The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานตรมประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by runn0248, 2022-07-08 00:17:28

การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานตรมประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานตรมประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

Keywords: การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานตรมประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

๔๙กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

๒) การห้มุ โครงสร้างเหล็กด้วยคอนกรตี (Concrete Encasement)


การป้องกันโครงสร้างเหล็กด้วยการหุ้มด้วยคอนกรีต เป็นวิธีการหน่ึงท่ีนิยมใช้ เนื่องจาก
คอนกรีตเป็นวัสดุที่หาง่ายและราคาไม่แพง นอกจากน้ีคอนกรีตยังเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีค่า
การนำความร้อนต่ำ อัตราการทนไฟของโครงสร้างเหล็กจะแปรผันโดยตรงกับความหนาของชั้น
คอนกรีตท่ีหุ้ม ยิ่งช้ันของคอนกรีตมีความหนามาก อัตราการทนไฟของโครงสร้างก็จะมากตาม
ไปด้วย อย่างไรก็ตามชั้นของคอนกรีตท่ีหนาจะทำให้น้ำหนักของโครงสร้างเพ่ิมขึ้นตามไปด้วย
ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของการหุ้มโครงสร้างด้วยคอนกรีต คือ จะใช้เวลาในการก่อสร้างนาน
เน่ืองจากต้องมีระยะเวลาให้คอนกรีตท่ีหุ้มแข็งตัว ภาพที่ ๔๓ แสดงตัวอย่างการหุ้มโครงสร้าง
เหลก็ ดว้ ยคอนกรตี


เสาเหลก็
คานเหลก็


คอนกรตี
คอนกรีต


ก. การปอ้ งกนั โครงสรา้ งเหล็ก เสาและคานหนา้ ตัดรปู ตัว I โดยการหุ้มด้วยคอนกรตี


ข. ตวั อยา่ งงานก่อสร้างทมี่ ีการหมุ้ เสาและคานเหล็กด้วยคอนกรตี เพือ่ ป้องกันความร้อน

ภาพที่ ๔๓ ตวั อยา่ งใชก้ ารหมุ้ โครงสรา้ งเหลก็ ดว้ ยคอนกรตี

๕๐ ค่มู อื การปฎบิ ตั งิ านตามประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม
เรอ่ื ง การปอ้ งกนั และระงับอัคคภี ยั ในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

๓) การเตมิ โครงสร้างเหลก็ ด้วยคอนกรตี (Concrete Filling)


การเติมโครงสร้างเหล็กด้วยคอนกรีตเป็นวิธีการป้องกันความร้อนให้กับโครงสร้างเหล็ก
แบบหนงึ่ ซงึ่ แทนการหมุ้ โครงสรา้ งเหลก็ ดว้ ยคอนกรตี ภายนอก ดว้ ยการเทคอนกรตี เขา้ ไปภายใน
โครงสร้างเหล็กที่มีช่องกลวงตรงกลาง ตัวคอนกรีตภายในโครงสร้างเหล็กจะทำหน้าที่เป็นท่ีทิ้ง
ความร้อน (Heat Sink) ขณะเกิดเพลิงไหม้ คอนกรีตท่ีเทเข้าไปภายในโครงสร้างเหล็กอาจเป็น
คอนกรีตอย่างเดียว หรืออาจจะเสริมด้วยเหล็กผูกเพ่ือเพิ่มความแข็งแรงก็ได้ ข้อได้เปรียบของ
การป้องกันโครงสร้างเหล็กจากอัคคีภัยด้วยวิธีน้ีคือ โครงสร้างเหล็กจะมีขนาดไม่เทอะทะและ
สามารถทาสภี ายนอกของโครงสรา้ งเหลก็ ไดต้ ามปกติ ภาพท่ี ๔๔ แสดงตวั อยา่ งการเตมิ โครงสรา้ ง
เหล็กดว้ ยคอนกรตี


คอนกรีตเสรมิ ความแข็งแรง

ดว้ ยเหล็กเส้น


เสาเหลก็ กลวง
ภาพที่ ๔๔

ตัวอย่างเสาโครงสร้างเหล็กท่ีมีการเทคอนกรีตเข้าไป
ภายในเพื่อใช้ในการป้องกันการวิบัติของเสาเหล็ก
เนื่องจากความรอ้ นจากเหตุเพลิงไหม


๔) การพ่นโครงสร้างเหล็กดว้ ยวัสดุทนไฟ (Spray-on Systems)


การพ่นโครงสร้างเหล็กด้วยวัสดุทนไฟ สามารถทำได้โดยการพ่นฉนวนกันไฟและความ
ร้อนหุ้มภายนอกโครงสร้างเหล็ก วัสดุที่ใช้ในการฉีดพ่นอาจทำมาจากซีเมนต์หรือยิมซ่ัมผสมกับ
ตัวผสม (Aggregate) ที่มีน้ำหนักเบา เช่น วัสดุพวกเวอร์มิคูไลท์ เพอร์ไลท์ หรือโพลีไสตรีน
โดยมีวัสดุจำพวกเส้นใยไฟเบอร์หรือเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบเพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ปอ้ งกันความร้อน จากการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E119 Standard for Fire Tests of
Building Construction and Materials พบว่าการนำเพอร์ไลท์มาผสมซีเมนต์และน้ำตาม
อตั ราส่วนที่เหมาะสมแล้วฉีดพ่นโครงสร้างเหล็กให้มคี วามหนาโดยประมาณ ๒ นว้ิ จะมีอตั ราการ
ทนไฟประมาณ ๒ ชั่วโมง ตวั อย่างการปอ้ งกนั โครงสรา้ งเหล็กด้วยการพน่ ดว้ ยวสั ดทุ นไฟแสดงไว้
ในภาพที่ ๔๕

๕๑กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ภาพที่ ๔๕ การปอ้ งกนั โครงสรา้ งเหลก็ โดยการพน่ ดว้ ยวสั ดทุ นไฟ


๕) การทาโครงสร้างเหลก็ ดว้ ยสีทนไฟ (Intumescent Paint)


การทาโครงสร้างเหล็กด้วยสีทนไฟ เป็นวิธีหน่ึงในการป้องกันโครงสร้างเหล็กจากอัคคีภัย
ท่ีนิยมอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันมีผู้ผลิตสีทนไฟหลายรายซึ่งรายละเอียดและข้อกำหนดในการใช้
ก็จะแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต การเลือกใช้สีทนไฟท่ีเหมาะสมจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดจาก
ผู้ผลิตเพื่อให้การป้องกันอัคคีภัยมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทั่วไปสีทนไฟจะมีเรซินเป็น
องค์ประกอบหลกั โดยเมือ่ เกดิ เพลงิ ไหมเ้ รซนิ ได้รบั ความร้อนจะมกี ารขยายตวั คล้ายกับโฟม ซ่ึงมี
สภาพเป็นฉนวนความร้อนเคลือบป้องกันโครงสร้างเหล็กไม่ให้สัมผัสกับไฟโดยตรง การขยายตัว
ของเรซินอาจมากถึง ๑๕-๓๐ เท่าของความหนาของสีทนไฟในสภาพปกติ ภาพท่ี ๔๖ แสดง
การทำงานของสที นไฟเม่อื สัมผสั กบั ความร้อน

๕๒ ค่มู อื การปฎบิ ัตงิ านตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่อื ง การปอ้ งกันและระงับอคั คีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

ภาพที่ ๔๖ การขยายตวั ของสที นไฟเมอื่ ไดส้ มั ผสั ความรอ้ นจากเปลวไฟ

โครงหลงั คาของอาคารที่อยูส่ งู จากพ้นื อาคารเกิน ๘ เมตร และอาคารน้นั มีระบบดับเพลงิ
อัตโนมัติหรือมีการป้องกันความร้อนหรือระบบระบายความร้อนมิให้เกิดอันตราย
ตอ่ โครงหลังคา โครงหลังคาของอาคารนัน้ ไม่ต้องมอี ัตราการทนไฟตามทกี่ ำหนดก็ได้

การป้องกันความร้อนจากอัคคีภัยของโครงสร้างหลังคาเหล็กท่ีมีความสูงเกิน ๘ เมตร
โดยวัดจากพ้ืนถึงจุดท่ีสูงที่สุดของโครงหลังคา นอกจากจะทำได้โดยการหุ้มปิดโครงสร้างเหล็ก
ด้วยวัสดุทนไฟตามท่ีอธิบายไปแล้ว อาจสามารถทำได้โดยทำการติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำ
ดับเพลิงอัตโนมัติให้กับโครงหลังคาเหล็กหรือติดตั้งระบบระบายควันไฟให้กับโครงหลังคาเหล็ก
กไ็ ด้

การติดต้ังระบบหัวกระจายน้ำอัตโนมัติให้กับโครงหลังคาเหล็ก เมื่อเกิดเพลิงไหม้
และหัวกระจายน้ำดับเพลิงทำงาน น้ำจากหัวกระจายน้ำดับเพลิงจะทำให้โครงหลังคาเปียก
ซึ่งเป็นการลดความร้อนให้กับโครงหลังคาเหล็ก จนมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิบัติของเหล็ก
ภาพที่ ๔๗ แสดงตัวอยา่ งการตดิ ระบบหัวกระจายนำ้ ดบั เพลงิ ใหก้ ับโครงหลังคาเหล็กของอาคาร
จัดเก็บสินค้า (Warehouse) การติดต้ังระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
สากลที่เป็นที่ยอมรับ ตัวอย่างเช่น มาตรฐาน NFPA 13 Standard for Installation of
Sprinkler Systems

๕๓กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ภาพท่ี ๔๗ การติดต้ังระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติบนโครงหลังคาเหล็กของอาคาร

จดั เกบ็ สนิ คา้ (Warehouse) เพอ่ื ปกป้องโครงสรา้ งหลงั คาเหล็กจากเพลิงไหม้

การระบายความร้อนออกจากโครงหลังคาโดยการติดต้ังระบบระบายควันไฟ สามารถ
ทำได้โดยการระบายควันไฟแบบธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น NFPA 204
Standard for Smoke and Heat Venting หรือระบบระบายควันไฟทางกล ซึ่งเป็นไปตาม
มาตรฐานสากล เชน่ NFPA 92B Guide for Smoke Management Systems in Malls, Atria,
and Large Areas

เม่ือเกิดเพลิงไหม้ควันไฟจะลอยขึ้นไปสะสมตัวอยู่ใต้หลังคาของอาคาร เม่ือเวลาผ่านไป
ควันไฟที่สะสมตวั จะมีความร้อนเพ่ิมสงู ขึ้นทำใหโ้ ครงหลงั คาเหลก็ มอี ุณหภูมสิ งู จนเกดิ การวบิ ัตไิ ด้
ระบบระบายควันไฟจะทำหน้าที่ระบายควันไฟและความร้อนทำให้โครงหลังคาเหล็กมีอุณหภูมิ
ลดลง ไมส่ งู จนเกินอุณหภมู ิวบิ ัติ ภาพที่ ๔๘ แสดงตวั อย่างการติดต้งั ช่องเปดิ ระบายควนั โดยวิธี
ธรรมชาติบนหลังคาของอาคารโรงงาน และภาพท่ี ๔๙ แสดงการต่อเช่ือมระบบระบายควันไฟ
กับระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของอาคาร เม่ือระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของอาคารตรวจพบว่า
เกิดเพลิงไหม้ข้ึนภายในอาคาร ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะส่ังให้ช่องเปิดระบายควันเปิดออก
เพอื่ ทำการระบายควันออกจากอาคาร

๕๔ คมู่ อื การปฎบิ ัตงิ านตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง การปอ้ งกนั และระงบั อัคคีภยั ในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

ภาพท่ี ๔๘

แสดงตัวอย่างการติดตั้งช่อง
เปิดระบายควันบนหลังคาของ
อาคารโรงงาน


ช่องเปดิ ระบายควนั


อปุ กรณต์ รวจจับควนั


ตคู้ วบคมุ สัญญาณ

แจง้ เหตุเพลงิ ไหม้


อปุ กรณ์แจง้ เหตุเพลิงไหม

ภาพที่ ๔๙ แสดงการตอ่ เชอ่ื มระบบระบายควนั ไฟกบั ระบบแจง้ เหตเุ พลงิ ไหมข้ องอาคาร

สำหรับช่องระบายอากาศท่ีหลังคาดังแสดงในภาพที่ ๕๐ เป็นช่องระบายอากาศ ซ่ึงใช้ใน
สภาวะปกติ ไม่ถือว่าเป็นช่องเปิดระบายควันไฟตามประกาศน้ี เน่ืองจากเม่ือเกิดเพลิงไหม ้
ชอ่ งระบายอากาศในลักษณะนี้จะไมส่ ามารถทนต่อความรอ้ นสูงได้

๕๕กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ชอ่ งระบายอากาศลกั ษณะนไี้ ม่สามารถใชเ้ ปน็ ชอ่ งเปิดระบายควนั ได
้ ภาพท่ี ๕๐

ช่องระบายอากาศที่หลังคา
ไม่ถือว่าเป็นช่องเปิดระบาย
ควันตามประกาศน้ี เน่ืองจาก
ไม่สามารถทำงานได้ภายใต้
อณุ หภูมทิ ่ีสูงของควันไฟ




ขอ้ ๒๑ การปฏิบัติงานในโรงงานซ่ึงมีความเก่ียวข้องหรือทำให้เกิดประกายไฟหรือ

ความร้อนท่ีเป็นอันตราย ต้องจัดทำระบบการอนุญาตทำงานท่ีมีประกายไฟหรือ

ความรอ้ นทีเ่ ป็นอันตราย (Hot Work Permit System) ใหเ้ ป็นไปตามหลกั วิชาการ

ด้านความปลอดภยั โดยมีเอกสารหลักฐานทส่ี ามารถตรวจสอบได้


การปฏิบัติงานในโรงงานซ่ึงเก่ียวข้อง
หรือทำให้เกิดประกายไฟ หรือความร้อน
ที่เป็นอันตรายที่ไม่ใช่งานประจำหรือไม่
เก่ียวข้องกับกระบวนการผลิตของโรงงาน
ต้องมีการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
เพลงิ ไหมห้ รอื การระเบดิ เนอ่ื งจากประกาย-
ไฟหรือความร้อนที่เกิดจากการทำงาน
เชอื่ มไฟฟา้ งานเชอื่ มแก๊ส งานเจยี ร งานยำ้
หมดุ ดว้ ยความรอ้ นหรอื งานอนื่ ๆ ทม่ี ลี กั ษณะ
คล้ายคลึงกัน หรือทำให้เกิดความร้อนหรือ
ประกายไฟในขณะปฏบิ ัติงาน


ภาพที่ ๕๑

งานทที่ ำใหเ้ กดิ ประกายไฟ

๕๖ คูม่ ือการปฎิบตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การปอ้ งกันและระงบั อัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

เอกสารขออนุญาตทำงานท่ีเกิดประกายไฟหรือความร้อน (Hot Work Permit Sheet)
ต้องมีการขออนุญาตก่อนล่วงหน้า และต้องมีการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ก่อนการใช้งานเสมอ
และตอ้ งมกี ารเคลอ่ื นยา้ ยวสั ดตุ ดิ ไฟ หรอื วตั ถไุ วไฟหรอื เชอื้ เพลงิ ตา่ งๆ ออกจากพน้ื ทท่ี จี่ ะปฏบิ ตั งิ าน
โดยใบอนญุ าตใหท้ ำงานต้องกำหนดระยะเวลาในการทำงานและระบพุ ื้นทใี่ ห้ชัดเจน ในกรณีที่ไม่
สามารถเคลื่อนย้ายได้จะต้องมีการป้องกันประกายไฟหรือความร้อนที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติงาน
เช่น การใช้ผ้ากันไฟ ดังภาพท่ี ๕๒ เพ่ือคลุมเช้ือเพลิงไว้ หรือการใช้น้ำหล่อเย็นเช้ือเพลิงไว้
เป็นต้น แต่การหลีกเล่ียงปฏิบัติงานที่เกิดประกายไฟหรือความร้อนภายในพื้นท่ีท่ีจัดเก็บหรือมี
กระบวนการผลิตที่มีวัตถุติดไฟหรือไวไฟเป็นวิธีการที่ดีท่ีสุด เช่น การหลีกเลี่ยงการเช่ือมต่อท่อ
ด้วยการเช่ือมไฟฟ้า แต่เปล่ียนเป็นการใช้ข้อต่อเกลียวหรือหน้าแปลนแทนซ่ึงจะไม่มีประกายไฟ
และความร้อนในการทำงาน เปน็ ตน้


ภาพท่ี ๕๒

ตัวอย่างผา้ กันไฟ

๕๗กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

ภาพที่ ๕๓ เอกสารขออนญุ าตทำงานที่เกิดประกายไฟหรือความร้อน

การจัดทำเอกสารขออนุญาตทำงานท่ีเกิดประกายไฟหรือความร้อนในแต่ละประเภท
โรงงาน ควรจดั ทำใหม้ คี วามเหมาะสมกบั สภาพเงอื่ นไขตา่ งๆ เชน่ สภาพการทำงาน กระบวนการผลติ
ประเภทและปรมิ าณเชือ้ เพลิง เป็นต้น สำหรับภาพที่ ๕๓ เปน็ ตวั อย่างเอกสารขออนุญาตทำงาน
ที่เกิดประกายไฟหรือความร้อน ตามมาตรฐาน NFPA 51B Standard for Fire Prevention
During Welding, Cutting, and Other Hot Work ซึ่งผู้ประกอบการโรงงานสามารถนำไป
ดัดแปลงหรอื ปรบั ปรงุ เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกบั การใชใ้ นโรงงานแตล่ ะประเภท

๕๘ คมู่ ือการปฎิบัติงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การป้องกนั และระงับอคั คีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

ขอ้ ๒๒ โรงงานต้องจัดเส้นทางหนีไฟท่ีอพยพคนงานทั้งหมดออกจากบริเวณที่ทำงาน

สบู่ ริเวณทปี่ ลอดภัย เชน่ ถนนหรอื สนามนอกอาคารโรงงานได้ภายในหา้ นาที


เส้นทางหนีไฟ (Means of Egress) หมายถึง เส้นทางท่ีต่อเน่ืองและไม่มีอุปสรรค
สามารถเขา้ ถึงได้ไมว่ า่ จากจุดใดๆ ในอาคารเพือ่ ไปยงั จดุ ปลอดภยั (Point of Safety)

เส้นทางหนีไฟประกอบดว้ ย ๓ ส่วน คอื

• ทางไปสู่ทางหนีไฟ (Exit Access) หมายถึง พ้ืนท่ีใดๆ ภายในอาคารที่สามารถใช้เป็น

เส้นทางเพอ่ื เคลื่อนท่ไี ปสทู่ างหนไี ฟ (Exit)

• ทางหนไี ฟ (Exit) หมายถึงส่วนทก่ี ั้นแยกออกจากสว่ นอน่ื ๆ ของอาคารดว้ ยโครงสรา้ งที่

มีการป้องกันไฟ โดยทางหนีไฟจะหมายรวมถึงประตูหนีไฟ บันไดหนีไฟและทาง

ลาดเอียงทีม่ กี ารปดิ ลอ้ มอยา่ งเหมาะสม

• ทางปลอ่ ยออก (Exit Discharge) หมายถงึ จดุ ปลอ่ ยออกจากทางหนไี ฟ เปน็ จดุ เชอื่ มตอ่

ทางหนีไฟกับทางสาธารณะ โดยทางปล่อยออกต้องปลอดภัยและมีขนาดใหญ่เพียงพอ

ต่อการอพยพคนออกจากอาคาร


ทางหนีไฟ



ทางไปส่ทู างหนีไฟ
ภาพที่ ๕๔

แสดงส่วนประกอบท้งั ๓ ของ

เส้นทางหนีไฟ ได้แก่ ทางไป
สู่ทางหนีไฟ (Exit Access)
ทางปลอ่ ยออก
ทางหนีไฟ (Exit) และทาง
ปลอ่ ยออก (Exit Discharge)


ถนน

๕๙กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ภาพที่ ๕๔ แสดงส่วนประกอบท้ัง ๓ ของเส้นทางหนไี ฟของอาคารซง่ึ ประกอบดว้ ย ทาง
ไปสู่ทางหนีไฟ ทางหนีไฟ และทางปล่อยออก ทางไปสู่ทางหนีไฟหมายถึงพ้ืนท่ีใดๆ ภายใน
อาคาร ซึ่งรวมถึงพื้นท่ีของชั้นนั้นๆ เส้นทางเดินหรือบันไดท่ีไม่มีการปิดล้อม ในภาพที่ ๕๔
ทางไปสทู่ างหนไี ฟ แสดงโดยระยะทางจากจดุ ใดๆ บนชน้ั นนั้ ของอาคารมาถงึ จดุ ท่ี ๑ (ประตหู นไี ฟ)
ทางหนีไฟ หมายถงึ บริเวณท่กี ้นั แยกออกจากส่วนอน่ื ๆ ของอาคาร โดยแสดงเป็นระยะทางจาก
๑ ไป ๒ ตามบันไดหนีไฟในภาพที่ ๕๔ ทางปลอ่ ยออก หมายถึง จดุ ท่ปี ล่อยออกจากทางหนีไฟ
สทู่ างสาธารณะ เช่น ถนน ซ่ึงแสดงโดยจดุ ที่ ๒ ในภาพที่ ๕๔

หลักพนื้ ฐานในการจัดเตรยี มเสน้ ทางหนีไฟ ประกอบดว้ ย

• ตอ้ งมเี สน้ ทางหนไี ฟอยา่ งนอ้ ย ๒ ทางเสมอ ตอ้ งคำนงึ อยเู่ สมอวา่ การหนไี ฟตอ้ งมที างเลอื ก

• เสน้ ทางหนไี ฟตอ้ งไมม่ สี ง่ิ กดี ขวางทำใหเ้ ปน็ อปุ สรรค ตอ้ งสามารถใชห้ นไี ฟไดต้ ลอดเวลา

• เสน้ ทางหนีไฟตอ้ งมปี า้ ยทีส่ ามารถมองเห็นได้ชดั เจนไม่ว่าอยูจ่ ุดใดของอาคาร

• เสน้ ทางหนีไฟต้องมไี ฟสอ่ งสวา่ งฉกุ เฉิน

เส้นทางหนีไฟต้องมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนคน เพ่ือให้สามารถอพยพหนีไฟออกจาก
อาคารไดภ้ ายในเวลาทกี่ ำหนด มาตรฐาน NFPA 101 Life Safety Code กำหนดจำนวนเสน้ ทาง
หนีไฟอย่างน้อยของอาคารดังรายละเอียดท่ีแสดงในตารางที่ ๕ จำนวนเส้นทางหนีไฟต่อ
จำนวนคน


ตารางที่ ๕ จำนวนเส้นทางหนีไฟต่อจำนวนคน


จำนวนคน
จำนวนเสน้ ทางหนไี ฟอย่างนอ้ ย

๑-๕๐๐ คน ๒ ทาง


๕๐๑-๑,๐๐๐ คน ๓ ทาง


๑,๐๐๑ คน หรอื มากกวา่ ๔ ทาง

๖๐ คู่มอื การปฎบิ ตั ิงานตามประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม
เร่ือง การป้องกันและระงบั อคั คภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

ข้อ ๒๓ การจัดเก็บวัตถุส่ิงของท่ีติดไฟได้ หากเป็นการเก็บกองวัตถุมิได้เก็บในชั้นวาง

ความสูงของกองวตั ถุน้นั ต้องไมเ่ กนิ ๖ เมตร และตอ้ งมรี ะยะห่างจากโคมไฟไม่นอ้ ย

กวา่ ๖๐ เซนติเมตร


การจดั เก็บวตั ถทุ ่ตี ิดไฟได้ภายในอาคาร ถา้ เป็นการกองวัตถุบนพน้ื ไมไ่ ดจ้ ัดเก็บบนชั้นวาง
(Rack) ความสูงวัดจากพ้ืนถึงจุดสูงสุดของกองวัตถุจะต้องไม่เกิน ๖ เมตร และท่ีตำแหน่งสูงสุด
ของกองวัตถุจะต้องอยู่ต่ำกว่าโคมไฟไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร เพ่ือป้องกันไม่ให้วัตถุติดไฟได้
สัมผัสกับโคมไฟซึ่งมีความร้อนขณะใช้งานจนอาจทำให้เกิดการลุกติดไฟของกองวัตถุจนเป็นเหตุ
ให้เกิดเพลงิ ไหม้ได้


ห่างจากโคมไฟอย่างน้อย
๖๐ เซนตเิ มตร


สงู จากพน้ื ไมเ่ กิน ๖ เมตร


ภาพที่ ๕๕ ตัวอย่างการกองเก็บวัตถุติดไฟได้จากพื้น ต้องมีความสูงไม่เกิน ๖ เมตร โดยวัดจาก

พ้ืนถงึ จดุ สูงสุด


ข้อ ๒๔ เคร่ืองจักร อุปกรณ์ ถังเก็บ ถังปฏิกิริยาหรือกระบวนการท่ีเกี่ยวข้องกับวัตถุไวไฟ

ต้องทำการต่อสายดิน (Grounding) หรือต่อฝาก (Bonding) เพ่ือป้องกัน

อนั ตรายทอี่ าจเกิดจากไฟฟ้าสถติ

ไฟฟ้าสถิตสามารถทำให้เกิดการจุดติดไฟของวัตถุไวไฟได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าสถิต
เคร่ืองจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงงานที่เก่ียวข้องกับวัตถุไวไฟต้องมีการต่อสายดิน
(Grounding) และตอ่ ฝาก (Bonding) ให้เหมาะสมตามมาตรฐานสากลทกี่ ลา่ วถึงการตอ่ สายดิน
และการต่อฝากของเคร่ืองจักรและอุปกรณ์เพ่ือป้องกันเพลิงไหม้จากการจุดติดไฟ เนื่องจาก
ไฟฟา้ สถติ ตวั อย่างเชน่ NFPA 77 Recommended Practice on Static Electricity

๖๑กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

การตอ่ ฝาก (Bonding) คือ การตอ่ สายไฟเชอื่ มระหวา่ งวัตถุ ๒ ชิ้น หรือมากกวา่ ใหม้ ศี กั ย์
ทางไฟฟ้าเท่ากัน การต่อสายดิน (Grounding) คือ การต่อสายไฟเช่ือมระหว่างวัตถุกับหลักดิน
เพื่อให้มีศักย์ทางไฟฟ้าเป็นศูนย์โดยหลักดิน (Ground Rod) ต้องเป็นแท่งทองแดงหรือแท่ง
เหล็กเคลือบสังกะสี เพ่ือป้องกันการผุกร่อนและตอกฝังลงในพ้ืนดิน เมื่อติดต้ังแล้วเสร็จต้อง

วัดค่าความต้านทานท่ีจุดหลักดินไม่เกิน ๕ โอห์ม ภาพท่ี ๕๖ แสดงความหมายของการ

ตอ่ สายดนิ และการต่อฝาก


ไม่มีการต่อสายดินและการต่อฝากที่ถังเก็บ
ของเหลวไวไฟและภาชนะ สำหรับถ่ายของ
เหลวไวไฟ ทำใหม้ โี อกาสเกดิ ไฟฟา้ สถติ ได


ไม่มีการต่อสายดินแต่มีการต่อฝากระหว่าง
ถงั เกบ็ ของเหลวไวไฟและภาชนะ สำหรบั ถา่ ย
ของเหลวไวไฟ ทำใหม้ ศี กั ยไ์ ฟฟา้ เทา่ กนั

มี ก า ร ต่ อ ส า ย ดิ น แ ล ะ ก า ร ต่ อ ฝ า ก ร ะ ห ว่ า ง
ถงั เกบ็ ของเหลวไวไฟและภาชนะ สำหรบั ถา่ ย
ของเหลวไวไฟ ทำให้มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากันและ
เทา่ กบั ศนู ย์





ภาพที่ ๕๖ ความหมายของการตอ่ ฝาก (Bonding) และการตอ่ สายดิน (Grounding)

๖๒ คู่มอื การปฎิบัตงิ านตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรอ่ื ง การปอ้ งกนั และระงบั อคั คภี ยั ในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

ภาพที่ ๕๗ แสดงการตอ่ สายดนิ และการตอ่ ฝากของถังเก็บของเหลวไวไฟขณะทำการถา่ ย
ของเหลวไวไฟ สายต่อฝากทำการต่อเชื่อมให้ศักย์ไฟฟ้าระหว่างถังเก็บของเหลวไวไฟกับภาชนะ
ที่ใช้ในการถ่ายของเหลวไวไฟมีศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน สายดินซ่ึงต่อระหว่างภาชนะในการถ่าย
ของเหลวไวไฟกับสายดินร่วมของโรงงาน (Common Ground Line) มีหน้าที่ทำให้ศักย์ไฟฟ้า
เป็นศูนย์


สายดิน
สายดนิ ร่วมของโรงงาน

สายต่อฝาก
(Common Ground Line)


ภาพท่ี ๕๗ ตัวอย่างการต่อสายดิน (Grounding) และการต่อฝาก (Bonding) เพ่ือป้องกัน

ไฟฟ้าสถติ ขณะทำการถา่ ยของเหลวไวไฟจากถังจัดเก็บ

๖๓กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ข้อ ๒๕ การใช้ การจัดเก็บ การขนถ่ายหรือขนย้าย ตลอดจนการจัดการต่างๆ เก่ียวกับ

สารไวไฟและสารติดไฟ ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในเอกสารข้อมูล

ความปลอดภยั (Safety Data Sheet) ของสารนั้น

เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS-Safety Data Sheet) หรือเอกสารข้อมูลความ
ปลอดภยั สารเคมี (MSDS-Material Safety Data Sheet) เปน็ เอกสารทมี่ รี ายละเอยี ดเหมอื นกนั
แตเ่ รยี กแตกตา่ งกนั เทา่ นนั้ ซ่ึงในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดให้มีการเรียก
เอกสารนเ้ี ปน็ เอกสารขอ้ มูลความปลอดภัย (SDS) เพยี งอยา่ งเดยี ว

The Globally Harmonized System for Hazard Classification and Labeling of
Chemicals - GHS กำหนดให้ในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารไวไฟหรือสารติดไฟน้ันๆ
มีหัวขอ้ ท่ีสำคญั ทั้งหมด ๑๖ ขอ้ ดงั นี้ คอื

๑. ข้อมลู เกี่ยวกับสารเคมี และบริษัทผู้ผลิตและหรือจำหนา่ ย (Identification of the

substance/preparation and of the Company/undertake)

๒. ขอ้ มลู ระบุความเปน็ อนั ตราย (Hazards Identification)

๓. ส่วนประกอบและขอ้ มลู เก่ียวกับส่วนผสม

(Composition/Information on Ingredients)

๔. มาตรการปฐมพยาบาล (First Aid Measures)

๕. มาตรการผจญเพลงิ (Fire Fighting Measures)

๖. มาตรการจดั การเมอื่ มีการหกร่ัวไหลของสารโดยอบุ ัติเหต ุ

(Accidental Release Measures)

๗. ข้อปฏบิ ตั ิในการใช้และการเกบ็ รักษา (Handling and Storage)

๘. การควบคมุ การรับสัมผัสและการป้องกันภัยสว่ นบคุ คล

(Exposure Controls/Personal Protection)

๙. คุณสมบตั ิทางเคมแี ละกายภาพ (Physical and Chemical Properties)

๑๐. ความเสถยี รและความไวต่อการเกดิ ปฏิกริ ิยา (Stability and Reactivity)

๑๑. ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological Information)

๑๒. ขอ้ มูลเชงิ นเิ วศน์ (Ecological Information)

๑๓. มาตรการการกำจัด (Disposal Considerations)

๑๔. ข้อมลู สำหรบั การขนส่ง (Transport Information)

๑๕. ข้อมลู เกยี่ วกับกฎขอ้ บงั คบั (Regulatory Information)

๑๖. ขอ้ มลู อ่นื (Other Information)

๖๔ คู่มือการปฎิบตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรอื่ ง การปอ้ งกันและระงับอัคคภี ยั ในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

ดังน้ัน เมื่อมีการใช้งาน การจัดเก็บ การขนถ่ายหรือขนย้าย ตลอดจนการจัดการต่างๆ
เก่ียวกับสารไวไฟและสารติดไฟ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจะต้องตรวจสอบขั้นตอนหรือข้อแนะนำ
ในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยก่อนปฏิบัติงานเสมอ โดยต้องมีการจัดเก็บเอกสารข้อมูลความ
ปลอดภัยไว้ในหนว่ ยงานท่เี กี่ยวข้องและในพน้ื ทีท่ ีต่ อ้ งปฏบิ ัตงิ านกับสารไวไฟและสารตดิ ไฟน้ันๆ


ภาพท่ี ๕๘

การจดั เกบ็ ของเหลวไวไฟภายใน
ตจู้ ดั เก็บทเี่ หมาะสม


ข้อ ๒๖ ผ้ปู ระกอบกิจการโรงงานตอ้ งจดั ใหม้ บี ุคลากรที่ปฏบิ ตั ิงานด้านความปลอดภัยของ

โรงงาน ดำเนนิ การตรวจความปลอดภยั ดา้ นอคั คภี ยั เปน็ ประจำอยา่ งนอ้ ยเดอื นละครงั้

โดยจดั ทำเป็นเอกสารหลักฐานท่ีพนกั งานเจา้ หน้าทีส่ ามารถตรวจสอบได้ หากพบ

สภาพท่ีเป็นอันตรายท่ีอาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข

โดยทนั ที

ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องกำหนดบุคลากรท่ีทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยด้านอัคคีภัย
ในโรงงานใหช้ ดั เจน ซงึ่ ควรมคี วามรแู้ ละความเขา้ ใจในระบบปอ้ งกนั และระงบั อคั คภี ยั เปน็ อยา่ งดี
และควรเป็นผเู้ ขา้ รบั การอบรมตามทีร่ ะบุไวใ้ นหมวด ๗ ของประกาศฉบับน ้ี

การตรวจความปลอดภยั ดา้ นอคั คภี ยั น้ี เปน็ การตรวจสอบสภาพการประกอบกจิ การ พื้นที่
กระบวนการ หรอื กจิ กรรมตา่ งๆ ภายในโรงงานทมี่ คี วามเสยี่ งตอ่ การเกดิ อคั คภี ยั เชน่ ระบบไฟฟา้
พ้ืนที่จัดเก็บวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ สถานท่ีเก็บสารไวไฟ ฯลฯ ว่าอยู่ในสภาพปลอดภัย ไม่มี
โอกาสเกดิ เพลิงไหม้ขน้ึ ได้

๖๕กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ภาพท่ี ๕๙

การตรวจสอบสภาพอปุ กรณไ์ ฟฟา้

ทเ่ี สี่ยงตอ่ การเกิดอัคคีภยั


ภาพที่ ๖๐

การตรวจสอบสภาพวาลว์ และขอ้ ตอ่

ท่อี าจเกดิ การรวั่ ไหล


ขอ้ ๒๗ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน

ประกอบด้วยแผนการตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัย แผนการอบรมเร่ือง

การป้องกันและระงับอัคคีภัย แผนการดับเพลิง และแผนการอพยพหนีไฟ โดยเก็บ

แผนน้ีไว้ท่ีโรงงาน พร้อมให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีตรวจสอบได้และต้องปฏิบัติให้เป็นไป

ตามแผน

การจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานถือเป็นเรื่องสำคัญในการบริหารความ
ปลอดภัยด้านอัคคีภัยและทางโรงงานต้องจัดให้มีการอบรมและฝึกซ้อมตามแผนป้องกันและ
ระงบั อัคคภี ยั อย่างน้อยปีละ ๑ ครง้ั เพอื่ ให้พนกั งานในโรงงานทกุ คนเขา้ ใจและมีความคุ้นเคยกับ
ขั้นตอนภายในแผนย่อยนั้น พร้อมทั้งต้องมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ของการอบรมและฝึกซ้อมไว้
เปน็ หลักฐานและจัดเกบ็ ไว้อย่างดี โดยตัวอยา่ งแบบรายงานการฝกึ ซ้อมต่างๆ อยใู่ นภาคผนวก ข

๖๖ คมู่ อื การปฎบิ ตั งิ านตามประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม
เร่อื ง การป้องกนั และระงับอคั คภี ยั ในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

แผนการป้องกนั และระงบั อคั คภี ยั ตอ้ งประกอบด้วยแผนการย่อยต่างๆ ดังนคี้ ือ

• แผนการตรวจสอบความปลอดภยั ดา้ นอัคคีภัย

• แผนการอบรมเร่อื งการปอ้ งกันและระงับอัคคีภยั

• แผนการดบั เพลงิ

• แผนการอพยพหนไี ฟ

แผนการย่อยต่างๆ ที่ระบุไว้ข้างต้น ต้องมีการปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับสภาพ
โรงงานและการทำงานในพน้ื ทตี่ า่ งๆ รวมทง้ั การจดั เกบ็ วตั ถตุ ดิ ไฟหรอื ไวไฟทที่ างโรงงานมกี ารจดั เกบ็
โดยต้องมีการทบทวนแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานอย่างน้อยปีละคร้ัง และ
แผนการตา่ งๆ เหล่านีต้ ้องมกี ารจัดเกบ็ ไว้ในท่ที ี่สามารถนำมาใชไ้ ด้โดยสะดวก


ข้อ ๒๘ สำหรับโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการก่อนวันท่ีกฎหมายฉบับนี้

มผี ลบงั คบั ใช้ การดำเนนิ การตามหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ และหมวด ๕

ใหด้ ำเนนิ การให้แลว้ เสร็จภายในสามปนี บั จากวันที่ประกาศฉบบั น้มี ผี ลบงั คบั ใช้

ทั้งนี้ ให้ใช้บงั คบั นับแต่วันถัดจากวนั ประกาศราชกิจจานเุ บกษาเป็นต้นไป


ประกาศฉบบั นม้ี ีผลบังคับกบั โรงงานจำพวกท่ี ๒ และจำพวกท่ี ๓ ตามท่ีระบุในหมวด ๑
โดยกำหนดให้โรงงานต้องมีการปรับปรุงหรือเพ่ิมเติมอุปกรณ์หรือการบริหารจัดการหรือระบบ
ต่างๆ ตามท่กี ำหนดไวใ้ นประกาศฉบบั น้ี

ดังนั้น ทุกโรงงานต้องดำเนินการ เรื่องระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ตามหมวด ๒
เรื่องเครอ่ื งดบั เพลิงแบบมอื ถือตามหมวด ๓ เรื่องระบบน้ำดบั เพลิงตามหมวด ๔ และเรอื่ งระบบ
ดบั เพลงิ อตั โนมตั ติ ามหมวด ๕ ใหแ้ ลว้ เสรจ็ ภายในระยะเวลา ๓ ปี นบั แตว่ นั ถดั จากวนั ทป่ี ระกาศ
ฉบบั นป้ี ระกาศในราชกจิ จานเุ บกษา ซง่ึ ไดป้ ระกาศไว้ เมอื่ วนั ที่ ๓๐ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ดงั นนั้
ประกาศฉบบั นี้จะครบ ๓ ปี ในวันท่ี ๑ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๕

กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ภาคผนวก


ภาคผนวก ก
๖๘

ภาคผนวก ข
๗๕

ภาคผนวก ค
๗๘

ภาคผนวก



ตัวอยา่ งแบบรายงาน

การตรวจสอบ การทดสอบและ

การบำรุงรักษาระบบป้องกันและ

ระงบั อคั คภี ยั

๖๙กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

เครือ่ งดบั เพลิงแบบมือถือ


ชอ่ื โรงงาน เอกสารเลขท ี่

ชือ่ พ้นื ท่ี/อาคาร หมายเลขเคร่อื ง


รายการ ผ่าน ไม่ผา่ น หมายเหต


การตรวจสอบ (ทุกเดอื น)

1. ชนดิ ของเครอ่ื งดบั เพลิงตดิ ต้ังถูกต้องตามประเภทเช้อื เพลิง

2. ไม่มีส่งิ กีดขวางเครื่องดบั เพลงิ

3. มองเหน็ ไดโ้ ดยงา่ ย

4. นำมาใช้ได้โดยสะดวก

5. คา่ ความดันท่มี าตรวดั ความดันปกติ (อยู่ในแถบสเี ขียว)

6. สภาพภายนอกเครือ่ งดับเพลงิ ปกต ิ

7. ป้ายบอกวิธีการใช้งานติดอย่ขู ้างถังและสามารถอ่านไดต้ ามปกติ

8. สภาพอุปกรณ์สลกั และสายรดั ยดึ อยปู่ กติ

9. สภาพสายฉีดและหวั ฉีดปกติ

10 ความสูงการตดิ ตั้งปกติ (สูงไมเ่ กิน 1.50 เมตร)

การทดสอบ (ทกุ 5 ป)ี
1. ทดสอบการรับความดัน (Hydrostatic Test) เมื่อมีการใช้งาน

เกิน 5 ปี หรอื ทดสอบตามเกณฑ์ท่ีกำหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA

10 ฉบบั ล่าสุด


ข้อแนะนำเพม่ิ เตมิ


ชื่อผบู้ นั ทึก วนั ท่ี

ชื่อผ้รู ับรอง วันที่

๗๐ คู่มอื การปฎิบัติงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง การปอ้ งกันและระงับอคั คภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

เครือ่ งสบู นำ้ ดับเพลงิ


ชอื่ โรงงาน เอกสารเลขท ่ี

ชอ่ื พ้ืนท่ี/อาคาร หมายเลขเครื่อง


รายการ ผา่ น ไม่ผ่าน หมายเหต

การตรวจสอบ (ทกุ สัปดาห)์
1. สภาพเครื่องสูบนำ้ ดบั เพลงิ

2. สภาพระบบท่อและอุปกรณ์ยดึ ทอ่

3. สภาพห้องและการระบายอากาศภายในหอ้ ง

4. ระดับความดันของแบตเตอรีแ่ ละระดับนำ้ กลนั่ ในช่องแบตเตอร ี่

5. ระดับน้ำหล่อเย็น

6. ระดับน้ำมันหลอ่ ลืน่

7. ระดับน้ำมันเชอื้ เพลงิ (กรณีเครอื่ งยนตด์ เี ซล)

การตรวจสอบ (ทุกเดอื น)
1. ระดับน้ำในถงั น้ำดับเพลงิ ปกต ิ

การตรวจสอบ (ทกุ 6 เดอื น)

2. สภาพถงั นำ้ ดับเพลงิ

การทดสอบ (ทุกสปั ดาห)์

1. การทำงานของเคร่อื งสบู น้ำดบั เพลงิ แบบเครอ่ื งยนต์ดเี ซล

(30 นาท)ี

การทดสอบ (ทกุ เดือน)
1. การทำงานของเครอื่ งสบู น้ำดบั เพลิงแบบมอเตอรไ์ ฟฟ้า (30 นาที)

การทดสอบ (ทุก 1 ป)ี
1. ทดสอบอตั ราการไหลและความดนั ใชง้ านของเครอ่ื งสบู นำ้ ดบั เพลงิ

(อัตราการไหล ............... gpm./ความดัน ................ psi)

การบำรงุ รักษา (ทุก 1 ปี)

1. เปล่ยี นถ่ายนำ้ มนั เครือ่ งยนต์ (กรณเี ครอื่ งยนต์ดเี ซล)


ข้อแนะนำเพิม่ เติม


ชื่อผ้บู นั ทึก วันท
่ี
ชื่อผู้รบั รอง วนั ท่ี

๗๑กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

ระบบหัวกระจายนำ้ ดับเพลงิ อัตโนมัติ


ช่อื โรงงาน เอกสารเลขท ี่

ชอ่ื พ้ืนท/่ี อาคาร หมายเลขเครื่อง


รายการ ผ่าน ไมผ่ ่าน หมายเหต

การตรวจสอบ (ทกุ สัปดาห์)
1. สภาพหัวกระจายน้ำดบั เพลงิ ไม่ผกุ รอ่ น

ไม่ทาสที ับหรือไมช่ ำรุดเสียหาย

2. ตรวจสอบซีลวาลว์ ควบคุม

3. สภาพมาตรวัดความดันปกติ (คา่ ความดัน ................ psi)

4. สภาพท่อนำ้ และอปุ กรณย์ ึดท่อปกติ

5. สภาพวาล์วควบคุมปกติ

6. สภาพอุปกรณ์ส่งสญั ญาณการไหลของนำ้

7. สภาพวาลว์ เตอื นภยั (Alarm Valve) ปกติ

การตรวจสอบ (ทกุ เดอื น)
1. อปุ กรณล์ ็อกวาลว์ ควบคมุ

2. อปุ กรณส์ วิทซส์ ัญญาณปิด-เปดิ วาล์วควบคมุ

การตรวจสอบ (ทุก 1 ป)ี

1. หวั กระจายน้ำดบั เพลิงสำรอง (จำนวน ...................... หัว)

การทดสอบ (ทุก 3 เดือน)

1. สญั ญาณการไหลของน้ำ

2. จดุ ระบายนำ้ หลกั

การทดสอบ (ทกุ 5 ปี)
1. มาตรวดั ความดัน

การทดสอบ (ทกุ 50 ป)ี

1. หัวกระจายนำ้ ดบั เพลิง

การบำรงุ รักษา (ทกุ 1 ป)ี
1. หลอ่ ลื่นวาล์วควบคมุ


ข้อแนะนำเพิม่ เติม


ช่ือผู้บันทึก วนั ที

ชือ่ ผรู้ ับรอง วนั ท
่ี

๗๒ ค่มู ือการปฎบิ ัตงิ านตามประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม
เรอ่ื ง การป้องกันและระงบั อัคคภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

หวั ดับเพลงิ นอกอาคาร/หวั รับนำ้ ดับเพลงิ /สายฉดี น้ำดบั เพลงิ


ชือ่ โรงงาน เอกสารเลขท่ ี

ชือ่ พื้นที/่ อาคาร หมายเลขเครอ่ื ง


รายการ ผา่ น ไม่ผา่ น หมายเหต

การตรวจสอบ (ทกุ เดอื น)
1. สภาพหัวดบั เพลงิ นอกอาคารปกติ (จำนวน ................. หัว)

2. สภาพหวั รบั นำ้ ดบั เพลิงปกติ (จำนวน ............... หัว)

3. สภาพสายฉดี นำ้ ดบั เพลิงปกติ (จำนวน ................. สาย)

4. สภาพตู้เกบ็ สายฉดี น้ำดับเพลงิ ปกติ (จำนวน ................... ตู้)

5. สภาพวาลว์ ควบคมุ ปกติ

6. สภาพอุปกรณ์ส่งสญั ญาณการไหลของนำ้ ปกต ิ

7. สภาพวาล์วเตอื นภยั (Alarm Valve) ปกต ิ

การทดสอบ (ทุก 1 ปี)

1. การเปิด-ปิดหวั ดับเพลิงนอกอาคาร

การบำรงุ รักษา (ทุก 6เดือน)
1. หลอ่ ลืน่ หวั ดบั เพลงิ นอกอาคาร

การบำรงุ รกั ษา (ทุก 1 ป)ี
1. หลอ่ ลื่นวาล์วควบคมุ


ข้อแนะนำเพิม่ เติม


ชอื่ ผู้บนั ทึก วันที

ชอื่ ผู้รบั รอง วันที่

๗๓กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

ระบบสญั ญาณแจ้งเหตเุ พลงิ ไหม้


ช่ือโรงงาน เอกสารเลขท่ี

ช่อื พ้นื ท่/ี อาคาร หมายเลขโซน


รายการ ผ่าน สร ปุ ผไลม ผ่ า่ น
หมายเหต

การตรวจสอบ (ทุกเดอื น)

1. หนา้ ตู้ควบคมุ (Fire Control Panel) แสดงผลปกติ

2. ตแู้ สดงผล (Annunciation Panel) มีสภาพปกติ

3. อปุ กรณต์ รวจจบั เพลงิ ไหม้ (Fire Detectors) ทงั้ หมดอยใู่ นสภาพปกติ

4. อุปกรณ์แจง้ เหตุดว้ ยมอื (Manual Station) ทง้ั หมดอยใู่ นสภาพปกติ

5. อุปกรณเ์ ตอื นภยั (Notification Devices) ท้งั หมดอย่ใู นสภาพปกต

6. อุปกรณเ์ ชือ่ มต่อระบบตา่ งๆ อยใู่ นสภาพปกติ

7. แบตเตอร่มี ีสภาพปกติ

การทดสอบ (ทกุ 6 เดือน)

1. หลอดไฟต่างๆ ทหี่ น้าตคู้ วบคุมและตแู้ สดงผล

2. การคลายประจุและอดั ประจเุ ขา้ แบตเตอร่ี (นานไมน่ อ้ ยกวา่ 30 นาที)

3. การรับสญั ญาณจากระบบดบั เพลิง เช่น ระบบ Sprinkler เปน็ ต้น

การทดสอบ (ทุก 1 ปี)

1. หลอดไฟตา่ งๆ ท่หี น้าตูค้ วบคุมและตแู้ สดงผล

2. อปุ กรณต์ ่างๆ ทั้งหมด ท่ีส่งสัญญาณเขา้ -ออก (ดผู ลในรายงานฯ)

3. ต้แู สดงผลทำงานปกติ

4. แหล่งจา่ ยไฟฉกุ เฉิน ........... นาที (ต้องไมน่ ้อยกว่า 2 ชว่ั โมง)

การทดสอบการสง่ั งานไปยงั ระบบอ่นื ๆ (ทกุ 1 ปี)

1.  ประตหู นีไฟ  ระบบดบั เพลงิ ระบุ ..........................

2.  ระบบปรับอากาศ  ระบบควบคมุ ควนั ไฟ

3.  ประตเู ลอ่ื นทนไฟ (Fire Shutter)  ลิน้ กนั ไฟ (Fire Damper)

4. การสัง่ งานอืน่ ๆ (ระบุ .......................................................................)


ข้อแนะนำเพ่ิมเติม


ชอ่ื ผบู้ นั ทกึ วันท่

ชื่อผรู้ บั รอง วนั ที


๗๔ คมู่ อื การปฎบิ ตั งิ านตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรอ่ื ง การปอ้ งกนั และระงบั อคั คีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

รายงานการทดสอบอปุ กรณ์

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลงิ ไหม


ช่ือโรงงาน เอกสารเลขท ่ี

ชอ่ื พนื้ ท่ี/อาคาร หมายเลขโซน


ล ำดับ หอมปุ ากยรเลณข์ รายชื่ออปุ กรณ ์ สรุปผล หมายเหตุ

ผ่าน ไมผ่ ่าน


ขอ้ แนะนำเพ่มิ เตมิ
วันท่

ชื่อผ้บู นั ทกึ วนั ที

ชื่อผรู้ บั รอง

ภาคผนวก



ตัวอยา่ งแบบรายงาน

การฝึกซอ้ มดบั เพลิงและอพยพ

๗๖ ค่มู ือการปฎบิ ัตงิ านตามประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม
เรอื่ ง การปอ้ งกันและระงับอคั คีภยั ในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

รายงานผลการฝกึ ซ้อมดบั เพลิง


ชือ่ โรงงาน ............................................................................................................................................................................
เลขที่ .......................................... หมู่ท่ี ......................... ซอย ..................................... ถนน .............................................

ตำบล/แขวง ............................... อำเภอ/เขต ............................................................. จงั หวดั ..........................................

โทรศพั ท์ ..................................... โทรสาร ........................................

วนั ที่ฝึกซอ้ มดับเพลิง .................................................... เวลา ............................................

จำนวนผูเ้ ข้าร่วมการฝึกซ้อมดบั เพลิง ............................ผ้ชู าย ................. คน / ผู้หญงิ ...................... คน

(แนบรายช่อื ผู้เข้ารว่ มการฝกึ ซอ้ มดบั เพลิง พรอ้ มระบุหนว่ ยงาน)

ประเภทอปุ กรณ์/ระบบ ทใ่ี ช้ในการฝึกซอ้ มดบั เพลิง (อธบิ ายรายละเอยี ด)

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................

การจำลองสถานการณ์ในการฝกึ ซอ้ มดับเพลิง (อธิบายรายละเอยี ด)

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................

รายช่อื หนว่ ยงานภายนอกที่ร่วมฝึกซอ้ มดบั เพลงิ

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................


ลงชอื่ เจ้าหน้าทค่ี วามปลอดภยั ดา้ น .................................................................. วันที่ ........................................................

ลงช่ือ ผจู้ ดั การโรงงาน …....……………................................................................. วนั ที่ ........................................................

๗๗กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

รายงานผลการฝกึ ซอ้ มอพยพ


ช่อื โรงงาน ............................................................................................................................................................................
เลขที่ .......................................... หมทู่ ี่ ......................... ซอย ..................................... ถนน .............................................

ตำบล/แขวง ............................... อำเภอ/เขต ............................................................. จังหวดั ..........................................

โทรศัพท์ ..................................... โทรสาร ........................................

วนั ท่ฝี กึ ซอ้ มอพยพ .................................................... เวลา ............................................

จำนวนผเู้ ขา้ รว่ มการฝึกซ้อมอพยพ ............................ผู้ชาย ................. คน / ผู้หญงิ ...................... คน

(แนบรายชื่อผู้เข้าร่วมการฝกึ ซอ้ มอพยพ พรอ้ มระบุหนว่ ยงาน)

จำนวนอาคาร ........................... อาคาร (กรณมี ีจำนวนอาคารมากกว่า 6 อาคาร ให้แนบรายละเอียดเพมิ่ เติม)

1) ชื่ออาคาร .............................................................. จำนวนทางออก ..............................................................

2) ชอื่ อาคาร .............................................................. จำนวนทางออก ..............................................................

3) ชอื่ อาคาร .............................................................. จำนวนทางออก ..............................................................

4) ชอื่ อาคาร .............................................................. จำนวนทางออก ..............................................................

5) ชือ่ อาคาร .............................................................. จำนวนทางออก ..............................................................

6) ชอ่ื อาคาร .............................................................. จำนวนทางออก ..............................................................

แนบแผนผังการอพยพ จำนวน ......................... แผ่น (ต้องระบเุ สน้ ทางการหนีไฟตรงตามแผนการอพยพ)

ระบบสญั ญาณแจ้งเหตเุ พลิงไหม้ เริ่มทำงานเวลา ...................... น. และหยุดทำงานเวลา ...................... น.

ระยะเวลาในการอพยพ ......................... นาที (ตอ้ งไมเ่ กิน 5 นาท)ี

การจำลองสถานการณใ์ นการฝกึ ซ้อมอพยพ (อธบิ ายรายละเอยี ด)

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

รายชือ่ หน่วยงานภายนอกทรี่ ว่ มฝกึ ซอ้ มอพยพ

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................................


ลงชอื่ เจา้ หนา้ ทคี่ วามปลอดภยั ด้าน .................................................................. วนั ที่ ........................................................

ลงชอื่ ผ้จู ัดการโรงงาน……………………................................................................. วนั ท่ี ........................................................

ภาคผนวก



ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

เรือ่ ง การปอ้ งกนั และระงับ

อคั คีภัยโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

๗๙กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

๘๐ คู่มอื การปฎบิ ตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การป้องกนั และระงบั อัคคภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

๘๑กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

๘๒ คู่มอื การปฎบิ ตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การป้องกนั และระงบั อัคคภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

๘๓กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

๘๔ คู่มอื การปฎบิ ตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การป้องกนั และระงบั อัคคภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

๘๕กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

๘๖ คู่มอื การปฎบิ ตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การป้องกนั และระงบั อัคคภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

๘๗กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

๘๘ คู่มอื การปฎบิ ตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การป้องกนั และระงบั อัคคภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

๘๙กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

๙๐ คู่มอื การปฎบิ ตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การป้องกนั และระงบั อัคคภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

๙๑กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

๙๒ คู่มอื การปฎบิ ตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การป้องกนั และระงบั อัคคภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

๙๓กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

๙๔ คู่มอื การปฎบิ ตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การป้องกนั และระงบั อัคคภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

๙๕กรมโรงงานอตุ สาหกรรม กระทรวงอตุ สาหกรรม

๙๖ คู่มอื การปฎบิ ตั ิงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เร่ือง การป้องกนั และระงบั อัคคภี ัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒




Click to View FlipBook Version