The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รูปเล่มชุดความรู้โควิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รูปเล่มชุดความรู้โควิด

รูปเล่มชุดความรู้โควิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

คำนำ

สานักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 (สสว.4) มีภารกิจหลักในการ
ขับเคลื่อนนโยบายตามยุทธศาสตร์ พม. สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ และมีบทบาทหน้าที่ใน
การศึกษา วิจัย พัฒนาทางวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
วิเคราะห์สถานการณ์และสภาพแวดล้อมเพื่อคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมและ
ผลกระทบให้สอดคล้องกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนงานด้าน
วิชาการ องค์ความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ ให้คาปรึกษา แนะนาแก่หน่วยงานบริการทุก
กลมุ่ เป้าหมายในพนื้ ทใี่ นความรบั ผดิ ชอบของกระทรวง รวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะการ
พัฒนาสงั คมในระดบั กลุ่มจังหวัด เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ในระดับกลุ่มจังหวัด โดยเชื่อมโยงประสานนโยบายระหว่างหน่วยงาน
ส่วนกลางกับสว่ นภูมภิ าคให้เกิดการบูรณาการการปฏิบัติงานของหน่วยงานสังกัดกระทรวง
ในสว่ นภูมิภาคและหน่วยงานด้านสังคมอนื่ ๆ ใหเ้ หมาะสมกับบริบทพ้ืนที่

ในการจัดทาชุดความรู้ เรื่อง สู้ภัยโควิด-19 (COVID-19) ฉบับนี้เป็นชุดความรู้
เรื่องไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) และเป็นการถ่ายทอดความรู้งานวิชาการด้านการพัฒนา
สังคมและการจัดสวัสดิการสังคมของกระทรวง พม. ในการสู้ภัยโควิด-19

ผู้จัดทา ขอขอบคุณผู้อานวยการสานักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4
(นางรชธร พูลสทิ ธิ์) ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องบทบาทภารกิจของกระทรวง พม. ตลอดจน
การนาเสนอ Best Practice ที่เป็นรูปธรรม ในการดาเนินงานขับเคลื่อนเพื่อสู้ภัยโควิด-19
จนสาเร็จลุล่วงด้วยดี

มถิ ุนายน 2563

สำรบัญ หนำ้

เร่ือง 1
6
ไวรสั โคโรนา่ 2019 (โควิด-19) 7
สถานการณ์ระบาดของ COVID-19 16
มาตรการกระทรวง พม. 18
สง่ิ ท่ีตอ้ งทา 19
ผลกระทบ
Best Practice ของพืน้ ท่ีกล่มุ นครชัยบรุ ินทรศ์ รีโสธร

ไวรสั โคโรน่า 2019 (โควดิ – 19)

1. เปน็ เชอ้ื โรค ซ่งึ เปน็ ไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่พบในปี 2019 ที่ออกมาจากสัตว์
สูค่ น และจากคนสูค่ น ทําให้เปน็ หวดั และปอดอักเสบ เสยี ชีวิตได้
ไวรัสโคโรน่า (CORONA) นี้เชื่อมโยงกับไวรัสที่มีมาก่อนแล้ว 6 ชนิด คือ
ชนิดที่ 1-4 คือหวัดธรรมดา อัตราตายน้อยมาก ชนิดที่ 5 คือซาร์ส (SARS)
อตั ราตาย 10% ชนิดที่ 6 คือ เมอร์ส (MERS) อัตราตาย 30% ชนิดที่ 7 คือ
COVID-19 อัตราตาย 3% ติดต่อระหวา่ ง คนสู่คนง่ายมากๆ
2. COVID-19 แพร่กระจายและติดต่อจากคนสู่คน โดยไวรัสติดไปกับสาร
คัดหลั่ง คือนํ้ามูกหรือเสมหะ นํ้าลาย โดยผู้ติดเชื้อ ไอ จาม มือเช็ดนํ้ามูก
นํ้าลาย ติดต่อจากละออง สารคัดหลั่งเข้าจมูก ปาก ตา โดยตรง หรือสัมผัส
เสมหะ นํา้ ลาย ตดิ ตามที่ตา่ งๆ เช่น ลกู บิด ประตูห้อง ลิฟต์ บันไดเลื่อน โต๊ะ
เกา้ อ้ี พื้น ชอ้ นสอ้ ม ชาม ฯลฯ
3. โควิด-19 ถ้าติดต่อคนสู่คน จะฟักตัวประมาณ 2-7 วัน และหลังจากนั้น
ผู้ตดิ เช้ือ COVID-19 จะแสดงอาการ 3 แบบ

1) ไม่มีอาการหรืออาการน้อยมาก ประมาณ 80% ของผู้ติดเชื้อ
อาการคล้าย ไข้หวัด ถ้าร่างกายของ คนติดเชื้อนั้นแข็งแรง เชื้อ COVID-19
จะหายไปประมาณ 14 วนั (จะไมม่ ีเชอ้ื COVID-19 ในร่างกายอีก) และคนน้ี
จะ มภี ูมติ า้ นทานเกินขึ้น เชื้อ COVID-19 ระบาดใหม่จะเข้ามาร่างกายคนนี้
ไมไ่ ด้เช่นกัน และอาจจะนํานํ้าเลือด (Plasma) คนนี้ไปช่วย คนอื่นต้านทาน
COVID-19 ได้ดว้ ย

2) มีอาการปานกลาง ประมาณ 15% คือมีไข้ (ตัวร้อนอุณหภูมิ
มากกว่า 37.5 องศา) และมีอาการ เจ็บคอ คอแห้ง ไอ จาม หน้าแดง อาจต้อง
เข้าโรงพยาบาล รักษาตามอาการจนหาย อาจมีการใช้ยาเสริม คือ ฟาวิพิราเวียร์
(FAVI PIRAVIR) หรือ อาวแิ กน (AVIGAN)

ชดุ ความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 2

3) มีอาการหนกั ประมาณ 5% โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคอยู่
แล้ว จะเป็นหนักไปถึงขั้นปอดบวม ปอดถูกทําลาย ต้องเข้าไอซียูของ
โรงพยาบาล ถา้ ชว่ ยไม่ได้ ก็จะเสยี ชวี ติ ได
4. ที่สาคัญมากคือ ผู้ติดเชื้อ COVID-19 แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบใดหรือขั้น
ไหน (ตั้งแต่ข้อ1) - 3) จะสามารถติดต่อ จากคนสู่คนอื่นได้ ดังนั้นคนที่เห็น
ปกตอิ ยู่ แต่อาจมเี ชื้อ COVID-19 ในร่างกายและติดต่อได้ จึงต้องให้คนทั่วๆ
ไปป้องกัน ตัวเองไว้ก่อน และต้อง คิดว่าคนทั่วไปมีเชื้ออยู่ในร่างกาย ต้อง
ระวังโดยอยู่ห่างกันประมาณ 1.5 เมตร (SOCIAL DISTANCING) กินของ
ร้อน ช้อนกลางส่วนตัว ล้างมือ สวมหน้ากากผ้า (คนทั่วไป) หน้ากาก
อนามัย (สําหรับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขและผู้ติดเชื้อหรือสงสัยจะติดเชื้อ)
หม่ันออกกําลังกาย เป็นประจาํ และมาตรการอ่ืนๆ ตามที่รัฐบาลประกาศ ไป
แล้ว
5. ธรรมชาติของ COVID-19 เมื่อออกมาจากคนที่มีเชื้อ COVID-19 แล้ว
จะอยู่ ได้นานเพียงใด ขึ้นอยู่กับสารคัดหลั่งหรือนํ้ามูก นํ้าลายไปเกาะติด
ดังนี้

1) อยใู่ นอากาศประมาณ 5 นาที (ซึง่ ละอองสารคัดหลั่งจะออกจาก
ตวั ผู้มเี ช้ือ ได้ไกลประมาณ 1 เมตร)

2) เกาะติดตามภาชนะ ลูกบิดประตู ราวบันไดเลื่อน โต๊ะ เก้าอ้ี
ชอ้ น ชาม ฯลฯ จะอยไู่ ดป้ ระมาณ 8 ชม.

3) อยู่ในน้ําประมาณ 4 วัน
4) อยู่ในต้เู ย็นหรอื อณุ หภมู ติ ํ่ากว่า 4 องศา อยู่ไดป้ ระมาณ 1 เดอื น

ชดุ ความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 3

6. เชือ้ COVID-19 จะถูกฆา่ หรือหยุดการแพร่เชื้อไดโ้ ดย
1) อุณภูมสิ ูงเกนิ 56 องศาเซลเซยี ส
2) ยาฆ่าเชอ้ื คลอรีน, BKC หรือ Sernisal
3) แอลกอฮอล์ 75% หรอื เจลผสมแอลกอฮอล์
4) สบ่หู รือน้ํายาทําความสะอาด
5) อากาศทถ่ี า่ ยเทและรอ้ น
6) รงั สี UV
7) สวมหนา้ กากผ้าหรอื หน้ากากอนามยั
8) อยู่ห่างกนั เกนิ 2 เมตร (SOCIAL DISTANCING)
9) ภูมคิ ุ้มกนั COVID-19 ของมนษุ ย์

7. ธรรมชาติของการระบาดโรคติดต่อทั่วไป รวมทั้ง COVID-19 จะแบ่ง
การระบาด เป็น 3 เฟส (PHASE) หรือ 3 ระยะเวลา ดังน้ี

1) ระยะเริ่มต้น หรือระยะที่ 1 จะเริ่มเกิดจากมีเชื้อโรคในสัตว์ และระบาด
มา สู่คนเป็นคร้งั แรก อาจจะ มีเพียง 1-10 คน ณ จุดเดียวเท่านั้น เรียกกลุ่ม
นี้ว่ากลุ่มที่ 1 หรือ คลัสเตอร์ 1 (CLUSTER) หรือเจนเนอเรชั่นที่ 1
(Generation)
2) ระยะที่ 2 คือ การติดต่อจากคนไปสู่คน แต่เป็นเพียงคนในขั้น
(Generation) 1, 2 เท่านั้น คือเมื่อ กระจายจากคนสู่คนแล้ว ยังสามารถ

ชดุ ความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 4

สืบเสาะหรือสอบสวนหาต้นตอ ได้ว่ามาจากไหน สัมพันธ์กับระยะที่ 1
อย่างไร คือ เป็นไปในวงจํากัด (วงแคบ)จํานวนไม่มาก และระยะเวลานาน
พอสมควร
3) ระยะที่ 3 คือรายการกระจายมากๆ หรือกระจายทั่วไป (Super
Spreader) ซึ่งดูได้จากคน สถานที่ ระยะเวลา (MAN, PLACE, TIME) คือ
กระจายจากคนสู่คนตั้งแต่ 4 ชั้น (4 Generation) และมีทุกพื้นที่มีคนแพร่
ระบาดจํานวนมากแบบกราฟ EXPONENTIAL (การเพิ่มแบบทวีคูณ) และ
ในระยะเวลา รวดเรว็ มาก ไม่สามารถสืบค้นได้ว่ามากจากไหน มาได้อย่างไร
ฯลฯ ประเทศไทยกาํ ลังจะเข้าสู่ระยะที่ 3
8. การควบคมุ การระบาด COVID-19 จะมีการควบคุม 3 แบบ ดังนี้

1) ควบคุมแบบปล่อยธรรมชาติ คือปล่อยให้ติดต่อกันเอง โดยไม่
ต้องทําอะไรเลย คนตายก็ตายไป คนหายปกติก็หายไป ดังนั้น คนที่ติดเชื้อ
COVID-19 แล้ว จะสร้างภูมิต้านทาน ในตัวคนๆ นั้น ถ้าคนในชุมชนหรือใน
ประเทศมีภูมิ ต้านทานเกิน 60% ก็จะหยุดยั้ง การแพร่ระบาดต่อไปได้ ซึ่ง
จะหยุดยั้งได้เร็ว แต่ข้อเสียวิธีนี้คือ จะมีคนติดเชื้อมาก ป่วยมาก ตายมาก
และสถานพยาบาลไม่สามารถรองรับการดูแลรักษาได้ (เข้าทํานอง กว่าถั่ว
จะสกุ งาก็ไหม)้ ใช้วิธนี ้ีโรคจะเกิดเร็วมาก ตายมาก และสงบได้เร็ว (ประเทศ
อิตาลี อังกฤษ อเมริกา เดมิ จะใช้วธิ ีน้ี)

ชุดความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 5

2) ควบคุมแบบปิดประเทศหรือปิดเมือง (SHUT DOWN หรือ
LOCK DOWN) เป็นการปิดเมืองหรือประเทศ เป็นมาตรการรุนแรง เพื่อให้
คนอยู่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนไหว ทางสังคม ไม่มีคนเข้าเมือง ทําให้ไม่มีเชื้อ
COVID-19 เข้ามาในประเทศหรือในเมือง ถ้าทําได้จริงๆ อย่างน้อย 14 วัน
เชื้อ COVID ที่มีอยู่ในคนเดิมหรือ GENERETION เดิมก็จะถูกกทําจัดโดย
ธรรมชาติไปแล้ว และไม่มีการติดต่อไปในคนอื่น ในขณะเดียวกัน ก็ไม่มีคน
อืน่ ทต่ี ิดเชอื้ COVID-19 เข้ามาใหม่ วธิ นี ้กี ็จะหยุดยั้งการระบาดได้รวดเร็วใน
14 วัน เพยี งแตว่ ่าจะปดิ เมือง ปิดประเทศทําได้จริงไหม และเมื่อเชื้อหมดใน
14 วันแล้ว เมื่อมี Herd immunity น้อยก็ยังจะมีโอกาสที่เชื้อ COVID-19
เข้ามาระบาดในรอบที่ 2 อีกได้ ยกเว้นการคิดค้นวัคซีนได้สําเร็จ มาช่วย
สร้างภูมิคุ้มกันในชุมชนได้ ก็จะไม่มีการระบาด รอบ 2 (ประเทศจีน เมืองอู่ฮั่น
ทาํ วิธนี ี้)

3) ควบคุมแบบหน่วงเวลาหรือถ่วงเวลา เพราะในขณะเกิด COVID-19
เรายังไม่มี ยาหรือวัคซีนป้องกัน COVID19 ดังนั้นการหน่วงเวลาหรือถ่วง
เวลาให้มีผู้ติดเชื้อ COVID-19 จํานวนน้อยๆ โดยใช้มาตรการต่างๆ เช่น
พักอยู่กับบ้าน (Stay at home) สวมหน้ากากผ้า หรืออนามัย อยู่ห่างกัน
2 เมตร (Social Distancing) ดแู ลสุขภาพให้ดี ฯลฯ และประชาชน ร่วมมือ
อย่างดี คนป่วยก็จะน้อย สถานพยาบาลจะรับมือไหว คนตายก็จะน้อย
รอระยะเวลา ยาวนานที่จะเกิด Herd immunity 60% ของประชากร
การระบาดนั้นจะสิ้นสุดลงหรือ ในขณะที่รอการเกิด Herd immunity
อาจจะมีการคิดค้นยาและวัคซีนได้สําเร็จก่อน ก็จะ ใช้วัคซีนในการหยุดยั้ง
การระบาดได้เร็ว ขึ้นกว่าการ Herd immunity และวิธีนี้ก็จะไม่เกิด
การระบาดในรอบท่ี 2 ด้วย (ประเทศไทย, ญ่ีปุ่น, เกาหลี, สงิ คโปร์ ใชว้ ิธนี ้ี)

ชดุ ความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 6

สถานการณร์ ะบาดของ COVID-19

ในขณะนี้ได้ระบาดไปทั่วโลกกว่า 200 ประเทศแล้ว ซึ่งการระบาด
แต่ละประเทศและ การป้องกันรักษา COVID19 ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจใน
การดทําเนินการของผนู้ ําประเทศนั้นๆ สําหรับประเทศไทยเรา เลือกใช้วิธีที่
2 ผสมกับวิธีที่ 3 และยังถือว่าเราอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งจะ เข้าสู่ระยะที่ 3
รวดเรว็ เพียงใด ข้นึ อยกู่ ับความรว่ มมือของประชาชนในมาตรการ ต่างๆ ของ
รัฐบาลท่อี อกไปแล้ว

สถานการณท์ ่คี าดการณ์ต่อไปในอนาคต

ถ้าดําเนินการถ่วงหรือหน่วงโรคได้ผลดี ตามมาตรการต่างๆ
ที่ออกไปแล้ว จะเป็นรูปร่างแบบที่ 1 คือ มีจํานวนผู้ป่วยและตายค่อยๆ
เพม่ิ ขนึ้ ในระยะเวลายาวนาน ถา้ มาตรการ ไม่ดีหรือประชาชนไม่ร่วมมือก็จะ
เปน็ แบบที่ 2 คือ มจี าํ นวนผู้ปว่ ยและตายจาํ นวนมากและ เวลาอันรวดเร็ว

ในขณะนี้ประเทศไทยจึงอยู่บนทาง 2 แพร่ง ระหว่างมาตรการดี
และประชาชน ร่วมมือ 80% จะมีผู้ป่วยในแนวราบ (ความชันน้อย) ดังเช่น
ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เป็นต้น อัตราตายจะอยู่ที่ 1-3%
ถ้ามาตรการไม่ดี จะมีผู้ป่วยในแนวดิ่ง (ความชันมาก) ดังเช่นประเทศอิตาลี
สเปน สหรัฐอเมริกา เป็นต้น อัตราตายจะอยู่ที่ 3-5% ดังนั้น จึงขอให้คน
ไทยปฏิบัติตาม มาตรการที่วางไว้อย่างเคร่งครัด อนาคตของประเทศไทย
จึงขน้ึ อย่กู ับพวกเราทุกคน

ชุดความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 7

มาตรการ กระทรวง พม.

มาตรการดา้ นสาธารณสุข

ดําเนินการในเรื่อง การให้ข้อมูล อาทิ สถานการณ์แพร่ระบาดโรค
ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ให้คําแนะนําปรึกษาการดูแลและป้องกันตนเอง
ในการดาํ เนินชีวิต ครอบครวั และผู้ใช้บรกิ าร การควบคุมและการจากัดการ
แพร่ระบาด อาทิ การเช็ดทําความสะอาดประตูและอาคารสํานักงานด้วย
แอลกอฮอล์ เจ้าหน้าทีใส่หน้ากากอนามัย และมีบริการเจลแอลกอฮอล์ล้าง
มือ เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร ส่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่าน
Application Line และส่อื ต่างๆ เตรยี มความพรอ้ มดา้ นการรักษาพยาบาล
อาทิ ใหค้ วามรู้แก่เจา้ หนา้ ที่ในการดูแลและป้องกันตนเอง ให้ข้อมูลสิทธิการ
รกั ษาพยาบาล และจัดหาอุปกรณ์ในการป้องกัน สื่อสารความเสี่ยงและการ
สื่อสารสาธารณชน อาทิ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและสถานการณ์การ
แพร่ระบาดร่วมเป็นทีมคัดกรองแลอํานวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางกลับ
ต่างจังหวดั เปน็ ต้น

มาตรการดา้ นเวชภณั ฑ์ปอ้ งกนั

ดําเนินการผลิตและจัดหาหน้ากากอนามัยจากเครือข่ายและจิต
อาสา แจกจ่ายกล่มุ เปา้ หมายและประชาชนทวั่ ไป

มาตรการดา้ นการปอ้ งกัน

ดําเนินการใน 3 ส่วน ได้แก่ หน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ มีการเหลื่อมเวลาการปฏิบัติงาน การทํางานที่
บ้าน (Work From Home) คัดกรองก่อนเข้าหน่วยงาน และสร้างความรู้

ชดุ ความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 8

ความเข้าใจ ผู้ใช้บริการในสถาบัน ห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าเขตพื้นที่ งด
เยี่ยมและจัดกิจกรรม งดการสัมผัสร่างกายผู้ใช้บริการ และสร้างความรู้
ความเขา้ ใจผใู้ ช้บรกิ ารในพื้นท่ี มีการประชาสมั พันธ์และสร้างการรับรู้ในการ
ดูแลตนเอง

มาตรการดา้ นการชว่ ยเหลอื เยยี วยา

เป็นภารกิจหลักที่สําคัญของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะหลังจากรัฐบาลได้ออกพระราชกําหนดการ
บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เพื่อระงับการแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของ
ประเทศ จากภาคธุรกิจชะลอการผลิต สถานบันเทิงปิดตัว ผู้บริโภคลดลง
การเดินทางขนส่ง และการส่งออกลดลง ฯลฯ ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคม
ตามมาในระยะยาว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้
ดําเนินการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับ
ผลกระทบร่วมกบั มลู นิธิ องค์กรดา้ นสังคมและภาคเอกชนใน 3 ด้าน

ด้านการเงิน เป็นการสงเคราะห์ทางการเงินเพื่อบรรเทาความ
เดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 ด้านรายได้

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมนั่ คงของมนุษย์
- เงินสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาทางสงั คม ไมเ่ กิน 3,000 บาท
- ถงุ ยงั ชพี (CSR)

สถาบนั พฒั นาองค์กรชุมชน (องคก์ ารมหาชน)
- พักชาํ ระหนบ้ี ้านม่นั คงอย่างน้อย 3 เดอื น

ชดุ ความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 9

- สนับสนุนการซ่อมแซมบ้าน 10,776 ครัวเรือน
งบประมาณ 242.46 ลา้ นบาท

- พฒั นาคุณภาพชวี ติ ผู้มรี ายไดน้ อ้ ย รวม 300 เมือง 1,500
ตําบล

สถานธนานเุ คราะห์ (โรงรับจานา พม.)
- ฟรีดอกเบี้ยในส่วนที่ขยาย จาก 4 เดือน 30 วัน เป็น 4

เดือน 120 วัน วงเงินไม่เกิน 10,000 บาท ตั๋วรับจํานําตั้งแต่ 2 มกราคม –
31 มนี าคม 2563 (จาํ กัด 1 คน ตว๋ั 1 ใบ)

- ลดดอกเบี้ย เหลือร้อยละ 0.125 ต่อเดือน วงเงินไม่เกิน
15,000 บาท สําหรับผู้ใช้บริการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม
2563

กรมสง่ เสริมและพัฒนาคุณภาพชวี ิตคนพิการ
- เงนิ อดุ หนุนเยยี วยาคนพกิ าร 1,000 บาท
- พกั ชาํ ระหน้ีคนพกิ าร หรอื ผดู้ แู ลคนพกิ าร ระยะเวลา

12 เดือน เมษายน 2563 - มนี าคม 2564
- กู้ยืมเงิน ไม่เกินรายละ 10,000 บาท ไม่ต้องมีผู้คํ้า ไม่มี

ดอกเบีย้ ผ่อนชาํ ระภายใน 5 ปี
การเคหะแห่งชาติ
- พกั ชําระคา่ เช่า 3 เดอื น ทงั้ เงินต้นและดอกเบีย้
- ปลอดค่าเช่า 3 เดือน สําหรับลูกค้าอาคารเช่ารายย่อย

รวมท้ังลกู ค้าทีเ่ ชา่ แผงตลาด และร้านคา้ ย่อย

ชุดความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 10

- ลดค่าเช่า 50% เป็นเวลา 3 เดือน ให้ผู้เช่าร้านค้าราย
ยอ่ ยในพื้นที่พลาซ่า หรือแผงตลาดที่ได้ทํา สัญญาเช่ากับผู้เช่าเหมาบริหาร
พนื้ ทกี่ ับการเคหะแหง่ ชาติ *ตง้ั แตเ่ ดอื นเมษายน-มถิ นุ ายน 2563*

กรมกจิ การผู้สูงอายุ
- ผอ่ นชาํ ระหนี้เงินกู้ยืมทุนประกอบอาชีพกองทุนผู้สูงอายุ

ตั้งแตว่ นั ที่ 1 เมษายน -31 มนี าคม 2564 กําหนดระยะเวลา 12 เดือน

ด้านการให้บริการ ภายใต้การกํากับดูแลของกระทรวง พม.
ในการประสานและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค
ติดเชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมนั่ คงของมนุษย์
นโยบาย : ลดข้นั ตอนยุ่งยาก แตค่ งธรรมาภิบาล
- รับเรอื่ งรอ้ งเรยี น walk in 1300 และส่อื ออนไลน์
- ลงพื้นที่ตรวจเยยี่ มผู้ประสบปัญหาทางสงั คม ร่วมกับ องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.)

- บริการใหค้ าํ ปรึกษา แนะนํา
- วางแผนการให้ความช่วยเหลอื เยียวยา
- ประสาน ส่งต่อ หน่วยงานท่เี กีย่ วข้อง
- ฝกึ อบรม และพัฒนาอาชีพ
- สร้างอาชีพ อาทิ จ้างเหมาพนกั งานคยี ข์ อ้ มูล พมจ.
กรมกิจการผ้สู ูงอายุ
- จัดทําสื่อประชาสัมพันธ์แนวทางการดูแลผู้สูงอายุ ในช่วงการแพร่
ระบาดโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019

ชดุ ความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 11

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
- ข้อแนะนําสําหรับการลดความเครียด เสริมสร้าง สัมพันธภาพ
และป้องกนั ความรนุ แรงในครอบครัว
กรมกิจการเด็กและเยาวชน

- จัดทําสื่อประชาสัมพันธ์มาตรการเพื่อลดความเสี่ยงในการ
แพร่ระบาดของ COVID-19 “เลี่ยง ล้าง ลด”

- พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสใช้เวลาให้เกิดประโยชน์อย่างมี
คุณภาพ สรา้ งความเข้มแข็งจากภายในตนเอง

ดา้ นสถานที่
สถาบันพระประชาบดี

- ศนู ย์ที่พักอาศัยเพอื่ การกักแยกเพอื่ เฝ้าสังเกตอาการ
ปทุมธานี ที่พักคนกลุ่มเสี่ยง เลี่ยงความขัดแย้งกับชุมชน ตัดวงจรการ
แพร่ระบาด COVID-19 ในครอบครัว ชุมชน เพิ่มโอกาสให้ผู้ที่มีข้อจํากัด
ดา้ นสถานท่ีกักตัว มีพ้นื ทกี่ ักตัว โดยอยใู่ นความดแู ลของโรงพยาบาล

การเคหะแหง่ ชาติ
- จัดหาพื้นที่ของการเคหะแห่งชาติรองรับผู้ที่อยู่ในกลุ่ม

เสี่ยงที่จําเป็นต้องกักตัว โดยดําเนินการร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข อาทิ
โรงแรมปร้ินส์ต้นั อาคารบางพลีคอมเพล็กซ์

กรมพฒั นาสังคมและสวัสดกิ าร
- โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ให้บริการบ้านพักพิงชั่วคราว

โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่เข้าไม่ถึงสิทธิ์ และทรัพยากร ในการป้องกัน
ตนเองจากสถานการณ์โรคตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา 2019 ครอบคลุมทุกจงั หวัด

ชุดความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 12

- มาตรการดูแลคนไร้บ้าน และผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะใน
สถานการณก์ ารแพร่ระบาดโรคติดต่อจาก COVID-19

ระยะแรก : พื้นที่กรุงเทพฯ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
กรุงเทพมหานคร ให้ความรู้และวิธีปฏิบัติ

ระยะที่ 2 : ดําเนินการตามแผนเผชิญเหตุ จัดเตรียม
สถานท่ีรองรับคนไร้บ้าน (รายใหม่) คัดกรองเบื้องต้น ให้ปัจจัย 4 และที่พัก
กกั ตวั สงั เกตอาการ 14 วัน จัดชุดปฏบิ ตั ิการ ปฏิบตั หิ นา้ ท่ี 24 ชัว่ โมง

ระยะที่ 3 : การเยียวยาหลังภาวะวิกฤต วางแผนและ
จัดฝึกอาชีพระยะสั้น เงินทุนประกอบอาชีพเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มี
รายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง สร้างช่องทางและโอกาส ระดมทรัพยากรและความ
ช่วยเหลือ

ในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผล
กระทบทั้งทางตรงและ ทางอ้อมกระจายไปในวงกว้างทุกกลุ่ม ทุกระดับ ทั้งใน
ส่วนบุคคล ระบบธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อย ไป
จนถงึ ธรุ กิจขนาดใหญ่บางส่วนที่ต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและ
ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง เกิดปัญหาคนว่างงาน ตกงาน ถูกเลิกจ้าง เป็น
จํานวนมาก ทําให้เกิดปัญหาสังคมและ คุณภาพชีวิตตามมามากมาย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะหน่วยงานที่ดูแล
คนและสังคมให้มีคุณภาพเต็มศักยภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
รวมทั้งสร้างเสริมเครือข่าย จากทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม
ได้ดําเนินการตามภารกิจ และมาตรการของรัฐบาลอย่างเร่งด่วน ในการ
เยียวยาและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ
โรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 และผู้ประสบปัญหาทางสังคมเพื่อบรรเทา

ชดุ ความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 13

ความเดือดร้อนให้กับกลุ่มเป้าหมายตามนโยบาย : ระบบราชการเลิก
"คิดช้า - ตั้งท่านาน - หลักการมาก" ต้อง “ลดขั้นตอนยุ่งยาก แต่คง
ธรรมาภิบาล เจอคนทุกข์ยาก ให้ช่วยเหลือภายใน 24 ชั่วโมง” ทําให้
ปัญหาติดขัดของการปฏิบัติงานหลายอย่างถูกแก้ไข แต่ยังคงมีปัญหา
อุปสรรคทเี่ กิดขึน้ อกี หลายด้าน ดงั นี้

1. ด้านการทางานของเจ้าหน้าที่
- ระบบการรายงานผลการดําเนินงานยังไม่ได้รวบรวมให้เป็น

ฐานขอ้ มูลกลาง ทาํ ใหพ้ น้ื ทตี่ อ้ งทํารายงาน
หลายรอบและซํา้ ซ้อน

- การประสานงานที่ไม่ชัดเจนระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
รวมถึงปัญหา อุปสรรคในการทํางานของพื้นที่ไม่มีช่องทางในการสื่อสารไป
ส่วนกลาง

2. ดา้ นการจดั การข้อมูล
ระบบการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม ตามระเบียบการ

เบกิ จา่ ยเงนิ สงเคราะหช์ ่วยเหลอื ผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน ต้อง
มีเอกสารหลักฐาน และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบ้าน ทําให้เกิดความล่าช้าและ
ยงุ่ ยากในการแนบเอกสารหลักฐาน

จากปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานดังกล่าว จึงมีข้อเสนอ
เพื่อพัฒนากระบวนการทํางาน ให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับ
สถานการณ์ ดังนี้

3. ดา้ นการประชาสัมพันธ์
3.1 สร้างความตระหนักให้กับประชาชนในเรื่องความ

รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ทั้งในเรื่องสุขภาพที่ต้องปฏิบัติตนตาม

ชดุ ความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 14

มาตรการของสังคม อาทิ ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ไม่
ปกปิดขอ้ มลู ทเ่ี ก่ียวขอ้ งกบั กลุ่มเสีย่ งสัมผสั เปน็ ตน้

3.2 สร้างจิตสํานึกให้ประชาชนหากยังไม่เดือดร้อน และ
สามารถชว่ ยเหลือตวั เองได้ ยกเว้นการขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง
ๆ และประชาสัมพันธใ์ หผ้ ทู้ ีเ่ ดือดร้อนได้รบั สิทธใิ์ นการ ช่วยเหลืออยา่ งทั่วถึง

3.3 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องในการรับฟังข่าวสาร
การแจ้งขอรับความ ชว่ ยเหลอื และสอื่ สารใหผ้ ตู้ กหล่นสามารถเข้าถึงบริการ
นอกจากนี้อาจเป็นช่องทางการบริจาคสิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อ
ช่วยเหลือผปู้ ระสบปญั หาทางสังคม

4. ด้านบรหิ ารจัดการ
4.1 ระบบรายงานผลการดําเนินงานการแพร่ระบาดโรคติด

เช้ือไวรัสโคโรนา 2019 แต่ละจงั หวัด ตอ้ งรวบรวมไว้ที่ส่วนกลางเพื่อให้สามารถ
นําขอ้ มูลการดําเนนิ งานมาประมวล วิเคราะห์ และ รายงานผลไดใ้ นภาพรวมของ
กระทรวง โดยที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สามารถ
ดขู ้อมลู ในจังหวัดตนเองได้

4.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง (Database) เพื่อจัดเก็บ
ข้อมูลผู้ประสบปัญหา ทางสังคมทุกกล่มุ เปา้ หมาย โดยเชื่อมระบบฐานข้อมูล
เดิมของแต่ละกรมมาไว้ส่วนกลาง และเพิ่มเติมผู้ประสบ ปัญหารายใหม่ เพื่อ
ง่ายและสะดวกกับการนําเขา้ ข้อมลู กลุ่มเป้าหมายเดิมของกระทรวงที่ไม่ต้อง
เรยี กเกบ็ เอกสารหลกั ฐาน แตจ่ ะเกบ็ เฉพาะผปู้ ระสบปญั หารายใหม่

4.3 จัดทําระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ประสบปัญหาทางสังคม
ผ่านระบบอเิ ลคทรอนิกส์ สามารถแนบเอกสาร หลักฐาน และลายเซ็น ผ่าน
ระบบได้ เพ่อื งา่ ยและสะดวกกบั ภาคีเครือขา่ ย อาสาสมัคร พัฒนาสังคมและ

ชุดความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 15

ความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่ โดยเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลกลาง และ
สามารถประมวลผล ออกรายงานไดท้ นั ที

5.ดา้ นการสอ่ื สาร
5.1 จัดให้มีช่องทางการสื่อสารระหว่างส่วนกลางและส่วน

ภูมิภาคที่ชัดเจน ถึงแนวทาง การปฏิบัติในส่วนภูมิภาค รวมถึงปัญหาและ
อุปสรรคในการทํางานของแตล่ ะพื้นท่ี

5.2 บูรณาการการทํางานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การ
จัดสถานที่พักพิงชั่วคราว แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาด
โรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 ควรบูรณาการรว่ มกับจังหวดั องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น สาธารณสุข องค์กรเอกชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความ
ม่ันคงของมนุษย์ จติ อาสา เป็นต้น

จดุ แขง็

1. หน่วยงานกระทรวง พม. มที กุ จงั หวัดทัว่ ภมู ิภาค
2. มชี ่องทางการส่อื สารระหว่างสว่ นกลางและส่วนภูมิภาคที่ชัดเจน
ไดแ้ ก่ Vedio Conference
3. เจ้าหน้าที่หน่วยงานของ พม. ทุกจังหวัด สามารถให้คําปรึกษา
แนะนาํ พรอ้ มท้งั รับฟังปัญหา ลงพ้ืนที่ เยีย่ มเยยี นผู้ประสบปญั หา
4. หน่วยงาน พม. มีงบประมาณให้การช่วยเหลือกับผู้ประสบ
ปญั หากรณฉี ุกเฉนิ ไดท้ ันทว่ งที
5. มกี ารบรู ณาการการทาํ งานรว่ มกันระหว่างหน่วยงานในพน้ื ที่และ
ภาคีเครือข่ายทคี่ รอบคลมุ (อพม.)

ชุดความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 16

สิ่งที่ตอ้ งทา

1. พม.ตอ้ งคํานึงถึงผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ไม่ให้เสี่ยงภัยอันตรายใดๆ
ทางใดทีล่ ดความเส่ยี งได้ควรดําเนินการแทน เช่น มาตรการกู้เงินฉุกเฉินของ
พก. ท่ี ปพม.สัง่ การให้ศูนย์บริการรับลงทะเบียน ประชาชนจะหลั่งไหลมาที่
สนง.พมจ. มากข้ึน ต้องหาวธิ ีการหรอื แนวทางไมใ่ หป้ ระชาชนลงทะเบียนยื่น
คาํ ขอทาํ บตั รคนพิการผ่านเว็บของ พก. ได้ เพื่อลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าท่ี
และตอบสนองมาตรการป้องกันการแพรร่ ะบาดของโรค

2. ทบทวน กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เป็นปัญหาอุปสรรคใน
การใหก้ ารช่วยเหลอื

3. ถ้า สสว. ต้องเป็นสถานท่ีกักตัว กระทรวง พม. ควรมีระเบียบ
ให้ชัดเจนและสามารถใช้ระเบียบในการเบิกจา่ ยงบประมาณได้เลย

4. ให้ความรู้เรื่องการประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น
เกษตรอินทรีย์ ให้สามารถสร้างรายได้ทเี่ พยี งพอต่อการยังชีพ

5. กําหนดให้มีหน่วยรับบริจาคในแต่ละพื้นที่ สําหรับรับบริจาค
เครอ่ื งอุปโภคบริโภค และสิ่งบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบปัญหา
ได้แก่ ผู้ที่ตกงาน ผู้ที่ขาดรายได้ ผู้ที่ขาดแคลนอาหาร ผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัย
ผ้ทู ไี่ ม่มีเงินจ่ายคา่ เช่าบ้าน ผทู้ ่ีไม่ไดร้ บั เงนิ เยยี วยา 5,000 บาท แม่เลี้ยงเดี่ยว
ครอบครวั ท่ไี ดร้ บั ผลกระทบจากการกักตวั กล่มุ เสย่ี ง

สิ่งทต่ี อ้ งทาเพ่ิม

1. สํารวจข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบ/ผู้ประสบปัญหาจากการแพร่
ระบาดของโรค โดยการสํารวจสภาพปัญหาและความต้องการช่วยเหลือทุก
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

ชุดความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 17

1) ผู้ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท (ประสานขอข้อมูล
กบั หนว่ ยงานที่รบั ผิดชอบ)

2) กลุ่มผู้ตกหล่นที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการ ให้ อพม.
ดําเนินการจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่และรวบรวมส่งให้กับ สนง.พมจ. แต่ละ
จังหวัด

2. จัดทําระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ประสบปัญหาทางสังคมผ่าน
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถแนบเอกสาร หลักฐาน และลายเซ็น ผ่าน
ระบบได้ เพ่อื ง่ายและสะดวกกับภาคีเครือข่าย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่ โดยเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลกลาง และ
สามารถประมวลผลออกรายได้ทนั ที

3. แนวทางท่ีมีประสิทธิภาพ คือ ถ้าศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19
ระดับจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสถานการณ์ และมีอํานาจ
ทุกมติ ิตาม พ.ร.ก.ฉกุ เฉิน หรือผู้วา่ อาจมอบนายอําเภอ แจ้งยืนยันว่าประชาชน
รายใดเปน็ ผไู้ ด้รบั ผลกระทบ มอบอาํ เภอสอบข้อเท็จจรงิ พรอ้ มหลกั ฐาน สง่ พมจ.
เบิกเงนิ โอนเข้าบัญชีได้เลย เพราะเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน หมดสถานการณ์ก็
กลับไปใช้ระเบียบแบบเดมิ ก็ได้

4. แก้ระเบียบ/ออกมาตรการ ยกเว้นเรื่อง นักสังคมสงเคราะห์
เย่ียมบ้าน วินจิ ฉัยถอื วา่ ศนู ยบ์ รหิ ารสถานการณ์วินิจฉัยก็ช่วยได้เลย โอนเงิน
เลย ประชาชนไม่ต้องประท้วง ช่วยตรงจุด เร็ว ทันเวลา ทันต่อปัญหาและ
ความต้องการ พม.จะเป็นแนวหนา้ ในการเยียวยาผู้ได้รบั ผลกระทบ

ชุดความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 18

ผลกระทบ
1. การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมที่วางแผนไว้ ไม่สามารถ

ดําเนินการตามแผนงานได้ เนื่องจากงบประมาณบางส่วนถูกส่งกลับเพื่อ
นาํ ไปใชใ้ นการแกป้ ญั หาในภาพรวมของประเทศในสถานการณโ์ ควิด

2. การขบั เคล่ือนงานในพ้ืนที่ โดยทมี One Home แต่ละจังหวัดลง
เยย่ี มบา้ นสอบข้อเท็จจริงให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในกรณีที่ประสบปัญหา
เดือดร้อนตามความจําเปน็
ศักยภาพ พม.

งาน
- พม. มีบทบาทภารกิจที่ต้องช่วยเหลือครอบคลุมทุก

กลุม่ เป้าหมาย
งบประมาณ
- พม. มีกองทนุ หลายประเภททีส่ นบั สนนุ การปฏบิ ัตงิ าน
ระบบ
- มีการสื่อสารภายใน/ภายนอกองค์กร โดยใช้ระบบ

Vedio Conference /Line /Facebook /Email /Website
- มีการสง่ั การไดท้ นั ท่วงทีผ่านระบบ Vedio Conference

คน
- มีบคุ ลากรของหน่วยงาน พม. กระจายอยูใ่ นทุกภูมิภาค
- มีเครือข่าย (อพม.) ในการทํางานครอบคลุมทุกตําบล

อําเภอ จงั หวัด

ชุดความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 19

Best Practice ของพ้นื ท่ีกลุม่ นครชยั บุรนิ ทรศ์ รีโสธร

ได้คัดเลือกมาตราการในการบริหารและแก้ไขสถานการณ์ปัญหา
จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัด
นครราชสีมาและจงั หวดั บรุ รี มั ย์

จังหวัดนครราชสีมา มีมาตรการตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) มรี ายละเอียดดังนี้

1) การจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) จังหวัดนครราชสีมา ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณปริสุทโธ ชั้น 3
ศาลากลางจงั หวัดนครราชสีมา แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์
ตอบโต้โรคติดเช้อื ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) และแต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุม
โรคตดิ ต่อตามพระราชบญั ญตั โิ รคตดิ ตอ่ พ.ศ. 2558

2) จังหวัดนครราชสีมา โดยกําหนดให้มีการประชุมติดตามสถานการณ์
ร่วมกับอําเภอทุกอําเภอผา่ นระบบ VCS ทกุ วนั อังคารของสัปดาห์ เวลา 08.00 น.
จัดแถลงข่าวและประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อฯ และคณะอนุกรรมการศูนย์
บัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัด
นครราชสีมาทุกวัน เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลาง
จังหวดั นครราชสีมา

3) ให้มีการเผยแพร่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ทั้งจากต่างประเทศ ในประเทศ และในจังหวัดนครราชสีมา
รวมถึงรณรงค์เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพื่อให้
ประชาชนทราบและลดความต่นื ตระหนกและรณรงค์การรับประทานอาหาร โดยให้
“กนิ ร้อน ใช้ช้อนส่วนตัว และล้างมือบ่อยๆ”

ชดุ ความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 20

4) ให้มีมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อในสถานที่ที่มีประชาชนให้บริการ
จํานวนมาก เช่น ห้างสรรพสนิ คา้ ตลาด สถานประกอบการ โรงแรม สถานที่ราชการ
ฯลฯ เช่น คัดกรองอุณหภูมิก่อนเข้าอาคาร การกําหนดจุดเข้าออก การจัดเจล
แอลกอฮอล์ล้างมือ การทําความสะอาดพื้นผิวและห้องสุขา การจํากัดจํานวนคน
เขา้ ใชบ้ รกิ ารในแตล่ ะชว่ งเวลา ฯลฯ

5) ส่งเสริมการจัดพื้นที่ต่างๆ ตามแนวคิด Social Distancing โดยใน
รา้ นคา้ รา้ นอาหาร หา้ งสรรพสินค้า ธนาคาร หรือสถานบริการ ต้องจัดทําระบบคิว
จุดรับประทานอาหาร ให้มีระยะห่าง 2 เมตร หรืออย่างน้อย 1 เมตร หรือจัดทํา
อาหารกล่อง (Set Box) เพือ่ ลดอตั ราความเสยี่ งในการสมั ผสั โรค

6) รณรงคใ์ หม้ กี ารสวมหนา้ กากอนามยั /หน้ากากผ้า 100%
7) ให้ประชาชนที่เดินทางมาพักอยู่จังหวัดนครราชสีมาทุกคน
ต้องรายงานตัวต่อ อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือผู้นําชุมชนในพื้นท่ี
และประชาชนทเี่ ดินทางมาจาก 10 จังหวดั เสี่ยง ต้องกักตัวท่บี ้าน 14 วัน
มีระบบการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
ของผู้ที่เดินทางเขา้ พน้ื ท่ีจงั หวัดนครราชสมี า รายละเอียดดังนี้
1) กรณเี ดนิ ทางจากตา่ งประเทศเข้าพ้นื ทจ่ี งั หวัดฯ
2) กรณีเดินทางจาก กพม./ต่างจังหวัด เขา้ พนื้ ท่ีจงั หวดั ฯ
3) กรณีการรบั ผปู้ ว่ ย COVID-19 เขา้ พื้นท่ีจังหวดั ฯ
4) กรณีส่งต่อผ้ปู ว่ ย COVID-19 ไปตา่ งจงั หวัด
มีคําสัง่ /ประกาศ จงั หวดั นครราชสีมา รายละเอยี ดดงั น้ี
1) ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง มาตรการ
เฝา้ ระวงั ปอ้ งกันและควบคมุ การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (COVID-19) สําหรับ
ผู้เดินทางเข้ามาในพนื้ ท่ีจังหวัดนครราชสมี า

ชุดความรู้ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) 21

2) คําสั่งจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง ปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการ

แพรโ่ รคตดิ ตอ่ อันตราย

จังหวัดบุรีรัมย์ มีมาตรการตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(COVID-19) มีรายละเอียดดงั น้ี

1) การดาเนินการคดั กรอง (Entry screening) ผเู้ ดนิ ทางเขา้ พานักในจังหวัด

บุรรี มั ย์ ให้ดาเนนิ การตามแนวทาง ดังน้ี

1.1 ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) หรือผู้ที่เป็นผู้สัมผัสโรคหรือพาหะของโรคติดเช้ือ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ท่ีประสงค์เดินทางเข้าพํานักในพ้ืนที่
จังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านทางท่าอากาศยานบุรีรัมย์ สถานีรถไฟบุรีรัมย์ สถานี
ขนส่งผู้โดยสาร รถโดยสารประจําทาง ไม่ประจําทาง รถโดยสาร
สาธารณะ และรถส่วนตัว ทุกคนต้องลงทะเบียนในแบบฟอร์มที่กําหนด
(แบบฟอร์ม ต.8 บร.) และต้องเฝ้าสังเกตอาการตนเองอย่างน้อย 14 วัน
หรือ ตลอดระยะเวลาที่พํานักอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยจะต้องถูกคัด
กรองก่อนออกจากสถานี (แบบฟอร์ม ต.8 บร.)และต้องติดตาม
ลงทะเบยี นประวตั ิการเดินทางในชุมชน/ทีพ่ กั

ทั้งน้ี หากพบผู้ที่มีไข้ 37.5 องศาเซลเซียส ให้สอบถามประวัติเส่ียง
การเดินทางจากพ้ืนท่ีเส่ียงการสัมผัสเหตุการณ์ท่ีมีรายงานพบผู้ป่วย
ยืนยนั

1.2 โรงแรมรีสอร์ท และห้องพักทุกแห่ง ต้องจัดให้มีเคร่ืองมือวัดใช้
และดําเนินการคัดกรองก่อนเข้าพัก สําหรับผู้เข้าพักทุกราย (บันทึกเป็น
ทะเบยี น)

1.3 ให้ผู้นําท้องถิ่น ผู้นําชุมชน อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าท่ีสาธารณสุขใน
ชุมชน สํารวจผู้ที่เดินทางเข้าพํานัก ในพ้ืนที่จังหวัดบุรีรัมย์ แล้วรายงานให้

ชดุ ความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 22

ศนู ยบ์ ัญชาการเหตกุ ารณ์โรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)จังหวัด
บรุ ีรมั ย์ ทราบทกุ วัน
2) มาตรการเพ่ือป้องกัน และลดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) จงั หวัดบุรรี มั ย์

2.1 งดกจิ กรรมทเี่ ส่ียงต่อการแพรก่ ระจายของโรคตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)ซึง่ มีลกั ษณะใดลักษณะหนงึ่ ดงั ต่อไปน้ี

1) งดกจิ กรรมการประชุม สมั มนา การแข่งขันกฬี า งานบุญ งาน
บรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อน ประเพณีสงกรานต์ คอนเสิร์ต ฯลฯ ท่มี ี
ผู้เขา้ รว่ มเกินกวา่ 50 คน

2) งดให้การบรกิ ารของสถานบันเทงิ โรงภาพยนตร์ ตลาดนัด
ถนนคนเดนิ ฯลฯ

2.2 ให้รา้ นอาหาร หรือ สถานประกอบการบริการอาหาร ต้องจัดให้มี
ข้อนกลางส่วนบคุ คล จดุ บรกิ าร เจลลา้ งมือ หรือ อา่ งลา้ งมอื ใหเ้ พียงพอ

2.3 ให้โรงเรียน สถานศึกษา สถาบันกวดวิชา งดกิจกรรมๆ ตามท่ี
กาํ หนด

2.4 มาตรการการเฝ้าระวัง กรณี ไม่สามารถงดหรือเล่ือนกิจกรรมน้ันๆ
ได้ ให้ผู้จัดแจ้งและทําหนังสือขออนุญาตจัดกิจกรรมจากคณะกรรมการ
โรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ และปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน การแพร่กระจาย
ของเชือ้ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดอยา่ งเคร่งครัด

2.5 ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบตลาดสด จัดทําป้ายประชาสัมพันธ์ให้
ความรู้ จดั ใหม้ ีอ่างลา้ งมือและสบู่ เหลวลา้ งมอื ทกุ ทางเขา้ -ออก หรือจัดให้มี
จุดบริการเจลล้างมืออย่างเพียงพอและควบคุมให้ผู้ค้าขายในตลาดใส่
หน้ากากอนามยั หรอื หน้ากากผ้า และใช้อุปกรณ์ช่วยลดสัมผัสโดยตรงจาก
ผู้ค้า เชน่ อปุ กรณค์ บื อุปกรณ์ ตกั อาหาร ฯลฯ

2.6 ใหก้ าํ นนั ผู้ใหญบ่ ้าน รณรงคก์ ิจกรรม “รกั พ่อ ห่วงแม่ ทําได้ด้วยการ

ไมเ่ ดินทางกลับ ช่วงสงกรานต์ เพอื่ หยดุ COVID- 19”

ชุดความรู้ ไวรสั โคโรนา (COVID-19) 23

3) มาตรการการเตรียมความพร้อมด้ านการแพทย์และการ
สาธารณสุข กรณีมีการระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) เข้าสู่การระบาดในวงกวา้ ง ระยะท่ี 3

3.1 สํานกั งานสาธารณสขุ จังหวดั บรุ ีรัมย์ เตรยี มความพร้อมด้านการเฝ้า
ระวัง สอบสวน ป้องกันและ ควบคุมโรค โดยให้หน่วยปฏิบัติการควบคุม
โรคติดต่อ (CDCU) เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและทรัพยากร ในการ
เฝา้ ระวัง สอบสวน ปอ้ งกนั และควบคุมโรค

3.2 ให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งสํารวจ และเตรียมความพร้อม ห้อง
แยกโรคความดันลบ ห้องแยก โรคทั่วไป บุคลากร และสํารองทรัพยากรใน
การดูแลผูป้ ว่ ยใหเ้ พยี งพอ

3.3 ใหโ้ รงพยาบาลบรุ ีรมั ย์และโรงพยาบาลนางรอง สํารวจ และเตรียม
ความพร้อม ห้องแยกโรค ความดันสบ ห้องแยกโรคทั่วไปและหอผู้ป่วยรวม
แยกโรค (Cohort Ward) บุคลากรและสํารองทรัพยากรใน การดูแลผู้ป่วย
ให้เพยี งพอ

3.4 กรณีท่ีมีผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient Under Investigation : PU)
ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ มากกว่า 30 ราย ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
บรุ ีรัมย์ ประสานส่วนท่เี ก่ียวขอ้ งเพือ่ เปดิ โรงพยาบาลสนาม ณ โรงแรม BRIC Box
Hotel Buriram

คณะผู้จัดทา

คณะทป่ี รกึ ษา ผอู้ านวยการ สสว. 4
นักพัฒนาสังคมชานาญการพเิ ศษ
1. นางรชธร พลู สิทธิ์
2. นางองั ศุณชิ ฐา ศริ ิพูลวฒั นา

ผู้จดั ทา นักพัฒนาสังคมปฏบิ ัติการ
กล่มุ นโยบายและยุทธศาสตร์
นางสจุ ิตรา ดีดพมิ าย

กลุ่มนโยบายและยทุ ธศาสตร์
สานักงานส่งเสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 4 จังหวดั นครราชสีมา
เลขท่ี 211 หมทู่ ี่ 1 ตาบลนิคมสรา้ งตนเอง อาเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110

โทร. 0 4496 5501 ตอ่ 16 โทรสาร 0 4496 5500
เวบ็ ไซต์ https://tpso-4.m-society.go.th
E-mail : tpso-4@ m-society.go.th


Click to View FlipBook Version