The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างฯลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งัด ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง_26102021

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tkag79, 2021-10-27 05:19:07

แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้าง_26102021

แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างฯลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งัด ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง_26102021

บทสรปุ สำหรับผบู้ ริหาร

การจัดทำแผนการบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพ้ืนทเี่ กษตรกรรม
ดว้ ยระบบอนุรกั ษ์ดินและน้ำ มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 -
2580) ยุทธศาสตร์ท่ี 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความ
สอดคล้องของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ: แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำท้ังระบบ และ
สอดคล้องของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของประเทศ (พ.ศ. 2558 - 2569) ยุทธศาสตร์ท่ี 5
การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน กลยุทธ์: การอนุรักษ์
ฟ้ืนฟูพ้ืนท่ีเกษตรกรรมในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมและชะล้างพังทลายของดิน โดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุด
คือ พ้ืนที่เกษตรกรรมได้รับการอนุรักษ์และฟ้ืนฟูให้สามารถใช้ที่ดินได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตาม
ศักยภาพของพ้ืนที่ ไมน่ ้อยกวา่ 20 ล้านไร่ ภายใน 20 ปี

คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพ้ืนที่เกษตรกรรม
ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ระดับพ้ืนท่ี สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 จึงได้กำหนดพ้ืนที่เป้าหมาย
สำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการฯ คือ ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งดั จังหวัด
เชียงใหม่ โดยได้ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินสถานภาพทรัพยากรดินเชิงระบบสำหรับ
แก้ปัญหาด้านการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและ
ความตอ้ งการของชุมชน และการรบั ฟังขอ้ คดิ เห็นข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายท่ีเกยี่ วขอ้ ง
ทั้งในส่วนกลางและสว่ นภูมิภาค

การกำหนดกรอบแนวคิดจากหลักการ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา โดยการนำฐานข้อมูลด้าน
ทรัพยากรดิน ประกอบด้วย ดินปัญหาและการชะล้างพังทลายของดิน เป็นตัวกำหนดพ้ืนท่ีเป้าหมาย
จากสภาพปัญหาสำหรบั นำไปใช้ในการบริหารจัดการ โดยยดึ ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
และเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บูรณาการข้อมูลเชิงสหวิชาการเพ่ือใช้ในการพัฒนา
กำหนดมาตรการด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพ้ืนที่และความต้องการ
ของชุมชน เพ่ือให้ได้เขตอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีการบริหารจัดการเชิงระบบ เกษตรกรสามารถใช้
ประโยชน์พ้ืนท่ีการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมตามศักยภาพของท่ีดิน โดยสามารถ
สรุปผลการจัดทำแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพ้ืนท่ีเกษตรกรรม
ด้วยระบบอนุรกั ษด์ ินและนำ้ ดงั นี้



1. การประเมินสถานภาพทรัพยากรดินและน้ำเชิงระบบ สำหรับป้องกันการชะล้าง
พงั ทลายของดนิ และฟน้ื ฟพู ื้นที่เกษตรกรรม

1.1 ดา้ นทรพั ยากรดิน
จากการศึกษาและสำรวจข้อมูลดินในพ้ืนที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งัด
ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เพ่ือจัดทำฐานข้อมูลและประเมินสถานภาพ
ทรัพยากรดิน ผลการจำแนกสภาพปัญหาของดินหรือข้อจำกัดต่อการใช้ที่ดินด้านการเกษตร แบ่งเป็น 3
ประเภทหลัก ได้แก่ (1) ปัญหาพื้นที่มีความลาดชันสูง ส่วนใหญ่มีสภาพการใช้ที่ดินเป็นป่าไม้ มีเนื้อที่
71,784 ไร่ หรือร้อยละ 60.47 ของเนื้อท่ีลุ่มน้ำ (2) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ครอบคลุมเนื้อท่ีรวม
30,974 ไร่ หรือร้อยละ 26.09 ของเน้ือท่ีลุ่มน้ำ และ (3) ดินตื้น เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของ
พชื ด้านการชอนไชของรากพชื ครอบคลมุ เนอื้ ทรี่ วม 3,158 ไร่ หรอื รอ้ ยละ 2.66 ของเนอื้ ที่ลุ่มนำ้

1.2 ด้านทรพั ยากรนำ้
จากการศึกษาความสัมพันธ์ของ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การใช้ที่ดิน ทรัพยากรดิน และ
สภาพภูมิอากาศ พบว่า พ้ืนท่ีลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก มีพื้นที่รับน้ำ 118.95 ตารางกิโลเมตร (118,721
ไร่) มีปริมาณน้ำท่าเฉล่ียจากการคำนวณด้วยวิธี Regional Runoff Equation 21.96 ล้านลูกบาศก์
เมตรตอ่ ปี

1.3 ดา้ นการใชท้ ี่ดนิ
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นท่ีเกษตรกรรมในภาพรวมมีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นจากปี
พ.ศ. 2551 โดยมีเน้ือท่ีเพ่ิมข้ึนประมาณ 2,217 ไร่ การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไม้
ผล 26,447 ไร่ หรือร้อยละ 22.28 ของเน้ือที่ลุ่มน้ำ เป็นสวนลำไย 18,768 ไร่ หรือร้อยละ 15.05 ของ
เน้อื ทลี่ ุม่ นำ้ รองลงมาเปน็ นาข้าว 7,799 ไร่ หรอื ร้อยละ 6.57 ของเนื้อท่ีลมุ่ นำ้

1.4 ดา้ นการชะลา้ งพังทลายของดนิ
พื้นท่ีส่วนใหญ่มีความรุนแรงของการชะล้างพังทลายในระดับปานกลาง โดยมีปริมาณ
การสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี โดยครอบคลุมพ้ืนท่ีร้อยละ 53.05 ของเนื้อที่ลุ่มน้ำ พบกระจายตัว
อยู่ทางด้านทิศตะวันตกทอดยาวลงมาทางด้านทิศใต้ของพ้ืนท่ีลุ่มน้ำ สภาพพ้ืนท่ีส่วนใหญ่มีลักษณะ
เปน็ ลูกคลืน่ ลอนชันและใช้ประโยชน์ในการปลกู ไม้ยืนต้น เช่น สกั และยางพารา ส่วนบรเิ วณที่มีสภาพ
พ้ืนท่ีเป็นเนินเขามีสภาพเป็นป่าผลัดใบสมบูรณ์ พื้นที่น้ีในบริเวณที่มีการทำเกษตรกรรมต้องมีการใช้
ประโยชน์ท่ีดินอย่างระมัดระวัง ควรได้รับการจัดการด้วยมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม
รองลงมาพ้ืนท่ีมคี วามรุนแรงของการชะล้างพงั ทลายของดินในระดับน้อย ซึ่งมีปริมาณการสูญเสยี ดิน 0-2
ตันต่อไร่ต่อปี หรือร้อยละ 26.37 ของเนื้อท่ีลุ่มน้ำ พบกระจายตัวอยู่ตามที่ราบริมสองฝ่ังของลำน้ำแม่



งัด ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นท่ีเป็นพ้ืนท่ีราบเรียบจนถึงค่อนข้างราบเรียบและลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
การใช้ที่ดินส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการปลูกข้าว ลำไย มะม่วง สัก ยางพารา และป่าผลัดใบสมบูรณ์
แม้ในพ้ืนที่น้ีซ่ึงมีสถานภาพความรุนแรงในระดับน้อย แต่ควรได้รับการจัดการด้วยมาตรการอนุรักษ์
ดินและน้ำท่เี หมาะสม เพอื่ ปอ้ งกันการสญู เสยี ดนิ

1.5 ด้านเศรษฐกิจและสงั คม
จากการศึกษาข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในพ้ืนท่ีได้รับผลกระทบจากการ
ชะล้างพังทลายของดิน พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำ
สวน และเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจท่ีสำคัญในพ้ืนที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก ปีการผลิต 2563/2564 ได้แก่
ข้าว (ข้าวเหนียวนาปี) ข้าวโพดเล้ียงสัตว์ และ ลำไย มีพื้นที่เกษตรเฉลี่ย 11.83 ไร่ต่อครัวเรือน จำนวน
แรงงานภาคเกษตรเฉล่ีย 2 คนต่อครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ย 80,405.68 บาทต่อคนต่อปี ลักษณะการ
ถอื ครองที่ดนิ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มที ่ีดนิ ทำกินเป็นของตนเอง มีทัง้ ทมี่ หี นงั สอื สำคญั ในท่ีดนิ เช่น
โฉนด นส.3 น.ส.3ก เป็นต้น เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการชะล้างพังทลาย
ของดนิ ตอ่ ความเสียหายทางทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม โดยดินทถ่ี กู ชะลา้ งหรือกดั เซาะจะถกู พัด
พาไหลไปตกตะกอนในแหล่งนำ้ ทำใหแ้ หล่งนำ้ ตื้นเขิน ส่งผลใหใ้ นฤดูฝนแมน่ ำ้ ลำคลองเก็บน้ำไวไ้ ม่ทันเกิด
น้ำท่วม และเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง อีกท้ังสารเคมี และยาฆ่าแมลงที่ไหลปนไปกับตะกอนดินสู่
พ้ืนทตี่ อนล่าง ทำให้เกิดมลพิษสะสมในดนิ และนำ้ มีผลเสียต่อคน พืช สัตวบ์ ก และสตั วน์ ำ้

2. แผนบริหารจัดการ การป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม
ดว้ ยระบบอนุรักษด์ ินและนำ้ พ้ืนทีล่ มุ่ นำ้ แม่งัดฝั่งตะวันตก แผน 5 ปี

แผนบริหารจัดการ การป้องกันการชะล้างพงั ทลายของดนิ และฟ้ืนฟูพื้นท่ีเกษตรกรรมด้วยระบบ
อนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งัด ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง อำเภอ
พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแผนปฏิบัติการเพ่ือเป็นเครื่องมือในการขับเคล่ือนโครงการป้องกันการชะ
ล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ให้สามารถวางแผน
กำหนดมาตรการ และบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมท่ีมคี วามเสีย่ งต่อการชะล้างพังทลายของดินและ
พน้ื ที่เส่ือมโทรม เพ่ือนำไปสู่การใช้ประโยชนอ์ ยา่ งสงู สุด เป็นธรรม และยั่งยืน รวมทั้งสามารถแปลงไปสู่
การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามระบบการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ท่ีสอดคล้องกับประเด็นปัญหา
และบูรณาการการดำเนินการของหน่วยงาน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคีและผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียทเี่ ก่ยี วข้อง

จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาของพ้ืนท่ี ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยข้อมูลทุติย
ภูมิและปฐมภูมิที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันครอบคลุมประเด็นปัญหา



ของสภาพพื้นท่ี ได้แก่ ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน ระดับการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดิน ทรัพยากรน้ำ
สภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดลอ้ ม ซ่ึงมีความเช่อื มโยงกันทั้งด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกจิ และสงั คม ผ่าน
กระบวนการมีส่วนร่วมของชมุ ชน และการรบั ฟังความคิดเห็นของหน่วยงานในระดบั พื้นท่ี เพื่อนำข้อมูล
มาประกอบการวิเคราะห์และจัดทำแผนปฏิบัติการ เพ่ือป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟู
พื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำให้มีประสิทธิภาพถูกต้องเหมาะสม ลดอัตราการชะล้าง
พงั ทลายและกัดเซาะหน้าดิน และการตกตะกอนดิน อันเป็นผลมาจากการใช้ที่ดินไมเ่ หมาะสมบนพื้นที่
ลุ่มน้ำแม่งดั ฝ่ังตะวันตก อำเภอพร้าว จงั หวดั เชียงใหม่ ตลอดจนเพ่ือให้เกษตรกรและชุมชนสามารถใช้
ประโยชนท์ ่ดี นิ ไดอ้ ย่างถกู ต้องและเหมาะสม

พ้ืนท่ีลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ 118,721 ไร่ ประกอบด้วยลำน้ำ
สายหลัก จำนวน 5 สาขา ได้แก่ น้ำแม่วะ น้ำแม่สม+แม่ลาด น้ำแม่ละงอง ห้วยงู+ห้วยเก๋ียงซาง และ
น้ำแม่แพง และจากประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินด้วยสมการสูญเสียดินสากล (USLE)
พบว่าในแต่ละปีมีดินท่ีถูกชะล้างคิดเป็นปริมาณ 706,703 ตัน โดยดินท่ีถกู ชะล้างน้ีบางส่วนจะถูกเก็บ
กกั ไวใ้ นพื้นท่ี ไม่ถูกพดั พาไปยังตอนลา่ งของพนื้ ทห่ี รอื ลงสลู่ ำน้ำทง้ั หมด ทัง้ น้ขี ึ้นอยกู่ ับการใช้ประโยชน์
ที่ดินในพ้ืนท่ี จากการประเมินการเคลื่อนย้ายตะกอนดินสู่ลำน้ำจากข้อมูลการสูญเสียดิน และ
สัมประสิทธ์ิการเคลื่อนย้ายของตะกอน (SDR: Sediment Delivery Ratio)1 จากจุดตรวจวัด P 56a
นำ้ แม่งดั บ้านสหกรณ์ร่มเกล้า ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ พบว่า ปริมาณตะกอนที่แขวนลอยในลำ
น้ำในแต่ละปี มีมากถึง 22,088 ตัน ซ่ึงตะกอนเหล่านี้จะเกิดการเคลื่อนย้ายไปทับถมบริเวณลำน้ำและ
แหลง่ นำ้ ต่าง ๆ กอ่ ใหเ้ กิดการต้นื เขนิ ของลำน้ำและแหลง่ นำ้ ในพนื้ ที่

การป้องกันการชะล้างพังทลายของดนิ ต้องมีมาตรากรอนุรกั ษ์ดินและน้ำเพ่ือลดความรุนแรงของ
การเกิดการชะล้างพังทลายของดินและลดปริมาณตะกอนดินไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำ โดยการลดความ
ยาวของความลาดชันเพื่อลดความรุนแรงของการชะล้างหน้าดิน และการจัดการตะกอนดินให้ไหลลงสู่
พ้ืนที่ท่ีได้จัดทำมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำรองรับไว้ พร้อมท้ังพัฒนาพื้นท่ีให้สามารถใช้ประโยชน์ได้
อย่างยั่งยืน จึงกำหนดแผนงานเพื่อการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพื้นท่ีเกษตรกรรม
ด้วยระบบอนรุ กั ษด์ ินและนำ้ พนื้ ทล่ี ุ่มน้ำแมง่ ัดฝ่ังตะวันตก จำนวน 4 แผนงาน ประกอบดว้ ย

2.1 แผนลดการชะลา้ งพังทลายของดินและรกั ษาดินไวใ้ นพนื้ ที่
การทำการเกษตรในพ้ืนที่ลาดชัน เป็นปัจจัยท่ีกระตุ้นให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
การจัดทำมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำให้เหมาะสมกับสมบัติของดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และสภาพ
ภูมิประเทศ สามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดข้ึนในพื้นท่ี เพ่ือให้พื้นท่ีทำการเกษตร

1 อตั ราสว่ นระหวา่ งตะกอนทแี่ ขวนลอยในลำน้ำแม่งัดกบั ปริมาณดินที่สญู เสยี ในพ้ืนทีร่ ับนำ้ โดยปรมิ าณดนิ ทสี่ ูญเสีย
เปน็ ค่าท่ไี ดจ้ ากการคำนวณ



ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับการทำการเกษตร การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพ้ืนท่ี
เกษตรกรรมตามความลาดชันของพ้ืนท่ีในพื้นท่ีลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตกฯ ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดิน
และน้ำ ดังนี้

(1) พื้นที่นาข้าว จำนวน 6,315 ไร่ นาข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก ส่วน
ใหญ่อยู่บนพน้ื ทค่ี วามลาดชนั น้อย (ความลาดชนั 0-5 เปอร์เซ็นต์) แปลงนาสว่ นใหญ่จะมลี ักษณะเป็น
แปลงขนาดเล็ก และหล่นั ระดับกัน ดังนัน้ จงึ ควรมกี ารปรับระดับแปลงนา (Land leveling) โดยรวม
แปลงนาใหเ้ ปน็ ผืนใหญ่และปรบั ให้มีระดบั สม่ำเสมอกัน เพ่ือให้สะดวกต่อการปฏบิ ัตงิ านของเกษตรกร
และสามารถปอ้ งกันตะกอนดนิ ไมใ่ ห้ไหลออกจากพน้ื ท่ี

(2) พื้นท่ีปลูกพืชไร่ จำนวน 2,389 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ัง
ตะวันตก ร้อยละ 49 อยู่ในพื้นท่ีมีความลาดชัน 2-5 และร้อยละ 36 อยู่ในพ้ืนท่ีมีความลาดชัน 5-12
เปอร์เซ็นต์ และอยู่บนพื้นท่ีมีความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ 6 ในการใช้ประโยชน์พ้ืนที่
ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำเพ่ือลดการชะล้างพังทลายของดิน โดยการทำคูเบนน้ำและการทำ
ข้ันบันไดดิน แบบไม่ต่อเนื่องเป็นระยะ เพ่ือลดความยาวของความลาดชันของพ้ืนท่ีให้เกิดการชะล้าง
หน้าดินน้อยท่ีสุด และระบายตะกอนดินและน้ำในคูเบนน้ำไปตามร่องน้ำธรรมชาติ จากการประเมิน
การชะล้างพังทลายของดิน โดยสมการสูญเสียดินสากลจะพบว่า การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่
ปลูกพืชไร่ก่อนการทำระบบจะมีการสูญเสียดิน 51,453.97 ตันต่อปี หลังจากทำระบบแล้วจะมีการ
สญู เสียดินเพียง 2,376 ตนั ตอ่ ปี

(3) พ้ืนที่ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น จำนวน 20,877 ไร่ พื้นท่ีปลูกไม้ผลและไม้ยืน
ต้น ในพื้นท่ีลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก ร้อยละ 57 อยู่ในพื้นที่มีความลาดชัน 2-5 และร้อยละ 37 อยู่ใน
พ้ืนท่ีมีความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ ในพ้ืนท่ีไม้ผลและไม้ยืนต้น ทรงพุ่มของต้นไม้จะคลุมดินไว้
ไม่ให้เกิดการตกกระทบของเม็ดฝนต่อดินโดยตรง ทำให้อัตราการชะล้างพังทลายดินในพ้ืนปลูกไม้ผล
ต่ำกว่าพ้ืนท่ีปลูกพืชไร่ และการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยวิธีกลในพื้นที่ไม้ผลท่ีโตแล้วจะนำ
เคร่ืองจักรเข้าไปจัดทำระบบอนุรักษด์ ินและน้ำได้ไมส่ ะดวก ดังน้นั การอนุรักษด์ ินและน้ำในพ้ืนท่ีนี้จึง
เน้น การควบคุมทิศทางการไหลของน้ำและการพัดพาตะกอนด้วยโครงสร้างพ้ืนฐาน เช่น ถนนที่มีอยู่
เดิม ทางลำเลียงในไร่นา คูเบนน้ำ ให้น้ำไหลบ่าพาตะกอนลงไปยังร่องน้ำ แล้วสร้างฝายชะลอน้ำหรือ
บ่อดักตะกอนดิน เพื่อลดความเร็วของน้ำและดักตะกอนดิน นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้ประโยชน์จาก
การเกบ็ กกั น้ำของฝายและบอ่ ดกั ตะกอนไว้ใชใ้ นพนื้ ท่ี

2.2 แผนงานปกป้องแหลง่ นำ้ ชลประทานจากการตกตะกอนของดิน
(1) การพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อเพ่ิมพ้ืนที่กักเก็บน้ำ โดยดำเนินการขุดลอก

ลำน้ำสาขาและลำน้ำสายหลัก รวมถึงแหล่งน้ำสาธารณะในพ้ืนท่ี เพ่ือนำตะกอนดินเดิมที่ทับถมในลำ
น้ำและแหล่งน้ำออกจากพ้ืนที่ และจัดทำบ่อหน่วงน้ำ (Retention pond) เพื่อเพ่ิมระยะเวลาในการ



ขังน้ำและการตกตะกอนของตะกอนดิน ซึ่งผลพลอยได้จากการขุดลอกตะกอนดินจะทำให้แหล่งน้ำ
สามารถกักเก็บปริมาณนำ้ ได้มากขนึ้

(2) การดักตะกอนดินไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ โดยดำเนินการสร้างฝาย
ชะลอนำ้ หรือบอ่ ดักตะกอนดินขวางลำนำ้ และร่องน้ำเป็นระยะ เพื่อดกั ตะกอนดนิ ท่ีถกู ชะลา้ งออกจาก
พื้นท่ีลงสู่ร่องน้ำธรรมชาติ การสร้างฝายชะลอน้ำและบ่อดักตะกอนดินเป็นระยะในร่องน้ำ นอกจาก
จะช่วยให้ตะกอนดินสะสมอยู่หน้าฝายหรือภายในบ่อดักตะกอนดินแล้ว ยังทำให้ง่ายต่อการจัดการ
ตะกอนในปีต่อไป รวมถึงสามารถชะลอความเรว็ ของน้ำและกักเกบ็ น้ำไว้ใช้ในพนื้ ท่ีได้

2.3 แผนงานเพ่ิมศกั ยภาพการผลิตของดิน
แผนงานเพ่ิมศักยภาพการผลิตของดินเป็นแผนงานที่มุ่งเน้นปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์
ของดิน และเพม่ิ ศักยภาพการผลติ ของดนิ โดยการเพ่ิมระบบกระจายน้ำในพืน้ ที่ รายละเอยี ดดงั นี้

(1) ฟ้ืนฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินในพ้ืนท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในพ้ืนที่ทำ
การเกษตร ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน อยู่เสมอโดยการนำเอา
เทคโนโลยีของกรมพัฒนาท่ีดินมาใช้ในพื้นท่ี สำหรับในพื้นท่ีนาข้าว แนะนำให้ปลูกพืชปุ๋ยสด ได้แก่
ปอเทือง ถ่ัวพร้า และถั่วพุ่ม ซึ่งเป็นพืชตระกูลถ่ัวจะช่วยตรึงธาตุไนโตรเจนในดินและอากาศมาไว้ท่ี
ราก เม่ือสับกลบในระยะออกดอกประมาณ 45-55 วันหลังปลูก จะช่วยเพ่ิมธาตุไนโตรเจนให้กับพืช
และช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือวัสดุปรับปรุงดินอื่น ๆ ยัง
ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้เหมาะสมต่อการผลิตพืชและสามารถเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชปลูกได้อีก
ด้วย สำหรับพื้นท่ีที่มีการปลูกพืชไร่อ่ืน หรือไม้ผล ในพ้ืนท่ีท่ีมีความลาดชันสูง ควรปรับปรุงบำรุงดิน
ด้วยปุ๋ยหมักแทนการปลูกพืชปุ๋ยสด เนื่องจากหากมีการไถพรวนในพ้ืนท่ีที่มีความลาดชันสูงจะทำให้
ดินเกดิ การชะลา้ งไดง้ า่ ย

(2) เพิ่มความชุ่มช้ืนดินด้วยระบบกระจายน้ำ ในการทำการเกษตร น้ำนับเป็น
ปัจจัยสำคัญในการเจริญเตบิ โตของพชื การเพ่ิมความชุ่มชื้นดินโดยระบบกระจายน้ำดว้ ยรางคอนกรีต
และระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้การกระจายน้ำเป็นไปอยา่ งท่วั ถึงจะช่วยส่งเสริม
ใหเ้ กษตรกรทำการเกษตรในพนื้ ทไ่ี ด้อย่างเหมาะสม และส่งผลใหเ้ กษตรกรได้ผลผลิตสูงขน้ึ

2.4 แผนงานอนุรักษด์ ินและน้ำในพ้ืนที่ปา่ ไมต้ ามกฎหมาย
พื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายในพ้ืนที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก ตั้งอยู่ในเขตป่าสวงนแห่งชาติ
ป่าแม่งัด อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติศรีลานนาได้ดำเนินการสำรวจการ
ครอบครองที่ดินของราษฎรในพ้ืนท่ีอนุรักษ์ ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาท่ีดินของราษฎรในพ้ืนที่ป่า
อนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี เม่ือวันท่ี 26 พฤศจิกายน 2561 และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ.2562 มาตรา 64 เพือ่ จัดที่ดนิ ทำกนิ ใหช้ ุมชน (คทช.) ในป่าสงวนแหง่ ชาติ



เขตพื้นที่ป่าไม้เป็นพ้ืนที่ที่กฎหมายกำหนดให้รักษาหรืออนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ
ห้ามมิให้ เข้าไปกระทำการใดๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตตามระเบียบและดำเนินการตามเงื่อนไขที่กรม
ป่าไม้กำหนด ซ่ึงการดำเนินงานในพื้นท่ีท่ีมีการประกาศเป็นเขตป่าไม้ตามกฎหมายจะต้องเป็นการ
ดำเนินการเพื่อการควบคุมมิให้มีการเปล่ียนแปลงสภาพป่าตามธรรมชาติ เป็นการรักษาสภาพป่า
ธรรมชาติตามหลักวิชาการ รวมถึงส่งเสริมมาตรการร่วมกันปกป้องพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร และฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม

สำหรับแผนปฏิบัติการระยะเวลา 5 ปี เป็นการกำหนดกรอบพื้นท่ีดำเนินการ และ
มาตรการอนรุ ักษ์ดินและน้ำให้เหมาะสมกับสภาพพ้ืนท่ี โดยในระยะท่ี 1 ประกอบดว้ ย ลำน้ำสายหลัก
ท่ีไหลผ่านทางตอนเหนือของพ้ืนที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก ได้แก่ น้ำแม่วะ น้ำแม่สม น้ำแม่ลาด และ
น้ำแม่ละงอง มีพ้ืนท่ี 69,652 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 58.67 ของพ้ืนท่ีลุ่มน้ำทั้งหมด ระยะที่ 2
ประกอบด้วยลำน้ำสายหลักทไี่ หลผ่านตอนลา่ งของของพืน้ ที่ ได้แก่ ห้วยงแู ละห้วยเกยี๋ งซาง และนำ้ แม่
แพง มีพื้นที่ 49,069 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 41.33 ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด เพ่ือให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ของเกษตรกร โดยมีแนวทางในการบริหารทรพั ยากรให้ไดป้ ระโยชน์สูงสดุ การใช้มาตรการด้านตา่ ง ๆ
จะเป็นไปตามมาตรฐานของกรมพัฒนาท่ีดิน เพื่อควบคุมและจัดการพ้ืนท่ีในการลดการชะล้าง
พังทลายและฟื้นฟูพื้นท่ีเกษตรกรรม ให้เป็นต้นแบบในการบรหิ ารจัดการทรพั ยากรดินและน้ำในพ้ืนท่ี
อ่ืน ๆ ตามแผนปฏิบัติการรายปีต่อไป นอกจากน้ี ยังมีการติดตามและประเมินผลโครงการ เพ่ือแก้ไข
และปรบั ปรงุ การดำเนินการตามมาตรการตา่ ง ๆ ทดี่ ำเนนิ การลงไปในพ้ืนท่ีใหเ้ หมาะสมมากขึน้

3. แผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นท่ีเกษตรกรรมด้วย
ระบบอนรุ ักษด์ นิ และน้ำ ลุ่มน้ำแมง่ ัดฝ่งั ตะวันตกฯ ในระยะท่ี 1

ในการบริหารจัดการพื้นท่ีอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก อำเภอพร้าว
จังหวัดเชียงใหม่ ได้พิจารณาประเด็นคำถามด้านความรู้ ความเข้าใจ และลำดบั ความสำคัญของความ
ต้องการ วิธีการรักษาและป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน (รายละเอียดดังบทที่ 3) มา
พิจารณากำหนดมาตรการด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ ร่วมกับประเด็นปัญหาและความต้องการจากการ
ประชาพิจารณ์ นำมาสู่การกำหนดพื้นท่ีดำเนินการ เพ่ือความสะดวกในการปฏิบัติงานและการ
ติดตามประเมินผลตวั ชี้วัดทัง้ นี้

ในระยะท่ี 1 ประกอบด้วยลำน้ำสายหลักท่ีไหลผ่านทางตอนเหนือของพ้ืนท่ีลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ัง
ตะวันตก ได้แก่ น้ำแม่วะ น้ำแม่สม น้ำแม่ลาด และน้ำแม่ละงอง มีพื้นที่ 69,652 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
58.67 ของพื้นท่ีลุ่มน้ำท้ังหมด การดำเนินการเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินจะดำเนินการใน
เขตเกษตรกรรมนอกพื้นท่ปี า่ ตามกฎหมาย โดยกำหนดมาตรการอนรุ ักษด์ นิ และนำ้ ทเ่ี หมาะสม ดงั นี้

(1) งานปรับพ้ืนที่ (Land Leveling)



(2) งานดักตะกอนดินในไรน่ า
(3) งานบ่อดักตะกอนดนิ ขนาดใหญ่
(4) งานชะลอความเรว็ นำ้
(5) งานขดุ ลอกตะกอนดนิ ในลำหว้ ย
(6) งานคเู บนนำ้ และงานขัน้ บนั ไดดินแบบไมต่ ่อเนื่อง
(7) งานทางลำเลียงในไรน่ า

4. กลไกการขบั เคลอ่ื นแผนบรหิ ารจัดการโครงการ
การดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพื้นที่
เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ มีกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานในรูปแบบ
คณะกรรมการและคณะทำงาน ในการจัดทำต้นแบบแผนการบริหารจัดการโครงการจัดการชะล้าง
พังทลายของดินและฟื้นฟูพ้ืนที่เกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ สำหรับขับเคลื่อนการ
ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ดังนั้น เพื่อให้แผน
บริหารจัดการเกิดผลสัมฤทธ์ิในทางปฏิบัติ บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายท่ีกำหนดไว้ จึงจำเป็นต้อง
ได้รับการขับเคลื่อนและผลักดันจากทุกภาคส่วน และให้เกิดการบูรณาการทุกระดับผ่านกระบวนการมี
ส่วนร่วม เพ่ือให้การบริหารจัดการทรัพยากรดินและน้ำมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน ควรมีแนว
ทางการดำเนนิ งาน ดงั น้ี

4.1 สร้างความเข้าใจในเป้าหมายและวตั ถุประสงค์ของแผนบริหารจดั การทรัพยากรดิน
เพอ่ื ป้องกันการชะลา้ งพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพนื้ ท่เี กษตรกรรม ให้สามารถนำไปส่กู ารวางแผน การ
กำหนดมาตรการและบริหารจัดการพ้ืนที่เกษตรกรรรมท่ีมีความเส่ียงต่อการชะล้างพังทลายของดิน
และพน้ื ท่ดี ินเสอ่ื มโทรม

4.2 วิเคราะห์บทบาทและปรับบทบาทกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
การดำเนินงานทุกระดับต้ังแต่ระดับนโยบาย ระดับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
โดยนำแนวทางการปฏิบัติงานไปกำหนดเป็นแผนงานโครงการ และกำหนดเป็นข้อตกลงการทำงาน
ระหวา่ งหน่วยงาน เนน้ การทำงานเชิงบูรณาการ เพ่ือขับเคลอ่ื นองคก์ รให้บรรลุเป้าหมายท่ีกำหนดไว้

4.3 พัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลเชิงบูรณาการ โดยจัดต้ังคณะทำงาน
ติดตามประเมินผลที่มีกลไกและเครือข่ายการดำเนินงานท้ังหน่วยงานท่ีปฏิบัติงานในส่วนกลางและ
ส่วนภูมิภาคเชื่อมโยงการประเมินผล ทุกมิติ ประกอบด้วย มิติทางกายภาพหรือส่งิ แวดล้อม มิติสังคม
และมิติเศรษฐกิจ ที่สามารถสะท้อนผลสัมฤทธ์ิของงานได้ชัดเจน จนนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนา
แผนการดำเนินงานโครงการให้เกดิ ประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ



คำนำ

กรมพัฒนาท่ีดินมีภารกิจสำคัญเก่ียวกับการแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่ดิน โดยการพัฒนาท่ีดินและ
อนุรักษ์ดินและน้ำ ซ่ึงมาตรการด้านอนุรักษ์ดินและน้ำจะช่วยปรับโครงสร้างพื้นฐานของท่ีดินในพื้นที่ให้
เหมาะสมกบั การปลูกพืช พร้อมกับชว่ ยรักษาระบบนิเวศทางดินให้เกดิ การใชท้ ี่ดินไดอ้ ย่างย่ังยนื โดยก่อน
เริ่มดำเนินงานจำเป็นต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์สภาพของท่ีดินในพื้นท่ี เพ่ือกำหนดมาตรการด้าน
อนุรกั ษ์ดินและน้ำดว้ ยวธิ ีกลและพืชเฉพาะพ้ืนท่ี เพ่อื ควบคุมหรือป้องกนั ความรนุ แรงของสภาพดินปญั หา
ไม่ให้ส่งผลกระทบก่อปัญหาเพ่ิมขึ้นในพ้ืนท่ีอื่น ดังนั้น กรมพัฒนาท่ีดินจึงเป็นหน่วยงานหลักท่ีมีบทบาท
สำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรดินเชิงบูรณาการระดับลุ่มน้ำ โดยนำหลักวิชาการด้านการอนุรักษ์
ดินและน้ำ พิจารณาจากสภาพพ้ืนท่ีและความต้องการของชุมชนเป็นหลัก นอกจากน้ียังศึกษา
แนวนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล และท้องถิ่นในระดับต่างๆ เพ่ือนำมาวิเคราะห์กำหนดมาตรการ
ในแผนการใช้ที่ดิน พร้อมข้อเสนอแนะด้านการจัดการพ้ืนท่ี ให้เป็นแนวทางในการใช้ท่ีดินอย่างมี
ประสิทธภิ าพและใชไ้ ด้อย่างย่งั ยนื

คณะทำงานจัดทำแผนการบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟู
พื้นท่ีเกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ พ้ืนที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก อำเภอพร้าว จังหวัด
เชียงใหม่ ได้ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์เพื่อประเมินสถานภาพทรัพยากรดินเชิงระบบสำหรับแก้ปัญหา
ด้านการชะลา้ งพงั ทลายของดินและฟ้นื ฟูพ้ืนที่เกษตรกรรม ผา่ นกระบวนการมีส่วนรว่ มและความต้องการ
ของชุมชน และการรับฟังข้อคดิ เห็น ขอ้ เสนอแนะจากหนว่ ยงานภาคีเครือขา่ ยและหน่วยงานทเ่ี กี่ยวขอ้ งที่
ปฏิบัติงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทำให้ได้ต้นแบบแผนบริหารจัดการโครงการท่ีกรมพัฒนาที่ดิน
สาม ารถ น ำไป ใช้ ใน ก ารขั บ เค ลื่ อน ก ารดำเนิ น งาน ด้ าน ก ารอ นุ รัก ษ์ ดิน แ ละ น้ ำบ รร ลุ เป้ าห ม ายตาม
ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏริ ูปประเทศ และแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศ

ในโอกาสน้ี ขอขอบคุณหน่วยงานภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เก่ียวข้อง และเกษตรกรในชุมชน
พื้นที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ท่ีมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการให้
สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีจนบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อนำข้อมูลแผนการบริหารจัดการโครงการ
ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นท่ีเกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำไปดำเนินการ
ในพ้ืนที่ ก่อให้เกิดการแกไ้ ขปัญหาให้กับเกษตรกรท่อี ยู่ในพ้ืนที่เส่ียงต่อการชะล้างพงั ทลายของดินและพื้น
ที่ดินปญั หา สามารถใชท้ ดี่ นิ ไดอ้ ย่างเหมาะสมตรงตามศกั ยภาพของพื้นที่และมคี ุณภาพชีวิตที่ดีขนึ้

คณะทำงาน
กันยายน 2564



สารบญั หนา้

บทสรุปสำหรบั ผ้บู รหิ าร ฌ
คำนำ ญ
สารบัญ ฏ
สารบญั ตาราง ฑ
สารบญั ภาพ
บทท่ี 1 บทนำ 1
2
1.1 หลกั การและเหตผุ ล 3
1.2 วตั ถปุ ระสงค์ 3
1.3 กรอบแนวคดิ การดำเนินงาน 4
1.4 เป้าหมาย 4
1.5 ข้ันตอนการดำเนินงาน 5
1.6 สถานทด่ี ำเนนิ งาน 5
1.7 ระยะเวลาดำเนนิ การ 5
1.8 ผลผลิต 5
1.9 ผลลพั ธ์ 6
1.10 ผลกระทบ 6
1.11ตวั ชว้ี ัดความสำเร็จ 6
1.12 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รบั
1.13ผ้รู ับผดิ ชอบ 8
บทที่ 2 วธิ ีการดำเนินงาน 9
2.1 การรวบรวมข้อมลู 12
2.2 การสำรวจศึกษาและวเิ คราะห์ขอ้ มลู พืน้ ฐาน 14
2.3 การประเมนิ พ้ืนท่กี ารชะล้างพังทลายของดิน 15
2.4 การรับฟงั ความคดิ เหน็ จากผู้มีสว่ นได้ส่วนเสีย 17
2.5 การวเิ คราะหล์ ำดับความสำคัญ
2.6 การจดั ทำแผนบริหารจดั การปอ้ งกันการชะล้างพังทลายของดิน ญ

และฟ้ืนฟพู นื้ ท่เี กษตรกรรมด้วยระบบอนรุ กั ษ์ดนิ และน้ำ

สารบัญ (ต่อ)

บทที่ 3 สถานภาพพ้นื ท่ีลมุ่ น้ำแมง่ ดั ฝ่ังตะวันตก

3.1 ทต่ี ้ังและอาณาเขต 18

3.2 สภาพภูมิประเทศ 18

3.3 สภาพภมู ิอากาศ 22

3.4 ทรพั ยากรดิน 24

3.5 ทรัพยากรนำ้ 33

3.6 ทรัพยากรปา่ ไม้ และขอบเขตทด่ี ินตามกฎหมายและนโยบาย 37

3.7 สภาพการใชท้ ีด่ นิ 40

3.8 พื้นทเ่ี ส่ียงตอ้ งการชะล้างพังทลายของดนิ 45

3.9 สภาวะเศรษฐกิจและสงั คม 50

3.10การวิเคราะห์สภาพแวดลอ้ มและศักยภาพ (SWOT) 59

บทท่ี 4 แผนบรหิ ารจดั การป้องกันการชะล้างพงั ทลายของดินและฟนื้ ฟพู ้นื ท่ีเกษตรกรรม

ดว้ ยระบบอนุรกั ษด์ ินและน้ำ

4.1 แผนบริหารจัดการป้องกนั การชะล้างพังทลายของดินและฟ้นื ฟูพน้ื ท่ีเกษตรกรรม

ด้วยระบบอนรุ กั ษด์ ินและน้ำ พน้ื ที่ลุ่มนำ้ แมง่ ัดฝง่ั ตะวันตก แผน 5 ปี 61

4.2 แผนปฏิบตั กิ ารเพอ่ื ปอ้ งกันการชะล้างพงั ทลายของดนิ และฟ้นื ฟูพ้นื ทเ่ี กษตรกรรม

ดว้ ยระบบอนุรกั ษด์ นิ และน้ำ ลุ่มนำ้ แมง่ ัดฝั่งตะวันตก ในระยะที่ 1 69

บทท่ี 5 การขับเคลอื่ นแผนไปสกู่ ารปฏิบัติ

5.1 แนวทางการขับเคลื่อนแผนไปสกู่ ารปฏิบัติ 71

5.2 กลไกการขบั เคลือ่ นแผนบรหิ ารจดั การปอ้ งกันการชะล้างพงั ทลายของดินและฟื้นฟู

พ้ืนที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรกั ษ์ดนิ และนำ้ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) 73

5.3 บทบาทของหนว่ ยงานและภาคีเครอื ขา่ ยทุกระดับในการขบั เคล่ือนแผนบริหาร

จัดการทรพั ยากรดินและน้ำเพื่อปอ้ งกนั การชะล้างพังทลายของดินและฟ้นื ฟู

พน้ื ที่เกษตรกรรม 74

5.4 แนวทางการติดตามและประเมินผลตามแผนบริหารทรัพยากรดินเพื่อป้องกนั

การชะลา้ งพงั ทลายของดินและฟ้นื ฟูพืน้ ทเ่ี กษตรกรรม 77

เอกสารอา้ งองิ 83

ภาคผนวก 86



สารบัญตาราง หนา้
13
ตารางท่ี 14
2-1 ระดบั ความรุนแรงของการชะลา้ งพังทลายของดนิ 19
2-2 ชนั้ ของการกัดกร่อน (Degree of erosion classes) 24
3-1 ความลาดชันพ้ืนทลี่ ่มุ น้ำแม่งดั ฝงั่ ตะวันตก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
3-2 สถิตภิ มู ิอากาศ ณ สถานีตรวจอากาศจงั หวดั เชยี งใหม่ (ปี พ.ศ.2533-2562) 27
3-3 ทรพั ยากรดนิ ในพนื้ ทล่ี ุ่มน้ำแม่งัดฝัง่ ตะวันตก ลุม่ นำ้ สาขาน้ำแม่งัด
31
ลุ่มนำ้ หลกั แมน่ ้ำปงิ อำเภอพร้าว จงั หวดั เชยี งใหม่
3-4 สถานภาพทรัพยากรดนิ ในพื้นทีล่ มุ่ น้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก ลุม่ น้ำสาขานำ้ แมง่ ัด 37

ล่มุ น้ำหลักแมน่ ้ำปงิ อำเภอพรา้ ว จงั หวดั เชียงใหม่ 42
3-5 ข้อมลู ท่ดี ินของรฐั ท่ีใช้ร่วมในการวเิ คราะห์ดา้ นทรพั ยากรป่าไม้ พนื้ ทลี่ มุ่ น้ำ
47
แม่งดั ฝั่งตะวันตก อำเภอพรา้ ว จงั หวดั เชยี งใหม่ 49
3-6 ประเภทการใชท้ ี่ดนิ ในพนื้ ทีล่ ุ่มน้ำแมง่ ัดฝง่ั ตะวันตก ลุ่มนำ้ สาขาน้ำแมง่ ดั
55
ลมุ่ น้ำหลกั แม่นำ้ ปงิ อำเภอพรา้ ว จังหวัดเชยี งใหม่
3-7 ระดบั ความรนุ แรงของการชะล้างพังทลายของดินในพ้นื ที่ลุ่มน้ำแมง่ ดั ฝ่ังตะวันตก 56
57
ลมุ่ น้ำสาขานำ้ แมง่ ัด ลมุ่ นำ้ หลักแมน่ ำ้ ปงิ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
3-8 สภาวะเศรษฐกจิ และสงั คม 56
3-9 ตน้ ทนุ การผลติ ผลผลิต และผลตอบแทนเหนอื ต้นทนุ ทั้งหมดของการปลูกพชื

ในพ้ืนท่ี
3-10 ความรู้ ความเขา้ ใจด้านการอนรุ กั ษ์ดินและน้ำในพน้ื ท่ลี มุ่ นำ้ แมง่ ดั ฝัง่ ตะวนั ตก

อำเภอเพร้าว จงั หวัดเชยี งใหม่ ปีการผลิต 2563/2564
3-11 ความรู้และความเขา้ ใจ และลำดบั ความต้องการของวิธกี ารรักษาและป้องกนั

การชะล้างพังทลายของหน้าดิน พื้นทีล่ มุ่ น้ำแมง่ ดั ฝง่ั ตะวนั ตก อำเภอพรา้ ว
จังหวัดเชยี งใหม่ ปีการผลิต 2563/2564
3-12 ทัศนคตดิ า้ นการย้ายถน่ิ ฐาน ปญั หาดา้ นการเกษตร และแนวทางแกไ้ ข
ของเกษตรกร พ้นื ท่ีลุม่ น้ำแม่งัดฝ่ังตะวนั ตก อำเภอเพร้าว
จังหวดั เชียงใหม่ ปีการผลิต 2563/2564



สารบัญตาราง (ต่อ)

ตารางท่ี หนา้

4-1 ปริมาณการสูญเสยี ดิน (ตัน) และปริมาณตะกอนดนิ แขวนลอย (ตนั ) ในลำนำ้ สายหลัก

พนื้ ทีล่ มุ่ น้ำแม่งดั ฝั่งตะวนั ตก 62

4-2 แผนปฏิบัติงาน และตัวช้ีวัดการดำเนินงาน พื้นที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งัด

อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2566-2570 67

5-1 บทบาทของหนว่ ยงานและภาคีเครือข่ายทกุ ระดบั ในการขบั เคล่ือนแผนบรหิ ารจัดการ

ทรัพยากรดนิ และนำ้ เพื่อป้องกนั การชะล้างพังทลายของดนิ และฟน้ื ฟูพื้นทเี่ กษตรกรรม 74

5-2 กรอบตัวชี้วดั ในการตดิ ตามและประเมินผล 78

5-3 การจดั ทำฐานขอ้ มูลเพอ่ื ประเมนิ การเปลีย่ นแปลงตามตวั ชี้วดั มิติกายภาพ

เศรษฐกิจและสงั คม 80



สารบัญภาพ

ภาพท่ี หน้า

2-1 กรอบวิธีการดำเนินงาน 7

3-1 แผนท่ีขอบเขตการปกครอง ลมุ่ น้ำแมง่ ดั ฝั่งตะวันตก ลมุ่ นำ้ สาขาน้ำแม่งดั

ลุ่มนำ้ หลักแมน่ ำ้ ปงิ อำเภอพร้าว จังหวดั เชยี งใหม่ 20

3-2 แผนท่ีขอบเขตลุม่ น้ำแม่งัดฝง่ั ตะวันตก ลมุ่ น้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก ลุ่มนำ้ สาขานำ้ แม่งดั

ลุ่มน้ำหลกั แม่นำ้ ปิง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 21

3-3 แผนที่ความลาดชัน ลุ่มนำ้ แม่งัดฝ่ังตะวนั ตก ลมุ่ น้ำสาขาน้ำแม่งดั

ลุ่มนำ้ หลักแม่นำ้ ปงิ อำเภอพรา้ ว จังหวดั เชยี งใหม่ 22

3-4 กราฟสมดลุ ของน้ำเพอื่ การเกษตร จงั หวัดเชยี งใหม่ ปี พ.ศ. 2533-2562 23

3-5 แผนท่ีดนิ ทรพั ยากรดิน ลุม่ นำ้ สาขาน้ำแม่งัด ลมุ่ น้ำหลกั แมน่ ำ้ ปิงอำเภอพร้าว

จังหวัดเชยี งใหม่ 29

3-6 แผนที่สถานภาพทรพั ยากรดิน พน้ื ที่ลุ่มน้ำแม่งดั ฝงั่ ตะวนั ตก ลุม่ นำ้ สาขาน้ำแมง่ ัด

ลมุ่ น้ำหลักแม่น้ำปิงอำเภอพร้าว จังหวดั เชยี งใหม่ 32

3-7 แผนทีท่ รัพยากรนำ้ และเส้นทางคมนาคมในพน้ื ทดี่ ำเนนิ โครงการป้องกนั การชะล้าง 34

พังทลายของดนิ และฟ้ืนฟูพื้นทเี่ กษตรกรรม

3-8 ความสัมพันธ์ระหวา่ งปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปีและพืน้ ทีร่ บั น้ำฝนของลมุ่ น้ำปิง 36

3-9 สถานภาพป่าไม้และขอบเขตทด่ี ินตามกฎหมายในพื้นทล่ี มุ่ น้ำแมง่ ัดฝงั่ ตะวันตก 39

อำเภอพร้าว จงั หวัดเชียงใหม่

3-10 สภาพการใชท้ ีด่ นิ ล่มุ นำ้ แมง่ ัดฝ่งั ตะวนั ตก อำเภอพร้าว จงั หวัดเชียงใหม่ 45

3-11 การสูญเสียดินในพน้ื ที่ลมุ่ นำ้ แม่งัดฝ่งั ตะวันตก อำเภอพรา้ ว และอำเภอแม่เมาะ 49

จังหวัดเชยี งใหม่

4-1 พน้ื ท่ีล่มุ นำ้ เป้าหมายในแผนปฏบิ ัติการเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน

และฟ้ืนฟพู ืน้ ที่เกษตรกรรมฯ พื้นท่ลี ุม่ นำ้ แมง่ ดั ฝ่งั ตะวันตก อำเภอพร้าว จังหวดั เชียงใหม่ 66

4-2 กจิ กรรมการอนุรกั ษ์ดินและน้ำ ในแผนปฏบิ ัติการ เพื่อปอ้ งกนั การชะลา้ งพงั ทลายของดิน

และฟนื้ ฟพู น้ื ทเ่ี กษตรกรรมพน้ื ท่ลี ุ่มน้ำแมง่ ดั ฝัง่ ตะวันตก อำเภอพรา้ ว จงั หวดั เชียงใหม่ 70



บทที่ 1

บทนำ

1.1 หลกั การและเหตุผล

ประเทศไทยมีพื้นท่ีชะล้างทั้งประเทศ จำนวน 108 ล้านไร่ เป็นพ้ืนที่ชะล้างรุนแรง จำนวน 40
ล้านไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) กรมพัฒนาที่ดินจึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการป้องกันการ
ชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพื้นท่ีเกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ระยะ 20 ปี โดยมี
เป้าหมายและตัวชี้วัดคือ พื้นท่ีได้รับการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินไม่น้อยกว่า 20 ล้านไร่
ภายใน 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) หรือประมาณ 1 ล้านไร่/ปี ซึ่งดำเนินการสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต
ท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แผนแม่บท (ที่ 19) การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ แผนการบริหารจัดการ
โครงการฯ น้ี มีเป้าหมายพนื้ ท่ีดำเนนิ การ จำนวน 5 แห่ง มีการออกแบบระบบอนุรกั ษ์ดินและน้ำ เพื่อ
ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน พร้อมแบบก่อสร้างและการประเมินราคา ในปี 2564 ไม่น้อยกว่า
100,000 ไร่ ทั้งนี้ การดำเนินงานในพ้ืนท่ี กรมพัฒนาท่ีดินได้จัดทำแผนงานงบประมาณ เพื่อสพด.
จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำตามแบบและพ้ืนท่ีเป้าหมายดำเนินการ ในปี 2565 โดยมีเป้าหมายไม่
นอ้ ยกว่า 100,000 ไร่/ปี ตดิ ตามและประเมินผลโครงการฯ ในการลดการชะล้างพังทลายของดิน โดย
วัดการเปล่ียนแปลงก่อนและหลังได้รับการอนุรักษ์ดินและน้ำ ท้ังในพื้นที่จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและ
น้ำ และนอกเขตจัดทำระบบอนรุ กั ษ์ดินและน้ำ

ในพืน้ ท่จี ังหวดั เชียงใหมม่ ีโครงการชลประทานทส่ี ำคญั ในแอง่ เชียงใหม่ - ลำพนู ประกอบด้วย
1) ฝายแม่แตง ซึ่งส่งน้ำครอบคลุมพ้ืนที่ในจังหวัดเชียงใหม่รวม 4 อำเภอ พ้ืนท่ีชลประทาน

ประมาณ 99,298 ไร่ (โครงการสง่ น้ำและบำรงุ รักษาแม่แตง, 2564)
2) เข่ือนแม่งัดสมบูรณ์ชลตั้งอยู่บนลำน้ำแม่งัดในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มี

ปริมาตรเก็บกัก 265 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำให้บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ พ้ืนที่เพาะปลูกใน
เขตชลประทานมาแฝก และพื้นที่การเกษตรในเขตโครงการแม่ปิงและตามลำนำ้ แม่ปิง รวม 188,000
ไร่ (โครงการส่งน้ำและบำรงุ รักษาแม่แฝก-แม่งัดสมบูรณ์ชล, 2564) เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลมีปริมาณ
น้ำเกินพอต่อความต้องการน้ำท้ายเขื่อน โดยต้องระบายออกเพื่อพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำในการ
เตรียมการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยปริมาณน้ำท่ีต้องระบายน้ำออกดังกล่าวจะสามารถผันไปใช้
ประโยชน์ดา้ นอนื่ ๆได้

1

3) เข่ือนแมก่ วงอุดมธาราต้ังอยู่บนลำน้ำแมก่ วง ในเขตอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
มีปริมาตรกักเก็บน้ำ 263 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นท่ีชลประทาน 175,000 ไร่ (โครงการส่งน้ำและ
บำรงุ รกั ษาแมก่ วงอุดมธารา, 2564) ในเขตจงั หวัดเชียงใหมแ่ ละลำพนู

สภาพปัญหาการผันแปรปริมาณน้ำท่าของอ่างเก็บน้ำเข่ือนแม่กวงอุดมธารา ส่งผลต่อการ
บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำปัญหาการเพิ่มข้ึนของประชากรและการขยายตัวของธุรกิจการ
ท่องเที่ยว ท่ีพักโรงแรมจำนวนมากในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กวงทำให้มีความต้องการในใช้น้ำด้านการเกษตร
และอุปโภคบริโภคในพื้นท่ีโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวง รวมปีละ 258.08 ล้าน ลบ.ม. ใน
ปัจจุบันมีปัญหาการขาดแคลนน้ำ 136.35 ล้าน ลบ.ม. และในอนาคต 20 ปีข้างหน้าความต้องการใช้
น้ำจะเพ่ิมขึ้นเป็น 386.45 ล้าน ลบ.ม. จะขาดแคลนน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 173.03 ล้าน ลบ.ม./ปี
กลยทุ ธ์ในการแก้ปญั หาความขาดแคลนนำ้ ในพื้นที่ส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำแม่กวงฯ คือ การจดั การน้ำแม่
แตง แม่ งัด แม่กวง ร่วมกันโดยจัดทำอุโมงค์ผันน้ำจากลำน้ำแม่แตงมายังอ่างเก็บน้ำแม่งัด ฯ และส่ง
ต่อไปยังอ่างเก็บน้ำแม่กวงโดยอุโมงค์ส่งน้ำเช่นกัน นอกจากนี้ในโครงการดังกล่าวยังมีการผันน้ำจาก
อ่างเก็บน้ำแม่งัดคืนลงสู่คลองส่งน้ำของฝายแม่แตงด้วย ลักษณะของการจัดการน้ำร่วมกันดังกล่าว
ทำให้อ่างเก็บน้ำแม่งัดฯ เป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการน้ำในโครงการชลประทานขนาดใหญ่ใน
แอ่งเชยี งใหม่-ลำพูนทง้ั หมด โดยเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการน้ำคือความจุของอา่ งเก็บน้ำแม่
งัดฯ ซ่ึงจะลดลงทุกปีเนื่องจากปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการพัดพาตะกอนจากพื้นท่ีรับ
นำ้ ฝน

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
และฟื้นฟูพ้ืนท่ีเกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพ้ืนท่ีจังหวัดเชียงใหม่ได้เล็งเห็น
ความสำคัญของการปกป้องความจุของอ่างเก็บน้ำแม่งัดฯ เพ่ืออำนวยประโยชน์แก่พื้นท่ีชลประทาน
รวมทงั้ ส้ิน 435,700 ไร่ จึงได้กำหนดพน้ื ท่ีเปา้ หมายในการจัดทำแผนแมบ่ ทในลุม่ น้ำแมง่ ดั ฝั่งตะวนั ตก
อันเป็นสว่ นหนึง่ ของพน้ื ท่ีรับน้ำฝนของอ่างเก็บน้ำแม่งดั ในเขตอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

1.2 วตั ถุประสงค์

1) เพ่ือศึกษาและประเมินสถานภาพทรัพยากรดินเชิงระบบสำหรับการป้องกันการชะล้าง
พังทลายของดนิ และฟ้นื ฟพู ื้นที่เกษตรกรรม

2) เพื่อจัดทำแผนการบรหิ ารจัดการทรัพยากรดินระดับลุ่มน้ำที่มีการกำหนดมาตรการด้านการ
ปอ้ งกนั การชะล้างพังทลายของดนิ และฟ้นื ฟพู ืน้ ท่ีเกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

2

1.3 กรอบแนวคิดการดำเนนิ งาน

การจัดทำแผนการบริหารจัดการป้องกนั การชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟพู ื้นที่เกษตรกรรม
ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความสอดคล้องของ
ยทุ ธศาสตรช์ าติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ยทุ ธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคณุ ภาพชีวิต
ท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องของ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ: แผนแม่บทการ
บริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และความสอดคล้องของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของประเทศ
(พ.ศ. 2558 - 2569) ยุทธศาสตร์ท่ี 5 การอนุรักษ์ฟ้ืนฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการ
พงั ทลายของดิน กลยุทธ์ การอนุรักษ์ฟน้ื ฟูพื้นท่ีเกษตรกรรมในพ้ืนท่ีดนิ เสอ่ื มโทรมและชะล้างพังทลาย
ของดิน โดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุด คือ พื้นที่เกษตรกรรมได้รับการอนุรักษ์และฟ้ืนฟูให้สามารถใช้
ทดี่ ินได้อยา่ งถูกตอ้ งและเหมาะสมตามศกั ยภาพของพนื้ ที่ ไม่น้อยกวา่ 20 ลา้ นไร่ ภายใน 20 ปี

การดำเนินงานให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ชาติในพื้นท่ีลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก ซ่ึงมี
ระดับการชะล้างพังทลายของดินรุนแรง - รุนแรงมากที่สุด (สญู เสียดิน 5 - มากกว่า 20 ตันตอ่ ไรต่ อ่ ปี)
ร้อยละ 20.58 ของพื้นท่ีลุ่มน้ำ ระดับปานกลาง (สูญเสียดิน 2 – 5 ตันต่อไร่ต่อปี) ร้อยละ 50.05
สง่ ผลให้มีตะกอนไหลลงไปทับถมในแหล่งน้ำธรรมชาติ และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลสะสมมากข้นึ ในทุก
ปี กรอบแผนการดำเนินงานในพ้ืนที่จึงประกอบด้วย แผนงานปกป้องแหล่งน้ำชลประทานจากการ
ตกตะกอน แผนงานลดการชะล้างพังทลายของดินและรักษาดินไว้ในพืน้ ท่ี แผนงานเพิ่มศักยภาพการ
ผลิตของดิน และแผนงานอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นท่ีป่าไม้ตามกฎหมาย โดยเป้าหมายการดำเนินงาน
ระดับพื้นท่ี คือ คงไว้ซึ่งพ้ืนที่ป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นป่าไม้ตามกฎหมาย ลดการชะล้างพังทลายของดินใน
พ้นื ทล่ี ุ่มนำ้ และการสูญเสียตะกอนดินจากพืน้ ที่ แหล่งน้ำมีศักยภาพในการกักเก็บน้ำมากข้ึน พน้ื ทีด่ ินมี
ความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรสามารถใช้พ้ืนที่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามศักยภาพของดิน บรรลุตาม
เป้าหมายการพัฒนาในด้านการอยู่ดกี นิ ดีและมคี วามสุข เศรษฐกจิ เกษตรเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและ
ย่ังยืน มีขีดความสามารถในการแข่งขนั สูงข้ึน ชุมชนท้องถนิ่ มีขีดความสามารถในการพัฒนาและพ่ึงพา
ตนเองเพ่ิมข้ึน ตลอดจนอนุรักษ์ ฟ้ืนฟู ใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตให้สมดุลภายในขีด
ความสามารถของระบบนเิ วศ

1.4 เปา้ หมาย

จัดทำแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพ้ืนที่เกษตรกรรม ด้วย
ระบบอนุรกั ษ์ดนิ และน้ำ พ้ืนท่ีลุ่มนำ้ แมง่ ัดฝ่งั ตะวันตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำงดั อำเภอพร้าว จงั หวดั เชียงใหม่
ครอบคลมุ พน้ื ที่ 118,721 ไร่

3

1.5 ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน

1) การรวบรวมข้อมูล เป็นข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการรวบรวมเอกสารและงานวิชาการที่
เก่ียวข้อง เพ่ือนำไปใช้ศึกษา วเิ คราะห์ เชอื่ มโยงสู่การจัดทำแผนบริหารจัดการเพ่ือป้องกันการชะล้าง
พังทลายของดินด้วยระบบอนุรักษด์ ินและน้ำ ได้แก่ ฐานข้อมูลด้านทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ สภาพ
ภมู ิประเทศ สภาพการใช้ทีด่ ิน เศรษฐกจิ และสังคม และขอ้ มูลการอนุรักษด์ ินและนำ้ ท่เี ก่ียวข้อง

2) การสำรวจภาคสนาม ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ทรัพยากรดิน สภาพการใช้ที่ดิน การ
เปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดิน ทรัพยากรน้ำ สภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม และสภาวะเศรษฐกิจ
สงั คม

3) การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูล การประเมินสถานภาพทรัพยากรดิน ทรพั ยากรนำ้ การ
ประเมินการเปล่ียนแปลงการใช้ท่ีดนิ และการสำรวจขอ้ มูลดา้ นเศรษฐกจิ และสงั คม

4) การประเมนิ พนื้ ท่ีการชะลา้ งพังทลายของดิน
5) การรับฟังความคิดเห็นของชมุ ชนผ่านกระบวนการมีส่วนรว่ ม การประชาพิจารณ์เพ่ือการรับ
ฟังความคดิ เห็นของชมุ ชนต่อการดำเนนิ งานโครงการ
6) การวเิ คราะหล์ ำดบั ความสำคัญเพ่ือกำหนดพน้ื ที่เปา้ หมายในการดำเนินงาน
7) การจัดทำแผนบริหารจัดการเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพื้นท่ี
เกษตรกรรม ดว้ ยระบบอนรุ กั ษ์ดินและน้ำ
8) การประชาพิจารณ์เพื่อการรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนบริหารจัดการป้องกันการ
ชะล้างพงั ทลายของดินและฟน้ื ฟพู ้ืนท่เี กษตรกรรม ดว้ ยระบบอนุรกั ษ์ดนิ และนำ้
9) นำเสนอแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม
ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
และฟน้ื ฟูพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมดว้ ยระบบอนรุ ักษ์ดนิ และนำ้ และขบั เคลอื่ นการดำเนินงานโครงการต่อไป

1.6 สถานทดี่ ำเนินงาน

ลุ่มน้ำแมง่ ดั ฝ่ังตะวันตก ล่มุ นำ้ สาขาน้ำแมง่ ดั ลุ่มนำ้ หลักแมน่ ้ำปงิ อำเภอพรา้ ว จงั หวดั เชียงใหม่

4

1.7 ระยะเวลาดำเนนิ การ

ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564

1.8 ผลผลติ

1) ฐานข้อมูลด้านการชะล้างพังทลายของดินในพื้นท่ีเกษตรกรรม และสถานภาพด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อม และเศรษฐกิจและสังคม สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการ
พจิ ารณากำหนดแผนการใชท้ ี่ดนิ

2) แผนบริหารจัดการทรัพยากรดินระดับลุ่มน้ำที่มีการกำหนดมาตรการด้านการป้องกันและ
ฟื้นฟทู รพั ยากรดินตามสภาพปัญหาของพ้นื ทแ่ี ละความต้องการของชุมชน

1.9 ผลลัพธ์

1) มีแผนการบริหารจัดการโครงการจัดการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพ้ืนที่เกษตรกรรม
ด้วยระบบอนรุ กั ษ์ดินและน้ำ ปี 2564 สำหรบั นำไปขยายผลในพืน้ ที่สว่ นอน่ื ของล่มุ นำ้ แมง่ ดั

2) มาตรการด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำที่กำหนดมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาของพ้ืนที่
และสามารถตดิ ตามการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทรพั ยากรดินได้ตามตัวชีว้ ัดทีก่ ำหนด

1.10 ผลกระทบ

1) กรมพัฒนาที่ดินสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำให้บรรลุ
เป้าหมายตามยทุ ธศาสตร์ชาติ แผนปฏริ ปู ประเทศ และแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศ

2) พ้ืนที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่งัดมีแผนการจัดการการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพื้นที่
เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ทำให้เกษตรกรสามารถใช้ท่ีดินได้อย่างเหมาะสมตรงตาม
ศักยภาพของพน้ื ที่

5

1.11 ตวั ชีว้ ัดความสำเรจ็

1) เชิงปริมาณ
- รอ้ ยละความสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูลด้านการชะล้างพงั ทลายของดนิ สำหรบั เป็นข้อมูล
พนื้ ฐานประกอบการจัดทำแผนแผนการบรหิ ารจดั การทรัพยากรดนิ ระดับลมุ่ น้ำ (ร้อยละ 100)
- จำนวนพื้นที่ท่ีมีการกำหนดแนวทางด้านการป้องกันและฟ้ืนฟูทรัพยากรดินตามสภาพ
ปญั หาของพน้ื ที่ (ไมน่ ้อยกว่า 20,000 ไร)่
2) เชิงคุณภาพ
- ฐานข้อมูลด้านการชะล้างพังทลายของดินมีความถูกต้อง ครบถ้วน สอดคล้องกับสภาพ
ปัญหาของพนื้ ที่
- มาตรการด้านการป้องกันและฟ้ืนฟูทรัพยากรดิน มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพ
พ้นื ท่ี และสามารถนำไปกำหนดแผนงานโครงการไดอ้ ย่างมีประสทิ ธภิ าพ

1.12 ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะไดร้ ับ

1) มีแผนการบริหารจัดการการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพ้ืนที่เกษตรกรรม
ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ สำหรับขับเคล่ือนการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำให้บรรลุ
เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏริ ปู ประเทศ และแผนบรหิ ารจดั การน้ำของประเทศ

2) หน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ มีค่าดัชนีช้ีวัดสำหรับนำไปใช้ในการ
พฒั นางานวิจยั ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพ้ืนท่ีและสามารถติดตามการเปล่ียนแปลงสถานภาพ
ทรพั ยากรดิน

3) เกษตรกรท่ีอยู่ในพ้ืนท่ีเส่ียงต่อการชะล้างพังทลายของดนิ และพ้ืนท่ีดินปัญหา มีแผนบริหาร
จัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพ้ืนที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ทดี่ ินไดอ้ ย่างเหมาะสมตรงตามศกั ยภาพของพ้นื ที่

1.13 ผู้รบั ผิดชอบ

คณะทำงานขับเคล่ือนโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และฟ้ืนฟูพ้ืนที่เกษตรกรรม
ดว้ ยระบบอนรุ กั ษด์ ินและน้ำ ระดบั พน้ื ที่ สำนักงานพฒั นาที่ดนิ เขต 6

6

บทท่ี 2
วธิ กี ารดำเนินงาน

การจัดทำแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นท่ีเกษตรกรรม
ดว้ ยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่งั ตะวันตก ลุ่มนำ้ สาขาน้ำแม่งดั ลมุ่ น้ำหลักแม่น้ำปิง อำเภอ
พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ข้ันตอนวิธีการดำเนินงานประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และ
ประเมินผลข้อมูล การประเมินพ้ืนที่การชะล้างพังลายของดิน การรับฟังความคิดเห็นของชุมชนผ่าน
กระบวนการมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ลำดับความสำคัญ และการจัดทำแผนบริหารจัดการฯ โดยมี
เป้าหมายคือแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพ้ืนท่ีเกษตรกรรม ด้วย
ระบบอนุรกั ษ์ดินและน้ำ ซึ่งได้จากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รายละเอียดวิธกี ารดำเนินงาน มี
ดังน้ี

พ้ ืนท่ีเป้ าหมาย สารวจ วิเคราะหข์ อ้ มลู
ล่มุ น้าแมง่ ดั ฝัง่ ตะวนั ตก ศึกษาขอ้ มูล
มุ่งเนน้ การป้ องกนั การชะลา้ งของดินและ
ฟ้ืนฟพู ้ืนที่เกษตรกรรมดว้ ยระบบอนุรกั ษด์ ินและนา้

ประชุมช้ีแจงโครงการฯ รบั ฟังปัญหาในพ้ืนที่

-รา่ ง-แผนการดาเนินการ

เพ่ือป้องกนั การชะลา้ งของดินและฟ้ืนฟพู ้ืนท่เี กษตรกรรมดว้ ยระบบอนุรักษ์ดินและนา้

ประชาพิจารณ์ (ครง้ั ที่ 1)
(แผนดาเนนิ การฯ/พ้นื ทดี่ าเนนิ การ)

ปรบั ปรุงพฒั นาแผนฯ

แผนบริหารจดั การ -ร่าง-แผนการดาเนินการ ในพ้ืนที่เป้าหมาย

การป้องกนั การชะลา้ งของดิน เพ่ือป้องกนั การชะลา้ งของดินและฟ้ืนฟพู ้ืนท่เี กษตรกรรมดว้ ยระบบอนุรกั ษ์ดินและน้า
และฟ้ืนฟพู ้ืนท่เี กษตรกรรม
ดว้ ยระบบอนุรักษ์ดินและน้า ประชาพิจารณ์ (ครงั้ ที่ 2)
(แผนดาเนินการ/กิจกรรม/พ้นื ทด่ี าเนนิ การ)

ภาพท่ี 2-1 กรอบวิธีการดำเนนิ งาน

7

2.1 การรวบรวมขอ้ มูล

การรวบรวมขอ้ มูล เป็นการรวบรวมข้อมูลพ้ืนท่ีที่เกี่ยวขอ้ งในพ้ืนทลี่ ุ่มน้ำแม่งดั ฝ่ังตะวันตก เพ่ือ
นำมาวิเคราะห์สภาพพ้นื ท่ี ประกอบด้วยขอ้ มูลทุตยิ ภูมิ และขอ้ มูลปฐมภูมิ รายละเอียดมดี ังนี้

2.1.1 ข้อมูลทตุ ยิ ภูมิ ประกอบดว้ ย

(1) สภาพภมู ิประเทศ
(2) สภาพภมู อิ ากาศ ปี พ.ศ. 2533 – 2562 ของกรมอตุ ุนยิ มวทิ ยา
(3) ทรพั ยากรนำ้
(4) สถานภาพทรัพยากรป่าไม้และขอบเขตที่ดินทำกิน โดยแสดงขอบเขตป่าไม้ตาม
กฎหมาย ได้แก่ เขตอุทยานแห่งชาติ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช เขตป่าอนุรักษ์
เขตป่าเศรษฐกจิ พื้นที่เกษตรนอกเขตป่าตามกฎหมาย ของกรมปา่ ไม้ และเขตแปลงปฏริ ูปท่ีดิน ของ
สำนกั ปฏิรูปท่ีดินเพอื่ เกษตรกรรม
(5) แผนที่ดิน มาตราส่วน 1:25,000 ปี พ.ศ. 2561 ของกองสำรวจดินและวิจัย
ทรัพยากรดนิ กรมพัฒนาทดี่ นิ
(6) สถานภาพทรัพยากรดิน
(7) สภาพการใช้ที่ดิน มาตราส่วน 1:25,000 ปี พ.ศ. 2561 ของกองนโยบายและ
แผนการใช้ที่ดนิ กรมพัฒนาทีด่ นิ
(8) ข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจและสังคม จากฐานข้อมูลกชช 2ค ของกรมการพัฒนาชมุ ชน
(9) ขอ้ มลู การชะลา้ งพงั ทลายของดิน และ
(10) ข้อมูลปริมาณ ตะกอนรายปีน้ำแม่งัด สถานี P.56A บ้านสหกรณ์ร่มเกล้า อำเภอ
พรา้ ว จังหวดั เชียงใหม่
นอกจากนี้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของพ้ืนท่ีท่ีเกี่ยวข้องอ่ืนๆ จากเอกสารวิชาการ รายงาน สื่อ
หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ จากหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง เพ่ือนำมาประกอบการพิจารณาวิเคราะห์สภาพพื้นที่
สำหรับดำเนินการจัดทำแผนบรหิ ารจัดการฯ

2.1.2 ข้อมูลปฐมภูมิ ได้จากการดำเนินการศึกษา และสำรวจภาคสนาม เป็นข้อมูลท่ี
เป็นปัจจุบัน ท้ังน้ีจะเป็นการนำเอาข้อมูลทุติยภูมิไปตรวจสอบความถูกต้อง และปรับปรุงให้เป็น
ปัจจุบัน และมีการสอบถามโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการทำประชาพิจารณ์
ร่วมกัน ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพ้ืนท่ีลุ่มน้ำ เช่น ผู้นำชุมชน เกษตรกร หน่วยงานในพื้นที่
เป็นต้น การสัมภาษณ์ใช้แบบสอบถามความรู้ ความเข้าใจของเกษตกร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ด้านการชะล้างพังทลายของดิน สภาพปัญหาในพื้นที่ ความต้องการของเกษตรกร ข้อมูลสภาวะ
เศรษฐกิจและสังคม เพ่อื นำมาวิเคราะหพ์ ้นื ท่ี และจดั ลำดบั ความสำคญั ของพ้ืนที่ดำเนนิ การ

8

2.2 การสำรวจ ศกึ ษา และวเิ คราะห์ขอ้ มูลพน้ื ฐาน

สำหรับในข้ันตอนนี้เป็นการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลข้อมูล จากข้อมูลทุติยภูมิและ
ปฐมภูมิท่ีรวบรวมได้ เพ่ือจัดทำแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพ้ืนที่
เกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษด์ ินและนำ้ ลุ่มน้ำแมง่ ดั ฝ่ังตะวันตก ประกอบด้วย

2.2.1ทรพั ยากรดิน

1) ขอ้ มลู ทรพั ยากรดนิ

ประเมินข้อมูลทรัพยากรดิน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนที่ดิน มาตราส่วน
1:25,000 ที่มีอยู่ ศกึ ษาและวิเคราะหข์ ้อมูลทรัพยากรดินในพ้ืนที่ เพอื่ ให้ทราบถงึ ลกั ษณะของดินท่ีพบ
ส่วนใหญ่ในพ้ืนท่ีลุ่มน้ำ ชุดดินที่พบและคุณสมบัติของชุดดินน้ันๆ เพ่ือประกอบการพิจารณาจัดทำ
แผนบริหารจดั การฯ ลุ่มนำ้ แม่งดั ฝัง่ ตะวนั ตก และพจิ ารณากำหนดพนื้ ที่ดำเนินการ

สำหรับข้อมูลทรัพยากรดินในพ้ืนที่ดำเนินการ ทำการสำรวจศึกษาดินภาคสนาม
วิเคราะห์ข้อมูลแผนท่ีดินมาตราส่วน 1:25,000 กำหนดกรอบการสำรวจ ศึกษา เก็บข้อมูล และ
ตรวจสอบดินภาคสนาม ข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณา ได้แก่ แผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข และ
แผนที่สภาพภูมิประเทศ ขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วย (1) การปฎิบัติงานก่อนออกสนาม (2)
(3) การปฏิบัติงานภาคสนาม และ (4) การทำแผนท่ดี ิน

2) ขอ้ มลู ทรัพยากรดนิ ปัญหา

จัดทำข้อมูลและแผนที่สถานภาพทรัพยากรดินในพื้นท่ีลุ่มน้ำ มาตราส่วน 1:25,000 ใน
พ้ืนท่ีลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพทรัพยากรดิน โดยเฉพาะสภาพปัญหาและ
ข้อจำกัดของทรัพยากรดินในพื้นท่ีลุ่มน้ำ ประเมินความรุนแรงของดินปัญหาในพื้นที่ นำไปพิจารณา
กำหนดพื้นท่ีดำเนินการ กำหนดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ และแผนบริหารจัดการป้องกันการ
ชะล้างพังทลายของดนิ และฟ้ืนฟพู ื้นทเ่ี กษตรกรรม ดว้ ยระบบอนรุ ักษด์ ินและนำ้

2.2.2 ทรัพยากรน้ำ

การประเมินสถานภาพทรพั ยากรนำ้ สำหรับนำไปใช้ประเมินการชะล้างพังทลายของดิน
จัดทำแผนการใช้ที่ดิน กำหนดมาตรการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ดินและน้ำ
การประเมินปริมาณน้ำผิวดินท่ีไหลจากพื้นผิวดินสู่ร่องน้ำ ลำห้วย คลอง และแม่น้ำ โดยคำนวณจาก
ปริมาณน้ำฝนท่ีตกลงมาบนพ้นื ที่หนึ่งๆ แล้วถูกดูดซับลงไปเก็บกักไว้ในดิน และระเหยไปในอากาศ น้ำ
ที่เหลือจากกระบวนการเหล่าน้ี จะไหลลงสู่ร่องน้ำ ลำห้วย คลอง และแม่น้ำ อัตราการไหลและ
ปริมาณน้ำขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความรุนแรงของฝน ปริมาณน้ำ ทิศทางลม ลักษณะ
ความลาดเทของพ้ืนที่ ประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำบนผิวดิน การใช้ท่ีดิน สมบัติของดิน ขนาดพื้นที่

9

รับน้ำ เป็นตน้ ขอ้ มลู ดังกลา่ วเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดแผนบริหารจัดการฯ กิจกรรมการอนุรักษ์
ดนิ และนำ้ เพื่อชะลอการไหลบา่ ของนำ้ ผิวดิน ตลอดจนการเก็บกกั น้ำไหลบ่าบนผิวดินไว้ใช้ในพ้ืนที่เพื่อ
ประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพของพื้นที่ สำหรับน้ำส่วนเกินถูกระบายท้ิงไปให้เข้าสู่ระบบ ท้ังนี้ ข้อมูล
ดังกล่าวจะตอ้ งมกี ารคำนวณปริมาณนำ้ ทา่ โดยอาศัยข้อมูลอุตนุ ยิ มวทิ ยาเฉพาะพื้นท่ี

การคำนวณปริมาณน้ำท่า สามารถคำนวณได้หลายวิธี สำหรับการจัดทำแผนบริหาร
จัดการฯ นี้ จะคำนวณน้ำท่าด้วยวิธี Regional Runoff Equation (Lanning-Rush, 2000) โดยใช้
ความสัมพันธ์แบบรีแกรซชั่น (Regression) ระหว่างปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยและพื้นท่ีรับน้ำจาก
ข้อมูลสถานีวัดในลุ่มน้ำต่างๆ ในลุ่มน้ำขนาดใหญ่ เพ่ือหาปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยท่ีจุดต่างๆ ในลุ่มน้ำ
การจดั ทำแผนบรหิ ารฯ ในคร้ังน้ีได้ใชข้ ้อมูลจากกราฟปริมาณน้ำท่าของกรมชลประทาน คำนวณได้ดัง
สมการ

Qf = aAb

เม่อื Q f คือ ปรมิ าณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย (ลูกบาศก์เมตร)
A คือ พนื้ ทร่ี ับน้ำ (ตารางกโิ ลเมตร)
a, b คอื ค่าคงท่คี ำนวณจากกราฟ

2.2.3การประเมินการใชท้ ด่ี นิ

การประเมินสภาพการใช้ท่ีดินในพ้ืนท่ีลุ่มน้ำ วิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลพ้ืนฐานจาก
กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดนิ กรมพัฒนาท่ดี ิน สำรวจและตรวจสอบรายละเอียดสภาพการใช้ที่ดิน
ในพน้ื ท่ีจรงิ แก้ไขรายละเอียดใหถ้ ูกตอ้ งตรงกบั สภาพปจั จบุ นั

2.2.4เศรษฐกจิ และสังคม

การสำรวจเก็บรวบรวบข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อประกอบการจัดทำแผน
บริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและความเสื่อมโทรมของดิน ด้วยระบบอนุรักษ์ดิน
และน้ำ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรท่ีปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญของพ้ืนท่ี ได้แก่ ข้าว
ข้าวโพดเล้ียงสัตว์ และลำไย มีขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน ดังนี้

1) การเก็บรวบรวมข้อมลู
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมลู ที่สำคัญ ไดแ้ ก่ เกษตรกรผู้ให้สัมภาษณ์ ข้อมลู สถิติ
จากหนว่ ยงานตา่ ง ๆ โดยสามารถจัดข้อมลู ได้ 2 ประเภท คอื

1.1) ข้อมูลปฐมภูมิ คอื ขอ้ มูลทีเ่ ก็บรวบรวมจากการสำรวจในภาคสนาม
ด้วยวิธี การสมั ภาษณ์เกษตรกรในพืน้ ท่ีเป้าหมาย โดยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกร พบว่าเกษตรกรปลูก
พชื ทส่ี ำคญั ไดแ้ ก่ ข้าว ขา้ วโพดเลี้ยงสัตว์ และลำไย

10

1.2) ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บรวบรวมจากเอกสารวิชาการ
ผลงานวิจัย รายงาน บทความ และระบบสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการปลูก
การดแู ลรักษา และการเก็บเกยี่ ว เป็นต้น เพ่ือเป็นข้อมูลสำหรบั อ้างองิ และประกอบการศึกษาตอ่ ไป

2) การวเิ คราะห์ข้อมลู
การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของ
ข้อมูล และประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรรณา (Descriptive analysis)
แสดงผลเปน็ ค่าร้อยละ และ/หรือคา่ เฉลย่ี โดยแบ่งการวิเคราะห์ข้อมลู ดังน้ี

2.1) การวิเคราะห์ข้อมูลท่ัวไปของครัวเรือนเกษตร ความรู้ ความเข้าใจ
ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ ผลกระทบของการชะล้างพังทลายของดิน ตลอดจนทัศนคติ ปัญหาและ
ความต้องการความช่วยเหลอื จากรฐั ของเกษตรกร

2.2) การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ปัจจัยการผลิต โดยใช้ปริมาณและมูลค่า
ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ การใช้พันธุ์ การใช้ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ (ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์) การใช้สาร
ป้องกันและกำจดั วัชพืช/ศัตรพู ืช/โรคพืช การใช้แรงงานคน และแรงงานเครอื่ งจักร โดยวิเคราะห์และ
สรปุ ขอ้ มูลมาเปน็ ค่าเฉล่ียต่อพ้ืนที่ 1 ไร่

2.3) การวเิ คราะหข์ อ้ มลู ต้นทนุ และผลตอบแทนในการผลติ ไดแ้ ก่
(1) การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย ต้นทุนท้ังหมด

ต้นทนุ ผนั แปร และตน้ ทนุ คงท่ี โดยมวี ธิ ีการคำนวณต้นทุน ดงั น้ี

ต้นทนุ ท้งั หมด = ตน้ ทนุ ผันแปร + ตน้ ทุนคงที่

ต้นทุนผันแปร เป็นค่าใช้จ่ายท่ีเกี่ยวข้องกับการผลิตท่ีจ ะ
เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต ค่าใช้จ่ายประเภทนี้ เกษตรกรสามารถเพ่ิมหรือลดได้ในช่วง
ระยะเวลาการผลิตพืช เช่น ค่าพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าแรงงานคน ค่าแรงงานเครื่องจักร ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์
การเกษตร และคา่ ขนส่งผลผลิต เป็นตน้

ต้นทุนคงที่ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดข้ึนแก่เกษตรกร ถึงแม้จะไม่ได้ทำ
การผลิตพืช เน่ืองจากค่าใช้จ่ายประเภทนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตพืช เช่น ค่าเช่า
ท่ีดินท่ีใช้ในการปลูกพืช ค่าภาษีที่ดินซ่ึงต้องเสียทุกปี ไม่ว่าที่ดินผืนน้ันจะใช้ประโยชน์ในปีนั้น ๆ
หรอื ไม่ก็ตาม

(2) การวเิ คราะห์ผลตอบแทนการลงทนุ มีวิธีการคำนวณ ดังน้ี

ผลตอบแทนเหนอื ต้นทุนทงั้ หมด = ผลต่างระหว่างมูลค่าผลผลิต
ท้ังหมดกบั ต้นทุนท้ังหมด

11

(3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุนทั้งหมด (Benefit-cost ratio:
B/C ratio) เป็นการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน เพ่ือใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนว่าควรจะ
ลงทุนในการผลิตหรือไม่ เป็นการวิเคราะห์อัตราส่วนเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันเฉลี่ยต่อไร่ของ
ผลตอบแทนกับต้นทุนท้ังหมดตลอดช่วงปีที่ทำการผลิต โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกลงทุนใน
โครงการใด ๆ คือ B/C Ratio ท่ีมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 ถ้า B/C Ratio มากกว่า 1 หมายความว่า
ผลตอบแทนท่ีได้รับจากการผลิตพืชมากกว่าค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนท่ีเสียไป หรือถ้า B/C Ratio เท่ากับ
1 หมายความว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากการผลติ พชื เทา่ กบั คา่ ใช้จ่ายหรือตน้ ทนุ ท่ีเสียไปพอดี

2.3 การประเมินพ้นื ที่การชะล้างพังทลายของดนิ

การประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นท่ีลุ่มน้ำ ใช้สมการการสูญเสียดินสากล
(Universal Soil Loss Equation: USLE) (Wischmeier and Smith, 1965) ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้
ประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เกษตร และเป็นการชะล้างพังทลายของดินท่ีเกิดจากการ
กระทำของน้ำ ไมร่ วมถึงการชะลา้ งพังทลายทเ่ี กดิ จากลม ดังสมการ

A = R K LS C P

สมการดังกล่าวพิจารณาการชะล้างพังทลายของดินจากการตกกระทบของเม็ดฝน (Raindrop
erosion) และแบบแผน่ (Sheet erosion) ไม่ครอบคลมุ ถงึ การชะล้างพงั ทลายแบบรว้ิ (Rill erosion)
และแบบร่อง (Gully erosion) (Wischmeier and Smith, 1965) ปัจจัยที่นำมาพิจารณาในสมการ
ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน ความแรงของน้ำฝน ลักษณะของดิน ลักษณะของพืชคลุมดิน สภาพของพ้ืนที่
และมาตรการอนุรักษ์ดนิ และนำ้ รายละเอียดแตล่ ะปจั จยั ทเี่ ก่ยี วข้อง ดังนี้

1) ปัจจัยท่ีเก่ียวกับฝน (Erosivity factor: R) เปน็ ค่าความสัมพนั ธ์ของพลังงานจลนข์ อง
เมด็ ฝนทต่ี กกระทบผิวหน้าดินกบั ปริมาณความหนาแน่นของฝนในช่วงระยะเวลาหน่ึง ซ่ึงความสัมพันธ์
นี้ได้มีผู้ศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง (มนู และคณะ, 2527; Kunta, 2009) ใน
การศึกษานี้ได้นำค่าสหสัมพันธ์ระหว่างค่าปัจจัยการกัดกร่อนของฝนสอดคล้องตามวิธีการของ
Wischmeier (กรมพัฒนาท่ีดนิ , 2545; มนู และคณะ, 2527) มาวิเคราะห์รว่ มกับข้อมลู ปริมาณน้ำฝน
เฉลี่ยรายปี (Average annual rainfall) ในช่วงระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2533 – 2562) ได้ค่าปัจจัยที่
เกี่ยวขอ้ งกับฝนสำหรบั พื้นท่โี ครงการ

2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของดิน (Eridibility factor: K) เป็นค่าความคงทนของ
ดินภายใต้สภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน ดินแต่ละชนิดจะทนต่อการชะล้างพังทลายท่ีแตกต่างกัน
สอดคล้องตามหลักการของ Wischmeier สามารถวิเคราะห์ค่าปัจจัยที่เก่ียวข้องกับลักษณะดินจาก

12

ภาพ Nomograph โดยประเมินได้จากสมบัติของดิน 5 ประการ ได้แก่ (1) ผลรวมปริมาณร้อยละดิน
ของทรายแป้งและปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมาก (2) ปริมาณร้อยละของทราย (3) ปริมาณ
รอ้ ยละของอินทรียวตั ถุในดิน (4) โครงสร้างของดิน และ (5) การซาบซึมน้ำของดิน (กรมพัฒนาที่ดิน,
2545)

3) ปัจจัยท่ีเก่ียวข้องกับสภาพภูมิประเทศ (Slope length and slope steepness
factor: LS) เป็นปัจจัยท่ีเกี่ยวข้องกับความลาดชันและความยาวของความลาดชัน ซ่ึงตามปกติค่าการ
ชะล้างพังทลายของดินจะแปรผันตรงกับความลาดชันสูงและความยาวของความลาดชัน ในการศกึ ษา
นี้ได้ใช้ข้อมูลความสูงจากแบบจำลองระดับความสูงเชิงเลข (Digital elevation model: DEM) โดย
คำนวณท้งั สองปัจจัย สอดคล้องกบั การศึกษาของ Hickey et al. (1994)

4) ปัจจัยท่ีเกี่ยวข้องกับการจัดการพืช (Crop management factor: C) เป็นปัจจัยที่
เก่ียวข้องกับพืชคลุมดิน ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีความต้านทานในการชะล้างพังทลายของดินท่ีแตกต่างกัน
ข้ึนอยู่กับความสูงของต้น ลักษณะพุ่ม หรือการยึดอนุภาคดินของรากพืชนั้นๆ เป็นต้น กรณีที่ไม่พืช
ปกคลุมดินนั้นค่าปัจจัยท่ีเกี่ยวข้องกับการจัดการพืชจะมีค่ามากท่ีสุด เท่ากับ 1.00 สำหรับกรณีที่พืช
ปกคลุมดินสามารถต้านทานการชะล้างพังทลายของดินได้ดีจะให้ค่าปัจจัยน้ีน้อย นอกจากน้ี ปัจจัยท่ี
เกี่ยวข้องกับการจัดการพืชยังมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศในพื้นท่ีนั้นๆ เนื่องจากสภาพ
ภูมอิ ากาศมีผลโดยตรงตอ่ การเจรญิ เตบิ โตของพชื

5) ปัจจัยท่ีเก่ียวข้องกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ (Conservation factor: P) เป็นปัจจัยท่ี
แสดงถึงมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำในพ้ืนท่ีน้ันๆ เช่น การปลูกพืชตามแนวระดับ (Contouring) การ
ปลูกพืชสลับขวางความลาดเอียง (Strip cropping) การปลูกพืชในพื้นท่ีมีคันนา เป็นต้น สำหรับการ
จัดทำแผนบริหารจัดการฯ น้ี ได้ใช้ค่าตามการศึกษาของกรมพัฒนาท่ีดิน (2545) จากค่าปัจจัยทั้ง 5
ประการ สามารถนำมาคำนวณการสูญเสียดินสอดคล้องตามสมการการสูญเสียดินสากลได้บน
ฐานข้อมูลแบบราสเตอร์ (Raster) โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากผลการคำนวณค่าการสูญเสีย
ดินน้ัน สามารถนำมาจัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน ทำให้ทราบถึงขอบเขตของพ้ืนที่มีปัญหา
เนอ่ื งจากการสญู เสียดิน เพือ่ เป็นแนวทางในการวางแผนอนรุ กั ษด์ นิ และนำ้ ในพนื้ ที่

ตารางที่ 2-1 ระดบั ความรุนแรงของการชะล้างพงั ทลายของดนิ

ระดับความรนุ แรงของการชะลา้ งพังทลาย คา่ การสญู เสียดนิ (ตัน/ไร/่ ปี)

น้อย 0-2
ปานกลาง 2-5
รุนแรง 5-15
รุนแรงมาก 15-20
รุนแรงมากที่สดุ มากกว่า 20
ท่ีมา: กรมพฒั นาทดี่ ิน (2563)

13

2.4 การรับฟงั ความคิดเของชมุ ชนผา่ นกระบวนการมสี ว่ นรว่ ม

2.4.1 การประชาพิจารณ์เพ่ือการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนต่อการดำเนินงาน
โครงการ

1) กลุ่มเป้าหมายและพ้ืนที่ดำเนินการ การคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายบริเวณลุ่มน้ำ
แมง่ ัดฝั่งตะวันตก อำเภอพร้าว จงั หวัดเชยี งใหม่ เลอื กตัวแทนชมุ ชน และเกษตรกรผู้มสี ว่ นไดส้ ่วนเสีย

2) ประเด็นการรับฟังความคิดเห็น ได้แก่ สภาพปัญหาของพื้นท่ีด้านการชะล้าง
พังทลายของดนิ แนวทางแก้ไขปญั หา และความต้องการของเกษตรกร

2.4.2การประชาพิจารณ์เพื่อการรบั ฟังความคิดเหน็ ต่อ (ร่าง) แผนบรหิ ารจัดการ
ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพ้ืนท่ีเกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษ์ดิน
และนำ้

1) จดั ทำ (ร่าง) รายงานแผนบริหารจัดการป้องกนั การชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟู
พื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็นจาก
หน่วยงานภาครัฐ ประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้าง
พงั ทลายของดินและฟื้นฟูพ้ืนที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ พื้นทีล่ ุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัด ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ ม กระทรวงมหาดไทย และองคก์ ารบริหารส่วนตำบล

2) ประชาพจิ ารณ์ โดยคดั เลือกหมู่บา้ นเป้าหมาย จากผลการประชาพิจารณ์คร้ังที่ 1 ซ่ึง
ได้วิเคราะห์ลำดับความสำคัญ กำหนดพื้นท่ีนำร่องโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและ
ฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ รายละเอียดในข้อ 2.6 ได้พ้ืนท่ีเป้าหมาย จำนวน
2 ตำบล เลือกตัวแทนชุมชน และเกษตรกรผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นตัวแทนของชุมชนในพื้นท่ีลุ่มน้ำ
เป้าหมาย

3) ปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) รายงานแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
และฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ก่อนเสนอต่อคณะทำงานจัดทำแผนการ
บริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพ้ืนท่ีเกษตรกรรมด้วยระบบ
อนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และคณะกรรมการ
ขับเคลื่อนโครงการปอ้ งกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพื้นทีเ่ กษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษด์ ิน
และน้ำ

14

2.5 การวเิ คราะหล์ ำดับความสำคัญ

การกำหนดพ้ืนที่เป้าหมายเพ่ือดำเนินกิจกรรม (Implement) ประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติ
การให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาพื้นท่ีและความต้องการของชุมชน ด้วยการวิเคราะห์ลำดับ
ความสำคัญเป็นการกำหนดพื้นท่ีนำร่องโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพ้ืนที่
เกษตรกรรมดว้ ยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก อำเภอพรา้ ว จังหวัดเชียงใหม่
จำนวน 118,721 ไร่ เม่ือผ่านการวิเคราะห์จากข้อมูลทุติยภูมิเบ้ืองต้นทั้งรูปแบบรายงานและแผนที่
ประกอบด้วย ข้อมูลดิน สถานภาพทรัพยากรดิน การชะล้างพังทลายของดิน การใช้ที่ดิน และ
แผนการใช้ท่ีดิน จากข้อมูลหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง และการสำรวจข้อมูลจากสภาพพื้นท่ีดำเนินการ
รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพ้ืนที่
เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ กำหนดเกณฑ์การพิจารณากำหนดพื้นที่เป้าหมายและ
กำหนดแผนงาน/โครงการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ เช่น ความรุนแรงของพ้ืนที่ชะล้าง
พังทลายของดิน พื้นท่ีถือครอง แหล่งน้ำ สถานการณ์ภัยแล้งและน้ำท่วม ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
การใชท้ ด่ี ิน และการมีส่วนร่วมหรือการยอมรับของชุมชน

การคัดเลือกพ้ืนท่ีดำเนินการ พิจารณาปัจจัยหลัก 6 ด้าน ประกอบด้วย (1) ระดบั ความรุนแรง
ของการชะล้าง (2) พ้ืนท่ีนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย (3) การใช้ท่ีดิน (4) กิจกรรมท่ีดำเนินงานใน
พ้ืนที่ ได้แก่ แหล่งน้ำ และระบบอนุรกั ษ์ดินและน้ำ และ (5) ความต้องการและความพร้อมของชุมชน
โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

15

1) ระดับความรนุ แรงของการชะลา้ งพังทลาย (น้ำหนกั 20%) คะแนน
รุนแรง – รนุ แรงมากทส่ี ุด > รอ้ ยละ 40 ของพื้นที่
รนุ แรง – รุนแรงมากทส่ี ุด 30 – 40 ของพืน้ ที่ 5
รนุ แรง – รุนแรงมากทส่ี ดุ 20 - 30% ของพ้นื ที่ 4
รนุ แรง – รุนแรงมากทสี่ ดุ 10 - 20% ของพื้นท่ี 3
รนุ แรง – รุนแรงมากทสี่ ดุ 0 – 10 % ของพน้ื ท่ี 2
1
2) พน้ื ที่นอกเขตป่าไมต้ ามกฎหมาย (นำ้ หนัก 20%)
> 70 % ของพ้ืนที่ 5
50 - 70 % ของพนื้ ท่ี 4
30 - 50 % ของพ้ืนท่ี 3
20 - 30 % ของพ้ืนที่ 2
10 - 20 % ของพ้นื ที่ 1

3) การใช้ทดี่ ิน (นำ้ หนกั 20%) 5
พน้ื ท่ีเกษตรกรรม > 80-100 % ของพื้นที่ 4
พืน้ ทเี่ กษตรกรรม > 60-80 % ของพน้ื ท่ี 3
พืน้ ที่เกษตรกรรม > 40-60 % ของพ้ืนที่ 2
พ้ืนทเี่ กษตรกรรม > 20-40 % ของพ้ืนที่ 1
พื้นที่เกษตรกรรม 0-20 % ของพ้ืนท่ี
5
4) กจิ กรรมทีเ่ คยดำเนินงานในพืน้ ท่ี (นำ้ หนกั 30%) 4
แหล่งนำ้ ชุมชน/แหลง่ น้ำอนื่ ๆ (นำ้ หนกั 15%) 3
ไม่มี หรือมแี ต่ใช้การไมไ่ ด้แล้ว 2
มี 1- 2 แหง่ ตน้ื เขนิ 1
มี > 2 แหง่ ตนื้ เขิน
มี 1-2 แห่ง ยังใช้การได้ 5
มี > 2 แหง่ ยงั ใช้การได้ 4
ระบบอนรุ ักษฯ์ (น้ำหนกั 15%) 3
ไมม่ ี หรอื มแี ตไ่ ม่คงสภาพแลว้ 2
มี > 3 กิจกรรม แตส่ ภาพไม่สมบูรณ์ 1
มี 1- 3 กจิ กรรม แตส่ ภาพไมส่ มบรู ณ์
มี 1-3 กจิ กรรม ยังคงสภาพอยู่ 3
มี >3 กจิ กรรม ยังคงสภาพอยู่ 2
1
5) ความต้องการและความพรอ้ มของชุมชน (น้ำหนัก 10%)
ระดับมาก 16
ระดับปานกลาง
ระดับนอ้ ย

2.6 การจัดทำแผนบริหารจัดการชะล้างพังทลายของดินและฟ้ืนฟูพ้ืนท่ีเกษตรกรรม
ดว้ ยระบบอนุรกั ษด์ ินและน้ำ

แผนปฏิบัติการเพ่ือป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ลุ่มน้ำ
แม่งัดฝ่ังตะวันตก ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เปน็ เครอ่ื งมือในการขับเคล่ือนโครงการป้องกันการ
ชะล้างพงั ทลายของดินและฟ้นื ฟพู ้ืนท่ีเกษตรกรรมด้วยระบบอนรุ ักษ์ดนิ และน้ำ ให้สามารถนำไปสู่การ
วางแผน การกำหนดมาตรการและบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมท่ีมีความเสี่ยงต่อการชะล้าง
พังทลายของดินและพ้ืนที่เส่ือมโทรม นำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด สมดุล เป็นธรรม และย่ังยืน
รวมทั้งสามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามระบบการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ท่ี
สอดคล้องกบั ประเด็นปัญหาและบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยผ่านกระบวนการมีส่วน
ร่วมจากภาคผี มู้ ีส่วนได้สว่ นเสียผู้เกีย่ วข้อง

การบริหารจัดการทรัพยากรดินระดับลุ่มน้ำ ได้นำหลักการอนุรักษ์ดินและน้ำ การบริหาร
จัดการเชิงระบบนิเวศที่ต้องดำเนินการเพ่ือให้เกิดความสมดุลของระบบ ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพยี ง การบรู ณาการให้การใช้ประโยชน์ท่ีดินเป็นไปอย่างเหมาะสมตามศักยภาพของท่ีดิน
มีความเช่ือมโยงกับการจัดการทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ และชายฝั่ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในด้าน
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ส่ิงแวดล้อม และความม่ันคงของประเทศ โดยคำนึงถึงสิทธิในทรัพย์สิน
ของประชาชน หลักธรรมาภิบาล การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของ
ประชาชน ชุมชน และภูมิสังคม ดังนั้น เพ่ือให้แผนบริหารจัดการแปลงไปสู่การปฏิบัติ จึงได้จัดทำ
แผนปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ซ่ึงได้พิจารณาครอบคลุมทุกมิติแบบองค์รวม ได้แก่ มิติ
กายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และส่ิงแวดล้อม โดยกำหนดทิศทางจากสภาพปัญหาเป็นตัวนำ และความรู้
ทางวิชาการหลากหลายสาขาผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์จากงานวิจัย และเทคโนโลยีด้านการ
พัฒนาทดี่ นิ การอนรุ ักษด์ นิ และนำ้ ผ่านกระบวนการมีสว่ นร่วมของชุมชน

17

บทท่ี 3
สถานภาพพื้นที่ลุ่มนำ้

3.1 ทีต่ ้ังและอาณาเขต

พื้นที่โครงการตั้งอยู่ระหว่างพิกัด 19º15'39.2"N ถึง 19º19'42.9"N และ 99º07'33.5"E ถึง
99º09'53.5"E (UTM 47Q 513237 E ถึง 517317 E และ UTM 47Q 2129699 N ถึง 2137192 N
ระวาง 4847III และ 4847IV) มีเนื้อท่ีประมาณ 118,721 ไร่ อยู่ในลุ่มน้ำปิง และเป็นส่วนหนึ่งของลุ่ม
น้ำสาขาแม่น้ำงัด พ้ืนที่ส่วนใหญ่อยู่ในตำบลน้ำแพร่ ตำบลเขื่อนผาก และตำบลแม่ป๋ัง อำเภอพร้าว
และมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว รวมครอบคลุมพื้นท่ี 24 หมู่บ้าน ดังแสดงใน
ภาพที่ 3-1

ทศิ เหนอื ตดิ ตอ่ ต.ปิงโค้ง อ.เชยี งดาว และ ต.สันทราย อ.พรา้ ว
ทิศใต้ ตดิ ต่อ ตำบลแมห่ อพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ตดิ ตอ่ ลำนำ้ แม่งดั และต.แม่แวน อ.พรา้ ว จ.เชียงใหม่
ทศิ ตะวันตก ตดิ ตอ่ ต.แมง่ ัด ต.เชียงดาว ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชยี งใหม่

3.2 สภาพภูมิประเทศ

ลุ่มน้ำแม่งัดฝั่งตะวันตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งัด ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพ้ืนที่สูงชัน รองลงมาเป็นพ้ืนท่ีเนินเขา พื้นที่ลูกคล่ืนลอนลาด พ้ืนท่ี
ราบเรียบถึงค่อนขา้ งราบเรียบ พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน และพ้ืนท่ีลูกคล่ืนลอนลาดเล็กน้อย (ตารางท่ี 3-1) มี
ความลาดเทของพ้ืนท่ีจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพ้ืนที่ลุ่มน้ำ อยู่สูงจาก
ระดับทะเลปานกลางประมาณ 400 – 1,360 เมตร โดยมีน้ำแม่งัดไหลผ่านพื้นที่จากทิศเนือไปยังทิศใต้
โดยไหลไปลงเข่ือนแม่งัด บริเวณบ้านแม่ปั๋ว ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 3-2 และ
ภาพที่ 3-3)

18

ตารางท่ี 3-1 ความลาดชนั พื้นที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝง่ั ตะวันตก ลุ่มนำ้ สาขานำ้ แมง่ ัด ลุ่มนำ้ หลักแม่นำ้ ปิง อำเภอ
พรา้ ว จังหวัดเชยี งใหม่

ความลาดชัน สภาพพื้นท่ี เน้อื ที่
ไร่ รอ้ ยละ
(เปอร์เซ็นต์) 17,103 14.41
3,917 3.30
0–2 ราบเรยี บถึงคอ่ นขา้ งราบเรียบ 18,572 15.64
12,245 10.31
2–5 ลกู คลื่นลอนลาดเลก็ นอ้ ย 20,694 17.43
46,190 38.91
5–12 ลูกคลื่นลอนลาด 118,721 100.00

12–20 ลูกคลื่นลอนชนั

20–35 เนินเขา

35–50 พื้นทส่ี งู ชนั

รวมเน้อื ที่

ทม่ี า: จากการวิเคราะห์ดว้ ยโปรแกรมสารสนเทศภมู ศิ าสตร์

19

ภาพท่ี 3-1 แผนท่ีขอบเขตการปกครอง ลุ่มนำ้ แมง่ ัดฝั่งตะวันตก ล่มุ น้ำสาขาน้ำแม่งดั ลุ่มนำ้ หลัก
แมน่ ำ้ ปิง อำเภอพร้าว จงั หวดั เชียงใหม่

20

ภาพท่ี 3-2 แผนที่ขอบเขตลุ่มนำ้ แม่งดั ฝ่งั ตะวนั ตก ลุ่มนำ้ สาขาน้ำแมง่ ดั ลุม่ นำ้ หลกั แม่นำ้ ปิง
อำเภอพร้าว จังหวัดเชยี งใหม่

21

ภาพท่ี 3-3 แผนท่ีความลาดชนั พน้ื ทลี่ ่มุ นำ้ แม่งดั ฝงั่ ตะวนั ตก ล่มุ นำ้ สาขาน้ำแมง่ ดั ลมุ่ น้ำหลกั แม่น้ำปิง
อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

22

3.3 สภาพภมู ิอากาศ

สภาพภูมิอากาศทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่ จากข้อมูลสถานีตรวจอากาศจังหวัดเชียงใหม่
พบวา่ จังหวัดเชียงใหม่มี 3 ฤดู โดยลักษณะภูมอิ ากาศในพื้นท่ีจงั หวดั เชียงใหม่ ดงั น้ี

อุณหภูมิ มีอุณหภูมิเฉล่ียตลอดปี 26.1 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน
36.6 องศาเซลเซียส และอุณหภมู ติ ่ำสดุ ในเดอื นมกราคม 15.6 องศาเซลเซียส

ปริมาณน้ำฝน มีปริมาณน้ำฝนรวมตลอดปี 1,146.5 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดใน
เดือนกนั ยายน 204.2 มิลลิเมตร และปรมิ าณน้ำฝนตำ่ สดุ ในเดือนมกราคม 11.8 มิลลิเมตร

ความชื้นสัมพัทธ์ มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 71.3 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความชื้นสัมพัทธ์
สงู สดุ ในเดอื นสิงหราคมและกนั ยายน 82.0 เปอร์เซน็ ต์ และตำ่ สุดในเดอื นมนี าคม 54.0 เปอรเ์ ซ็นต์

การวิเคราะห์ช่วงฤดูเพาะปลูก จากการวิเคราะห์สถานการณ์สมดุลของน้ำ เพื่อการเกษตร
ด้วยข้อมูลเก่ียวกับปริมาณน้ำฝนเฉล่ียรายเดือน และค่าศักยภาพการคายระเหยน้ำเฉลี่ยรายเดือน
(Evapotranspiration : ETo) ซึ่งคำนวณโดยใช้โปรแกรม Cropwat for Windows Version 8.0 โดย
พจิ ารณาจากช่วงระยะท่ีนำ้ ฝนอยู่ที่เหนือระดับเส้น 0.5 ของค่าศักยภาพการคายระเหยน้ำ (0.5 ETo)
เปน็ หลกั (ภาพที่ 3-4) พบว่า ระยะเวลาในการปลูกพืชที่เหมาะสมกับจงั หวัดเชียงใหม่อยู่ในช่วงปลาย
เดอื นเมษายนถึงต้นเดอื นพฤศจิกายน

ภาพที่ 3-4 กราฟสมดุลของน้ำเพ่ือการเกษตร จังหวัดเชยี งใหม่ ปี พ.ศ. 2533-2562

23

ตาราง 3-2 สถติ ภิ ูมิอากาศ ณ สถานีตรวจอากาศจังหวัดเชียงใหม่ (ปี พ.ศ. 2533-2562)

อุณหภูมิ (°ซ) ความชน้ื ปรมิ าณ จำนวนวันที่ ศกั ยภาพการ ปรมิ าณฝน
ใชก้ าร
เดอื น ตำ่ สดุ สงู สดุ เฉล่ีย สัมพัทธ์ นำ้ ฝน ฝนตก คายระเหยนำ้ (มม.)
11.6
(%) (มม.) (วนั ) (มม.) 12.7
22.7
ม.ค. 15.6 29.9 21.9 69.0 11.8 1.5 97.7 48.3
126.2
ก.พ. 16.7 32.8 24.1 58.0 13.0 1.3 113.4 94.8
112.6
มี.ค. 20.1 35.3 27.3 54.0 23.6 3.3 155.3 141.5
137.5
เม.ย. 23.3 36.6 29.4 58.0 52.8 7.1 174.0 99.9
42.4
พ.ค. 24.1 34.5 28.5 71.0 175.5 15.7 155.6 14.3
-
มิ.ย. 24.4 33.1 28.0 76.0 116.5 16.7 126.3 864.5

ก.ค. 24.2 32.0 27.4 79.0 147.4 19.2 114.4

ส.ค. 23.9 31.6 26.9 82.0 216.4 21.1 109.1

ก.ย. 23.6 32.0 26.9 82.0 204.2 18.6 110.7

ต.ค. 22.5 31.7 26.3 79.0 124.9 11.8 114.1

พ.ย. 19.9 30.8 24.5 75.0 45.8 4.5 102.6

ธ.ค. 16.8 29.1 22.2 73.0 14.6 2.0 93.0

เฉลี่ย 21.3 32.5 26.1 71.3 - - -

รวม - 1,146.5 122.8 1,466.2

ที่มา : กรมอุตนุ ยิ มวิทยา (2563)

หมายเหตุ : *จากการคำนวณโดยโปรแกรม Cropwat for Windows Version 8.0

3.4 ทรัพยากรดนิ

3.4.1ขอ้ มูลทรัพยากรดิน

จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินในระดับชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 ในพื้นท่ี
ลุ่มน้ำแมง่ ดั ฝั่งตะวันตก เน้ือท่ี 118,721 ไร่ สามารถจำแนกออกได้เป็น 20 หนว่ ยแผนท่ี (ตารางท่ี 3-3
ภาพท่ี 3-4) ประกอบด้วย ระดับหน่วยจำแนก มี 8 ชุดดิน (10 หน่วยแผนที่) ดินคล้าย 6 ดิน (6
หนว่ ยแผนท่ี) หน่วยดินเชงิ ซ้อน 1 หน่วยแผนท่ี (รายละเอียดชุดดินตามภาคผนวกท่ี 1) ร้อยละ 35.88
พ้ืนที่เบ็ดเตล็ด ร้อยละ 1.89 ประกอบด้วย พ้ืนท่ีชุมชนและสิ่งปลูกสร้างและพื้นท่ีแหล่งน้ำ และพื้นท่ี
ลาดชันเชิงซอ้ น (SC) ร้อยละ 62.23 ของเน้ือทลี่ ่มุ น้ำ

ชุดดินท่ีมีการกระจายตัวมากที่สุด คือชุดดินแม่แตง (Mt) มีเน้ือท่ีร้อยละ 18.76 ของเน้ือที่ลุ่ม
น้ำ ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในพื้นที่ตำบลเข่ือนผากและตำบลแม่ป๋ัง และกระจายตัวเล็กน้อยอยู่ในพื้นที่
ตำบลน้ำแพร่และตำบลบ้านโป่ง อำเภอพรา้ ว ลักษณะเป็นดินลึกมาก ดินบนเปน็ ดนิ ร่วนถึงดนิ รว่ นปน
ดินเหนียว ดินล่างเป็นดินเหนียว พบในสภาพพื้นท่ีลูกคลื่นลอนลาดเลก็ น้อยถึงลกู คลน่ื ลอนชัน ชุดดิน
ที่มีการกระจายตัวรองลงมา คือ ชุดดินหางดง (Hd) มีเน้ือท่ีร้อยละ 3.46 ของเน้ือท่ีลุ่มน้ำ ส่วนใหญ่

24

กระจายอยู่ในพ้ืนที่ตำบลเข่ือนผากและตำบลน้ำแพร่ และกระจายตัวเล็กน้อยอยู่ในพื้นท่ีตำบลบ้าน
โป่งและตำบลแม่ป๋ัง อำเภอพร้าว ลักษณะเป็นดินเหนียวลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
แป้ง ดินล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง พบจุดประสีน้ำตาลปน
เหลืองหรือนำ้ ตาลแกต่ ลอดหน้าตัดดนิ สภาพพ้ืนทีร่ าบเรียบถึงค่อนขา้ งราบเรียบ

นอกจากนั้นยังพบชุดดินลาดหญ้า (Ly) ชุดดินท่ายาง (Ty) ชุดดินแม่ริม (Mr) มีเนื้อที่ร้อยละ
2.51 0.77 และ 0.18 ตามลำดับ ลักษณะเป็นดินลึกปานกลางถึงช้ันเศษหิน กรวด ดินตื้นถึงชั้นเศษ
หินและหินพ้ืน ดินต้ืนหรือต้ืนมากถึงช้ันก้อนกรวดและหินในเล็กหนาแน่นตั้งแต่ภายใน 50 ซม. จาก
ผิวดิน ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินรว่ นปนทราย ดินร่วนปนเศษหินหรือดินร่วนปนทรายปนเศษหิน ดิน
รว่ นปนทรายหรือทรายปนดินร่วน อาจมีกรวดและหินมนเล็กปะปน ดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายหรือ
ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทรายปนเศษหิน พบก้อนกรวดเป็นพวกหินควอร์ตไซต์ หินทราย
หินฟิลไลท์และหินดินดาน ดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนแหนียวปนทราย มีกรวดและหินมนเล็ก
ปะปนอยู่หนาแน่น มากกว่า 35% สภาพพ้ืนท่ีเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กนอ้ ยถึงลูกคลื่นลอนชัน ดินสัน
ป่าตองท่ีเป็นดินร่วนละเอียด (Sp-fl) ดินแม่แตงที่เป็นดินร่วนละเอียด (Mt-fl) มีเนื้อท่ีร้อยละ 3.24
และ 0.78 ของเนื้อที่ลุ่มน้ำ ตามลำดับ พบกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ตำบลน้ำแพร่ ตำบลเข่ือนผาก และ
ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว ลักษณะเป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วน
เหนยี วปนทราย ดนิ ร่วนปนดนิ เหนียว สภาพพื้นท่ีเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย หน่วยดินเชิงซ้อนของ
ชุดดินเชียงใหม่และดินเชียงใหม่ที่มีจุดประสีเทา (Cm-Cm-gm) มีเนื้อท่ีร้อยละ 2.60 พบบริเวณสอง
ขา้ งริมน้ำแม่งดั ในบางแห่ง น้ำแม่ละงอง และนำ้ แมแ่ พง ลกั ษณะเปน็ ดินลึกมาก มีการสลับชน้ั ของเน้ือ
ดินต่างๆ ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดนิ ร่วนปนทราย หรือดินรว่ นปนทรายแป้ง มีจุดประ
สนี ำ้ ตาลแก่ หรอื สเี ทาออ่ น สภาพพื้นทีร่ าบเรยี บถงึ ค่อนข้างราบเรียบ

พบชุดดินที่ลุ่ม ได้แก่ ชุดดินแม่สาย (Ms) ดินหางดงที่เป็นทรายแป้งละเอียด (Hd-fsi) ดินหาง
ดงที่มีหน้าดินแตกระแหง (Hd-vertic) และดินสันทรายท่ีเป็นดินร่วนละเอียด (Sai-fl) มีเน้ือท่ีร้อยละ
0.73 1.32 1.05 0.49 ตามลำดับ พบกระจายอยู่บริเวณที่ราบท่ีเป็นพื้นที่นาสองขา้ งของลำนำ้ แม่งัด
ถดั จากหน่วยดินเชิงซ้อนของชุดดินเชียงใหม่และดินเชียงใหม่ท่ีมีจุดประสีเทา ลักษณะเป็นดินลึกมาก
ดนิ ทรายแป้งละเอยี ดลกึ มาก ดินบนเป็นดนิ ร่วนปนทรายแป้งหรือดนิ ร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วน
ปนทรายแป้ง ดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดิน
เนียวหรือดนิ เหนยี วปนทรายแปง้ สภาพพ้นื ทรี่ าบเรยี บถงึ คอ่ นข้างราบเรียบ

เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยด้านลักษณะของดินท่ีมีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งดินแต่ละ
ชนิดจะคงทนต่อการชะล้างพังทลายท่ีแตกต่างกันในสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึง โดยเฉพาะค่าปัจจัย
ความคงทนของดิน (K-factor) ท่ีสามารถนำไปประเมินการสูญเสียดินในสมการการสูญเสียดินสากล
(USLE) จะเห็นว่า ปัจจัยสมบัติดินท่ีมีผลต่อค่าปัจจัยความคงทนของดิน ได้แก่ (1) ผลรวมปริมาณ
ร้อยละของทรายแป้งและปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมาก (% silt + % very fine sand)
(2) ปริมาณร้อยละของทราย (% sand) (3) ปริมาณร้อยละของอินทรียวัตถุในดิน (% organic

25

matter) (4) โครงสร้างของดิน (Soil structure) และ (5) การซาบซึมน้ำของดิน (Permeability)
(กรมพฒั นาที่ดิน, 2545) จากการศึกษาคา่ ปัจจัยความคงทนของดนิ ต่อการชะล้างพังทลาย (K-factor)
ตามชนิดจากคา่ ปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดินภาคเหนือของประเทศไทย พบว่าง
ลมุ่ น้ำแม่งัดฝ่งั ตะวันตก เนอ้ื ดินบนส่วนใหญ่เป็นดนิ ร่วนปนดนิ เนียว (cl) เนอื้ ที่รอ้ ยละ 18.76 ของเน้ือ
ที่ลุ่มน้ำ ซ่ึงมีค่า K อยู่ระหว่าง 0.24 – 0.27 อยู่ในระดับปานกลาง เม่ือเทียบกับช่วงค่า K ของดินท่ี
ประเมินจากเนื้อดินบนของดินที่พบในภาคเหนือของประเทศไทย ท่ีมีค่าระหว่าง 0.05 – 0.49 ทั้งนี้
พบเนื้อดินร่วนปนทราย (sl) และร่วนปนทรายแป้ง (sil) ซ่ึงมีค่า K ระหว่าง 0.27 -0.49 (กรมพัฒนา
ที่ดิน, 2545) อยู่ในระดบั ปานกลางถึงสงู อยู่รอ้ ยละ 12.61 ของเนื้อทลี่ มุ่ นำ้

ดินที่พบส่วนใหญ่ในพ้ืนที่อยู่ในกลุ่มดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดดินจากตะกอนน้ำพา ได้แก่ ชุดดิน
แม่แตง (Mt) ชุดดินแม่ริม (Mr) ชุดดินสันป่าตอง (Sp) ชุดดินเชียงใหม่ (Cm) ชุดดินหางดง (Hd) ชุด
ดินสันทราย (Sai) ชุดดินแม่สาย (Ms) ร้อยละ 32.60 ของเนื้อท่ีลุ่มน้ำ มีอินทรียวัตถุต่ำถึงปานกลาง
รองลงมาเป็นกลุ่มดินท่ีมีวัตถุต้นกำเนิดดินพวกหินตะกอนหรือหินแปรเน้ือหยาบ พวกหินทรายและ
หินควอร์ตไซต์ รองรับด้วยหินดินดานและหินฟิลไลท์ เน้ือดินเป็นกลุ่มดินรว่ น ปริมาณอินทรียวัตถุสูง
คอื ชดุ ดนิ ท่ายาง (Ty) และชุดดินลาดหญา้ (Ly) ร้อยละ 3.27 ของเน้ือทลี่ มุ่ นำ้

นอกจากปจั จัยด้านลักษณะและสมบัติดินแล้ว ปัจจัยด้านสภาพพื้นท่ีและการใชป้ ระโยชน์ที่ดิน
ก็มีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน โดยเฉพาะความลาดชันของพ้ืนที่จะมีผลโดยตรงต่อการชะล้าง
พังทลายของผิวหน้าดิน การไหลบ่าของน้ำผ่านผิวหน้าดิน ระดับน้ำใต้ดิน ความช้ืนในดิน การระบาย
นำ้ ความยากงา่ ยต่อการกักเก็บนำ้ และการเขตกรรม ดังนนั้ สภาพพื้นท่ีจงึ เปน็ ปัจจัยที่สำคญั อย่างหน่ึง
ท่ีควบคุมลักษณะของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลต่อการชะล้างพังทลายของดินด้วย โดยเฉพาะ
ข้าวโพดเล้ียงสัตว์ ซ่ึงเป็นพชื ไร่เศรษฐกิจท่ีปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชันเป็นสว่ นใหญ่ และมีสง่ิ ปกคลุม
ผิวหน้าดินน้อยหรอื ไม่มีส่ิงปกคลุมดิน เกิดการชะล้างพังทลายของดิน ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของ
ดินลดลง รวมถึงสมบัติทางกายภาพของดนิ ลดลง ซ่งึ เร่งให้เกดิ การชะลา้ งพงั ทลายของดนิ สูงข้นึ

พน้ื ที่ลาดชันเชิงซ้อนหรือพื้นท่ลี าดชันสูง มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอรเ์ ซน็ ต์ เป็นพ้ืนที่ที่ยัง
ไม่มีการจำแนกประเภทดิน กระจายตัวอยู่ร้อยละ 38.91 ของเนื้อท่ีลุ่มน้ำ เรียงตัวอยู่ทาง
ทิศตะวันตกของพื้นท่ีลุ่มน้ำ พ้ืนที่ลาดชันสูงเหล่านี้เส่ียงต่อการชะล้างพังทลายของดินสูงมาก ไม่
เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม สภาพพื้นท่ีลาดชันเชิงซ้อนหรือพ้ืนท่ีลาดชันสูง แบ่งย่อยออกเป็น 3
ระดับ ดงั นี้

1) พื้นทส่ี งู ชัน (Steep slope) มคี วามลาดชนั 35 – 50 เปอร์เซน็ ต์
2) พ้ืนทสี่ ูงชันมาก (Very steep slope) มีความลาดชนั 50 – 75 เปอรเ์ ซ็นต์
3) พื้นท่ีสูงชันมากท่ีสุด (Extremely steep slope) มีความลาดชันมากกว่า 75
เปอรเ์ ซน็ ต์

26

ตารางท่ี 3-3 ทรัพยากรดินในพนื้ ทีล่ ่มุ นำ้ แม่งัดฝ่ังตะวนั ตก อำเภอพรา้ ว จังหวดั เชยี งใหม่

ลำดบั สญั ลกั ษณ์ คำอธบิ าย เน้อื ท่ี รอ้ ยละ
1 Bg-hb-clE (ไร)่
2 Cm-Cm-gm- ดินบ้านจ้องท่ีมีความอ่ิมตัวเบสสูง มีเนื้อดินบนเป็นดิน
slA/b ร่วนปนดนิ เหนยี ว ความลาดชัน 20-35 เปอรเ์ ซ็นต์ 3 0.01
3 Hd-fsi-silA หน่วยดินเชิงซ้อนของชุดดินเชียงใหม่และดินเชียงใหม่ที่ 3,089 2.60
4 Hd-siclA มีจุดประสีเทา มีเน้ือดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ความ
5 Hd-vertic-sicA ลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีคันนา 1,562 1.32
6 Ly-slB ดินหางดงที่เป็นดินทรายแป้งละเอียด มีเนื้อดินบนเป็น 4,106 3.46
7 Ly-slC ดนิ รว่ นปนทรายแป้ง ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ 1,248 1.05
8 Mr-gslC ชุดดินหางดง มีเน้ือดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
9 Ms-silA แป้ง ความลาดชัน 0-2 เปอรเ์ ซ็นต์ 280 0.23
10 Mt-clB ดินหางดงท่ีมีหน้าดินแตกระแหง มีเน้ือดินบนเป็นดิน 2,694 2.27
11 Mt-clC เหนียวปนทรายแปง้ ความลาดชัน 0-2 เปอรเ์ ซน็ ต์
12 Mt-clD ชดุ ดินลาดหญ้า มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนบนทราย ความ 219 0.18
13 Mt-fl-slB ลาดชัน 2-5 เปอรเ์ ซ็นต์ 866 0.73
14 Sai-fl-slA ชุดดินลาดหญ้า มีเน้ือดินบนเป็นดินร่วนบนทราย ความ 17,474 14.72
15 Sp-fl-slB ลาดชนั 5-12 เปอร์เซ็นต์ 4,592 3.87
16 Ty-gslC ชุดดินแม่ริม มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายปนกรวด 201 0.17
ความลาดชัน 5-12 เปอรเ์ ซน็ ต์ 921 0.78
ชุดดินแม่สาย มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง 587 0.49
ความลาดชัน 0-2 เปอรเ์ ซน็ ต์ 3,841 3.24
ชุดดินแม่แตง มีเน้ือดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว 530 0.45
ความลาดชนั 2-5 เปอรเ์ ซน็ ต์
ชุดดินแม่แตง มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว
ความลาดชัน 5-12 เปอรเ์ ซน็ ต์
ชุดดินแม่แตง มีเน้ือดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว
ความลาดชนั 12-20 เปอรเ์ ซน็ ต์
ดินแม่แตงทเ่ี ป็นดินร่วนละเอียด มีเนอ้ื ดนิ บนเป็นดินร่วน
ปนทราย ความลาดชนั 2-5 เปอรเ์ ซน็ ต์
ดินสันทรายท่ีเป็นดินร่วนละเอียด มีเน้ือดินบนเป็นดิน
ร่วนปนทราย ความลาดชนั 0-2 เปอร์เซน็ ต์
ดินสันป่าตองท่ีเป็นดินร่วนละเอียด มีเนื้อดินบนเป็นดิน
ร่วนปนทราย ความลาดชัน 2-5 เปอรเ์ ซน็ ต์
ชุดดินท่ายาง มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายปนกรวด
ความลาดชนั 5-12 เปอร์เซน็ ต์

27

ตารางท่ี 3-3 (ตอ่ )

ลำดบั สัญลักษณ์ คำอธิบาย เน้อื ที่ รอ้ ยละ
(ไร่)
17 Ty-gslD ชดุ ดินท่ายาง มีเน้ือดินบนเป็นดินร่วนปนทรายปนกรวด
ความลาดชนั 12-20 เปอร์เซ็นต์ 380 0.32
18 SC พ้ืนที่ลาดชันเชิงซ้อน ความลาดชันมากกว่า 35
เปอร์เซน็ ต์ 73,878 62.23
19 U พืน้ ทชี่ ุมชนและส่งิ ปลูกสรา้ ง
20 W พน้ื ที่แหลง่ นำ้ 1,169 0.98
1,080 0.90

รวมทั้งหมด 118,721 100.00

หมายเหต:ุ ตวั เลขได้จากการคำนวณด้วยโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากขอ้ มลู ชดุ ดิน
มาตราสว่ น 1:25000 ปี พ.ศ. 2561 ของกองสำรวจดินและวิจยั ทรพั ยากรดิน กรมพฒั นาทีด่ ิน

28

ภาพที่ 3-5 แผนที่ทรพั ยากรดนิ ลมุ่ น้ำแมง่ ัดฝั่งตะวันตก ลมุ่ น้ำสาขาน้ำแมง่ ัด ล่มุ น้ำหลกั แมน่ ้ำปิง
อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

29

3.4.2ขอ้ มูลสถานภาพทรัพยากรดิน

สถานภาพทรัพยากรดินในพื้นท่ีลุ่มน้ำแม่งดั ฝั่งตะวนั ตกส่วนใหญ่เป็นดินมีความอดุ มสมบูรณ์ต่ำ
และพ้ืนท่ีลาดชันเชิงซ้อน พบกระจายตัวอย่ใู นพ้ืนที่ต่างๆ (ตารางท่ี 3-4 และภาพที่ 3-6) รายละเอียด
มีดังน้ี

1) ดนิ ต้ืน เป็นดินท่ีมีช้ันดินบนหนาประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มีเน้ือดินบนเป็น
ดินร่วน ดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วนปนดินเหนียวปนเศษหิน ดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้ง
ดินร่วนปนทรายหรือทรายปนดินร่วน อาจมีกรวดและหินมนเล็กปะปน ชั้นถัดไปเป็นดินเหนียวปน
เศษหินหนาแน่นมาก ดินรว่ นปนดินเหนียวหรือดนิ รว่ นเหนียวปนทรายแป้ง หรอื ดินเหนียวทม่ี ปี รมิ าณ
กรวดหรือเศษหินปะปนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 35 โดยปริมาตร หรือพบหินพื้น ภายในความลึก
50 เซนติเมตรจากผิวดิน ซ่ึงเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของของพืชด้านการชอนไชของรากพืช
ทำให้การเกาะยดึ ตัวของดินไม่ดี ยากแก่การไถพรวน เกดิ การชะล้างพังทลายได้ง่าย สภาพปัญหาและ
ข้อจำกัดนี้ครอบคลุมเน้ือที่รวม 3,158 ไร่ หรือร้อยละ 2.66 ของเน้ือที่ลุ่มน้ำ เป็นดินตื้นในพื้นท่ีดอน
ถึงชั้นลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหิน ส่วนใหญ่พบกระจายอยู่ในพื้นที่ตำบลน้ำแพร่ ตำบลเขื่อนผาก
และตำบลแม่ปัง๋ อำเภอพร้าว จงั หวัดเชยี งใหม่

2) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินในประเทศไทย
กรมพัฒนาท่ีดินใช้หลักเกณฑ์ประเมินจากค่าวิเคราะห์ดิน 5 รายการ ได้แก่ ร้อยละของปริมาณ
อินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสท่ีเป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมท่ีเป็นประโยชน์ ความจุ
แลกเปล่ียนแคตไอออน และอัตราร้อยละความอ่ิมตัวเบส เกณฑ์การประเมินมี 3 ระดับ คือ สูง
ปานกลาง และต่ำ ซ่ึงดินท่ัวไปตามธรรมชาติ มีวัตถุต้นกำเนิดดินท่ีมีแร่ธาตุอาหารตามธรรมชาติต่ำ
การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยไม่มีการปรับปรุงดิน ทำให้ดินเส่ือมโทรม
ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงอย่างต่อเน่ือง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตช้า และผลผลิตตกต่ำ สภาพ
ปญั หาขอ้ จำกดั น้ีครอบคลมุ เนอ้ื ที่ 30,974 ไร่ หรือร้อยละ 26.09 ของเน้ือทีล่ มุ่ นำ้

2.1) ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำในพื้นท่ีดอนที่เป็นกรด พบกระจายอยู่ในพ้ืนที่
ตำบลเข่ือนผาก ตำบลน้ำแพร่ ตำบลแม่ปั๋ง และตำบลบ้านโป่ง เนื้อที่ 28,161 ไร่ หรือร้อยละ 23.72
ของเนื้อทล่ี ุ่มนำ้

2.2) ดินท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำในพื้นท่ีดอนที่ไม่เป็นกรด พบกระจายในพ้ืนท่ี
ตำบลแมป่ ั๋ง ตำบลเข่อื นผาก และตำบลนำ้ แพร่ เนื้อท่ี 2,813 ไร่ หรือร้อยละ 2.37 ของเน้ือท่ีล่มุ นำ้

3) ดินท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง พบกระจายอยู่ในพ้ืนท่ีพบกระจายอยู่ในพื้นท่ี
ตำบลเขอื่ นผาก ตำบลน้ำแพร่ ตำบลแม่ป๋งั และตำบลบ้านโปง่ อำเภอพร้าว เน้ือที่ 8,048 ไร่ หรือร้อย
ละ 6.77 ของเนอ้ื ที่ลุ่มนำ้

3.1) ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางในพ้ืนท่ีม พบกระจายอยู่ในพ้ืนที่ตำบล
นำ้ แพร่ ตำบลเข่ือนผาก และตำบลแม่ปง๋ั เนอ้ื ท่ี 4,956 ไร่ หรอื ร้อยละ 4.17 ของเนื้อทล่ี ุ่มน้ำ

30

3.2) ดินท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางในพ้ืนท่ีดอน อำเภอพร้าว เนื้อท่ี 3,092
ไร่ หรือร้อยละ 2.60 ของเนอ้ื ที่ลมุ่ นำ้

4) พ้ืนที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ท่ีมีความลาดชันสูง มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
ไม่เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์ที่ดินเพ่ือเกษตรกรรม มีความเส่ียงต่อการชะล้างพังทลายของดินสูง
พบกระจายอยู่ตามแนวของของพ้ืนท่ีลุ่มน้ำทางทิศตะวันตก ส่วนใหญ่พบกระจายในพื้นที่ตำบลน้ำ
แพร่ ตำบลเขื่อนผาก ตำบลแม่ป๋ัง และตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว เน้ือที่ 71,784 ไร่ หรือร้อยละ
60.47 ของเน้อื ทล่ี ่มุ น้ำ

5) อ่ืนๆ พื้นที่อ่ืนๆ เน้ือท่ี 4,757 ไร่ หรือร้อยละ 4.01 ของเน้ือที่ลุ่มน้ำ ประกอบด้วย
พ้ืนท่ีน้ำ 1,385 ไร่ หรือร้อยละ 1.17 ของเนื้อท่ีลุ่มน้ำ และพ้ืนที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 3,372 ไร่
หรอื ร้อยละ 2.84 ของเนอ้ื ทล่ี ่มุ น้ำ

ตารางที่ 3-4 สถานภาพทรัพยากรดนิ ในพื้นที่ลุ่มนำ้ แมง่ ัดฝงั่ ตะวนั ตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งัด ลุ่มน้ำหลัก

แม่น้ำปิง อำเภอพรา้ ว จงั หวัดเชียงใหม่

คำอธิบาย เนอ้ื ท่ี

ไร่ รอ้ ยละ

1) ปญั หาดนิ ต้นื

ดินตน้ื ในพน้ื ท่ีดอนถึงชั้นลกู รงั ก้อนกรวด หรอื เศษหนิ 3,158 2.66

2) ดนิ ทมี่ คี วามอดุ มสมบูรณ์ตำ่

2.1) ดนิ ท่มี คี วามอุดมสมบูรณต์ ่ำในพ้ืนทีด่ อนทเี่ ป็นกรด 28,161 23.72

2.2) ดนิ ทม่ี คี วามอุดมสมบรู ณ์ต่ำในพ้นื ท่ดี อนที่ไม่เป็นกรด 2,813 2.37

3) ดินทม่ี คี วามอดุ มสมบูรณป์ านกลาง

3.1) ดนิ ที่มีความอดุ มสมบรู ณ์ปานกลางในพื้นที่ลมุ่ 4,956 4.17

3.2) ดนิ ท่ีมีความอดุ มสมบูรณ์ปานกลางในพ้ืนทดี่ อน 3,092 2.60

4) พื้นทีล่ าดชันเชิงซอ้ น 71,784 60.47

5) อื่นๆ 4,757 4.01

รวมเน้อื ท่ี 118,721 100.00

หมายเหตุ: ตัวเลขไดจ้ ากการคำนวณดว้ ยโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากขอ้ มูลสถานภาพทรพั ยากรดนิ

ปี พ.ศ. 2561 ของกองสำรวจดนิ และวิจัยทรพั ยากรดิน กรมพัฒนาท่ดี นิ

31

ภาพท่ี 3-6 แผนที่สถานภาพทรัพยากรดิน พ้ืนท่ลี ่มุ น้ำแม่งัดฝง่ั ตะวันตก ล่มุ นำ้ สาขาน้ำแมง่ ัด
ลุม่ น้ำหลกั แม่น้ำปิง อำเภอพร้าว จงั หวัดเชยี งใหม่

32

3.5 ทรพั ยากรนำ้

3.5.1 ลำนำ้ ธรรมชาตทิ ส่ี ำคญั

พนื้ ท่ีลุ่มน้ำแม่งดั ฝั่งตะวันตก ลักษณะลุ่มน้ำวางแนวจากทางทิศเหนือไปยังทิศใต้ มีลำห้วยย่อย
อ่างเก็บน้ำ ท่ีเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งัด ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง
(ดงั ภาพที่ 3-7)

ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งัด (0603) เป็นลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิง ไหลจากพ้ืนที่ตำบลบ้านโป่งไปยังทิศใต้
ผ่านตำบลน้ำแพร่ ตำบลเข่ือนผาก และตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ราบ
ความสงู จากระดับทะเลปานกลางประมาณ 400 เมตร

ลำห้วยสำคัญของลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่งัด ในพื้นท่ีตำบลบ้านโป่ง ตำบล
น้ำแพร่ ตำบลเข่ือนผาก และตำบลแม่ปง๋ั ได้แก่ นำ้ แมว่ ะ น้ำแม่สม น้ำแม่ลาด น้ำแม่ละงอง หว้ ยเกยี๋ ง
ซาง ห้วยงู และนำ้ แม่แพง โดยลำนำ้ แม่สมจะไหลรวมกบั น้ำแม่ลาดก่อนไหลลงสู่น้ำแม่งัด เช่นเดียวกับ
ห้วยเกี๋ยงซางและห้วยงู สำหรับอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ลาด อ่างเก็บน้ำห้วยงู
และอ่างเก็บนำ้ แมแ่ พง

3.5.2 สภาพปัญหาทรัพยากรน้ำ

สภาพปญั หาทส่ี ำคัญเก่ียวกับทรัพยากรน้ำในพ้นื ที่ ได้แก่
- แหล่งน้ำท่ีมีอยู่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มท่ี เน่ืองจากมีขนาดเล็กและตื้นเขิน ขาด

ระบบสง่ น้ำ และระบบสูบนำ้ ตลอดจนการบรหิ ารจัดการท่ดี ี
- ในฤดูแล้งขาดแคลนน้ำเพ่ือทำการเกษตร สำหรบั ทำการเกษตรนอกฤดู
- การพัฒนาพ้ืนท่ีแหล่งน้ำที่มอี ยไู่ ม่ได้รับการพฒั นาและปรับปรุงใหม้ ีประสิทธภิ าพที่ดี มี

ศกั ยภาพในการกกั เกบ็ และระบายนำ้
แนวทางการป้องกันปัญหาแหล่งน้ำในอนาคต เช่น ปัญหาการขาดแคลนของน้ำช่วงฤดูแล้ง

ปัญหาการพัฒนาพ้ืนที่แหล่งน้ำ และปัญหาคุณภาพแหล่งน้ำ ในอนาคตเม่ือคำนึงถึงความต้องการที่
เพ่ิมข้ึนของการใช้น้ำในด้านต่างๆ อันเน่ืองมาจากอัตราการเพิ่มของประชากร การเจริญเติบโตของ
เศรษฐกจิ และสงั คม ซง่ึ ทำให้เกิดความไม่สมดลุ ในด้านการใช้น้ำและทรัพยากรธรรมชาตอิ ื่นที่เกี่ยวข้อง
อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ปัญหาแหล่งน้ำยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขอย่าง
ต่อเนอื่ ง

33

ภาพท่ี 3-7 แผนท่ีทรพั ยากรน้ำและเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ดำเนนิ โครงการป้องกนั การชะลา้ ง
พังทลายของดนิ และฟ้นื ฟูพน้ื ท่เี กษตรกรรม

34

3.5.3 ศักยภาพปรมิ าณน้ำทา่
น้ำแม่งัดเป็นลำน้ำสาขาของน้ำแม่ปิง มีพ้ืนท่ีรับน้ำทั้งหมดประมาณ 1,309 ตาราง

กโิ ลเมตร ลำน้ำน้ีมตี ้นกำเนิดจากดอยจิ๊กจอ๊ ง ทางตอนเหนอื ของเทือกเขาผีปันน้ำตะวันตกซึง่ อยู่ทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือของจงั หวัดเชียงใหม่ ลำนำ้ น้ีไหลจากทิศเหนอื ลงสู่ทิศใต้ผ่านพื้นที่อำเภอพร้าว ใน
เขตตำบลสันทราย ตำบลบ้านโป่ง ตำบลน้ำแพร่ ตำบลเขื่อนผาก ตำบลแม่แวน ตำบลแมป่ ั๋ง ตำบลบา้ น
เป้า ตำบลช่อแล และไหลผ่านเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล บรรจบกับแม่น้ำปิงที่บ้านใหม่ อำเภอแม่แตง
จังหวดั เชียงใหม่ รวมความยาวทั้งส้ิน 95 กโิ ลเมตร มีความจุ 265 ล้านลูกบาศกเ์ มตร

จากข้อมูลปริมาณน้ำท่าเฉล่ียของลุ่มน้ำปิงของกรมชลประทาน (ศูนย์อุทกวิทยา
ชลประทานภาคเหนือตอนบน, 2562) ได้ศึกษาปริมาณน้ำท่าเฉล่ียรายปีของสถานีวัดน้ำท่าชองสถานี
ต่างๆ ภายในลุ่มน้ำปิง คำนวณปริมาณฝนเฉล่ียของลุ่มน้ำด้วยวิธีธเี อสเสน เพื่อหาคา่ สัมประสิทธิ์น้ำท่า
จากสมการ ได้ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำท่าเฉล่ียรายปีและพื้นที่รับน้ำฝนของลุ่มน้ำปิง ดัง
แสดงในภาพท่ี 3-8

ข้อมูลปริมาณน้ำรายปีของลุ่มน้ำแม่งัด ของสถาถานีวัดน้ำบริเวณบ้านสหกรณ์ร่มเกล้า
อำเภอพรา้ ว จงั หวดั เชียงใหม่ (P 56A) พื้นทร่ี ับน้ำ 546 ตารางกโิ ลเมตร สูง 408 เมตร จากระดับทะเล
ปานกลาง ระหว่างปี พ.ศ. 2542 – 2563 พบว่ามีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉล่ีย 156.07 ล้าน ลบ.ม. โดย
ปริมาณน้ำสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 350.97 ล้าน ลบ.ม. และปริมาณน้ำต่ำสุดเฉลี่ย 48.26 ล้าน ลบ.ม.(ศูนย์
อทุ กวทิ ยาชลประทานภาคเหนอื ตอนบน, 2564)

จากการศึกษาสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งัดฝ่ังตะวันตก มีพื้นที่รับน้ำเท่ากับ 118,721 ตาราง
กิโลเมตร (74.20 ล้านไร่) โดยภายในลุ่มน้ำจะมีลำน้ำ ลำห้วยไหลลงสู่แม่น้ำสายหลัก คำนวณปริมาณ
น้ำท่า ด้วยวิธี Reginal Runoff equation ซ่ึงอาศัยความสัมพันธ์แบบรีเกรซชั่น (Regression)
ระหว่างปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยและพ้ืนที่รับน้ำฝน สามารถคำนวณปริมาณน้ำท่าได้จากสมการ (ศูนย์
อทุ กวิทยาชลประทานภาคเหนอื ตอนบน, 2562)

Q = 0.288A0.978

จากสมการสามารถวิเคราะห์ปริมาณน้ำเฉลี่ยรายปีและพื้นท่ีรับน้ำของลุ่มน้ำแม่งัดฝั่ง
ตะวันตกได้ เท่ากับ 21.96 ล้านลูกบาศก์เมตร ควรมีการศึกษาความเหมาะสมของโครงการพัฒนา
แหล่งน้ำตน้ ทุนใหม้ ีความเหมาะสม เพอ่ื นำไปสกู่ ารสำรวจและออกแบบโครงการต่อไป

35


Click to View FlipBook Version