The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-03-27 09:52:52

ภูมิศาสตร์

123

ภาคเหนือ

NORTHERN THAILAND

คำนำ

สารบัญ

ภาคเหนือ

ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มี
ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อ
เนื่องจากทิวเขาชานในประเทศพม่าและประเทศลาว

ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา การ
ที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่
ตอนบน ทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือ
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด

สแกนคิวอาร์โค้ดหรือลิงค์
เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับภาคเหนือฉบับเบื้องต้นนะ
คะ
https://m.youtube.com/watch?
v=WdobtzcwJXE&

ที่ตั้งของภาคเหนือ

ภูมิประเทศของภาคเหนือประกอบด้วยเทือกเขา
น้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีที่สำคัญของประเทศ
หลายจุด เช่น จุดสูงสุดของประเทศที่ดอยอินทนนท์
จังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือยังเป็นที่แรกของประเทศที่
แม่น้ำโขงไหลผ่าน อยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ภาคเหนือมีพื้นที่ทั้งหมด 93,690.85 ตร.กม.
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของพื้นที่บนผิวโลก

เขตแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคอื่น
ๆ ของภาคเหนือ เรียงตามเข็มนาฬิกา ได้แก่ ทิศตะวัน
ตกและทิศเหนือติดกับประเทศพม่า ทิศเหนือและทิศ
ตะวันออกติดกับประเทศลาว ทิศใต้ติดกับภาคกลาง
ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีพื้นที่ติดกับภาคตะวันตก
บริเวณจังหวัดตาก

การแบ่งเขตการปกครอง

จังหวัดในภาคเหนือ กำหนดโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่ง
ชาติเมื่อ พ.ศ. 2521 และประกาศใช้โดยราชบัณฑิตยสถาน แบ่งตาม
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประเพณี สังคม วัฒนธรรมและภาษา
เป็นการแบ่งระบบ 6 ภูมิภาค ประกอบ 9 จังหวัด ตามลักษณะภูมิภาค
ตามธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในเขตภูเขาและยังมีหน่วยงานที่เคยจัดแบ่ง
ภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อกำหนดแผนบริหารด้านเศรษฐกิจและ
สังคม เป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ คณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคเหนือมีทั้งหมด
17 จังหวัด

จังหวัดทั้ง 9 ของภาคเหนือในการแบ่งเช่นนี้อาจเรียกว่า ภาค
เหนือตอนบน ซึ่งส่วนใหญ่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนามา
ก่อน และมีภาษาถิ่นเป็นคำเมือง ส่วน 8 จังหวัดที่เหลืออาจเรียกว่า
ภาคเหนือตอนล่าง มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัด
นครสวรรค์ ปัจจุบันการแบ่งแบบนี้ไม่นิยมใช้อ้างอิง
ในเอกสารทางราชการและบทความวิชาการอื่น ๆ เนื่องจาก
ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้จังหวัดเหล่านี้ เป็นจังหวัดในเขตภาค
กลาง ยกเว้นจังหวัดตากอยู่ในภาคตะวันตก

จังหวัดในภาคเหนือที่แบ่งตามราชบัณฑิตยสถานมี 9 จังหวัด
ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน
ลำปาง ลำพูน และจังหวัดอุตรดิตถ์

ภูมิประเทศ

ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มี
ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อ
เนื่องจากทิวเขาชานในประเทศพม่าและประเทศลาว และมีที่
สำคัญของประเทศหลายจุด เช่น จุดสูงสุดของประเทศที่ดอย
อินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของ
ประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน อยู่ที่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

เขตแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคอื่น ๆ ของ
ภาคเหนือ เรียงตามเข็มนาฬิกา ได้แก่ ทิศตะวันตกและทิศ
เหนือติดกับประเทศพม่า ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับ
ประเทศลาว ทิศใต้ติดกับภาคกลาง พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
และ สุโขทัย ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีพื้นที่ติดกับภาคตะวัน
ตก บริเวณจังหวัดตาก

ภูมิอากาศ
ภาคเหนือมีลักษณะภูมิอากาศจัดอยู่ในเขตโซนร้อน แบบฝน
เมืองร้อนเฉพาะฤดูกาลภูมิอากาศของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นแบบสะ
วันนา (Aw) คือ อากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ย
ประจำปีอยู่ระหว่าง 24 -27 องศาเซลเซียส มีฤดู 3 ฤดู คือ ฤดูฝน
(พ.ค.- ต.ค.)
ฤดูหนาว (ต.ค. - ก.พ.) ฤดูร้อน (ก.พ. - พ.ค.)

จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด คือ เชียงราย จังหวัดที่มีอุณหภูมิ
สูงสุดคือ อุตรดิตถ์ จังหวัดที่มีสถิติฝนตกหนักคือ เชียงราย และมี
สถิติฝนตกน้อยที่สุดคือ ลำปาง

ภาคเหนือได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ชนิด คือ


1. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ไป

จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ และบางปีอาจเลยไปถึงกลางเดือน
มีนาคม จะพัดเอาความหนาวเย็นจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศไทยจัด
เป็นช่วงฤดูหนาวมีอากาศแห้งแล้ง
2. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมจนถึง
ปลายเดือนกันยายน พัดพาเอาความชื้นจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรจัด

เขป้็อนชม่วูงลฤดูปฝนระชากร

กลุ่มชาติพันธุ์

1.ตระกูลมอญ-เขมร หรือตระกูลออสโตรเอเชียติก
-ละว้า เรียกอีกชื่อว่า ลัวะ เป็นกลุ่มดั้งเดิมที่เคยอยู่

อาศัยในประเทศไทยก่อนยุคประวัติศาสตร์ เมื่อชนชาติไทย
หลั่งไหลเข้ามาอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ กลุ่มชนเหล่านี้
ก็ได้ถูกเบียดขับให้ถอยเข้าไปอยู่ตามเขตป่า เขตภูเขา ปัจจุบัน
ชาวไทยภูเขากลุ่มละว้าอยู่อาศัยในเขต จ.เชียงใหม่ เชียงราย
และแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้มีกระจายอยู่เล็กน้อยที่
จ.ลำปาง ตาก อุทัยธานี และสุพรรณบุรี

-ขมุ มีถิ่นฐานอยู่ในภาคเหนือของลาวและ
เวียดนาม รวมทั้งในภาคเหนือของไทย ปัจจุบันพบมาก
ที่ จ.เชียงรายและน่าน และกระจายอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ
ในจ.กาญจนบุรีและสุพรรณบุรี

-มลาบรี หรือยุมบรี คนไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผีต
องเหลือง เดิมเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ไม่เป็นที่ ไม่
ทำการเพาะปลูก เลี้ยงชีวิตด้วยการเก็บของป่า-ล่าสัตว์
ในประเทศไทยมีชนกลุ่มนี้อาศัยไม่มากพบที่ อ.ร้องกวาง
จ.แพร่ และพบว่าเริ่มอยู่กับที่แล้ว เพราะได้อิทธิพลการ
พัฒนาจากมิชชันนารี

-ถิ่น เป็นกลุ่มที่ชอบอพยพเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ
มีถิ่นฐานอยู่ในภาคเหนือของลาวติดต่อกับภาคเหนือ
ของไทย ในประเทศไทยชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่มากที่สุด
ใน จ.น่าน

2.ตระกูลทิเบต-พม่า

เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวไทยภูเขาที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย

-กะเหรี่ยง แบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆหลายกลุ่ม ได้แก่
กะเหรี่ยงสะกอ กะเหรี่ยงโป กะเหรี่ยงคะยา ดาราอั้ง และ
กะเหรี่ยงตองสู นอกจากนี้มีกะเหรี่ยงคะยัน มี
เอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ ผู้หญิงจะใส่ห่วงทองเหลือง
เป็นชั้นที่คอ ทำให้ดูคอยืดยาวขึ้น จนได้รับสมญานาม
ว่า กะเหรี่ยงคอยาว

ชนเผ่ากะเหรี่ยงในประเทศไทยอพยพจากพม่า เข้า
มาเป็นหลายระลอก เมื่อมีเหตุการณ์ไม่สงบในพม่า
ชนเผ่ากะเหรี่ยงกระจายอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก
ของไทยที่มีดินแดนติดต่อกับพม่า ตั้งแต่ จ.เชียงราย
ลงไปถึงประจวบคีรีขันธ์ จากข้อมูลของกองสงเคราะห์
ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ชาวเขา กรม
ประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ระบุว่าเมื่อ พ.ศ.2540 มีชาวไทยภูเขากลุ่มชนเผ่า
กะเหรี่ยงเป็นจำนวนกว่า 350,000 คนอาศัยอยู่ใน 15
จังหวัด โดยพื้นที่มีชนเผ่ากะเหรี่ยงอาศัยอยู่มาก ได้แก่
อ.อมก๋วยและ อ.แม่นแจ่ม จ.เชียงใหม่ อ.ท่าสองยาง
จ.ตาก อ.สังขละบุรี และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

2.ตระกูลทิเบต-พม่า (ต่อ)
-อาข่า หรือที่คนไทยเรียกว่า อีก้อ มีถิ่นฐาน

เดิมอยู่ทางตอนใต้ของจีน ต่อเนื่องกับตอน
เหนือของพม่า ตอนเหนือของลาว และตอน
เหนือของไทย ในประเทศไทยพบชนเผ่าอาข่าอาศัย
อยู่มากใน จ.เชียงรายและเชียงใหม่ โดยเฉพาะที่
อ.แม่ฟ้าแม่ฟ้าหลวงและ อ.แม่สาย จ.เชียงราย

-ลิซูหรือลีซอ มีถิ่นที่อยู่เดิมที่จีนตอน
ใต้ ต่อเนื่องกับพม่า ลาว และไทย มีพบมาก
ที่สุดที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน
โดยเฉพาะที่ อ.เชียงดาว และ อ.เชียงแหง
จ.เชียงใหม่ และ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

-มูเซอหรือลาฮู ชื่อมูเซอเป็นชื่อที่คนไทย
ใช้เรียกชนกลุ่มนี้ ในขณะที่คนชนเผ่านี้เรียก
ตนเองว่า ลาฮู มีถิ่นบานเดิมอยู่ในจีนตอน
ใต้และทิเบต ต่อมาอพยพเข้ามาอยู่ในพม่าและ
ภาคเหนือของไทย พบมากใน จ.เชียงใหม่
เชียงราย แม่ฮ่องสอน และตาก โดยมีมาก
ที่สุดที่ อ.แม่อายและ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
อ.แม่สรวย และ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

3.ตระกูลจีน-ทิเบต
ชนในกลุ่มนี้เดิมไม่ได้มีถิ่นฐานในประเทศไทย แต่ได้
อพยพเข้ามา เมื่อประมาณ 100 กว่าปีมานี้เอง
ประกอบด้วย

-ม้ง หรือแม้ว ชนกลุ่มนี้เริ่มอพยพเข้าใน
ไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปัจจุบันมี
จำนวนมากเป็นอันดับที่สองรองจากชนเผ่า
กะเหรี่ยง กระจายอยู่ใน 13จังหวัดในภาคเหนือ
ภาคตะวันตกและภาคกลางตอนบน บริเวณที่
ชนเผ่าม้งตั้งถิ่นฐานอยู่กันมากได้แก่ องพบพระ
จ.ตากและ อ.เวียงแก่ง จ.เชียงราย

-เมี่ยนหรือเย้า ชนกลุ่มนี้มี
ถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของ
ประเทศจีน ต่อมาได้อพยพมาทาง
ตอนเหนือของลาวและไทย กลุ่ม
แรกที่เข้ามาในไทยเมื่อ 150 ปีมาแล้ว
ปัจจุบันมีชาวเย้ากระจายอยู่ใน 9
จังหวัดในภาคเหนือ และภาคกลาง
ตอนบน โดยเฉพาะที่ อ.เมือง
เชียงราย จ.เชียงราย อ.เมืองน่าน
จ.น่านและ อ.ปง จ.พะเยา

เศรษฐกิจของภาคเหนือ

สถานการณ์เศรษฐกิจภาคเหนือ 2564
เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ส่งสัญญาณปรับตัวดี

ขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะจากด้านการลงทุน
ภาคเอกชน รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่
เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการของภาครัฐ และสถานการณ์การ
แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เริ่มคลี่คลายลง

ภาคบริการเป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจหลัก
ภาคเหนือมีขนาดเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 7.7 ของ GDP ทั้ง

ประเทศ โดยมีสัดส่วนการพึ่งพาภาคบริการสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ
54.1 รองลงมาเป็นภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อย
ละ 26.2 และ 19.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ ภาคเหนือมีกำลัง
แรงงาน คิดเป็นร้อยละ 16.4 ของกำลังแรงงานรวมทั้งประเทศ ซึ่ง
ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภาคบริการ และการเกษตรเป็นหลัก โดยคิด
เป็นร้อยละ 45.9 และ 43.8 ขณะที่แรงงานในภาคอุตสาหกรรมมี
เพียงร้อยละ 10.2 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด

เศรษฐกิจของภาคเหนือ

ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในอนาคตสูงขึ้น
เศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 60.7 สะท้อนถึงความเชื่อมั่น

อนาคตเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก
ภาคอุตสาหกรรมและภาคการลงทุน เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการช่วย
เหลือภาคอุตสาหกรรมด้านเงินทุนและการพัฒนาการผลิต ซึ่งช่วย
ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ประกอบกับเชื่อว่าแนวโน้ม
ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินค้า
อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจภาคเหนือส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากด้านการลงทุน
ภาคเอกชน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยในเดือน
กุมภาพันธ์ 2564 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน
ขยายตัวได้ดี สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจด
ทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ
9.4 และ 19.5 ตามลำดับ จากเดือนมกราคม 2564 ที่อยู่ที่ร้อยละ
7.9 และ -1.3 ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่ม
ประกอบกิจการกลับมาขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 15.3 โดยเป็นการลงทุน
ของโรงงานผลิตแอสฟัลติกคอนกรีต ในจังหวัดเชียงราย เป็น
สำคัญ

เศรษฐกิจของภาคเหนือ

ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในอนาคตสูงขึ้น
สำหรับ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน

ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์ จด
ทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้า
ชะลอตัวร้อยละ -8.6 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณา ในด้าน
ความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น
เล็กน้อย มาอยู่ที่ระดับ 51.0 จากเดือนมกราคม 2564 ที่
อยู่ที่ระดับ 49.6 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
ลดลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ระดับ 61.7 จากเดิมในเดือน
มกราคม 2564 ที่อยู่ที่ระดับ 62.6

การท่องเที่ยวของภาคเหนือ

ภาคเหนือเป็นดินแดนที่ร่ำรวยด้วยภูมิประเทศงดงาม ล้อม
ด้วยขุนเขาสลับซับซ้อนอุดมด้วยผืนป่างดงามด้วยประเพณี
วัฒนธรรม และอบอุ่นด้วยวิถีชีวิตเรียบง่ายเปี่ยมน้ำใจ

ภาคเหนือท่ามกลางขุนเขาและสายหมอกคือดินแดนในฝันที่
ทุกคนต้องมาเยือน ภาคเหนือของประเทศไทย มีประวัติศาสตร์มา
นานกว่า 700 ปี อาณาจักรล้านนา ลุ่มรวยทางศิลปะ วัฒนธรรม
รวมไปถึงวิถีชีวิตผู้คนในภาคเหนือล้วนน่าสนใจเป็นอย่างมากเส้น
ทางในเวปไซต์นี้จะนำ พาท่านไปสัมผัสความงามแห่งเมืองเหนือ ใน
หลายมิติ ด้านธรรมชาติอันงดงามที่ทำให้คุณเข้าถึงความอลังการ
แห่งขุนเขาไม่ว่าจะเป็น ดอยอ่างขาง คลื่นแห่งภูเขาที่แม่ฮ่องสอน-
ขุนยวม หรือจะเป็นทะเลหมอกบนยอดเขาค้อ ภูหินร่องกล้า, ถ้าจะ
ให้ดีต้องไปผาตั้ง-ภูชี้ฟ้าและอุทยานแห่งชาติแม่เมย ส่วนท่านใดที่
ชอบอาบน้ำแร่แช่น้ำร้อน พอลงจากดอยอ่างขางก็ไปบ่อน้ำร้อนฝาง
หรือจะไปอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปางก็สนุกไม่น้อย

สแกนคิวอาร์โค้ดหรือลิงค์
เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในภาค
เหนือนะคะ
https://www.youtube.com/watch?
v=jSwOmnR24_E

การท่องเที่ยวของภาคเหนือ

สำหรับวิถีชีวิตผู้คนเป็นอีกสิ่งที่ท่านจะได้มาพบเมื่อเข้าชม
ไร่ชาที่ดอยวารีหรือดอยแม่สลองถ้าอยากรู้จักชาวไทลื้อก็
ต้องไปที่จังหวัด น่าน หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัว ถ้าอยากได้
งานหัตกรรมทำมือของชาวเขาที่ตลาดนัดชาวเขาดอยแม่สล
องจังหวัดเชียงราย ดอยมูเซอจังหวัดตากมีให้เลือกอย่างจุใจ
ถ้าท่านชอบเที่ยวชมโบราณสถาน ย้อนอดีตอันรุ่งเรืองของ
อาณาจักรล้านนาต้องไม่พลาดชมวัดในตัวเมืองน่าน
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชชนาลัยที่จังหวัดสุโขทัย และ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

ความงดงามอลังการของภาคเหนือเหล่านี้คือ 14 เส้น
ทางที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้คนไทยท่อง
เที่ยวกันอย่างครึกครื้นสบายๆ กับธรรมชาติอันงดงามของไทย

การขนส่งของภาคเหนือ

การขนส่งทางอากาศ

-ท่าอากาศยานเชียงใหม่
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ทางตะวันตกเฉียงใต้
ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 4 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยาน
นานาชาติ 1 ในจำนวนทั้งหมด 6 แห่ง บริหารงานโดยบริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด โดยมีผู้อำนวยการท่าอากาศยาน
เชียงใหม่ดูแล เป็นท่าอากาศยานที่สำคัญ เป็นศูนย์กลาง
ทางการบินของภาคเหนือ

-ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ห่างจากถนนพหลโยธิน
ทางทิศตะวันออกประมาณ 2.6 กิโลเมตร และห่างจากตัว
เมืองเชียงราย ประมาณ 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ
3,042 ไร่

-ท่าอากาศยานน่านนคร
อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศ
เหนือประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ใช้ร่วมกับกองทัพอากาศ
ทั้งหมด 1069 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา โดยใช้ในราชการท่า
อากาศยานน่านนคร 392 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา เป็นท่า
อากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม

-ท่าอากาศยานลำปาง
อ.เมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีอาคารผู้โดยสารหนึ่งหลัง
รองรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 หรือ เครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่า
นั้น

การขนส่งของภาคเหนือ

การขนส่งทางอากาศ
-ท่าอากาศยานแพร่
อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออก
เฉียงใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่า
อากาศยาน กระทรวงคมนาคม
-ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน
อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นท่าอากาศยานในสังกัด
กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม และได้ประกาศเป็นท่า
อากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542 มีอาคารผู้
โดยสารอยู่ 1 หลัง รองรับผู้โดยสารได้ 840,000 คนต่อปี
รองรับเครื่องบินแบบ เอทีอาร์ 72 ได้ 4 ลำ ในปี พ.ศ. 2563 มี
สถิติจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการ จำนวน 17,768 คน
-ท่าอากาศยานปาย
อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ห่างตัวอำเภอประมาณ 1
กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวง
คมนาคม พัฒนาขึ้นจากความคิดริเริ่มของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เพื่อส่งเสริมศักยภาพธุรกิจการท่องเที่ยวของปาย รันเวย์เก่าที่ถูก
สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองถูกเก็บรักษาไว้ใช้งาน
เป็นลานบินชั่วคราวสำหรับลำเลียงเสบียงอาหารทหารส่วน
กลาง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เข้ามาควบคุม
ดูแล

การขนส่งของภาคเหนือ

การขนส่งทางบก
-ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1
(ลำปาง–งาว–พะเยา–เชียงราย–แม่สาย)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายอนุสาวรีย์หลักสี่–กลาง
สะพานแม่น้ำสาย เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และ
เป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย สาย
ทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของ
ประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย
จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศพม่า รวมระยะทางยาว
994.749 กิโลเมตร
-ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11
(อุตรดิตถ์–เด่นชัย–ลำปาง–ลำพูน–เชียงใหม่)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี–เชียงใหม่
เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานแนวเหนือ–ใต้ เชื่อมการ
คมนาคมระหว่างจังหวัดในภาคกลางกับจังหวัดในภาคเหนือ
ของประเทศไทย มีระยะทาง 545.779 กิโลเมตร ปลายทางทิศ
ใต้ของทางหลวงสายนี้อยู่ที่ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี ที่
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ในอำเภออินทร์บุรี จังหวัด
สิงห์บุรี ส่วนปลายทางทิศเหนืออยู่ที่ถนนสุเทพ ในอำเภอ
เมือง จังหวัดเชียงใหม่
-ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101
(สุโขทัย–เด่นชัย–แพร่–น่าน–ด่านพรมแดน)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 สายกำแพงเพชร–จุดผ่านแดน
ถาวรห้วยโก๋น/น้ำเงิน เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย
13

การขนส่งของภาคเหนือ

-ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103 (งาว–ร้องกวาง)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103 สายร้องกวาง–งาว หรือ ถนนวัง
ซ้าย หรือ สายแพร่–ลำปาง เป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 2 ช่อง
จราจร ไป-กลับ และขนาด 4 ช่องจราจรในบางช่วง เริ่มต้นจาก
ทางหลวงหมายเลข 101 ที่บ้านร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัด
แพร่ จากนั้นมีทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1154 แยกขวามือไปยัง
อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และเป็นเส้นทางบนภูเขาผ่าน อำเภองาว
จังหวัดลำปาง จนบรรจบกับถนนพหลโยธิน ที่อำเภองาว จังหวัด
ลำปาง ระยะทาง 64.345 กิโลเมตร

-ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (แม่สอด–แม่สะเรียง)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 สายแม่สอด–แม่สะเรียง เป็น
ถนนขนาด 4 ช่องจราจรในช่วงอำเภอแม่สอดถึงอำเภอแม่ระมาด
และ 2 ช่องจราจรในช่วงอำเภอแม่ระมาดถึงอำเภอแม่สะเรียง มี
ระยะทาง 230.497 กิโลเมตร มีเส้นทางเริ่มต้นที่อำเภอแม่สอด
จังหวัดตาก และสิ้นสุดที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เส้นทางจะขึ้นเขาสูงชันระหว่าง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก กับ
อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แนวเส้นทางส่วนใหญ่จะ
เลียบแม่น้ำเมย ซึ่งเป็นแนวชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเกิดความไม่สงบ
บ่อยครั้งรวมทั้งโจร กะเหรี่ยง เส้นทางนี้จึงไม่ค่อยได้ความนิยม
มากนัก

บรรณานุกรม

THANK
YOU


Click to View FlipBook Version