The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รูปเล่มข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รูปเล่มข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่

รูปเล่มข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่

คำนำ

การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่ เป็นการจัดทำข้อเสนอที่ได้จากการ
สังเคราะห์พัฒนาองค์ความรู้จากการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์หรืองานวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ในบริบทพื้นที่ สำหรับใช้เป็นข้อมูลเบ้ืองต้นสำหรับผู้บรหิ ารเพ่ือประกอบการตัดสนิ ใจดำเนินการพัฒนาองคก์ รและ
งานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ในพื้นที่ท้ังในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด การนำข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้จากการเขียน
โครงการขอรับงบประมาณในการดำเนินงาน หรืองานวชิ าการไปใช้ประโยชนไ์ ด้จริง

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 ได้มีการเสนอขอรับงบประมาณในการดำเนินงาน
โครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ซ่ึงดำเนินการพัฒนาเชิงพื้นที่ยังไม่ครอบคลุม จึงเห็น
ควรต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านขององค์ความรู้ และความรู้ ความเข้าใจของบุคลากรเพ่ือรองรับทิศ
ทางการพัฒนาดังกล่าว ให้มีองค์ความรู้และสมรรถนะ พร้อมสำหรับการปฏิบัติงานพัฒนางานเชิงพ้ืนที่อย่างมี
ประสิทธิภาพ แต่ในปัจจุบันหน่วยงาน พม.ยังไม่มีการดำเนินการนำเสนอโครงการเพ่ือขอรับงบประมาณจาก
ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดเท่าที่ควร เพื่อสนับสนุนให้เกิดการจัดการองค์ความรู้เรื่องดังกล่าว การจัดทำข้อเสนอ
เชิงนโยบายในการสร้างการมีสว่ นร่วมเพ่ือพฒั นาสังคมระดับพ้ืนที่ จัดทำข้ึนเพื่อสรุปบทเรียนแนวทางการสร้างการ
มีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคมระดับพ้ืนที่ และพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างการมีส่วนร่วมเพ่ือพัฒนา
สังคมระดับพื้นท่ีและแนวทางการขยายผล เสนอขอความเห็นชอบต่อปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ต่อไป ซ่ึงข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างการมีส่วนร่วมเพ่ือพัฒนาสังคมระดับพ้ืนท่ีและแนวทาง
การขยายผลท่ีจดั ทำในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอกิจกรรมโครงการทไ่ี ด้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนนิ งานเพ่ือ
พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในเขตพ้ืนที่รับผิดชอบของสำนักส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 มุ่งหวังให้เป็น
กิจกรรม/โครงการ ที่กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ปฏิบัติงานของผู้สนใจในการพัฒนาสังคม
เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และมีข้อเสนอเชิงนโยบาย/มาตรการทางสังคมนำไปใช้ในการพัฒนาและ
แกไ้ ขปัญหาสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป

สำนกั งานสง่ เสริมและสนบั สนนุ วชิ าการ 4
กรกฎาคม 2564

บทสรุปผ้บู ริหาร

การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพ้ืนท่ี มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในเบ้ืองต้นสำหรับ
ผู้บริหารในการตดั สนิ ใจดำเนินการในการพัฒนาองค์กร และงานใหบ้ รรลผุ ลสมั ฤทธ์ิ เกิดมาตรการทางสังคม วธิ ีการ
ท่ีต้ังเป็นกฎ ข้อกำหนด ระเบียบ กฎหมาย หรือวิธีการท่ีจะปรับเข้าไปสู่ผลสำเร็จ โดยสำนักงานส่งเสริมและ
สนับสนุนวิชาการ 4 (สสว.4) ได้ดำเนินการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพ้ืนท่ีโดยการประชุมผ่าน
ระบบ Web Conference เม่ือวันท่ี 26 มีนาคม 2564 ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จงั หวัด 6 จงั หวัดในเขตพื้นทร่ี บั ผิดชอบของ สสว.4 ได้แก่ จังหวดั นครราชสมี า จังหวัดชัยภูมิ จงั หวัดบุรีรมั ย์ จังหวัด
สุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร เพื่อรวบรวมข้อเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการดำเนินงานของ
พมจ. เพ่ือรับฟงั ขอ้ เสนอทเ่ี ป็นนโยบายในการดำเนนิ งานดา้ นสงั คมของหนว่ ยงาน พม. ตอ่ ไป

สสว.4 ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลท่ีได้จากการนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอ
เชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพ้ืนท่ี เพ่ือท่ีจะได้นำไปจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมไปปรับใช้ ขยายผล
หรือดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซ่ึงได้ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมมิติด้านรายได้ โดยการสร้างรายได้ให้กับ
ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยตนเองได้ ไม่เป็นภาระกับลูกหลาน มีเป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุและ
ครอบครวั ในชุมชนอย่างยั่งยืน

สำรบัญ

บทท่ี 1 บทนำ หนา้
บทท่ี 2 แนวคดิ และทฤษฎที ีเ่ กยี่ วข้อง 1
บทที่ 3 ขนั้ ตอนและเครอ่ื งมือในการจดั ทาข้อเสนอเชงิ นโยบายด้านสังคมในระดบั พืน้ ท่ี 6
21
สร้างการมสี ว่ นร่วม เพ่ือพฒั นาสงั คมระดับพนื้ ที่และแนวทางการขยายผล
บทที่ 4 สรปุ บทเรยี นการสร้างรายไดใ้ ห้กบั ผูส้ งู อายุในชุมชนอยา่ งยั่งยืน 23
บทที่ 5 ข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างการมสี ่วนรว่ มเพ่ือพัฒนาสังคมระดับพน้ื ที่ 26

การสรา้ งรายไดใ้ หก้ บั ผู้สงู อายุในชมุ ชนอยา่ งยั่งยืน

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ความเป็นมาและความสำคญั ของการจดั ทำขอ้ เสนอเชงิ นโยบายในการสร้างการมสี ่วนรว่ ม
เพ่อื พฒั นาสังคมระดับพ้นื ทีแ่ ละแนวทางการขยายผล
1.1.1 ลักษณะองคก์ รสานกั งานสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ วิชาการ 4
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 ตั้งอยู่เลขที่ 211 หมู่ 1 ตำบลนิคมสร้างตนเอง

อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางท่ีตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค มีพ้ืนที่
รับผิดชอบ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัด
ศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร
บทบาทและอำนาจหนา้ ท่ี

1. พัฒนางานด้านวิชาการเก่ียวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้สอดคล้องกับ
พื้นท่ีและกลมุ่ เป้าหมาย

2. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการ องค์ความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ ให้คำปรึกษาแนะนำ
แกห่ นว่ ยงานบรกิ ารทุกกลุ่มเป้าหมายในพน้ื ทีใ่ ห้บรกิ ารในความรับผิดชอบของกระทรวงการพฒั นาสังคม
และความม่ันคงของมนุษย์ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนทอ้ งถ่ิน หนว่ ยงานทเ่ี ก่ียวขอ้ ง องค์กรภาคเอกชน
และประชาชน

3. ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์ และสภาพแวดล้อมเพอ่ื คาดการณ์แนวโน้มของสถานการณท์ าง
สงั คมและผลกระทบ รวมท้ังให้ข้อเสนอแนะการพฒั นาสังคมและจัดทำยุทธศาสตร์ในพ้นื ทก่ี ลุ่มจงั หวดั

4. สนับสนุนการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานเชิงวิชาการตามนโยบายและภารกิจ
ของกระทรวงการพฒั นาสังคมและความมน่ั คงของมนษุ ย์ในพ้นื ทกี่ ล่มุ จงั หวดั

5. ปฏบิ ัตงิ านสนบั สนุนการปฏิบัติงานของหนว่ ยงานอื่นทเี่ กีย่ วขอ้ ง

หน้า |2

ทบทวนเหตกุ ารณ์สำคัญที่เกี่ยวขอ้ งกบั กระบวนการสรา้ งการมีสว่ นรว่ มเพือ่ พัฒนาสังคมระดับ
พืน้ ที่

ปี พ.ศ. ผลการดำเนนิ งาน
2562 โครงการพฒั นานวตั กรรมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมทอ้ งถนิ่ สู่การสรา้ งรายได้

ให้ผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพ่ือพัฒนานวัตกรรมเพ่ือสนับสนุนการนำ
ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ภูมปิ ัญญาผ้สู ูงอายุ และวัฒนธรรมท้องถ่ินสู่การสรา้ ง
รายได้ให้แก่ผู้สูงอายุและประชาชนทุกช่วงวัย และเพ่ือยกระดับคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการคือ ผู้สูงอายุที่เป็นภูมิปัญญาแต่ละ
จงั หวัด รวมถงึ เด็กและเยาวชน สตรีและผู้มีรายได้น้อย เป้าหมาย ผสู้ ูงอายุจำนวน
140 คน มีคุณภาพชีวิตท่ีดีข้ึน ตัวชี้วัด คือ 1) จำนวนนวัตกรรมการพัฒนา
ภูมิปัญญาในพ้ืนที่ 4 นวัตกรรม/ภูมิปัญญา และจำนวนผู้เข้ารับการถ่ายทอด
ภูมิปัญญา (เด็กและเยาวชน คนว่างงาน ผู้สูงอายุ จำนวนกลุ่มละ 100 คน
ตอ่ 1 จงั หวดั )
2564 โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัยนครชัยบุรินทร์ กิจกรรมหลักสร้าง
รายได้ให้กับผู้สูงอายุในชุมชนอย่างย่ังยืน มีกิจกรรมย่อย/รายการ ประกอบด้วย
3 กจิ กรรม ดังน้ี

กิจกรรท่ี 1 ประชุมสำรวจความต้องการในการสร้างรายได้ของผู้สูงอายุ
กลุ่มสตรี เด็กและเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าท่ีองค์กรปกครอง
สว่ นท้องถน่ิ ทป่ี ฏิบัติงานดา้ นสวัสดกิ ารสงั คม ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด

นครชัยบุรนิ ทร์

กิจกรรมท่ี 2 อบรมผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี เด็กและเยาวชนในครอบครัว
ผูด้ ้อยโอกาส ฝึกปฏบิ ตั ิในการสร้างอาชีพทมี่ ีรายได้และเหมาะสมกับตนเอง

กิจกรรมท่ี 3 ประชุมติดตามผลการดำเนินงานและรายงานผลการ
ดำเนนิ งาน
กลมุ่ เปา้ หมายในการดำเนินโครงการคือ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ เด็ก

หน้า |3

1.1.1 ความเปน็ มาและความสำคัญของการจดั ทาข้อเสนอเชงิ นโยบายในการสรา้ งการมีส่วนรว่ ม
เพือ่ พัฒนาสังคมระดับพืน้ ท่ีและแนวทางการขยายผล

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้นำประเด็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่ 12 มากำหนดเป็นยุทธศาสตร์กระทรวงภายในปี 2560 – 2564 ภายใต้ยุทธศาสตร์ผลักดันให้
เกิดสังคมสวัสดิการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่ม เพศ วัย สามารถเข้าถึงบริการทางสังคม
ท่ีมีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและท่ัวถึง อันเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลปัจจุบันในด้านสังคมและ
คุณภาพชวี ิตที่มุง่ เน้นการจัดสวัสดิการแก่ทุกกลุ่มเป้าหมายให้มีคุณภาพชีวติ ที่ดี และร่วมเป็นพลังชีวิต เพื่อร่วม
เป็นพลังขับเคลื่อนสังคม เสริมสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซ่ึงสอดคล้องกับนโยบายของ
รัฐบาลท่ใี ห้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และการเสริมสรา้ งให้ผสู้ งู อายุ ผู้ดอ้ ยโอกาส
มีคุณภาพชีวิตท่ีดีข้ึน ลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐ อันเป็นสิทธิพ้ืนฐานและ
ความเทา่ เทยี มของสงั คม

ปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพ่ิมมากข้ึน และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนื อ
ตอนล่าง 1 กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จากรายงานระบบสถิติทางการทะเบียนกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ.2562 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ
บุรีรัมย์ สุรินทร์) มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 17 % ของประชากรทั้งหมด (ประชากรผู้สูงอายุมี
จำนวน 1,132,195 คน ประชากรรวมท้ังหมดของกลุ่มจังหวัด 6,693,720 คน) เป็นไปตามเกณฑ์การแบ่ง
ระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุขององค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ระดับการก้าวเข้าสู่สังคม
ผู้สูงอายุ (Agingsociety) คือสังคมหรือประเทศท่ีมีประชากรอายุ 60 ปีข้ึนไปมากกว่าร้อยละ 10 จึงต้องมีการ
สนับสนุนการนำความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ภูมิปัญญาผู้สูงอายุและวัฒนธรรมสู่การสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
ให้แก่ผู้สงู อายุ กลุ่มสตรี เด็กและเยาวชนในครอบครัว ผดู้ ้อยโอกาส เพ่ือใหส้ ามารถมีรายได้เล้ียงชพี ตนเองและ
คนในครอบครวั สามารถใช้ชีวติ ประจำวนั ได้อยา่ งมีความสขุ และเกิดความย่ังยืนต่อไป

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คาดประมาณว่า เม่ือกลางปี 2562 ประเทศ
ไทยมีประชากรสัญชาติไทยและไม่ใช่สัญชาติไทย แต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจำนวน 66.4 ล้านคน และจำนวนคน
ท่ีไม่ใช่สัญชาติไทยและไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนว่ามีอยู่ประมาณ 2.9 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นแรงงานข้ามชาติ
จากประเทศเพ่ือนบ้าน (เมยี นมา กัมพชู า และลาว) ดังนั้น ในปี 2562 มีประชากรอาศัยอยใู่ นประเทศไทย รวม
ทง้ั หมดประมาณ 69.3 ล้านคน

ในระยะเวลา 20 ปีท่ีผ่านมานี้ ประชากรไทย (ไม่รวมแรงงานข้ามชาติ) เพ่ิมขึ้นด้วยอัตราที่ ช้ามาก
คือเพ่ิมขึ้นไม่ถึงร้อยละ 0.5 ต่อปี ต่างกับในอดีต เมื่อครึ่งศตวรรษก่อนประชากรไทยเพิ่มขึ้นด้วยอัตราท่ีสูงมาก
คือเพ่ิมด้วยอัตราเฉลี่ยท่ีสูงกว่าร้อยละ 3 ต่อปี และประเทศไทยมีประชากรครบจำนวน 60 ล้านคน เม่ือเดือน
พฤศจกิ ายน 2539 นบั จนถงึ ปี 2563 เปน็ เวลานานถึง 24 ปี แต่ประชากรไทยยงั คงมจี ำนวนอยู่ทห่ี ลกั 60 ล้านคน

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะประกาศจำนวนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคมของแต่ละปี
ประกาศน้ีมีข้อมูลจำนวนราษฎร รวมท้ังประเทศ แยกเป็นเพศชาย - หญิง แยกตามจังหวัดต่างๆ รวมท้ัง

หน้า |4

ประกาศจำนวนคนเกิด คนตาย ท่ีจดทะเบียนในปีนั้น ๆ และตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย เมื่อสิ้นปี
2563 ประเทศไทยมีประชากรรวมทง้ั ส้นิ 66,186,727 คน เป็นชาย 32,375,532 คน และหญิง 33,811,195 คน

ในปี 2563 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากถึง 11.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ
17.5 ของประชากรทั้งหมด ทำให้เห็นว่าประเทศไทยได้ก้าวสู่สงั คมผู้สูงอายุ (Ageing Society) โดยนับต้ังแต่ปี
พ.ศ. 2548 มีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรท้ังประเทศ และคาดประมาณว่าในปี 2564
ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” เม่ือประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20
ของประชากรท้ังหมด ในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายรุ ะดับสดุ ยอด” เม่ือประชากรอายุ 60 ปี
ขึ้นไป มสี ดั ส่วนสงู ถงึ รอ้ ยละ 28 ของประชากรทงั้ หมด (สถานการณผ์ ู้สูงอายุไทย, 2559)

สถิตปิ ระชากรผสู้ ูงอายุไทย ปี 2563 อาจแบง่ เป็นผู้สงู อายกุ ล่มุ ยอ่ ยออกได้ดังน้ี
- ผู้สูงอายุวัยต้น 60 – 69 ปี 7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 60.4 ของผู้สูงอายุท้ังหมด อัตราส่วนเพศของ
ผ้สู ูงอายไุ ทยคดิ เปน็ ผู้ชาย 82 คน ตอ่ ผ้หู ญิง 100 คน
- ผสู้ ูงอายุวัยกลาง 70 – 79 ปี 3.3 ล้านคน คดิ เป็นร้อยละ 28 ของผูส้ งู อายุทง้ั หมด อัตราส่วนเพศของ
ผู้สูงอายไุ ทยคดิ เป็น ผู้ชาย 68 คน ต่อผหู้ ญงิ 100 คน
- ผ้สู งู อายวุ ยั ปลาย 80 ปขี นึ้ ไป 1.3 ล้านคน คดิ เป็นรอ้ ยละ 11.6 ของผู้สงู อายทุ ัง้ หมด อัตราส่วนเพศ
ของผู้สูงอายุไทยคิดเป็น ผ้ชู าย 49 คน ต่อผ้หู ญิง 100 คน
และในปี 2582 คาดประมาณว่าประเทศไทยจะมปี ระชากร 65.2 ล้านคน ในจำนวนน้ีจะเป็นประชากร
ชาย 31.1 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วนเพศเท่ากับ มีประชากรชาย 91 คนต่อประชากรหญิง 100 คน และ
รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583 (ฉบับปรับปรุง) คาดประมาณว่า
ภาคเหนือเป็นภาคท่ีมีอัตราผู้สูงอายุ หรืออัตราส่วนร้อยของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปต่อประชากรท้ังหมด
สูงสุด คือร้อยละ 22 รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอัตราผู้สูงอายุร้อยละ 20 ภาคกลางและ
ภาคใต้มอี ัตราผูส้ งู อายุต่ำสุด คือประมาณรอ้ ยละ 15
จังหวัดในเขตรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา
จงั หวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวดั ศรีสะเกษ และจังหวดั ยโสธร มลี ำดับทร่ี ้อยละของผู้สูงอายุ
อยู่อันดับต้นๆ ของประเทศ ทำให้เห็นว่าจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบส่วนใหญ่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์
(การมีจำนวนผูส้ ูงอายุ จำนวนรอ้ ยละ 20 ของประชากรทั้งหมด)
จะเห็นได้ว่าการเพิ่มข้ึนอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุ ทำให้การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับ
ผู้สูงอายุกลายเป็นอีกประเด็นหน่ึงที่ท้าทายของสังคมไทย ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
ควรเข้ามาจัดบริการ ประโยชน์ในด้านต่างๆ เพ่ือคุ้มครองและเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ เพ่ือให้
ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่ามีศักด์ิศรี และคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพและความเป็นอยู่ท่ีดีให้นานที่สุด (คณะกรรมการ
ผู้สงู อายุแห่งชาติ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์, 2553)
จากการดำเนนิ งานของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จนถึง
ปัจจุบัน ได้ดำเนินการจัดทำโครงการร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ในเขตพ้ืนที่

หน้า |5

รับผิดชอบของ สสว. 4 ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
เพ่ือขอรับงบประมาณสนับสนุนจากยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (จังหวัด
นครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์) เพื่อนำงบประมาณที่ได้รับจัดสรรมาดำเนินการพัฒนา
คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นท่ี จะเห็นได้จากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เสนอขอรับงบประมาณภายใต้
“โครงการพัฒนานวัตกรรมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถ่ินสู่การสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุในชุมชน” โดยมี
วัตถุประสงค์ เพ่ือพัฒนานวัตกรรมเพ่ือสนับสนุนการนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ และ
วัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุและประชาชนทุกช่วงวัย และเพ่ือยกระดับคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุในชุมชน และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โครงการยกระดับคุณภาพชวี ิตคนทุกช่วงวัยนครชัยบุรินทร์
กจิ กรรมหลักสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุในชุมชนอย่างย่ังยืน มีกิจกรรมย่อย/รายการ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม
ดังน้ี กิจกรรท่ี 1 ประชุมสำรวจความต้องการในการสร้างรายได้ของผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี เด็กและเยาวชน
ผู้ด้อยโอกาสผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท่ีปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม ในพื้นท่ี
กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ กิจกรรมที่ 2 อบรมผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี เด็กและเยาวชนในครอบครัว ผู้ด้อยโอกาส
ฝึกปฏิบัติในการสร้างอาชีพท่ีมีรายได้และเหมาะสมกับตนเอง และกิจกรรมที่ 3 ประชุมติดตามผลการ
ดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงาน และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้เสนอขอรับงบประมาณจาก
ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 จำนวน 2 โครงการ คือ 1) โครงการพลัง
อาสาสมัครสร้างสุข สังคมเข้มแข็ง โดยเน้นไปท่ีสภาเด็กและเยาวชน 2) โครงการสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุใน
ชมุ ชนอย่างยง่ั ยืน

จากท่ีกล่าวมาทั้งหมดในข้างต้น จะเห็นได้ว่าพ้ืนที่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและ
สนับสนุนวิชาการ 4 มีจำนวนผสู้ ูงอายุที่อยู่ในลำดับต้นๆ ของประเทศไทยและเข้าสสู่ ังคมผู้สงู อายุอย่างสมบูรณ์
และจะเห็นได้จากหน่วยงานในระดับพ้ืนที่ได้มีการรดำเนินโครงการหรือขับเคล่ือนงานกิจกรรม/โครงการท่ี
สอดคล้องกับสถานการณ์ผู้สูงอายุอย่างเป็นรปู ธรรม และเพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์ผู้สูงอายใุ นปัจจุบันมาก
ยิ่งขึ้น สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 จึงได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่องการสร้างรายได้ให้กับ
ผู้สูงอายุในชุมชนอย่างย่ังยืน เพ่ือรองรับสังคมผู้สูงอายุในการขับเคล่ือนการพัฒนาสังคมในระดับพ้ืนที่และการ
ขยายผลการดำเนินงานโครงการให้ย่งั ยืนตอ่ ไป

บทท่ี 2

แนวคิดและทฤษฎที เ่ี กย่ี วข้อง

การจดั ทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพนื้ ที่ในคร้ังนี้ ผจู้ ัดทำได้ศึกษาค้นควา้
เอกสาร ตำรา แนวคดิ ทฤษฎี และงานวิจัยท่เี กี่ยวข้อง โดยมีรายละเอยี ดดงั น้ี

1. แนวคดิ เก่ียวกบั ผสู้ ูงอายุและการเปลีย่ นแปลงในวยั ผู้สูงอายุ
2. แนวคิดและทฤษฎีเกย่ี วกบั ความต้องการของมนษุ ย์
3. นโยบายทีเ่ ก่ียวข้องกับผู้สูงอายุ
4. ทฤษฎเี ก่ียวกับการมีส่วนร่วม
5. แนวคดิ พื้นฐานในการขับเคลอ่ื นการพัฒนา
6. แนวคดิ /ทฤษฎีเก่ียวกับผู้สงู อายุ

แนวคิดเก่ียวกับผสู ูงอายุและการเปล่ียนแปลงในวัยสงู อายุ
1. ความหมายของผูสูงอายุ
การมีอายุเพิ่มข้นึ เปนส่ิงทห่ี ลีกเล่ียงไม่ได้ ซ่ึงการเปล่ียนแปลงน้ีไดเร่ิมต้ังแตบุคคลเขาสูวยั ผูใหญและ

มกี ารเปล่ียนแปลงตลอดเวลาทําใหผูสูงอายุมีสภาพแวดลอม จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณท่ีแตกตางไปจากวัย
หนุมสาว ในดานการกาํ หนดชวงแหงการเขาถึงความเปน ผูสูงอายุและการกําหนดความหมายของผูสูงอายุน้ีได
มีผูใหความหมายไวดังน้ี

คําวา “ผูสูงอาย”ุ มาจากศัพทภาษาอังกฤษวา Elderly หรอื Ageing ในประเทศไทย ไดบัญญัตขิ ึ้น
โดย พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร เมื่อป 2506 เนื่องจากท่ีประชุมของผูสูงอายุ เห็นวา ความแก หนุม ชรา
ไมมีอะไรเปนเครื่องวัดและเคร่ืองขีดคั่นกับท้ังไมสมควรใชคําวา ผูชรา เพราะจะทําใหรูสึกหดหู จึงใหใชคําวา
ผูสูงอายุต้ังแตน้ันมาโดยใหหมายถึง ผูที่มีอายุ 60 ปข้ึนไป มีความเสื่อมของรางกายตามสภาพ มีกําลังถดถอย
เชื่องชาหรอื เปนผูทมี่ โี รค สมควรจะไดรับการชวยเหลืออุปการะ (สพุ ตั รา สภุ าพ. 2543 : 48)

องค์การสหประชาชาติ ซ่ึงได้จัดการประชุมสมัชชาโลก เร่ือง ผู้สูงอายุ (World Assembly on
Aging : WAA) เมื่อป 2525 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ไดใหความหมายผูสูงอายุ คือบุคคลทั้งเพศชาย
และเพศหญิง ที่มอี ายุต้ังแต 60 ปขนึ้ ไป (สรกลุ เจนอบรม. 2534 : 11)

พระราชบัญญัติผูสูงอายุพ.ศ. 2546 ไดใหความหมายวา ผูสูงอายุหมายถึง บุคคล ซ่ึงมีอายุเกิน
60 ปขน้ึ ไป และมีสญั ชาตไิ ทย (กระทรวงพัฒนาสงั คมและความมนั่ คงของมนุษย. 2547 : 2)

นอกจากนี้ Hall (1976) และ Birren and Renner (1977) ยังไดแบงความสูงอายุ เปน 3 มติ ิโดย
มติแรกเป็นความสูงอายุมิติทางร่างกายหรือชีวภาพ (Biological aging) เป็นมิติของความสูงอายุที่มีความ
เปลี่ยนแปลงดานรางกาย เนื่องจากประสิทธิภาพการทํางานของอวัยวะตางๆ ในรางกายลดนอย เปนผลจาก
ความเสื่อมตามกระบวนการสูงอายุซ่ึงเปนตามอายุขยั (Life span) ซ่งึ บางครั้งงอาจกลาวไดวา เปนมิติทางเวลา

หน้า |7

ที่เก่ียวของกับการเปล่ียน แปลงไปสูความสูงอายุเปนความสูงอายุตามวัย (Chronological aging) เปนความ
สูงอายุตามปปฏิทิน โดยนับจากปที่เกิดเปนตนไป และบอกไดทันทีวาใครมีอายุมากหรือนอยเพียงใด 10
มิติที่สองเปนความสงู อายุมิตทิ างจิตใจ (Psychological aging) เปนมิติของความสูงอายุท่ีมีการเปลยี่ นแปลงใน
หนาที่ของการรับรูกระบวนการความคิด ความจํา การเรียนรู เชาวนปญญา และลักษณะของบุคลิกภาพท่ี
ปรากฏในระยะตางๆ ของชีวิตและคนท่ีมีอายุมากข้ึน มิติสุดทายเปนความสูงอายุมิติทางสังคม (Social aging)
เป็นมติ ิที่ คำนึงถงึ การเปลี่ยนแปลงบทบาทหนา้ ท่ี สถานภาพของผู้สูงอายุ ในระบบสังคม เชน ครอบครัว ชุมชน
หนว่ ยงานของราชการ สโมสร และอื่นๆ เป็นตน้ (ณัฐพงศ อนุวัตรยรรยง. 2540 : 11–12)

อย่างไรก็ตามคำจํากัดความของคำวา ผู้สูงอายุ หรือวัยชรา ในแต่ละสังคมหรือแต่ละประเทศจะให
ความหมายที่ตางกนั ไป ทั้งนี้ ข้ึนอยูกับอายุโดยเฉลี่ยของการทํางานหรือสภาพ ทางร่างกายของผู้สูงอายุ สภาพ
ทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาถืออายุ 65 ป กลุมประเทศ
สแกนดิเนเวียถืออายุ 67 ปเปนตน ถึงกระนั้นกต็ าม อายุไม่ได้เป็นเครอ่ื งบอกว่าใครเป็นผู้สูงอายุ เพราะว่ามีคน
เป็นจำนวนมาก ถึงแมวา่ จะอายุ 60 ปี หรือ 65 ปี ก็มีสุขภาพแข็แรงทั้งรา่ งกายและจิตใจ ในขณะที่คนอายุนอ้ ย
กว่าบางคนกลบั มสี ภาพร่างกายและจติ ใจเสื่อมโทรมากกวา่ ถงึ แม้อายุจะได้ได้เปน็ เครอื่ งชเี้ พียงอย่างเดียวแต่ว่า
บุคคลใดชราภาพหรือสูงอายุ แต่อายุน้ันสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางหนึ่งท่ีจะทราบได้ว่าบุคคลใดสมควรเป็น
คนชราหรอื เป็นผู้สูงอายุ ดงั นั้น ตามหลักเกณฑม์ าตรฐานสากลขององคก์ ารระหว่างประเทศจงึ ใชอายุเปนเกณฑ
ในการกําหนดการเริ่มตนของการเปนผูสูงอายุสําหรับสังคมไทยดังท่ีไดกล่าวมาแล้วในขางตน ผูสูงอายุจะ
หมายถึง คนท่ีมีอายุต้ังแต 60 ปขึ้นไปตามเกณฑของกฎหมายปลดเกษียณอายุขาราชการและตามกฎหมายอ่ืน
รวมทงั้ จารีตประเพณีบางอยาง จะเห็นไดวามผี ูใหความหมายของผูสูงอายุไวมาก แตโดยความหมายท่ีคอนขาง
ใกลเคียงกัน โดยสรุปแลวผูสูงอายุจะเปนวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงเสื่อมถอย และแบบแผนการ ดำเนินชีวิตที่
เปล่ียนแปลงไป จึงกำหนดให้ ผู้สูงอายุ คือ อื ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขนึ้ ไป ท้งั เพศชายและเพศหญิง เป็นการกำาหนด
ตามพระราชบญญัตผิ ูส้ ูงอายุ พ.ศ. 2546 และเปน็ มาตรฐานสากลขององคการสหประชาชาติ

แนวคิดและทฤษฎเี กี่ยวกบั ความต้องการของมนุษย์
ความตอ้ งการของมนุษย์เป็นเครื่องกระตนุ้ และแรงผลักดนั ให้มนษุ ย์แสดงพฤติกรรม อยา่ งใดอยา่ งหนึ่ง

ออกมาในอันที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จบนพื้นฐานความเชื่อหรือสมมุติฐานว่า มนุษย์มีความต้องการ และ
พฤติกรรมของมนุษย์จากความต้องการทางจิตวิทยาที่ทำการศึกษา เกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ท่ีเป็นที่
ยอมรับโดยทว่ั ไปกค็ ือ

มาสโลว์ (Maslow, 1954 อ้างถึงใน พิทยา บวรวัฒนา, 2550 , หน้า30) หลักของทฤษฎีน้ี มีว่าความ
ตอ้ งการของมนุษย์สามารถจดั เป็นลำดบั ชนั้ ได้ 5 ขัน้ ตามลำดับความสำคัญมากอ่ นมา หลงั ได้ดงั นี้

1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological needs) ได้แก่ อาหาร น้ำด่ืม ความต้องการท่ี
อยู่อาศัย ความต้องการทางเพศ และความต้องการอ่นื ๆ ของรา่ งกาย

หน้า |8

2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) ได้แก่ ความต้องการความมั่นคง และการ
ปอ้ งกันภัยอันตรายจากสิ่งรอบตัวและจากการทำรา้ ยจิตใจ

3. ความต้องการท่ีจะผูกพันในสังคม (Socialneeds) ได้แก่ ความรัก ความรู้สึกเป็นส่วนหน่ึง
ของสงั คม การไดร้ บั การยอมรบั และมติ รภาพ

4. ความต้องการท่ีจะมีฐานะเด่นและได้รับการยกย่องจากสังคม (Esteem needs) ได้แก่
การเคารพนับถือตัวเอง การเป็นตัวของตัวเองและการประสบความสำเร็จ การมีฐานะในวงสงั คม การได้รับการ
ยอมรบั จากคนอืน่ และการไดร้ บั ความสนใจจากคนอ่นื

5. ความต้องการที่จะประจักษ์ตน (Self-actualization needs) ได้แก่ แรงผลักดันท่ีทำให้
คนสามารถเป็นในส่ิงท่ีตนเป็นได้ดีท่ีสุด ซ่ึงรวมถึงการเจริญเติบโต การได้ใช้ศักยภาพของตน อย่างเต็มที่และ
ความสมปรารถนา

Alderfer (1972) แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 3 ประการ ดังน้ี 1. ความต้องการในการอยู่
รอด (Existence needs) เป็นความต้องการของบุคคลในระดับต่ำสุดท่ีต้องการการตอบสนองทางกาย เช่น
ตอ้ งการอาหาร เส้อื ผ้า ทอี่ ยอู่ าศัย ยารักษาโรค เพอื่ ให้ ดำรงชีวิตอยู่ได้ ผู้บริหารจงึ ควรตอบสนองความตอ้ งการ
ของบุคคลด้วยการให้ค่าตอบแทนท่ีเป็น ธรรม เช่น เงินโบนัส สวัสดิการอื่นๆ รวมถึงความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
จากการทำงาน เช่น มีการทำสัญญาว่าจ้างการทำงาน เป็นต้น 2. ความต้องการด้านความสัมพันธ์
(Relatedness needs) เป็นความต้องการของบุคคลท่ีจะมีมิตรไมตรี และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลที่อยู่
แวดล้อม ในการทำงานผู้บริหารควรส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การมีความสัมพันธ์ท่ีดีต่อกัน ตลอดจนสร้าง
ความสัมพันธ์ท่ีดีต่อบุคคลภายนอก ด้วย เช่น การจัดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและ
พนักงาน เพ่ือให้สถานภาพ เป็นท่ียอมรับทางสังคม 3. ความต้องการความเจริญก้าวหน้า (Growth needs)
เป็นความต้องการสูงสุดของบุคคล ได้แก่ ความต้องการได้รับการยกย่อง และต้องการความสำเร็จในชีวิต
ผู้บริหารควรสนับสนุน ให้พนกั งานพัฒนาตนเองให้เจรญิ ก้าวหน้าด้วยการพิจารณาการเล่ือนข้ัน เล่ือนตำแหน่ง
หรือ มอบหมายใหร้ บั ผิดชอบงานในระดับสูงขน้ึ อนั จะเป็นโอกาสในการก้าวหนา้ ไปสู่ความสำเรจ็ ของพนักงาน

จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า ความต้องการของมนุษย์มีความหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับพ้ืนฐานของ
ความต้องการแต่ละบุคคล ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามที่ขวนขวายท่ีจะตอบสนอง ความต้องการของตนเองให้ได้
ซึ่งความต้องการพัฒนาตนเองให้สูงข้ึนดีขึ้นนั้น จะเห็นได้ว่าบุคคลจึงแสวงหาเพ่ือที่จะตอบสนองความต้องการ
ของตนเอง ในลำดับข้ันท่ี 4-5 ของมาสโลว์ คือ ความต้องการท่ีจะมีฐานะเด่นและได้รับการยกย่องจากสังคม
และความต้องการทีจ่ ะประจกั ษ์ตน

นโยบายและทฤษฎีทเ่ี กีย่ วข้องกับผสู้ ูงอายุ

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันนคงของมนุษย์ (2562) ได้
กล่าวถึงการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ภายใต้กรอบสหประชาชาติ : แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริด

ว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ (The Madrid International Plan of Action on Ageing) 1 องค์การสหประชาชาติ

หน้า |9

(United Nations) ได้จัดการประชุมสมัชชาระดับโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ ครั้งท่ี 2 (the 2nd world Assembly
on Ageing) ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ใน พ.ศ. 2545 ผลจากการประชุมคราวนั้นได้ก่อให้เกิด พันธกรณี
ระหว่างประเทศในเร่ืองของผู้สูงอายุที่เรียกว่า แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริด ว่าด้วยเร่ืองผู้สูงอายุ
(The Madrid International Plan of Action on Ageing) ทีไ่ ด้กำหนดเป้าหมายหลักของการพัฒนาผสู้ ูงอายุ
ใน 3 ประเดน็ ต่อไปนี้ คือ

1. ผู้สูงอายกุ ับการพัฒนา (Older persons and development)
2. สูงวยั อย่างสขุ ภาพดี และมีสุขภาวะ (Advancing health and well-being into old age)
3. การสร้างความมั่นใจว่าจะมีสภาพแวดล้อมท่ีเกื้อหนุนและเหมาะสม (Ensuring enabling
and supportive environment) ซ่ึงเปน็ พันธกรณีที่ประเทศภาคีองค์การสหประชาชาติจะต้องร่วมยึดถือเป็น
เป้าหมายการดำเนินงานผู้สูงอายุ และร่วมกำหนดทิศทางกลยุทธ์ของการพัฒนาเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
รว่ มกนั ซง่ึ ประเดน็ ท้าทายในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ประกอบด้วย

1) การสร้างหลักประกันด้านรายได้เพื่อวัยสูงอายุ การเตรียมความพร้อมเพ่ือความม่ันคง
ในวัยสูงอายุ ด้วยการส่งเสริมระบบการออมแห่งชาติให้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายท่ีอยู่ในวัยทำงานและยังไม่มี
หลักประกันด้านรายได้ใด ๆ จากรัฐใหม้ ีบำนาญเพื่อการใช้จ่ายในวัยสูงอายุ

2) การส่งเสริมและขยายโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุ โดยการส่งเสริมให้นำ
ความสามารถและประสบการณ์ของผู้สูงอายุ มาเป็นส่วนหน่ึงของภาคการผลิต ภาคบริการ ภาควิชาการ การ
ให้คำแนะนำปรึกษา ตลอดจนงานอาสาสมัครและการถ่ายทอดภูมิปัญญา อีกท้ังยังเป็นแนวปฏิบัติที่สามารถ
ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานทง้ั ในปจั จบุ นั และในอนาคตของประเทศไทยได้

3) การสร้างและพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว การสร้างและพัฒนาระบบเพ่ือ
จดั บริการรองรับความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยมุ่งเน้นท่ีจะสร้าง และพัฒนากลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่
ทั้งในระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติ ท้ังในเขตเมือง และในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะด้านบุคลากร และ
ผู้ปฏิบัติงานที่เก่ียวข้องเพื่อให้ร่วมกันทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุทั้งบุคลากรวิชาชีพ และอาสาสมัครด้วยการ
ให้บริการ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน โดยเฉพาะบรกิ ารด้านการดูแลและการฟื้นฟูสุขภาพให้กับกลมุ่ ผู้สูงอายุติดเตียง
และมีข้อจำกัดในเร่ืองการเคลื่อนไหว นอกจากน้ียังมีการเร่งขยายการฝึกอบรมบุคลากรเพ่ือพฒั นาความรู้ และ
พฒั นาทักษะเฉพาะดา้ นการดแู ลผ้สู ูงอายุ

4) การจัดให้มีส่ิงอำนวยความสะดวกท่ีเหมาะสมและปลอดภัยในท่ีสาธารณะสำหรับ
ผสู้ ูงอายุ โดยมุง่ สรา้ งความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักแก่สาธารณชน และหน่วยงานทกุ ภาคส่วน ในเรือ่ ง
การจัดสภาพแวดล้อมท่ีเหมาะสมและปลอดภัย เพ่ือคนทุกวัยให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน (Universal
Design : UD)

5) การเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินในการดำเนินงานด้าน
ผู้สูงอายุ เพ่ือให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลด้านคุณภาพชีวิตอย่างครอบคลุมทุกด้าน จึงจำเป็นต้องมีการเสริมสร้าง
ขีดความสามารถของบุคลากรเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยการสนับสนุนทรัพยากร การสนับสนุนความรู้ การ

ห น ้ า | 10

นิเทศงาน หรือ การฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้สูงอายุ และองค์ความรู้ด้าน
ต่างๆ ที่เก่ียวข้องกับผู้สูงอายุ ทั้งน้ี เพื่อให้บุคลากร และผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินให้สามารถ
พฒั นาสมรรถนะในการปฏบิ ัตงิ าน ด้านผู้สูงอายุไดอ้ ย่างมอื อาชีพ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)2 เป้าหมายการพัฒนา
แห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) ได้ส้ินสุดลงใน พ.ศ. 2558 United Nations
จึงได้ริเร่ิมกระบวนการหารือเพื่อกำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 (post-2015 development
agenda) ตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาท่ียง่ั ยืน” โดยประเด็นสำคัญของวาระการพฒั นาภายหลงั พ.ศ. 2558
คอื การจัดทำเป้าหมายการพฒั นาที่ยงั่ ยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งประกอบด้วย 17
เปา้ หมาย ไดแ้ ก่

เป้าหมายที่ 1 : ขจดั ความยากจน
เป้าหมายท่ี 2 : ขจดั ความหิวโหย
เป้าหมายที่ 3 : การมสี ุขภาพและความเป็นอยทู่ ่ีดี
เป้าหมายท่ี 4 : การศึกษาที่เท่าเทียม
เปา้ หมายท่ี 5 : ความเท่าเทยี มทางเพศ
เป้าหมายท่ี 6 : การจดั การนำ้ และสุขาภบิ าล
เป้าหมายที่ 7 : พลังงานสะอาดที่ทกุ คนเข้าถึงได้
เปา้ หมายที่ 8 : การจ้างงานทม่ี ีคณุ คา่ และการเติบโตทางเศรษฐกจิ
เปา้ หมายท่ี 9 : อตุ สาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพนื้ ฐาน
เปา้ หมายท่ี 10 : ลดความเหล่อื มล้ำ
เป้าหมายท่ี 11 : เมอื งและถนิ่ ฐานมนุษยอ์ ย่างยง่ั ยืน
เป้าหมายที่ 12 : แผนการบริโภคและการผลติ ท่ียั่งยืน
เป้าหมายท่ี 13 : การรับมอื การเปล่ียนแปลงสภาพภมู ิอากาศ
เป้าหมายท่ี 14 : การใชป้ ระโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
เปา้ หมายท่ี 15 : การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
เปา้ หมายที่ 16 : สังคมสงบสุข ยตุ ิธรรม ไมแ่ บง่ แยก
เป้าหมายที่ 17 : ความรว่ มมือเพอื่ การพัฒนาที่ยั่งยืน
ตามมาตรา 10 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 และท่ีแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 3) พ.ศ. 2560
ได้บัญญัติไว้ว่า ให้สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน
ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ มีอำนาจหน้าท่ี
ดำเนินการต่างๆ เก่ียวกับการคมุ้ ครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุและรับผิดชอบใน
งานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการ และให้มีอำนาจหนา้ ท่ีดงั ต่อไปน้ี

ห น ้ า | 11

1) จัดทำแนวทางปฏิบัติตามนโยบายและแผนหลักเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการ
สนบั สนุนสถานภาพ บทบาทและกจิ กรรมของผู้สูงอายุเสนอต่อคณะกรรมการ

2) รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิจัย และพัฒนาเก่ียวกับงานคุ้มครองส่งเสริมและสนับสนุนท่ีเก่ียวข้องกับ
ผู้สูงอายุ

3) เปน็ ศนู ย์กลางในการประสานงานเผยแพร่ และประชาสัมพนั ธง์ านหรอื กจิ กรรมเกยี่ วกับผสู้ งู อายุ
4) สร้างระบบการดแู ลผสู้ งู อายใุ นชุมชน
5) ร่วมมือและประสานงานกับราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหาร
ส่วนท้องถ่ิน และรัฐวิสาหกิจตลอดจนองค์กรอื่นในการจัดให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริมและการ
สนบั สนนุ ตามพระราชบัญญัติน้แี ละกฎหมายอนื่ ทเ่ี กย่ี วข้อง
6) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนหลักของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วรายงานต่อ
คณะกรรมการ
7) พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการในการให้มหี รือแก้ไขกฎหมายท่ีเก่ยี วกบั การคุ้มครอง การ
ส่งเสริม และการสนับสนนุ สถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผูส้ งู อายุ
มาตรา 11 ผสู้ ูงอายมุ สี ิทธิไดร้ ับการคมุ้ ครอง การสง่ เสริมและการสนบั สนนุ ในด้านต่างๆ ดังน้ี
1) การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสขุ ทจี่ ัดไวโ้ ดยให้ความสะดวกและรวดเรว็ แกผ่ สู้ ูงอายุเป็น
กรณพี เิ ศษ
2) การศกึ ษา การศาสนา และข้อมลู ขา่ วสารทเ่ี ป็นประโยชนต์ อ่ การดำเนนิ ชีวติ
3) การประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพทเี่ หมาะสม
4) การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือ
ชุมชน
5) การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในอาคาร สถานท่ี ยานพาหนะหรือ
การบริการสาธารณะอื่น
6) การช่วยเหลอื ดา้ นคา่ โคยสารยานพาหนะตามเหมาะสม
7) การยกเวน้ ค่าเข้าชมสถานท่ขี องรฐั
8) การช่วยเหลือผู้สูงอายุซ่ึงได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
ด้วยกฎหมายหรือถูกทอดทิ้ง
9) การใหค้ ำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการอนื่ ที่เก่ยี วขอ้ งในทางคดหี รอื ในทางการแก้ไขปญั หาครอบครัว
10) การจดั ทพ่ี กั อาศยั อาหารและเคร่ืองน่งุ หม่ ใหต้ ามความจำเป็นอยา่ งทั่วถึง
11) การจา่ ยเงินเบ้ียยังชพี เป็นรายเดอื นอย่างท่ัวถึงและเปน็ ธรรม
12) การสงเคราะห์ในการจดั การศพตามประเพณี
13) การอื่นตามทค่ี ณะกรรมการประกาศกำหนด

ห น ้ า | 12

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ไดม้ ีการจดั ทำข้ึนเพอ่ื ให้ประเทศไทยสามารถยกระดบั การ
พัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง ม่ังคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจำเป็นต้องกำหนด
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะยาวจำนวน 6 ยุทธศาสตร์ โดยมียุทธศาสตร์ท่ีเก่ียวข้องกับการขับเคลื่อน
งานด้านผสู้ ูงอายุจำนวน 2 ยุทธศาสตร์ ไดแ้ ก่

1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาที่
สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยในเป็นคนดี เก่งและมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมท้ังกาย
ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะท่ีดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและ
ผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรมและเป็นพลเมืองดีของชำติ มีหลักคิดท่ีถูกต้อง
มีทักษะท่ีจำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสำรภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัย
รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่ำงต่อเน่ืองตลอดชีวิตสู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด
ผู้ประกอบการเกษตรกรยคุ ใหม่ และอน่ื ๆ โดยมีสมั มาชีพตามความถนัดของตนเอง

2) ยุทธศาสตร์ชาตดิ ้านการสร้างโอกำสและความเสมอภาคทางสงั คม มเี ป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญที่
ให้ความสำคัญการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่างๆ ท้ังภาคเอกชน ประชาสังคมชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน
โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทำเพ่ือส่วนรวม การกระจายอำนาจและความ
รับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถ่ิน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการ
จัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากรไทยทั้งในมิติสุขภ าพ เศรษฐกิจ สังคม
และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชาชนที่มีคุณภาพสามารถพ่ึงพาตนเองและทำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน
และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการและสวัสดิการท่ีมีคุณภาพอย่างเป็นธรรม
และทว่ั ถึง

3) แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) หลักการพัฒนาประเทศท่ี
สำคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาท่ีย่ังยืน” และ “คน
เป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ท่ีต่อเน่ืองจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 - 11 และยึดหลักการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจที่ลดความเหล่ือมล้ำและขับเคลื่อนการเจริญเติบโตจากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานการใช้
ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 12 มียุทธศาสตร์ท่ีเกี่ยวข้องกับงานด้านผู้สูงอายุ
จำนวน 2 ยุทธศาสตร์ ดงั นี้

1) การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ แนวทางการพัฒนาสำคัญ ประกอบด้วย (1)
ปรับเปล่ียนค่านยิ มคนไทยให้มคี ุณธรรม จรยิ ธรรม มีวนิ ัย จิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พงึ ประสงค์ (2) พฒั นา
ศักยภาพคนให้มีทักษะ ความรู้ และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า (3) ยกระดับคุณภาพ
การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (4) ลดปัจจัยเส่ียงด้านสุขภาพและให้ทุกภาคส่วนคำนึงถึงผลกระทบต่อ

ห น ้ า | 13

สุขภาพ (5) เพ่ิมประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบสุขภาพ ภาครัฐและปรับระบบการเงินการคลังด้าน
สุขภาพ (6) พัฒนาระบบการดูแลและสรา้ งสภาพแวดล้อมทเี่ หมาะสมกับสังคมสูงวยั (7) ผลักดันใหส้ ถาบันทาง
สงั คมมสี ่วนร่วมพฒั นาประเทศอย่างเข้มแขง็

2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม แนวทางการพัฒนา
สำคัญ ประกอบด้วย (1) การเพ่ิมโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายประชากรร้อยละ 40 ท่ีมีรายได้ต่ำสุดสามารถ
เขา้ ถึงบริการท่ีมีคุณภาพของรัฐและมีอาชีพ (2) การกระจายการให้บริการภาครัฐทั้งดา้ นการศึกษา สาธารณสุข
และสวัสดิการทม่ี คี ุณภาพให้ครอบคลุมและท่วั ถงึ (3) เสรมิ สรา้ งศักยภาพชุมชน การพฒั นาเศรษฐกิจชุมชนและ
การสร้างความเข้มแขง็ การเงินฐานรากตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใหช้ ุมชนสามารถพงึ่ พาตนเองได้
มีสิทธิในการจัดการทุนท่ีดินและทรัพยากรภายในชุมชน 4) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แกไ้ ขเพ่ิมเติม
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 และแก้ไขเพ่ิมเติม ฉบับท่ี 3 พ.ศ. 2560 เหตุผลความจำเป็นในการตรากฎหมายฉบับน้ี
เพ่ือให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนต่อสิทธิและประโยชน์ของผู้สูงอายุ
เป็นไปอยา่ งมีประสิทธิภาพ และให้ผูส้ ูงอายุ มสี ิทธิได้รับความช่วยเหลอื จากรฐั โดยสรุปสำระสำคญั ได้ ดังน้ี

1) นยิ ามผสู้ ูงอายุ หมายถงึ บุคคลซงึ่ มีอายเุ กินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมี
สัญชาตไิ ทย

2) ให้มีคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (มาตรา 4) เป็นกลไกระดับชาติ เพ่ือกำหนด
นโยบาย และแผนหลัก แนวทางปฏิบัติ ตลอดจนประสานงาน ติดตาม และประเมินผลเก่ียวกับการคุ้มครอง
การสง่ เสริม และการสนับสนนุ สถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผสู้ ูงอายุ

3) สทิ ธิผ้สู งู อายุ (มาตรา 11) ผู้สูงอายมุ ีสทิ ธิไดร้ บั การคุ้มครอง การส่งเสริม และการ
สนับสนุน

- การบริการทางการแพทยแ์ ละการสาธารณสุขทจี่ ดั ไว้โดยให้ความสะดวกและ
รวดเร็วแก่ผสู้ งู อายุเปน็ กรณีพิเศษ

- การศึกษา การศาสนา และข้อมลู ข่าวสารทเี่ ป็นประโยชน์ต่อการดำเนนิ ชีวติ

- การประกอบอาชพี หรือฝึกอาชพี ท่เี หมาะสม
- การพฒั นาตนเองและการมีสว่ นรว่ มในกิจกรรมทางสงั คม การรวมกลมุ่ ในลกั ษณะ
เครอื ข่ายและชมุ ชน
- การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายใุ นอาคาร สถานท่ี
ยานพาหนะหรือการบริการสาธารณะอ่ืน
- การชว่ ยเหลือดา้ นค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม
- การยกเวน้ ค่าเขา้ ชมสถานที่ของรัฐ
- การชว่ ยเหลอื ผู้สงู อายซุ ึ่งได้รบั อนั ตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถกู แสวงหา
ประโยชน์โดยมิชอบดว้ ยกฎหมาย หรอื ถูกทอดท้ิง

ห น ้ า | 14

- การให้คำแนะนำ ปรึกษาดำเนินการอื่นทเ่ี กีย่ วข้องในทางคดหี รือในทางแก้ไข
ปญั หาครอบครัว

- การจดั ท่พี ักอาศัย อาหารและเครอื่ งนุ่งหม่ ให้ตามความจำเปน็ อยา่ งทั่วถึง
- การจา่ ยเงินเบย้ี ยังชีพเปน็ รายเดอื นอย่างทัว่ ถงึ และเปน็ ธรรม
- การสงเคราะหใ์ นการจัดการศพตามประเพณี
- การอ่ืนตามท่คี ณะกรรมการประกาศกำหนด
4) นโยบายของรัฐบาลด้านผู้สูงอายุ คณะรัฐมนตรีโดยนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา) ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 ได้กำหนดนโยบาย
การบริหารราชการแผ่นดิน 11 ด้าน โดยนโยบายที่เก่ียวข้องกับผู้สูงอายุ คือ นโยบายด้านท่ี 3 การลดความ
เหล่ือมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ดงั นี้
ข้อท่ี 3 ในระยะต่อไป จะพัฒนาระบบการคุ้มครองทำงสังคม ระบบการออมและ
ระบบสวัสดิการชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รวมท้ังการดูแลให้มีระบบการกู้ยืมท่ีเป็น
ธรรมและการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ตามอัตภาพ พัฒนาศักยภาพ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ จดั สวัสดิการช่วยเหลือ
และพฒั นาคุณภาพชีวติ ของผู้ดอ้ ยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ สตรี และเดก็
ข้อท่ี 4 เตรยี มความพร้อมเข้าสู่สังคมผสู้ งู อายุ เพ่ือส่งเสรมิ คุณภาพชีวิตและการมีงานหรือกิจกรรมทเ่ี หมาะสม
เพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคต โดยจัดเตรียมระบบการดแู ลในบ้าน สถานพักฟ้ืน และ
โรงพยาบาล ที่เปน็ ความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครวั รวมทัง้ พัฒนาระบบการเงนิ การ
คลงั สำหรับการดูแลผู้สงู อายุ
5) นโยบายในการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต มอบให้ 4 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข
บูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 4 กระทรวงได้มีการประชุมปรึกษาหารือเพ่ือวาง
แผนการทำงานให้ครอบคลุมทุกมิติอย่างใกล้ชิด ขณะน้ีมีความคืบหน้า ได้มีคำสงั่ คณะกรรมการอำนวยการการ
พัฒนาสุขภาพคนตลอดช่วงชีวิต แต่งต้ังคณะทำงานขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือ 4 กระทรวงการ
พัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตในชว่ งวัยสูงอายุ กำหนดเป้าหมายเชิงยทุ ธศาสตร์ 3S ประกอบดว้ ย
1) Strong ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รบั ผิดชอบ
2) Security สง่ เสรมิ ความม่นั คงปลอดภยั กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รบั ผดิ ชอบ
3) Social Participation ส่งเสรมิ การมีสว่ นรว่ มในสงั คม กระทรวงการพฒั นาสังคม
และความมน่ั คงของมนุษย์เป็นผู้รบั ผดิ ชอบ
6) นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายจุติ ไกร
ฤกษ์) มีนโยบายเกี่ยวกับการขับเคล่ือนงานด้านผู้สูงอายุ โดยขับเคลื่อนศูนย์สร้างสุขผู้สูงอายุ / ยกระดับการ
ช่วยเหลอื ผ้สู ูงอายุในบริบทใหม่ โครงการศนู ยท์ ่ีพักอาศยั สำหรบั ผ้สู ูงอายุแบบครบวงจร Senior Complex บาง
ละมุง รวมไปถึงการพัฒนาระบบฟื้นฟสู ุขภาพและการท่องเทย่ี วผูส้ งู อายุแบบครบวงจร

ห น ้ า | 15

ทฤษฎีเกี่ยวกับการมีสว่ นร่วม
คาสเปอร์ซันและเบรทแบงค์ (Kasperson & Breitbank, 1974 อ้างถึงใน ทานตะวัน อินทร์จันทร์,

2546, หน้า 19) ให้ความหมายว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ การท่ีประชาชนทำตนเป็นผู้สร้างสรรค์
กิจกรรมในกระบวนการพัฒนาซึ่งจะบังเกิดผล คือ สามารถแสดงบทบาทท่ีสร้างสรรค์ได้และผลของกิจกรรม
จะตอ้ งย้อนกลบั มาสพู่ วกเขาเอง

United Nations Research Institute of Social Development (UNRISD) ระบุความหมายว่าเป็น
กิจกรรมท่ีเกี่ยวข้องกับประชาชนในเรื่อง 1) การตัดสินใจ 2) การเข้าร่วมกิจกรรม 3) การร่วมรับผลประโยชน์
อย่างเปน็ ธรรมทเี่ กดิ จำกกจิ กรรมนั้น ๆ

สหประชาชาติ (United Nations, 1981) ให้ความหมายการมีสว่ นรว่ ม (Participation) ไว้ว่า
1) การมีส่วนร่วมได้รับผลประโยชนจ์ ำกการพฒั นา
2) การเข้ามีสว่ นร่วมให้เกิดการพัฒนา
3) การเข้ามสี ว่ นร่วมในกระบวนการตัดสนิ ใจในเรอ่ื งพัฒนา

ทฤษฎีการกระทำทางสังคม (The Theory of Social Action) ของ เยาวมาลย์ จ้อยจุฬี (2542, หน้า
15 -16) ได้อธิบายถงึ การกระทำของมนุษย์ (Action of Human) ในลักษณะท่ี สามารถนำไปปรบั ใช้ทางสังคม
ทั่วไป กล่าวคือ การกระทำใดๆ ของมนุษย์จะขึ้นอยู่กับความสนใจ และระบบค่านิยมของบุคคล ประกอบด้วย
1) บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล (Personality) 2) ระบบสังคมท่ีบุคคลนั้นเป็นสมาชิกอยู่ (Social System) 3)
วัฒนธรรม (Culture) ในสังคมที่บุคคลนั้นเป็นสมาชิกอยู่และวัฒนธรรมนี้จะเป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับความคิด
ความเช่ือถือ (Idea of Believes) ความสนใจ (Primary of Interest) และ ระบบค่านิยมของบุคคล (Ystem
of Value Orientation)

จำนง อดิวฒั นสิทธิ์ (2532, หน้า 60 - 63) ได้ศึกษาเรื่องการกระทำของมนุษย์ (Human Action) โดย
ให้กำหนดการกระทำว่าเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งท่ีเป็นแบบเปิดและลึกลับ ซึ่งบุคคลผู้กำหนดให้มี
ความหมายเป็นส่วนตัวความเข้าใจในระบบความหมายเกิดขึ้นได้ 2 ประการ กล่าวคือ 1) ความหมายส่วนตัว
จากการกระทำของบุคคลหนึ่งสามารถเข้าใจได้จากการสังเกต โดยตรง 2) มีการเข้าใจสิ่งเร้า เราสามารถแสดง
ความรู้สึกออกมาด้วยตัวเราเองในการให้เหตุผลซ่ึงเป็นวัตถุประสงค์ของผู้นำหรือถ้าการกระทำของบุคคลไม่มี
เหตุผลแล้วอาจจะเข้าในส่วนประกอบแห่งอารมณ์ที่มีการกระทำเกิดข้ึน โดยอาศัยการเข้าไปมีส่วนร่วมที่มี
ความเห็นอกเห็นใจตอ่ มนษุ ย์ ผู้สงั เกตไม่จำเป็นตอ้ งเห็นด้วยกับแนวทฤษฎหี รือจุดมุ่งหมายขั้นสูงสุดหรือค่านิยม
ของผู้นำ แต่โดยสติปัญญาแล้วเราอาจเข้าใจสถานการณ์และพฤติกรรมที่เก่ียวข้อง อีกนัยหน่ึงการกระทำ
บางอย่าง เกิดข้ึนจากแรงกระตุ้นสามารถถือได้ว่าการอธิบายที่แท้จริงของการกระทำเพราะแรงกระตุ้นจะมีอยู่
ในสว่ นลกึ ของจิตใจผู้กระทำและสำหรับผู้สงั เกตนัน้ แรงกระตุน้ เป็นพื้นฐานทเี่ หมาะสำหรับการศึกษาพฤติกรรม
และเวเบอร์ได้กล่าวว่า การกระทำทางสังคม 3 ข้ัน คือ 1) การกระทำท่ีมีเหตุผลเป็นการกระทำท่ีใช้วิธีการอัน

ห น ้ า | 16

เหมาะสมในอันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ท่ีเลือกไว้อย่างมีเหตุผล การกระทำดังกล่าวมุ่งไปในด้านการเมือง
เศรษฐกิจและสังคม 2) การกระทำท่ีเก่ียวกับค่านิยม เป็นการกระทำเช่นน้ีมุ่งไปในด้านจริยธรรมและศีลธรรม
อย่างอื่น เพ่ือดำรงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบในชีวิตทางสังคม 3) การกระทำตามประเพณี เป็นการกระทำที่ไม่
เปลี่ยนแปลง โดยยึดแบบอย่างท่ีทำกันมาในอดีตเป็นหลัก พฤติกรรมการกระทำตามประเพณีที่ไม่คำนึงถึง
เหตุผล ลกั ษณะและรูปแบบของการมีส่วนรว่ ม

แอนดรวู ์ และสตีเฟล (Andrew & Stiefel, 1980 อ้างถึงใน ทำนตะวนั อินทรจ์ ันทร์,2546, น. 19)
ได้กลา่ วถึงลักษณะของการมีส่วนร่วมไว้ 4 ประการ คือ

1) การมีสว่ นร่วมในการตดั สินใจ
2) การมีสว่ นร่วมในขนั้ ปฏบิ ัติการ
3) การมีสว่ นรว่ มในการรับผลประโยชน์
4) การมสี ่วนรว่ มในการประเมนิ ผล

แนวคดิ พนื้ ฐานในการขบั เคลื่อนการพัฒนา
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพ้ืนฐานของทางสายกลาง โดยคำนึงถึง

ความพอประมาณความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกัน ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม เพ่ือให้
พรอ้ มรบั ต่อการเปล่ยี นแปลงทำงเศรษฐกิจ สงั คม ส่ิงแวดล้อม และกระแสโลกในยุคโลกาภวิ ตั น์

การพัฒนาเชิงพ้ืนท่ี (Area base Approach) คือ การสร้างกระบวนการ เรียนรู้และสร้างความเข้าใจ
ในสาเหตขุ องปญั หาและหาแนวทางแก้ไขปญั หาแบบบรู ณาการร่วมกนั กับ ทกุ ภาคสว่ น เน้นการพัฒนาท่ีมาจาก
ความตอ้ งการของชุมชน ยึดหลกั “ระเบดิ จากข้างใน”

- การ “ทำตามลำดับข้ัน” คือการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานทางธรรมชาติ โดย จัดสรร
ผลประโยชน์ใหท้ ว่ั ถึงเป็นธรรมโดยเร่ิมจากความพอเพยี ง ดงั นี้

- ระดับครัวเรือน ให้ชาวบ้านมีอาหารกินตลอดปี ลดรายจ่าย สร้าง รายได้ภาคเกษตรและ
นอกภาคเกษตร

- ระดับชุมชนรวมกลุ่มและแบ่งปันการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โครงสร้างพ้ืนฐานการผลิตระดับ
ชุมชน

- ระดับพ้ืนท่ีและภูมิภาค ศูนย์กลางวิสาหกิจชุมชนแผนการผลิตการ แปรรูปและการตลาด
ระบบการขนสง่ เพอื่ สนบั สนุนระบบการผลิตระดับครัวเรือนและชุมชน (Supply Chain)

- ระดับประเทศ กำหนดเป็นนโยบาย ระเบยี บกฎหมาย การกำกับ ดแู ล การสนบั สนนุ
งบประมาณ โครงสร้างพน้ื ฐานให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละภูมิภาค

ห น ้ า | 17

- บูรณาการสนับสนุนจากหนว่ ยงานราชการและภาคส่วนอ่ืนๆ การรว่ มคิด ร่วมวางแผน ร่วม
ลงมือปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนมาร่วมแก้ไขปัญหา ปรับเปล่ียน เรียนรู้ร่วมกันเพ่ือพัฒนา
รูปแบบและกลไกการทำงำนทเี่ ออื้ ต่อการแก้ไขปัญหา

- การจัดการความรู้และพัฒนาคน มีหมวดหมู่การจัดเก็บฐานข้อมูล และ ความรู้ โดยการ
รวบรวม วิเคราะห์สังเคราะห์ เปรียบเทียบและกลั่นกรองความรู้จากการพัฒนาพ้ืนท่ี จัดทำเป็นระบบ
สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (DSSI) และคลังความรู้ ใช้แนวทางหรือเทคนิคการ ทำงานในรูปแบบใหม่ท่ีมี
ประสิทธภิ าพสูงขนึ้
แนวคดิ /ทฤษฎีเกย่ี วกับผู้สูงอายุ

แนวคิด Active Ageing ขององค์การอนามัยโลก อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการเป็นผู้สูงอายุที่
มพี ลัง ประกอบด้วย 3 ประการ ไดแ้ ก่

1) มีสขุ ภาพทด่ี ี (Healthy)
2) มคี วามม่นั คงหรือการมีหลกั ประกันในชีวิต (Security)
3) มสี ่วนรว่ ม (Participation)
กรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลก (WHO’s Active Ageing framework) Active Ageing เป็น
กระบวนการทส่ี ร้างโอกาสให้ผู้สูงอายเุ ข้าถึงระบบสาธารณสุข การมีสว่ นรว่ มและได้รับความปลอดภัย เพื่อให้มี
คณุ ภาพชีวติ ท่ีดีในการวางนโยบาย บริหารจัดการการให้บริการ การจัดสภาพแวดล้อมและโครงสร้างเมืองของ
เมอื งทเี่ ปน็ มติ รต่อผูส้ งู อายนุ ้ันตอ้ งคำนงึ ถึง
- ความหลากหลายของความสามารถและการเปน็ แหล่งทรัพยากรของผู้สงู อายุ
- ความยืดหยุน่ ในการตอบสนองและคาดการณ์ความตอ้ งการและความชอบของผสู้ ูงอายุ
- ความสำคญั ของการตดั สินใจและวถิ ีชีวิตของผู้สงู อายุ
- การคมุ้ ครองป้องกันกลมุ่ เสี่ยงในผู้สงู อายุ
- การสรา้ งโอกาสใหผ้ สู้ งู อายุไดม้ ีส่วนรว่ มในเรื่องต่างๆ ในสังคม
โดยผู้สูงอายุท่ีอาศัยอยู่ตามลำพัง ควรได้รับการส่งเสริมให้เป็นผู้ท่ีมีพฤฒิพลัง (Active Ageing) เร่ิม
จากผู้สูงอายุต้องส่งเสริมให้เกิดการดูแลตนเองให้เหมาะสมกับโรคหรือความเจ็บป่วยที่มี ตลอดจนกระตุ้นให้
ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองอย่างต่อเน่ืองตามศักยภาพ และมีกลุ่มในสังคมโดยอาศัยเทคโนโลยีมาเช่ือมต่อ
สังคมให้กับผ้สู ูงอายุเหล่านี้
ทฤษฎีเกี่ยวกับการทำงาน คุณค่าของอาชีพและการมีงานทำในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ศศิพัฒน์
ยอดเพชร (2558) ได้กล่าวว่า อาชีพและการมีงานทำในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุก่อให้เกิดคุณค่า (value)
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ ลักษณะแรก คุณค่าทางเศรษฐกิจ (Economic value) และลักษณะท่ีสอง
คุณคา่ ทางสังคม (Social value) โดยมรี ายละเอยี ด ดังต่อไปนี้
1) คุณค่าทางเศรษฐกิจ หมายถึง คุณค่าท่ีมีส่วนสนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตจากมิติ
การมฐี านะทางเศรษฐกจิ ใหด้ ขี ้ึน สามารถแบ่งไดเ้ ป็น 2 ลกั ษณะ ดงั น้ี

ห น ้ า | 18

ลกั ษณะท่ี 1 การเพ่ิมรายได้
การได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินตรา อาทิ เงินเดือนค่าจ้างทีส่ ามารถสร้างส่วนเกิน
(surplus) ให้กับผู้ประกอบอาชีพ เพื่อไว้ใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือบริการท่ีมีความจำเป็น หรือความ
ต้องการ ประกอบกับอาจมีส่วนเกินเหลือเพ่ือออมไว้เป็นเงินสำรอง หรือการลงทุนในอนาคต ตัวอย่างเช่น
การทำงานในการผลิตผลผลิตทางเกษตรแล้วจำหน่ายได้เงินมาเป็นสื่อกลางการแลกเปล่ียน หรือการได้รับ
ค่าจา้ งรายวนั หรือรายเดือนจากการรบั จ้างทำการเกษตร เปน็ ตน้
ลักษณะที่ 2 การลดรายจา่ ย
การได้รับผลตอบแทนอื่นๆ ท่ีไม่ใช่รูปแบบของเงินตรา อาทิ การได้รับผลผลิตบางส่วน
หรือท้ังหมดจำกการประกอบอาชีพ เพื่อใช้อุปโภค หรือบริโภคในครัวเรือนแทนการต้องใช้เงินเป็นสื่อกลาง
การแลกเปล่ียน ตัวอย่างเช่น การทำงานในการผลิตผลผลิตทางการเกษตรเพ่ือนำมาบริโภคในครัวเรือน
หรือเพ่อื นำไปแลกเปล่ียนสินค้ากบั เพอื่ นบ้านหรือในชุมชน เป็นต้น
คุณค่าทางเศรษฐกิจท่ีเกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุท้ังการเพิ่มรายได้หรือการ
ลดรายจ่ายนสี้ ง่ ผลดีตอ่ ภาวะทางเศรษฐกิจของวัยผู้ใหญ่ท่ีมกี ารทำงานอย่างต่อเน่ืองในวัยสูงอายุและการทำงาน
ในผสู้ งู อายุ ดงั น้ี
1.1) คุณค่าทางเศรษฐกิจต่อการแลกเปล่ียนสินค้าเพ่ือการบริโภคที่จำเป็นเพ่ือเสริมสร้าง
คุณภาพชีวิตท่ีดีข้ึน เป็นคุณค่าที่ส่งผลดีโดยตรงต่อการบริโภคสินค้าท่ีจำเป็น อาทิ อาหาร ยารักษาโรคของ
ผ้สู งู อายใุ นระดบั ปจั เจกบุคคล

1.2) คุณค่าทางเศรษฐกิจต่อครัวเรือนผู้สูงอายุ เป็นคุณค่าท่ีเกิดข้ึนและมีความสำคัญต่อ
การ ลดภาระสมาชกิ วยั แรงงานในครอบครัว จากการพึ่งพาตนเองของผู้สงู อายอุ ยา่ งยาวนานท่ีสดุ เท่าที่จะทำได้

2) คุณค่าทางสังคม เป็นคณุ คา่ ท่ีมีส่วนสนับสนุนการยกระดบั คุณภาพชีวิตจากมิติการมีฐานะทาง
สังคมใหด้ ีขึน้ ประกอบด้วย

2.1) คุณค่าในตัวผู้สูงอายุ เป็นการก่อให้เกิดภาพลักษณ์และทัศนคติท่ีดีต่อการทำงานของ
ผู้สูงอายุ การสร้างการยอมรับในทัศนคติและค่านิยมที่ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ การเรียนรู้ตลอดชีวิต
การพึ่งพาตนเองให้นานท่ีสุดเท่าท่ีจะนานได้ การตอกย้ำภาพลักษณ์การมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุ
ผ่านคุณค่าจากการทำงาน ซึ่งเม่ือเกิดการส่งเสริมอย่างต่อเน่ืองจะมีผลทำให้ผู้สูงอายุได้รับการยอมรับจนเกิด
การส่งเสริมการทำงานและไมถ่ ูกกีดกนั การจา้ งงานเนือ่ งจากอายมุ ากข้ึน

2.2) การสืบทอดภูมิปัญญา ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรบุคคลท่ีสำคัญด้านการส่ังสมความรู้ใน
ลักษณะภูมิปัญญา กล่าวคือ ผู้สูงอายุมีความรู้มิใช่แต่เพียงในระบบการศึกษา หรือความรู้ทางวิชาชีพเท่านั้น
แต่เป็นความรู้ระดับภูมิปัญญาท่ีผ่านการบูรณาการความรู้ท่ีหลากหลายเข้ากับทักษะการดำเนินชีวิตจาก
ประสบการณ์ชีวติ ท่ีผ่านมา ทำให้ภูมิปญั ญาจากผู้สงู อายุมีคุณคา่ แตกต่างจากองคค์ วามรูท้ ่ัวไป ซึง่ ท้ายที่สดุ แล้ว

ห น ้ า | 19

ภูมิปัญญาที่ผ่านการสะสมแล้วการถ่ายทอดจะกลายเป็น “ทุนทางวัฒนธรรม” ได้ในท่ีสุด ถ้าหากนำทุน
วฒั นธรรมเหล่านี้มาใชป้ ระโยชน์ต่อเนอ่ื ง จะก่อใหเ้ กิดคุณค่าทั้งท่ีวัดไดแ้ ละวดั ไม่ได้ทางเศรษฐกิจ

2.3) การลดช่องว่างการขาดแรงงานวิชาชีพบางสาขา การขาดแคลนแรงงานในบางสาขา
วิชาชพี ต้องยอมรับวา่ อาจสง่ ผลกระทบต่อสมาชิกในสงั คมหลากหลายด้าน อาทิ สุขภาพ ความมน่ั คง ด้านตา่ ง ๆ
กล่าวโดยสรุปคือ ทฤษฎีเก่ียวกับการทำงาน เป็นการสะท้อนถึงประโยชน์ที่ผู้สูงอายุจะได้รับจากการทำงานใน
กรณีที่ยังมีความพร้อมด้านสุขภาพ ท้ังในด้านของการเพ่ิมรายได้ เพ่ือเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลตนเอง การลด
รายจ่ายเพือ่ บริโภคสินค้าทีจ่ ำเป็นและมีคุณภาพ การแบ่งเบาภาระทางเศรษฐกิจของครอบครัวรวมถึงการสร้าง
คุณค่าและความสามารถในการพ่ึงพาตนเอง โดยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต สืบสานภูมิปัญญา และประสบการณ์
เพื่อประโยชน์ต่อสังคมในการคงไว้ซึ่งจำนวนแรงงานที่มีคุณภาพ ข้อมูลในส่วนน้ีมีการนำไปใช้ใน
กระบวนการพัฒนาเครอ่ื งมอื ในการจดั เก็บข้อมูล

ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพในผู้สูงอายุ ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (2558) ได้กล่าวถึง ทฤษฎีการพัฒนา
อาชีพ เป็นกลุ่มทฤษฎีที่มีรากฐานการพัฒนาความคิดมาจากศาสตร์ทางสังคมวิทยา โดยเฉพาะด้านจิตวิทยา
ซึ่งได้พจิ ารณาองคป์ ระกอบความแตกตา่ งของบุคคลไว้ 4 ประการ

1) ความแตกตา่ งทางจติ วิทยา คอื ลกั ษณะความสนใจทแ่ี ต่ละบคุ คลมีความแตกตา่ งกัน จึงทำ
ใหม้ คี วามสนใจในการประกอบอำชีพแตกต่างกนั

2) ความแตกต่างทางบุคลิกภาพ คือ ลักษณะการแสดงออกทางพฤติกรรมและความคิดของ
แต่ละบคุ คลท่ีแตกต่างกนั จงึ ทำใหม้ คี วามสนใจในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกนั

3) ความแตกต่างทางสังคมวิทยา คือ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงความสนใจท่ีมีอยู่เสมอใน
มนษุ ย์ จงึ ทำใหม้ ีความสนใจในอาชีพ หรอื การเปลีย่ นแปลงอาชพี ในช่วงเวลาต่างๆ

4) ความแตกต่างทางการพัฒนาการด้านจิตวิทยา คือ ลักษณะการให้ความสำคัญกับเหตุผล
การดำรงชีวิตท่ีแตกต่างกัน จึงทำให้มีความสนใจในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน จากองค์ความรู้ทางด้าน
จติ วทิ ยาข้างต้นน้ี ได้มกี ลุ่มนกั ทฤษฎีดา้ นอาชพี นำองค์ความรนู้ ้มี าอธิบายพฤติกรรมอาชีพ จนกลายเปน็ ทฤษฎที ี่
ได้รับความนิยมในการศึกษาและอธิบายอาชีพในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในแต่ละทฤษฎีอาจไม่ได้ใช้
องค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นมาอธิบายครบทั้ง 4 ประกอบการศึกษาทฤษฎีการพัฒนาอาชีพในปัจจุบันน้ีมีการ
กล่าวถึงกลุ่มทฤษฎีที่นิยมใช้ในการพัฒนาอาชีพ การให้คำปรึกษาอาชีพ การแนะแนวอาชีพ ตลอดจนการวิจัย
ทางด้านอาชีพ สำหรับการเลือกนำทฤษฎีการพัฒนาอาชีพมาประยุกต์ใช้กับวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยมุ่ง
วตั ถุประสงค์เพอ่ื ให้วัยผู้ใหญ่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มท่ีนัน้ ทฤษฎีท่ีสามารถ
นำมาประยกุ ต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมมดี ังน้ี (อ้างถึงใน ศศพิ ฒั น์ ยอดเพชร (2558))

1) ทฤษฎีการพัฒนาอาชีพจากอัตมโนทัศน์แห่งตน (Self Concept Theory of Career
development) เป็นการพัฒนาอาชีพในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ว่าอาชีพของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เริ่มต้นต้ังแต่
ในอดีตแล้วผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ โดยเริ่มจากครอบครัวและสังคม การเรียนรู้ในระบบการศึกษาและ
การเรียนรูจ้ ากประสบการณ์ ลองผิดลองถูก สำรวจความชอบในอาชีพดว้ ยตนเอง หลังจากน้ัน เม่ือก้าวเขา้ สู่วัย

ห น ้ า | 20

หนุ่มสาวท่ีต้องประกอบอาชีพอย่างจริงจังก็จะค้นหาตนเอง เพื่อทำงานท่ีเหมาะสมตลอดจนมุ่งเน้นการทำงาน
อย่างมีประสิทธิผลได้อย่างสูงสุดของแต่ละบุคคล เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งช่วงอายุนี้เป็นการประกอบอาชีพใน
อาชีพท่ีตนถนัด หรือได้ทำมาอย่างต่อเนื่องในอดีต เพื่อเป็นการรักษาตำแหน่งในพื้นที่ของตน จนกระท่ังถึง
ข้ันท้ายสุด คือ ขั้นใกล้เกษียณการทำงาน เป็นช่วงเวลาท่ีบุคคลหนึ่งได้มีบทบาทอื่นๆ ท่ีไม่เก่ียวข้องกับการ
ทำงานเขา้ มาแทนท่ี ส่งผลให้หน้าทท่ี ป่ี ฏิบัตินนั้ เป็นหน้าทท่ี ไี่ ด้รับจากบทบาทใหมท่ ไี่ มใ่ ช่การทำงานอกี ต่อไป

2) ทฤษฏีการพัฒนาอาชีพยุคหลังสมัยใหม่ (Post - Modern Approach to Career development)
เป็นการต่อยอดทางความคิดต่อจากทฤษฎีการพัฒนาอาชีพจากอัตมโนทัศน์แห่งตน โดยได้มีการวิพากษ์ถึง
ทฤษฎีดงั กล่าวว่า การแบ่งขั้นต่างๆ โดยยึดติดกับชว่ งอายุและพฤติกรรมทางการงานท่ีเกี่ยวขอ้ งกันแบบตายตัว
น้ี เป็นการคาดการณบ์ นพน้ื ฐานว่าปัจจัยทกุ อย่างคงที่ กล่าวคอื บุคคลแต่ละบุคคลมีการทำงานที่เดมิ และอาชีพ
แบบเดิม (Stead and Watson, 1999 อ้างถึงใน NQF and career advice ser-vice) ซึ่งไม่ตรงกับสภาพ
ความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงได้เกิดการวิพากษ์ว่า บุคคลมีการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเน่ืองการพัฒนาอาชีพของ
บคุ คลในศตวรรษท่ี 21 ไม่ได้เกีย่ วข้องแต่ละเฉพาะบุคคลแตล่ ะช่วงชีวติ ในแตล่ ะข้ันเพียงเท่านัน้ แตย่ ังเกี่ยวข้อง
กับการเปล่ยี นแปลงทเี่ กิดจากการเรยี นรู้และประสบการณ์ของบคุ คลทเ่ี ปล่ยี นแปลงไปอกี ด้วย

3) การเพ่ิมทักษะในอาชีพและการมีงานทำสำหรับวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คือ การเพิ่มทักษะ
ในอาชีพและการมีงานทำสำหรับแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกันการเพ่ิมทักษะที่ต้องส่งเสริมให้ผู้ใหญ่และ
ผู้สูงอายุมีเพิ่มข้ึน นอกจากมีลักษณะเฉพาะตามช่วงวัยแล้ว ยังปรากฏลักษณะเฉพาะท่ีมีอิทธิพลมาจากบริบท
เศรษฐกิจ สังคม การเมืองของไทยด้วย การเสนอแนวทางการเพ่ิมทักษะนี้ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการ
ประกอบอาชีพเพ่ิมมากขึ้น ซ่ึงเป็นข้อเสนอที่เกิดจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์จากประสบการณ์ ผลการ
ศึกษาวิจัยในสังคมไทยท้ังระดับบุคคล หรือกลุ่มผู้สูงอายุท่ีต้องพบอุปสรรคการประกอบอาชีพจากการขาด
ทักษะต่างๆ จึงมีข้อเสนอต่อการพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มโอกาสและส่งเสริมศักยภาพการประกอบอาชีพใน
วัยผ้ใู หญแ่ ละผสู้ งู อายุ ดงั ตอ่ ไปน้ี

- ทักษะทางสงั คม (social skill) ดา้ นการสร้างสัมพนั ธภาพท่ีดใี นการรวมกล่มุ
- ทกั ษะการจดั การความรู้ (knowledge management skill)
- ทกั ษะการระดมทรัพยากร (resource mobilization skill)
- ทักษะดา้ นคอมพวิ เตอร์ (computer skill)
- ทกั ษะดา้ นการตลาด (marketing skill)
4) แนวทางการส่งเสริมการอาชีพและการมีงานทำในผู้สูงอายุ ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (2558)
ได้กล่าวว่า การส่งเสริมการอาชีพและการมีงานทำในผู้สูงอายุ หากพิจารณาแล้วทุกแนวทางจะต้องผ่านการ
สง่ เสริมอาชีพใน 2 รปู แบบหลัก คอื รูปแบบแรก การเขา้ สูอ่ าชีพใหม่ หมายถึง การเรมิ่ ต้นการประกอบอาชีพที่
ยังไม่เคยมีประสบการณ์ตรงในอาชีพน้ันมาก่อนหรือการเร่ิมต้นอาชีพใหม่ รูปแบบท่ีสอง การพัฒนาอาชีพเดิม
หมายถงึ การต่อยอดประสบการณ์การประกอบอาชพี จากประสบการณต์ รงทเ่ี คยมีจากการทำงานในอดตี

บทท่ี 3
ขั้นตอนและเคร่อื งมอื ในการจดั ทาข้อเสนอเชงิ นโยบายด้านสังคมในระดับพืน้ ที่

สร้างการมสี ว่ นรว่ ม เพอื่ พฒั นาสังคมระดบั พนื้ ท่ีและแนวทางการขยายผล

จากวัตถุประสงค์ในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคม
ระดับพื้นท่ีและแนวทางการขยายผล ในบทน้ีจะกล่าวถึงข้ันตอนและเครื่องมือในการดำเนินการโดยใน
กระบวนการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสร้างการมีส่วนร่วมเพ่ือพัฒนาสังคมระดับพื้นท่ีและ
แนวทางการขยายผลประกอบด้วยการดำเนนิ การ 2 ส่วนหลกั ๆ คือ

3.1 ขน้ั ตอนและเครื่องมือในการปฏิบัติงานภาคสนามและสรปุ บทเรยี น
3.2 ขัน้ ตอนและเครื่องมือในการจัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางการขยายผล มีรายละเอียดดังนี้
3.1 ขัน้ ตอนและเครอ่ื งมือในการปฏิบตั งิ านและสรุปบทเรียน

จดั ประชุมร่วมกับ พมจ. 6 จังหวดั
เพ่ือรับฟังขอ้ เสนอการดำเนนิ งาน

สรปุ รายงานขอ้ เสนอการดำเนินงานท่ไี ดจ้ าก
การประชุม สง่ ไปยงั พมจ. 6 จังหวดั แลว้ สง่

ข้อเสนอเพ่มิ เตมิ กลับมายงั สสว.4

นำขอ้ คิดเห็นเพมิ่ เตมิ สรปุ เพ่ือจดั ทำ
ขอ้ เสนอเชิงนโยบาย

คนื ข้อมลู ขอ้ เสนอเชิงนโยบาย เพื่อขอขอ้ คดิ เห็น
เพ่ิมเตมิ จาก พมจ.

ปรบั แกไ้ ขและจดั ทำรายงาน รวมไปถงึ การนำ
ขอ้ มูลไปใชป้ ระโยชน์

การสรา้ งรายไดใ้ ห้กบั ผ้สู ูงอายุในชมุ ชน
อยา่ งยั่งยืน

ห น ้ า | 22

3.2 ช้นั ตอนและเครอ่ื งมือในการจดั ทำขอ้ เสนอและแนวทางการขยายผล

วางแนวทางการสรุปบทเรียน
และข้อเสนอแนะ

ศกึ ษา วเิ คราะห์ขอ้ มลู ทเี่ กยี่ วข้อง

ค้นควา้ ข้อมูลเพิ่มเติม

สรุปบทเรยี น

สังเคราะห์ข้อมลู รวบรวมขอ้ เสนอและ
แนวทางการขยายผล

ข้อเสนอเชงิ นโยบาย
และแนวทางขยายผล

บทท่ี 4

สรปุ บทเรียนการสรา้ งรายได้ใหก้ บั ผ้สู งู อายุในชุมชนอย่างยั่งยนื

1. หลกั การและเหตุผล
ผู้สูงอายุ เป็นประชากรที่มีจำนวนเพ่ิมมากข้ึนทุกปีอันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางการ

แพทย์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ การดูแลสุขภาพท้ังทางกาย จิตใจ รวมถึงการบริโภค อาหารอย่างถูกต้องและ
ครบถ้วนตามวัยผู้สูงอายุ เม่ือผู้สูงอายุมีจำนวนมากข้ึน ความต้องการในการได้รับการดูแลจากรัฐ
ภาคเอกชน และบุคคล รอบข้างย่อมมีมากข้ึนเป็นเงาตามตัว สิ่งหน่ึงที่ผู้สูงอายุจะได้รับคือ การจัด
สวัสดิการสังคมสำหรบั ผูส้ ูงอายุ ทั้งท่ีจัดโดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในชุมชน ซ่ึงสวัสดกิ าร
สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย มีที่มาและรูปแบบใดบ้าง ซ่ึงปัจจุบันประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่าง
ถาวร จากนโยบายประชากรและการวางแผน ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จในอดีต รวมถึงความ
เจริญกา้ วหน้าในการพฒั นาประเทศท้ังด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้คนไทยมีสขุ ภาพทีด่ ี มอี ายยุ นื ยาว
ขึ้น มีการศึกษา ทักษะ และความรู้ดีข้ึน ผลสำเร็จดังกล่าวมีผลทำให้ภาวะเจริญพันธุ์และอัตราประชากร
วัยเด็กและวัยแรงงานมีแนวโนม้ ลดลง ขณะที่ประชากรที่มอี ายุ 60 ปีขน้ึ ไปมีแนวโน้มเพม่ิ ข้ึนเรอื่ ยๆ จนถึง
ปี 2573 คนไทยเกือบ 1 ใน 4 จะเป็นประชากร ผู้สูงอายุจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศ ท่ีสำคัญ คือ กำลังแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานมีแนวโน้มลดลงจนอาจจะ
นำมาซึง่ ปญั หาการขาดแคลนแรงงานและกระทบต่อขดี ความสามารถในการแข่งขนั ของประเทศในอนาคต

ขณะเดียวกันภาระการพึ่งพิงของประชากรวัยแรงงานในการดูแลเด็กและผู้สูงอายุจะเพ่ิมสูงข้ึน
ผู้สูงอายุมีความต้องการส่ิงอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตท่ีเหมาะสมกับช่วงวัยและสุขภาพมากขึ้น
ท้งั ในด้านท่ีอยู่อาศัย การบริการดา้ นสุขภาพและการ ดูแล การประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ตลอดจนการ
ออมเพื่อคุณภาพชีวิตในช่วงชราภาพ ฯลฯ ขณะเดียวกันแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเร้ือรัง ภาวะ
ทุพพลภาพ โรคที่มีสาเหตุมาจากการเส่ือมสภาพของอวัยวะและโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจะมีสัดส่วน
สูงข้ึน ซ่ึงจะมีส่วนทำให้งบประมาณด้านการรักษาพยาบาลเพ่ิมข้ึนตามไปด้วย จากข้อมูลดังกล่าวจึงเป็น
เหตุผลหนึ่งที่ผู้สูงอายุมีความต้องการและมีความจำเป็นในการได้รับสวัสดิการสังคมจากรัฐหรือจากภาค
ส่วนอนื่ ๆ เพ่ือต้องการใหต้ นเองมคี ุณภาพชวี ติ ที่ดีขนึ้ และอย่ใู นสงั คมได้อย่างมคี วามสุขและมีศักดศิ์ รี

ถึงแม้ว่าประเทศไทย จะมีการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในหลายรูปแบบ แต่ใน
ขณะเดียวกันก็ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุไทย ดังนี้ (นารีรัตน์
จิตรมนตรี และสาวิตรี ทยานศิลป์, 2552) 1) ขาดการบูรณาการและขาดความต่อเน่ือง งานสวัสดิการ
ผู้สูงอายุ มีการดำเนินงานแยกส่วนไม่มีลักษณะบูรณาการ และมีอุปสรรคอำนาจในการสั่งการ กลไกการ
ขับเคล่ือนขาดความต่อเนื่องท้ังในระดับนโยบายและการปฏิบัติ จึงเป็นผลให้ไม่บรรลุเป้าหมาย 2) ขาด
การนำนโยบายสกู่ ารปฏิบตั ิอยา่ งแท้จรงิ 3) ขาดแคลนทัง้ งบประมาณและบุคลากร 4) สวสั ดกิ ารสังคมทร่ี ัฐ

ห น ้ า | 24

จัดให้กับผู้สูงอายุ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้สูงอายุไม่สามารถตอบสนองปัญหาได้อย่างแท้จริง
ไม่ครอบคลุมผู้สูงอายุท้ังหมดและยังไม่สามารถกระจายได้ท่ัวถึง 5) แนวคิดในการบริการเชิงสงเคราะห์
ระดับรายบุคคล ไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้สูงอายุให้สามารถพ่ึงพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และ
การจดั ให้ผู้สูงอายุอยู่แยกจากครอบครัวทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชวี ิตไม่ดีและมีความรสู้ ึกว้าเว่ 6) ผู้สูงอายุ
ขาดการรับรู้และความเข้าใจในสิทธขิ องผสู้ ูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 7) การจัดบริการ
ที่ภาคประชาชนไม่มีส่วนร่วมทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือ ประเด็นสำคัญ คือ บุตรหลานหรือคนใน
ครอบครัวขาดความตระหนักถึงความสำคัญของผ้สู ูงอายุ เพราะคดิ ว่าผู้สูงอายเุ ปน็ ภาระของครอบครวั หรือ
สังคม จึงให้ความสนใจและความเข้าใจต่อผู้สูงอายุน้อย ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความต้องการสวัสดิการสังคม
จากภาครัฐ ภาคเอกชน หรอื ภาคประชาชนเพอื่ เติมเตม็ ความต้องการของผู้สงู อายุเองมากข้ึน

นอกจากนี้ นักวิชาการยังได้เสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมสำหรับ
ผู้สูงอายุ ไว้ดังนี้ (บุหลัน ทองกลีบ, 2550) 1) ภาครัฐจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการให้บริการ
สวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุจากเชิงรับมาเป็นเชิงรุก และเปลี่ยนจากการแก้ปัญหาท่ีปลายเหตุมาเป็นการ
แก้ปัญหาท่ีต้นเหตุบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงอย่างแท้จริง 2) รัฐจะต้องสนับสนุนให้มีการดำเนินการโดย
ชมุ ชนเพื่อชุมชน โดยท่ีรัฐทำหน้าท่ีเป็นพ่ีเลี้ยง รัฐบาลจะต้องวางแนวนโยบายกว้างๆ เชน่ การสรา้ งอาชีพ
และรายได้ การออม เป็นต้น 3) สนับสนุนให้มีการจ้างงานผู้สูงอายุตามความรู้ความสามารถ โดยให้มี
มาตรการลดภาษี สำหรับองค์กรเอกชนท่ีจ้างผู้สูงอายุ 4) สนับสนุนงบประมาณสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
จ้างผู้สูงอายุ โดยให้มีความยดื หยุ่นทงั้ คา่ จ้าง วธิ ีการจา้ ง เปิดโอกาสท้งั วิชาชีพและต่ำกว่าวชิ าชพี

จังหวัดในเขตรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 ประกอบด้วย จังหวัด
นครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร ซึ่งอยู่ใน
ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอยา่ งสมบูรณ์ โดยมีจำนวนผู้สูงอายุ 18% ซึ่งในปจั จบุ ันจะ
เห็นได้ว่าหน่วยงานในระดับพื้นท่ี ได้รับงบประมาณในการดำเนินโครงการหรือขับเคลื่อนงานกิจกรรม/
โครงการ ท่ีสอดคล้องกับสถานการณ์ผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม แต่ทั้งน้ีอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ของประชาชน จึงทำให้ต้องเสนอโครงการเพ่ือขอรับงบประมาณจากหน่วยงานกระทรวงอ่ืนๆ ท่ีเป็นภาคี
เครือข่ายการทำงานร่วมกันเพ่ือนำงบประมาณมาดำเนินโครงการในพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการและ
สามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนในพื้นท่ีอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ผู้สูงอายุใน
ปัจจุบันมากยงิ่ ขึ้น เพื่อคณุ ภาพชีวิตที่ดขี ึ้นของประชาชนในชุมชน สามารถพ่งึ ตนเองไดอ้ ยา่ งย่ังยืน

2. วัตถปุ ระสงค์
1. เพ่ือจดั ทำขอ้ เสนอเชิงนโยบายใหส้ อดคล้องกับสถานการณผ์ ู้สูงอายใุ นปจั จบุ ัน
2. เพอื่ เปน็ การนำเสนอโครงการท่ีขอรบั งบประมาณมาแก้ปัญหาในพ้นื ท่ี

ห น ้ า | 25

3. หนว่ ยงานทเ่ี กย่ี วข้อง
หน่วยงานสังกดั กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมนั่ คงของมนุษย์ องคก์ ารบริหำรสว่ นตำบล/

เทศบาล และหนว่ ยงานภาคีเครือข่ายทเ่ี ก่ยี วข้อง

4. การดำเนินการ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 ได้ดำเนินการจัดประชุมช้ีแจงเกี่ยวกับการจัดทำ

ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพ้ืนท่ีและสถานการณ์ผู้สูงอายุระดับกลุ่มจังหวัด เพ่ือให้หน่วยงาน
พม. ในพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.4 ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพ้ืนที่
รวมถงึ การดำเนนิ งานของกลมุ่ เป้าหมายที่รบั ผิดชอบ เพอื่ ใหไ้ ด้ข้อเสนอแนะในการปรบั ปรุงการปฏิบัติงาน
ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง ตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น
รวมถึงการมีคุณภาพชีวติ ท่ีดี สามารถพง่ึ พาตนเองได้ โดยดำเนินการจดั ประชมุ เม่ือวันที่ 26 มนี าคม 2564
เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 ผ่านระบบ Video
Conference
5. สรปุ ผลการดาเนนิ การ

หน่วยงาน พม. ในพ้นื ทีร่ ับผิดชอบเห็นดว้ ยกบั ข้อเสนอเชิงนโยบาย

บทที่ 5
ขอ้ เสนอเชิงนโยบายในการสรา้ งการมสี ่วนร่วมเพ่ือพัฒนาสงั คมระดับพื้นท่ี

การสร้างรายได้ใหก้ ับผสู้ ูงอายใุ นชุมชนอยา่ งยง่ั ยนื

5.1 ข้อเสนอเชงิ นโยบายได้ดงั น้ี
1) ขอ้ เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพกลมุ่ เป้าหมายผู้สูงอายุ สรุปได้ 2 ประเดน็ ดงั น้ี
1.1) การพัฒนาผู้สงู อายุ ในการเตรยี มความพรอ้ มเพื่อเข้าสู่วยั ผู้สงู อายุ
1.2) การเตรียมความพร้อมวยั แรงงาน เพ่อื เขา้ สู่วยั ผูส้ งู อายุ
2) ข้อเสนอของสำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์แตล่ ะจังหวดั
2.1) ควรสง่ เสรมิ ใหม้ ีการออมก่อนถงึ วยั ผู้สูงอายุ เพ่ือไมใ่ หเ้ ปน็ ภาระลูกหลานในอนาคต
2.2) ควรมีการพัฒนาการขับเคลื่อนงานของชมรมผู้สูงอายุ เน่ืองจากเป็นภาคีเครือข่ายในการ

ขับเคล่อื นงานในการดำเนนิ งานในเร่ืองผสู้ งู อายุ
2.3) ควรมีการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้ครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านสุขภาพ มิติด้าน

เศรษฐกิจ มติ ดิ า้ นสังคม
2.4) การดำเนินงานในการจ่ายเงินค่าจัดการศพของผู้สูงอายุ ควรมีงบประมาณเพียงพอในการ

เบิกจ่าย เนือ่ งจากปจั จบุ ันมีคนตกค้างในการรับเงินเปน็ จำนวนมาก
2.5) การดำเนินงานเกี่ยวกับเป้าหมายกลุ่มผู้สูงอายุ ควรมีการจัดต้ังคณะอนุกรรมการในการ

ดำเนินงานด้านผูส้ ูงอายุ เพอื่ เป็นกลไกในการดำเนินงานระดับจงั หวัด
2.6) ควรมีการจัดทำข้อมูลท่ีเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย เน่ืองจากต้องพัฒนาศักยภาพทุก

กลุ่มเป้าหมาย ท้ังนี้สถานการณ์ปัจจุบันเด็กจะอาศัยอยู่กับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการดำเนินงาน
ช่วยเหลอื ควรต้องมองในเร่อื งงบประมาณในการดำเนนิ งานหรือมเี งื่อนไขในการดำเนนิ งานทชี่ ัดเจน

2.7) ควรมกี ารจดั อบรมหลกั สูตรการวางแผนทางด้านการเงนิ ก่อนถงึ วัยผ้สู งู อายุ
2.8) ควรมีการจัดอบรมในการเขียนโครงการเพื่อขอรับงบประมาณมาดำเนินงานโครงการเพ่ือ
พฒั นาศักยภาพใหก้ ับผู้สงู อายุ
2.9 ควรมีการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เน่ืองจากเป็นกลไกในการ
ทำงานของกระทรวง พม.
ท้ังน้ี ผลสรปุ ท่ีได้จากการประชมุ เพ่ือการจัดทำขอ้ เสนอเชงิ นโยบายในระดับพื้นที่ จึงเปน็ การสรา้ ง
อาชีพและรายได้ให้กับผู้สูงอายุในชุมชน โดยการเขียนโครงการเพ่ือขอรับงบประมาณมาดำเนินโครงการ
ในพ้ืนที่ เพ่ือช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นท่ี และสามารถพ่ึงพาตนเองได้
ไมเ่ ป็นภาระกับลูกหลาน และสามารถสร้างรายได้ใหก้ บั ตนเองและครอบครวั ได้อยา่ งยั่งยืน

ห น ้ า | 27

5.2 แนวทางการขยายผล
การเสนอหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคล่ือนระดับพ้ืนที่ในการเสนอขอรับ

งบประมาณมาดำเนินงานจัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุในพ้ืนท่ีให้สอดคล้องกับ
บริบทของพื้นที่ เพ่ือตอบสนองความต้องการ สามารถแก้ไขปัญหาปัญหาในพื้นท่ี และนำไปสู่การพัฒนา
คณุ ภาพชวี ติ ที่ดขี ึ้นอยา่ งยัง่ ยนื ของประชาชนตอ่ ไป

รายการอ้างองิ

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย.์ (2562). มาตรการขับเคล่ือนวาระ
แห่งชาติ เรื่อง สังคมผสู้ ูงอายุ (ฉบบั ปรบั ปรุง) พ.ศ. 2562. สืบคน้ เม่อื 1 มถิ นุ ายน 2564,
จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1551432930-155_0.pdf

กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์. (2548). รายงานการศึกษาเร่ือง ทิศทางและรปู แบบการจดั
สวสั ดิการสงั คมของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เทพเพญ็ วานิสย์.

ณัฐพงศ อนวุ ัตรยรรยง. (2540). การเปรยี บเทียบการสนับสนุนทางสงั คมที่เกยี่ วของกับสขุ ภาพของผูสูงอายชุ าว
ไทยพุทธและชาวไทยมุสลมิ ในภาคใตตอนบน. วทิ ยานิพนธสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสงั คมศาสตร
การแพทยและสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลยั มหิดล. อางจาก Hall, D. A. (1976). The
Aging of Connective Tissue. New York : Acdemia Press.

_______. (2540). การเปรียบเทียบการสนบั สนนุ ทางสงั คมท่ีเกย่ี วของกับสขุ ภาพของผูสูงอายุชาวไทยพุทธและ
ชาวไทยมุสลิมในภาคใตตอนบน. วิทยานิพนธ สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสงั คมศาสตรการแพทยและ
สาธารณสขุ บณั ฑติ วิทยาลัย มหาวิทยาลยั มหิดล. อางจาก Birren, Jame E. and Jayne V. Renner.
(1977). Handbook of Psychological of Aging. New York : Van Nostran reinhold Company.

นารรี ัตน์ จติ รมนตรี และ สาวติ รี ทยานศลิ ป์. (2552). การทบทวนองค์ความร้แู ละแนวทางการจดั ระบบ
สวสั ดิการผู้สูงอายุในประเทศไทย. สำนักงานกองทนุ สนับสนนุ การสร้างเสริมสขุ ภาพ (สสส.): ม.ป.พ.

บหุ ลนั ทองกลบี . (2550). บทบาทภาครฐั ในการจัดสวสั ดิการแกผ่ สู้ งู อายุในเขตกรุงเทพมหานคร. ดษุ ฎีนพิ นธ์
หลกั สตู รปรญิ ญาปรชั ญาดุษฎี บณั ฑติ (รฐั ประศาสนศาสตร์). มหาวทิ ยาลยั รามคำแหง.

พระราชบญั ญัตผิ ู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และทแี่ ก้ไขเพม่ิ เตมิ (ฉบับท่ี 3) พ.ศ. 2560 . (2560). พระราชบญั ญตั ิ
ผสู้ ูงอายุ พ.ศ.2546. สืบค้นเม่ือ 1 มถิ นุ ายน 2564,
https://www.dop.go.th/download/laws/regulation_th_20152509163042_1.pdf

พทิ ยา บวรวัฒนา. (2550). ความหมายของการบริหารจัดการ. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์แก่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศพิ ัฒน์ ยอดเพชร. (2558). “หนว่ ยท่ี 12 สทิ ธิและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ” ในเอกสารการสอนชดุ วชิ า

พัฒนาการวยั ผูใ้ หญ่และผู้สูงอายุ หน่วยที่ 8-15. สาขาวชิ ามนษุ ยนิเวศศาสตร์
มหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: สำนกั พมิ พ์มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช.
สพุ ัตรา สุภาพ. (2543). สังคมและวฒั นธรรมไทย : คานยิ ม ครอบครวั ศาสนา ประเพณี. พิมพครงั้ ท่ี 11.
กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานชิ .
สุรกลุ เจนอบรม. (2534). วิทยาการผูสงู อาย.ุ กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตรจุฬาลงกรณ มหาวทิ ยาลัย.

ทีป่ รกึ ษา ผอู้ ำนวยการสำนกั งานส่งเสริมและสนับสนุนวชิ าการ 4
หัวหน้ากลุ่มนโยบายและยทุ ธศาสตร์
นางรชธร พลู สิทธ์ิ
นางอังศณุ ิชฐา ศริ พิ ลู วฒั นา

ผจู้ ัดทำ

นางสจุ ติ รา ดดี พมิ าย นักพฒั นาสังคมปฏิบัติการ กลุ่มนโยบายและยทุ ธศาสตร์

สำนกั งานสง่ เสรมิ และสนบั สนุนวิชาการ 4 จงั หวดั นครราชสีมา

ที่อยู่ 211 หมู่ 1 ถนนพิมาย – หนิ ดาด ตำบลนิคมสรา้ งตนเอง อำเภอพิมาย
จังหวดั นครราชสีมา 30110
โทรศัพท์ 0 4496 5501 โทรสาร 0 4496 5500
e-mail : [email protected]

Website : tpso-4.m-society.go.th


Click to View FlipBook Version