The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อทร.๒๐๐๔ คู่มือการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by runn0248, 2022-06-28 01:15:23

อทร.๒๐๐๔ คู่มือการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ

อทร.๒๐๐๔ คู่มือการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ

Keywords: อทร.๒๐๐๔ คู่มือการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ

สารบัญ หนา

บทท่ี ๑

๑. กลา วท่ัวไป ๓
ตอนท่ี ๑. กลาวนํา ๔
ตอนที่ ๒. สาเหตุของการประทุษราย ๗
ตอนท่ี ๓. ความรับผิดชอบของสว นราชการ ๗
ตอนที่ ๔. แนวทางการประสานการปฏบิ ตั ิในการรักษาความปลอดภยั บุคคลสาํ คัญ ๑๑
๑๕
๒. หลกั การรักษาความปลอดภยั บุคคลสาํ คญั ๑๙
ตอนที่ ๑. มาตรการรักษาความปลอดภยั บุคคลสาํ คญั ๑๙
ตอนที่ ๒. การจดั และโครงสรา งของชุดปฏบิ ตั กิ ารรกั ษาความปลอดภัย ๒๑
ตอนที่ ๓. การวางแผนการปฏบิ ตั ิการรกั ษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ ๓๙
๔๓
๓. การรกั ษาความปลอดภยั บุคคลสําคญั ตามสถานทต่ี าง ๆ ๔๕
ตอนที่ ๑. กรรมวธิ ีดาํ เนนิ การของผปู ระทุษรา ย ๕๕
ตอนท่ี ๒. การรกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสาํ คญั ทางบก ๕๕
ตอนท่ี ๓. การรกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสําคัญทางน้าํ ๕๖
ตอนที่ ๔. การรักษาความปลอดภยั บคุ คลสําคัญทางอากาศ ๔๗
ตอนท่ี ๕. การรกั ษาความปลอดภัยบคุ คลสาํ คญั ในโอกาสอน่ื ๆ ๖๐
๖๒
๔. การสํารวจลว งหนา และการตรวจคน
ตอนท่ี ๑. การสาํ รวจลว งหนา ๖๓
ตอนที่ ๒. การสาํ รวจสถานท่ขี ัน้ ตน
ตอนที่ ๓. การตรวจคน ๖๕
ตอนท่ี ๔. เทคนคิ ในการตรวจคน

ผนวก ก. ระเบยี บสาํ นกั นายกรัฐมนตรี วา ดว ยการรกั ษาความปลอดภยั แหง ชาติ
พ.ศ.๒๕๑๗

ผนวก ก. ระเบยี บสาํ นกั นายกรัฐมนตรี วา ดว ยการรกั ษาความปลอดภยั สําหรบั องค
พระมหากษัตริย พระราชินี พระรัชทายาท ผูส ําเร็จราชการแทนพระองค
พระบรมวงศานวุ งศ ผแู ทนพระองค และพระราชอาคนั ตุกะ พ.ศ.๒๕๒๑

ผนวก ก. ระเบียบกระทรวงกลาโหม วา ดวยการรกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสําคญั
ทางทหาร พ.ศ.๒๕๒๙

บทที่ ๑
กลาวทัว่ ไป

ตอนที่ ๑ กลาวนาํ
ในปจจุบันการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ ยังมีปญหาตองปรับปรุงแกไขการปฏิบัติตาง ๆ

อีกหลายประการ เพราะงานดานน้ีมีความสําคัญมากข้ึนตามลําดับ และเขาไปมีสวนเก่ียวของกับงานดาน
การรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ อีกดวย ดังน้ันหากภารกิจการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ ขาดการ
สนับสนุนและการเอาใจใสใหมีประสิทธิภาพแลวยอมไมสามารถปกปองหรือตอตานการกระทําของฝาย
ตรงขามได จากเหตุการณท ผ่ี า นมาปรากฏวา การประทษุ รายบุคคลสําคัญท่ีประสบผลสําเร็จ สาเหตุเพราะ
ความประมาทที่เกิดข้ึนในการรกั ษาความปลอดภัยบคุ คลสําคญั ซ่งึ เปน การเปดประตูแหงความหายนะไปสู
บุคคลสําคัญทั้งส้ิน จึงจําเปนอยางยิ่งที่เจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญจะตองศึกษารายละเอียด
จากบทเรียนทเ่ี กิดข้นึ เพื่อเปน แนวทางในการพัฒนามาตรการในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญใหมี
ประสิทธิภาพมากยง่ิ ขน้ึ

ความมุงหมายในการรกั ษาความปลอดภัยบคุ คลสําคัญ ก็เพอ่ื กําหนดแนวทางในการประสานงาน
และการปฏบิ ตั ขิ องสว นราชการทเี่ ก่ยี วของ ในการดาํ เนนิ การใหม ปี ระสทิ ธภิ าพ และเปนมาตรฐานเดยี วกัน
ประเภทบคุ คลสําคญั

บุคคลสําคัญตามคูมือนี้ คือ บุคคลที่มีความสําคัญยิ่งในทางราชการ ซึ่งตองใหความคุมครองให
เหมาะสมกับฐานะ สถานที่ และ เวลา อันไดแ ก

๑. พระมหากษัตรยิ  พระราชนิ ี พระรชั ทายาท ผสู ําเร็จราชการแทนพระองค พระบรมวงศานุวงศ
ผูแทนพระองค และ พระราชอาคันตกุ ะ

๒. ประธานองคมนตรี นายกรฐั มนตรี ประธานรัฐสภา และ ประธานศาลฎีกา
๓. สมเด็จพระสงั ฆราช และ ผนู าํ ทางศาสนาอน่ื
๔. ประมุขรัฐตางประเทศ ผูนํารัฐบาลตางประเทศ เลขาธิการองคการสหประชาชาติ แขกของ
รัฐบาล และ หัวหนาคณะทตู ตา งประเทศประจําประเทศไทย
๕. บคุ คลสําคัญทางทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกําหนด
๖. บคุ คลอนื่ ท่เี ดนิ ทางเยือนประเทศไทย และหวั หนาสวนราชการทเ่ี กีย่ วของรอ งขอ
๗. บคุ คลสําคัญตามคาํ สง่ั ของนายกรัฐมนตรี

ตอนท่ี ๒ สาเหตขุ องการประทุษราย (Causes of Assassination)
๑. สาเหตทุ างการเมอื ง (Political Causes)
๑.๑ เกิดจากกลุมคนที่คลั่งอุดมการณ มีความตองการท่ีจะเปล่ียนแปลงการปกครองใหมหรือ

เปลย่ี นรัฐบาลใหม กลุมคนเหลา นมี้ กั จะใชว ิธีการประทุษราย เพอ่ื ใหบ รรลเุ ปา หมายทต่ี องการ



๑.๒ บคุ คลสําคญั ท่ีเปรียบเสมือนตัวแทนของรัฐบาล มักจะตกเปนเปาหมายของผูประทุษราย
เพราะเช่ือวาเปนสาเหตขุ องการบบี ค้นั การกดข่ีตาง ๆ

๑.๓ ผูประทุษรายที่หวังจะลมลางรัฐบาลท่ีมีอยู เพ่ือจัดต้ังรัฐบาลใหมขึ้นก็มักจะเปนสาเหตุ
หน่ึงทท่ี ําใหเกิดการประทุษรายขน้ึ เปนสวนใหญ

ตัวอยาง : การลอบสังหารประธานาธิบดี Augusto Pinochet แหงประเทศชิลี เม่ือวันที่
๗ กันยายน ๑๙๘๖ ในขณะที่กําลังเตรียมตัวจะกลาวคําปราศรัย ในการหาเสียงสําหรับการเลือกตั้ง
ประธานาธบิ ดีครัง้ ตอ ไป

: การลอบสังหารประธานาธิบดี Ranasighe Premadasa แหง ประเทสศรีลังกา เม่ือ
วันที่ ๑ พฤษภาคม ๑๙๙๓ โดยผทู ที่ ําการสงั หารไดนาํ ระเบดิ ตดิ ตัวไว และไดระเบดิ ขึ้น มผี ูเสยี ชีวิต ๒๓ คน
บาดเจ็บ ๒๖ คน (สว นมากเปน เจาหนา ที่รักษาความปลอดภัยของประธานาธบิ ดที เ่ี สียชีวิต)

๒. สาเหตุในทางเศรษฐกิจ (Economics Causes) ในกรณีท่ีฝายตรงขามมีความคิดวาบุคคลที่
เปนเปาหมายอของตน เปนสาเหตุของสภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ํา ทําใหเกิดผลกระทบตอประเทศชาติ ตอ
กลุมคนใดกลุมคนหนึ่ง

ตัวอยาง : ความพยายามลอบสังหารอดีตรัฐมนตรีตางประเทศ George Shultz เม่ือวันที่
๘ สิงหาคม ๑๙๘๘ ในโบลเิ วีย เนอื่ งจากแผนการในการกาํ จัดยาเสพติดของรฐั มนตรผี นู ี้

๓. สาเหตุทางดา นอดุ มการณ (Ideological Causes)
๓.๑ สาเหตุอันเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนา หรือสังคมฝายตรงขามคิดวาถาตนเอง

สามารถเปล่ียระบบที่มีอยูขณะนั้นได โดยการประทุษรายบุคคลสําคัญทางศาสนา จะทําใหมีการ
เปลยี่ นแปลงทางศาสนาได

๓.๒ การพิพาทระหวางกลุมเช้ือชาติ และเผาพันธุ ก็อาจเปนตนเหตุของการประทุษรายได
เนอ่ื งจากการตอ สกู ันระหวางกลมุ เพื่อแยงชิงอาํ นาจกนั

ตัวอยาง : ประธานาธิบดี อันวา ซาดัด ถูกลอบสังหาร เพราะการโคนกลุมชาวอิสลามหัว
รุนแรงในอียปิ ต เมือ่ ๖ ตุลาคม ๑๙๘๑ ขณะชมพธิ สี วนสนามเพอ่ื แสดงแสนยานุภาพ เนอื งในวนั ครบรอบ
๘ ป ของ “The crossing”

๔. สาเหตุทางดานจิตวิทยา (Psychological Causes) คือ บุคคลที่ไมสมประกอบ สติฟนเฟอน
การขาดความมั่นคงทางอารมณ หรืออยากเปนผูที่มีชื่อเสียงโดงดัง เปนสาเหตุที่ทําใหเกิดการลอบสังหาร
เกดิ ขึน้

ตวั อยา ง : การพยายามลอบสงั หารประธานธิบดี Ronald Reagan โดยนาย John Hinkley Jr.
ตวั อยาง : การลอบสงั หารประธานธบิ ดี John F Kennedy โดยนาย Lee Harvey Oswald



๕. สาเหตุทางดานสวนตัว (Personal Causes) เปนความเกลียดชังกันเปนการสวนตัว อาจเกิด
จากความริษยา หรือความโกรธแคน เปนการสว นตัว

ตัวอยาง : การลอบสังหาร นายยิตซฮัก ราบิน นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล โดย นาย ยิกัล
อามรี  เพอื่ หยดุ ย้ังขบวนการสนั ติภาพตะวันออกกลาง

๖. สาเหตุจากการไดรับจาง (Mercenary Causes) เปนการกระทําการประทุษรายบุคคลสําคัญ
เพื่อใหไ ดมาซ่งึ เงิน

ตัวอยาง : การพยายามลอบสังหาร นาย Benito Mussolini ผูลอบสังหารไดถูกวาจางดวยเงิน
๕๐,๐๐๐ เหรยี ญสหรฐั โดยลัทธิชาตนิ ิยมของรัฐบาลในอติ าลี ซง่ึ เขาสามารถสงั หารไดส ําเร็จ

๗. สาเหตุจากการถูกบังคับขูเข็ญ (Black Mail Causes) ดวยวิธีใดก็ตามท่ีบุคคลผูน้ันจําเปนท่ี
จะตอ งปฏิบตั ติ าม

ตอนที่ ๓ ความรับผิดชอบของสว นราชการ
๑. สวนราชการเจาของเรื่อง รับผิดชอบจัดใหมีการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ ภายใน

ขอบเขตและความเหมาะสม โดยดําเนนิ การดังนี้
๑.๑ ขอรับการสนับสนนุ การรกั ษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ ตอ สวนราชการที่มีหนาท่ีใน

การรกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสาํ คัญ
๑.๑.๑ สํานักงานตาํ รวจสันตบิ าล สาํ นกั งานตาํ รวจแหงชาติ
๑.๑.๒ กรมราชองครกั ษ
๑.๑.๓ ศนู ยรักษาความปลอดภยั กองบัญชาการทหารสูงสุด
๑.๑.๔ สาํ นกั ขา วกรองแหงชาติ
๑.๑.๕ สว นราชการท่กี ระทรวงกลาโหมกาํ หนด

๑.๒ จัดเจา หนา ท่ปี ระสานงานการรกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสําคญั
๑.๓ จัดเตรียมงบประมาณเพ่ือสนับสนุนการปฏิบัตงิ านของสวนราชการท่เี กี่ยวขอ ง
๑.๔ ขอความรว มมอื จากบุคคลสาํ คญั เกี่ยวกับขาวสารและการปฏิบัติที่เปนประโยชนตอการ
รกั ษาความปลอดภยั
๑.๕ ใหก ารสนบั สนนุ อืน่ ๆ ท่จี าํ เปน เมอ่ื ไดร บั การรอ งขอ
๒. สวนราชการมีหนาทีใ่ นการรกั ษาความปลอดภยั บุคคลสําคญั รับผดิ ชอบดาํ เนินการ ดังนี้
๒.๑ รวบรวม และ วิเคราะหขาวสารท่ีอาจมีผลกระทบกระเทือนตอการรักษาความปลอดภัย
บุคคลสําคัญ โดยประสานงานกับสวนราชการที่เก่ียวของในดานการขาวกรองที่จําเปน เพื่อประเมิน
ภยันตรายทอี่ าจเกิดขึน้



๒.๒ จัดทําแผน และกําหนดมาตรการ ในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญตามความ
เหมาะสม

๒.๓ จัดเจาหนาที่ชุดอารักขา อาวุธ ยานพาหนะ และส่ิงอุปกรณที่ใชในการรักษาความ
ปลอดภัยบคุ คลสําคัญตามความเหมาะสม

๓. สวนราชการเจาของพื้นท่ี ซึ่งใหการตอนรับบุคคลสําคัญรับผิดชอบ ดําเนินการรักษาความ
ปลอดภยั ในเขตพื้นทีท่ รี่ บั ผิดชอบ

๔. ใหองคการรักษาความปลอดภัย ชวยเหลือ ประสาน และอบรมช้ีแจง เก่ียวกับมาตรการใน
การรกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสาํ คญั แกส ว นราชการตามทไี่ ดรบั การรอ งขอ

ตอนที่ ๔ แนวทางการประสานการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภยั บคุ คลสาํ คัญ
๑. การรกั ษาความปลอดภัยพระมหากษัตรยิ  ใหใชระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี วาดวยการรักษา

ความปลอดภัยสําหรับองคพระมหากษัตริย พระราชินี พระรัชทายาท ผูสําเร็จราชการแทนพระองค
พระบรมวงศานวุ งศ ผแู ทนพระองค และพระราชอาคันตกุ ะ พ.ศ.๒๕๓๑

๒. การประสานงานระหวางสวนราชการในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ ตองใหมี
เอกภาพในการบงั คบั บัญชา โดยยึดหลักปฏบิ ตั ิ ดังนี้

๒.๑ ในกรณที ม่ี ีหลายสวนราชการ ท่มี หี นาทใ่ี นการรกั ษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญรวมกัน
ใหจัดต้ังกองอํานวยการรวมในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ โดยใหผูอํานวยการรวมเปนผู
รับผดิ ชอบ มีอาํ นาจหนา ท่ีบงั คับบัญชาในการรกั ษาความปลอดภัยบุคคลสําคญั

๒.๒ ในระหวางการปฏบิ ตั กิ ารรกั ษาความปลอดภยั บุคคลสาํ คัญ หากมีเหตกุ ารณฉุกเฉนิ ซง่ึ
อาจกระทบตอบุคคลสําคัญโดยฉับพลัน ใหหัวหนาชุดอารักขาบุคคลสําคัญน้ันมีอํานาจส่ังการในการ
ปฏิบตั ิเพอ่ื แกไขสถานการณเ ฉพาะสวนน้ันไดทนั ที

๒.๓ สวนราชการเจาของพ้ืนท่ี ซึ่งใหการตอนรับบุคคลสําคัญ ประสานการปฏิบัติกับกอง
อาํ นวยการรว มอยางใกลช ดิ

๓. ใหสวนราชการที่เก่ียวของในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ จัดทํารายงานการปฏิบัติ
เม่อื เสรจ็ ส้นิ การปฏิบตั ิ (ตามแบบรายงาน)



แบบรายงานการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ

สว นราชการ…………………………………
วนั ท…ี่ …………………………………………………

เร่ือง ………………………………………………………………………………………………………
อางถึง ………………………………………………………………………………………………………
ภารกิจ ……………………………………………………………………………………………………….
ผปู ฏิบัติ ……………………………………………………………………………………………………..
๑. ขอ มูลท่วั ไป

๑.๑ พื้นท่ปี ฏิบตั ิ ………………………………………………………………………………………..
๑.๒ วนั เดือน ป ทปี่ ฏิบตั ิ/เวลาปฏบิ ัติ………………………………………………………………….
๑.๓ สภาพดนิ ฟาอากาศ………………………………………………………………………………...

…………………………………………………………………………………………………….
๑.๔ ขา วสารทไ่ี ดรบั กอ นการปฏบิ ตั ิ …………………………………………………………………..
๑.๕ หนว ยรว มปฏิบัติ ………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
๑.๖ ฝายตรงขาม … ………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
๑.๗ การติดตอ สอื่ สาร ……………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
๑.๘ ยานพาหนะ ….. ………………………………………………………………………………….
๑.๙ ขาวสารทไ่ี ดร บั ขณะปฏบิ ัติการ ………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
๒. วธิ กี ารปฏิบตั ิ
๒.๑ การตรวจสอบยานพาหนะของบคุ คลสาํ คญั และคณะ …………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………….
๒.๒ การตรวจสอบสถานท่ีพาํ นกั ของบุคคลสําคัญ ………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….



๒.๓ ผลการตรวจสอบบคุ คลที่เขาพลและมอบสิง่ ของหรือของขวัญท่ีจะมอบใหบ คุ คลสาํ คัญ ………
…………………………………………………………………………………………………….
๒.๔ การตรวจสอบสถานทที่ ีบ่ คุ คลสําคญั จะไปเย่ียมชม …………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
๒.๕ การสํารวจเสน ทางทใี่ ชใ นการเดินทางของบคุ คลสําคญั … …………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
๒.๖ การสงั เกตการณความเคลอื่ นไหวของบคุ คลในพ้นื ท่ี ขณะทีบ่ คุ คลสาํ คัญอยูในสถานที่พาํ นกั และ

เยย่ี มชม………………………………………..………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
๒.๗ การปฏิบัติการของชดุ อารกั ขาบคุ คลสําคัญ …. .………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
๓. ผลการปฏิบัติ ……………………………………………..…………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
๔. อุปสรรค/ขอขดั ของ….……………………………………..…………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
๕. ขอพจิ ารณา/เสนอแนะ……………………………………..…………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….

ลงชือ่ ……………………………..
ยศ ชือ่ (ตัวบรรจง) ………………………………….

ผูจัดทาํ รายงาน

บทท่ี ๒
หลกั การรกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสาํ คัญ

ตอนท่ี ๑ มาตรการรกั ษาความปลอดภัย
๑. กลา วนํา
การรกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสาํ คัญนัน้ ไมม ีมาตรการใดใดทจ่ี ะดําเนนิ การระวงั ปอ งกนั มิให

บุคคลสําคัญถูกลอบประทุษราย หรือประสบอุบัติเหตุไดอยางสมบูรณรอยเปอรเซ็นต เพียงแตลดโอกาส
ในการทฝี่ า ยตรงขามจะลอบเขาทํารายบุคคลสาํ คญั เทาน้ัน บางคร้ังอาจตองดําเนินการรักษาความปลอดภัย
ในทางลับในลักษณะมิใหบุคคลสําคัญรูตัว ซึ่งหากจําเปนก็ตองกระทํา ทั้งนี้การปฏิบัติตองถือหลักการ
รกั ษาความปลอดภัยไวตลอดเวลา สําหรับมาตรการระวังปองกันน้ัน สามารถออนตัวและเปลี่ยนแปลงได
ตามสถานการณ

๒. องคประกอบในการรักษาความปลอดภยั บคุ คลสําคัญใหเ กดิ ประสทิ ธภิ าพ
๒.๑ วางมาตรการปองกันตาง ๆ รอบตัวบุคคลสําคัญใหรัดกุม ลดชองวางท่ีคนรายสามารถ

เขา ทาํ รายบุคคลสาํ คญั ใหม ากที่สุด
๒.๒ รวบรวมขาวสารท่ีมีผลกระทบกระเทือนตอบุคคลสําคัญใหมากที่สุด ท้ังท่ัวไปและใน

พน้ื ท่ที ่ีบคุ คลสําคญั จะไปเยี่ยมเยอื น เพอ่ื นํามาประเมินคาของขาวสารอันจะชวยใหการรักษาความปลอดภัย
บคุ คลสาํ คัญไดผ ลดีทสี่ ดุ

๒.๓ ตองมีการวางแผนสํารวจลวงหนา เพื่อทราบขอมูลสถานการณดานการขาว สถานที่ที่
บุคคลสําคัญจะไป เสนทาง ยานพานหะ การติดตอส่ือสาร ตลอดจนการประสานงานกับสวนราชการที่
เก่ยี วขอ ง เพ่อื นําขอมูลมาวางแผนการรักษาความปลอดภัยใหรัดกุม โดยในการสํารวจเสนทางก็เพ่ือจะหา
ขอ มูลและรายละเอียดเพม่ิ เตมิ ดังนี้

๒.๓.๑ พยายามหาเสนทางระหวา งทพี่ กั และท่ที าํ งาน รวมทั้งสถานท่ที ี่บุคคลสาํ คญั ไป
ประจําไวใ หไ ดห ลาย ๆ เสน ทาง

๒.๓.๒ ลดจุดคับขันหรอื พื้นทที่ ี่เหมาะแกการโจมตีใหม นี อ ยทสี่ ดุ ในเสน ทางนัน้
๒.๓.๓ ตรวจสอบสถานท่ีปลอดภัย (Save House) หรือโรงพยาบาลท่ีใกลท่ีสุด หา
เสนทางท่ดี ีท่สี ดุ ท่ีสามารถไปสถานท่แี หง น้นั
๒.๓.๔ จะตอ งคุนเคยกบั เสนทางท่ใี ชเ พอื่ สงั เกตสุ ่งิ ผิดปกตไิ ดใ นเสนทางนนั้
๒.๔ ใชเจาหนาท่ีตํารวจใหเกิดประโยชนสูงสุด เพราะมีอํานาจหนาท่ีตามกฎหมายในการ
จบั กมุ ตรวจคน หรือกักกนั บคุ คลทีไ่ มน า ไวว างใจ
๒.๕ วางแผนการใชข บวนยานพาหนะของบุคคลสําคัญในพ้ืนที่ตาง ๆ การนําพาบุคคลสําคัญ
ออกจากพนื้ ท่อี นั ตรายอยางรวดเร็ว เพ่ือใหพ น อันตรายที่จะเกดิ ขน้ึ



๒.๖ การไดรับความรวมมือจากบุคคลสําคัญ จะชวยใหมาตรการรักษาความปลอดภัย
เปนไปอยางมปี ระสทิ ธิภาพ ฉะนนั้ ควรจะดําเนินการ

๒.๖.๑ ปรึกษากับบุคคลสําคัญ เพ่ือขอความเห็นชอบในการคุมกัน โดยอธิบายถึง
ความจาํ เปน ในการรกั ษาความปลอดภยั ใหบคุ คลสําคัญทราบ

๒.๖.๒ หาขาวเพิ่มเติมถึงภยันตรายท่ีอาจจะเกิดขึ้นกับบุคคลสําคัญ นอกเหนือจากที่
ทราบมากอน

๒.๖.๓ หาขอมูลเก่ียวกับส่ิงที่บุคคลสําคัญชอบและไมชอบ การแพอากาศ อาหาร
ทะเล บุหรี่ หรือส่ิงอนื่ ๆ รวมท้ังการดาํ เนินกจิ วัตรประจาํ วนั

๒.๖.๔ มีประวตั กิ ารรักษาทางการแพทย กลมุ เลือด ของบคุ คลสําคญั
๒.๖.๕ ขออนมุ ตั ิตรวจสอบเกยี่ วกับสถานท่ีพกั สถานทท่ี าํ งาน ของบุคคลสําคัญ
๒.๖.๖ มกี ําหนดการของบคุ คลสําคญั โดยขอทราบไวลว งหนา เทาทจ่ี ะทําได
๓. แบบในการจดั และการวางกําลงั
๓.๑ การจัดกําลัง เจา หนาท่ีรักษาความปลอดภยั จะจดั กาํ ลังออกเปน ๓ รูปแบบ คือ
๓.๑.๑ แบบเปดเผย เปนการแสดงตัววา เปนเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยบุคคล
สาํ คญั เพื่อใหฝา ยตรงขามไดท ราบ เปน การปอ งกันปรามการลอบทํารายตอบคุ คลสําคญั มกั แตงเครื่องแบบ
และมอี าวธุ ประจาํ กายแสดงตนวาเปน เจา หนาที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสาํ คญั อยางใกลชิด
๓.๑.๒ แบบปกปด จะไมเปดเผยแสดงตัวใหบุคคลท่ัวไปทราบ โดยแตงกายคลาย
ประชาชนทั่วไป ใหกลมกลืนกับส่ิงแวดลอมของสถานท่ีนั้น ๆ มักใชปฏิบัติในการหาขาว ดูแลความ
เคลอื่ นไหวของกลมุ ชนหรือบุคคลนาสงสัย สวนหน่ึงจะปะปนกับฝูงชน อีกสวนหน่ึงจะใกลบุคคลสําคัญ
พรอ มท่ีจะเขา ขัดขวางยับย้ัง และปอ งกันเหตุรายทเี่ กดิ ขึน้
๓.๑.๓ แบบผสม เปนการจัดกําลังโดยใชเจาหนาที่รักษาความปลอดภัยท้ัง ๒ รูปแบบ
มาปฏิบัติงานรว มกันในลกั ษณะผสมผสาน ในสวนการจัดกําลังจะใชเจาหนาที่แตละแบบมากนอยเพียงใด
ขึ้นกบั สถานการณแ ละการขาวที่ไดร บั
๓.๒ การวางกําลัง จะตองวางกําลังเปนวงรอบอยางนอย ๓ วงรอบดวยกัน เพ่ือเปน
เครื่องชว ยในการตรวจสอบบุคคลกอนที่ะจผานไปถึงตัวบุคคลสําคัญ ซง่ึ แบงออกได ดังน้ี
๓.๒.๑ วงรอบชั้นใน เปนการจัดวางกําลังเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยที่อยูใกลชิด
บุคคลสําคัญมากที่สุด ท่ีสามารถจะปองกันและแกไขสถานการณที่เกิดขึ้นกับบุคคลสําคัญได
ทนั ทวงที
๓.๒.๒ วงรอบช้ันกลาง หมายถึง วงรอบท่ีลอมรอบวงรอบช้ันใน เชน บริเวณ
โดยรอบพิธีหรือรอบอาคารบานพัก ซึ่งอาจจะเปนยามรักษาการณ ยามชองทางเขาออก ชุดลวงหนา ชุด
ตรวจคน วัตถุระเบดิ หรอื อาจจะเปนเจาหนาทีท่ าํ งานในลกั ษณะปกปด



๓.๒.๓ วงรอบชนั้ นอก เปน พ้ืนท่ที ี่หา งไกลจากบุคคลสําคญั เจาหนาท่วี งรอบน้ี ไดแก
สายตรวจเดินเทา รถตรวจการณ ชุดรักษาความปลอดภัยท่ีวางไวตามจุดรอบนอก เชน พื้นที่สูงขม พ้ืนท่ี
ลบั ตา ท่ีสามารถใชกระสนุ วถิ โี คง ได

๓.๓ การกําหนดวงรอบ ชุดปฏิบตั ิการสาํ รวจลว งหนา จําเปน ผกู าํ หนดวงรอบตา ง ๆ ขน้ึ
ในแตล ะพน้ื ท่ี โดยอาศยั ปจจยั ตา ง ๆ ดังน้ี

๓.๓.๑ จํานวนกําลังพลที่มีอยูรวมท้ังเจาหนาที่ตํารวจ และ เจาหนาที่รักษาความ
ปลอดภัยในพน้ื ท่ี

๓.๓.๒ ระดบั การคุกคามของบคุ คลสาํ คญั
๓.๓.๓ จํานวนฝูงชนท่ีรวมชมุ นมุ ในพนื้ ทีน่ น้ั
๓.๓.๔ ขอ พิจารณาดานการทตู ในกรณีท่เี นนกจิ กรรมทางการทูตหรอื บรเิ วณสถานทตู
๔. การควบคมุ บุคคลและสิ่งของทจี่ ะเขาถึงตวั บุคคลสําคญั
๔.๑ บุคคล ผูที่เขาพบปะปนเย่ียมเยียนจะตองมีการตรวจสอบ และอยูในความควบคุม
ของเจา หนา ท่รี ักษาความปลอดภยั ตลอดเวลา โดยดําเนนิ การตามความจําเปน ดงั นี้
๔.๑.๑ การขอดูบัตรประจาํ ตวั การแลกเปล่ยี นบัตร
๔.๑.๒ แจงกาํ หนดการการเขา พบลว งหนา พรอมรายชื่อ เพอ่ื ทําการตรวจสอบ
๔.๑.๓ ผา นการตรวจคน ดว ยเครอ่ื งมือตรวจคน หรอื การสัมผสั ดวยมือ
๔.๒ ส่ิงของ ที่สงมาใหบุคคลสําคัญ จะตองผานการตรวจสอบโดยเจาหนาที่ทางเทคนิค
กอนเสมอ อยาปลอยใหบุคคลสําคัญเปดหีบหอดวยตนเอง การตรวจอาจใชเครื่องมือเอ็กซเรย
เครอ่ื งตรวจวัตถุระเบิด สาํ หรบั สง่ิ ของประเภทอาหาร จะตองตรวจสอบวาไมมียาพิษเจือปน บุหร่ี สุรา ที่
บุคคลสาํ คัญชอบตอ งตรวจสอบเปนพเิ ศษ
๔.๓ การจัดทําระบบปายแสดงตน
เปนเร่ืองจําเปนท่ีสําคัญที่สุดสําหรับเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยที่จะตองทราบวา
บุคคลใดสามารถเขาถึงตัวบุคคลได ในการปฏิบัติภารกิจการรักษาความปลอดภัยนั้น เราจะจัดทําบัตร
เครื่องหมายบอกฝายหรือบัตรแสดงตน เพื่อจะเขาไปในพื้นที่น้ัน ๆ โดยมีการควบคุมและแจกจาย โดย
เจา หนาท่ีรักษาความปลอดภัยดังนี้
๔.๓.๑ บัตรประจําตัวแบบถาวร เปนบัตรมีรูปถายใชติดหนาอกเส้ือ อาจจะใชเฉพาะ
เจาหนาท่ีรักษาความปลอดภยั หรอื เจาหนาท่ีท่ีทาํ งานระดับใกลชดิ บุคคลสําคญั
๔.๓.๒ บัตรแบบช่ัวคราว เข็มกลัด หรือบัตรสี ซ่ึงจะใชแยกประเภทระดับเจาหนาท่ี
ตามความจําเปน ทเี่ ห็นวา เหมาะสม

๑๐

๕. วินัยในการรกั ษาความลับและการลวง
เปนหลักที่เจาหนาที่รักษาความปลอดภัยจะตองยึดถือและปฏิบัติ คือ จะไมนํารายละเอียด

เก่ียวกับกําหนดการตาง ๆ ของบุคคลสําคัญ ตลอดจนการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับบุคคลสําคัญไปเปดเผยให
ผูอน่ื ทราบ เอกสารจะตองเก็บไวในท่ีปลอดภยั เสมอ ในบางสถานการณอ าจใชการลวง เพื่อใหฝายตรงขาม
เขา ใจผดิ เชน การออกขาวลวง การปลอมตวั หรือการลวงเกี่ยวกับขบวนรถ

๖. การรวบรวมขาวสารทม่ี ีผลกระทบกระเทือนตอ บุคคลสําคัญ
ตองมีการวางแผนในการหาขาว และรวบรวมขาวสารจากหนวยตาง ๆ อันมีผลกระทบตอ

บุคคลสําคัญอยูตลอดเวลา เชน บุคคลท่ีนาจะเปนผูลอบทํารายบุคคลสําคัญ บุคคลผูตอตานหรือหัวหนา
กลุมปลกุ ระดม ในทุกพ้ืนทีท่ ีบ่ ุคคลสาํ คัญจะไปปรากฏตวั

๗. การเสนอแนะไมใ หบคุ คลสาํ คญั เสีย่ งอนั ตราย
เจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัย จะตองหมั่นตรวจเสนอแนะใหบุคคลสําคัญ มิใหกระทําการ

ใด ๆ ท่ีเสี่ยงอันตรายเสมอ เชน บางโอกาสอาจจะเสนอใหใชเส้ือเกราะออน การเปลี่ยนยานพาหนะท่ีใช
ประจํา หรือการมใิ หใชย านพาหนะทีพ่ จิ ารณาแลว นา จะไมป ลอดภัย มาตรการน้ีขึน้ อยูกับประสิทธภิ าพใน
ดา นการขา ว

๘. การทําพ้นื ที่ใหเกิดความปลอดภยั
มาตรการนม้ี ไิ ดเ นนการปฏบิ ัติเฉพาะอาคารสถานท่หี รอื บรเิ วณทบ่ี คุ คลสําคัญจะไปปรากฏตัว

แตใหหมายถงึ การควบคมุ การกักกัน หรือการจํากัดเขตบุคคลที่นาจะเปนอันตรายตอบุคคลสําคัญในพื้นที่
นั้น ๆ บางประเทศกฎหมายใหอํานาจที่จะจับกุมผูตองสงสัย หรือผูมีประวัติอาชญากรไปกักกันตัวไว
ช่วั คราว เมือ่ เห็นวาการกระทําเชน น้นั จะเกดิ ผลดตี อความสงบเรยี บรอยของบานเมอื ง

๙. พ้นื ที่หลบภัย (Safe Haven)
ในกรณที ีบ่ ุคคลสาํ คัญไปปรากฏตัว ณ ที่ใดที่หน่ึง เจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยตองเตรียม

พน้ื ทหี่ ลบภัยไวใหก บั บคุ คลสาํ คัญในทกุ พนื้ ท่ี พืน้ ท่ีหลบภยั น้ี คอื พนื้ ที่ท่อี ยใู นสถานทีท่ ีใ่ หความปลอดภัย
ไดชั่วคราวสําหรับบุคคลสําคัญและครอบครัว ซ่ึงอาจจะเปนหองพักที่อยูในวงรอบช้ันในสุดหองใดหอง
หนึ่ง ซึ่งเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยไดกําหนดขึ้น เพ่ือใหเวลาแกเจาหนาที่ตํารวจ หรือเจาหนาที่รักษา
ความปลอดภัยเตรียมการตอบโต และรับมือกับผูกอการรายในกรณีที่มีการโจมตี หลักในการเลือกหองที่
จะกําหนดเปนพืน้ ที่หลบภยั ไดน้นั ควรพจิ ารณาจากปจจัยตา ง ๆ ดังนี้

๙.๑ เสนทางท่ไี ปยงั พน้ื ท่ีหลบภัย ตอ งไมผานพืน้ ทอ่ี ันตรายใด ๆ (Accessibility)
๙.๒ สามารถใหความคุมกันได (Ability to Defence) ควรเปนพื้นที่ท่ีเจาหนาท่ีรักษาความ
ปลอดภัยสามารถทําการตอสูเพื่อปองกันพ้ืนที่อยางไดเปรียบ เชน อยูในพ้ืนที่ท่ีสูงกวาสามารถตรวจการณ
เหน็ ฝา ยตรงขา มได

๑๑

๙.๔ สามารถดํารงการติดตอส่ือสารได (Ability to Communications) โดยติดตอกับกอง
อํานวยการรักษาความปลอดภัย หรือชุดปฏิบัติการทุกชุด ตลอดจนเจาหนาที่ตํารวจในพื้นท่ีทางโทรศัพท
หรอื วทิ ยุ และตอ งมีเครอ่ื งมือดบั เพลงิ เครอื่ งใหแ สงสวาง กรณีเกิดไฟดบั ขึน้

๙.๕ มเี สน ทางถอนตวั ไดอยา งปลอดภัย (Ability go Escape) ในกรณีน้ีจะตองมีเสนทางใน
การพาบคุ ลสาํ คญั ถอนตัวไปยงั รถฉุกเฉินซ่ึงกาํ หนดเสนทางเอาไวในแผนเผชิญเหตุ

๙.๖ สามารถถวงเวลาได (Ability to Hold) ในหองน้ีควรมีอุปกรณและเคร่ืองมือที่
เหมาะสมที่สามารถจะตรงึ พ้ืนท่ีไวไดอ ยางนอ ย ๑๕ ถึง ๖๐ นาที ในระหวางการโจมตี

๙.๗ มีการเสริมความปลอดภัย (Reinforced) ดวยเครื่องมือตาง ๆ และทางออกฉุกเฉินไว
ดว ย การเสรมิ ความปลอดภยั กระทาํ ไดดังน้ี

๙.๗.๑ ประตูควรมคี วามหนา และเสริมดว ยเหล็ก
๙.๗.๒ มีเหลก็ ดัดตดิ ทกุ หนา ตา ง
๙.๗.๓ บานพับประตูหนาตา งตองตดิ ตรึงอยา งหนาแนน ปองกันการถอดได
๙.๗.๔ กรอบหรือวงกบประตคู วรหนาอยา งนอ ย ๒ นวิ้ และตรึงแนน กบั กาํ แพง
๙.๗.๕ กลอนควรเปนกลอนเดือย ปดเปดดวยกุญแจอยางนอยบานละ ๒ กลอน ติดต้ัง
หางกัน ๑๒ นว้ิ เปน อยางนอย

ตอนที่ ๒ การจัดและโครงสรางของชุดปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย (Organization of Protective
Detail)

การจัดกําลังของชุดปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยน้ัน เปนการจัดกําลังจากชุดปฏิบัติการตาง ๆ
ตามความเหมาะสมกับสถานการณท ีเ่ กิดขน้ึ โดยการรวบรวมขอ มลู ขา วสารตาง ๆ ที่มีผลกระทบตอบุคคล
สาํ คญั ซึง่ รูปแบบการจดั สามารถเปลี่ยนแปลงไดตามความเหมาะสม เพื่อใหบ รรลุภารกจิ ไดด ที ส่ี ุด

๑. การจดั หนว ยและหนา ท่ี
การจัดกําลังเพ่ือปฏิบัติภารกิจในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ จะตองจัดใหเพียงพอ

ตอการปฏบิ ัตงิ าน โดยแบงกาํ ลังออกเปนสว น ๆ ตามความจาํ เปน และกาํ หนดหนาทใี่ หแนนอน เพื่อมใิ ห
กาวกาย และสบั สนในการปฏิบตั ิงาน ซึ่งสามารถแบง ออกได ดงั นี้

๑.๑ กองอํานวยการรกั ษาความปลอดภยั (Command Post) มหี นาท่ี
๑.๑.๑ อํานวยการและควบคมุ การปฏบิ ตั ิการรักษาความปลอดภัย
๑.๑.๒ วางแผน ส่ังการ ประสานการปฏิบัติกับหนวยตาง ๆ ในระดับหนวยเหนือ และ

หนวยรอง
๑.๑.๓ ใหการสนบั สนุนดานการขา ว กาํ ลงั พล และยทุ โธปกรณ โดยมนี ายทหารควบคมุ



การปฏิบตั ิการเปนผรู บั ไปปฏิบัติ โดยรับนโยบายจาก ผอู าํ นวยการรักษาความปลอดภัย

๑.๑.๔ การจัดชุดสนับสนุนตาง ๆ เขาสนับสนุนการปฏิบัติใหกับชุดปฏิบัติการรักษา

ความปลอดภยั เมือ่ ไดรบั การรอ งขอ

๑.๒ ชุดตรวจคนทางเทคสิค (Exoplosive Ordnance Disposal) มีหนาท่ีสนับสนุนชุด

ปฏบิ ตั กิ ารตาง ๆ เมอ่ื ไดร ับการรองขอในเร่อื งทเ่ี กีย่ วกบั

๑.๒.๑ การปฏิบัตงิ านกอ นวาระท่บี ุคคลสําคัญมาถึงไมน อ ยกวา ๒ ชัว่ โมง

๑.๒.๒ ตรวจสอบความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ ดวยเครื่องมือทางเทคนิคเก่ียวกับ

วตั ถรุ ะเบิด การลกั ลอบดกั ฟง เสยี ง

๑.๒.๓ ตรวจอุปกรณถายภาพ ควบคุมการแจกจายบัตร การลงทะเบียนของชางภาพ

สอื่ มวลชน

๑.๒.๔ ตรวจอาหาร เคร่ืองด่ืม หีบหอของขวัญ รวมทั้งส่ิงของตาง ๆ ท่ีมอบใหบุคคล

สาํ คัญ

๑.๒.๕ ตรวจคนยานพาหนะบคุ คลสําคญั

๑.๒.๖ ตรวจเสร็จสงมอบพ้ืนท่ีใหเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวของรับผิดชอบ

ตอ ไป

๑.๓ ชุดสํารวจลว งหนา

เจาหนาท่ีชุดน้ีเปนชุดที่มีความสําคัญมากในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ

เนื่องจากผลการสํารวจในแตละพื้นท่ี จะนํามาวางแผนการรักษาความปลอดภัย และออกคําสั่งในการ

ปฏิบัตภิ ารกิจตอไป ซงึ่ มีหนา ทดี่ งั นี้

๑.๓.๑ เตรยี มการปฏบิ ัติการใหแ ลว เสรจ็ กอนวาระงานของบุคคลสําคัญไมน อยกวา ๓ วนั

๑.๓.๒ ตดิ ตอประสานงาน และรวบรวมขาวสารในพ้ืนท่ีทบี่ ุคคลสาํ คญั จะเดินทางไป

๑.๓.๓ สํารวจเสนทาง อาคาร สถานที่ ท่ีตั้งกองอํานวยการ จุดวางกําลังของเจาหนาท่ี

ชุดประจําที่ เสนทางถอนตวั จุดจอดรถฉุกเฉนิ และพ้นื ท่ีอันตรายตาง ๆ โดยทําเปน แผนผงั รปู รา งใหช ัดเจน

๑.๓.๔ เตรียมสถานที่หองพกั รับรอง พื้นที่ปลอดภัย ณ พื้นท่ีนั้น ๆ ใหกับบุคคลสําคัญ

เมื่อมีความจําเปนตอ งใช

๑.๓.๕ สํารวจเสนทางไปโรงพยาบาล สถานีตํารวจ หนวยทหารใกลเคียง โดยแจง

ขอ มลู ใหเจาของสถานทที่ ราบ

๑.๓.๖ การประกอบกาํ ลังอาจจดั จากเจา หนา ทตี่ ้งั แต ๓ นายขนึ้ ไป ไดแ ก

- หวั หนาชดุ สํารวจลวงหนา (Lead Advance)

- เจาหนาทป่ี ฏบิ ัติ (Advance Agent)

- พลขบั (Driver)

๑๓

๑.๔ ชุดสว นลวงหนา (Advance Teams)

เปนชุดท่ีดําเนินการตรวจสอบการปฏิบัติการของชุดสํารวจลวงหนา ในดานการ

ประสานการปฏิบตั ิงานรว มกับชุดตรวจทางเทคนคิ มหี นาทดี่ ังน้ี

๑.๔.๑ เรมิ่ ปฏิบัติภารกจิ กอนถงึ วาระงานของบคุ คลสําคญั ไมน อ ยกวา ๒ ชั่วโมง

๑.๔.๒ สํารวจเสนทางตาง ๆ จุดวางกําลัง โดยประสานการวางกําลังตามพ้ืนท่ีหรือจุด

ท่ีนาจะเปน อันตราย หรือลอแหลม

๑.๔.๓ นําบุคคลสําคัญเขาไปยังที่หมาย แจงขอมูลใหชุดติดตามเก่ียวกับสถานการณ

ตา ง ๆ ในพืน้ ทขี่ ณะทร่ี ถบุคคลสาํ คญั กําลงั เคลอื่ นเขา สูทีห่ มาย

๑.๔.๔ ควบคมุ ส่อื มวลชนและประชาชนทีม่ าคอยในพื้นทห่ี มาย

๑.๔.๕ การประกอบกําลัง จะมีเจาหนา ท่ีอยา งนอ ย ๓ นายคอื

- หัวหนา ชุดสวนลว งหนา (Lead Advance)

- เจาหนา ทปี่ ฏบิ ตั ิ (Advance Agent)

- พลขับ (Driver)

๑.๕ ชดุ ติดตาม (Follow Team)

เจาหนาท่ีชุดนี้ มีหนาที่ติดตามรักษาความปลอดภัยใหกับบุคคลสําคัญโดยใกลชิด

ภารกิจหลักคือปองกันมิใหบุคคลสําคัญไดรับอันตรายท่ีจะเกิดขึ้น ไมวาจะเปนการกระทําจากอุปทวเหตุ

การจงใจ หรือการกระทําท่ีจะทําใหบุคคลสําคัญเส่ือมเสียช่ือเสียง โดยใชเทคนิคในการรักษาความ

ปลอดภยั อยา งมีประสทิ ธิภาพ มีหนา ท่ีโดยรวมดงั น้ี

๑.๕.๑ ใหการรกั ษาความปลอดภยั บุคคลสาํ คัญตลอด ๒๔ ชั่วโมง

๑.๕.๒ นําบคุ คลสาํ คัญไปยงั พ้ืนที่ปลอดภยั เม่ือเกิดเหตฉุ ุกเฉนิ

๑.๕.๓ ดํารงการตดิ ตอสอ่ื สารกบั ชุดปฏิบัติการทกุ ชุด

๑.๕.๔. การจดั กาํ ลงั ประกอบดวย

- หวั หนา ชุดติดตาม (Detail Leader) DL

- รองหัวหนาชุดติดตาม (Shift Leader) SL

- เจา หนาท่ีปฏบิ ัติการ (Right Rear) RR ปฏิบตั หิ นา ท่เี จา หนาท่สี ื่อสาร

- เจา หนาทป่ี ฏบิ ัตกิ าร (Lett Rear) LR ปฏบิ ัตหิ นา ทีเ่ จาหนาทเ่ี ทคนคิ

- พลขบั (Follow Car Driver) FCD

๑.๖ ชุดประจําสถานท่ี (Site Agent)

เปนเจาหนาท่ีปฏิบัติการสวนท่ีสงกําลังไปวางไว ณ สถานที่บุคคลสําคัญจะเดินทาง

ไปเพ่ือทําหนาท่ีเฝาสังเกตการณหรือสะกดรอยตามขบวนรถ (Counte Surveillance Agent) และบางครั้ง

อาจทาํ หนา ทเ่ี ปน เจา หนา ท่ชี ดุ ตรวจเสน ทาง (Pilot Car Agent) เพอื่ คอยตรวจการณเ สน ทางและพื้นทท่ี ี่

๑๔

นาสงสัย และหรือจัดวางเจาหนาที่ประจําจุดคับขันกอนบุคคลสําคัญมาถึง การประกอบกําลังอาจ
ประกอบดวย หัวหนา ชดุ เจาหนา ท่ปี ฏิบตั ิการ และพลขับ

๑.๗ ชดุ สนบั สนุนทางยทุ ธวธิ ี (Counter Assault Teams)
ภารกิจหลักของชุดสนับสนุนทางยุทธวิธี คือ ทําการตอบโตเม่ือเกิดภัยคุกคามหรือมี

การลักลอบโจมตีบุคคลสําคัญ ปองกันอันตรายใหกับบุคคลสําคัญในการหลบภัย อาจตองพรอมท่ีจะเขา
ตรึงพ้ืนที่เพื่อใหชุดปฏิบัติการท่ีรับผิดชอบนําบุคคลสําคัญหนีออกจากพ้ืนท่ี หรืออาจดําเนินการเพื่อ
เบ่ยี งเบนความสนใจของฝา ยตรงขาม การจัดกําลงั ตามความเหมาะสม

๑.๘ ชดุ เตรยี มพรอม (Reinforce Teams)
มีหนาที่ทดแทนชุดปฏิบัติการตาง ๆ ไดทุกชุด เมื่อไดรับการรองขอ การทดแทน

อาจจะท้ังชดุ หรือเขาเสรมิ ชดุ ปฏบิ ตั กิ ารตา ง ๆ ในบางสว น
๑.๙ ชุดพยาบาลเคลอ่ื นท่ี
ใหการรักษาพยาบาลเบื้องตนแกบุคคลสําคัญและเมื่อบุคคลสําคัญบาดเจ็บ นําสง

โรงพยาบาลทีใ่ กลท ่ีสดุ อาจจดุ รถพยาบาลเขารวมในขบวนเม่อื เห็นวา สาํ คญั
๒. คุณสมบัตทิ พี่ งึ ประสงคของเจา หนาทรี่ ักษาความปลอดภัย
๒.๑ มีความจงรักภักดี ซอ่ื สัตย และไวใจได ซ่งึ ถอื วา สาํ คญั ทสี่ ุด ตอ งมกี ารตรวจสอบกอ น

จะรบั มาปฏิบัตหิ นา ที่
๒.๒ จิตใจมั่นคง สุขภาพจติ ดี ไมหวั่นไหวงาย มิฉะนน้ั อาจตกเปนเครอ่ื งมือของฝา ยตรงขา ม
๒.๓ สุขภาพสมบูรณ รางกายแข็งแรง ตอสภาพงานท่ีอาจตองตรากตรําตลอด ๒๔ ช่ัวโมง

อกี ท้ังตอ งมีเชาว ไหวพริบ และตืน่ ตวั พรอมทจี่ ะปฏิบตั ิการโตตอบฝา ยตรงขามโดยฉบั พลัน
๒.๔ มีวินัย อดทน เสียสละ และไมประมาท สามารถปฏิบัติการไดทุกพื้นที่แมตนเองจะ

ไมช อบ
๒.๕ หูไว และสายตาดเี ปน เลศิ มีประสาทสัมผัสท่ีดีเย่ียม โดยเฉพาะสัญชาติญาณท่ีรับรูตอ

ภยั อนั ตรายที่จะเกดิ ขึน้
๒.๖ ไมเ ปนโรคสุราเรือ้ รงั หรอื ติดยาเสพตดิ
๒.๗ มมี นุษยสัมพนั ธ สามารถปฏบิ ตั ิงานรว มกับผูอื่นไดเ ปน อยา งดี
๒.๘ มีความกลา หาญ พรอมทีจ่ ะเสี่ยงอันตรายเพื่อปองกนั บุคคลสําคญั ดวยชวี ติ แตท้ังน้ีตอง

เปน คนท่ีสุขมุ รอบคอบ รวู า ควรจะทําอยางไรในเวลาฉกุ เฉนิ มฉิ ะน้นั อาจจะทําใหบ ุคคลสําคญั เสียชีวติ ได
๒.๙ เขาใจการปฐมพยาบาลขนั้ ตนและสามารถรกั ษาโรคประจาํ ตัวของบุคคลสําคญั ได
๒.๑๐ มีความรูในเร่ืองเคร่ืองมือส่ือสาร เครื่องมือดับเพลิง การคนหาและเก็บกูวัตถุระเบิด

การใชเ ครอื่ งมอื อิเล็กทรอนกิ ส
๒.๑๑ มคี วามรูเกี่ยวกับมารยาทสังคม ระเบียบปฏิบตั ทิ างพิธกี ารตาง ๆ ทัง้ ของไทย และ

๑๕

ตางประเทศ เพ่ือจะวางตวั ไดเ หมาะสมกบั สถานการณนนั้ ๆ
๓. ขอพึงระวังในการปฏิบตั ิของเจา หนา ที่รกั ษาความปลอดภยั บุคคลสาํ คัญ
๓.๑ หามชักชวนบุคคลสําคัญสนทนา
๓.๒ เมื่อจะเขาพ้ืนท่ีที่ยังไมผานการตรวจสอบ เจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยตองเขาไป

กอ นบุคคลสาํ คัญประมาณ ๑ ฟตุ ลวงหนา
๓.๓ การเขา ออก จากลิฟท ใหเขาและออกกอนบุคคลสําคัญ และตองมีหนาที่คอยกดปุม

ลฟิ ท
๓.๔ ไมพยายามเขาจับกุม หรือตอสูพัวพันกับผูกอการราย โดยรีบนําบุคคลสําคัญออกจาก

พ้ืนทอ่ี นั ตรายโดยเร็ว
๓.๕ ไมค วรทาํ อะไรในลกั ษณะประจําจนเปนกจิ วตั ร
๓.๖ พานหะตองมีคนเฝา ตรวจเสน ทางออก เสน ทางถอนตวั ทุกคร้ัง
๓.๗ เมื่อเกิดเหตุรายจะไมตื่นตกใจ แตใหต่ืนตัวพรอมที่จะรับสถานการณดวยความมีสติ

ตลอดเวลา
ตอนที่ ๓ การวางแผนการปฏบิ ตั ิการรกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสาํ คญั

๑. กลา วนํา
ในการวางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญน้ัน จําเปนอยางยิ่งตองถือเปนระเบียบ

ปฏิบัตปิ ระจาํ แผนจาํ เปน ตอ งบรรจรุ ายละเอยี ดตางๆ ท่จี าํ เปนตอ งปฏิบัติ โดยแจกจายใหกบั ฝายอํานวยการ
หรอื หนว ยงานท่เี กีย่ วของไดร บั ทราบ และเจาหนา ท่รี ะดบั สงู เทา นัน้ ทีต่ องไดร บั แผนสมบูรณ นอกจากนนั้
แลว ระดับเจาหนาที่ปฏิบัติการอ่ืน ๆ ก็ใหทราบเพียงเร่ืองใหญ ๆ ของแผนและทําความเขาใจในการ
ปฏิบัติงานตามหนาที่โดยเฉพาะของแตละบุคคล คําแนะนําตาง ๆ ตองงายตอการเขาใจและปฏิบัติตาม
แผนที่ดีจะตองมีความออนตัว แผนจะมีมากหรือนอยขึ้นอยูกับขนาดของภารกิจท่ีจะตองปฏิบัติ มีเวลา
เพียงพอในการแจกจายตลอดจนการซักซอมการปฏิบัติท่ีไดวางแผนไว หนทางท่ีจะไปสูความสําเร็จใน
การรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญนั้น อยูท่ีการวางแผนอยางละเอียดตอเนื่อง เลือกใชมาตรการอยาง
รอบคอบพถิ พี ิถนั การฝก อบรมและการนาํ เจา หนาทีม่ าใชใ หเ กิดประโยชน

๒. แนวทางในการวางแผน
เปนแนวทางของผูบังคับบัญชาท่ีใหกับเจาหนาที่ที่จัดทําแผน เพ่ือใชในการทําทบทวน

ประมาณการความมากนอ ยของแนวทางในการวางแผนจะเปล่ยี นแปลงหรือไมข ้นึ อยกู ับ
๒.๑ ภารกิจของหนวย ผูบังคับบัญชาสามารถกําหนดกิจเฉพาะตาง ๆ ที่จะตองกระทํา

เพ่อื ใหบ รรลภุ ารกจิ นั้น และกาํ หนดกิจแบง ขน้ึ ตามที่ตนพิจารณาเห็นเหมาะสม
๒.๒ ปริมาณและความถูกตอ ง เชอื่ ถือไดของขอ มูลขาวสารทม่ี ีอยู

๑๖

๒.๓ สถานการณในขณะน้นั รวมทั้งประสบการณท่ีเคยไดรับ
๒.๔ ความสามารถและความคุนเคยของหนวยปฏบิ ตั ทิ ่ีมตี อ ภูมิประเทศ สิ่งแวดลอมของฝาย
ตรงขา ม
๓. สง่ิ ที่ตองการในการวางแผน
๓.๑ กําหนด วัน เวลา สถานทท่ี ่ีบคุ คลสาํ คญั จะเดนิ ทางไป ตลอดจนประเภทของงานพธิ ี
๓.๒ วิเคราะหส ถานการณใ นพน้ื ท่ปี ฏบิ ัติงาน โดยประมาณการณดา นการขาว
๓.๓ เหตุการณท่ีนาสนใจท่ีเคยเกิดข้ึนในพื้นที่น้ัน เชน การลอบสังหารบุคคลสําคัญ บุคคล
วิกลจรติ เปนตน
๓.๔ การประสานงานกบั เจาหนาที่ทหาร ตํารวจ ในพน้ื ทีท่ ี่บุคคลสําคัญจะเดนิ ทางไป
๓.๕ กองบงั คับการ (Command Post) สถานทต่ี ง้ั หมายเลขโทรศัพท นามเรยี กขาน ฯลฯ
๓.๖ สายการบงั คับบัญชา และการตดิ ตอ ส่ือสาร
๓.๗ แบงมอบหนาที่ใหเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยท่ีปฏิบัติทั้งหมดในแผน โดยอาจ
แบง เปน รายบุคคล เปน ผลดั เปนชุด
๓.๘ การแตงกายของเจาหนา ทใี่ นแตล ะพ้นื ท่ี และในแตล ะภารกจิ
๓.๙ อาวุธยทุ โธปกรณและเครอ่ื งมือเคร่อื งใชของเจาหนาที่รักษาความปลอดภัย
๓.๑๐ คา ใชจา ยพิเศษท่ีจาํ เปน ตองใช เชน คา เชารถยนต คา ยานพาหนะ ฯลฯ
๓.๑๑ ขอหวงใยพเิ ศษในการรักษาความปลอดภยั
๔. ขอ พิจารณาในการทําแผน
ความลอแหลมตออันตรายท่ีอาจจะเกิดข้ึนกับบุคคลสําคัญ จะตองนํามาพิจารณาใน
รายละเอียดทุกข้ันตอนนับต้ังแตบุคคลสําคัญมาถึง ขณะพบปะกับประชาชน ขณะกลาวสุนทรพจน ขณะ
นั่งเปนประธาน ขณะใชลิฟท ขณะที่อยูตามหางรานและที่โลงแจงในที่สาธารณะ โดยเฉพาะชวงเวลาที่
เสี่ยงตอการถูกทํารายมากท่ีสุดคือชวงท่ีบุคคลสําคัญกําลังลงจากรถ ข้ึนรถ ขณะท่ีเดินเขาและออกจากท่ี
หมาย อยูทามกลางกลุมชนเหลาน้ีจะตองเตรียมการ จัดเจาหนาที่รักษาความปลอดภัยยืนระวังปองกันให
เหมาะสม
๕. ลักณะของแผน
สวนประกอบอนั สาํ คัญของแผนก็คือ ตองมีหนทางปฏิบัติท่ีแนนอนและใหวิธีการปฏิบัติตาม
แผนนัน้ ดวย แผนท่ีดจี ะมลี ักษณะดังนี้
๕.๑ ตองสามารถบรรลภุ ารกิจ
๕.๒ ตองอาศยั ขอ เทจ็ จริงและสมมตฐิ านท่เี หมาะสม
๕.๓ ตองใชอ าวุธยุทโธปกรณท่ีมีอยู
๕.๔ ตอ งมกี ารจดั ตามความจาํ เปน

๑๗

๕.๕ ตองมีความตอเนื่อง
๕.๖ ตองมกี ารกระจายอํานาจ
๕.๗ ตอ งมีการตดิ ตอกนั โดยตรงระหวางเจา หนา ทีร่ ะดบั เดียวกัน
๕.๘ ตอ งงา ย ออ นตวั และตอ งมีการควบคุม
๖. ข้นั ตอนการปฏิบัติในการทําแผน
๖.๑ ขั้นเตรียมการ แบง เปน ๒ ขั้นตอน

๖.๑.๑ การประสานงาน
- ประสานงานเจา หนา ทท่ี ุกฝายทเ่ี กยี่ วของกับการเตรียมการตอนรับ
- จัดสง ชุดปฏิบตั ิการหาขา วทางลับ
- จดั สงชุดสาํ รวจลว งหนา เพือ่ สาํ รวจสถานท่ี

๖.๑.๒ การวางแผน
- พิจารณาวางแผนใหเหมาะสมกับขาวทไ่ี ดร ับ
- จัดทําแผนท่ีแสดงการวางกําลังของเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัย และ
ฝายเกย่ี วของ
- สรปุ ขาวในพืน้ ที่ ตลอดจนการจัดกาํ ลังเสนอแผนการรกั ษาความปลอดภยั
ใหบุคคลสําคัญทราบลวงหนา
- จัดทําแผนฉกุ เฉนิ เพื่อเตรียมแกไ ขสถานการณที่เกิดขน้ึ

๖.๒ ข้ันการปฏบิ ัตกิ าร
ช้ีแจงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนปฏิบัติงานใหเจาหนาท่ีทุกสวน กําหนดหนาที่แตละชุด

ปฏิบัติงาน ทีต่ อ งปฏบิ ตั ใิ นพ้ืนที่ จัดกาํ ลังอยา งไร วางกําลังในพื้นทีอ่ ยางไร
๖.๓ ขน้ั การวจิ ารณแ ละการรายงานหลงั จากเสร็จภารกจิ
เปนการรวบรวม สรุปปญหาอุปสรรค ขอขัดของ เพื่อจะไดดําเนินการแกไขมิใหเกิด

เหตกุ ารณเ ชนนั้นอีก โดยมีวตั ถุประสงคดังน้ี
๖.๓.๑ เพือ่ เปนฐานขาวในการปฏบิ ัติครัง้ ตอ ไป
๖.๓.๒ เพ่ือเปนแนวทางครัง้ ตอไป โดยปรบั ปรุงแกไ ขขอ ผดิ พลาดท่ีเกิดขน้ึ มาแลว
๖.๓.๓ เปน ประวตั ิศาสตรข องหนวยและชาติ

การวิจารณจะไดผ ลดที ่สี ดุ ควรกระทาํ ใหเรว็ ทสี่ ุดภายหลังจากเสร็จภารกิจ โดยผรู ว มปฏิบตั ิภารกจิ ท้งั หมด
มาพรอมกันและวิจารณกันวา เร่ืองตาง ๆ ที่ไดทําไปแลวน้ัน มีความเหมาะสมหรือไมเพียงใด ท้ังนี้ให
รวมถึงการวจิ ารณใ นเรื่องไหวพริบ และเทคนิคในการปฏิบัติดวย เพ่ือใหเปนบทเรียนในการปฏิบัติภารกิจ
ครั้งแตไ ปใหด ขี ้ึน

บทที่ ๓
การรกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสําคญั ตามสถานทีต่ า ง ๆ

ตอนที่ ๑ กรรมวธิ ดี ําเนินการของผูประทษุ รา ย
ฝายตรงขามยอมมีวิธีขัดขวางมิใหบุคคลสําคัญปฏิบัติการอยางใดอยางหนึ่งไดหลายวิธีดวยกัน

นอกจากการทําราย หรอื ขดั ขวางบุคคลสาํ คัญโดยตรงแลว ยังอาจกระทําตอส่ิงที่มีผลบังคับถึงบุคคลสําคัญ
ทางออมได เชน กระทําตอ ครอบครัวบุคคลสาํ คัญ มิตรสหาย ผรู วมงานหรือผูสนบั สนนุ ฯ

๑. วธิ ีดําเนนิ การ
๑.๑ การทาํ รา ยรา งกาย เพอื่ ใหเ กิดการบาดเจ็บ ทพุ พลภาพ หรือถงึ กบั เสียชีวิต
๑.๒ การคุกคาม เพื่อใหเกิดความหวาดกลัวจนจําตองเปล่ียนนโยบาย เชน ใชบัตรสนเทห

การคกุ คามทางสื่อมวลชน หรือการใชก ารประชมุ ระหวางประเทศเปนเครื่องมือ
๑.๓ การขูกรรโชก โดยกระทําตอบุคคลสําคัญโดยตรงหรือตอครอบครัว เพื่อตองการเงิน

ผลทางการเมือง หรือเพ่ือวตั ถปุ ระสงคอยางอ่ืน
๑.๔ การหมิ่นประมาทและการทาํ ใหอบั อาย ไดแกการทําใหบ คุ คลสาํ คญั ถกู เยย หยนั อบั อาย

ตอสาธารณชน เชน การขวางปาไขเนา ผลไมเนา สิ่งปฏิกูล ตัดสายไฟขณะปราศรัย เขียนปายโปสเตอร
ลอ เลียน ดาประจาน เปน ตน

๑.๕ การลักพาตัว เพ่ือยึดไวเปนตัวประกันในการเจรจาตอรองใหจําเปนตองปฏิบัติตาม
เง่ือนไข บังคับเอาขาวสารจากผูถูกลักพา หรือมิใหผูถูกลักพาปฏิบัติการอยางใดอยางหนึ่งในสิ่งที่กําลังจะ
กระทาํ

๒. เคร่อื งมอื ในการทาํ ราย
สิ่งของทุกชนิดที่ฝายตรงขามนํามาใชในการประทุษรายบุคคลสําคัญ ยอมถือวาเปนอาวุธ

ทั้งสิ้น ซ่ึงอาจจะเปนเคร่ืองมือ โดยสภาพมิใชอาวุธแตนํามาเปนอาวุธ เชน กอนอิฐ ขวดน้ําอัดลม หมึก
หรือมีสภาพเปนอาวุธ เชน มีด ขวาน ดาบ ธนู อาวุธเหลาน้ีเปนอาวุธที่ใชระยะประชิด หรือในระยะใกล ๆ
ไมเกิดเสียงดัง ผูประทุษรายที่ใชอาวุธประเภทนี้มักไดแก ผูที่อยูใกลชิดกับบุคคลสําคัญ บุคคลในท่ี
ทํางาน หรือบานพักของบุคคลสําคัญ ผูเขาเยี่ยมหรือพบปะกับบุคคลสําคัญ ผูที่มีความผิดปกติทางจิต
เนื่องจากไมม ีโอกาสหาอาวธุ ชนิดอ่ืนหรอื ไมทราบวา อาวธุ ชนิดนน้ั จะเปน ภยั เพยี งไร

๒.๑ อาวธุ ระยะใกล
๒.๑.๑ ปน พกและมีด เปนอาวุธท่ีใชก ันมากท่สี ุด สาํ หรบั ปนพกใชไดผลในระยะ ๕–

๒๐ เมตร พกติดตัวในลักษณะมิดชิด ระยะหลังเริ่มมีการใชวัตถุระเบิดชนิดฆาตัวตายตาม ถือเปนการ
กระทําในระยะใกล การปฏิบัติการในลักษณะน้ีจําเปนตองหาขาวกอน อยางนอยจะไดรูเสนทางตาง ๆ
และตองมกี ารซุมติดตามกอ นจะเริม่ ลงมอื สังหาร

๑๙

๒.๑.๒ อาวุธพิเศษ เปนอาวุธที่คิดคนเพ่ือใหสามารถนํามาเปนอาวุธในการลอบ
สังหารระยะใกลได เชน ปนทําเปน กลองบุหรี่ หรือทาํ เปน กลองถายรปู ปน ยงิ เขม็ ยาพษิ เปนตน

๒.๒ อาวธุ ระยะไกล
การลอบสังหารจากอาวุธระยะไกล จะมาจากระยะมากกวา ๒๐ ฟุตขึ้นไป โดยใชปน

ไรเฟลติดกลองเล็ง ซ่ึงพบวาใชกันมากที่สุด ผูใชจะตองมีความรูในการใชอาวุธและไดรับการฝกฝนมา
อยา งดี ตอ งหาขา วลว งหนา เพื่อรูเสนทางการเดินทางของบุคคลสาํ คัญ และเลอื กจุดลงมอื สงั หาร

๒.๓ วตั ถุระเบิด
มีวิธีการหลายอยางไมมีขอบเขตการใช ระเบิดเวลามักพบบอยโดยศัตรูอาจต้ังระเบิด

เวลาตามสถานท่ีที่บุคคลสําคัญจะไปปรากฏตัว หรือในท่ีพํานักอาศัย ยานพาหนะ การต้ังเวลาใหระเบิด
มักกําหนดใหอ ยใู นชวงที่เจาหนาที่จะแกไขสถานการณไดยากท่ีสุด หรืออาจกําหนดใหมีการระเบิดขึ้น ๒
ครั้ง โดยใหการระเบดิ คร้งั หลงั สงั หารผทู ่ีจะมาชว ยระงบั เหตุ

๒.๓.๑ วธิ กี ารชดุ ชนวน
- ลา มสายไฟหรอื สายชนวนจากระยะไกล
- บังคับการจดุ ระเบิดจากเคร่อี งบังคบั ระยะไกล (Remote Control)
- ผูจ ดุ ระเบดิ ยอมตายโดยการนําระเบิดติดตวั
- ใชว ิธีกบั ระเบดิ เชน จดหมายระเบิด พัสดุระเบิด ระเบิดเวลา หรือการฝง
กับระเบิดตามเสนทางทขี่ บวนรถยนตบคุ คลสําคญั ผาน

๒.๓.๒ วธิ กี ารวางระเบิด
- ผูวางระเบิดเปนผูวางเอง โดยการปลอมตัวเขาไป เล็ดลอดเขาไปวางใน

เวลาคาํ่ คืนหรอื ชวงปลอดคน หรอื บุกเขา ไปวางโดยใชอ าวธุ รวมดว ย
- ใชวานโดยผูวางระเบิดไมรูตัว โดยมากจะเปนพนักงานบริการ พนักงาน

สงของ หรอื บุรษุ ไปรษณยี  ซ่งึ บคุ คลเหลา นีไ้ มร วู า สง่ิ ทนี่ ําไปสงมวี ตั ถรุ ะเบดิ ซกุ ซอ นอยู
- คนของผวู างระเบิดนาํ ไปวางเองโดยแทรกซึมเขา ไปในพน้ื ที่นนั้ ๆ

๒.๓.๓ กลไกการตัง้ เวลาในวัตถรุ ะเบดิ
- กลไกทางเคมี โดยใชปฏกิ ิรยิ าตา ง ๆ เชน ใชส ารละลายกับวตั ถุ
- กลไกทางเมคานคิ เชน ใชน าฬิกาปลุก วัสดกุ ดทับ-เลิกกด หรอื ลวดสะดดุ
- ใชค วามกดอากาศ แสง หรอื เสยี ง
- จุดชนวนโดยใชการถวงเวลาจากวัสดุ เชน ใชกานธูปที่จุดทิ้งไวปลอย

ใหไ ฟลามไปจุดกานไมข ีด ๔ - ๕ กาน ซ่งึ ผูกติดไวเ พ่อื จุดชนวนระเบิดอีกตอหน่ึง
๓. การปอ งกนั แตล ะประเภท

การระวงั ปอ งกันภัยแตล ะประเภททอ่ี าจเกดิ ข้นึ กับบคุ คลสําคัญนนั้ ไดแก การประทุษรา ยดว ย

๒๐

วาจา ดวยการชกตอย อาวุธประจํากาย อาวุธประทับบา และดวยวัตถุระเบิด การประทุษรายแตละ
ประเภทเหลานี้ จะมีมาตรการตอบโตแตกตางกันไปตามสภาพการณ แตท่ีสําคัญเจาหนาที่รักษาความ
ปลอดภัยบุคคลสําคัญไมมีหนาท่ีตองเขาตอสูกับคนราย นอกจากจะกระทําเพ่ือระวังปองกันใหเกิดความ
ปลอดภัยแกบุคคลสําคัญและนําบุคคลสําคัญออกจากพื้นท่ีอันตรายโดยเร็วท่ีสุด ตามแผนเผชิญเหตุท่ี
เตรียมไว และในกรณีท่ีคนรายเขาประชิดตัวบุคคลสําคัญมาก ชุดติดตามจะใหเจาหนาที่ท่ีอยูใกลคนราย
มากที่สุดเขาขัดขวางคนรายดวยความสามารถท่ีมีอยู เจาหนาท่ีท่ีเหลือนําบุคคลสําคัญออกจากพ้ืนที่
อนั ตราย โดยมแี นวทางปฏบิ ัตกิ ารระวังปอ งกนั มดี งั น้ี

๓.๑ ภยั ดว ยวาจา เจาหนาท่ีจะตองไมโตเถียงและอยาปลอยใหบุคคลสําคัญดําเนินการใด ๆ
ตอ ผูกลา ววาจา เมือ่ จาํ เปนใหก ันตวั บคุ คลสําคัญออกไปจากสถานทีน่ น้ั

๓.๒ ภัยจากการชกตอย ใหเจาหนาที่ที่อยูใกลคนรายหรืออยูในทิศทางที่คนรายวิ่งเขามา
ปะทะกับคนรายดวยการตอสูดวยมือเปลา เพ่ือปองกันมิใหเขาถึงบุคคลสําคัญ เจาหนาที่ท่ีเหลือนําบุคคล
สําคัญออกหา งจากพ้ืนที่น้นั และเมื่อมกี ารขวา งปาสิง่ ของใสบ ุคคลสําคัญใหเจาหนา ทใ่ี ชรา งกายเขาบงั

๓.๓ ภัยจากอาวุธประจํากาย ใหเจาหนาที่รักษาความปลอดภัยใชรางกายเขาขวางระหวาง
บุคคลสาํ คัญกบั คนรายแลว ทําการตอสูด วยวธิ กี ารตา ง ๆ โดยมใิ หเ สียการกําบัง เจาหนาท่ีท่ีเหลือพาบุคคล
สําคญั ออกจากพ้นื ท่ที นั ที

๓.๔ ภัยจากอาวธุ ประทับบา ปฏบิ ัติเชน เดียวกับภัยจากอาวธุ ประจํากาย
๓.๕ ภัยจากวัตถุระเบิด ใหเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยเขาบังบุคคลสําคัญ แลวจับบุคคล
สําคัญนอนราบลงพบั พ้ืนพรอมใชรางกายของตนครอ มบุคคลสําคญั จากนนั้ นาํ บคุ คลสาํ คญั ออกจากพ้ืนที่
ตอนที่ ๒ การรกั ษาความปลอดภยั บุคคลสาํ คัญทางบก
๑. หลกั การรักษาความปลอดภัยในขณะเดินทางดวยเทา มีขอพิจารณาในการวางตัวและจํานวน
เจา หนา ที่รกั ษาความปลอดภยั บคุ คลสําคัญ ในขณะเดินเทา ดังนี้
๑.๑ ขา วสารทมี่ ีผลกระทบทอ่ี าจเกดิ ขนึ้ กบั บุคคลสาํ คญั
๑.๒ ประเภทของพธิ กี ารท่บี ุคคลสําคัญตอ งไปรวมงาน
๑.๓ ความตองการในการรกั ษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ
๑.๔ ลกั ษณะการวางตวั ใหเขากบั พิธกี ารหรอื สถานการณน้นั
๑.๕ การใชรา งกายของเจาหนาท่เี ปนเกราะคุม กันใหกับบุคคลสาํ คญั
๑.๖ การรักษาภาพพจนข องเจาหนาท่รี กั ษาความปลอดภยั
๑.๗ การสังเกตการณและเตรีมพรอมทางดานจิตใจของเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัย

รูปแบบการวางตัวเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัย ตองนํามาดัดแปลงใหเขากับ
สถานการณ

๒๑

แมจะใชร ปู แบบทไี่ ดรบั การฝก ฝนมาเปน มาตรฐานในการปฏิบัติ แตในขณะเดียวกันก็จะตองสามารถปรับ
ตําแหนงของเจาหนาที่ไดเมื่อมีความจําเปน โดยถือหลักเพื่อใหบุคคลสําคัญมีความปลอดภัยสูงสุดเมื่อเกิด
เหตุฉุกเฉิน หัวหนาชุดติดตามจะตองนําบุคคลสําคัญออกใหพนจากพื้นที่อันตราย และนําไปยังสถานที่
ปลอดภัย ซ่ึงไดจัดทําไวในแผน ซ่ึงในการปฏิบัตินี้หัวหนาชุดติดตามจะตองทราบรายละเอียดของพื้นที่
ปฏบิ ตั กิ ารจากชดุ สาํ รวจลวงหนา และในระหวา งเดนิ ทางใกลจ ะถึงที่หมายจะตองตดิ ตอ กับชดุ สว นลว งหนา
เพอื่ ทราบสถานการณใ นพื้นทอี่ ยางตอ เน่ือง

พ้ืนท่ีรับผิดชอบของเจาหนาที่รักษาความปลอดภัย ในรูปขบวนเดินนี้จะถือเปน ๓๖๐ องศา
ตลอดเวลาสําหรับทิศทางที่บุคคลสําคัญเดิน จะถือเปนทิศ ๑๒ นาฬิกาเสมอ และขณะอยูในรูปขบวนเดิน
ถาเจาหนาทค่ี นใดคนหนง่ึ ตองออกไปจากรูปขบวนเดนิ ตําแหนงของเจา หนา ท่ตี องมีการเปลยี่ นแปลงทนั ที
เพื่อใหการรักษาความปลอดภัยมีประสทิ ธิภาพสูงสดุ กลา วโดยสรุปก็คอื รูปขบวนตอ งมกี ารออ นตวั ได

๒. รปู แบบการวางกาํ ลังเจา หนา ที่รกั ษาความปลอดภัย (Agent Composition within Protective
Formations)

๒.๑ เจาหนา ท่ี ๑ คน
ใชในกรณีเดียว คือ ในโอกาสท่ีบุคคลสําคัญอยูในพื้นที่ปลอดภัย และใชเม่ือเดินจาก

หองหน่ึงไปยังอีกหองหนึ่งในที่พักหรือในพ้ืนที่อ่ืนที่มีการรักษาความปลอดภัยทัดเทียมกับในที่พัก โดยมี
หน.ชุดตดิ ตามรับผิดชอบพืน้ ที่ ๓๖๐ องศา

เจา หนา ท่ี ๑ คน (One Agent)

ADV หัวหนา ชดุ สว นลว งหนา

P บุคคลสําคญั

DL หัวหนา ชดุ ตดิ ตาม

๒๒

๒.๒ เจาหนาที่ ๒ คน (Two Agent)
ปกตใิ ชในโอกาสที่อยูภายในอาคารทม่ี กี ารรกั ษาความปลอดภยั เชน ท่ีพักช่ัวคราวหรือ

การไปปรากฏตวั ในทร่ี บั แขกสวนตัว ประกอบดวย
๒.๒.๑ หวั หนา ชุดติดตาม (Detail Leader) DL
๒.๒.๒ รองหัวหนา ชุดตดิ ตาม (Shift Leader) SL

เจาหนาที่ ๒ คน (Two Agent)
ADV หัวหนาชุดสวนลว งหนา
P บคุ คลสาํ คญั

รองหัวหนา ชดุ ตดิ ตาม SL DL หวั หนาชุดตดิ ตาม

๒.๓ เจา หนา ท่ี ๓ คน (Three Agent) ประกอบดวย
๒.๓.๑ หัวหนา ชดุ ติดตาม (Detail Leader) DL
๒.๓.๒ รองหวั หนา ชุดติดตาม (Shift Leader) SL
๒.๓.๓ เจา หนา ทป่ี ฏบิ ตั กิ าร (Left Rear) LR

รูปขบวนน้แี บงออกเปน ๒ แบบ คอื
แบบท่ี ๑ ลิ่มแหลมหนา ใชรักษาความปลอดภัยในพ้ืนที่ซึ่งประชาชนไมหนาแนน และใช
ในกรณีไมเปนทางการเชน ไปชมภาพยนตร ฟงเพลง และอื่น ๆ เปนการจัดกําลังขนาดเล็กท่ีสุดในขณะ
ออกนอกสถานที่ ท่ีมีการรกั ษาความปลอดภยั ท่ดี ี
แบบท่ี ๒ ล่มิ แหลมหลงั ใชใ นโอกาสที่รบั แขกหรือปราศรยั

๒๓

เจา หนาท่ี ๓ คน (Three Agent)
แบบที่ ๑ ลิ่มแหลมหนา

ADV หวั หนา ชดุ สวนลวงหนา
รองหวั หนาชดุ ติดตาม SL

P บคุ คลสาํ คัญ

เจาหนา ท่ปี ฏิบัติการ SL DL หวั หนาชดุ ตดิ ตาม

เจา หนาที่ ๓ คน (Three Agent)
แบบที่ ๑ ล่มิ แหลมหลงั

ADV หวั หนา ชดุ สวนลว งหนา

P บคุ คลสําคัญ

เจาหนาทป่ี ฏบิ ัติการ SL DL หวั หนาชุดติดตาม

รองหัวหนาชดุ ติดตาม SL

๒.๔ เจาหนาท่ี ๔ คน (Four Agents) ประกอบดว ย
๒.๔.๑ หัวหนาชดุ ตดิ ตาม (Detail Leader) DL
๒.๔.๒ รองหัวหนา ชุดตดิ ตาม (Shift Leader) SL
๒.๔.๓ เจา หนา ทีป่ ฏบิ ัตกิ าร (Right Rear) RR
๒.๔.๔ เจา หนาท่ปี ฏิบตั ิการ (Left Rear) LR

๒๔

รูปขบวนนแ้ี บงออกเปน ๒ รปู แบบ คือ
แบบที่ ๑ แบบสี่เหล่ียมขนมเปยกปูน (Diamond Formation) เปนรูปขบวนการ
วางกาํ ลังทใี่ หก ารรักษาความปลอดภัยบุคคลสาํ คัญไดเ ปน อยางดี กรณีเมอื่ จําเปนตองผานฝงู ชนจํานวนมาก
หรือการใหสัมภาษณส่ือมวลชนและตองการคุมกันอยางหนาแนน ซึ่งสามารถปองกันไดทุกทิศทาง แต
บคุ คลสาํ คัญสว นมากมักไมช อบรูปแบบการวางกาํ ลังแบบน้ีเน่อื งจากไมไดส มั ผัสกบั ประชาชนอยา งใกลช ิด

เจา หนา ท่ี ๔ คน (Four Agent)
แบบท่ี ๑ แบบส่เี หล่ียมขนมเปย กปนู (Diamond Formation)

ADV หัวหนาชดุ สวนลวงหนา
RR
เจา หนาทป่ี ฏบิ ัติการ

P บุคคลสําคัญ

เจา หนาท่ีปฏบิ ตั ิการ LR DL หัวหนา ชดุ ตดิ ตาม

รองหวั หนา ชดุ ติดตาม SL

แบบที่ ๒ แบบกลองส่ีเหลี่ยม (Box Formation) การวางกําลงั แบบนจ้ี ะใชส ถานการณท ่ี
บุคคลสําคัญเดนิ ทางในที่โลง และประชาชนถกู กนั ใหห างออกไปเจา หนาท่ีรักษาความปลอดภัยจะมี ๒ นาย
ยืนใกลตัวบุคคลสําคัญเพื่อสามารถชวยเหลือไดทันทีเม่ือเกิดเหตุฉุกเฉิน ขอเสียอยูท่ีความปลอดภัยดานหลัง
บุคคลสาํ คัญจะมนี อ ยลง และโอกาสท่ีจะสังเกตเหน็ ภัยลวงหนา มนี อย การวางกําลังแบบนี้บุคคลสําคัญมัก
ชอบใชเ พราะไมม เี จา หนาทเี่ ดินบังหนา บังหลัง ซ่ึงจะสะดวกในการแสดงความเปน กันเองกบั ประชาชน

เจาหนา ท่ี ๔ คน (Four Agent)
แบบที่ ๑ แบบกลอ งส่เี หล่ยี ม (Box Formation)

เจาหนาที่ปฏบิ ัตกิ าร LR ADV หัวหนา ชดุ สว นลวงหนา
P RR เจาหนาท่ปี ฏบิ ตั กิ าร
บุคคลสาํ คัญ
รองหวั หนา ชดุ ตดิ ตาม SL DL หวั หนาชดุ ตดิ ตาม

๒๕

๒.๕ เจาหนา ที่ ๕ คน (Pentagon Agents) ประกอบดว ย
๒.๕.๑ หวั หนา ชดุ ติดตาม (Detail Leader) DL
๒.๕.๒ รองหัวหนาชดุ ติดตาม (Shift Leader) SL
๒.๕.๓ เจาหนา ที่ปฏบิ ตั กิ าร (Right Rear) RR
๒.๕.๔ เจาหนา ทปี่ ฏิบตั ิการ (Left Rear) LR
๒.๕.๕ เจาหนา ทปี่ ฏบิ ัติการ (Agent) A

เจาหนา ท่ี ๕ คน (Pentagon Agents)

เจาหนาทป่ี ฏิบัตกิ าร LR ADV หัวหนา ชุดสวนลวงหนา
รองหวั หนาชุดติดตาม SL
LR เจาหนา ทป่ี ฏิบตั กิ าร
RR เจา หนา ทป่ี ฏบิ ตั กิ าร

P บคุ คลสําคญั
DL หัวหนาชุดตดิ ตาม

๒.๖ เจา หนาที่ ๕ คน (Pentagon Agents) ประกอบดวย
๒.๖.๑ หวั หนา ชดุ ติดตาม (Detail Leader) DL
๒.๖.๒ รองหวั หนา ชุดติดตาม (Shift Leader) SL
๒.๖.๓ เจา หนา ท่ีปฏบิ ตั กิ าร (Right Rear) RR
๒.๖.๔ เจาหนาทีป่ ฏบิ ัตกิ าร (Left Rear) LR
๒.๖.๕ เจา หนาที่ปฏิบตั ิการ (Agent) A
๒.๖.๖ เจา หนาที่ปฏบิ ัติการ (Agent) A

รูปขบวนนี้ใชในกรณีที่มีฝูงชนหนาแนนมาก หรือบางคร้ังจําเปนตองพาบุคคลสําคัญฝาวง
ลอ มของฝงู ชน ซึง่ สามารถทําวงลอมเพอ่ื ปอ งกันบุคคลสําคัญ โดยปรับรูปขบวนวงลอมใหเล็กลงจนเกือบ
ชิดกัน แลวใชมือซายจับเข็มขัดหรือจับมือในลักษณะมัดขาวตม พาบุคคลสําคัญไปยังท่ีหมาย โดย
หัวหนาชดุ ตดิ ตามเปนผกู ําหนดทศิ ทาง

๒๖

เจา หนา ท่ี ๖ คน (Hexagon Agents)

เจาหนา ท่ปี ฏิบัติการ LR ADV หวั หนา ชดุ สวนลวงหนา
รองหวั หนาชุดตดิ ตาม SL
A เจา หนา ท่ีปฏิบัตกิ าร
RR เจาหนา ที่ปฏบิ ัตกิ าร

P บคุ คลสําคญั
DL หวั หนาชดุ ตดิ ตาม

A เจาหนาทป่ี ฏบิ ตั กิ าร

๓. การรกั ษาความปลอดภยั ขณะเดินทางดว ยรถยนตแ ละขบวนรถยนต
การเลือกใชรถยนตในการรักษาความปลอดภัยนั้น ยานพาหนะทุกคันตองอยูในสภาพดีเลิศ

และควรจะไดมีการตรวจตราเปนประจํา เพื่อกําจัดขอบกพรองตาง ๆ ที่เกิดขึ้น รถเจาหนาที่รักษาความ
ปลอดภัย ควรจะตามหลังรถบุคคลสําคัญใหใกลท่ีสุด โดยคํานึงถึงความปลอดภัยเปนหลัก รถนําขบวน
ควรอยูหางจากรถบุคคลสําคัญพอสมควร เพื่อสังเกตเห็นอันตรายและรายงานสภาพผิดปกติตาง ๆ ได
ทันเวลา รถยนตสํารองเปนสิ่งจําเปนเพ่ือใหสามารถใชไดทันทวงทีหากมีเหตุการณฉุกเฉิน รถทุกคันใน
ขบวนตองมีเครื่องมือส่ือสารสามารถติดตอกันไดตลอดเวลา กรณีมีเหตุซึ่งจําเปนตองใหการรักษาความ
ปลอดภัยอยางเต็มท่ี อาจใชยานพาหนะลวงหนึ่งหรือสองคัน โดยมีบุคคลซึ่งมีรูปรางหนาตาคลายบุคคล
สําคัญรวมขบวนไปดวย เมื่อบุคคลสําคัญไมไดอยูในรถยนต พลขับรถบุคคลสําคัญ และพลขับรถติดตาม
ควรทําการตรวจการณ ระมัดระวังขบวนรถของบุคคลสําคัญ ไมควรนั่งพักอยูในรถของตน ควรอยูใกล ๆ
ในสภาพเตรียมพรอมท่ีจะออกรถไดตลอด ตองประสานงานกับพลขับรถคันอ่ืน ๆ ในขบวนในลักษณะ
ทาํ งานเปนทีม ควรมกี ระจกเลก็ ๆ ไวสอ งดใู ตทอ งรถของบุคคลสําคัญ เพราะอาจะมีการลอบนําระเบิดมา
วางไวใตทอ งรถได

๒๗
.

๒๘

รถตรวจเสนทาง (Pilot Car)
- ตรวจและรายงานสภาพเสน ทางจราจรลว งหนาขบวนรถ ๒ - ๕ นาที
- ควรมีเจา หนาท่ีรกั ษาความปลอดภยั ๑ คน ประจําอยู
- อาจอยูหางจากตน ขบวนตัง้ แต ๑๐๐ เมตร ถึง ๑ กโิ ลเมตร

รถจักรยานยนต (Motorcycle)
- ใชส าํ หรบั กนั รถอ่ืนทอ่ี าจเขามาในเสนทาง
- ใชก นั้ การจราจรตามทางแยก
- ใชนําหนา ขบวนรถ เพอ่ื เปน เกียรติแกบ คุ คลสาํ คญั

รถนาํ ขบวน (Lead Car)
- ใชเ พอื่ ควบคมุ จราจร และนาํ ขบวนเขา ที่หมาย
- อาจใชรถตํารวจทางหลวง เน่ืองจากสามารถสั่งการแกตํารวจทองที่ตามเสนทางที่ผาน โดยผู

ควบคมุ ขบวนอาจอยูในรถคนั น้ี
รถบคุ คลสาํ คญั (Limousine)

- ควรเปนรถทีม่ ีสมรรถนะดีทสี่ ดุ
- ตองตรวจสอบสภาพกอ นนาํ ไปใชงาน
- ภายในรถประกอบดวย พลขับ หวั หนา ชุดตดิ ตาม และบุคคลสาํ คญั
รถติดตาม (Follow Car)
- อาจจะมี ๒-๓ คัน แลว แตส ถานการณ
- เจา หนา ท่รี ักษาความปลอดภัยจะอยใู นรถเหลา นที้ ั้งหมด
- ทาํ หนา ท่เี ปน รถกีดขวาง สกัดกัน้ ใหกบั รถบคุ คลสําคญั เพอื่ ไมใหร ถคันอืน่ เขา ใกลหรือตอทา ย
- ในรถตองมีอุปกรณพิเศษ เชน หนากากปองกันไอพิษ เครื่องปฐมพยาบาล เครื่องชวยหายใจ
เสือ้ เกราะกันกระสุน หรอื ปน กล
รถคณะเจาหนาที่ (Staff Car) เปน รถของคณะเจาหนาท่ีทาํ งาน หรือ คณะตดิ ตามของบคุ คลสําคญั
รถพยาบาล (Ambulance) จะอยูในขบวนรถ กรณีท่ีบุคคลสําคัญมีขาวสารขั้นตนเก่ียวกับโรคประจําตัว
ภายในรถจะมี แพทย พยาบาล และ อปุ กรณปฐมพยาบาลครบถว น
รถสาํ รอง (Reserve Car) เปน รถที่จดั ไวสํารองกรณีรถบคุ คลสําคญั เกดิ เหตฉุ ุกเฉิน หรอื ขดั ของ
รถปดทายขบวน (Tail Car) มีหนาที่ระวังปองกันรถคันอื่นแซงขบวน หรือ ตัดขบวน รายงานขาวสาร
ของขบวนใหผ คู วบคมุ ขบวนรถทราบ

๒๙

๓๐

๓.๓ ความรับผดิ ชอบของพลขบั และเทคนิคการขบั รถ
๓.๓.๑ เมื่อรถบคุ คลสาํ คญั จะเลี้ยว ใหเคล่ือนรถชิดขอบดานในของถนน เพ่ือเปดชอง

ใหรถตดิ ตามเขา มาชว ยก้ันเสนทางให
๓.๓.๒ พลขบั รถบุคคลสําคญั ตองถอื เสมอื นวารถตดิ ตามเปน รถคันเดียวกนั ในเวลาที่

จะเขา จอด หรอื ผา นจดุ ทนี่ าจะเปน อันตราย ตอ งมที ี่วา งสาํ หรับรถ ๒ คันเสมอ
๓.๓.๓ พลขับรถติดตาม ตองกําหนดจุดจอดรถท่ีสามารถปองกันใหกับรถของบุคคล

สําคัญได แมในขณะท่ีกําลังจะออกเดินทางหรือขณะใกลจะถึงที่หมาย ปกติจะจอดรถใกลกับรถบุคคล
สาํ คัญ แตจ ะไมอ ยใู นแนวเดียวกบั ขบวนรถ เพอ่ื สามารถจะเคลอื่ นทอ่ี อกไดต ลอดเวลา

๓.๓.๔ ใชเทคนิคการขับรถติดตามคอยกันรถตาง ๆ ท่ีจะเขาใกลรถบุคคลสําคัญ โดย
ขับเย้ืองไปทางดานขวาหรือดานซายในลักษณะครอมชองทาง ทั้งนี้ระวังรถขนาดเล็กที่สามารถจะผานเขา
มาประชดิ รถบุคคลสําคัญได

๓.๓.๕ การปฏิบัตเิ ม่อื ขบวนรถหยุดทามกลางจราจร
- รถบุคคลสําคัญ เม่ือหยุดตองมีที่วางดานหนาเพ่ือเล้ียวออกได และตองไม

หยดุ คูขนานกับรถคนั อนื่ ในลักษณะประตูตรงประตู
- รถติดตาม จอดหลังรถบุคคลสําคัญไปทางซาย เพ่ือขวางไมใหรถท่ีมา

ดา นหลังขบั ขน้ึ มาคกู ับรถบุคคลสําคัญ และการจอดตอ งใหม ีทวี่ างพอทจ่ี ะเคลอื่ นทไ่ี ดเ มอ่ื เกิดเหตุฉุกเฉนิ
- รถติดตาม จะตองใหความสนใจเปนพิเศษ กับรถท่ีมาจอดขนานกับรถ

บุคคลสําคัญ

ภาพการปฏิบตั ใิ นการขบั รถติดตาม

รูปขบวนแบบพน้ื ฐาน (The Basic Configuration)

๓๑
….

………



๓๔

๓.๔ การชกั ลอม (Running The Fenders)
เปน มาตรการหน่ึงในการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญ ขณะท่ีขบวนรถ

บุคคลสําคัญเคลื่อนท่ีดวยความเร็วต่ําอยางชา ๆ ในหมูฝูงชนท่ีคอนขางมากหรือหนาแนน การปฏิบัติ
กระทําไดด งั น้ี

๓.๔.๑ ใชเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยในรถติดตามดําเนินการ โดยจะใชเจาหนาท่ี
หลงั ซา ยและหลงั ขวาวง่ิ ไปทปี่ ระตดู า นหลงั ทง้ั สองขางของรถบุคคลสําคัญ เพ่ือใหก ารตรวจการณและคมุ ภัย

๓.๔.๒ เมื่อฝูงชนหนาแนนและเขาใกลรถบุคคลสําคัญ จะเพิ่มเจาหนาท่ีอีก ๒ คน คือ
รอง หน.ชุดติดตาม กับเจาหนาที่ที่เหลือ โดยรอง หน.ชุดติดตามจะเขาไปแทนเจาหนาที่ในตําแหนงประตู
ดา นซาย และเจา หนาที่ผูน้นั จะเลื่อนไปอยูบรเิ วณลอ หนาซาย ทางดา นขวาก็ปฏิบัติเชน เดียวกนั

๓.๔.๓ ในการถอนตัวขึ้นรถจะใชชะลอความเร็วในการเดิน เมื่อรถติดตามข้ึนมาทัน

ก็จะขนึ้ รถ โดยจะไมมกี ารวงิ่ กลบั มาข้ึนรถ

๓.๕ การเคลอื่ นยา ยบุคคลสําคัญจากขบวนรถโดยไมมีภัยคกุ คาม
ในกรณีที่รถบุคคลสําคัญไมสามารถเคล่ือนที่ไปได เนื่องจากการขัดของของระบบ

เคร่ืองยนต เจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยมีวิธีการท่ีจะนําบุคคลสําคัญลงจากรถคันท่ีขัดของเคลื่อนยายไป
ยงั รถสํารองหรือรถติดตามไดอยา งปลอดภยั โดยมีการปฏบิ ัตดิ ังน้ี

๓.๕.๑ หัวหนาชุดติดตาม แจงใหรองหัวหนาชุดในรถติดตามทราบวาจะมีการ
เคล่ือนยายบุคคลสาํ คัญไปยังรถสาํ รอง

๓.๕.๒ รถทั้งสองเคล่ือนไปยังจุดท่ีปลอดภัย รถสํารองอยูทางดานซาย รถบุคคล
สําคัญอยูท างดานขวาจอดเทยี บกัน โดยรถติดตามอยูดา นหลังก่งึ กลางรถทง้ั สองและเปด ประตูกําบงั ไว

๓.๕.๓ หัวหนาชุดติดตามลงจากรถ เพื่อนําบุคคลสําคัญที่การเคล่ือนยายไปยังรถ
สาํ รอง โดยใชป ระตูรถของท้งั สองคันเปนทีก่ าํ บัง เจา หนา ที่รถติดตามคมุ กันรอบรถท้งั สอง

๓๕
๓.๕.๔ บคุ คลสาํ คญั เขา ที่นั่งเรียบรอย หัวหนาชุดติดตามเขาน่ังตําแหนงเดิม เจาหนาท่ี
ชดุ ตดิ ตามกลับเขา รถติดตามเคล่อื นทเ่ี ขา รปู ขบวน พลขับรถบคุ คลสําคญั และเจาหนา ท่ีรักษาความปลอดภัย

ประจําอยูกบั รถที่เสยี เพือ่ ดําเนนิ การตอ ไป
๓.๖ การเคลอื่ นยายบุคคลสําคญั จากขบวนรถเมื่อถกู โจมตี
กรณีขบวนรถบุคคลสําคัญถูกโจมตี ไมสามารถจะเคล่ือนท่ีไปได หัวหนาชุดติดตาม

จะเปน ผูสงั่ การใหทําการเคล่อื นยายบคุ คลสาํ คัญไปยงั รถของเจาหนาทต่ี ดิ ตาม โดยกระทําดังนี้
๓.๖.๑ เม่ือมีรถขวางหนาทําใหรถบุคคลสําคัญไมสามารถเคล่ือนทีไปได จะใชรถ

ติดตามดันรถบุคคลสาํ คญั ซึง่ อาจจะชนส่งิ กีดขวางเพ่อื เปดเสน ทาง
๓.๖.๒ หลังจากพนพื้นที่อันตรายแลว พลขับรถติดตามนํารถข้ึนไปเทียบรถบุคคล

สําคญั ในทิศทางตรงขา มกับทศิ ทางท่ถี กู โจมตี
๓.๖.๓ รองหัวหนาชุด พรอมเจาหนาที่หลังซายลงจากรถเขายิงตอสูกับผูกอการราย

เพอื่ คมุ กนั การเคลอื่ นยาย เจา หนาทห่ี ลงั ขวาและทเี่ หลอื เขา คุมกันระวังปองกันดา นตรงขา ม
๓.๖.๔ หัวหนาชุดปนขามเบาะหนามาเบาะหลัง พาบุคคลสําคัญขึ้นรถติดตาม

รองหวั หนา ชดุ ถอนตวั ขน้ึ รถตดิ ตาม แลว รบี เคลอ่ื นท่ีพาไปยงั พนื้ ทีป่ ลอดภยั โดยเรว็ โดยมีพลขบั รถ

๓๖

บคุ คลสาํ คญั และเจาหนา ที่ทเ่ี หลืออยูก บั รถบคุ คลสําคัญดําเนนิ การยงิ คมุ กนั ให

๓.๗ การปฏิบัตกิ ารรักษาความปลอดภัยขณะขบวนเขา ท่หี มาย
ในขณะท่ีขบวนรถบุคคลสําคัญกําลังจะเขาที่หมาย จะตองประสานการติดตอกับชุด

สวนลวงหนา โดยขอทราบข้ันตอนการปฏิบัติตาง ๆ ของบุคคลสําคัญ โดยหัวหนาชุดสวนลวงหนาจะ
รายงานใหหัวหนา ชุดติดตามทราบในเรอ่ื งกําหนดการที่บุคคลสาํ คญั ตอ งปฏบิ ตั ิ จํานวนผูม าใหการตอนรับ
มีการมอบสิ่งของอะไรบาง จํานวนเทาใด มีลักษณะพิเศษอยางไร จํานวนประชาชนท่ีใหการตอนรับ
สื่อมวลชน มีการขอสัมภาษณห รอื ไม ถามเี กีย่ วกับเร่อื งอะไร รวมขา วสารอ่ืน ๆท่จี ําเปน

พลขับรถบุคคลสําคัญชะลอความเร็ว เพ่ือใหเจาหนาท่ีในรถติดตามลงจากรถทําการ
ชักลอม เขาสังเกตการณและคุมกัน ในขณะที่การจอดรถจะจอดตรงจุดที่หัวหนาชุดสวนลวงหนายืนให
สัญญาณการจอด

พลขับรถติดตามจะจอดรถใกลกับรถบุคคลสําคัญ แตจะไมอยูในขบวน เพ่ือให
สามารถพรอมจะเคลอื่ นท่อี อกไดต ลอดเวลา

บุคคลสําคัญลงจากรถ เจาหนาท่ีชุดติดตามทั้งหมดเขามาเดินอยูในรูปขบวนการวาง
กําลังนําบุคคลสําคัญเขาที่หมาย ณ ขณะน้ีประตูรถบุคคลสําคัญยังเปดอยู ถาเกิดเหตุการณข้ึนชุดติดตาม
จะพาบุคคลสาํ คัญกลบั ขน้ึ รถและออกจากพืน้ ที่นัน้ ทนั ที

๓๗
การปฏิบตั กิ ารรักษาความปลอดภยั ขณะขบวนรถเขา ท่หี มาย

๓.๘ การปฏบิ ตั กิ ารรักษาความปลอดภยั ขณะขบวนรถออกจากทห่ี มาย
ขณะบุคคลสําคัญจะออกจากที่หมายมาขึ้นรถน้ัน จะตองเขมงวดเปนพิเศษ เพราะเปน

ชว งท่ีลอแหลมตอ อนั ตรายมากที่สุด การปฏบิ ตั ิจะคลา ยกันกบั การรักษาความปลอดภัยขณะเขา ท่ีหมายคอื
หัวหนาชุดติดตามจะแจงใหขบวนรถทราบ หัวหนาชุดรักษาความปลอดภัยประจํา

สถานที่ (Site Agent) จะรออยูท่ีขบวนรถและจะเปนผูเปดประตูใหบุคคลสําคัญ โดยมีชุดรักษาความ
ปลอดภัยประจําสถานท่ีเขาชักลอมรถบุคคลสําคัญไประยะหนึ่งจนกวาจะพนฝูงชนท่ีหนาแนน หากไมมี
ชุดรักษาความปลอดภัยประจําสถานท่ี หัวหนาชุดติดตามจะเปนผูเปดประตูรถใหบุคคลสําคัญ และชุด
ตดิ ตามจะดาํ เนนิ การชักลอมรถบุคคลสาํ คัญแทน

๓๘
การปฏบิ ตั ิการรักษาความปลอดภัยขณะขบวนรถออกจากท่ีหมาย

ตอนที่ ๓ การักษาความปลอดภัยบุคคลสําคญั ทางน้าํ
๑. กลา วนาํ
ในบางโอกาสบุคคลสําคัญอาจจะตองเดินทางโดยเรือเพื่อปฏิบัติภารกิจหรือเพื่อทัศนศึกษา

และชวทิวทศั นจ ึงมคี วามจาํ เปน อยางยง่ิ ทจ่ี ะตองจัดขบวนเรือคุม กัน เพื่อใหการรักษาความปลอดภัยทางน้ํา
แกบุคคลสาํ คัญดังกลาว โดยทัว่ ไปการจัดรูปขบวนเรอื คมุ กนั จะแบงออกเปน ๒ ระดับคือ คือ บุคคลสําคัญ
ระดับพระราชอาคันตุกะ หรือบุคคลสําคัญระดับแขกของรัฐบาล และบุคคลสําคัญระดับแขกของ ทร. ซึ่ง
แนวทางการจดั รปู ขบวนเรอื จะไมแตกตางกนั มากนกั จํานวนเรือคุมกนั อาจปรบั แตงไดต ามความเหมาะสม

๓๙
รูปขบวนเรอื ในการรกั ษาความปลอดภัยบคุ คลสําคญั

๒. รปู ขบวนเรือในการรักษาความปลอดภยั บุคคลสําคญั
๒.๑ เรอื กรุย มีหนา ที่
๒.๑.๑ ปฏิบัติหนาทแ่ี จงเตอื นเรอื ลําอื่นเพือ่ เปดทางใหข บวน
๒.๑.๒ กนั เรือลําอ่ืนใหพน จากเสน ทางทีข่ บวนเรือจะผาน
๒.๒.๓ เปนเรอื ลว งหนาโดยมีระยะตอจากเรือนําขบวน ๑๐๐ – ๓๐๐ เมตร
๒.๒.๔ ปกติตามลําน้ํามักจะมอบหมายใหก รมเจา ที่เปน ผูจ ดั เรือกรุย

๔๐

๒.๒ เรอื นาํ ขบวน มหี นาที่
๒.๒.๑ เปนเรือคุมกนั ดานหนา เรอื บคุ คลสําคญั
๒.๒.๒ ระมัดระวงั มใิ หเรอื ลาํ อน่ื แลนตดั หนาเรอื บุคคลสาํ คญั
๒.๒.๓ มรี ะยะตอจากเรอื บุคคลสําคญั ประมาณ ๑๐๐ - ๒๐๐ เมตร
๒.๒.๔ ปกตกิ องทพั เรือจะจดั เรือตรวจการณชายฝง (ตกช.) เปน เรอื นําขบวน

๒.๓ เรอื บคุ คลสําคญั
๒.๓.๑ จดั เปน เรือสาํ หรับบคุ คลสําคญั และคณะ อาจเปนเรือยนตห ลวงจากกองทัพเรือ

หรือเรือพาณชิ ยที่ไวเ ฉพาะ
๒.๓.๒ ตองมีการตรวจสอบมาตรการรักษาความปลอดภยั โดยพจิ ารณาถึง
๒.๓.๒.๑ ชนิด ขนาด และความสามารถของเรือในการท่ีตอตานตอสภาพ

ลมฟา อากาศและคล่นื ลม
๒.๓.๒.๒ มีการตรวจสภาพเรืออยางละเอียด โดยรวมกับผูรับผิดชอบทาง

เรือลําน้นั และทดลองขับ
๒.๓.๒.๓ ตรวจสอบขั้นตนวา มีบุคคลที่ไมมีหนาท่ีหรือมีวัตถุหีบหอแอบ

ซอ นไปในเรือหรือไม
๒.๓.๒.๔ ใชมนุษยกบหรือประดาน้ําตรวจใตทองเรือ เพื่อหาเคร่ืองมือกอ

วนิ าศกรรม
๒.๓.๒.๕ หัวหนาคนครัวนําตรวจอาหาร หองเย็นเก็บอาหาร ครัว และ

หองอาหาร
๒.๓.๒.๖ ทดลองเคร่อื งมือสือ่ สาร
๒.๓.๒.๗ ตรวจสอบเครอ่ื งชวยชีวิตยามฉกุ เฉินมเี พยี งพอและใชการได
๒.๓.๒.๘ ตรวจสอบเครอ่ื งมือดับเพลิงทุกชนิด เคยมีการซอมเม่ือเกิดอัคคีภัย

บนเรือหรือไม
๒.๓.๒.๙ ถาเปนเรือใหญค วรมีลานสําหรบั จอด ฮ. ลงจอดไดด วย
๒.๓.๒.๑๐ เจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยตองคอยสังเกตดูเรือลําอื่น ๆ ท่ีจะ

เขา มาเทยี บกับเรอื บุคคลสําคัญ
๒.๔ เรือคุม กัน มหี นา ท่ี
๒.๔.๑ เปนเรือคุมกันกราบ ขวา-ซาย มีระยะเคียงจากเรือบุคคลสําคัญประมาณ ๕๐–

๑๐๐ เมตร
๒.๔.๒ ปฏบิ ตั ิหนา ท่ีกันมิใหเ รือลาํ อ่ืนเขา ใกลเรอื บุคคลสําคัญ
๒.๔.๓ รักษาความปลอดภยั และระงบั เหตรุ ว มกับขบวนเรือคมุ กันเมือ่ เกิดสถานการณ

๔๑

ฉกุ เฉนิ โดยประสานการปฏบิ ัติกบั ผูอํานวยการรกั ษาความปลอดภยั บุคคลสาํ คญั
๒.๔.๔ ปกตจิ ะมอบหมายใหต าํ รวจนาํ้ จัดเรอื คุมกนั ซึ่งบางครั้งอาจมีความจําเปนตอง

จัดถึง ๔ ลํา โดยแบง ความรบั ผิดชอบในการคมุ กนั กราบละ ๒ ลํา โดยมเี รอื บุคคลสําคญั อยตู รงกลาง
๒.๕ เรือสํารอง เปน เรอื ทีจ่ ดั สํารองไวกรณเี รือบุคคลสําคัญเกิดเหตฉุ กุ เฉินหรอื ขดั ของ
๒.๖ เรือปดทายขบวน มีหนาที่ระวังปองกันเรือลําอื่นแซงขบวนหรือตัดขบวน รายงาน

ขาวสารของขบวนเรอื ใหผ ูอํานวยการรกั ษาความปลอดภยั ทราบ ปกตกิ องทพั เรือจะเปนผจู ดั
๒.๗ เรือแลนตรวจริมฝงมีหนาทีแ่ ลนตรวจริมฝงทั้งสองดา นเพื่อใหการรักษาความปลอดภัย

เปนการแลนตรวจโดยอิสระไมตองเขาขบวนเรือ แตใหแลนตรวจดวยความเร็วท่ีไมทําใหเกิดคล่ืนท่ีเปน
อนั ตรายแกเ รอื อน่ื ๆ ปกติกองทัพเรอื หรอื กรมเจา ท่จี ะเปน ผจู ัด

๓. การรกั ษาความปลอดภยั บรเิ วณทา เทียบเรือ
๓.๑ หนวยถอดทําลายอมภัณฑตราจคนวัตถุระเบิดรวมทั้งวัตถุไดแนวนํ้าที่อาจจเปน

อันตรายตอการนําเรือเขาเทียบ และออกจากทาบริเวณเทียบเรือและบนฝง แลวสงมอบพ้ืนที่ใหเจาหนาท่ี
สารวตั รทหารหรือตาํ รวจในทองทรี่ บั ผิดชอบกอนบุคคลสําคัญมาถงึ อยา งนอย ๑ ชม.

๓.๒ เจาหนาท่ีสารวัตรทหารหรือเจาหนาที่ตํารวจรักษาความปลอดภัย บริเวณทาเทียบเรือ
และบนเรอื บคุ คลสําคัญ หลังจากหนว ยถอดทาํ ลายอมภณั ฑไ ดตรวจคน วตั ถรุ ะเบิดเสร็จเรยี บรอยแลว และ
ยังคงรับผิดชอบบริเวณทาเทียบเรือไปจนกวาเรือบุคคลสําคัญจะเขาเทียบ และบุคคลสําคัญข้ึนฝงเรียบรอย
แลว

๓.๓ ชุดสวนลวงหนา ตรวจพ้ืนที่สูงขมบริเวณทาเทียบเรือ เพ่ือรักษาความปลอดภัยเปน
พิเศษระหวางบุคคลสําคัญขึ้นและลงจากเรือ โดยประสานการปฏิบัติกับเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยใน
พ้ืนที่ โดยจัดคนเขาควบคุม นอกจากนี้ยังตองพิจารณาถึงดานการรักษาความปลอดภัยบนสะพาน ขณะท่ี
ขบวนเรอื บุคคลสําคญั ลอดผานใตส ะพานอีกดวย

๔. การรักษาความปลอดภัยเมอ่ื บุคคลสาํ คญั วายน้าํ
ในการวางกําลังเจาหนาที่รักษาความปลอดภัยขณะบุคคลสําคัญวายนํ้า หัวหนาชุดติดตาม

จะตองอยูใกลบคุ คลสาํ คญั ใหม ากที่สุด ในขณะท่ีชุดติดตามคนอื่น ๆ จะอยูบนชายหาดไปทางปกซาย-ขวา
และตรงกลาง นักวายนํ้าชวยชีวิตจะอยูบนเรือลอยลําอยูในระยะที่พอจะชวยเหลือได ทั้งนี้ขึ้นอยูกับ
สถานการณ

ตอนที่ ๔ การรกั ษาความปลอดภยั บุคคลสําคญั ทางอากาศ
ประเภทของเครอ่ื งบินทีจ่ ัดใหบุคคลสาํ คัญจะมอี ยู ๒ ประเภท คือ เคร่ืองบินของทางราชการ และ

เครอ่ื งบนิ พาณชิ ยท ว่ั ไป

๔๒

๑. เคร่อื งบินของทางราชการ
๑.๑ การควบคุมดานความปลอดภยั เครอ่ื งบิน จะใชผ ูเ ชีย่ วชาญทางดานการตอตานการกอ

วินาศกรรมและหัวหนาชางเคร่ืองบินเปนผูตรวจสอบเคร่ืองบินอยางละเอียด เพ่ือหาสิ่งแปลกปลอมและ
ชิ้นสวนท่ีอาจจะกอใหเกิดอุบัติเหตุ ตรวจเสร็จตองจัดยามเฝาตลอดเวลา อนุญาตใหเฉพาะเจาหนาท่ีท่ี
เกย่ี วของกับการบินเทา นน้ั ทีจ่ ะเขาไปบริเวณทจ่ี อดได

๑.๒ การเติมเชื้อเพลิงและการควบคุมขณะจอดแวะระหวางทาง หัวหนาชางจะเปนผู
ควบคุมดูแลตลอดเวลา

๒. เครอ่ื งบนิ พาณิชย
การรักษาความปลอดภัยใหกับเคร่ืองบินประเภทนี้มีปญหาหลายประการโดยเฉพาะ ปจจุบัน

การจ้ีเคร่ืองบินโดยอาวุธบีบบังคับนักบินใหบินไปตามทิศทางที่ตนตองการ หรือการจ้ีจับตัวผูโดยสารมี
จํานวนมากขึ้น จึงขอพึงสังวรณเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในการใชเครื่องบินพาณิชยอยูเสมอ
นอกจากน้ียังมอี ันตรายทีอ่ าจจะเกิดข้ึนอกี หลายรูปแบบ เชน

๒.๑ ผูกอการราย อาจถือโอกาสเดินทางปะปนกับผูโดยสารแลววางระเบิดไว โดยต้ังเวลา
ใหร ะเบิดภายหลังทีต่ นลงจากเคร่อื งบนิ ไปแลว หรือหาโอกาสทาํ รายบคุ คลสาํ คัญในเครื่องบิน โดยยอมถูก
จบั ภายหลัง

๒.๒ ติดตอขอความรว มมอื กบั ศลุ กากรประเทศตา งๆ ทเี่ ครื่องบนิ จะจอดพักระหวา งทางและ
กอนเครื่องบินออกจะตองมีการตรวจกระเปาเดินทาง และพัสดุทุกช้ินของผูโดยสารใหมอยางเขมงวด
รวมท้งั กระเปาถือดวย

๒.๓ เพ่ือปองกันมิใหผูโดยสารอ่ืนถูกใชเปนเคร่ืองมือในการห้ิวกระเปาระเบิด หรือวัตถุที่
เปนภัยเขาไปในเครื่องโดยไมรูตัว ควรประกาศใหผูโดยสารทราบในขณะที่กําลังตรวจกระเปาวาอาจมี
คนรายหลอกใหผูโดยสารลักลอยนําทองหรือเพชรเถ่ือนออกนอกประเทศ จึงขอใหผูโดยสารทุกคนตรวจ
ในกระเปาพรอม ๆ กันไป เพ่ือใหม่ันใจวาเปนของตนอยางแทจริง รวมท้ังกระเปาและหีบหอทุกชิ้นมี
เจาของที่จะไปพรอ มกบั เครอ่ื งจรงิ

๒.๔ ขาวสารทุกอยางเก่ียวกับการเดินทางของบุคคลสําคัญควรจะเก็บไวเปนความลับ อาจ
เปด เผยไดห ลงั จากออกเดินทางไปแลว

๓. การรักษาความปลอดภัยขณะทําการบนิ
๓.๑ กอนที่บุคคลสําคัญจะเดินทางไปข้ึนเคร่ืองบิน เจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยประจํา

สถานทไ่ี ดแ ก ทหาร ตํารวจ จะตอ งวางกาํ ลงั ตามจดุ ตาง ๆ ทว่ี างแผนไว ณ บรเิ วณทาอากาศยาน
๓.๒ จัดท่นี ง่ั ใหบุคคลสาํ คญั และคณะผตู ดิ ตามนง่ั แยกจากผโู ดยสารอื่น ๆ ไมควรอนุญาตให

ผไู มมหี นา ท่เี กยี่ วขอ งเขา มาในบรเิ วณดงั กลาวโดยเด็ดขาด

๔๓

๓.๓ ควรจัดเจาหนาท่ีรักษาความปลอดภัยน่ังอยูทายสุดของแถวผูโดยสารธรรมดา ดานที่
ติดกบั ทางเดนิ ไปสูบ รเิ วณที่นั่งบคุ คลสาํ คัญ เพอ่ื ปองกนั มใิ หผูโดยสารอ่นื เขา มาปะปนและสามารถควบคุม
ผูโดยสารชั้นอนื่ ไดก รณจี าํ เปน

๓.๔ ควรจดั เจาหนาทีร่ ักษาความปลอดภัยน่ังขางหนา และขางหลังบุคคลสาํ คัญ
๓.๕ ขณะที่เคร่ืองหยุดพักระหวางทาง จะตองมีเจาหนาที่รักษาการณทั้งภายในและ
ภายนอกเครอ่ื งบิน และผูทเ่ี ขา มาในเครอ่ื งบนิ ขณะนนั้ เชน เจา หนาที่ศลุ กากร และพนักงานทําความสะอาด
จะตองติดตามและควบคุมอยูตลอดเวลา ในสวนการเติมน้ํามันเช้ือเพลิงและการบริการอื่น ๆ หัวหนาชาง
เคร่ืองบนิ จะตอ งควบคุมดูแลอยูดวย
๓.๖ การรักษาความปลอดภยั ขณะลงจากเคร่ืองบิน ตามปกติกอ นท่ีบคุ คลสาํ คัญจะเดินทาง
ไปตางประเทศ มักจะใหเจาหนาที่รักษาความปลอดภัยชุดหนึ่งเดินทางไปลวงหนาติดตอกับเจาหนาที่
รกั ษาความปลอดภยั ของประเทศที่จะไปเยือน เพื่อเตรยี มวางแผนการรกั ษาความปลอดภัยในทองถน่ิ น้ัน
๔. การรกั ษาความปลอดภยั ณ ทาอากาศยาน
๔.๑ ประสานกบั เจาหนา ท่อี ากาศยาน
๔.๒ เตรียมการดานการรกั ษาความปลอดภยั เคร่ืองบนิ
๔.๓ ตรวจสอบบรเิ วณลานจอดเครื่องบิน และอปุ กรณป ระจํา
๔.๔ ตรวจสอบวามบี รกิ ารฉุกเฉนิ หรอื ไม
๔.๕ ตรวจสอบการรักษาความปลอดภยั ตามลานวิง่
๔.๖ ตรวจสอบวา

๔.๖.๑ บุคคลสําคญั อ่ืน ๆ จะอยู ณ จดุ ใด
๔.๖.๒ คณะตอนรบั จะอยู ณ จุดใด
๔.๖.๓ ประชาชนอ่นื ๆ จะอยู ณ จุดใด
๔.๗ ตรวจสอบการเตรียมการเกีย่ วกับกระเปา เดินทาง
๔.๘ ตรวจสอบยานพาหนะทจี่ ะใชในขบวน เชน ประเภท ทะเบียนรถ และสถานที่จอดรถ
๔.๙ ตรวจสอบวา มชี ดุ เก็บกวู ัตถุระเบดิ หรอื ไม
๔.๑๐ กาํ หนดทา อากาศยานสํารองไว

ตอนที่ ๕ การรกั ษาความปลอดภยั บุคคลสาํ คญั ในโอกาสอน่ื ๆ
๑. การรักษาความปลอดภัยเมื่อบคุ คลสาํ คญั เดินตามแนวรัว้ (Fence Line)
ลักษณะในการรักษาความปลอดภัยนี้ จะใชในกรณีท่ีบุคคลสําคัญเยี่ยมเยียนประชาชนซึ่งใน

พื้นทีท่ ีก่ าํ หนดโดยมี เชือก รวั้ หรอื เจา หนา ทตี่ าํ รวจคอยกน้ั มิใหลํา้ เขต ซึ่งบางคร้งั อาจมีผูไมห วงั ดตี อบคุ คล

๔๔
สาํ คัญ โดยการจบั มอื แนนไมยอมปลอ ย กรณีนี้เจาหนาที่อาจใชว ธิ ีการหักนว้ิ หัวแมม อื ได ฉะนนั้ เจา หนา ที่
ทอี่ ยใู นรูปขบวนตองสงั เกตดูมอื ผูค นในฝงู ชนเปนพเิ ศษ ในการวางกาํ ลังเจาหนาทจี่ ะเปน ดงั น้ี

๑.๑ ใหห ัวหนาชดุ ติดตามและรองหัวหนาชุดฯ อยูในตาํ แหนง หลังขวาและหลังซาย ติดกับ
บุคคลสําคัญตลอดเวลา

๑.๒ หวั หนาชดุ สว นลวงหนา เดินนาํ บุคคลสําคญั ไปในเสนทางทก่ี าํ หนด
๑.๓ เจาหนาท่ีปฏิบัติการหลังขวาและหลังซาย เดินปะปะอยูในแถวท่ีสองของฝูงชน โดย
เคล่ือนขนานไปกับบุคคลสําคัญตลอดเวลา ผูท่ีจะทํารายบุคคลสําคัญมักจะอยูในบริเวณแถวที่สอง ถามี
การใชอ าวธุ เจาหนา ทแี่ ถวสองจะสามารถหยุดยง้ั ได

การรกั ษาความปลอดภยั เมื่อบุคคลสําคัญเดินตามแนวรวั้ (Fence Line)

๒. การรักษาความปลอดภยั ขณะเมอื่ บุคคลสาํ คัญยืนตอนรบั แขก (Receiving Line)
ในโอกาสท่ีบุคคลสําคัญเปนเจาภาพในงานเล้ียงรับรอง จะตองมายืนตอนรับแขกที่มาในงาน

เจาหนา ท่ีรักษาความปลอดภยั ตอ งมีมาตรการในการวางตวั ใหก ลมกลนื กับสภาพแวดลอม เพือ่ สังเกตการณ
แขกท่ีมีในงาน ซ่งึ พอจะแสดงแนวทางในการวางกาํ ลังได ดงั นี้

๒.๑ หวั หนา ชดุ ประจําสถานที่และเจาหนาท่ชี ดุ ปฏิบตั ิการหลงั ซา ย มหี นาทคี่ อยสังเกตแขก

๔๕
ที่มาพบ โดยวางตัวอยูกอนจะถึงบุคคลสําคัญ ในตําแหนงท่ีสามารถสังเกตแขกที่มาพบและสัมผัสมือกับ
บคุ คลสาํ คญั ท้ังนจ้ี ะตองพรอ มทจ่ี ะสามารถแกไ ขสถานการณไดท ันทีเมอื่ มเี หตกุ ารณเกิดขนึ้

๒.๒ หัวหนาชุดติดตามและรองหัวหนาชุดฯ ยืนติดกับบุคคลสําคัญทางดานหลังขวาและ
หลังซาย คอยสังเกตดูบุคคลท่ีกําลังสัมผัสมือหรือกําลังสนทนากับบุคคลสําคัญ และพรอมท่ีจะชวยเหลือ
บุคคลสําคญั ไดตลอดเวลา

๒.๓ เจาหนาที่ชุดติดตามท่ีเหลือ จะวางตัวเลยจุดท่ีบุคคลสําคัญยืนอยูเพ่ือคอยสังเกตแขกที่
สมั ผัสมือกับบุคคลสําคัญแลวเดินออกไป เพ่อื ปองกันการเขาทํารา ยบคุ คลสาํ คญั

๒.๔ เจาหนาที่ชุดประจําสถานท่ี ตองวางกําลังในบริเวณเสนทางเขาตาง ๆ ท่ีอยูในงานพิธี
รว มกบั ชดุ สว นลวงหนา และเตรียมนาํ ทางใหกับชดุ ติดตามเพื่อพาบคุ คลสําคญั ไปยงั ภารกิจตอ ไป

การรักษาความปลอดภยั ขณะเม่อื บคุ คลสําคญั ยนื ตอ นรับแขก (Receiving Line)

๓. การรักษาความปลอดภัยบุคคลสําคัญเมื่อกลาวปราศรัยบนเวที (Banquet Speech or Press
Conference)

ในโอกาสที่บุคคลสําคัญตองข้ึนไปกลาวคําปราศรัยหรือแถลงขาวบนเวที เจาหนาที่รักษา
ความปลอดภัยจะตองวางกําลังตามจุดตาง ๆ ภายในสถานที่นั้น โดยการวางแผนของชุดสํารวจลวงหนา
และการเตรยี มการของชดุ สวนลวงหนา เปน ผกู าํ หนดจุดการวางกาํ ลัง ดังนี้

๔๖
๓.๑ ขณะบุคคลสําคัญข้ึนบนเวที หัวหนาชุดติดตามจะตองอยูบนเวทีดวยโดยอยูบริเวณ
ดานหลังบคุ คลสําคัญ พรอมจะเอาตัวเขาบังเมอื่ เกดิ เหตุการณ
๓.๒ ภายในหอ งตองมีการวางกําลงั ตามจดุ ตาง ๆ ดงั น้ี

๓.๒.๑ ทางเขา – ทางออก หรือทางขึ้น – ทางลงเวที
๓.๒.๒ บรเิ วณดา นหลังเวทีที่มคี นเขา ออก
๓.๒.๓ บริเวณดา นหนา เวที
๓.๒.๔ บรเิ วณเมนสวทิ ย ที่ควบคุม แสงเสยี ง เครื่องฉายภาพ
๓.๒.๕ ภายในกลมุ ผูส ่อื ขา ว และผรู บั ฟง
๓.๓ สํารวจเสนทางออกฉุกเฉนิ แลวใหท ีมเจา หนา ที่รกั ษาความปลอดภยั ทราบ
การรกั ษาความปลอดภยั ในขณะกลาวบนเวที (Banquet Speech or Press Conference)

๔. การรักษาความปลอดภัยในขณะบคุ คลสําคัญเดนิ ข้นึ -ลงบันได (Stairways and Escalators)
ในกรณที บ่ี คุ คลสาํ คัญจะตอ งเคลือ่ นท่ีโดยการใชบ นั ใดนนั้ มีการวางกําลังดงั น้ี
๔.๑ เจาหนาทีช่ ดุ สวนลว งหนา หรือชุดประจําสถานที่ วางกาํ ลงั อยูด า นบนหรอื ดานลา งกอนท่ี

๔๗

บคุ คลสาํ คัญจะข้นึ หรอื ลง โดยกนั ผูทีจ่ ะใชบ ันไดไวก อ นเพือ่ ความปลอดภัยของบคุ คลสําคัญ
๔.๒ เจา หนาที่ชุดติดตาม ๑ คน เดินนาํ บุคคลสาํ คัญหรืลงบันไดกอน หวั หนา ชดุ ติดตามเดิน

อยูใกลบุคคลสําคัญทางดานหลงั เสมอ
๔.๓ เจา หนา ท่ชี ดุ ตดิ ตามท่ีเหลือ เดินตามบุคคลสําคัญพรอมกับใหการรักษาความปลอดภัย

รอบตวั
๔.๔ ในขณะท่ีบุคคลสําคัญขึ้นหรือลงบันได ตองแนใจวาไมมีผูอ่ืนใชบันไดเดินสวนทาง

ได แตบางคร้ังอาจมีความจําเปนตองยอมใหผูอ่ืนใชบันไดรวมดวย กรณีนี้จะตองจัดเจาหนาท่ีสวน
ลว งหนา หรือชดุ ติดตามอยูใ นบันไดเลื่อนปะปนกับประชาชนในชวงขาลงหรือขาขึน้

การรักษาความปลอดภยั ในขณะบคุ คลสาํ คัญเดินขนึ้ -ลงบันได (Stairways and Escalators)

๕. การรกั ษาความปลอดภัยในขณะท่บี คุ คลสาํ คัญเขา -ออก จากลิฟท (Elevator)
แบงออกเปน ๒ กรณี คือ
๕.๑ กรณีจดั ลฟิ ทไ วเ ฉพาะสาํ หรับบคุ คลสาํ คญั
๕.๑.๑ หัวหนาชุดสวนลวงหนา เดินนําบุคคลสําคัญพรอมรูปขบวนไปยังลิฟท โดย

มเี จาหนา ท่ชี ดุ สว นลวงหนาเปด ลฟิ ทรออยู
๕.๑.๒ หัวหนาชุดสวนลวงหนา เปดทางใหเจาหนาท่ีชุดติดตาม ๑ คน เขาลิฟทไป

กอนเพือ่ ควบคุมแผงบงั คบั
๕.๑.๓ บุคคลสําคัญ หัวหนาชุดติดตาม เขาไปในลิฟทพรอมกับชุดติดตามอีก ๑ คน

โดยหัวหนา ชดุ ติดตามยนื บังบุคคลสาํ คญั ไว

๔๘

๕.๑.๔ หัวหนาชุดสวนลวงหนา จะเขาลิฟทเปนคนสุดทายพรอมกับยืนบังดานหนา
บุคคลสาํ คญั ตรงบริเวณประตูลิฟท

เม่ือลิฟทถึงช้ันที่ตองการจะมีเจาหนาท่ีชุดสวนลวงหนาหรือชุดประจําสถานที่คอยอยู
ดานนอกลิฟท เพ่ือใหความปลอดภัย การปฏิบัติใหกลับกันกับการเขาลิฟทคือ หัวหนาชุดสวนลวงหนา
ออกจากลิฟทกอนเปนคนแรก ตามดวยชุดติดตาม ๑ คน บุคคลสําคัญและหัวหนาชุดติดตามและชุด
ติดตามที่เหลือ สวนรองหัวหนาชุดติดตามซ่ึงอยูนอกลิฟทน้ันจะคอยแกปญหาที่เกิดขึ้นภายนอก กรณี
ลิฟทไมสามารถบรรจุชุดปฏิบัติการไดทั้งหมด อยางนอยที่สุดหัวหนาชุดติดตามและหัวหนาชุดสวน
ลว งหนาจะตอ งอยใู นลิฟทกบั บคุ คลสาํ คัญ

๕.๒ การใชล ฟิ ทร วมกบั บคุ คลอ่ืน
การปฏิบัติเหมือนกับการใชลิฟทที่จัดไวโดยเฉพาะ แตใหแบงลิฟทออกเปน ๒ สวน

โดยมีเจาหนาทีก่ ้นั ระหวางบุคคลสาํ คญั กบั บคุ คลอน่ื ทีใ่ ชล ิฟทในขณะนัน้

การรักษาความปลอดภยั ในขณะบคุ คลสําคัญเขา ลิฟท (Elevators)

๔๙


Click to View FlipBook Version