๑
แบบการนำเสนอผลงานรปู แบบ/แนวปฏิบตั ทิ ีเ่ ปน็ เลิศ (Best Practices)
ดา้ นการจดั ประสบการณเ์ รยี นรูเ้ ด็กปฐมวยั ( ครูผสู้ อน )
ช่ือผลงาน : การจัดประสบการณเ์ รยี นรู้แบบโครงการ ( PROJECT APPROACH ) เพ่ือสง่ เสริมทกั ษะ
พ้ืนฐานทางวทิ ยาศาสตร์ ของเดก็ ปฐมวัยชัน้ อนบุ าลปีท่ี ๓
ชื่อผเู้ สนอผลงาน : นางน้ำผงึ้ พันตาวงษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครชู ำนาญการพเิ ศษ
โรงเรียนสาธติ เทศบาลเมืองราชบรุ ี
สงั กัดเทศบาลเมืองราชบุรี ตำบล หน้าเมือง อำเภอ เมือง
จงั หวดั ราชบรุ ี รหัสไปรษณีย์ ๗๐๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๙๓-๙๖๖๔๒๘๙
E-mail : numphungzz1977@gmail.com เวบ็ ไซตโ์ รงเรยี น WWW.t3rb.ac.th
๑. ความสำคัญของผลงานรปู แบบ / นวัตกรรม
ปฐมวยั เป็นวัยเริ่มต้นของชวี ิตและพัฒนาการในทุกดา้ น เปน็ ช่วงวัยท่พี ัฒนาการทางด้านต่างๆ เป็นไปอย่าง
รวดเร็วท่ีสุดและเป็นฐานรากที่สำคัญสำหรับพัฒนาการในช่วงวัยต่อๆ ไปเด็กในวัยนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลท่ีมี
ความสำคัญอย่างยงิ่ ของประเทศ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการดแู ลอยา่ งเหมาะสมตามชว่ งวยั จะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญท่ ่ี
ดมี คี ุณภาพและจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาตติ อ่ ไปในอนาคต (กระทรวงศึกษาธกิ าร, ๒๕๖๒:๑) การคดิ อยา่ งมี
เหตุผลและการแกป้ ัญหา เป็นทักษะพ้ืนฐานท่ีสำคัญอยา่ งหนึ่งท่ีจะช่วยเดก็ ปฐมวัยเติบโตอยา่ งมีคณุ ภาพ สอดคล้อง
กับมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ ระบุใน มาตรฐานด้านที่ ๓ ข คุณภาพของเด็กปฐมวัย
ตวั บ่งชี้ที่ ๓.๕.๓ ข เดก็ สามารถคิดอยา่ งมเี หตุผล แก้ปัญหาได้สมวัย ซ่ึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นหน่ึง
ในกระบวนการทจ่ี ะช่วยพฒั นาเด็กให้บรรลตุ ามวัตถุประสงคข์ องมาตรฐานดงั กล่าว
ดว้ ยเหตุผลและความสำคัญดงั กล่าวจงึ ไดน้ ำการจดั ประสบการณ์แบบโครงการมาใช้เป็นแนวทางในการจัด
กจิ กรรมให้กับเดก็ โดยมีวตั ถปุ ระสงค์ เพ่อื สง่ เสริมทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรใ์ หก้ ับเด็ก เพอ่ื ให้เดก็ เกิดการ
เห็นคณุ ค่าในตัวเอง เหน็ คณุ ค่าผ้อู ่ืน มีความเชอื่ มัน่ ในตนเอง และมีจิตใจดี ทง้ั นี้เพราะการสอนแบบโครงการเน้นให้
ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกต การแสดงออกด้วยการมีส่วนร่วมในการคิดหาคำตอบ ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการ
แลกเปล่ียนความคิดเห็น การแสดงตนเป็นแบบอย่างที่ดี การยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม การปฏิบั ติตาม
ข้อตกลง การปฏิบัติตามผู้แนะนำแสดงให้เห็นถึงส่ิงท่ีตนเองเรียนรู้เพ่ิมข้ึน ผู้ศึกษาสนใจการส่งเสริมทักษะ
กระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ ๓ ทกั ษะ คือทกั ษะการสงั เกต ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการพยากรณ์
๒. จดุ ประสงค์และเปา้ หมายของการดำเนินงาน
๒.๑ จุดประสงคข์ องการดำเนิน
- เพ่ือเปรียบเทียบทักษะพ้ืนฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยช้ันปีท่ี ๓ ก่อนและหลังได้รับการจัด
ประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach)
๒
๒.๒ เป้าหมายของการดำเนนิ งาน
- เด็กปฐมวัยช้ันปีท่ี๓ ที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการ (Project approach) มีทักษะ
พ้ืนฐานทางวทิ ยาศาสตรส์ ูงขน้ึ และเหมาะสมกับวยั
๓. กระบวนการผลติ ผลงาน/นวัตกรรม หรือข้นั ตอนการดำเนนิ งาน การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอยา่ ง
ประชากร ประชาการที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง ๕-๖ ปี โรงเรียน
เทศบาล ๓ (เทศบาลสงเคราะห)์ ภาคเรยี นท่ี ๒ ปีการศกึ ษา ๒๕๖๓ จำนวน ๓ ห้องเรยี น รวมท้ังสิน้ ๕๐ คน
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคร้ังน้ี เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ท่ีมีอายุระหว่าง ๕-๖ ปี โรงเรียน
เทศบาล ๓ (เทศบาลสงเคราะห์) ภาคเรยี นที่ ๒ ปีการศกึ ษา ๒๕๖๓ จำนวน ๑ ห้องเรยี น รวม ๑๗ คน ซ่ึงได้มาโดย
วธิ เี ลือกแบบเจาะจง
๓.๑ การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
๓.๑.๑ ศึกษาวเิ คราะห์หลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
แห่งชาติ การสอนแบบโครงการ (project approach)
๓.๑.๒ ดำเนินการสร้างรูปแบบเน้ือหาและวิธีการสอนแบบโครงการ (Project approach) เพื่อส่งเสริม
ทักษะทางวทิ ยาศาสตร์พืน้ ฐานของเดก็ ปฐมวยั ช้ันปีท่ี ๓ เรอ่ื งข้าวโพด...นา่ รู้
๓.๑.๓ การสร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ (Project approach) เพื่อส่งเสริม
ทักษะวิทยาศาสตร์พ้ืนฐานของเด็กปฐมวัยช้ันปีที่ ๓ จำนวน ๑๙ แผน ประกอบด้วย (๑) สาระสำคัญ (๒)
จุดประสงค์การเรียนรู้ (๓) สาระการเรียนรู้ (๔) ขั้นดำเนินกิจกรรม (๕) สื่อการเรียนการสอน (๖) การวัดผลและ
ประเมินผล (๗) บันทึกหลังการจัดประสบการณ์
๓.๑.๔ สรา้ งแบบสงั เกตพฤตกิ รรมการเรียนรู้จากการเข้าร่วมการจดั ประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
(Project approach) ของเด็กปฐมวัยช้ันปีที่ ๓ โดยแบ่งการประเมินออกเป็น ๓ ทักษะ ในแต่ละกิจกรรม ได้แก่
๑) ทกั ษะการสงั เกต ๒) ทักษะการจำแนกประเภท ๓) ทักษะการพยากรณ์
๓.๑.๕ แบบทดสอบเชิงปฏิบัติการทกั ษะพ้นื ฐานทางวิทยาศาสตร์ ในการเรียนรู้เด็กปฐมวยั ชั้นอนบุ าลปี
ที่ ๓ ท้ัง ๓ ทักษะ ได้แก่ (๑) ทักษะการสังเกต (๒) ทักษะการจำแนกประเภท (๓) ทักษะการพยากรณ์ ดำเนิน
การศึกษา ในขั้นตอนการศึกษา ผู้ศึกษานำเครื่องมือท่ีสร้างขึ้นไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยระดับช้ันปีที่
๓/๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โดยมขี นั้ ตอนการศึกษาดังนี้
๓.๑.๕.๑ ดำเนินการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) กับเด็กปฐมวัยช้ันปีท่ี ๓/๓ ด้วยแบบทดสอบ
ทักษะพน้ื ฐานทางวทิ ยาศาสตร์ จำนวน ๓ ทักษะ ได้แก่ ทกั ษะการสังเกต ทกั ษะการจำแนกประเภท และทักษะการ
พยากรณ์
๓.๑.๕.๒ สอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ (Project approach) ของ
เด็กปฐมวัยช้ันปีท่ี ๓ กับกลุ่มทดลอง เรื่อง ข้าวโพด...น่ารู้ จำนวน ๑๙ แผน ใช้เวลา ๔ สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๕ วัน
วันละ ๓๐ นาที
๓
๓.๑.๕.๓ ดำเนินการทดสอบหลังเรียน(Post-test) กับเด็กปฐมวัยช้ันปีท่ี ๓/๓ ด้วยแบบทดสอบ
ทกั ษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน ๓ ทักษะ ไดแ้ ก่ ทกั ษะการสงั เกต ทักษะการจำแนกประเภท และทกั ษะการ
พยากรณ์
๓.๑.๖ จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบโครงการ ๓ ระยะ เพ่ือพฒั นาทกั ษะพ้ืนฐานทางวทิ ยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยช้ันปีที่ ๓ ดังตารางที่ ๑
ตารางที่ ๑ ขอบเขตการดำเนินการจัดประสบการณ์แบบโครงการ(Project approach) เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐาน
ทางวทิ ยาศาสตร์ ของเดก็ ปฐมวยั ชั้นปที ่ี ๓ เรื่อง ข้าวโพด... นา่ รู้
วันเดอื นปี/ระยะ หวั ข้อ/การจดั ประสบการณ์แบบโครงการ ทกั ษะพ้ืนฐาน
ทางวิทยาศาสตร์
ระยะที่ ๑ ระยะเริ่มต้นโครงการ
สงั เกตความสนใจ/สร้าง - ครใู หเ้ ด็กรอ้ งเพลง - การสังเกต
สถานการณ์ - เด็กร่วมกันแสดงความคดิ เกี่ยวกับเรอ่ื งทีเ่ ดก็ ๆ - การจำแนกประเภท
(๑๓ ม.ค. ๒๕๖๓) อยากเรยี นรตู้ อ่ ไป ด้วยคำถาม “เด็กชอบอะไร - การพยากรณ์
มากทส่ี ดุ เพราะอะไร ลกั ษณะเป็นอย่างไร”
การนำเสนอสงิ่ ทีเ่ ดก็ อยากรู้ - สำรวจบริเวณรอบ ๆ โรงเรียนนำเสนอเก่ียวกบั - การสงั เกต
(๑๔ ม.ค. ๒๕๖๓) เรือ่ งท่สี นใจอยากเรียนรู้ - การจำแนกประเภท
- เดก็ เลือกเร่อื งทตี่ นเองสนใจและอยากเรยี นรู้ - การพยากรณ์
- เดก็ และครูร่วมกนั ลงความเห็นต้ังช่ือเร่อื ง
โครงการ โดยตัง้ ชอ่ื หัวเรอ่ื งวา่ “ข้าวโพด...น่ารู้”
เด็กนำเสนอประสบการณ์เดมิ - เดก็ นำเสนอประสบการณ์เดมิ เก่ียวกบั - การสังเกต
(อภปิ ราย) หวั เรือ่ งทเี่ ด็กอยากเรยี นรู้ คอื เร่อื ง “ขา้ วโพด... - การจำแนกประเภท
(๑๕ ม.ค. ๒๕๖๓) นา่ รู้ - การพยากรณ์
- เดก็ เล่าประสบการณเ์ ดมิ ในหอ้ งเรยี น
- เด็กนำเสนอประสบการณ์ - เด็กและครูสนทนาเกยี่ วกับสิ่งท่ีเด็กสนใจตอ้ งการ - การสังเกต
ใหม/่ สิง่ ทเี่ ด็กอยากทำ เรียนรแู้ ตล่ ะกลมุ่ นำเสนอเพ่อื นำไปสูก่ ารกำหนด - การจำแนกประเภท
- การจดั แสดง หวั เรื่อง “ขา้ วโพด...น่ารู้ บนั ทึกบนกระดาษ - การพยากรณ์
(๑๖ ม.ค. ๒๕๖๓) - จดั บรรยากาศในหอ้ งเรยี น
- อภิปรายกลุ่ม - เดก็ และครรู ่วมกันสรุปประเดน็ ในรูปแบบของ - การสังเกต
- การแจง้ ขา่ วสารถงึ Web Project Approach “ขา้ วโพด...น่าร”ู้ - การจำแนกประเภท
ผปู้ กครอง - เด็กนำจดหมายไปแจ้งผปู้ กครองเก่ียวกบั เรื่องท่ี - การพยากรณ์
(๑๗ ม.ค. ๒๕๖๓) กำลงั เรยี นรู้
๔
ตารางที่ ๑ (ต่อ)
วันเดอื นป/ี ระยะ หวั ขอ้ /การจดั ประสบการณ์แบบโครงการ ทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์
ระยะที่ ๒ ระยะพัฒนาโครงการ
รว่ มกันคดิ และหาความรู้ - เด็กออกไปสัมภาษณ์ครู บคุ ลากร ในโรงเรียน - การสงั เกต
ความเขา้ ใจใหม่ เกย่ี วกับ “ข้าวโพด คอื อะไร ข้าวโพดมสี อี ะไร - การจำแนกประเภท
- การจดั แสดง ปลูกท่ีไหน มีรสชาตอิ ยา่ งไร ขา้ วโพดมกี ี่ชนิดเปน็ ต้น - การพยากรณ์
(๒๐ ม.ค. ๒๕๖๓) - รวบรวมประเดน็ นำเสนอหน้าชน้ั เรียน สรปุ ข้อมูล
- นำขอ้ มลู ทเี่ ดก็ ได้จากการสมั ภาษณ์มาจัดแสดงใน
ห้องเรียน
การอภิปรายกล่มุ - เด็กสืบค้นขอ้ มูลจาก ผ้ปู กครอง จากคลิป วดิ ิโอ - การสังเกต
การนำเสนอ การทำงาน หนังสือจากห้องสมดุ - การจำแนกประเภท
ภาคสนาม การสืบค้น - วาดภาพนำเสนอข้อมลู ทส่ี ืบคน้ ครูบนั ทึกสิง่ ท่ีเดก็ ได้ - การพยากรณ์
(๒๑ ม.ค. ๒๕๖๓) ในการไปสำรวจ สืบค้นข้อมลู
- การสบื คน้ - ทอ่ งคำคล้องจอง ข้าวโพด - การสงั เกต
- การนำเสนอประสบการณ์ - ครสู นทนาชนิดของขา้ วโพด ทม่ี า ถนิ่ กำเนดิ ชนิดของ - การจำแนกประเภท
ใหม่ ขา้ วโพด ลกั ษณะฝกั ขา้ วโพด ตน้ ขา้ วโพด - การพยากรณ์
- การอภปิ ราย - ใหเ้ ด็กดู สงั เกต เปรยี บเทียบวา่ เหมอื นหรือตา่ งกนั
(๒๒ ม.ค. ๒๕๖๓) อยา่ งไรการคาดคะเนสงู - ต่ำโดยใชป้ ระสาทสมั ผัสทงั้
๕ โดยใชก้ ารวัดอย่างง่าย สรปุ ข้อมลู หนา้ ชัน้
- การนำเสนอประสบการณ์ - เดก็ สบื คน้ หาขอ้ มูลเกี่ยวกับข้าวโพดโดยไปทัศน - การสงั เกต
เดมิ ศึกษาบรเิ วณหนา้ โรงเรียนทร่ี ้านขายขา้ วโพด - การจำแนกประเภท
- ประสบการณ์ใหม่ - เดก็ ไดร้ ับประสบการณ์ตรงเก่ียวกบั การต้มขา้ วโพด - การพยากรณ์
- การทำงานภาคสนาม วา่ ควรใส่อะไร แบบไหน เมล็ดข้าวโพดถงึ ไม่เหย่ี ว
- การสืบค้น น่าทาน
(๒๓ ม.ค. ๒๕๖๓) - เด็กนำข้อมูลที่ได้นำเสนอหนา้ ชัน้ เรยี น
- การนำเสนอ - เดก็ สบื ค้นข้อมูลว่าฝักขา้ วโพดดบิ กบั ฝักข้าวโพด - การสงั เกต
- การทำงานภาคสนาม แหง้ จม หรือ ลอย - การจำแนกประเภท
- การสบื คน้ - สังเกตลักษณะ จำแนกความเหมือน ความตา่ ง - การพยากรณ์
(๒๔ ม.ค. ๒๕๖๓) การคาดคะเนเกี่ยวกบั การทดลอง จม-ลอย
- เดก็ ได้ลงมอื ปฏิบตั ิจริง
๕
ตารางท่ี ๑ (ต่อ) หัวขอ้ /การจดั ประสบการณแ์ บบโครงการ ทกั ษะพืน้ ฐาน
วันเดอื นปี/ระยะ ทางวิทยาศาสตร์
- การอภิปรายกลุ่ม - เดก็ ดวู ิธกี ารปลูกขา้ วโพดจาก (Youtube) จากผู้รู้ - การสงั เกต
- การนำเสนอ
- การทำงาน หนังสือท่ีครแู ละเดก็ ไปสืบคน้ ข้อมลู มา - การจำแนกประเภท
ภาคสนาม - เดก็ นำเสนอขอ้ มลู ที่ไดจ้ ากการสืบค้นนำเสนอ - การพยากรณ์
(๒๗ ม.ค. ๒๕๖๓)
หน้าชน้ั เรยี นร่วมกับเพอ่ื นเกีย่ วกบั การปลูก
- การอภปิ รายกล่มุ
- การนำเสนอ ขา้ วโพด
- การทำงานภาคสนาม
- เตรียมเมล็ดข้าวโพดและลงมอื ปฏิบัติจรงิ ในการ
(๒๘ ม.ค. ๒๕๖๓)
ปลูกข้าวโพดเพอื่ ดูการเจริญเติบโตของข้าวโพด
- การนำเสนอ
- การจัดแสดง มีการบันทึก การวัดขนาด สังเกต จากกจิ กรรมที่
(๒๙ ม.ค. ๒๕๖๓) ทำเพือ่ นำมาสรปุ ข้อมูลแลกเปล่ียนกัน
- เดก็ ออกไปทัศนศึกษาแหลง่ เรยี นรสู้ วนขา้ วโพด - การสังเกต
ป้าออ้ ย ณ บ้านรวกขวาง ต.หินกอง จ.ราชบรุ ี - การจำแนกประเภท
- วาดภาพ บันทกึ ขอ้ มลู นำเสนอส่ิงท่พี บเห็นจาก - การพยากรณ์
การทัศนศึกษาแหลง่ เรียนรตู้ ้ังแต่เตรียมดนิ การ
เพาะเมล็ด การเจรญิ เติบโต ผลติ ผลทไ่ี ดจ้ นถึง
การใชป้ ระโยชน์การจำหนา่ ย การทำอาหาร
- สรปุ ประเดน็ ทไี่ ดใ้ นการสืบค้นจากการสมั ภาษณ์
และการไปทศั นศกึ ษาเพื่อนำมาสรปุ ขอ้ มลู
- การทำCooking สม้ ตำขา้ วโพด ให้เด็กสงั เกต - การสงั เกต
ส่ิงของที่เตรียมมาโดยใชป้ ระสาทสัมผัสทั้ง ๕ - การจำแนกประเภท
- เชิญวทิ ยากรมาตำข้าวโพดว่ามสี ว่ นประกอบ - การพยากรณ์
อะไรบ้าง ใสอ่ ะไร มรี สชาติอย่างไรถงึ อร่อย
- แบ่งเดก็ ออกเป็นกลุม่ คิดรสชาติ วา่ กล่มุ ตนเอง
ต้องการใส่เครอ่ื งปรงุ อะไรบา้ ง ให้มีรสชาตอิ รอ่ ย
- เดก็ ได้ชิมส้มตำข้าวโพด วา่ มรี สชาตอิ ย่างไร
หวาน เผ็ด เปรีย้ ว ไหม แล้วทำอยา่ งไรถึงอรอ่ ย
- นำเสนอและจดั แสดงผลงานในชัน้ เรยี น
๖
ตารางท่ี ๑ (ต่อ)
วนั เดอื นปี/ระยะ หัวข้อ/การจัดประสบการณ์แบบโครงการ ทักษะพ้นื ฐาน
ทางวทิ ยาศาสตร์
- การทำงานภาคสนาม - สนทนาเก่ียวกับประโยชนแ์ ละโทษของข้าวโพด - การสงั เกต
- การนำเสนอประสบการณ์ ผลติ ภัณฑ์ทท่ี ำจากข้าวโพด - การจำแนกประเภท
เดิม - เด็กๆชว่ ยกนั คิดว่าจใช้ วัสดุ อปุ กรณ์อะไรทำปอ๊ บ - การพยากรณ์
- ประสบการณ์ใหม่ คอรน์ ยกั ษ์ โดยการสงั เกต สืบข้อมลู จากผปู้ กครอง
- การจดั แสดง ทวี ี เปน็ ตน้
(๓๐ ม.ค. ๒๕๖๒) - ลงมอื ปฎบิ ัตใิ นการ “ทำปอ๊ บคอร์นยกั ษ”์ จากวสั ดุ
ที่ครแู ละผู้ปกครองช่วยกนั เตรยี มมา
- เด็กๆแสดงความคิดเห็น พร้อมบนั ทกึ ข้อมูลอย่าง
งา่ ยลงในแผน่ กระดาษชาร์ทโดยครูเปน็ ผู้ชว่ ยเหลือ
- ทบทวนประโยชน์และโทษของขา้ วโพด พร้อม
แสดงแผนผังความคดิ ในหอ้ งเรยี น
- อภปิ รายกลุ่ม - เดก็ แสดงท่าทางตามเพลง “ขา้ วโพดปง้ิ ” - การสงั เกต
- การนำเสนอประสบการณ์ - กจิ กรรมมาสคอ็ ตข้าวโพดยักษ์ ใหเ้ ดก็ ช่วยกันคิดว่า - การจำแนกประเภท
เดิม จะใชว้ ัสดุอปุ กรณ์อะไรใหส้ วยงาม - การพยากรณ์
- ประสบการณ์ใหม่ - เดก็ ลงมือปฏิบตั ิจรงิ มาสค็อตขา้ วโพดยักษ์ ด้วย
(๓๑ ม.ค. ๒๕๖๓) อปุ กรณ์ท่เี ตรียมมา จำแนกประเภทส่ิงของ
- ใหเ้ ด็กชว่ ยกนั คาดคะเนวา่ จะทำแบบไหน รูปทรง
อะไร โดยการชว่ ยกนั ออกแบบกอ่ นลงมอื ทำ
- ลงมอื ปฏิบัตจิ ริง
- เด็กรว่ มกนั อภปิ ราย สรุป และแสดงความคิดเห็น
ระยะที่ ๓ ระยะสรปุ
- นำเสนอผลงาน - รวบรวมขอ้ มลู เขา้ สนู่ ิทรรศการ ขา้ วโพด...น่ารู้ - การสงั เกต
- อภปิ รายกลุ่ม - ครูและเดก็ รว่ มกันทบทวนสิง่ ต่าง ๆ ที่ไดเ้ รียนรู้ใน - การจำแนกประเภท
การจัดแสดง โครงการ ข้าวโพดน่ารู้ - การพยากรณ์
(๓ ก.พ. ๒๕๖๓) - อภปิ ราย สรปุ และแสดงความคิดเห็น
๗
ตารางท่ี ๑ (ต่อ) หัวข้อ/การจัดประสบการณ์แบบโครงการ ทักษะพน้ื ฐาน
ทางวิทยาศาสตร์
วนั เดือนปี/ระยะ
- ครูและเด็กรว่ มพูดคยุ สนทนา แบ่งหน้าที่ความ
- นำเสนอผลงาน
- การจัดแสดงนทิ รรศการ รับผดิ ชอบในการจัดแสดงนิทรรศการ
(๔ ก.พ. ๒๕๖๓)
- บทบาทหนา้ ทขี่ องตนเอง
- นำเสนอผลงาน
- การจดั แสดงนิทรรศการ - เด็กเตรียมตัวฝกึ ซอ้ มการแสดงในวนั จัดนทิ รรศการ
(๕ ก.พ. ๒๕๖๓)
- นำเสนอผลงาน - สรุป และแสดงความคิดเหน็ ในการเตรยี มตวั
- การจดั แสดงนิทรรศการ
(๖ ก.พ. ๒๕๖๓) ครูและเดก็ ร่วมจัดสถานท่แี สดงนิทรรศการทีจ่ ะจัด - การสังเกต
ขน้ึ พร้อมทงั้ ทบทวนหน้าทค่ี วามรับผดิ ชอบในการ - การจำแนกประเภท
จัดแสดงนทิ รรศการ - การพยากรณ์
- จัดนทิ รรศการ “ข้าวโพด...นา่ ร”ู้ - การสังเกต
- ปฏบิ ัติหนา้ ที่ความรับผิดชอบของตนเอง - การจำแนกประเภท
- นำเสนอผลงานแบบเดีย่ ว แบบกลุ่ม - การพยากรณ์
๔. ผลการดำเนินการ / ผลสมั ฤทธ์ิ / ประโยชน์ที่ไดร้ ับ
๔.๑ ผลท่ีเกดิ ตามจดุ ประสงค์
เด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ Project Approach มีทักษะพ้ืนฐานทาง
วทิ ยาศาสตร์สงู ขน้ึ
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
เด็กปฐมวัยมีทักษะพ้ืนฐานทางวิทยาศาสตร์เพ่ิมมากขึ้นหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ
โครงการ (Project Approach) ดงั ตารางที่ ๒
ตารางท่ี ๒ แสดงผลการเปรียบเทยี บทักษะพืน้ ฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชน้ั ปีท่ี ๓ ก่อนและหลัง
ไดร้ ับการจัดประสบการณ์เรียนรแู้ บบโครงการ (Project Approach)
การทดสอบ จำนวน คะแนนเต็ม คะแนนเฉลยี่ สว่ นเบย่ี งเบน รอ้ ยละ t-test sig
นกั เรียน มาตรฐาน ๗.๖๒๘ ๐.๐๐
กอ่ นเรียน ๙ ๖.๙๔ ๐.๖๕ ๗๗.๑๒
หลังเรยี น ๑๗ ๙ ๘.๑๑ ๐.๖๐ ๙๐.๑๙
๑๗
จากตาราง พบว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เรื่อง
ข้าวโพด...นา่ รู้ ก่อนเรยี นเด็กปฐมวัยมีค่าเฉลยี่ คะแนนทกั ษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เท่ากับ ๖.๙๔ คดิ เป็นรอ้ ยละ
๗๗.๑๒ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เด็กปฐมวัยมีค่าเฉล่ียเท่ากับ
๘
๘.๑๑ คิดเปน็ ร้อยละ ๙๐.๑๙ ซ่ึงสงู กวา่ ก่อนเรยี น เม่ือเปรียบเทยี บพบว่าคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรยี นแตกต่างกัน
อย่างมีนยั สำคญั ทางสถิตทิ ่รี ะดบั .๐๕
๔.๓ ประโยชน์ทไี่ ดร้ ับ
๔.๓.๑ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) ช่วยส่งเสริมทักษะ
พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้ง ๓ ทักษะ คือทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการ
พยากรณ์ไดด้ ขี ้นึ
๔.๓.๒ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) สามารถกระตุ้นความ
สนใจใหเ้ ด็กปฐมวัยอยากเรียนรแู้ ละลงมอื ปฏิบตั ิจรงิ
๔.๓.๓ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) ยังช่วยสง่ เสริมทักษะด้าน
การคดิ อย่างมีเหตผุ ล การสงั เกต การสื่อสารเพิ่มข้นึ
๕. ปัจจยั ความสำเร็จ
๕.๑ เด็กปฐมวัยมีทักษะพ้ืนฐานทางวิทยาศาสตร์ท้ัง ๓ ทักษะ คือทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก
ประเภท ทักษะการพยากรณ์ เมื่อไดร้ บั การจดั ประสบการณแ์ บบโครงการ (Project Approach)
๕.๒ ได้รับการส่งเสริมจากผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อนร่วมงานในส่วนของการให้คำปรึกษา
คำแนะนำในการออกแบบส่อื นวตั กรรมการจดั กจิ กรรม
๕.๓ ได้รับความร่วมมอื จากผู้ปกครอง ชุมชนในการสนบั สนุนเป็นวิทยากรและจัดหาสื่อ อุปกรณ์เพื่อใช้
ในกจิ กรรม
๕.๔ การประเมินคุณภาพภายนอกรอบส่ี ด้านการศึกษาปฐมวัย ระดับคุณภาพดีเยี่ยม โรงเรียนเป็น
ต้นแบบมคี วามโดดเด่นไดร้ บั การยอมรับระดบั ชาติ ( C๒ )
๕.๕ โรงเรียนเทศบาล ๓ (เทศบาลสงเคราะห์) ได้รับรางวัลสถานศึกษาพระราชทานระดับ ก่อน
ประถมศึกษา ขนาดกลาง ประจำปกี ารศึกษา ๒๕๖๓
๖. บทเรียนที่ได้รับ ( Lesson Learned )
๖.๑ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีทักษะ
พน้ื ฐานทางวิทยาศาสตรเ์ พิม่ ข้ึน และทำให้เด็กเกิดความภาคภมู ใิ จในการทำสิ่งตา่ งๆไดด้ ้วยตนเอง
๖.๒ เดก็ มคี วามสามารถในการแสดงออก มลี กั ษณะเป็นผู้นำและผ้ตู ามทดี่ ี
จะเห็นได้ว่า การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) ช่วยส่งเสริม
ทักษะพน้ื ฐานทางวิทยาศาสตร์ สามารถกระตนุ้ ความสนใจใฝ่เรียนรู้ของเด็ก และตอบสนองพ้ืนฐานความรขู้ องเด็ก
ปฐมวยั ไดด้ ี
๙
๗. การเผยแพร่ผลงาน (รางวลั ทไี่ ดร้ ับ)/การนำเสนอนวตั กรรม
๗.๑ เผยแพร่ผลงานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ(Project Approach) ให้กบั คณะครปู ฐมวยั และผ้ทู ่ี
สนใจท้งั สังกดั เดยี วกนั และนอกสงั กดั
๗.๒ จดั แสดงผลงานทางวิชาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ (Project Approach) คิดดี ทำดี สู่
ศตวรรษท่ี ๒๑ ประจำปกี ารศึกษา ๒๕๖๒
๘. การขยายต่อยอด หรือประยกุ ต์ใช้ผลงาน นวตั กรรมหรอื วธิ ีการปฏบิ ัติ
นำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ (Project Approach) แนวปฏิบัติและแผนการจัด
ประสบการณ์ เผยแพร่กับโรงเรียนในสังกัดและโรงเรียนท่ีสนใจ ไปทดลองใช้กับเด็กๆ หรือเพื่อเป็นแนวทางให้
โรงเรยี นตา่ ง ๆ ปรบั ประยุกตใ์ ชใ้ หเ้ หมาะสมกบั บริบทของโรงเรียนน้นั ๆ ตามความเหมาะสม
๙. เอกสารอ้างองิ
กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๖๐). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐. กรุงเทพ : ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย .
______. (๒๕๖๑). คูม่ อื หลกั สูตรการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ สำหรบั เดก็ อายุ ๓-๖ ปี. กรุงเทพฯ:
ชมุ นมุ สหกรณ์แห่งประเทศไทย.
______. (๒๕๖๒). มาตรฐานสถานพฒั นาเดก็ ปฐมวยั แห่งชาติ. กรุงเทพ: พรกิ หวานกราฟฟิค.
เอราวรรณ ศรจี กั ร. (๒๕๕๐). การพฒั นาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรข์ องเดก็ ปฐมวยั โดยใช้กจิ กรรมการ
เรยี นรปู้ ระกอบชุดแบบฝกึ ทกั ษะ.ปรญิ ญานพิ นธ์ ปรชั ญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรนี ครนิ ทรวิโรฒ.
๑๐
ภาคผนวก
ภาพการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงการ
(Project Approach) เรื่องขา้ วโพด...น่ารู้