The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kruprayoon2525, 2024-01-23 09:45:04

แผนเรื่องที่ 2

แผนเรื่องที่ 2

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 วิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส16101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ …. ปีการศึกษา ……. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เวลา 21 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม 1 เวลา 2 ชั่วโมง วันที่ ……………………………….. ผู้สอน ………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………..…………….………… 1. สาระ /มาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชี้วัด สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม มาตรฐาน ส1.1 รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ ศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีความศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข ตัวชี้วัด ส 1.1 ป.6/5 วิเคราะห์พุทธประวัติหรือประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือตามที่ กำหนด ตัวชี้วัด ส 1.1 ป.6/6 วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจาก ประวัติสาวก ชาดกเรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่างที่กำหนด 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด พุทธประวัติ คือ ประวัติของพระพุทธเจ้า ศาสดาของพระพุทธศาสนา การศึกษาพุทธประวัติ ตั้งแต่ก่อนการผจญมารจนถึงการสั่งสอนธรรม โดยการศึกษาชาดก คือเรื่องราวในอดีตของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะมาประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย การศึกษามิตตวินทุกชาดกให้ข้อคิดว่า คนที่ว่ายากสอนยากเป็นที่รำคาญของพ่อแม่ครูอาจารย์ผู้หวังดีและเพื่อนฝูง คนชั่ว เห็นอะไรที่ดีๆ มักไม่ เห็นความสำคัญ แต่กลับไปบูชาหรือชอบแต่ในสิ่งที่ชั่วร้าย ดังคำโบราณ ว่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ส่วนราโชวาทชาดกให้ข้อคิดว่าการประพฤติธรรมช่วยให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การศึกษาพุทธ ประวัติและชาดกช่วยให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจเรื่องราวของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต โดยการนำข้อคิดจากการศึกษาพุทธประวัติและชาดกมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3.1 ด้านความรู้ (K) 1) ตอบคำถามเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดกได้


2) วิเคราะห์ข้อคิดจากพุทธประวัติและชาดกได้และนำข้อคิดที่ได้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ 3) สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดก เรื่อง มิตตวินทุกชาดกและราโชวาทชาดก เพื่อทำชิ้นงานได้ 4) นำเสนอพุทธประวัติตั้งแต่ก่อนการผจญมารจนถึงการสั่งสอนธรรม (ชาดก) มิตวินทุกชาดก และราโชวาทชาดกได้ในรูปแบบที่หลากหลายตามความถนัดและความสนใจ 5) เห็นคุณค่าของการศึกษาพุทธประวัติและชาดก นำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่และชักชวนให้ผู้อื่น ปฏิบัติตามได้ 3.2 ด้านทักษะกระบวนการ (P) 1) ทักษะชีวิตด้านการคิด การแก้ปัญหา และทักษะในการสื่อสาร 2) ทักษะการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม 3.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) 1) มีความตั้งใจในการทำงาน 2) มีความรับผิดชอบ 3) มีความอดทน 4) มีจิตสาธารณะ 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 4.1 ความสามารถในการสื่อสาร - ทักษะการฟัง เข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน หรือสนทนา - ทักษะการพูด จับใจความ ออกเสียงเนื้อหาได้ถูกต้อง สามารถถ่ายทอดข้อมูลและ นำเสนอเนื้อหาได้ - ทักษะการอ่าน เข้าใจตัวอักษร คำ และภาพที่เห็นในเอกสารประกอบการเรียน กิจกรรมและแบบทดสอบ - ทักษะการเขียน สามารถเขียนตอบคำถามในกิจกรรมได้ 4.2 ความสามารถในการคิด - ทักษะการคิดวิเคราะห์ 4.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา -การแก้ไขปัญหาในการทำงานเดี่ยว/การทำงานกลุ่ม


5. เนื้อหาสาระการเรียนรู้ 5.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและจิตสาธารณะ ร่วมกับ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เล่มที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมาร สั่งสอนธรรม ตอนที่ 1 พุทธประวัติ ตอนที่ 2 มิตตวินทุกชาดก และราโชวาทชาดก 6. ภาระงาน/ชิ้นงาน 6.1 นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้ศึกษาในใบความรู้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและจิตสาธารณะ ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เล่มที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม เป็นแผนผังมโนทัศน์ (Mind Mapping) 7. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้ 1) ครูทักทายและสนทนากับนักเรียน 2) นักเรียนสวดมนต์ไหว้พระก่อนเรียน 3) ครูแจ้งให้นักเรียนได้ทราบว่าวันนี้เราจะมาศึกษา เรื่อง พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมาร สั่งสอนธรรม 4) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ เป็นรายบุคคลเพื่อทดสอบความรู้ เกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม ว่านักเรียนมีความรู้เดิมมากน้อยเพียงใด และให้นักเรียนแต่ละคนบันทึกคะแนนของตนเองไว้ 5) ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และแนะนำการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว วิถีพุทธ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและจิตสาธารณะ ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม เล่มที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม ให้นักเรียนได้ทราบ จากนั้น จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและจิต สาธารณะ 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้


ขั้นที่1 (ทุกข์) กำหนดปัญหา 1) นักเรียนดูวีดีโอพุทธประวัติตอน การผจญมารและสั่งสอนธรรม 2) นักเรียนคิดวิเคราะห์และตั้งคำถามในประเด็นที่ตนเองสงสัยเกี่ยวกับวีดีโอที่ดูมา คนละ 1 คำถามลงในกระดาษสติกเกอร์ 3) นักเรียนนำแผ่นสติกเกอร์ที่เขียนคำถามไปอ่านให้เพื่อนฟังหน้าห้องเรียน แล้วนำ ข้อความที่อ่านแล้วไปติดบนกระดานทีละคนจนครบทุกคน โดยนักเรียนคนที่อ่านคนต่อ ๆ มาเทียบ แยกแยะปัญหาที่เหมือนกันกับคำถามของตนอยู่กลุ่มเดียวกัน คนที่ไม่เหมือนอยู่คนละกลุ่ม โดยครูให้ คำปรึกษาและประเมินคำถามใหม่ลักษณะใกล้เคียงกันอยู่กลุ่มเดียวกันและพยายามจัดให้มีขนาดเท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน 4) นักเรียนแต่ละกลุ่ม นำปัญหาที่ตนเองสงสัยมารวมกัน แล้วร่วมกันระบุปัญหา ให้เป็นไปในทางเดียวกัน เพียง 1 ปัญหา หรือ 1 ประเด็นเท่านั้น พร้อมทั้งนำประเด็นปัญหาที่สงสัยของ กลุ่มตนเองมาตั้งชื่อให้เกี่ยวกับปัญหา การแก้ปัญหาให้สั้น กระชับ น่าสนใจ 5) ส่งครูตรวจเสนอแนะเพิ่มเติม นักเรียนแก้ไข ปรับปรุง ขั้นที่ 2 (สมุทัย) สาเหตุ หรือตั้งสมมติฐาน 1) ครูนำเพลง “การทำงานกลุ่ม” มาให้นักเรียนดูจากวีดีโอให้นักเรียนอ่านพร้อม ๆ กัน 1 เที่ยว ครูร้องให้นักเรียนฟัง นักเรียนร้องตาม 1 เที่ยว นักเรียนร้องพร้อมกัน 1 เที่ยว 2) ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงเนื้อหาของเพลงในเรื่องการทำงานกลุ่ม ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง หน้าที่ของแต่ละคนในกลุ่มเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง นักเรียนจะทำอย่างไร ในการเข้ากลุ่มและเลือกสมาชิกในกลุ่ม เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ภายในกลุ่ม ครูช่วยเสนอแนะเพิ่มเติม 3) นักเรียนเลือกประธาน รองประธาน กรรมการและเลขานุการกลุ่ม วางแผน การทำงานโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน และปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ดังนี้ ประธาน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของสมาชิกในกลุ่ม ดูแล จัดการ อำนวยความสะดวก ในการทำกิจกรรมของกลุ่ม การขอและให้คำแนะนำเมื่อเกิดความไม่เข้าใจ การหาข้อมูลเพิ่มเติม ประสานงานทุกอย่างในกลุ่มให้สมาชิกทำกิจกรรมอย่างมีความสุขและเป็นไปด้วยเรียบร้อย รองประธาน ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธานทุกอย่าง และเป็นตัวแทนเมื่อประธาน ไม่ว่างหรือไม่อยู่ กรรมการ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธานและรองประธาน พร้อมทั้งคอยเตือนให้สมาชิก ทุกคนตรวจสอบงานให้ถูกต้อง เรียบร้อยก่อนนำส่งทุกครั้ง


เลขานุการ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยงานทุกอย่างในกลุ่ม พร้อมทั้งคอยตักเตือนสมาชิก ให้เตรียมพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ในการทำงาน การรักษาเวลา รักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบ และความสามัคคีในกลุ่ม (ให้หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ในแต่ละเรื่อง) สมาชิกในกลุ่มร่วมกันตั้งชื่อกลุ่มของตนเองให้สั้น กระชับ น่าสนใจ สอดคล้องกับ ชื่อเรื่อง และสมาชิกในกลุ่มต้องช่วยเหลือกัน คนเรียนเก่งต้องช่วยเหลือคนเรียนอ่อน ต้องปรึกษากัน ภายในกลุ่ม ดังนั้นนักเรียนในกลุ่มเดียวกันต้องช่วยเหลือแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนเข้าใจจะได้ทำกิจกรรมและแบบทดสอบได้ 4) ครูแจกเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เล่มที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม และนักเรียนสามารถสแกนคิวอาร์โค๊ตเพื่อศึกษา เอกสารประกอบการเรียน 5) นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมสมองช่วยกันเขียนผังมโนทัศน์ วางแผนออกแบบรวบรวม ข้อมูล จากคำถาม ประเด็นปัญหา รวมทั้งวางแผน ออกแบบเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ใน การศึกษาค้นคว้าของกลุ่มตนเอง 6) นักเรียนทุกคนศึกษาเนื้อหาในใบความรู้ที่ 1 พุทธประวัติ แล้วนักเรียนแต่ละกลุ่ม ร่วมกันอภิปรายเนื้อหา โดยให้นักเรียนที่เรียนเก่งในแต่ละกลุ่มอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มได้เข้าใจเพิ่มเติม จนทุกคนมีความเข้าใจในเนื้อหา ชั่วโมงที่ 2 ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 3 (นิโรธ) ผล หรือผลการทดลอง 1) นักเรียนแต่ละกลุ่มทบทวนความรู้ในใบความรู้ที่ 1 อีกครั้ง 2) นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมที่ 1 ดังนี้ ตอนที่ 1 ให้นักเรียนพิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าตรงกับพุทธประวัติเรื่องใด โดยเขียน เครื่องหมาย ลงในตาราง (12 คะแนน) ตอนที่ 2 ให้นักเรียนพิจารณาภาพต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามว่าเป็นภาพอะไร ตั้งอยู่ที่ใด และเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอย่างไร (9 คะแนน) ตอนที่ 3 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้(15 คะแนน) ตอนที่ 4 ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย ลงใน หน้าตัวอย่างที่เลือก 1 เหตุการณ์ แล้วเขียนสรุป วิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนด (8 คะแนน) 3) ครูสังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน พร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือ คนที่มีปัญหา


4) นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกระดาษคำตอบของกิจกรรมกับนักเรียนกลุ่มอื่น ๆ เพื่อตรวจให้คะแนน 5) ครูเฉลยคำตอบให้นักเรียนทราบและให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนคะแนนลงใน แบบบันทึกคะแนน และประกาศคะแนนของทุกกลุ่ม 6) นักเรียนแต่ละกลุ่มทบทวนคำตอบที่ได้รับการตรวจแล้ว พร้อมกับแก้ไขความเข้าใจ ในข้อที่ทำผิดให้แก่สมาชิกทุกคนจนเข้าใจดีแล้ว และพร้อมจะทำกิจกรรมต่อไป ขั้นที่4 (มรรค) วิธีแก้ปัญหา หรือวิเคราะห์ข้อมูล 1) นักเรียนทุกคนเขียนวิเคราะห์เรื่องที่อ่านในใบความรู้ แล้วสรุปความ และแสดงความ คิดเห็น สรุปเนื้อหาเป็นแผนผังมโนทัศน์ (Mind Mapping) หรือผังกราฟิกรูปแบบอื่น ๆ ตามความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน 2) นักเรียนแต่ละกลุ่ม นำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายผล ช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูล แยกแยะข้อมูล จัดกลุ่ม จำแนก ประเภท จัดระบบ สื่อข้อมูลออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ สถิติตาราง กราฟ เป็นต้น 3) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอการสรุปองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาจากใบความรู้ของเอกสาร ประกอบการเรียน เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เล่มที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมาร สั่งสอนธรรม ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4) ครูช่วยสรุปความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม พร้อมทั้งกล่าวยกย่องชมเชยผลการปฏิบัติ กิจกรรมของนักเรียน ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผลและสรุปผล 1) นักเรียนช่วยกันสรุปประเมินผลข้อมูลจากประเด็นปัญหา คำถามที่สงสัยและได้เรียนรู้ จากใบความรู้และการทำกิจกรรม 2) นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดก แล้วออกแบบชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่อง พุทธประวัติ โดยทบทวนหน้าที่ของแต่ละคนในกลุ่มแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันในการศึกษา ค้นคว้า และออกแบบชิ้นงาน แต่ละกลุ่มแยกย้ายกันไปค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่วางแผนไว้เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ห้องจริยศึกษา ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น แล้วมาจัดทำเป็นรูปเล่มและชิ้นงาน / ผลงานในรูปแบบตามความถนัดและความสนใจของตนเองและสมาชิกในกลุ่ม เช่น โปสเตอร์ หนังสือ เล่มเล็ก ป๊อปอัพ รายงาน PowerPoint เพลง คลิปวีดีโอ หนังสั้น หรือ ผลงาน/ชิ้นงานอื่น ๆ เป็นต้น 3) นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดส่งตัวแทนเป็นผู้นำเสนอ เป็นผู้ชมนิทรรศการ เป็นผู้ประเมิน ผลงาน


4) นักเรียนนำผลงาน/ชิ้นงานของกลุ่มตนเองไปช่วยกันจัดนิทรรศการหลังชั้นเรียน เสร็จแล้วให้ตัวแทนไปปฏิบัติหน้าที่ตามกลุ่มที่มอบหมาย โดยไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานของกลุ่ม ตนเองและเพื่อน ๆ พร้อมทั้งประเมินความพึงพอใจต่อผลงาน 5) นักเรียนออกมาสรุปผลงานที่ได้ไปชมมา และสรุปความรู้เป็นผังมโนทัศน์ข้อคิดและ นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และครูสรุปความรู้ให้นักเรียนทราบอีกครั้งและสุ่มให้นักเรียนนำเสนอ ว่าจะนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร จากนั้นครูสรุปเพิ่มเติม พร้อมทั้งกระตุ้นให้นักเรียน พยายามในการทำกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องต่อไป 8. สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อการเรียนรู้ - แบบทดสอบก่อนเรียน - วีดีโอพุทธประวัติ - ใบความรู้ - กิจกรรม 8.2 แหล่งการเรียนรู้ - แหล่งข้อมูลสารสนเทศ ได้แก่ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ห้องจริยศึกษา - ภูมิปัญญาท้องถิ่น 9. การวัดและประเมินผล สิ่งที่ต้องการวัด วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การผ่าน หมายเหตุ ด้านความรู้ (K) 1. ตอบคำถามเกี่ยวกับ พุทธประวัติและชาดก ได้ 2. วิเคราะห์ข้อคิดจาก พุทธประวัติและชาดก ได้และนำข้อคิดที่ได้ ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันได้ 3. สืบค้นข้อมูลที่ เกี่ยวกับพุทธประวัติ 1. คะแนน แบบทดสอบ ก่อนเรียน (Pretest) และ แบบทดสอบ หลังเรียน (Posttest) 2. ประเมินชิ้นงาน/ ผลงาน 1. แบบทดสอบ ก่อนเรียน (Pre-test) และ แบบทดสอบ หลังเรียน (Post-test) 2. แบบประเมิน ชิ้นงาน/ผลงาน 1. นักเรียนได้ คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป 2. นักเรียนมีผล การประเมินได้ ระดับดีขึ้นไป


สิ่งที่ต้องการวัด วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การผ่าน หมายเหตุ และชาดก เรื่อง มิตตวินทุกชาดกและ ราโชวาทชาดก เพื่อทำ ชิ้นงานได้ 4. นำเสนอพุทธประวัติ ตั้งแต่ก่อนการผจญ มารจนถึงการสั่งสอน ธรรม (ชาดก) มิตวินทุกชาดกและ ราโชวาทชาดกได้ใน รูปแบบที่หลากหลาย ตามความถนัดและ ความสนใจ 5. เห็นคุณค่าของ การศึกษาพุทธประวัติ และชาดก นำความรู้ที่ ได้ไปเผยแพร่และ ชักชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติ ตามได้ 3. คะแนนกิจกรรม 3. กิจกรรม 3. นักเรียนได้ คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป ด้านทักษะ กระบวนการ (P) 1. ทักษะชีวิตด้าน การคิด การแก้ปัญหา และทักษะในการ สื่อสาร 2. ทักษะการทำงาน ด้วยกระบวนการกลุ่ม 1. สังเกตพฤติกรรม ทักษะชีวิต ด้านการคิด การแก้ปัญหา และทักษะในการ สื่อสาร 2. สังเกตพฤติกรรม การทำงานด้วย กระบวนการกลุ่ม 1. แบบประเมิน ทักษะชีวิต ด้านการคิด การแก้ปัญหา และทักษะใน การสื่อสาร 2. แบบประเมิน พฤติกรรม การทำงานด้วย 1. นักเรียนได้ ระดับคุณภาพ 3 ขึ้นไป 2. นักเรียนได้ ระดับคุณภาพ 3 ขึ้นไป


สิ่งที่ต้องการวัด วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การผ่าน หมายเหตุ กระบวนการ กลุ่ม ด้านคุณลักษณะอันพึง ประสงค์(A) 1. มีความตั้งใจในการ ทำงาน 2. มีความรับผิดชอบ 3. มีความอดทน 4. มีจิตสาธารณะ 1. สังเกตพฤติกรรม ความตั้งใจ ในการทำงาน ความรับผิดชอบ ความอดทน มีจิตสาธารณะ 1. แบบประเมิน ความตั้งใจ ในการทำงาน ความรับผิดชอบ ความอดทน มีจิตสาธารณะ 1. นักเรียนได้ ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป


10. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร ............................................................................................................................. ........... ........................................................................................................................ ............................................ ............................................................................................................................. ....................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................. .................................................................. ลงชื่อ ( ) ตำแหน่ง วันที่ ........ เดือน .................... พ.ศ. ............


11. บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 11.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 11.2 ปัญหาอุปสรรค …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 11.3 ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. (ลงชื่อ) ผู้สอน (…………………………………) ตำแหน่ง ………………………………………………


แบบบันทึกคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและจิตสาธารณะ ร่วมกับเอกสาร ประกอบการเรียน เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่มที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม เลขที่ คะแนน (10) คิดเป็นร้อยละ ระดับคุณภาพ ผ่าน/ไม่ผ่าน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 รวม เฉลี่ย


แบบประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและจิตสาธารณะ ร่วมกับเอกสาร ประกอบการเรียน เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่มที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม เลขที่ กิจกรรมที่ 1 รวม คิดเป็น ร้อยละ ระดับ คุณภาพ ผ่าน/ ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 ไม่ผ่าน 12 9 15 8 44 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 รวม เฉลี่ย


เกณฑ์คุณภาพการประเมินคะแนนกิจกรรม และแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) คะแนน (ร้อยละ) ระดับคุณภาพ 80 – 100 4 (ดีมาก) 70 – 79 3 (ดี) 51 – 69 2 (พอใช้) 0 – 50 1 (ปรับปรุง) เกณฑ์การตัดสิน ได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป หมายถึง ผ่าน


แบบบันทึกระดับคุณภาพผลงานนักเรียน ในการประเมินการสรุปเนื้อหาใบความรู้เป็นแผนผังมโนทัศน์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม 1 เลขที่ ดีมาก ดี พอใช้ ควรปรับปรุง สรุปผลการประเมิน 4 3 2 1 ผ่าน ไม่ผ่าน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20


รายการประเมินผลงานนักเรียน ในการประเมินการสรุปเนื้อหาใบความรู้เป็นแผนผังมโนทัศน์ ความหมายของค่าตัวแปรในการบันทึกระดับคุณภาพผลงานนักเรียน ระดับคุณภาพที่ 4 หมายถึง ดีมาก มีการกำหนดคำสำคัญหลัก (Key word) คำสำคัญรองตรงกับเรื่อ งที่อ่าน ขนาดภาพและการเชื่อมโยงคำมีความชัดเจน การลงสี ภาพ เส้น ของผัง มโนทัศน์น่าสนใจสวยงาม เหมาะสมกับเนื้อหา มีการใส่กรอบ ขีดเส้นชัดเจน นำเสนอข้อมูล/เนื้อหาครบถ้วนทุกประเด็น ระดับคุณภาพที่ 3 หมายถึง ดี มีการกำหนดคำสำคัญหลัก (Key word) คำสำคัญรองตรงกับเรื่องที่อ่าน ขนาดภาพและการเชื่อมโยงคำมีความชัดเจน การลงสี ภาพ เส้น ของผัง มโนทัศน์น่าสนใจสวยงาม เหมาะสมกับเนื้อหา นำเสนอข้อมูล/เนื้อหา ครบถ้วน ระดับคุณภาพที่ 2 หมายถึง พอใช้ มีการกำหนดคำสำคัญหลัก (Key word) คำสำคัญรองตรงกับเรื่องที่อ่าน ขนาดภาพและการเชื่อมโยงคำไม่ชัดเจน การลงสี ภาพ เส้น ของผังมโนทัศน์ ไม่น่าสนใจ/ไม่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน นำเสนอข้อมูลครบถ้วนไม่ทุกครบ ระดับคุณภาพที่ 1 หมายถึง ควรปรับปรุง ไม่มีการกำหนดคำสำคัญหลัก (Key word) คำสำคัญรองไม่ตรงกับเรื่องที่ อ่านขนาดภาพและการเชื่อมโยงคำไม่ชัดเจน การลงสี ภาพ เส้น ของผัง มโนทัศน์ไม่ชัดเจนนำเสนอข้อมูล/เนื้อหาไม่ครบถ้วน เกณฑ์การตัดสิน: นักเรียนผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้นไป


แบบบันทึกคะแนนการประเมินทักษะชีวิตด้านการคิด การแก้ปัญหา และทักษะในการสื่อสาร แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม 1 เลขที่ รายการประเมิน รวม (12) ระดับ คุณภาพ ผ่าน/ การคิด ไม่ผ่าน (4) การแก้ปัญหา (4) การสื่อสาร (4) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20


เกณฑ์ประเมินทักษะชีวิตด้านการคิด การแก้ปัญหา และทักษะในการสื่อสาร คะแนน ระดับคุณภาพ 10 – 12 4 (ดีมาก) 7 – 9 3 (ดี) 4 – 6 2 (พอใช้) 0 – 3 1 (ปรับปรุง) เกณฑ์การตัดสิน นักเรียนได้ระดับคุณภาพ 3 ขึ้นไป หมายถึง ผ่าน


แบบประเมินทักษะชีวิตด้านการคิด การแก้ปัญหา และทักษะในการสื่อสาร คะแนน ความสามารถในการคิด 4 (ดีมาก) มีแนวคิด/วิธีการแปลกใหม่ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องสมบูรณ์ 3 (ดี) มีแนวคิด/วิธีการแปลกใหม่ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ แต่นำไปปฏิบัติแล้ว ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ 2 (พอใช้) มีแนวคิด/วิธีการไม่แปลกใหม่ แต่นำไปปฏิบัติได้ถูกต้องสมบูรณ์ 1 (ควรปรับปรุง) มีแนวคิด/วิธีการแปลกใหม่และนำไปปฏิบัติแล้วยังไม่สมบูรณ์ 0 (ไม่มีความพยายาม) ไม่นำเสนอ คะแนน ความสามารถในการแก้ปัญหา 4 (ดีมาก) ใช้ยุทธวิธีดำเนินการแก้ปัญหาสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ อธิบายถึง เหตุผลในการใช้วิธีการดังกล่าวได้เข้าใจชัดเจน 3 (ดี) ใช้ยุทธวิธีดำเนินการแก้ปัญหาสำเร็จ แต่น่าจะอธิบายถึงเหตุผลในการ ใช้วิธีการดังกล่าวได้ดีกว่านี้ 2 (พอใช้) ใช้ยุทธวิธีดำเนินการแก้ปัญหาสำเร็จเพียงบางส่วน อธิบายถึงเหตุผล ในการใช้วิธีการดังกล่าวได้บางส่วน 1 (ควรปรับปรุง) มีร่องรอยการดำเนินการแก้ปัญหาบางส่วน เริ่มคิดว่าทำไมจึงต้องใช้ วิธีการนั้นแล้วหยุดอธิบายต่อไม่ได้แก้ปัญหาไม่สำเร็จ 0 (ไม่มีความพยายาม) ทำไม่ได้ถึงเกณฑ์ข้างต้น หรือไม่มีร่องรอยการดำเนินการแก้ปัญหา คะแนน ความสามารถในการสื่อสาร 4 (ดีมาก) มีการสื่อสารนำเสนอแนวคิดประกอบกับการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล ทุกประเด็นเพื่อประกอบการตัดสินใจ 3 (ดี) มีการสื่อสารนำเสนอแนวคิดประกอบกับการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล เพียงบางประเด็นแล้วตัดสินใจ 2 (พอใช้) มีการสื่อสารนำเสนอแนวคิดไม่สมเหตุสมผลในการประกอบการตัดสินใจ 1 (ควรปรับปรุง) มีความพยายามสื่อสารนำเสนอแนวคิดประกอบกับการตัดสินใจ 0 (ไม่มีความพยายาม) ไม่มีการสื่อสารและแนวคิดประกอบกับการตัดสินใจ


แบบบันทึกคะแนนการประเมินทักษะการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม 1 เลขที่ รายการประเมิน รวม (45) ระดับ คุณภาพ ผ่าน/ การวางแผน ไม่ผ่าน การทำงานและ การมอบหมายหน้าที่ (15) การมีส่วนร่วม และรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ (15) คุณภาพของ ผลงานและ เวลาที่ใช้ใน การทำกิจกรรม (15) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20


เกณฑ์ประเมินทักษะการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม คะแนน ระดับคุณภาพ 40 – 45 4 (ดีมาก) 33 – 39 3 (ดี) 26 – 32 2 (พอใช้) 0 – 25 1 (ปรับปรุง) เกณฑ์การตัดสิน นักเรียนได้ระดับคุณภาพ 3 ขึ้นไป หมายถึง ผ่าน


แบบประเมินทักษะการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม รายการ ประเมิน ระดับคะแนน คะแนน 3 2 1 การวางแผน การทำงานและ การมอบหมาย หน้าที่ มีการวางแผนการ ทำงานและมีการแบ่ง หน้าที่การทำงานที่ ชัดเจน มีการวางแผนการ ทำงานและมีการแบ่ง หน้าที่การทำงาน ที่ ค่อนข้างชัดเจน ไม่มีการวางแผนการ ทำงานและไม่มี การแบ่งหน้าที่ การทำงานที่ชัดเจน 5 การมีส่วนร่วม และรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ สมาชิกทุกคนภายใน กลุ่มมีส่วนร่วมและมี ความรับผิดชอบต่อ หน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายจนทำให้ ผลงานกลุ่มเสร็จ สมบูรณ์ทุกครั้ง สมาชิกทุกคนภายใน กลุ่มมีส่วนร่วมและมี ความรับผิดชอบต่อ หน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายเป็น ส่วนใหญ่จนทำให้ ผลงานกลุ่มเสร็จ สมบูรณ์เกือบทุกครั้ง สมาชิกทุกคน ภายในกลุ่มไม่มีส่วน ร่วมและไม่มีความ รับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย จนทำให้ผลงานกลุ่ม ไม่เสร็จสมบูรณ์ 5 คุณภาพของ ผลงานและเวลา ที่ใช้ในการทำ กิจกรรม คุณภาพของผลงาน มีความสมบูรณ์ เรียบร้อย มีการใช้ เวลาในการทำงานทัน ตามกำหนดเวลาที่ให้ ทุกครั้ง คุณภาพของผลงาน มีความสมบูรณ์ เรียบร้อยเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้เวลาในการ ทำงานทันตาม กำหนดเวลาที่ให้ เป็นส่วนใหญ่ คุณภาพของผลงาน ไม่มีความสมบูรณ์ ไม่เรียบร้อย มีการใช้ เวลาเกินกว่าเวลาที่ กำหนดให้ทุกครั้ง 5


แบบบันทึกคะแนนการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม 1 เลขที่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สรุป ความตั้งใจ ในการทำงาน ความ รับผิดชอบ ความอดทน มีจิตสาธารณะ ผ่าน ไม่ผ่าน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 เกณฑ์การประเมิน 3 หมายถึง ดี 2 หมายถึง พอใช้ 1 หมายถึง ต้องปรับปรุง เกณฑ์การตัดสิน ผู้เรียนต้องมีพฤติกรรมในทุกรายการอย่างน้อย 2 ขึ้นไป ถือว่าผ่าน


แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รายการประเมิน ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา 1. มีความตั้งใจ ในการทำงาน 3 (ดี) - มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับบุคคลอื่น ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์ ถูกต้องและทันเวลาทุกครั้ง มีความสนใจศึกษาหาความรู้และ ประสบการณ์เพิ่มเติม ที่ทันสมัยและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างต่อเนื่อง 2 (พอใช้) - มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรมและมีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับบุคคลอื่นเป็นบางครั้ง ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย อย่างสมบูรณ์ ถูกต้อง แต่ช้ากว่าเวลาที่กำหนด มีความสนใจ ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมเป็นส่วนใหญ่ 1 (ต้องปรับปรุง) - ไม่มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับบุคคลอื่นเป็นบางครั้ง ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง และไม่ทันเวลา ไม่มีความสนใจศึกษา หาความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติม 2. มีความ รับผิดชอบ 3 (ดี) - ส่งงานก่อนหรือตรงกำหนดเวลานัดหมาย รับผิดชอบในงาน ที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติจนเป็นนิสัย และแนะนำชักชวน ให้ผู้อื่นปฏิบัติ 2 (พอใช้) - ส่งงานช้ากว่ากำหนด แต่ได้มีการติดต่อชี้แจง โดยมีเหตุผล รับฟังได้ รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติจนเป็นนิสัย 1 (ต้องปรับปรุง) - ส่งงานช้ากว่ากำหนด ปฏิบัติงานโดยต้องอาศัยการชี้แนะ คำแนะนำ และการตักเตือน 3. มีความอดทน 3 (ดี) - มีความคงทนในการเรียนและการทำงาน ควบคุมอารมณ์ได้ดี หนักแน่นไม่หวั่นไหว และรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นได้ มีความพยายามต่อสู้กับอุปสรรคจนงานประสบผลสำเร็จในเวลา ที่กำหนด 2 (พอใช้) - มีความคงทนในการเรียนและการทำงาน ควบคุมอารมณ์ หนักแน่นไม่หวั่นไหวเป็นบางครั้ง และรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ ของคนอื่นได้เป็นส่วนใหญ่ มีความพยายามต่อสู้กับอุปสรรค จนงานนั้นประสบผลสำเร็จ แต่ล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด


รายการประเมิน ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา 1 (ต้องปรับปรุง) - ไม่มีความคงทนในการเรียนและการทำงาน ควบคุมอารมณ์ ไม่ได้ ไม่หนักแน่น หวั่นไหวง่าย และไม่รับยอมฟังคำวิพากษ์ วิจารณ์ของคนอื่น ไม่มีความพยายามต่อสู้กับอุปสรรค จนทำให้งานนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ 4. มีจิต สาธารณะ 3 (ดี) - มีจิตอาสาช่วยเหลือเพื่อน ครู และสมาชิกในกลุ่ม 2 (พอใช้) - มีจิตอาสาช่วยเหลือเพื่อน ครู และสมาชิกในกลุ่มเป็นบางครั้ง 1 (ต้องปรับปรุง) - ไม่มีจิตอาสาช่วยเหลือเพื่อน ครู และสมาชิกในกลุ่ม


แบบบันทึกการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 พุทธประวัติและชาดก ตอน ผจญมารสั่งสอนธรรม 1 เลขที่ สมรรถนะสำคัญ ผลการประเมิน ความสามารถ ในการสื่อสาร ความสามารถ ในการคิด ความสามารถ ในการแก้ปัญหา ผ่าน ไม่ ผ่าน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 เกณฑ์การประเมิน 3 หมายถึง ดี 2 หมายถึง พอใช้ 1 หมายถึง ต้องปรับปรุง เกณฑ์การตัดสิน ผู้เรียนต้องมีพฤติกรรมในทุกรายการอย่างน้อย 2 ขึ้นไป ถือว่าผ่าน


เกณฑ์การประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน รายการประเมิน ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา 1. ความสามารถ ในการสื่อสาร 3 (ดี) ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางภาษาที่ถูกต้อง นำเสนอโดยใช้การฟัง พูด อ่าน และเขียนตามลำดับขั้นตอนชัดเจนและมีรายละเอียด สมบูรณ์ 2 (พอใช้) ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางภาษาที่ถูกต้อง นำเสนอโดยใช้การฟัง พูด อ่าน และเขียนตามลำดับขั้นตอนได้ชัดเจนบางส่วน แต่ขาดรายละเอียดที่สมบูรณ์ 1 (ต้องปรับปรุง) ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางภาษา นำเสนอโดยใช้การฟัง พูด อ่าน และเขียนไม่ชัดเจน 2. ความสามารถ ในการคิด 3 (ดี) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ของข้อมูลที่พบเห็นในบริบทที่เป็น สิ่งใกล้ตัวชัดเจนและสม่ำเสมอ 2 (พอใช้) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่พบเห็นในบริบทที่เป็น สิ่งใกล้ตัวชัดเจนและบ่อยครั้ง 1 (ต้องปรับปรุง) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่พบเห็นในบริบทที่เป็น สิ่งใกล้ตัวชัดเจนบางครั้ง 3. ความสามารถ ในการแก้ปัญหา 3 (ดี) แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ ประกอบการตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ชัดเจนและสม่ำเสมอ 2 (พอใช้) แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ ประกอบการตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ชัดเจนและบ่อยครั้ง 1 (ต้องปรับปรุง) แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ ประกอบการตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ชัดเจนบางครั้ง


Click to View FlipBook Version