The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิชาการ การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Panupong Chuaipan, 2023-03-22 08:09:45

บทความวิชาการ การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ

บทความวิชาการ การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ

1 การพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเบื้องต้น ( สตาร์ทอัพอังกฤษ English Start Up ) โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Self-development of basic English language skills using online lessons through open system education for lifelong learning Thailand Massive Open Online Course ภานุพงษ์ ช่วยพันธ์ Panupong Chuaipan คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา Faculty of Education Songkhla Rajabhat University บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษมีความสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันเพราะว่าภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ สำคัญต่อการติดต่อสื่อสาร เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแสวงหาความรู้ด้านการประกอบอาชีพ ด้านการสร้าง ความเข้าใจต่อประเพณีวัฒนธรรม ด้านการค้าขายและธุรกิจ ร่วมไปถึงด้านการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มประชาคม อาเซียนและต่างประเทศทั่วโลก เมื่อมีความหลากหลายและแตกต่างทางประเพณีวัฒนธรรม ย่อมตระหนักถึง การสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ภาษาที่เป็นสื่อกลางเพื่อแสดงความเข้าใจต่อกันนั่นก็คือภาษาอังกฤษ เพราะ ทั่วโลกจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล และ ภาษาในการติดต่อสื่อสารกับประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาเดียว จะ เห็นได้ว่าการที่จะสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ จำเป็นต้องสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ภาษาไทย เท่านั้น ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาที่ทั่วโลกใช้กันมากภาษาหนึ่ง ประเทศไทยจึงมองเห็นอนาคตของคนไทย กับการใช้ภาษอังกฤษในยุคปัจจุบันสำคัญมากที่สุด และเกี่ยวข้องกับนักเรียน นิสิต นักศึกษา พนักงาน เจ้าหน้าที่ และคนทํางานทุกสาขา และทุกอาชีพ ที่ปัจจุบันคนไทยจำเป็นต้องมีความรู้และมีความเข้าใจทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะทักษะภาษาอังกฤษทั้ง ๔ ด้าน ประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน และการ เขียน เพราะทักษะภาษาอังกฤษช่วยพัฒนานักเรียน นิสิต นักศึกษา พนักงาน คนงาน และทุกอาชีพเพื่อโอกาส ที่มีผลตามมาสำหรับผู้มีทักษะด้านภาษาอังกฤษดีมาก ดังนั้น ทักษะด้านภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญสำหรับการประกอบอาชีพในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ดังเช่นสายงานสอนหรือการศึกษาก็มุ่งพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถต่อยอดได้ในการเรียนต่อและประกอบอาชีพในอนาคตได้


2 abstract English is of great importance in today's global society because English is an important tool or device for communication, such as education, the pursuit of professional knowledge, the creation of an understanding of cultural traditions, trade and business, as well as communication with the community. ASEAN and global countries When there is diversity and cultural differences, it is important to be aware of communication to gain understanding. The language that is the medium of understanding is English, because around the world English is used as an international language and the language to communicate with countries that do not speak a single language It is necessary to communicate in English, not just Thai. English has become one of the most commonly spoken languages around the world. Therefore, Thailand sees the future of Thai people with the use of English in the present era as the most important and relevant to students, students, staff, staff and workers in all fields and professions. English, especially english skills, consists of listening. Speaking, reading and writing because English language skills help develop students, students, staff, workers and all professions for the opportunities that have consequences for those who have very good English language skills. Therefore, English language skills are very important for today's careers. For example, the teaching or education field aims to improve english language skills so that students have the knowledge and understanding to be able to further their studies and careers in the future. คำสำคัญ การพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร English communication skills ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างคน สร้างสังคม และสร้างชาติ เป็นกลไกหลักในการพัฒนา กำลังคนให้มีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุข เนื่องจากการศึกษามี บทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบของประเทศ เพื่อการแข่งขันและยืนหยัดในเวทีโลก ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญและทุ่มเทกับการพัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตนให้สามารถก้าว ทันการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภูมิภาคและของโลก ควบคู่กับการธำรง รักษาอัตลักษณ์ของประเทศ ในส่วนของประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา การพัฒนา ศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทยให้มีทักษะความรู้ ความสามารถและสมรรถนะที่สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560: 1) สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่ให้ความสำคัญ กบการสร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อเป็นกลไกหลักของการพัฒนาศักยภาพและขีด


3 ความสามารถขอทุนมนุษย์ และรองรับการศึกษา การเรียนรู้และความท้าทายที่เป็นพลวัตรของโลกในศตวรรษ ที่ 21 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2559: 15) ปัจจุบันสังคมโลกเกิดความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและมีเทคโนโลยีที่ ทันสมัยเพิ่มขึ้น การติดต่อสื่อสาร และการเดินทางของข้อมูลที่รวดเร็ว เป็นผลทำให้ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนา ประเทศให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ที่ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ใน การติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศทำให้ผู้ที่ สื่อสารภาษาอังกฤษได้เปรียบในทุกทาง สอดคล้อง กับกระทรวงศึกษาธิการที่มีการกำหนดนโยบายปฏิรูปการ เรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียน เป็นคนที่ก้าวทันโลกและใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษา เพื่อเตรียมพร้อมผลิตกำลังคน และพัฒนาขีดความสามารถของบุคคล ให้มีความพร้อมและสามารถปรับตัว พร้อมรับความ เปลี่ยนแปลงในอนาคต ในศตวรรษที่ 21 ที่การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจำเป็นอย่างมาก และ ด้วย นโยบายรัฐบาล ให้ส่งเสริมบทบาทและยกระดับคุณภาพภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นเครื่องมือในการ ติดต่อสื่อสาร เป็นประโยชน์ด้านการศึกษา การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และในการประกอบอาชีพ ตลอดจน เพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศไปสู่การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ เข้าใจความแตกต่างของ การเมือง และวัฒนธรรม ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การเรียนภาษาต่างประเทศช่วยให้ผู้เรียนมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สามารถใช้ภาษาที่ ถูกต้องสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ และสามารถถ่ายทอด วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ไทยไปสู่สังคมโลก (กรม วิชาการ 2545) และเป็นเครื่องมือในการค้นหา ความรู้ในการเรียนวิชาต่าง ๆ การศึกษาต่อรวมถึงการประกอบ อาชีพ ซึ่งเป็นจุดหมายที่สำคัญของ การปฏิรูปการเรียนรู้(กระทรวงศึกษาธิการ 2551) ซึ่งสอดคล้องกับ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2579) ที่ระบุว่าการศึกษาไทยในอนาคตต้องพัฒนาคน ให้มีทักษะที่สำคัญ มีความรู้ความสามารถเพื่อการดำรงอยู่ในสังคมโลกาภิวัฒน์ได้ การศึกษาภาษาต่างประเทศ จึง สำคัญอย่างมากโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันนั้น จะเน้นการประยุกต์แนวการสอนเพื่อ การสื่อสาร (Commucative Approach) โดยการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะทางการฟัง การพูด การ อ่าน และการเขียน โดยเฉพาะทักษะด้านการพูดเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนภาษาต่างประเทศ เป็น ทักษะที่แสดงถึงความสำเร็จใน การเรียนภาษา (Nunan, 1991, p. 31) ที่เป็นทักษะการสื่อสารซึ่งจำเป็นมากในชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้พูด จะต้องใช้ทักษะในการใช้คำศัพท์ โครงสร้างไวยากรณ์การใช้ความคิดในบริบทนั้น ๆ และสามารถถ่ายทอด ออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ภัทราวดี ยวนชื่น, 2553) จากข้อความข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่าการพูดเป็นทักษะ เบื้องต้นที่ใช้ในการสื่อสาร และ การพูดเป็นวิธีการสื่อสารหนึ่งของทักษะการสื่อสาร (Expressive Skill) ที่ สามารถฝึกหัดให้เกิด ประสิทธิภาพได้ โดยทั่วไปแล้วการเรียนการสอน ในระดับอุดมศึกษา ที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี กำหนดให้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอยู่ใน หลักสูตร มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ทั้งนี้เนื่องจากภาษาต่างประเทศ สำคัญอย่างมาก และเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างบุคคลในหลายประเทศ และในการประกอบอาชีพ ตลอดจน เพื่อให้สามารถนำประเทศไปสู่การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ เพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนเข้าสู่สถาน ประกอบการ ซึ่งการมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดกว้างไกล ติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ ใน สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ในชีวิตจริงและการประกอบอาชีพ และกระทรวงศึกษาธิการได้เห็นถึง ความสำคัญ ของการใช้ภาษาอังกฤษ จึงมีนโยบายให้จัดการเรียนการสอนการใช้ภาษาอังกฤษ โดยเป็นการจัดอย่างมี คุณภาพ และใช้ได้จริง และนำไปพัฒนาต่อยอดภาษาอังกฤษต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ


4 ดังนั้นการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการพูดภาษาอังกฤษ จึงจำเป็นใน ชีวิตประจำวัน และการ ทำงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากการพูดเป็นสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงสิ่งที่สื่อ ออกมา ไม่ว่าจะในบริบท หรือแง่มุมใด เพราะไม่ว่าบุคคลใดก็สามารถเป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารได้โดยการพูดที่คล่องแคล่วนั้นมาจากการฝึกฝน เรียนรู้ จนเข้าใจในบริบทของทักษะการพูดจึงเรียบ เรียงออกมาเป็นข้อความหรือถ้อยคำที่จะสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจ แต่ เนื่องจากการเรียนการสอน ในประเทศไทยเน้นแต่ความถูกต้องของไวยากรณ์ผู้เรียนเรียนไปเพื่อสอบ เรียนจาก การท่องจำ เมื่อพบชาวต่างชาติก็จะไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ หรือไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าพูด เพราะกลัวการดู ถูก สอดคล้องกับความเห็นของ (เออร์, 1996; บราวน์, 1994) ที่กล่าวว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้เรียนที่เรียน ภาษาที่ สองไม่สำเร็จนั้นคือผู้เรียนเกิดความกังวลถึงการพูดผิด เรียบเรียงประโยคไม่ถูก และจะใช้ภาษาแม่ (Mother Language) ในขณะที่กำลังฝึกภาษาที่สองหรือภาษาเป้าหมาย (Target language) ในชั้นเรียน และ (กุลชนก ทิพฤาชา, 2550) ที่กล่าวว่าอุปสรรคของการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ นักศึกษาไทยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ ทำให้แทบจะไม่มีโอกาสพูดภาษาอังกฤษ นอกเหนือจากการเรียน ภาษาอังกฤษในห้องเรียน ซึ่งผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนทักษะการพูดอย่างสม่ำเสมอ การเปิด โอกาสให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาในสถานการณ์ที่คล้ายกันในชีวิตจริง จากความสำคัญของการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษดังกล่าว ทำให้ผู้พัฒนามีความ สนใจในการ พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เนื่องจากผู้พัฒนามีความตระหนักได้ถึงปัญหา และต้องการ พัฒนาความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสาร วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาทักษะที่เป็นฐานรากของการการสื่อสารภาษาอังกฤษเบื้องต้นและนำหลักการสื่อสาร ของภาษาอังกฤษเบื้องต้นไปใช้ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพครู 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสาร ขอบเขตการพัฒนา 1. ระยะเวลาในการพัฒนา ดำเนินการพัฒนาตนเอง ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 รวมระยะเวลาทั้งหมด จำนวน 30 ชั่วโมง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 2. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น การพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเบื้องต้น ( สตาร์ทอัพอังกฤษ English Start Up ) โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร


5 วิธีดำเนินการพัฒนาตนเอง 1. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา การดำเนินการพัฒนาครั้งนี้ ผู้พัฒนามีเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ดังต่อไปนี้ 1. บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course 2. โครงสร้างเนื้อหารายวิชา สตาร์ทอังกฤษ (ENGLISH START UP) แนะนำวิชา • แบบสอบถามก่อนเริ่มเรียน • ทดสอบความรู้เบื้องต้นก่อนเริ่มเรียน • แนะนำวิชาและบทเรียนออนไลน์ • แนะนำตัวก่อนเริ่มเรียน บทที่ 1: Introduction • เนื้อหาและคำสำคัญ (Contents and Keywords) • ทำไมเราจึงต้องเรียนภาษาอังกฤษ (Why must we learn English? (1)) • ทำไมเราจึงต้องเรียนภาษาอังกฤษ (Why must we learn English? (2)) • Do’s และ Don’ts สำหรับการเรียนภาษาอังกฤษ (Do’s and Don’ts for learning English.) • ปิรามิดในการเรียน (Learning Pyramid) • ข้อสังเกต 10 ข้อ สำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในเวลาว่างของคุณ (Top 10 tips for learning English in your free time (1)) • ข้อสังเกต 10 ข้อ สำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในเวลาว่างของคุณ (Top 10 tips for learning English in your free time (2)) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 2: Pronunciation Level 1 • เนื้อหาและคำสำคัญสำหรับการออกเสียงที่ดี (Content and keywords for good pronunciation level1) • ทำไมการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ดีจึงสำคัญ (Why is good pronunciation important?) • เทคนิคในการออกเสียงภาษาอังกฤษ (Tips to improve your pronunciation.)


6 • สระที่ออกเสียงสั้น (Short vowel sounds) • สระที่ออกเสียงยาว (Long vowel sounds) • การออกเสียงสระประสม(Vowel combination sounds) Part 1 • การออกเสียงสระประสม (Vowel combination sounds) Part 2 • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 3: Pronunciation Level 2 • เนื้อหาและคำสำคัญสำหรับการออกเสียงที่ดี (Content and keywords for good pronunciation level 2) • เสียง "S" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (S sound as final consonant) Part1 • เสียง "S" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (S sound as final consonant) Part2 • เสียง "S" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (S sound as final consonant) Part3 • เสียง "ED" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (ED sounds as final consonant) Part 1 • การออกเสียงท้ายคำ "ED" (Pronunciation of ED) • เสียง "ED" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (ED sounds as final consonant) Part 2 • เสียง "L" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (L sound as final consonant) • เสียง "SH และ CH" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (SH / CH sounds as final consonants) • Pronunciation of Chicken and Kitchen • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 4: Thank you and Farewells • เนื้อหาและคำสำคัญ (Contents and Key words) • การพูดขอบคุณ (Saying thank you) • การพูดขอบคุณอย่างเป็นทางการ (Saying thank you: Formal) • การใช้ Thank you และ You're welcome (Thank you and You're welcome) • การพูดขอบคุณสำหรับอนาคต (Saying thank you: Future) • การกล่าวอำลาอย่างเป็นทางการ (Farewells: Formal) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 5: Questions : Constructing and answering • เกริ่นนำ (Introduction)


7 • คำถามที่ใช้ WH นำหน้า (WH Questions) • คำตอบที่ใช้ตอบคำถามที่นำหน้าด้วย WH (How to answers , WH Questions ?) • เทคนิคการใช้คำถาม (Cheat Questions) • ทางเลือกในการสร้างคำถาม (Extra Ways to Make Questions) • ทางเลือกในการตอบคำถาม (Other Ways to say answers) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่6: Making introductions • เกริ่นนำ (Introduction) • การกล่าวนำอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Introduction) • การกล่าวต้อนรับแขกที่มาเยือน (Welcome Guests) • การกล่าวต้อนรับและการตอบ (Greeting and Responses) • การตอบคำถามของ How are you ? (To Answer How are you ?) • คำอุทาน (Interjections) 01 • คำอุทาน (Interjections) 02 • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 7: Asking for Repeats • เกริ่นนำ (Introduction) • ทำไมภาษาอังกฤษจึงยากที่จะเข้าใจ (Why does English be difficult to understand ?) • การตอบคำถาม (Asking for Repeats) • วลีที่ใช้ประโยชน์ (Useful Phrases) • ทำอย่างไรให้ผู้ฟังเข้าใจคุณ 01 (Do people understand you ?) • ทำอย่างไรให้ผู้ฟังเข้าใจคุณ 02 (Do people understand you ?) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 8: Giving instructions, directions and rules • เกริ่นนำ (Introduction) • ความสำคัญของ 4 C (4 Cs) และ การสร้างความสนใจ (Try to create interest) • แนะนำคำศัพท์ (Vocabulary for giving instruction) และ การให้คำแนะนำ Can / Could to make imperative form


8 • การบอกทิศทาง (Giving directions) และ วลีที่ใช้ประโยชน์ (Useful phrases) • เมื่อใดที่ใช้กฎ (Giving rules: When to give rules ?) และ (Giving rules: Must/Have to) • Don't have to (Giving rules: Must not/Don’t have to) • Should กับ Must (Giving advice: Should vs Must) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 9: Showing places of interest • Introduction • การฝึกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (Helpful tips: Practice tours) และการให้ความสนใจ (Useful phrases: Pay attention !) • วลีที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประวัติสาสตร์ (Useful Phrases: History) • เทคนิคการใช้ Interest (Useful tips: maintaining interest) • คำคุณศัพท์ (Adjective) • กิจกรรม (Activity) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 10: Simple Sentence Structure • Introduction • key Grammatical words • Subject + Verb + Relationship • Subject + Verb + Objective • Subject + Verb + Adjective • Putting two verbs together • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน วัดผลประมวลความรู้ • แบบทดสอบหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ • แบบสอบถามความพึงพอใจผู้เรียนรายวิชา สตาร์ทอังกฤษ (ENGLISH START UP)


9 2. ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา รายงานการพัฒนานี้ เป็นการพัฒนาแบบระบบเปิด โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิด เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course โดยผู้พัฒนาได้ ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษาหลักสูตรและเนื้อหาการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และเลือกเนื้อหาให้ตรงตามที่กำหนดในหลักสูตร 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ด้านการพูดเพื่อการสื่อสาร และมีการเลือก กิจกรรม การพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียนในระดับอุดมศึกษา 3. ศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course แบบทดสอบ เพื่อวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสาร เกณฑ์การประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร โดยได้รับประกาศนียบัตร อิเล็คทรอนิกส์ เมื่อผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชา รายวิชาสตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) และได้ผล การประเมินเกิน 60% 4. ศึกษาบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course เป็นเวลา 30 ชั่วโมง (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 10 ชั่วโมง 30 นาที) โดยจำนวนชั่วโมง ที่ใช้ในการเรียนรู้ต่อครั้ง : 4 ชั่วโมง 5. ดำเนินการศึกษาบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course ตามแผนการจัดการเรียนรู้ของบทเรียนออนไลน์ และบันทึกเนื้อหาใน ระหว่างเรียน 6. ทดสอบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังการเรียนเสร็จสิ้น 7. ผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชา รายวิชาสตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) และได้ผลการ ประเมินเกิน 60% 8. สรุปการศึกษาเพื่อพัฒนา รายงานผล อภิปรายผล 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้พัฒนาได้ดำเนินการศึกษาบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course และเก็บรวบรวม ข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้ 3.1 การดำเนินการพัฒนา ผู้พัฒนาได้ดำเนินการศึกษาตามแผนการการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิด เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course รวมเวลา 30 ชั่วโมง ตามระยะเวลา ของแผนการเรียนรู้ โดยศึกษาเพื่อพัฒนาจำนวน 4 ชั่วโมง/ครั้ง ระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม 2566 ถึง


10 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามระเบียบโครงสร้างการศึกษารายวิชา ครุนิพนธ์ Individual Development Plan คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ตารางที่ 1 ดำเนินการพัฒนาตนเองตามแผนการการเรียนรู้ ครั้งที่ วัน เดือน ปี เรื่อง เวลา (ชั่วโมง 1 19 มกราคม 2566 Introduction 4 2 21 มกราคม 2566 Pronunciation Level 1 , Pronunciation Level 2 4 3 23 มกราคม 2566 Thank you and farewells 4 4 27 มกราคม 2566 Questions ,Constructing, Answering 4 5 30 มกราคม 2566 Making introductions , welcoming guests, 4 Making small talk 6 4 กุมภาพันธ์ 2566 Asking for Reperts , Giving instructions , 4 Direction and rules 7 9 กุมภาพันธ์ 2566 Showing places of interest 4 8 13 กุมภาพันธ์ 2566 Simple Sentence Strucjure 2 รวม 30 ชั่วโมง 3.2 ทดสอบก่อนเรียน คะแนนการทดสอบก่อนเรียน คือ 9/20 คะแนน 3.3 ทดสอบหลังเรียน คะแนนการสอบหลังเรียน คือ 18/20 คะแนน 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล คะแนนการทดสอบก่อนเรียนคือ 9 คะแนน มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 45 และคะแนนการทดสอบ หลังเรียนคือ 18 คะแนน มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 90


11 สรุปผลการพัฒนาตนเอง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทเรียน ออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course พบว่า การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9 คะแนน และ 18 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อ เปรียบเทียบคะแนนก่อน และหลังเรียน พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 การอภิปรายผลและบทสรุป หลังจากการได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ผ่าน บทเรียน ออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course ซึ่งได้ เรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษด้านต่าง ๆ ที่เน้นเนื้อหาที่สอดคล้องกับทั้งความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของ ชุมชน โดยจะเน้นที่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการฝึกทักษะที่เป็นฐานรากของการการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ เช่น หลักการอ่านออกเสียงคำ ประโยค ข้อความสั้น ๆ ได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน หลักการใน การสร้างประโยคภาษาอังกฤษอย่างง่ายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม ฯลฯ การตอบ คำถามหรือการตอบรับและการปฏิเสธ การอ่านบทสนทนา การใช้น้ำเสียงหนักเบา (stress) การออกเสีงควบ กล้ำที่ถูกต้อง ฯลฯ ผนวกกับความต้องการของมาตรฐานวิชาชีพครูในเรื่องที่ตนต้องการที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละชุมชน แต่ละพื้นที่ ฯลฯ อันจะเป็นการนำไปสู่ความตั้งใจ ความเชื่อมั่น และ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารตามที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อระบบการศึกษาไทยได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยที่เราสามารถเข้าใจหลักการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น การนำ หลักการสื่อสารของภาษาอังกฤษเบื้องต้นไปใช้ประโยชน์ตามที่สังคมเองต้องการได้ เช่น นำไปใช้ในการ ประกอบอาชีพทั้งของตนเองและสังคม อีกทั้งยังเกิดเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่า ของภาษาอังกฤษในการ ติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารใน ชีวิตประจำวันและใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาทั้งต่อตนเองและนักเรียน และยังเป็นการนำหลักการ ความรู้ ทักษะและประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์ ต่อยอดให้กับชุมชนรวมถึงขยายผล ให้กับคนในสังคมและบุคคลอื่น ๆ ได้เป็นวงกว้าง ดังนั้นการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารจึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อการเป็นครู ในอนาคตแม้ว่าการศึกษาในบ้านเราจะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคสมัยมาตลอด แต่ถึง กระนั้นปัญหาหลากหลายก็ยังกลายเป็นจุดบกพร่องทำให้ระบบการศึกษาอ่อนแอ โดยเฉพาะทักษะด้าน ภาษาอังกฤษทั้งของนักเรียนและครูผู้สอน ส่งผลถึงระดับมาตรฐาน และเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ ที่จะต้องทำการปฏิรูปในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร, วิธีการเรียนการสอน, ตำราเรียนในแต่ละระดับชั้น รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอน สิ่งเหล่านี้คือทางออกที่จะช่วยลดปัญหาทักษะด้านภาษาอังกฤษที่ เกิดขึ้นกับวงการศึกษาไทยที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักมาโดยตลอด ซึ่งจะเห็นได้ว่านักศึกษาครูในปัจจุบันที่ เข้าศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2562 จำเป็นต้องเข้ารับการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและหนึ่งในนั้น


12 คือทักษะด้านภาษาอังกฤษที่นักศึกษาครูจำเป็นต้องทดสอบให้ผ่านตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพครู เพื่อเป็นการพัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมสำหรับการเป็นครูที่มีความรู้ในทุกศาสตร์และ สามารถพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถทัดเทียมนานาประเทศได้อย่างภาคภูมิใจ ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาตนเอง การศึกษาในครั้งนี้ทำให้พบว่า ยังขาดองค์ประกอบในการพัฒนาตนเอง ขาดวิธีการพัฒนาทักษะการ พูดภาษาอังกฤษ นั่นคือ ขาดการฝึกฝนที่เพียงพอตามหลัก ภาษาศาสตร์และกลยุทธ์การเรียนรู้ทักษะการพูด ภาษาต่างประเทศ ดังนั้น ในระดับบุคคล จึงขอ เสนอแนวทางในการพัฒนาตนเอง ดังนี้ 1. การเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม จะก่อให้เกิดการใช้งานได้จริง ในการทำงาน การเขียน การทำ แบบทดสอบ การสนทนากับครูและเพื่อน เน้นการเลือกเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน และเน้นการ พูดเป็นสำคัญ การเรียนกับครูต่างชาติจะทำให้การพูดเป็นธรรมชาติ 2. ฝึกการฟังภาษาอังกฤษจากสื่อต่าง ๆ เนื่องจากการฟัง เป็นการฝึกที่มี ประสิทธิภาพมาก เพราะ ต้องใช้สติและสมาธิสูง จะสามารถจดจําได้ดีจะเกิดความคิดสงสัยใน คำศัพท์เพื่อค้นหาความหมายจากการฟัง ทำให้จดจํา และนําไปใช้ในการทำงานได้จริง เช่น ฟังเพลง หรือจากการดูภาพยนตร์โดยฟังจาก Sound Track เป็นต้น 3. ฝึกการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ เนื่องจากการอ่านเป็นการฝึก และพัฒนา ความรู้ภาษาอังกฤษใน ระยะยาวได้เป็นอย่างดีเลือกอ่านหนังสือได้ตามเรื่องที่สนใจ จะเป็น แรงผลักดันให้อยากอ่าน อยากศึกษา หลีกเลี่ยงหนังสือที่เป็นวิชาการมากเกินไป เพราะหนังสือเหล่านี้ มีเนื้อหาที่หนัก เขียนโดยนักวิชาการ และผู้มี ความรู้สูง อาจจะทำให้เข้าใจยาก ควรเลือกอ่านหนังสือที่เขียนโดยบุคคลทั่วไปที่ต้องการแบ่งปัน ความรู้และ ประสบการณ์ของตนเอง บุคคลเหล่านี้จะเขียน หนังสือที่อ่านเข้าใจง่าย อ่านง่าย เข้าถึงง่าย ซึ่งจะช่วยพัฒนา ทักษะทางภาษาได้เร็ว และไม่เครียดกับ ภาษาหนังสือวิชาการที่ซับซ้อน ข้อเสนอแนะทั่วไป ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญด้านการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็น ภาษาที่มีความจําเป็นภาษาหนึ่งที่ต้องใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศ การทำธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การติดตามข่าวสารทางสถานี วิทยุ สถานีโทรทัศน์และในการติดตามข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์จะเห็นได้ว่าข้อมูลส่วนมากไม่ใช่เพียงแค่ ภาษาไทยและยังต้องศึกษาข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ หากต้องการพัฒนาประเทศให้พัฒนามากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ประเทศชาติต้องมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ให้ความสำคัญเท่าเทียมกัน วางระบบการศึกษาอย่าง เหมาะสม โดยแทรกระบบการเรียนรู้และพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ล้วนแล้วมีความสำคัญในการใช้เพื่อการสื่อสาร แต่การฟังและการพูดเป็นทักษะที่ต้องใช้มาก ที่สุด ในยุคปัจจุบันจะทำอย่างไรที่จะให้บัณฑิตสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้หลังจากสำเร็จการศึกษา หรือ


13 สื่อสาร ได้ขณะที่กําลังศึกษาอยู่การที่จะพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้กับบัณฑิตให้มีความสามารถเท่าเทียมกันก็ไม่ใช่ เรื่องยาก และไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และหน่วยงานทุกหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดขึ้น ก็ต้องอาศัยวิธีการในการเสริมสร้าง เช่น การเสริมสร้าง แรงจูงใจ การสร้างเจต คติเชิงบวก การสร้างความมั่นใจ การสร้างแบบการเรียนรู้และ การเพิ่มความรู้และ พัฒนาทักษะจาก แหล่งข้อมูลต่างๆ เป็นองค์ประกอบที่นํามาส่งเสริมและสนับสนุนให้บัณฑิตเพื่อที่จะพัฒนา ทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีแต่ก็อาจจะใช้ได้กับทุกคนและไม่ได้กับทุกคน เพราะอาจจะมีปัจจัย ที่มีอิทธิหรือเข้ามา ช่วยในการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ประกอบด้วย ๑) ครูหรือ อาจารย์เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทักษะ ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีเข้าใจในบริบทของ ตัวบัณฑิต และปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์ไปตามสถานการณ์เพื่อ นําไปสู่การพัฒนาทักษะด้านภาษา ๒) ตัวบัณฑิตเอง ต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษดีอยู่แล้ว มีเจตคติที่ ดีต่อการเรียน ภาษาอังกฤษ มีนิสัยเป็นคนชอบเรียน และ มีกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษเป็นของตัวเอง ๓) สภาพ สิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ก็เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในพัฒนาทักษะด้านภาษา คือ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย เช่น ห้องเรียน สภาพอากาศรอบๆ และจำนวนบัณฑิตหรือผู้เรียนไม่มากเกินไป และ ครอบครัว คือ สร้างแรงกระตุ้น สร้างแรงจูงใจ ให้กําลังใจ ช่วยสอนภาษา สนับสนุนและส่งเสริมด้านการเรียนภาษาอยู่ ตลอด และให้รางวัลในบางโอกาสเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบและนําไปสู่การพัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษได้อย่างดีในอนาคต บทสรุปผลการพัฒนา สรุปผลการพัฒนา ผลการพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ บทเรียน ออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course พบว่าผลการประเมินแบบทดสอบหลังเรียนคือ ร้อยละ 90 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 ตามโครงสร้าง ของบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course และได้รับประกาศนียบัตรอิเล็คทรอนิกส์ รายวิชาสตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) อีกทั้ง ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


14 บรรณานุกรม ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณภัทร วุฒิวงศา. กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจ: การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัย กรุงเทพ. ปีที่ 34. ฉบับที่ 1. (มกราคม – มิถุนายน 2557) : 89 – 97. นาถธิชา สีทองเพีย. (2562). การพัฒนาการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการละคร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์, กรุงเทพฯ. นันทวรรณ แก้วโชติ. (2560). เอกสารการจัดการเรียนรู้ (Learning Management). สงขลา: คณะครุ ศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา. รสรินทร์ปิ่นแก้ว และ ภานุวัฒน์ศิรินุพงศ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ในชีวิต จริง 1 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชาอุตสาหกรรม วิทยาลัย อาชีวศึกษาใน เขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 18. ฉบับที่ 1. (มกราคม – มิถุนายน 2560) : 83 – 93 วรางคณา เค้าอ้น. (2560). การพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. อิงอร แสนทวีสุข. (2560). พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับชั้น ประกาศนียบัตร วิชาชีพ ชั้นสูงปีที่ 2/1 สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยการใช้ บทบาทสมมติ. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์, กรุงเทพฯ. อุษณา ทิพยไกรศร. (2562). ภาษาอังกฤษฟัง-พูด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์ อรญา บํารุงกิจ. (2558). กลวิธีการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ :มหาวิทยาลัยบูรพา.


Click to View FlipBook Version