รายงานการพัฒนาตนเองเรื่อง การพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเบื้องต้น ( สตาร์ทอัพอังกฤษ English Start Up ) โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course ภานุพงษ์ ช่วยพันธ์ รหัสนักศึกษา 6241104006 สาขาวิชาสังคมศึกษา รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 1004801 ครุนิพนธ์ Individual Development Plan คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ปีการศึกษา 2565
คำนำ รายงานการพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ฉบับนี้ จัดทำขึ้นตาม โครงสร้างการเรียนการสอนรายวิชา ครุนิพนธ์ Individual Development Plan คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะที่เป็นฐานราก ของการการสื่อสารภาษาอังกฤษเบื้องต้นและนำหลักการสื่อสารของภาษาอังกฤษเบื้องต้นไปใช้ ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพครู โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course และได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร วารสาร อินเทอร์เน็ตและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้จัดทำได้นำความรู้จากการศึกษาและพัฒนาตนเองทักษะ ด้านภาษาอังกฤษมานำเสนอและเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับทักษะด้านภาษาอังกฤษ ต่อไป ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดทำรายงานการพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษ ฉบับนี้ จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่รับฟังการนำเสนอและผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับทักษะด้าน ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ภานุพงษ์ ช่วยพันธ์ 2566
บทคัดย่อ การพัฒนาครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะที่เป็นฐานรากของการการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเบื้องต้นและนำหลักการสื่อสารของภาษาอังกฤษเบื้องต้นไปใช้ประโยชน์ในการประกอบ วิชาชีพครู ของนายภานุพงษ์ ช่วยพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคม ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เครื่องมือการพัฒนา 1) บทเรียนออนไลน์ผ่าน การศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course 2) แบบทดสอบ ผลการพัฒนาสรุปได้ผลการพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course พบว่าผลการประเมินแบบทดสอบหลังเรียนคือ ร้อยละ 90 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 ตามโครงสร้างของบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course และได้รับประกาศนียบัตรอิเล็คทรอนิกส์ รายวิชาสตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) อีกทั้งความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 abstract The objectives of this development were 1) to develop basic skills of basic English communication and to apply basic English communication principles for use in teaching professions; of Mr. Panupong Chuayphan, 4th year student of Bachelor of Education Program Department of Social Studies, Faculty of Education, Songkhla Rajabhat University Development tools 1) Online lessons through open education system for lifelong learning Thailand Massive Open Online Course 2) Quizzes The results of the development can be summarized. The results of selfimprovement in English for communication skills by using online lessons through an open education system for lifelong learning Thailand Massive Open Online Course found that the result of the post-test assessment was 90 percent, which passed the assessment criteria of 100. 60 per person according to the structure of online lessons through open education for lifelong learning Thailand Massive Open Online Course and receive an electronic certificate. English Start Up course, and the ability to speak English for communication was significantly higher than before at the .05 level.
กิตติกรรมประกาศ รายงานการพัฒนาในครั้งนี้จะเสร็จสิ้นได้เพราะได้รับความอนุเคราะห์ การอำนวยความ สะดวกสถานที่ต่าง ๆ เป็นอย่างดีจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล ผู้พัฒนา ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น ปฏิบัติหน้าที่คณบดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล ในการให้คำปรึกษาและชี้แนะแนวทางในการพัฒนา ขอขอบคุณ เพื่อนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราช ภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล ที่ให้ความช่วยเหลือและชี้แนะแนวทางการพัฒนาและการรวมรวมข้อมูล ขอขอบคุณตนเอง ที่ตั้งใจเสียสละเวลาอันมีค่า เพื่อพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษจน สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี อีกทั้งยังได้รับความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษมากกว่าก่อนการพัฒนาตนเอง อีกด้วย
สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย........………………………………………………………………………......................................... (1) กิตติกรรมประกาศ………………………………………………………………………………………………………......….…. (2) สารบัญ……………………………………………………………………………………………………………......................... (4) การถอดบทเรียน.................................................................................................................................... (5) แบบการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล...................................................................................................... (6) บทที่ 1 บทนำ…………………………………………………………………………………………….................................. 6 หลักการและเหตุผล...............................…………………………………………………………………......….. 6 วัตถุประสงค์...................……………………………………………………………………………………….......... 7 ความสำคัญของกาพัฒนา………………………………………………………………………........................... 8 ขอบเขตการพัฒนา………………..…………………………………………………………............................... 8 นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………..……………………………................... 8 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง……………….………………………………………………………….…….......…….. 10 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพูดเพื่อการสื่อสาร............................................................…….......… 10 แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ................................................... 16 วิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ............................................................................ 17 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ…………………............................…… 20 บทที่ 3 วิธีการดําเนินการ……………………………………………………………………………………….....….…...… 23 ระยะเวลาในการพัฒนา………………………………………………….................................................. 23 การดำเนินการพัฒนา……………………………………………………………......................................... 23 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา……………………………………………................................................... 24 การเก็บรวบรวมข้อมูล……………………………………………………….............................................. 28 การวิเคราะห์ข้อมูล..................…………………………………………………………………….................. 28 บทที่ 4 ผลการดำเนินการ………………………..………………………………………………….…………….….......… 30 การเสนอผลการดำเนินการ.................................................................................................... 30 บทที่ 5 การอภิปรายผล และบทสรุป……………………………….………………………....…………..........….…. 32 อภิปรายผล............................................................................................................................ 32 ข้อจำกัดในการพัฒนา............................................................................................................ 33 ข้อเสนอแนะ.......................................................................................................................... 33 บทสรุปผลการพัฒนา............................................................................................................. 34
สารบัญ (ต่อ) หน้า บรรณานุกรม…………………………………………………………………………………………………….... 35 ภาคผนวก……………………………………………………………………………………………...…………… 36 ภาคผนวก ก ผลการดำเนินการพัฒนา..........…………………………..…………………............ 36 ภาคผนวก ข การดำเนินการศึกษาและพัฒนา………………………………………...…........….. 38 ภาคผนวก ค ประวัติผู้พัฒนา………………………………………………….……………….....…...... 52
1 บทที่ 1 บทนำ หลักการและเหตุผล การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างคน สร้างสังคม และสร้างชาติ เป็นกลไกหลักในการ พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุข เนื่องจาก การศึกษามีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบของประเทศ เพื่อการแข่งขันและยืนหยัดในเวทีโลก ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญและทุ่มเทกับการพัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของตนให้สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภูมิภาคและของ โลก ควบคู่กับการธำรงรักษาอัตลักษณ์ของประเทศ ในส่วนของประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการจัด การศึกษา การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทยให้มีทักษะความรู้ ความสามารถและ สมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ (สำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา, 2560: 1) สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่ให้ความสำคัญกบการสร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อ เป็นกลไกหลักของการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถขอทุนมนุษย์ และรองรับการศึกษา การ เรียนรู้และความท้าทายที่เป็นพลวัตรของโลกในศตวรรษที่ 21 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2559: 15) ปัจจุบันสังคมโลกเกิดความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและมี เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น การติดต่อสื่อสาร และการเดินทางของข้อมูลที่รวดเร็ว เป็นผลท ำให้ ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาประเทศให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ใน การ ติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศทำให้ผู้ที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้เปรียบในทุกทาง สอดคล้อง กับ กระทรวงศึกษาธิการที่มีการกำหนดนโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียน เป็นคน ที่ก้าวทันโลกและใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษา เพื่อเตรียมพร้อมผลิตกำลังคน และพัฒนา ขีดความสามารถของบุคคล ให้มีความพร้อมและสามารถปรับตัวพร้อมรับความ เปลี่ยนแปลงในอนาคต ในศตวรรษที่ 21 ที่การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจำเป็นอย่างมาก และด้วย นโยบายรัฐบาล ให้ส่งเสริม บทบาทและยกระดับคุณภาพภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นเครื่องมือในการ ติดต่อสื่อสาร เป็นประโยชน์ด้าน การศึกษา การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และในการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อให้สามารถพัฒนา ประเทศไปสู่การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ เข้าใจความแตกต่างของ การเมือง และวัฒนธรรมในโลกยุค โลกาภิวัฒน์ การเรียนภาษาต่างประเทศช่วยให้ผู้เรียนมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สามารถใช้ภาษาที่ถูกต้อง สื่อสารกับชาวต่างชาติได้ และสามารถถ่ายทอด วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ไทยไปสู่สังคมโลก (กรม วิชาการ 2545) และเป็นเครื่องมือในการค้นหา ความรู้ในการเรียนวิชาต่าง ๆ การศึกษาต่อรวมถึงการ ประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นจุดหมายที่สำคัญของ การปฏิรูปการเรียนรู้(กระทรวงศึกษาธิการ 2551) ซึ่ง สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2579) ที่ระบุว่าการศึกษาไทยใน อนาคตต้องพัฒนาคนให้มีทักษะที่สำคัญ มีความรู้ความสามารถเพื่อการดำรงอยู่ในสังคมโลกาภิวัฒน์ได้ การศึกษาภาษาต่างประเทศจึง สำคัญอย่างมากโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันนั้น จะเน้นการประยุกต์แนวการสอนเพื่อ การ สื่อสาร (Commucative Approach) โดยการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะทางการฟัง การพูด การ อ่าน
2 และการเขียน โดยเฉพาะทักษะด้านการพูดเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนภาษาต่างประเทศ เป็น ทักษะที่ แสดงถึงความสำเร็จในการเรียนภาษา (Nunan, 1991, p. 31) ที่เป็นทักษะการสื่อสารซึ่งจำเป็นมากใน ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้พูดจะต้องใช้ทักษะในการใช้คำศัพท์ โครงสร้างไวยากรณ์การใช้ความคิดใน บริบทนั้น ๆ และสามารถถ่ายทอดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ภัทราวดี ยวนชื่น, 2553) จากข้อความ ข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่าการพูดเป็นทักษะเบื้องต้นที่ใช้ในการสื่อสาร และ การพูดเป็นวิธีการสื่อสาร หนึ่งของทักษะการสื่อสาร (Expressive Skill) ที่สามารถฝึกหัดให้เกิด ประสิทธิภาพได้ โดยทั่วไปแล้วการเรียนการสอน ในระดับอุดมศึกษา ที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี กำหนดให้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสารอยู่ในหลักสูตร มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ทั้งนี้เนื่องจาก ภาษาต่างประเทศสำคัญอย่างมาก และเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างบุคคลในหลายประเทศ และ ในการประกอบอาชีพตลอดจน เพื่อให้สามารถนำประเทศไปสู่การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ เพื่อการผลิต และพัฒนากำลังคนเข้าสู่สถานประกอบการ ซึ่งการมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิด กว้างไกล ติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติใน สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ในชีวิตจริงและการประกอบอาชีพ และ กระทรวงศึกษาธิการได้เห็นถึง ความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษ จึงมีนโยบายให้จัดการเรียนการสอน การใช้ภาษาอังกฤษ โดยเป็นการจัดอย่างมีคุณภาพ และใช้ได้จริง และนำไปพัฒนาต่อยอดภาษาอังกฤษ ต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการพูดภาษาอังกฤษ จึงจำเป็นใน ชีวิตประจำวัน และการทำงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากการพูดเป็นสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงสิ่งที่สื่อ ออกมา ไม่ว่าจะในบริบท หรือแง่มุมใด เพราะไม่ว่าบุคคลใดก็สามารถเป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารได้โดยการพูดที่คล่องแคล่วนั้นมา จากการฝึกฝน เรียนรู้จนเข้าใจในบริบทของทักษะการพูดจึงเรียบ เรียงออกมาเป็นข้อความหรือถ้อยคำ ที่จะสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจ แต่เนื่องจากการเรียนการสอน ในประเทศไทยเน้นแต่ความถูกต้องของไวยากรณ์ ผู้เรียนเรียนไปเพื่อสอบ เรียนจากการท่องจำ เมื่อพบชาวต่างชาติก็จะไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ หรือไม่ กล้าแสดงออก ไม่กล้าพูด เพราะกลัวการดูถูก สอดคล้องกับความเห็นของ (เออร์, 1996; บราวน์, 1994) ที่กล่าวว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้เรียนที่เรียน ภาษาที่สองไม่สำเร็จนั้นคือผู้เรียนเกิดความกังวลถึงการพูดผิด เรียบเรียงประโยคไม่ถูก และจะใช้ภาษาแม่ (Mother Language) ในขณะที่กำลังฝึกภาษาที่สองหรือ ภาษาเป้าหมาย (Target language) ในชั้นเรียน และ (กุลชนก ทิพฤาชา, 2550) ที่กล่าวว่าอุปสรรคของ การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ นักศึกษาไทยอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ ทำให้แทบจะไม่มีโอกาสพูดภาษาอังกฤษ นอกเหนือจากการเรียน ภาษาอังกฤษ ในห้องเรียน ซึ่งผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนทักษะการพูดอย่างสม่ำเสมอ การเปิด โอกาสให้ผู้เรียน สามารถใช้ภาษาในสถานการณ์ที่คล้ายกันในชีวิตจริง จากความสำคัญของการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษดังกล่าว ทำให้ผู้พัฒนามีความ สนใจในการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เนื่องจากผู้พัฒนามีความตระหนักได้ถึง ปัญหา และต้องการพัฒนาความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสาร
3 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาทักษะที่เป็นฐานรากของการการสื่อสารภาษาอังกฤษเบื้องต้นและนำหลักการ สื่อสารของภาษาอังกฤษเบื้องต้นไปใช้ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพครู 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสาร ความสำคัญของการพัฒนา การศึกษาเพื่อพัฒนาในครั้งนี้ทำให้ทราบแนวทางในการพัฒนาการทักษะด้านภาษาอังกฤษที่ หลากหลายขึ้น อีกทั้งยังได้เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นที่จำเป็น ในชีวิตการเรียน การทำงาน และการประกอบวิชาชีพครูในอนาคต ขอบเขตการพัฒนา 1. เนื้อหา 1.1 หลักการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น 1.2 การใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน 1.2.1 Introduction 1.2.2 Pronunciation Level 1 1.2.3 Pronunciation Level 2 1.2.4 Thank you and farewells 1.2.5 Questions ,Constructing, Answering 1.2.6 Making introductions , welcoming guests, Making small talk 1.2.7 Asking for Reperts 1.2.8 Giving instructions , Direction and rules 1.2.9 Showing places of interest 1.2.10 Simple Sentence Strucjure
4 2. ระยะเวลาในการพัฒนา ดำเนินการพัฒนาตนเอง ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 รวม ระยะเวลาทั้งหมดจำนวน 30 ชั่วโมง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 นิยามศัพท์ 1. สตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) การเรียนภาษาอังกฤษที่เน้นเนื้อหาที่สอดคล้องกับ ทั้งความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน โดยจะเน้นที่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และ การฝึกทักษะที่เป็นฐานรากของการการสื่อสารภาษาอังกฤษ เช่น หลักการอ่านออกเสียงคำ ประโยค ข้อความสั้นๆ ได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน หลักการในการสร้างประโยคภาษาอังกฤษอย่างง่ายใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม ฯลฯ การตอบคำถามหรือการตอบรับและการ ปฏิเสธ การอ่านบทสนทนา การใช้น้ำเสียงหนักเบา (stress) การออกเสีงควบกล้ำที่ถูกต้อง 2. ทักษะของการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถของนักเรียน ในการ ใช้ภาษาอังกฤษในการพูด การให้ข้อมูล ตามสถานการณ์การแลกเปลี่ยนทัศนะใน สถานการณ์ต่างๆ โดยการใช้ค าศัพท์ไวยากรณ์ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม คล่องแคล่ว มั่นใจ การออกเสียงได้อย่าง ชัดเจน การเลือกใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ได้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งสามารถ ประเมินได้โดยใช้ แบบทดสอบ 3. บทเรียนออนไลน์ หมายถึง บทเรียนออนไลน์ หมายถึงบทเรียนที่จัดทำขึ้นเป็นสื่อการ สอน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบไปด้วยโครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา หน่วย การเรียนรู้ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ เนื้อหา แบบทดสอบ แบบฝึกทักษะเพื่อให้นักเรียนและผู้ที่ สนใจศึกษา สามารถศึกษาค้นคว้าความรู้ ได้ด้วยตนเอง โดยออกแบบไว้ ให้โต้ตอบกับผู้เรียนได้ 4. การพัฒนาตน หมายถึง ตรงกับภาษาอังกฤษว่า self-development แต่ยังมีคำที่มี ความหมายใกล้เคียงกับคำว่าการพัฒนาตน และมักใช้แทนกัน บ่อย ๆ ได้แก่ การปรับปรุงตน (selfimprovement) การบริหารตน (self-management) และการปรับตน (self-modification) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะสมเพื่อสนองความต้องการและเป้าหมายของตนเอง หรือ เพื่อให้สอดคล้องกับ สิ่งที่สังคมคาดหวัง
5 บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รายงานนี้ ผู้พัฒนาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการพัฒนาทักษะการ พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของ นายภานุพงษ์ ช่วยพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่าน การศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course และได้ นำเสนอตามหัวข้อ เพื่อเป็นแนวทางในการ ดำเนินงาน ตามหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. เอกสารเกี่ยวกับการพูดเพื่อการสื่อสาร 1.1 ความหมายการพูดเพื่อการสื่อสาร 1.2 องค์ประกอบการพูดเพื่อการสื่อสาร 1.3 ขั้นตอนการสอนและการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร 1.4 กิจกรรมภาษาเพื่อการพัฒนาทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร 1.5 การวัดและการประเมินผลของการพูดภาษาอังกฤษ 1.6 เกณฑ์การประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2.1 งานวิจัยในประเทศ 2.2 งานวิจัยในต่างประเทศ 1. เอกสารเกี่ยวกับการพูดเพื่อการสื่อสาร 1.1 ความหมายการพูดเพื่อการสื่อสาร ทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวัน เพื่อความสามารถใน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ในการเรียนการสอนปัจจุบันจึงได้เน้นการพูดเป็น สำคัญ โดยได้มีนักการ ศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศได้ให้ทัศนและความหมายการพูด เพื่อการสื่อสาร ดังนี้ เบิร์น (1986)อ้างถึงในนาถธิชา สีทองเพีย (2561, น. 1081) ได้กล่าวถึง การพูดเพื่อการ สื่อสาร เป็นกระบวนการสื่อสารสองทาง (Two-Way Process) ระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง โดยผู้ฟัง ถอดรหัสจากข้อความที่ผู้พูดได้ป้อนเข้ามา กล่าวคือ ผู้พูดต้องส่งสาร (encode) ที่ต้องการจะสื่อ ในขณะ ที่ผู้ฟังต้องตีความ (decode) ของสารที่ส่งมา ซึ่งอาศัยทักษะความรู้เรื่องระบบภาษา และ เป็นลักษณะ การสื่อสารแบบสองทางในการโต้ตอบกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจ อาจมีการใช้เสียงสูง เสียงต่ำ สีหน้า ท่าทางของผู้พูดเป็นเครื่องมือในการสื่อสารในสถานการณ์นั้น
6 ลินซ์ (1996) อ้างถึงในรำไพ โพธิ์จิต (2547, น. 10) กล่าวถึง การพูดแบบปฏิสัมพันธ์ของ ผู้เรียนนั้น เป็นปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นสองทาง ระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ครูควรสอนให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด ของตนเอง ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ เช่น ข้อมูลข่าวสาร ข้อตกลง เป็นต้น โดยฝึกให้ ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาของการสื่อสารได้ในชีวิตประจำวัน มีการเชื่องโยงความคิดใน การตอบโต้ และการสื่อความหมาย และให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการวิเคราะห์ และได้รับการ แนะนำในสิ่งที่ได้ เกิดขึ้นว่าควรมีสิ่งใดควรต้องปรับปรุงหรือไม่ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ และให้การสื่อสารดำเนินไป ด้วยดี พอลตัน (1993) อ้างถึงในเพ็ญนภา เลิศกิตติไพบูลย์ (2559, น.13) ได้กล่าวว่า การ พูดเป็น ปฏิสัมพันธ์ของผู้พูดในการใช้ภาษาตามกาลเทศะ มีการโต้ตอบตั้งแต่บุคคลสองบุคคลขึ้น ไป ซึ่งเป็นการ โต้ตอบสิ่งที่ได้ยิน โดยการพูดต้องเหมาะสมกับกฎเกณฑ์ในทางสังคม พรสวรรค์ สีป้อ (2550, น. 163) ได้กล่าวว่าการพูดเป็นการปฏิสัมพันธ์ของบุคคลใน สังคม ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งต่างฝ่ายจะมีจุดประสงค์ที่ต้องการจะสื่อความหมายของตน และต่าง ฝ่ายจะต้อง ตีความสิ่งที่ตนได้ฟัง ฉะนั้นการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องพูดให้ผู้อื่นสามารถ เข้าใจได้ เลี่ยงการ ทำให้ผู้ฟังสับสนเพราะการออกเสียงผิด ไวยากรณ์ผิด หรือใช้คำไม่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องพูดให้เหมาะสม กับสังคมและวัฒนธรรมด้วย จากความหมายในการพูดเพื่อการสื่อสารดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า การพูดเป็นการ ถ่ายทอด ความรู้สึก ความคิด ไม่ว่าจะเป็นภาษาใด ๆ ก็ตาม การพูดทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่ผู้พูดถ่ายทอดออกมา การ แลกเปลี่ยนข้อมูล การทำให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่พูดด้วย น้ำเสียง กิริยาท่าทาง ภาษา ซึ่งนอกจาก ความหมายของการพูดแล้ว นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้การสื่อสารมีความ ชัดเจนอีกด้วย 1.2 องค์ประกอบการพูดเพื่อการสื่อสาร ได้มีนักวิชาการ กล่าวถึงองค์ประกอบการพูดเพื่อ การสื่อสาร ดังนี้ ไฮมส์ (1981) อ้างถึงในเพ็ญนภา เลิศกิตติไพบูลย์ (2559, น. 2) ได้กล่าวถึง การใช้ภาษาเพื่อ เพื่อการสื่อสารต้องอาศัยองค์ประกอบ 4 ข้อ คือ 1. ความสามารถที่จะทราบว่าประโยคที่พบเป็นไปตามหลักของไวยากรณ์หรือไม่ (Possibolity) 2. ความสามารถที่จะทราบว่าประโยคใดเป็นภาษาที่ใช้ได้จริงในสังคม (Feasibility) เนื่องจากบางประโยคต้องถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่นำมาสื่อสารไม่ได้ ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์และ การใช้ภาษาในชีวิตจริง 3. ความสามารถที่จะทราบว่าประโยคใดเหมาะสมกับสถานการณ์ หรือ สังคมนั้น (Appropriateness) 4. ความสามารถที่จะทราบว่าประโยคใดในสังคมที่นิยมใช้และยอมรับ (Accepted Usage)
7 ชอมสกี (1960) อ้างถึงในวิโรจน์ อรุณมานะกุล (2559, น. 13) ได้อธิบายเกี่ยวกับ ภาษาว่า เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นมาในการสื่อสาร โดยมนุษย์ได้ใช้ภาษาสื่อความหมาย ซึ่งมนุษย์จะ จัดเรียงคำใน โครงสร้างที่แน่นอน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1. ความรู้และความเข้าใจในภาษา (Competence) หมายถึง ความสามารถที่เกิดขึ้น เอง ภายในของทุกคนอย่างอัตโนมัติ เป็นความรู้ที่ผู้พูดใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายได้ โดยมีองค์ประกอบ คือ ความสามารถที่สามารถสร้างและเข้าใจประโยคในภาษาได้โดยไม่มีขอบเขต ความเป็นเจ้าของภาษาจะ สามารถบอกว่าประโยคใดมีความหมายกำกวม ประโยคใดมีความหมายเหมือนกัน ประโยคใดใช้ถูก หรือผิดไวยากรณ์ นำไปสู่ความรู้และความสามารถเข้าใจ โครงสร้างในประโยคอย่างถูกต้อง 2. ความสามารถในการใช้ภาษา (Performance) หมายถึง การนำความรู้ ความ เข้าใจทาง ภาษาใช้ในการแสดงออกเป็นการใช้ภาษาโดยแท้จริง ซึ่งอาศัยความรู้ที่มีอยู่ นอกจากนี้ได้มีการกล่าวถึงองค์ประกอบของการพูดเพื่อการสื่อสารที่มีองค์ประกอบ สำคัญ ดังนี้ 1. เป้าหมายและผู้ชม (Goals and Audience) คือ สามารถเป็นผู้ฟังที่ดี โดยการ พูดคุยและ รับคำติชมจากผู้ชมได้ หรือสามารถสังเกตได้จากสิ่งวาดหรือจากเลโก้ 2. การระดมความคิด (Gethering ideas) คือ การระดมความคิดในกลุ่ม โดยทำตาม schema ที่อาศัยความรู้เดิม เช่น ประเภทของหัวข้อ หรือแผนวาทกรรม เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูล อย่างเป็น ระบบ 3. การจัดระเบียบความคิด (Organising ideas) คือ การใช้แผนการพูดแบบ วาทศิลป์ ในการ อภิปรายและประเมินโครงร่างจำลอง และทำการตรวจสอบ 4. การทำบันทึกการพูด (Making speaking notes) คือ การจดบันทึก เพื่อเตรียม ถ่ายโอน ข้อมูล 5. การนำเสนอและการตรวจสอบ (Presenting and monitoring) คือ การพูดคุย หัวข้อของ แต่ละคนเกี่ยวกับความสามารถพิเศษเพื่อเป็นชำนาญเรื่องการระดมความคิด การใช้แผนพูดวาทศิลป์ และการจดบันทึก และเตรียมความพร้อมเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน กลุ่ม และในชั้นเรียน (เนชัน และนิวตัน, 2009) ไมเคิล คาเน ล (1983, น. 6-14); เมอร์ริลล์ สเวน (1984, น. 7-18) กล่าวว่า องค์ประกอบการ พูดเพื่อการสื่อสารนั้นมีลักษณะ ดังนี้ 1. การใช้ระเบียบวิธีของภาษา โดยการใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์และตามหลัก ไวยากรณ์ (Linguistic or Grammatical Competence) รวมไปถึงความหมายของ เสียง คำศัพท์ และ ไวยากรณ์อีกด้วย 2. การใช้ภาษาได้ตรงตามหลักภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistic Competence) โดยมี วัฒนธรรมสถานภาพและบทบาททางสังคมของบุคคล
8 3. การใช้ระเบียบวิธีในความสัมพันธ์ของประโยค (Discourse Competence) ซึ่งจะใช้ความ เชื่อมโยงข้อความเพื่อสื่อความหมาย โดยมีความรู้ในด้านไวยากรณ์ช่วยทำให้การสื่อ ความหมายทาง ภาษาเหมาะสมและถูกต้องมากขึ้น (Utterances) 4. การใช้กลวิธีเพื่อการสื่อสาร (Strategic Competence) เพื่อให้การสื่อสาร บรรลุ วัตถุประสงค์ เป็นการแสดงออกโดยมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จากองค์ประกอบของการพูดเพื่อการสื่อสาร กล่าวโดยสรุป คือ การพูดยังเป็นทักษะ ขั้นเริ่มต้น ของการเรียนภาษา และยังทำให้เกิดความเข้าใจกันได้เมื่อมีการสื่อสาร ซึ่งจะต้อง ประกอบด้วยผู้พูด สาร และผู้ฟัง โดยผู้พูดจะส่งสารไปยังผู้ฟัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ จากนั้นจะมีการเปลี่ยนสถานะเพื่อให้ ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้พูดคนแรก ซึ่งเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ฟัง เป็น กระบวนการปฏิสัมพันธ์สองทาง โดย เรียกว่ากระบวนการสื่อสาร นอกจากนี้แล้ว ความสามารถใน การตีความยังเป็นส่วนหนึ่งทำให้การสื่อ ความระหว่างทั้งสองฝ่ายนั้นเข้าใจได้อย่างตรงกันอีกด้วย 1.3 เกณฑ์การประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ แฮรีส (1990 อ้างถึงใน กมลวรรณ โดมศรี ฟ้า (2551, น. 15-17) ได้กล่าวถึงเกณฑ์การ ประเมินความสามารถด้านการพูด ซึ่งมีการแบ่งเกณฑ์การ ให้คะแนนโดยคำนึงถึงส่วนประกอบของ ภาษาและทักษะ คือ การออกเสียง ไวยากรณ์ คำศัพท์ ความ คล่องแคล่วการใช้ภาษา และความเข้าใจ โดยมีเกณฑ์ 5 ระดับ คือ 1. การออกเสียง (Pronunciation) ระดับ 1 การออกเสียงมีปัญหามาก ทำให้ไม่เข้าใจสิ่งที่พูดได้ ระดับ 2 การออกเสียงมีปัญหามาก ผู้เรียนต้องตั้งใจฟังอย่างมาก และมีการถามช้า ระดับ 3 การออกเสียงมีปัญหาน้อย ผู้ฟังต้องตั้งใจฟัง หากออกเสียงผิดผู้ฟังก็จะ สับสน ระดับ 4 การออกเสียงของผู้พูดดี แต่อาจมีปัญหาบ้าง แต่ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่ ต้องการ สื่อสารได้ ระดับ 5 การออกเสียงดีเทียบเท่าเจ้าของภาษา 2. ไวยากรณ์ (Grammar) ระดับ 1 การใช้ไวยากรณ์และเรียงลำดับที่ผิด สื่อสารได้ไม่เข้าใจ ระดับ 2 การใช้ไวยากรณ์และการเรียงลำดับผิด แม้จะใช้ไวยากรณ์ง่าย ทำให้สื่อสาร และทำความเข้าใจยาก ระดับ 3 การใช้ไวยากรณ์ผิดบ่อยครั้ง ทำให้ความหมายของประโยคนั้น ๆ ผิด และ เข้าใจผิดไป ระดับ 4 การใช้ไวยากรณ์ที่ผิดบ้าง แต่สื่อความหมายได้ถูกต้อง ระดับ 5 การใช้ไวยากรณ์และการเรียงลำดับที่มีความผิดพลาดน้อยมาก สามารถ แก้ไขใหม่อย่างถูกต้อง 3. คำศัพท์ (Vocabulary)
9 ระดับ 1 การไม่มีความรู้ด้านคำศัพท์ ทำให้ไม่สามารถสื่อสารได้ ระดับ 2 การใช้คำศัพท์ผิด อาจมีความรู้ทางคำศัพท์ที่น้อยและจำกัด จึงทำความ เข้าใจในประโยคได้ยาก ระดับ 3 การใช้คำศัพท์ผิด อาจมาจากการคิดคำศัพท์ที่มีปัญหาของผู้พูดและสื่อสาร ในบทสนทนานั้น ๆ ระดับ 4 การใช้คำศัพท์ไม่ถูกต้อง บางครั้งใช้คำไม่เหมาะกับสถานการณ์ ระดับ 5 การใช้คำศัพท์ วลี สำนวนอย่างคล่องแคล่ว ผู้พูดใช้ภาษาได้เทียบเท่า เจ้าของภาษา 4. การใช้ภาษาที่คล่องแคล่ว (Fluency) ระดับ 1 การสนทนาที่ไม่เข้าใจ เนื่องจากผู้พูดมีการหยุดเว้นช่วงสนทนาเป็น เวลานาน ระดับ 2 การมีความรู้ที่จ ากัดในการใช้ภาษา เนื่องจากผู้พูดหยุดเว้นช่วง สนทนา บ่อยครั้ง ระดับ 3 การพูดได้อย่างคล่องแคล่วไม่มากนัก เนื่องจากมีปัญหาในการใช้ภาษา ระดับ 4 การพูดได้อย่างคล่องแคล่ว อาจมีผิดพลาดเป็นบางครั้ง ระดับ 5 การพูดได้อย่างคล่องแคล่วเทียบเท่าเจ้าของภาษา 5. ความเข้าใจ (Comprehension) ระดับ 1 การที่ผู้ฟังไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อสารได้ ระดับ 2 การพูดที่ติดขัด ใช้เวลาหาคำพูด อาจพูดซ้า ๆ ระดับ 3 การพูดให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อสารแต่อาจสื่อสารได้ค่อนข้างช้า ระดับ 4 การพูดที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ครบถ้วน อาจมีการพูดซ้ำบางครั้ง ระดับ 5 การพูดที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ทั้งหมด จากที่ได้ศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การแบ่งเกณฑ์การประเมินผู้ประเมินได้แยกออกเป็น หลาย ระดับที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่สำคัญคือ การใช้คำศัพท์ โครงสร้างไวยากรณ์ ความคล่องแคล่ว การใช้ ภาษา สามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจการสื่อสารได้ เพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาความสามารถในการพูด ภาษาอังกฤษ โดยมีการใช้แบบฝึกบทสนทนาภาษาอังกฤษอีกด้วย ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาที่ทั่วโลกใช้กันมากภาษาหนึ่ง ประเทศไทยจึงมองเห็นอนาคต ของคนไทย กับการใช้ภาษอังกฤษในยุคปัจจุบันสำคัญมากที่สุด และเกี่ยวข้องกับนักเรียน นิสิต นักศึกษา พนักงาน เจ้าหน้าที่ และคนทํางานทุกสาขา และทุกอาชีพ ที่ปัจจุบันคนไทยจำเป็นต้องมี ความรู้และมีความเข้าใจทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะทักษะภาษาอังกฤษทั้ง ๔ ด้าน ประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน และการ เขียน เพราะทักษะภาษาอังกฤษช่วยพัฒนานักเรียน นิสิต นักศึกษา พนักงาน คนงาน และทุกอาชีพเพื่อโอกาสที่ มีผลตามมาสำหรับผู้มีทักษะด้าน ภาษาอังกฤษดีมาก (เจนจิรา ชัยปาน ทรายขวัญ พรมแก้ว และ สิทธิศรีนาญ. 2556)
10 ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษถือได้ว่าเป็นศาสตร์สำคัญศาสตร์หนึ่ง เพราะว่าภาษาอังกฤษ เป็น สื่อกลางในการใช้สื่อสาร บัณฑิตยุคปัจจุบันต้องมีองค์ความรู้และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ยุค ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นโลกไร้พรมแดนองค์ความรู้ด้านต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกต่างก็ได้รับการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ภาษา ของชาติที่เป็นประเทศมหาอํานาจจะได้รับความสนใจเรียนรู้กันทั่ว โลก เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน เป็นต้น ขณะเดียวกันแต่ละประเทศก็จำเป็นต้องคง รักษาอัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมประจำชาติของตน เอาไว้ให้เข้มเข็ง เพื่อคงไว้ซึ่งความมี ศักดิ์ศรีความเป็นชาติและภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาเป็นเวลานาน บัณฑิตจำเป็นต้องเรียนรู้ ภาษาของชาติที่เป็นประเทศมหาอํานาจและการเรียนรู้ภาษาประจำชาติเพื่อคงความ เป็นชาติไว้นั้น หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย จึงกําหนดให้ประชาชนได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาอังกฤษเป็น ภาษาต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องศึกษาภาษาไทยที่เป็นภาษาหลักของชาติไปด้วย เพื่อใช้ สื่อสารกับ คนในประเทศเดียวกัน และใช้ภาษาอังกฤษไว้ใช้สื่อสารกับคนต่างประเทศ (วรวรรธน์ศรียา ภัย กรรณิการ์รักษา และ คนึงนิจ ศีลรักษ์. 2553 : 36-50) สรุปได้ว่าบัณฑิตไม่ใช่เพียงแค่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาอังกฤษ เพราะ ภาษาอังกฤษยัง ช่วยสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างชนชาติไทยและชนชาติอื่นๆ ด้วยเหตุผลของความ เข้าใจด้านวัฒนธรรมที่ แตกต่างกันของแต่ละเชื้อชาติเผ่าพันธุ์จึงนําไปสู่การปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมต่อกัน บัณฑิตยุค ใหม่ หรือ บัณฑิตในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องกลับมาสนใจและให้ ความสำคัญการพัฒนาตนเองด้วยทักษะภาษาอังกฤษ เนื่องจากบัณฑิตต้องใช้ภาษาอังกฤษในการ เรียน การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนที่ต่างเชื้อชาติต่าง ภาษาในมหาวิทยาลัย บางทีมหาวิทยาลัยก็มี ข้อกําหนดให้บัณฑิตที่กําลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยพัฒนาตนเอง ด้วยการใช้ภาษาอังกฤษในการ ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันในสถาบันการศึกษา จะเห็นได้ว่าการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ หรือ การใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษามีความจําเป็นอย่างมาก ร่วมไปถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ จำเป็นต้องสื่อสาร ถ่ายทอด และแสดงถึงวัฒนธรรม สู่สังคมโลกเพื่อให้เข้าใจความหมาย บัณฑิตเมื่อ สำเร็จ การศึกษาออกไปก็ต้องไปทำงาน ประกอบอาชีพ หรือ ประกอบอาชีพอิสระ ก็ต้องใช้ ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารเพื่อการทำธุรกิจ อาชีพ จะเห็นได้ว่าเป้าหมายการพัฒนาภาษ อังกฤษกับความเป็นบัณฑิตในยุค ปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาบัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ด้าน ภาษาอังกฤษ สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาติอื่นๆ ที่พวกเขาเหล่านี้ใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติหรือ ภาษาสากลในการ สื่อสารกัน ไม่ใช่เพียงแค่ให้บัณฑิตมี ความสามารถด้านการสื่อสาร แต่ยังต้องการให้บัณฑิตพัฒนาองค์ความรู้พัฒนาคุณภาพการศึกษา เปิดโลกกว้าง หรือ โลกทัศน์การเรียนรู้รวมไปถึงการสร้างโอกาสทางการศึกษาทั้งใน ประเทศและ ต่างประเทศ และโอกาสทางการทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะว่าบัณฑิตคนใด สามารถ สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ดีย่อมได้รับโอกาสคัดเลือกให้ศึกษาต่อและถูกคัดเลือกทำงานหรือจ้าง ทำงาน ในกลุ่มประชาคมอาเซียน หรือ กลุ่มต่างประเทศทั่วโลกมากกว่า สำหรับบัณฑิตที่ขาดทักษะ การใช้ภาษาอังกฤษ หรือ ไม่ได้พัฒนาภาษาอังกฤษและไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้แต่ต้องการศึกษา
11 ต่อและต้องการไปทำงาน ต่างประเทศ ก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบอย่างมากในการที่จะถูก คัดเลือก แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สภาพโลกาภิวัตน์ได้เชื่อมทุกประเทศให้กลายเป็นสมาคมโลก ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร องค์ความรู้วัฒนธรรมสังคม และเศรษฐกิจที่เปิดเสรีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวในการ พัฒนาทักษะ ภาษาต่างประเทศหลากหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น แต่ภาษาอังกฤษยังคง เป็นที่ยอมรับและใช้เป็นภาษากลางของโลกสำหรับการ ติดต่อสื่อสารกับนานาประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรม ประเภทต่างๆ ทั้งในด้านการศึกษาการทำธุรกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวและการใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งยัง เป็นภาษาที่ใช้ในระบบเทคโนโลยี สารสนเทศอีกด้วย แต่จากผลการทดสอบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษระดับชาติพบว่า ทักษะการใช้ ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น การหาวิธีกา พัฒนาทักษะ ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยเพื่อให้มีคุณภาพทัดเทียมชาติอื่นๆ จึงเป็นสิ่งจําเป็นเร่งด่วน เพื่อ รองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต (ณภัทร วุฒิวงศา. 2557 : 89- 97) การพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษ หมายถึงการสื่อสารภาษาอังกฤษนั้น การพูดเป็นทักษะที่ จําเป็น อย่างยิ่งที่ผู้ที่จะต้องใช้ความสามารถทางด้านภาษาหลายด้านประกอบกัน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจ โดยจะต้อง ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นคําพูเพื่อให้ผู้ฟังสามารถฟังอย่างเข้าใจ มีนักการ ศึกษาหลายได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการสื่อสารไว้ดังนี้ อวยชัย ผกามาศ กล่าวว่า เป็นการสื่อสารทางความคิด ประสบการณ์และ ความต้องการของ ผู้พูด ไปสู่ผู้ฟัง เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ โดยใช้น้ำเสียงภาษา และกริยาท่าทาง อย่าง มีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามจรรยามารยาทและประเพณีนิยมของสังคมให้ผู้ฟังรับรู้และเกิดการ ตอบสนอง (วรรคณา เค้าอ้น. 2560) แวลเลท. ซิทโซปูลูและ วิดโดสัน มีความเห็นและให้ความหมายของการพูดในแนวทาง เดียวกันว่า การพูดเป็นการแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง แต่เป็นการทำให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่ง ที่พูด และการพูด สื่อสารที่ดีพฤติกรรมที่ไม่ใช่คําพูดที่สอดคล้องเหมาะสม มีความสำคัญเท่ากันกับ ความรู้ในเรื่องภาษา (กมลวรรณ โดมศรีฟ้า. 2551) สุมิตรา อังควัฒนกุล อธิบายว่า การพูดเป็นการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และความรู้สึก ให้ผู้ฟัง ได้รับรู้และเข้าใจจุดมุ่งหมายของผู้พูด ดังนั้นทักษะการพูดจึงเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับบุคคล ในการสื่อสารใน ชีวิตประจำวัน สำหรับการเรียนภาษา (สุนันทา แก้วพันธ์ช่วง. 2550) สรุปได้ว่าทฤษฎีทางการสื่อสาร หมายถึง การอธิบายให้ทราบถึงลักษณะขององค์ประกอบ การสื่อสาร และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ยังมีอีกนิยามหนึ่งที่กล่าวว่า ทฤษฎีการสื่อสาร คือข้อความที่เกี่ยวข้อง กับการทำงานของสิ่งต่าง ๆ โดยมีการจัดระเบียบของความหมาย ทฤษฎีการ
12 สื่อสารจึงเกิดขึ้นโดยอาศัยลักษณะ องค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ใน กระบวนการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ความมุ่งหมาย ของการสื่อสารย่อมต้องการความเข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสาร เป็นพื้นฐานนอกเหนือไปจากนั้นยัง ต้องการผลการปฏิบัติของผู้รับ ตามที่ต้องการและการปรับปฏิกิริยาของผู้รับเพื่อปรับปรุงระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพต่อไป (อรญา บํารุงกิจ. 2558) วิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ การที่จะพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อบัณฑิตสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในยุคปัจจุบันก็ต้อง อาศัย หลักการในการช่วยเสริมแรง สร้างแรงกระตุ้น และผลักดันให้บัณฑิตเกิดการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษ และเกิดการ พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ดังนี้ ๑. การสร้างแรงจูงใจ (Motivation) เป็นแรงที่กระตุ้นให้บัณฑิตแสดงพฤติกรรมไปสู่ เป้าหมาย แรงจูงใจเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จในการเรียนรู้และครูอาจารย์ที่สามารถกระตุ้นให้ ผู้เรียนมีแรงจูงใจใน การเรียนรู้ก็เท่ากับประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ไปแล้วครึ่งหนึ่ง การ จัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงควร เริ่มด้วยการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียน ซึ่งทำได้โดยการแสดงให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ ที่จะได้รับจากการเป็นผู้มีทักษะภาษาอังกฤษ และการ ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถตั้งเป้าหมายในการเรียนที่ เหมาะสมกับตนเอง ดังนั้นแรงจูงใจมีอยู่ด้วย ๒ ประเภท คือ ๑) แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation) เป็น สิ่งกระตุ้นหรือผลักดันมาจาก ภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติหรือทัศนคติความคิด ความสนใจ การเห็น คุณค่าหรือความ ต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่างๆเป็นสภาวะที่บุคคลต้องการแสดงการกระทำ หรือแสดงพฤติกรรม ต่างๆด้วยตนเอง เพื่อให้ตนเองมีความรู้สึกว่า ตนมีความสามารถมีศักยภาพ โดยไม่ได้เกิดจากสิ่งเร้า ภายนอก เช่น ต้องการเรียนรู้เพราะต้องการรู้และเข้าใจในสิ่งนั้น หรือต้องการทำงานที่ยาก เพราะ รู้สึกว่าเป็น สิ่งท้าทาย หรือความต้องการไปท่องเที่ยวต่างแดน เพราะต้องการสนุกสนาน และทำให้มี โลกทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น ๒) แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motivation) เป็นสภาวะที่บุคคลได้รับการกระตุ้น จากสิ่งเร้าภายนอก จนเกิดพฤติกรรมที่นํา ไปสู่เป้าหมาย เช่น เงิน ปริญญาบัตร รางวัลเกียรติยศ ชื่อเสียง ความก้าวหน้า คําชมเชย การได้รับการยอมรับนับถือ และสภาพแวดล้อมอื่นๆ เมื่อบุคคลเห็น เป้าหมายที่ต้องการ บุคคลนั้นก็จะถูก กระตุ้นหรือเร้าให้แสดงพฤติกรรมเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายนั้น มีผล การศึกษาจำนวนมากที่สนับสนุนว่า การสร้าง แรงจูงใจทั้งภายในและภายนอกสามารถใช้เป็นตัวกํา หนดความสำเร็จการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้(ณภัทร วุฒิวงศา. 2557 : 89-97) ๒. การสร้างเจตคติเชิงบวก (Positive Attitude) มีผลการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็น จำนวนมาก ที่แสดงว่า "เจตคติ (Attitude)" มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ทุกวิชา ของผู้เรียนในทุกระดับการศึกษา ผู้ที่มีเจตคติเชิงบวก (Positive Attitude) ต่อวิชาที่ศึกษา และต่อ
13 ครูอาจารย์ที่สอน เช่น ชื่น ชอบวิชา ชื่นชอบการเรียน ชื่นชอบครูอาจารย์ผู้สอน จะมีโอกาสเรียนรู้ได้ ดีกว่าผู้ที่มีเจตคติเชิงลบ (Negative Attitude) เช่น ไม่ชื่นชอบวิชา ไม่ชื่นชอบเรียน และไม่ชื่นชอบครู อาจารย์ผู้สอน ผู้เรียนส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ที่ทำให้มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุผลเรียนแล้วไม่เข้าใจ เรียนแล้วไม่สนุก ทำข้อสอบไม่ได้ผลการเรียนไม่ดีวิธีการสร้างเจตคติที่ดี ต่อการเรียนทำได้โดยการทำให้การเรียนสนุก น่าสนใจ บทเรียนมีความหมายคือสัมพันธ์กับชีวิตจริง ของผู้เรียน และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรม แบบตื่นตัว (Active Learning) ดังนั้นได้มี นักวิชาการ R.M. Gagne ได้กล่าวถึงเจตคติว่า เจตคติเป็นสภาวะทาง จิตใจซึ่งเป็นคุณลักษณะภายใน ของบุคคล ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเลือกแนวทางการแสดงออกเป็นพฤติกรรมของแต่ละบุคคล มี องค์ประกอบ ๓ ส่วนดังนี้ ๑) องค์ประกอบด้านจิตใจ (Affective Component) ซึ่งเป็นความรู้สึก ในทางบวก หรือลบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ๒) องค์ประกอบทางด้านพฤติกรรม (Behavioral Component) ซึ่งเป็น ลักษณะ อาการที่บุคคลแสดงออกอันเป็นผลเนื่องมาจากความรู้และความรู้สึกต่อสิ่งนั้น ๓) องค์ประกอบทางด้าน ปัญญา (Cognitive Component) ซึ่งเป็นความรู้ที่ ครอบคลุมทักษะทางสติปัญญา สารสนเทศจากถ้อยคํา รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับการคาดหวังทางสังคม ผลตอบแทนทจะได้รับ และผลที่ตามมาจากการกระทำที่แสดงออก (พรพิมล ริยาย และ ธนางกูร ขํา ศร. 2552 : 13) ๓. การเพิ่มความรู้และพัฒนาทักษะ (More Knowledge and More Skills) เป็นการพัฒนา ทักษะ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษให้ครอบคลุม ให้ผู้เรียนสามารถใช้ได้ใช้ถูก ใช้เป็น และใช้อย่างคล่องแคล่ว กระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากแหล่งเรียนรู้หลากหลาย รอบตัว ในการวิจัยเพื่อ พัฒนาสมรรถภาพด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นและเกิดการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษจากแหล่งเรียนรู้รอบตัว เช่น เจ้าของภาษา ป้ายต่างๆ กล่องผลิตภัณฑ์รายการโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์นิตยสาร วารสารแบบฟอร์ม และ เอกสารของหน่วยงาน สถานประกอบการต่างๆ จัดทำ ขึ้น และการสืบค้นใน Internet ที่เป็น ภาษาอังกฤษ (บริททิชเคานซิล. 2561 : ออนไลน์) ๔. การสร้างความมั่นใจ (Confidence) ถือว่าเป็นอีกข้อหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้บัณฑิตกล้าพูด กล้า แสดงออกทางด้านภาษาอังกฤษ โดยให้บัณฑิตได้มีโอกาสฝึกภาษาอังกฤษใช้ภาษาอังกฤษใน สถานการณ์จริง (Real Life Situations) คือ สร้างกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟังและการพูด ภาษาอังกฤษโดยการออกไป สัมภาษณ์พูดคุยกับชาวต่างประเทศ (Foreigners) ตามสถานที่สำคัญ ต่างๆ ที่มีชาวต่างชาติมาท่องเที่ยว และฝึก พูดภาษาอังกฤษในชั้นเรียนบ่อยๆ เพื่อเป็นการสร้างความ มั่นใจและความเคยชินเมื่อมีโอกาสได้ได้แสดงหรือ สื่อสารภาษาอังกฤษ โดยฝึกสร้างความมั่นใจหรือ ความกล้าในการใช้ภาษาอังกฤษ ดังนี้ ๑) มองรอบตัวเราเอง เพื่อหาไอดอลหรือคนต้นแบบสักคนที่ตัวเราเองอยากจะเป็น เหมือนเขา เรียนรู้ลักษณะของเขา แล้วมองตัวเรา เองแล้วให้สมมุติว่าเราเป็นเหมือนไอดอลหรือ
14 ต้นแบบคนนั้น ตัวเรารู้สึกอย่างไร มองตัวเราเองแบบใดถ้าเราเป็น ไอดอลหรือต้นแบบคนนั้น ตัวเรา เองไม่มีวันทำตัวเปลี่ยนไปจากภาพลักษณ์ที่ตัวเราเองคิดว่าตัวเราเองเป็น ถ้า เราคิดว่าตัวเราเองไม่ สำคัญ เราก็จะทำตัวเราเองไม่สำคัญ แต่ถ้าตัวเราเองมองตัวเราเองเป็นดังเช่น สิงโต แม้ว่า ตัวเราเอง จะเป็นดังเช่นหนูไม่ว่าเราจะไปไหนแห่งหนใด ใครๆก็จะมองว่าตัวเราเป็นดังเช่นสิงโต ๒) พิจารณา จุดบกพร่องของตัวเราเอง ยอมรับข้อบกพร่อง แล้วหาวิธีพัฒนาตัวเอง ความมั่นใจ คือการยอมรับข้อบกพร่อง ของตัวเราเอง ถ้าเป็นเรื่องการพูดหรือสื่อสารภาษาอังกฤษให้ แสวงหาแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งพัฒนาการเรียน ภาษาที่ทำให้ตัวเราเองพัฒนาหรือเก่งขึ้น ๓) ไม่เปรียบเทียบกับคนที่เก่งกว่าตัวเราเอง คิดเสมอว่า ไม่มีใครเก่ง กว่าใคร และไม่ มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด แต่ละคนมีประสบการณ์ต่างๆกัน พิจารณาองค์ประกอบว่าคนเหล่านี้หรือคน เหล่านั้นเก่งภาษาอังกฤษเพราะอะไร พวกเขาต้องฝึกฝนและเรียนรู้มากเท่าไรถึงได้เก่งแบบนี้ เราจะ เห็นแต่ความสำเร็จของเขา แต่ไม่เคยเห็นตอนที่พวกเขาทรมานต่อการฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษ คือ ให้คิดบวก เข้าไว้ ๔) ไม่สนใจคนที่หัวเราะเยาะเย้ย หรือ ดูถูกเรา ให้คิดเสมอว่ายิ่งมีคนหัวเราะและดู ถูกเราจะเป็นการเพิ่ม ความมั่นใจให้กับตัวเราเองเก็บคําหัวเราะ และคําดูถูกเป็นแรงบันดาลใจแล้ว พัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึง เวลาจากคําดูถูกจะกลับกลายมาเป็นคําชม ๕) ตั้งเป้าหมายไว้ในใจ ด้วยเหตุผลไม่ว่าอะไรหรือใครจะหยุดเรา ไม่ได้จะมุ่งมั่นและ พัฒนาทักษะด้านภาษาให้ได้เมื่อไหร่ที่ตัวเราเองทำสำเร็จ พวกเขาเหล่านั้นจะแปลกใจและ จะ สอบถามเราว่าทำอย่างไรถึงพัฒนาภาษาอังกฤษและมีความมั่นใจในตัวเองได้ (FMCPENGLISH. 2561 : ออนไลน์) ๕. แบบการเรียนรู้ (Learning Style) อาจจะเหมือน หรือ ต่างจากคนอื่น แบบการเรียนรู้ เป็นวิธีการ เรียนรู้ที่ผู้เรียนแต่ละคนชอบใช้และจะเรียนรู้ได้ดีด้วยวิธีการเรียนรู้ในแบบนั้นๆ ครูอาจารย์ ควรศึกษาแบบการ เรียนรู้ของบัณฑิตและหาวิธีการให้แต่บัณฑิตได้เรียนรู้ในแบบของตน เพื่อให้การ เรียนรู้เป็นเรื่องง่ายและได้ผล มากขึ้น ทฤษฎีที่กล่าวถึงแบบการเรียนรู้มีอยู่หลายทฤษฎีแต่ทฤษฎีที่ เป็นที่ยอมรับร่วมกัน ว่าเป็นทฤษฎีพื้นฐาน และนิยมใช้ในการเรียนภาษา คือ ทฤษฎีที่แบ่งผู้เรียนเป็น ๓ ประเภท ซึ่ง Haynes (2009 : Online) ได้อธิบาย ว่า "Auditory Learners" คือ ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ ดีจากการฟัง และสามารถจำสิ่งที่ฟังได้ผู้เรียนประเภทนี้จะสนุกกับการพูดคุย สัมภาษณ์การอ่านออก เสียง กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียนกลุ่มนี้ได้แก่ : interviewing. debating. participating on a panel. giving oral reports. participating in oral discussions of written material "Visual learners" คือ ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการดูและสามารถจำสิ่งที่ได้ดูได้ผู้เรียน ประเภทนี้จะ ชอบการอ่านในใจ และการสังเกต กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียนกลุ่มนี้ได้แก่ : computer graphics. maps. graphs. charts. cartoons. posters. diagrams. graphic organizers and text with a lot of pictures และ "Tactile Learners" คือ ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัส พวกเขาจะ เข้าใจในสิ่งที่ตนได้ลงมือเขียน และเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือทำ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียน
15 กลุ่มนี้ได้แก่ : drawing. playing board game. making dioramas. making models. following instructions to make something การสอนอ่านกับผู้เรียนกลุ่มนี้เหมาะที่จะใช้ "The Language Experience Approach (LEA)" และ "The Whole Language Approaches" (ผศ.วิไล แผงศรี. 2561 : ออนไลน์) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ปัจจัยที่มีผลหรืออิทธิพลต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ปัจจัย ใหญ่คือ ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ปัจจัยเกี่ยวกับครูผู้สอน และ ปัจจัยเกี่ยวกบสภาพแวดล้อม ๑. ปัจจัยตัวผู้เรียน ๑) ความรู้พื้นฐานทางภาษาอังกฤษ หมายถึง สภาวะที่นักศึกษาได้รับการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษหรือมีประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษ หรือ หมายถึง สภาพแวดล้อมในการเรียน ภาษาอังกฤษจากสถาบัน การศึกษาเดิม ๒) ลักษณะนิสัยของผู้เรียน หมายถึง สภาวะธรรมชาติของ ผู้เรียนที่สัมพันธ์กับ พฤติกรรมการเรียนรู้ทางภาษาอังกฤษ ของผู้เรียน และมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิธีการเรียน (Learning styles) ของผู้เรียนที่มีความ แตกต่างกันในแต่ละคน ๓) กลวิธีการเรียนรู้ภาษา อังกฤษ หมายถึง ความคิดหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจาก ความ พยายามของ ผู้เรียนที่จะพัฒนาทักษะทางภาษาทั้งทางด้าน การฟัง พูด อ่าน เขียน และ ความสามารถในการใช้ภาษาในสังคม ๔) เจตคติที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ไคลน ได้อธิบายว่า เจตคติเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการเรียนรู้ภาษาที่สอง หากผู้เรียน มีเจตคติที่ดีต่อภาษาที่สองนั้นๆ จะทำให้ผู้เรียนประสบ ความสำเร็จมากกว่าผู้เรียนที่มีเจตคติไม่ดี(ธีราภรณ์พลายเล็ก. 2554 : 52-58) สรุปได้ว่า ปัจจัยตัวผู้เรียนถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ การที่จะพัฒนาทักษะการ สื่อสาร ภาษาอังกฤษผู้เรียนต้องมีความสามารถที่จะเข้าใจการสอนของครูอาจารย์และขึ้นอยู่กับ สติปัญญา ความสามารถทางภาษา ความถนัด และ เจตคติของผู้เรียนด้วย โดยความถนัดทางการ เรียนภาษา ปัจจัยเสริมต่อความมานะบากบั่น เกิดแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้เจตคติที่มีต่อครูผู้สอนและ ภาษาอังกฤษ ความสนใจในภาษาที่ เรียน และเจตคติต่อภาษาอังกฤษโดยมองเห็นประโยชน์และ ความสำคัญของภาษาในอนาคต ๒. ปัจจัยครูผู้สอน ครูผู้สอน ควรมีการเตรียมการสอนให้พร้อมอยู่เสมอ มีการเลือกใช้สื่อที่ เหมาะสมกับผู้เรียน รู้จัก แสวงหาความรู้เพิ่มทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอนและศึกษาจิตวิทยา เกี่ยวกับผู้เรียนเพื่อประโยชน์ในการ เข้าถึง เข้าใจในตัวผู้เรียน ช่วยให้ครูสามารถเลือกปรับวิธีการ จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละ กลุ่ม ได้ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสนใจการเรียน และมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นในที่สุด (รสรินทร์ปิ่นแก้ว และ ภานุวัฒน์ศิรินุพงศ์. 2560 : 83-93)
16 สรุปได้ว่าปัจจัยที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีปัจจัยทางการ สอน อันประกอบด้วยคุณภาพการสอนของครูอาจารย์ขึ้นองค์อยู่กับความรู้ความสามารถทางภาษา และการสอนของ ครูหรือ อาจารย์ ๓. ปัจจัยสภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อมทางการเรียน หมายถึง บุคคลและสิ่งต่างๆ ที่อยู่ แวดล้อมผู้เรียนในชีวิตประจำวัน โดยแบ่ง ออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่คือ สิ่งแวดล้อมในสถานที่ศึกษา และ สภาพแวดล้อมครอบครัว สภาพแวดล้อมในสถานที่ศึกษา อรุณีวิริยะจิตรา และคณะ มองว่า สภาพแวดล้อมในสถานที่ศึกษาไม่ใช่เพียงอุปกรณ์ขนาดและสภาพ ห้องเรียน แต่หมายถึงสิ่งที่ เกี่ยวข้องกับการสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่มีผลต่อการเรียนด้วย เช่น จำนวนผู้เรียนในชั้น เรียนในประเทศไทยเป็นตัวแปรหนึ่งที่มีผลทำให้คนไทยเรียนภาษาอังกฤษประสบ ความสำเร็จ เนื่องจากหลายสถานบันการศึกษาในประเทศไทยกําหนดให้จำนวนผู้เรียนในต่อหนึ่งชั้นเรียนที่มี จำนวนมากเกิน เช่น บางห้องเรียนมี๕๐ คนซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่เหมาะสมกับการเรียน ภาษาอังกฤษ เพราะ ขณะกําลังดำเนินการเรียนการสอนผู้เรียนได้รับการใส่ใจจากผู้สอนไม่เต็มที่อีกทั้ง โอการการฝึกก็ลดลงเนื่องจาก มีจำนวนผู้เรียนมากขึ้น (วนาลีนพวงศ์ณ อยุธยา. 2555 : 18) สภาพแวดล้อมครอบครัว การ์ดเนอร์ได้จําแนกบทบาทของบิดา มารดา ผู้ปกครองต่อการ เรียนรู้ภาษาออกเป็น ๒ ชนิด คือ บทบาทที่ปรากฏการกระทำ (active role) บทบาทชนิดนี้หมายถึง การที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองปรากฏการ กระทำออกมาโดยการกระตุ้นผู้เรียนให้เรียนภาษา สอน ภาษาให้แก่ผู้เรียน ส่งเสริมความสำเร็จในการเรียนภาษา คอยดูแลให้ผู้เรียนทำการบ้านและส่งเสริมให้ ผู้เรียนทำทุกอย่างเกี่ยวกับการเรียนภาษาได้ดีให้รางวัลและให้การ เสริมแรงแก่ผู้เรียนเมื่อผู้เรียน ประสบความสำเร็จในการเรียน และบทบาทที่ไม่ปรากฏการกระทำ (passive role) บทบาทชนิดนี้ เป็นบทบาทที่ละเอียดอ่อนและมีความสำคัญกว่าบทบาทชนิดที่ปรากฏการกระทำ บทบาท ชนิดนี้เป็น เรื่องเกี่ยวกับเจตคติของบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่มีต่อชุมชนที่ใช้ภาษาที่ผู้เรียนเรียน บทบาทชนิดนี้ ของบิดามารดาหรือผู้ปกครองจะช่วยจูงใจผู้เรียนให้เรียนรู้ภาษา (ธีราภรณ์กิจจารักษ์. 2553 : 46) และกาญจนา คุณารักษ์โดยการกระตุ้นเด็กบ่อย ๆ ให้ทำการบ้านรวมถึงการยกย่องสรรเสริญและการ แสดงการ ยอมรับ ถ้าหากว่าเขาทำการบ้านได้ดีและรวมทั้งแสดงอาการ หรือพูดยกย่องให้ปรากฏแก่ คนอื่นในสิ่งที่เด็ก ประสบความสำเร็จ ดึงดูดให้สมาชิกในครอบครัวและเพื่อฝูง ให้ความสนใจต่อ ความสำเร็จที่เด็กได้รับจาก โรงเรียน อาจมีการให้ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อเด็กทำได้อีกทั้ง ผู้ปกครองควรจะรู้จุดแข็งและจุดอ่อน เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กที่โรงเรียนและให้สนับสนุนในยามที่ เขาต้องการ รวมถึงการที่ผู้ปกครองควรมีความรู้ในรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับการเรียนรู้วิชา ความรู้ต่าง ๆ ของเด็กที่โรงเรียน รู้ว่าเด็กเรียนเก่งและอ่อนในวิชา ใดบ้าง และการส่งเสริมสนับสนุนให้ เด็กทำดีที่สุด ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่เด็กในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องการเรียนในกรณีที่ จําเป็น อาจจะรวมไปถึงการคอยดูแลให้คำแนะนําเกี่ยวกับการบ้านที่เด็กทำด้วย หรือ การดูแลตาราง กิจกรรมให้ด้วยถ้าจําเป็น ทั้งในเรื่องการจัดให้มีสถานที่ที่เงียบสงบพอที่จะศึกษา มีตําราที่ เหมาะสม มีเอกสารสำหรับอ้างอิง มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนรู้อื่น ๆ เด็กแต่ละคนต้องการที่จะมีสถานที่ที่สงบ
17 เงียบเพื่อศึกษา มีโต๊ะหนังสือเพื่อทำงาน มีหนังสือพร้อมหรือเอกสารอื่น ๆ เพื่อประกอบการเรียน และสุดท้าย ครอบครัวใดที่หัวหน้าครอบครัวมีการศึกษาเห็นความสำคัญของวิชาภาษาอังกฤษว่า เป็น สิ่งจำเป็นสำหรับการ ดำรงชีวิตในสังคม จะทำให้บุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรหลาน จะ ได้รับการสนับสนุนในการเรียน วิชาภาษาอังกฤษอย่างเต็มที่ เช่น ซื้อตําราภาษาอังกฤษมาให้อ่าน ตอบคําถามวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อนักเรียน ถามหรือไม่เข้าใจ สนับสนุนให้นักเรียนฟังวิทยุหรือดู โทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนเรียนพิเศษด้านภาษา หรือไปเรียนภาคฤดูร้อนที่เป็นประเทศ เจ้าของภาษา นักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนเต็มที่ ในลักษณะนี้ (ธนวัฒน์อรุณสุขสว่าง และ นรินทร์ สังข์รักษา. 2555 : 493-505) สรุปว่า ผู้เรียนที่มีความพร้อมด้านครอบครัวหรือคนทางบ้าน ได้รับความอบอุ่นและฐานะ ทางการเงิน จะได้รับโอกาสการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้เรียนรู้ภาษาอังกฤษมากกว่าผู้อื่น โดยมีโอกาส เรียนพิเศษ เรียนใน สถาบันที่ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนกาอรสอนเป็นส่วนใหญ่ และมีโอกาสเรียน ต่อในต่างประเทศ รวมไปถึง วิสัยทัศน์และเจตคติที่ดีของผู้ปกครองที่มีต่อภาษา โดยมองเห็น ความสำคัญจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
18 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ การศึกษาการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนายภานุพงษ์ ช่วยพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏสงขลา โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course โดยมีการสร้างเครื่องมือในการวิจัยเพื่อรวบรวมและเก็บข้อมูล การ วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้ 1. การกำหนดเรื่องที่ต้องการจะพัฒนาโดยการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล Individual Development Plan 2. การศึกษาบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course 3. การเก็บและรวบรวมข้อมูล 4. การจัดข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะเวลาในการพัฒนา ดำเนินการพัฒนาตนเอง ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 รวม ระยะเวลาทั้งหมดจำนวน 30 ชั่วโมง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 การดำเนินการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา การดำเนินการพัฒนาครั้งนี้ ผู้พัฒนามีเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ดังต่อไปนี้ 1. บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course 2. โครงสร้างเนื้อหารายวิชา สตาร์ทอังกฤษ (ENGLISH START UP) แนะนำวิชา • แบบสอบถามก่อนเริ่มเรียน • ทดสอบความรู้เบื้องต้นก่อนเริ่มเรียน • แนะนำวิชาและบทเรียนออนไลน์
19 • แนะนำตัวก่อนเริ่มเรียน บทที่ 1: Introduction • เนื้อหาและคำสำคัญ (Contents and Keywords) • ทำไมเราจึงต้องเรียนภาษาอังกฤษ (Why must we learn English? (1)) • ทำไมเราจึงต้องเรียนภาษาอังกฤษ (Why must we learn English? (2)) • Do’s และ Don’ts สำหรับการเรียนภาษาอังกฤษ (Do’s and Don’ts for learning English.) • ปิรามิดในการเรียน (Learning Pyramid) • ข้อสังเกต 10 ข้อ สำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในเวลาว่างของคุณ (Top 10 tips for learning English in your free time (1)) • ข้อสังเกต 10 ข้อ สำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในเวลาว่างของคุณ (Top 10 tips for learning English in your free time (2)) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 2: Pronunciation Level 1 • เนื้อหาและคำสำคัญสำหรับการออกเสียงที่ดี (Content and keywords for good pronunciation level1) • ทำไมการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ดีจึงสำคัญ (Why is good pronunciation important?) • เทคนิคในการออกเสียงภาษาอังกฤษ (Tips to improve your pronunciation.) • สระที่ออกเสียงสั้น (Short vowel sounds) • สระที่ออกเสียงยาว (Long vowel sounds) • การออกเสียงสระประสม(Vowel combination sounds) Part 1 • การออกเสียงสระประสม (Vowel combination sounds) Part 2 • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 3: Pronunciation Level 2 • เนื้อหาและคำสำคัญสำหรับการออกเสียงที่ดี (Content and keywords for good pronunciation level 2) • เสียง "S" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (S sound as final consonant) Part1 • เสียง "S" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (S sound as final consonant) Part2 • เสียง "S" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (S sound as final consonant) Part3
20 • เสียง "ED" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (ED sounds as final consonant) Part 1 • การออกเสียงท้ายคำ "ED" (Pronunciation of ED) • เสียง "ED" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (ED sounds as final consonant) Part 2 • เสียง "L" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (L sound as final consonant) • เสียง "SH และ CH" ที่อยู่ท้ายพยัญชนะ (SH / CH sounds as final consonants) • Pronunciation of Chicken and Kitchen • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 4: Thank you and Farewells • เนื้อหาและคำสำคัญ (Contents and Key words) • การพูดขอบคุณ (Saying thank you) • การพูดขอบคุณอย่างเป็นทางการ (Saying thank you: Formal) • การใช้ Thank you และ You're welcome (Thank you and You're welcome) • การพูดขอบคุณสำหรับอนาคต (Saying thank you: Future) • การกล่าวอำลาอย่างเป็นทางการ (Farewells: Formal) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 5: Questions : Constructing and answering • เกริ่นนำ (Introduction) • คำถามที่ใช้ WH นำหน้า (WH Questions) • คำตอบที่ใช้ตอบคำถามที่นำหน้าด้วย WH (How to answers , WH Questions ?) • เทคนิคการใช้คำถาม (Cheat Questions) • ทางเลือกในการสร้างคำถาม (Extra Ways to Make Questions) • ทางเลือกในการตอบคำถาม (Other Ways to say answers) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 6: Making introductions • เกริ่นนำ (Introduction) • การกล่าวนำอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Introduction) • การกล่าวต้อนรับแขกที่มาเยือน (Welcome Guests) • การกล่าวต้อนรับและการตอบ (Greeting and Responses)
21 • การตอบคำถามของ How are you ? (To Answer How are you ?) • คำอุทาน (Interjections) 01 • คำอุทาน (Interjections) 02 • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 7: Asking for Repeats • เกริ่นนำ (Introduction) • ทำไมภาษาอังกฤษจึงยากที่จะเข้าใจ (Why does English be difficult to understand ?) • การตอบคำถาม (Asking for Repeats) • วลีที่ใช้ประโยชน์ (Useful Phrases) • ทำอย่างไรให้ผู้ฟังเข้าใจคุณ 01 (Do people understand you ?) • ทำอย่างไรให้ผู้ฟังเข้าใจคุณ 02 (Do people understand you ?) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 8: Giving instructions, directions and rules • เกริ่นนำ (Introduction) • ความสำคัญของ 4 C (4 Cs) และ การสร้างความสนใจ (Try to create interest) • แนะนำคำศัพท์ (Vocabulary for giving instruction) และ การให้คำแนะนำ Can / Could to make imperative form • การบอกทิศทาง (Giving directions) และ วลีที่ใช้ประโยชน์ (Useful phrases) • เมื่อใดที่ใช้กฎ (Giving rules: When to give rules ?) และ (Giving rules: Must/Have to) • Don't have to (Giving rules: Must not/Don’t have to) • Should กับ Must (Giving advice: Should vs Must) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 9: Showing places of interest • Introduction • การฝึกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (Helpful tips: Practice tours) และการให้ความสนใจ (Useful phrases: Pay attention !) • วลีที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประวัติสาสตร์ (Useful Phrases: History)
22 • เทคนิคการใช้ Interest (Useful tips: maintaining interest) • คำคุณศัพท์ (Adjective) • กิจกรรม (Activity) • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน บทที่ 10: Simple Sentence Structure • Introduction • key Grammatical words • Subject + Verb + Relationship • Subject + Verb + Objective • Subject + Verb + Adjective • Putting two verbs together • คำถามท้ายบทเรียน • การบ้าน: อภิปรายบทเรียน วัดผลประมวลความรู้ • แบบทดสอบหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ • แบบสอบถามความพึงพอใจผู้เรียนรายวิชา สตาร์ทอังกฤษ (ENGLISH START UP) ขั้นตอนดำเนินการพัฒนาตนเอง รายงานการพัฒนานี้ เป็นการพัฒนาแบบระบบเปิด โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษา ระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course โดยผู้พัฒนาได้ ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษาหลักสูตรและเนื้อหาการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หลักสูตรครุศา สตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และเลือกเนื้อหาให้ตรงตามที่กำหนดใน หลักสูตร 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ด้านการพูดเพื่อการสื่อสาร และมีการเลือก กิจกรรมการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียนในระดับอุดมศึกษา 3. ศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการ เรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course แบบทดสอบ เพื่อวัดทักษะการพูด
23 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เกณฑ์การประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร โดยได้รับ ประกาศนียบัตรอิเล็คทรอนิกส์ เมื่อผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชา รายวิชาสตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) และได้ผลการประเมินเกิน 60% 4. ศึกษาบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course เป็นเวลา 30 ชั่วโมง (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 10 ชั่วโมง 30 นาที) โดยจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการเรียนรู้ต่อครั้ง : 4 ชั่วโมง 5. ดำเนินการศึกษาบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course ตามแผนการจัดการเรียนรู้ของบทเรียนออนไลน์ และ บันทึกเนื้อหาในระหว่างเรียน 6. ทดสอบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังการเรียนเสร็จสิ้น 7. ผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชา รายวิชาสตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) และได้ผล การประเมินเกิน 60% 8. สรุปการศึกษาเพื่อพัฒนา รายงานผล อภิปรายผล การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้พัฒนาได้ดำเนินการศึกษาบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอด ชีวิต Thailand Massive Open Online Course และเก็บรวบรวม ข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้ 1. การดำเนินการพัฒนา ผู้พัฒนาได้ดำเนินการศึกษาตามแผนการการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษา ระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course รวมเวลา 30 ชั่วโมง ตามระยะเวลาของแผนการเรียนรู้โดยศึกษาเพื่อพัฒนาจำนวน 4 ชั่วโมง/ครั้ง ระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม 2566 ถึง วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามระเบียบโครงสร้างการศึกษารายวิชา ครุนิพนธ์ Individual Development Plan คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 2. แบบทดสอบก่อนเรียน การทดสอบเพื่อวัดความรู้ในเรื่องทักษะด้านภาษาอังกฤษว่ามีมากน้อยแค่ไหนก่อนการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
24 ตารางที่ 1 ดำเนินการพัฒนาตนเองตามแผนการการเรียนรู้ ครั้งที่ วัน เดือน ปี เรื่อง เวลา (ชั่วโมง 1 19 มกราคม 2566 Introduction 4 2 21 มกราคม 2566 Pronunciation Level 1 , Pronunciation Level 2 4 3 23 มกราคม 2566 Thank you and farewells 4 4 27 มกราคม 2566 Questions ,Constructing, Answering 4 5 30 มกราคม 2566 Making introductions , welcoming guests, 4 Making small talk 6 4 กุมภาพันธ์ 2566 Asking for Reperts , Giving instructions , 4 Direction and rules 7 9 กุมภาพันธ์ 2566 Showing places of interest 4 8 13 กุมภาพันธ์ 2566 Simple Sentence Strucjure 2 รวม 30 ชั่วโมง 2. ทดสอบหลังเรียน หลังจากการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามแผนการ เรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course ครบจำนวน 30 ชั่วโมงแล้ว ผู้พัฒนาทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบ ความสามารถรวมทั้งหมด 10 บท และตรวจสอบคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนของผู้พัฒนาไป วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อ เปรียบเทียบผลการทดสอบหลังเรียนว่าผ่านตามเกณฑ์การประเมิน รายวิชา สตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) และได้ผลการประเมินเกิน 60% หรือไม่ 3. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบคะแนนการพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ การ ผ่าน ร้อยละ 60 ของบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course
25 บทที่ 4 ผลการดำเนินการ การพัฒนาครั้งนี้เป็นการศึกษาความรู้ความเข้าใจเพื่อพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร โดยใช้บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course ของ นายภานุพงษ์ ช่วยพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรครุศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ทักษะที่เป็นฐานรากของการการสื่อสารภาษาอังกฤษเบื้องต้นและนำหลักการสื่อสารของภาษาอังกฤษ เบื้องต้นไปใช้ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพครูซึ่งผู้พัฒนาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้น และนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการเสนอ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการ พัฒนา ดังนี้ การเสนอผลการดำเนินการ การเสนอผลการดำเนินการพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ผู้พัฒนา เสนอผลการดำเนินการพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ผลการเพื่อพัฒนาทักษะที่เป็นฐานรากของการการสื่อสารภาษาอังกฤษเบื้องต้นและนำ หลักการสื่อสารของภาษาอังกฤษเบื้องต้นไปใช้ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพครูของ นายภานุพงษ์ ช่วยพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จากตารางที่ 1 แสดงการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เพื่อพัฒนาตนเองทักษะด้าน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอด ชีวิต Thailand Massive Open Online Course ผลการประเมินคะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ดังนี้ 1. Introduction 2. Pronunciation Level 1 3. Pronunciation Level 2 4. Thank you and farewells 5. Questions ,Constructing, Answering 6. Making introductions , welcoming guests, Making small talk
26 7. Asking for Reperts 8. Giving instructions , Direction and rules 9. Showing places of interest 10. Simple Sentence Strucjure โดยมีค่าเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 90 และเมื่อนำไปเปรียบเทียบ ผลการทดสอบหลังเรียนว่าผ่านตามเกณฑ์การประเมิน รายวิชาสตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) และได้ผลการประเมินเกิน 60% หรือไม่ พบว่าผลการทดสอบแบบทดสอบหลังเรียนคือ ร้อยละ 75 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามโครงสร้างของบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการ เรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course และได้รับประกาศนียบัตร อิเล็คทรอนิกส์ รายวิชาสตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) จากบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษา ระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course ซึ่งเป็นบทเรียนที่ ได้รับการพัฒนาจากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
27 บทที่ 5 การอภิปรายผลและบทสรุป หลังจากการได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ผ่าน บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course ซึ่งได้เรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษด้านต่าง ๆ ที่เน้นเนื้อหาที่สอดคล้องกับทั้งความ ต้องการและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน โดยจะเน้นที่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการฝึก ทักษะที่เป็นฐานรากของการการสื่อสารภาษาอังกฤษ เช่น หลักการอ่านออกเสียงคำ ประโยค ข้อความสั้น ๆ ได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน หลักการในการสร้างประโยคภาษาอังกฤษอย่างง่ายใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม ฯลฯ การตอบคำถามหรือการตอบรับและการ ปฏิเสธ การอ่านบทสนทนา การใช้น้ำเสียงหนักเบา (stress)การออกเสีงควบกล้ำที่ถูกต้อง ฯลฯ ผนวกกับความต้องการของมาตรฐานวิชาชีพครูในเรื่องที่ตนต้องการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละชุมชน แต่ละพื้นที่ ฯลฯ อันจะเป็นการนำไปสู่ความตั้งใจ ความเชื่อมั่น และความสามารถใน การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารตามที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อระบบการศึกษาไทยได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยที่เราสามารถเข้าใจหลักการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น การ นำหลักการสื่อสารของภาษาอังกฤษเบื้องต้นไปใช้ประโยชน์ตามที่สังคมเองต้องการได้ เช่น นำไปใช้ใน การประกอบอาชีพทั้งของตนเองและสังคม อีกทั้งยังเกิดเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ เล็งเห็นประโยชน์ และคุณค่าของภาษาอังกฤษในการ ติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษในการ ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันและใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาทั้งต่อตนเองและนักเรียน และยังเป็น การนำหลักการ ความรู้ ทักษะและประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์ ต่อ ยอดให้กับชุมชนรวมถึงขยายผลให้กับคนในสังคมและบุคคลอื่น ๆ ได้เป็นวงกว้าง ดังนั้นการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารจึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อการ เป็นครูในอนาคตแม้ว่าการศึกษาในบ้านเราจะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคสมัย มาตลอด แต่ถึงกระนั้นปัญหาหลากหลายก็ยังกลายเป็นจุดบกพร่องทำให้ระบบการศึกษาอ่อนแอ โดยเฉพาะทักษะด้านภาษาอังกฤษทั้งของนักเรียนและครูผู้สอน ส่งผลถึงระดับมาตรฐาน และเป็น ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ ที่จะต้องทำการปฏิรูปในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร, วิธีการ เรียนการสอน, ตำราเรียนในแต่ละระดับชั้น รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอน สิ่งเหล่านี้คือ ทางออกที่จะช่วยลดปัญหาทักษะด้านภาษาอังกฤษที่เกิดขึ้นกับวงการศึกษาไทยที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ อย่างหนักมาโดยตลอด ซึ่งจะเห็นได้ว่านักศึกษาครูในปัจจุบันที่เข้าศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2562 จำเป็นต้อง เข้ารับการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและหนึ่งในนั้นคือทักษะด้านภาษาอังกฤษที่ นักศึกษาครูจำเป็นต้องทดสอบให้ผ่านตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพครู เพื่อเป็นการพัฒนา บุคคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมสำหรับการเป็นครูที่มีความรู้ในทุกศาสตร์และสามารถพัฒนา นักเรียนให้มีความรู้ความสามารถทัดเทียมนานาประเทศได้อย่างภาคภูมิใจ
28 ข้อจำกัดในการพัฒนา ระยะเวลาในการพัฒนาตนเองและความกลัว เจตคติที่มีต่อภาษาอังกฤษที่เราคิดว่ายากและ ไม่สามารถทำได้ อีกทั้งยังเป็นการจำกัดความสามารถของตนเองทำให้เป็นปัญหาและข้อจำกัดในการ พัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษ อีกทั้งภาระงานด้านกิจกรรมและการเรียนในรายวิชาอื่น ๆ ที่ จำเป็นต้องส่งในส่วนของภาระงานที่ไล่เลี่ยกัน ข้อเสนอแนะ การศึกษาในครั้งนี้ทำให้พบว่า ยังขาดองค์ประกอบในการพัฒนาตนเอง ขาดวิธีการพัฒนา ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ นั่นคือ ขาดการฝึกฝนที่เพียงพอตามหลัก ภาษาศาสตร์และกลยุทธ์การ เรียนรู้ทักษะการพูดภาษาต่างประเทศ ดังนั้น ในระดับบุคคล จึงขอ เสนอแนวทางในการพัฒนาตนเอง ดังนี้ 1. การเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม จะก่อให้เกิดการใช้งานได้จริง ในการทำงาน การเขียน การ ทำแบบทดสอบ การสนทนากับครูและเพื่อน เน้นการเลือกเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน และเน้นการ พูดเป็นสำคัญ การเรียนกับครูต่างชาติจะทำให้การพูดเป็นธรรมชาติ 2. ฝึกการฟังภาษาอังกฤษจากสื่อต่าง ๆ เนื่องจากการฟัง เป็นการฝึกที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะต้องใช้สติและสมาธิสูง จะสามารถจดจําได้ดีจะเกิดความคิดสงสัยใน คำศัพท์เพื่อค้นหา ความหมายจากการฟัง ทำให้จดจํา และนําไปใช้ในการทำงานได้จริง เช่น ฟังเพลง หรือจากการดู ภาพยนตร์โดยฟังจาก Sound Track เป็นต้น 3. ฝึกการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ เนื่องจากการอ่านเป็นการฝึก และพัฒนา ความรู้ ภาษาอังกฤษในระยะยาวได้เป็นอย่างดีเลือกอ่านหนังสือได้ตามเรื่องที่สนใจ จะเป็น แรงผลักดันให้ อยากอ่าน อยากศึกษา หลีกเลี่ยงหนังสือที่เป็นวิชาการมากเกินไป เพราะหนังสือเหล่านี้มีเนื้อหาที่ หนัก เขียนโดยนักวิชาการ และผู้มีความรู้สูง อาจจะทำให้เข้าใจยาก ควรเลือกอ่านหนังสือที่เขียนโดย บุคคลทั่วไปที่ต้องการแบ่งปัน ความรู้และประสบการณ์ของตนเอง บุคคลเหล่านี้จะเขียน หนังสือที่ อ่านเข้าใจง่าย อ่านง่าย เข้าถึงง่าย ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาได้เร็ว และไม่เครียดกับ ภาษา หนังสือวิชาการที่ซับซ้อน ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญด้านการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจาก ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีความจําเป็นภาษาหนึ่งที่ต้องใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษาทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศ การทำธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การติดตามข่าวสารทางสถานีวิทยุสถานีโทรทัศน์และในการติดตามข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์จะเห็นได้ ว่าข้อมูลส่วนมากไม่ใช่เพียงแค่ ภาษาไทยและยังต้องศึกษาข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ หากต้องการ พัฒนาประเทศให้พัฒนามากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ประเทศชาติต้องมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ให้ ความสำคัญเท่าเทียมกัน วางระบบการศึกษาอย่าง เหมาะสม โดยแทรกระบบการเรียนรู้และพัฒนา ทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ล้วนแล้วมีความสำคัญใน
29 การใช้เพื่อการสื่อสาร แต่การฟังและการพูดเป็นทักษะที่ต้องใช้มากที่สุด ในยุคปัจจุบันจะทำอย่างไรที่ จะให้บัณฑิตสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้หลังจากสำเร็จการศึกษา หรือ สื่อสาร ได้ขณะที่กําลัง ศึกษาอยู่การที่จะพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้กับบัณฑิตให้มีความสามารถเท่าเทียมกันก็ไม่ใช่เรื่องยาก และ ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และหน่วยงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดขึ้น ก็ต้องอาศัยวิธีการในการเสริมสร้าง เช่น การเสริมสร้างแรงจูงใจ การสร้างเจต คติเชิงบวก การสร้างความมั่นใจ การสร้างแบบการเรียนรู้และ การเพิ่มความรู้และ พัฒนาทักษะจาก แหล่งข้อมูลต่างๆ เป็นองค์ประกอบที่นํามาส่งเสริมและสนับสนุนให้บัณฑิตเพื่อที่จะ พัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีแต่ก็อาจจะใช้ได้กับทุกคนและไม่ได้กับทุกคน เพราะ อาจจะมีปัจจัยที่มีอิทธิหรือเข้ามา ช่วยในการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ประกอบด้วย ๑) ครูหรือ อาจารย์เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทักษะ ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีเข้าใจใน บริบทของตัวบัณฑิต และปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์ไปตามสถานการณ์เพื่อ นําไปสู่การพัฒนาทักษะ ด้านภาษา ๒) ตัวบัณฑิตเอง ต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษดีอยู่แล้ว มีเจตคติที่ ดีต่อการเรียน ภาษาอังกฤษ มีนิสัยเป็นคนชอบเรียน และ มีกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษเป็นของตัวเอง ๓) สภาพ สิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ก็เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในพัฒนาทักษะด้านภาษา คือ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย เช่น ห้องเรียน สภาพอากาศรอบๆ และจำนวนบัณฑิตหรือผู้เรียนไม่มาก เกินไป และ ครอบครัว คือ สร้างแรงกระตุ้น สร้างแรงจูงใจ ให้กําลังใจ ช่วยสอนภาษา สนับสนุนและ ส่งเสริมด้านการเรียนภาษาอยู่ ตลอด และให้รางวัลในบางโอกาสเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบและ นําไปสู่การพัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษได้อย่างดีในอนาคต บทสรุปผลการพัฒนา สรุปผลการพัฒนา ผลการพัฒนาตนเองทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ บทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thailand Massive Open Online Course พบว่าผลการประเมินแบบทดสอบหลังเรียนคือ ร้อยละ 75 ซึ่งผ่านเกณฑ์การ ประเมินร้อยละ 60 ตามโครงสร้างของบทเรียนออนไลน์ผ่านการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอด ชีวิต Thailand Massive Open Online Course และได้รับประกาศนียบัตรอิเล็คทรอนิกส์ รายวิชาสตาร์ทอัพอังกฤษ (English Start Up) อีกทั้งความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสารสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
30 บรรณานุกรม ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณภัทร วุฒิวงศา. กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจ: การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปีที่ 34. ฉบับที่ 1. (มกราคม – มิถุนายน 2557) : 89 – 97. นาถธิชา สีทองเพีย. (2562). การพัฒนาการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการละคร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์, กรุงเทพฯ. นันทวรรณ แก้วโชติ. (2560). เอกสารการจัดการเรียนรู้(Learning Management). สงขลา: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา. รสรินทร์ปิ่นแก้ว และ ภานุวัฒน์ศิรินุพงศ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ในชีวิต จริง 1 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชาอุตสาหกรรม วิทยาลัย อาชีวศึกษาใน เขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 18. ฉบับที่ 1. (มกราคม – มิถุนายน 2560) : 83 – 93 วรางคณา เค้าอ้น. (2560).การพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. อิงอร แสนทวีสุข. (2560). พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับชั้น ประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2/1 สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยการใช้ บทบาทสมมติ. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์, กรุงเทพฯ. อุษณา ทิพยไกรศร. (2562). ภาษาอังกฤษฟัง-พูด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์ อรญา บํารุงกิจ. (2558). กลวิธีการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย:กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ :มหาวิทยาลัยบูรพา.
31 ภาคผนวก ก ผลการดำเนินการพัฒนา
g
32 g
33 ภาคผนวก ข การดำเนินการศึกษาและพัฒนา
34 การปฐมนิเทศบทเรียนออนไลน์
35 ศึกษาโครงสร้างเนื้อหารายวิชา สตาร์ทอังกฤษ (ENGLISH START UP)
36 แนะนำตัวและทำความรู้จักเพื่อนร่วมเรียน
37 แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
38 Contents and Keywords
39 Why must we learn English? Part 1
40 Why must we learn English? Part 2
41
42
43