The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ศรัญญู รัตนวิเชียร, 2022-05-27 00:25:23

หน่วยที่ 17 กฏหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมายธุรกิจ-17

บทท่ี กฎหมายธุรกรรม
17 อิเล็กทรอนิกส์

สาระการเรยี นรู้

1. ความหมายของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
2. รูปแบบของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3. ลายมอื ช่อื อิเล็กทรอนิกส์
4. ขอ้ ควรระวังสําหรบั เจ้าของลายมอื ชอื่
อิเล็กทรอนิกส์
5. การเข้าทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
6. การควบคมุ ธุรกิจบรกิ ารเกี่ยวกับธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์

1. ความหมายของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ธุรกรรม หมายความว่าการกระทําใด ๆ ท่ีเกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและ
พาณิชย์ หรอื ในการดําเนินงานของรฐั ตามท่ีกําหนดในหมวด 4 เรอ่ื งธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์ภาครฐั

อิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่าการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้า
คล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า หรอื วิธอี ื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการ
ประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรอื อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการ
ประยุกต์ใช้วธิ ตี ่างๆ เชน่ วา่ นั้น

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) หมายถึง
กิจกรรมใด ๆ ที่กระทําขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รฐั ตลอดจนองค์กรเอกชน
หรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพ่ือวัตถุประสงค์ทางธุรกิจการค้า และการติดต่องาน
ราชการโดยใช้วธิ กี ารทางอิเล็กทรอนิกส์ทง้ั หมดหรอื แต่บางส่วน

2. รูปแบบของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

การดําเนินการทาํ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มอี ยูด่ ้วยกัน 4 รูปแบบ ดังน้ี

1. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกสไ์ ม่มผี ลทางสญั ญา
เปน็ เพยี งการแลกเปลี่ยนหรอื ให้ข้อมลู ระหวา่ งกัน
2. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มผี ลทางสัญญาใน
รูปแบบคําเสนอและคําสนอง
3. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกสท์ โี่ อนสิทธใิ นทางกฎหมาย
4. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกสต์ ามทก่ี ฎหมายกําหนด

3. ลายมอื ชอ่ื อิเล็กทรอนิกส์

ลายมอื ช่อื เปน็ เครอ่ื งยืนยันตัวบุคคลในลักษณะหน่ึง โดยปกติการลงลายมือช่อื คือ
การ“เซ็นช่อื ” ลงในเอกสาร กฎหมายจึงต้องกําหนดลักษณะของลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์
ซงึ่ อาจอยู่ในรูปของอักษร ตัวเลข เสียงท่ีสรา้ งขนึ้ ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

พระราชบัญญัติ ว่าด้ วยธุรกรรมทางอิ เล็ กทรอนิ กส์
พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2551
กําหนดเรอ่ื งลายมอื ช่อื อิเล็กทรอนิกส์ มี 2 ประเภท คือ

1. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ซ่ึงเป็นหลักเปิดกว้างเพ่ือ
รองรับวิธีการทุกประเภทที่อาจนํามาใช้ในการลงลายมือช่ือใน
ข้อมลู อิเล็กทรอนิกส์

2. ลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ที่เช่ือถือได้ เมื่อใช้เทคโนโลยีตาม
คุณสมบัติหรอื หลักเกณฑ์ท่ีกฎหมายกําหนด ให้ถือว่าเป็นลายมือ
ชอื่ อิเล็กทรอนิกสท์ ีเ่ ช่อื ถือได้

4. ขอ้ ควรระวังสาํ หรบั เจ้าของลายมอื ชื่ออิเล็กทรอนิกส์

แม้ว่าระบบการเข้าถึงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็จัด
ว่ายังมีการปลอมแปลงกันได้ง่ายกว่าการปลอมลายมือชื่อ เพราะเพียงแค่ผู้
ปลอมแปลงทราบข้อมูลในการระบุตัวผู้เป็นเจ้าของลายมือช่ือทางอิเล็กทรอนิกส์
เท่านั้น เจ้าของลายมอื ช่ืออิเล็กทรอนิกสจ์ ึงต้องดําเนินการด้วยข้อควรระวงั ดังน้ี

1. อ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกสด์ ้วยความละเอียดรอบคอบ

2. ไม่ให้มกี ารใช้ข้อมูลสําหรบั ใช้สรา้ งลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์
โดยไม่ได้รบั อนุญาต
3. แจ้งให้บุคคลที่เก่ียวข้องกับเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ท่ตี ้องทาํ ธุรกรรมด้วย กรณีทราบวา่ ขอ้ มลู สําหรบั ใชส้ รา้ ง
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกสน์ ้ันสูญหายถกู เปิดเผย

5. การเข้าทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

1. การทาํ คําเสนอหรอื คําสนอง อาจทาํ ในลักษณะขอ้ มูลอิเล็กทรอนิกสโ์ ดยการแสดง
เจตนาเปน็ ขอ้ มูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผูส้ ่งข้อมูลกับผู้รบั ขอ้ มลู ในลักษณะดังต่อไปนี้

(1) ผสู้ ง่ สง่ ขอ้ มูลอิเล็กทรอนิกส์และกําหนดให้มีการตอบกลับด้วยการติดต่อจาก
ผู้รบั ขอ้ มูลกลับไปผู้ส่งข้อมลู

(2) บางกรณีผูส้ ่งข้อมลู อาจกําหนดว่า แมว้ า่ จะมีการสง่ ข้อมลู อิเล็กทรอนิกส์แต่ให้
ถือว่ามีการสง่ ขอ้ มูลอิเล็กทรอนิกสจ์ รงิ เม่อื ได้รบั การตอบกลับแล้วเท่านั้นก็สามารถทําได้

2. ผรู้ บั ขอ้ มูลตรวจสอบความถกู ต้องของข้อมูลว่าเปน็ ขอ้ มลู ของ
ผสู้ ่งขอ้ มลู จรงิ
3. เมื่อผู้รบั ขอ้ มูลตรวจสอบข้อมลู และจะเขา้ ทาํ ธุรกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ แล้วก็จึงตอบกลับและลงลายมอื ชือ่ อิเล็กทรอนิกส์
เขา้ ทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

6. การควบคมุ ธุรกิจบรกิ ารเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันมีธุรกิจบรกิ ารเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
อ ยู่ 2 ลั ก ษ ณ ะ ไ ด้ แ ก่ ผู้ ใ ห้ บ ริ ก า ร ก า ร ชํ า ร ะ เ งิ น ท า ง
อิเล็กทรอนิ กส์และผู้ให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายกําหนดว่า บุคคลที่ประกอบธุรกิจ
บรกิ ารเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะต้องจดแจ้ง และ
ข้ึนทะเบียนหรอื ต้องได้รบั ใบอนุญาตตามท่ีกําหนดในพระราช
กฤษฎีกา หากฝ่าฝืนจัดเป็นความผิดต้องได้รับโทษตามที่
กฎหมายกําหนด

กฎหมายยังกําหนดอีกว่าธุรกิจบรกิ ารท้ัง 2 ลักษณะจะ
ดําเนินการได้ในการเสริมสร้างความเชื่อถือ และยอมรับใน
ระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรอื เพ่ือป้องกันความเสียหายต่อ
สาธารณชน

สรุป

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงกิจกรรมใด ๆ ที่กระทําข้ึนระหว่าง
หน่วยธุรกิจ บุคคลรัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อ
วัตถุประสงค์ทางธุรกิจการค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทาง
อิเล็กทรอนิกส์ท้ังหมดหรอื แต่บางส่วนใช้ในการทําธุรกรรมภาครฐั และเอกชน ผ่าน
การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ท่ีต้องระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ตามท่ีกฎหมายกําหนด เม่ือข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ใช้เป็นเครอื่ ง
ยืนยันการทํานิติกรรมสัญญาได้ดังเช่น หนังสือ หรอื หลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ท่ีจะลง
ลายมือชือ่ อิเล็กทรอนิกส์จึงต้องดําเนินการด้วยความระมัดระวงั


Click to View FlipBook Version