หน่วยการเรียนรู้ที่6
ที่ตั้งและความสำคัญของ
อารยธรรมอินเดีย
รายวิชา ประวัติศาสตร์ ส21102
เสนอ คุณครูญานี อนันตอาจ
ที่ตั้งและความสำคัญของ
อารยธรรมอินเดีย
แผนที่แสดงที่ตั้งของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อ า ร ย ธ ร ร ม อิ น เ ดี ย มี แ ห ล่ ง กำ เ นิ ด ใ น บ ริ เ ว ณ ลุ่ ม
แ ม่ น้ำ สิ น ธุ ท า ง ต อ น เ ห นื อ ข อ ง อิ น เ ดี ย ใ น
อ ดี ต ( ปั จ จุ บั น อ ยู่ ใ น ป ร ะ เ ท ศ ป า กี ส ถ า น ) มี ค ว า ม
เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงประมาณ 2,500-1500 ปี
ก่อนคริสต์ศักราช และได้มีพัฒนาการต่อเนื่องมา
โดยตลอด
แหล่งอารยธรรมอินเดีย
1.อารยธรรมอินเดียสมัยก่อนประวัติศาสตร์
พัฒนาการความเจริญของอินเดียเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ
ประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้วโดยพบหลักฐานโบราณคดีสมัยหินเก่าในลุ่ม
แม่น้ำโซน (Soan) แคว้นปัญจาบเรียกว่าวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโซนในสมัย
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีเมืองสำคัญคือเมืองฮารัปปาและเมืองโมเฮนโจ-ดา
โรเมืองทั้งสองมีความโดดเด่นเรื่องสถาปัตยกรรมและการวางผังเมืองมีป้อม
ตลาดเขตที่อยู่อาศัยศาสนสถานต่อมาเมื่อประมาณ ๑,๕๐๐ ปีก่อนคริสต์
ศักราชชาวอารยันจากเอเชียกลางได้อพยพมายังตอนเหนือของอินเดียและขับ
ไล่พวกดราวิเดียนซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมให้ถอยลงไปอยู่ทางใต้
เมืองโมเฮนโจ-ดาโร
แสดงอารยธรรมอินเดียสมัยก่อนประวัติศศาสตร์
ยุคหินเก่า
ประมาณ 4,000,000 - 150,000 ปีมาแล้ว
ดังพบเครื่องมือหินหลายแห่ง เช่น ทมิฬนาดู
ทางใต้ของอินเดีย มนุษย์ดำรงชีพด้วยการ ยุคหินกลาง
เก็บของป่า ล่าสัตว์ อาศัยอยู่ในถ้ำ
ประมาณ 40,000 - 10,000 ปีมาแล้ว
มนุษย์ใช้เครื่องมือหินที่เล็กและเบา
พบในหลายบริเวณเช่น ในแคว้นมัธยประเทศ
รู้จักเขียนภาพบนผนังถ้ำ
ยุคหินใหม่
ประมาณ 7,000 - 4,000 ปีมาแล้วมนุษย์ปลูกข้าวสาลี
ข้าวบาร์เลย์ ข้าวเจ้า เลี้ยงสัตว์ อยู่ร่วมกัน
เป็นชุมนุม สร้างบ้านด้วยดินหนียว พบในแคว้น
บาลูจิสถานและตอนเหนือของแคว้นซินต์ ยุคโลหะ
ประมาณ 4,500 - 3,000 ปีมาแล้ว
เป็นยุคแห่งความรุ้งเรือง
ของอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
พวกอารยันเป็นพวกเร่ร่อนจึงไม่มีการบันทึกประวัติศาสตร์ไว้หลัก
ฐานที่ใช้ศึกษาอารยธรรมของอารยันได้จากคัมภีร์พระเวทคัมภีร์
ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอารยันซึ่งบันทึกขึ้นภายหลังสมัยที่พวกอารยันอพยพ
เข้ามาและสร้างอารยธรรมนี้จึงเรียกว่าสมัยพระเวท (๑,๕๐๐-๑๐๐ ปี
ก่อนคริสต์ศักราช) และสมัยมหากาพย์ (๙๐๐-๕๐๐ ปีก่อนคริสต์
ศักราช)
2.อารยธรรมอินเดียสมัยประวัติศาสตร์
หลังสมัยพระเวทเรียกว่าสมัยพุทธกาล (ประมาณ ๕๖๒-๓๐๐ ปีก่อน
คริสต์ศักราช) สมัยนี้เกิดศาสนาสำคัญ ๒ ศาสนาคือพระพุทธ
ศาสนาและศาสนาเชนต่อมาอินเดียถูกเปอร์เซียและกรีกสมัย
พระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชรุกรานครั้นถึง ๓๒๑ ปีก่อนคริสต์
ศักราชพระเจ้าจันทรคุปต์ผู้ตั้งราชวงศ์เมารยะได้ขยายอำนาจออก
ไปทางเหนือของอินเดียนับเป็นราชวงศ์แรกของอินเดียจักรพรรดิ
องค์สำคัญคือพระเจ้าอโศกมหาราชในระยะแรกได้ขยายดินแดน
ให้กว้างใหญ่ยิ่งขึ้นต่อมาได้เปลี่ยนไปนับถือพระพุทธศาสนาและ
เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่่างๆ
สถูปสาญจี
เรื่องน่ารู้
เรื่องน่ารู้เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชจัดเป็นประติมากรรมเนื่อง
ในพระพุทธศาสนาที่มีความงดงามที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันในสมัยพระเจ้าอโศก
มหาราชเมื่อขยายอาณาเขตไปถึงบริเวณใดก็จะสร้างเสาหินปักไว้เพื่อแสดงขอบเขตพระราช
อำานาจเสาหินโดยทั่วไปสร้างด้วยหินทรายขัดมันมีลักษณะเป็นเสากลมบนหัวเสาเป็นรูป
ดอกบัวเหนือขึ้นไปเป็นรูปสัตว์ชนิดต่างๆที่พบมากคือราชสีห์ช้างวัวจากบรรดาเสาหินทั้ง
หลายเสาหินทีสารนาถนับว่ามีความสวยงามและมีชื่อเสียงที่สุดซึ่งหัวเสาทำเป็นรูปสิงโต ๔
ตัวหันหลังชนกันยืนอยู่บนแท่นที่สลักเป็นรูปช้างม้าวัวและราชสีห์และคั่นด้วยธรรมจักรเล็ก
ๆ ปัจจุบันเสาหินเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ที่เมืองสารนาถในรัฐอุตตรประเทศ
ภายหลังจากที่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือยวาหร์
ลาลเนห์รูได้นำรูปของหัวเสาหินนี้เป็นตราประจำชาติและนำตราธรรมจักรไปประดับไว้
กลางชาติอินเดียมาจนถึงปัจจุบัน
หัวเสาอโศกที่สารนาถ ธงชาติอินเดีย
เมื่อราชวงศ์เมารยะหมดอำนาจอินเดียถูกต่างชาติรุกรานทำให้อินเดียแตกแยกและอ่อนแอ
จนกระทั่ง ค.ศ. ๓๒๐ พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๑ แห่งราชวงศ์คุปตะ (ค.ศ. ๓๒๐-๕๕๐) เริ่ม
รวมประเทศและขยายอำนาจออกไปจากแคว้นมคธสมัยนี้ศาสนาพราหมณ์ได้พัฒนาเป็น
ศาสนาฮินดู แต่พระพุทธศาสนาก็ยังคงเจริญรุ่งเรืองมีพระจีนเดินทางไปศึกษาพระพุทธ
ศาสนาและนำพระไตรปิฎกไปจีนนอกจากนี้ยังเป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางด้าน
วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยเป็นผู้เริ่มใช้เลขอารบิกและเลข 0 (เลขศูนย์) 0
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๒-๑๐ อารยธรรมอินเดียทั้งด้านศาสนาศิลปะวรรณกรรม
กฎหมายได้แพร่หลายไปยังอาณาจักรต่างๆเช่นลังกาพม่าทวารวดีเขมร
อัฟกานิสถานจีนหลังการสิ้นสุดของราชวงศ์คุปตะอินเดียแตกแยกและอ่อนแอทาง
เหนือถูกต่างชาติรุกรานศาสนาอิสลามเริ่มเผยแผ่เข้าสู่อินเดียทางเหนือ แต่ทาง
อินเดียใต้ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๙-๑๓ ศาสนาพราหมณ์ฮินดูยังคงเจริญรุ่งเรือง
ภายใต้อาณาจักรโจฬะนอกจากนี้ยังมีความรุ่งเรืองทางด้านการค้าด้วย
ในระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ถึ
งต้น
คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ อินเดียถูกปกครองโดย
สุลต่านแห่งเดลีหรือราชวงศ์มัมลูกในสมัยนี้
ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่ออกไปทั่วอินเดียและ
มีการนำวิธีการทำกระดาษดินปืนเครื่อง
กระเบื้องจากจีนมาเผยแพร่ในอินเดีย
พระเจ้าอักบาร์มหาราช
ราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองอินเดียคือราชวงศ์โมกุลหรือมุลในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖
ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ผู้ตั้งจักรวรรดิโมกุลคือพระเจ้ายาบุรีและจักรพรรดิที่มีชื่อ
เสียงคือพระเจ้ากบารมหาราชพระองค์ทรงส่งเสริมให้มีขันติธรรมทางศาสนาสุลต่านที่
สำคัญอีกพระองค์หนึ่งคือชาห์จะฮานผู้สร้างทัชมาฮัลอนุสรณ์แห่งความรักที่สวยงาม
จักรวรรดิโมกุลหมดอำนาจลงใน ค.ศ. ๑๙๕๘ โดยอังกฤษเข้ายึดครองอินเดียจนถึง
พ.ศ. ๑๙๔๗ อินเดียจึงได้รับเอกราชอารยธรรมอินเดียได้สร้างสรรค์ความเจริญต่างๆ
มากมายซึ่งมีผลสำคัญต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคเอเชียใต้และ
ภูมิภาคอื่น ๆ ที่รับอารยธรรมอินเดียอิทธิพลทางอารยธรรมที่สำคัญคือด้านศาสนาเช่น
ศาสนาพราหมณ์ฮินดูพระพุทธศาสนาและด้านภูมิปัญญาแขนงต่างๆ (ดูรายละเอียด
เพิ่มเติมในหัวข้อที่ ๒ อิทธิพลของอารยธรรมโบราณที่มีต่อทวีปเอเชียในปัจจุบัน)
ทัชมาฮาล
ลำดับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์
•สมัย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ๒,๕๐๐-๑,๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ.
เมืองฮารัปปาและโมเฮนโจ-ตาโรเจริญรุ่งเรือง
•สมัย พระเวทและมหากาพย์ ๑,๕๐๐-๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ. พวกอารยัน
อพยพเข้าสู่อินเดียรวบรวมคัมภีร์ฤคเวทแต่งคัมภีร์อุปนิษัทกำเนิด
ศาสนาพราหมณ์เกิดระบบวรรณะ
•สมัย พระพุทธเจ้า ๔๖๓-๔๘๓ ปีก่อน ค.ศ. พระพุทธเจ้าประสูติ-
ปรินิพพาน
•สมัย อะเล็กซานเดอร์มหาราช ๓๒๗ ปีก่อน ค.ศ. พระเจ้า
อะเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์ศรีกรุกรานอินเดียทางเหนือ
•สมัย ราชวงศ์เมารยะ ๓๒๑-๑๘๕ ปีก่อน ค.ศ. ราชวงศ์แรกของ
อินเดียมีจักรพรรดิที่สำคัญคือพระเจ้าจันทรคุปต์พระเจ้าอโศก
มหาราชทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังประเทศต่างๆรวมทั้งเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้
•สมัย ราชวงศ์คุปตะ ค.ศ. ๓๒๐-๕๕๐ มีศูนย์อำนาจที่แคว้น
มคธแม่น้ำคงคาศาสนาพราหมณ์มีการพัฒนาเป็นศาสนาฮินดู
แต่พระพุทธศาสนายังคงเจริญรุ่งเรืองวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้ามาก
•สมัย แตกแยกและอ่อนแอคริสต์ศตวรรษที่ ๖-๑๐ หลังสมัย
คุปตะทางเหนือถูกต่างชาติรุกรานและตั้งอาณาจักรศาสนาอิสลาม
เริ่มเผยแผ่เข้าสู่อินเดียทางเหนือในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๔
ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ อาณาจักรโจฬะทางใต้ของอินเดีย
นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูมีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้า
•สมัย สุลต่านแห่งเดลีหรือราชวงศ์มัมลูก ค.ศ. ๑๒๐๖-๑๕๒๖
ตั้งโดยผู้นำมุสลิมเชื้อสายเติร์กเรียกว่าราชวงศ์มัมลูก แต่
เนื่องจากตั้งเมืองหลวงที่เดลีจึงมักเรียกว่าสุลต่านแห่งเดลีมีการ
รับวิธีการทำกระดาษดินปืนเครื่องกระเบื้องจากจีนใน ค.ศ.
๑๔๙๘ โปรตุเกสเดินทางถึงอินเดียทางเรือ
•สมัย จักรวรรดิโมกุลหรือมูล ค.ศ. ๑๕๒๖-๑๕๕๘ ตั้งโดยบาบูร์
เชื้อสายพวกมองโกลสุลต่านที่ยิ่งใหญ่คืออักบามหาราช (ค.ศ.
๑๕๕๖-๑๖๐๕) ส่งเสริมให้มีขันติธรรมทางศาสนาเพื่อให้คนที่
นับถือศาสนาแตกต่างกันอาศัยอยู่ร่วมกันได้และชาห์จะฮาน (ค.ศ.
๑๖๒๘-๑๖๕๘) ผู้สร้างทัชมาฮัลต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘
ราชวงศ์โมกุลเสื่อมอำนาจชาติตะวันตกขยายอำนาจในอินเดีย
•สมัย อังกฤษปกครองอินเดีย ค.ศ. ๑๙๕๘-๑๙๔๗ อินเดียอยู่ภาย
ใต้การปกครองของอังกฤษโดยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็น
จักรพรรดินีของอินเดียรัฐบาลอังกฤษตั้งข้าหลวงใหญ่หรืออุปราชเป็นผู้
ปกครองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ชาวอินเดียเริ่มเรียกร้องเอกราช
ผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ มหาตมาคานธียวาหลาลเนห์รู
•สมัย อินเดียได้เอกราชแบ่งเป็น 2 ประเทศ ค.ศ. ๑๙๔๗ อินเดียได้
รับเอกราช แต่ประเทศแบ่งเป็น 2 ส่วนคืออินเดียซึ่งประชากรส่วนใหญ่
เป็นฮินดูกับปากีสถานซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมทั้ง ๒ ประเทศมี
ความขัดแย้งเรื่องแคว้นแคชเมียร์มาจนถึงปัจจุบัน
•สมัย บังกลาเทศ ค.ศ. ๑๙๗๑ ปากีสถานตะวันออกแยกออกจาก
ประเทศปากีสถานเป็นประเทศใหม่คือบังกลาเทศ
I LOVE INDIA
รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
ด.ช.จิรัฎฐ์ เพชรหมอง เลขที่2 ม.2/8
ด.ช.ธีรวีร์ ระบอบ เลขที่6 ม.2/8
ด.ช.นเรนทร์ฤทธิ์ สุวรรณนิตย์ เลขที่9 ม.2/8
ด.ช.ภาวิณ ศรีสงคราม เลขที่15 ม.2/8
ด.ช.รัชพล วิเศษศรี เลขที่16 ม.2/8
ด.ญ.ฐิตาภรณ์ ฟักทอง เลขที่21 ม.2/8
ด.ญ.ณวภัคร ครุธจีน เลขที่22 ม.2/8
ด.ญ.ณัฎฐณิชา จันสารี เลขที่24 ม.2/8
ด.ญ.พรทิพย์ รอดสัมฤทธิ์ เลขที่28 ม.2/8
ด.ญ.วิศรุตา จ่าอยู่ เลขที่35 ม.2/8
ด.ญ.สวรรณรัตน์ แนบเนียน เลขที่36 ม.2/8
ด.ญ.สุทัตตา โพธิ์พันธุ์ เลขที่38 ม.2/8
ด.ญ.อนัญญา ศรทอง เลขที่39 ม.2/8
อารยธรรมอินเดีย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือรายวิชาพื้นฐานวิชาประวัติศาสตร์ ม.2
ของ อักษรเจริญทัศน์