ด.ญ.นฤภร อนันตอาจ เลขที่27
ด.ญ.ปิ่ นมณี ประทุมวัตร์ เลขที่29
ด.ญ.ภุศธิฎา กอมขุนทด เลขที่32
ด.ญ.รัสวีร์ เจริญฉัตรารมย์ เลขที่35
ด.ญ.วัชรินทร์ แก้วทิม เลขที่36
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมียเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่ง
หนึ่ง เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสายคือ
แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส (ปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของ
ประเทศอิรัก) ระหว่างสองฝั่ งแม่น้ำทั้งสองสายเป็นพื้นดินที่มี
ความ อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้กลุ่มชนชาติ
ต่างๆเข้ามาทำมาหากินและสร้างอารยธรรมขึ้น รวมทั้ง
ถ่ายทอดอารยธรรม จากกลุ่มหนึ่งสู่กลุ่มหนึ่ง ทำให้เกิด
อารยธรรมแบบผสม
ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้คนเข้ามา
ทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่อง
บั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความ
กระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่
เข้ามา ใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนาน ๆ เข้าก็ประสบภาวะเดียวกัน
ต้องหลีกให้ผู้อื่ นต่อไปพวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมา
จากบริเวณ หุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือ และตะวันออกซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และ
ยังมีพวกที่มาจาก ทะเลทรายซีเรียและอาระเบีย เรื่องราว
ของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของ
คนกลุ่มต่าง ๆ หลายกลุ่ม มิได้ เป็นเรื่องราวของอารยธรรม
ที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เมโสโปเตเมียเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง
ของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ
แม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่ง
ปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศอิรัก แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ใน
อาร์เมเนียและเอเชียไมเนอร์ มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำชัตต์อัล
อาหรับแล้วไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
อาณาเขตบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรด
ทะเลดำและทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทร
อาหรับซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศ
ตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ส่วนทิศตะวันออกจรด
ที่ราบสูงอิหร่าน
เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าว
เปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่ง
ค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าอัสซีเรีย (Assyria)บริเวณทั้งหมด
มีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่มีการรบกันอยู่เสมอ เมื่อ
ชาติใดมี อำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติ
เดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหน
ตำบลใดจะมีชาติพันธุ์ มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่
นี่และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตกกับตะวันออกตลอด
สมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่าง ๆ ของ
ชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสน
คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน
ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกอารยธรรม ที่ชาวสุ
เมเรียนขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
สถาปัตยกรรม ตัวอักษรศิลปกรรมอื่น ๆ ตลอดจนทัศนคติต่อ
ชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ใน
ลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
กลุ่มคนที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
ชาวสุเมเรียน (Sumeriam)
เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชชาวสุเมเรียน
ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม
(Delta) ปาก แม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ซึ่งเรียกกัน ในเวลาต่อ
มาว่าดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนชาวสุเมเรียนเป็น
หมู่บ้านยุคหินใหม่ หมู่บ้าน เหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นเป็นชุมชน
วัด และในเวลาต่อมาชุมชนวัดแต่ละแห่งได้พัฒนาขึ้นเป็น
เมือง ที่สำคัญได้แก่เมืองเออร์(Ur) เมือง อิเรค (Ereck)
เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิป
เปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็น
บริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่านครรัฐ
(City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน
ในขณะที่ชาวสุเมเรียน สถาปนานครรัฐขึ้นทางตอนล่างของ
ลุ่มแม่น้ำไทกรีส- ยูเฟรตีส หลายนครรัฐชนกลุ่มอื่นๆ ก็ได้
สถาปนานครรัฐของตน ในบริเวณตอนเหนือขึ้นไปอีกหลาย
แห่งแต่มีความเจริญทางอารยธรรมด้อยกว่านครรัฐของชาว
สุเมเรียน ในดินแดนซูเมอร์ก็ตามแต่ภาษาที่ใช้สืบมาจากราก
เดียวกันคือภาษาอินโด-ยูโรเปียนอันเป็นต้นกำเนิดจากภาษา
ลาติน กรีก เปอร์เซีย สันสกฤต รวมทั้งภาษาเยอรมันและ
ภาษาโรมานซ์ในปัจจุบัน มองจากแง่ของภาษาอนารยชน
กลุ่มใหม่เหล่านี้ก็คือ บรรพบุรุษของเรานั่นเอง การบุกรุก
ทางใต้ของชนเหล่านี้มีผลทำให้ชนเผ่าอื่ นถูกแย่งที่ไปอย่าง
รุนแรงในช่วงประมาณปี 1750 ถึง 1550 ก่อนคริสตกาล
พวกอนารยชนดังกล่าวตลอดจนพวกอื่นๆ ที่ดำเนินรอยตาม
ได้ทำลายความต่อเนื่องทางการเมืองและ วัฒนธรรมของดิน
แดนตะวันออกใกล้สมัยโบราณ ประมาณปี 1595 ผู้รุกราน
เผ่าอินโด-ยูโรเปียน ก็ทำให้ราชวงศ์ของพระเจ้า ฮัมบูราบีใน
นครบาบิโลนต้องสิ้นสุดลงซึ่งฉุดให้เมโสโปเตเมียเข้าสู่ช่วง
เวลาอันยาวนานของความเสื่อมของทางวัฒนธรรมและ
ความไม่สงบทางการเมือง
ปัจจัยที่เอื้ ออำนวยที่ทำให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. ความคิดสร้างสรรค์รักษา ปรับปรุงและสืบทอดใน
อารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ
1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
1.3 อะมอไรท์ (Amorites)
1.4 คัสไซท์ (Kassites)
1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
1.6 แคลเดียน (Chaldeans)
2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิด
การรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น
3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยการเป็นกำแพงป้องกัน
ศัตรูภายนอกแม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ก็เอื้อ
อำนวย ให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันมีบทบาทในเมโสโปเตเมีย
สามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธร
รมเมโสโปเตเมีย ขึ้น กล่าวคือทิศเหนือจรดเทือกเขาอเมเนีย
ทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซียทิศตะวันออกจรดแนวเทือกเขายาว
ทิศตะวันตกจรดทะเล ทรายอารเบียน
สำหรับแหล่งกำเนิดอารยธรรมแห่งแรก ในเมโสโปเตเมีย
คือ บริเวณซูเมอร์ (Summer) และผู้สร้างสรรค์
อารยธรรมเริ่มแรกในบริเวณนี้ คือ ชาวซูเมเรีย เมื่อ
ประมาณ ๔,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชบริเวณซูเม
อร์เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์จากดินตะกอนทับถม
อยู่บนฝั่ งแม่น้ำแต่มี ฝนตกน้อย พื้นที่ที่อยู่ห่างแม่น้ำจะ
แห้งแล้ง แต่บริเวณสองฝั่ งแม่น้ำจะมีน้ำเอ่อท่วม ทำให้มี
ความ ชุ่มชื้น บางแห่งมีน้ำขัง สภาพเช่นนี้เป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมขึ้น
เพราะชาวสุเมเรียหาวิธีแก้ปัญหาและเอาชนะธรรมชาติ โดย
สร้างทำนบกั้นน้ำบริเวณ สองฝั่ งแม่น้ำ ขุดคลองระบายน้ำ ทำ
ประตูน้ำ ร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนกั้นน้ำเพื่อประโยชน์ ในการท่า
เกษตรกรรม กล่าวได้ว่าเป็นระบบการชลประทานครั้งแรกของ
โลกนอกจากนี้ ชาวซูเมเรียมีการประดิษฐ์ล้อทําให้การขนส่ง
สินค้าไปแลกเปลี่ยนกับดินแดนใกล้เคียงมีความสะดวก
รวดเร็วมากยิ่งขึ้นและสร้างวงล้อที่ประกอบกับเพลาเพื่อใช้กับ
เกวียน และรถศึก ทำให้นักรบบนรถศึกสามารถสู้รบ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
ชาวซูเมเรียมีการปกครองแบบนครรัฐแต่ละนครรัฐประกอบด้วย
บริเวณเมือง พื้นที่เกษตรกรรม และหมู่บ้านที่อยู่รอบๆ บริเวณสำคัญ
ของเมือง คือ วัดหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่ประทับของเทพเจ้า
เรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurat) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายพีระมิดของอียิปต์
ชาวซูเมเรียเป็นชนชาติแรกที่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร โดยพระ
ได้คิดค้นวิธีการเขียนเป็นภาพบนแผ่นดินเหนียว โดยเขียน
ด้วยปากกาที่ทำจากต้นอ้อ ตรงปลาย ทำเป็นรูปสามเหลี่ยม
เมื่อเขียน ลงบนแผ่นดินเหนียวจะทำให้เกิด ลักษณะคล้ายรูป
ลิ่ม จึงเรียกว่า อักษรคูนิฟอร์ม (Cuniform) หรือ อักษรลิ่ม
เมื่อเขียนเสร็จแล้วจึงนำ แผ่นดินเหนียวไปพึ่งแดดหรือเผาไฟ
ให้แห้ง และเมื่อชนชาติอื่นเข้ามาอาศัยก็ได้ใช้อักษรนี้สืบต่อมา
ชาวซูเมเรียนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ในแต่ละนครรัฐต่างๆ มีการบูชา
เทพเจ้าของตัวเอง และไม่เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ ความเชื่อทาง
ศาสนาถูกถ่ายทอดออกมาทางวรรณกรรมเรื่อง มหากาพย์กิลกาเมช
(Gilgamesh) ซึ่งเป็นวรรณกรรมเรื่องแรกของโลก
ผลงานการสร้างสรรค์ที่สำคัญของชาวซูเมเรียยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น
ทำปฏิทินเป็นแบบ จันทรคติ ๑ ปีมี ๑๒ เดือน ๑ เดือนมี ๒๖ 6 วัน การ
คิดค้นวิธีการคิดเลขด้วยวิธีบวก ลบ คูณ รู้จักนำดินเหนียวมาตากแดด
และเผาไฟให้แห้งเพื่อนำมาใช้ก่อสร้าง เพราะบริเวณที่ชาวซูเมเรีย อาศัย
อยู่ขาดแคลนหินและไม้สำหรับก่อสร้าง ดินเหนียวมีอยู่ทุกที่ ชาวซูเมเรีย
จึงนำดินเหนียว มาใช้ประโยชน์ เช่น สร้างบ้าน วัด กำแพง เป็นต้น
เมื่อชาวซูเมเรียเสื่อมอำนาจ ผู้ที่สืบทอดอำนาจต่อมา คือ พวก
อัคคาเดียน มีกษัตริย์ คือ พระเจ้าซาร์กอนที่ 1 และต่อมาก็ถูก
พวกอะมอไรต์เข้าครอบครอง กษัตริย์ที่สำคัญ คือ พระเจ้าฮัม
มูราบี (Hammurabi) ตั้งอาณาจักรบาบิโลนขึ้นเมื่อ 1760 ปี
ก่อนคริสต์ศักราช มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงบาบิโลน และมีอำนาจ
ปกครองพื้นที่ทั้งหมดทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมีย ผลงาน
สำคัญที่พระเจ้าฮัมมูราบีทรงสร้างไว้ คือ ประมวลกฎหมายฮัม
มูราบี (Code of Hammurabi) นับเป็นประมวลกฎหมายที่เก่า
แก่ที่สุดของโลก หลังจากสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี อาณาจักรเกิด
ความแตกแยก เพราะมีชนกลุ่มใหม่รุกรานเพื่อ ยึดครองดิน
แดนเมโสโปเตเมีย แต่อารยธรรมของชาวซูเมเรียและชาวบาบิ
โลนยังคงสืบทอดต่อเนื่องกันมา