The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

shevitSomdul

shevitSomdul

๕๐ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

ไปหมด แลว้ วางไม่ได้ดว้ ย ไม่เหมอื นเดก็ ๆ พอเขา 
รวู้ า่ เขาโกรธเขาเกลยี ด เขาวางไดง้ า่ ย อาตมาเจอ 
เดก็ หลายคนทพ่ี อเขารวู้ า่ ตวั เองกำ� ลงั โกรธเกลยี ด 
เขาวางได้ทันที แต่เวลาผู้ใหญ่โกรธเกลียดใคร 
สักคน มักจะมีเหตุผลมาสนับสนุนความโกรธ 
ความเกลียดน้ัน เช่น เราต้องโกรธเขาเพราะว่า 
เขาเป็นคนไมด่ ี เปน็ คนเลว ตอ้ งสั่งสอนเขา กเ็ ลย 
โกรธนาน วางไมไ่ ด้เสยี ที

แต่ถ้าเรามีจิตที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา ความ 
โกรธความเกลียดก็ครองใจเราได้ยาก คนสมัยน ้ี
จำ� เปน็ จะตอ้ งใหค้ วามสำ� คญั กบั เรอื่ งการพฒั นาจติ  
การพัฒนาอารมณ์ เพ่ือเป็นก�ำลังให้กับความคิด 
ท่ีดีงาม ขณะเดียวกันก็สามารถจะทัดทานเหตุผล 
ท่ีเป็นอุบายของกิเลสได้ อย่าไปเชื่อเหตุผลทีเดียว 
นัก มีคนหน่ึงเขาพูดไว้ดีว่า “แม้แต่ผีห่าซาตาน 
มนั กม็ ีเหตผุ ลของมัน”

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๕๑

ถ้าเราอ่านพระไตรปิฎกโดยเฉพาะตอนที่ 
เรียกว่ามารสังยุต จะเห็นว่าอุบายอย่างหนึ่งของ 
มารในการขดั ขวางไมใ่ หพ้ ทุ ธบรษิ ทั ทง้ั  ๔ มคี วาม 
เพียรในการปฏิบัติธรรม ก็คือการใช้เหตุผลชักจูง 
ให้ท่านเลิกปฏิบัติหรือท�ำสิ่งที่ควรท�ำ บางทีมาร 
ถึงกับล่อหลอกเกล้ียกล่อมพระพุทธองค์ด้วยซ้�ำ 
ตั้งแต่สมัยท่ียังไม่ได้ตรัสรู้ธรรม เช่นมาบอก 
พระองค์ว่า “ท่านประพฤติเมถุนวิรัติและบูชาไฟ 
อย ู่ กไ็ ดช้ อ่ื วา่ สงั่ สมบญุ ไวม้ ากแลว้  ทา่ นจะบ�ำเพญ็  
เพยี รไปทำ� ไม” บางทกี ม็ าชกั ชวนใหพ้ ระองคเ์ สดจ็  
กลบั ไปครองราชสมบตั  ิ บางครงั้ กเ็ กลยี้ กลอ่ มภกิ ษณุ  ี
ผู้บ�ำเพ็ญเพียรว่าท่านควรมุ่งไปเกิดเป็นเทวดาใน 
สวรรคเ์ ถดิ  อยา่ มงุ่ นพิ พานเลย หรอื ไมก่ ล็ อ่ หลอก 
วา่ ทา่ นยงั สาวอย ู่ ควรไปมคี คู่ รองเรอื นบรโิ ภคกาม 
ก่อน ต่อเมื่อแก่แล้วจึงค่อยมาบวช เรียกว่าได ้
ประโยชน์ทั้งสองโลก คือได้เสพสุขทางโลกและ 
ได้ปฏิบัติธรรมในบั้นปลาย เหตุผลของมารล้วน 
นา่ ฟงั ทงั้ นนั้  แตถ่ า้ หากวา่ ไมม่ สี ต ิ ใจไมม่ พี ลงั  ไมม่  ี

๕๒ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

ความแนว่ แน ่ กส็ ามารถคลอ้ ยตามเหตผุ ลของมาร 
นั้นได้ มีตัวอย่างมากมายท่ีหลงเชื่อเหตุผลของ 
มาร เพราะฉะนน้ั เราอยา่ เชอ่ื เหตผุ ลไปเสยี ทกุ เรอ่ื ง 
พระพทุ ธองคส์ อนเรอ่ื งนไี้ วช้ ดั เจนในเรอื่ งกาลาม- 
สูตร เช่น “อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ หรืออย่า 
ปลงใจเช่ือด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล” แต ่
คนสมัยน้ีจะเช่ือเหตุผลมาก ศรัทธาในเหตุผลจน 
ไมเ่ หน็ ความสำ� คญั ของการพฒั นาอารมณ ์ ผลกค็ อื  
หลงเชื่อความคิดของตนหรือเหตุผลของกิเลสจน 
เข้ารกเขา้ พงไปกม็ าก

คิดเก่ง
แต่หยดุ คดิ ไม่ได้

คราวนข้ี อพดู ถงึ สมดลุ อกี อยา่ งหนงึ่ ทส่ี ำ� คญั  
เหมือนกัน และสืบเน่ืองมาจากท่ีอาตมาพูดเมื่อ 
สกั ครนู่ กี้ ค็ อื สมดลุ ระหวา่ ง “การคดิ เกง่ ” กบั  “การ 
วางความคดิ หรือหยุดความคิด” คนสมยั นค้ี ดิ เกง่  
มากแต่ว่าหยุดความคิดไม่ได้ หรือวางความคิด 
ไม่เป็น เหมือนกับคนที่เรียนผูกแต่ไม่ได้เรียนแก้ 
การคิดก็เหมือนกับการผูกเชือก คนที่คิดเก่งจะ 
เหมือนคนท่ีผูกเชือกผูกปมได้เก่งมากเลย แต่แก ้
เชอื กไมเ่ ปน็  คนทค่ี ดิ เกง่ แตว่ า่ ไมร่ จู้ กั วางความคดิ  
ก็เหมือนกับคนที่ปีนขึ้นต้นไม้แต่ว่าลงไม่ได้ ก็เลย 
ค้างอยู่บนยอดไม้ คนเดี๋ยวน้ีเป็นอย่างนั้นเยอะ 

ชี วิ ต ส ม ดุ ล

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๕๕

เช่น คิดมากจนนอนไม่หลับ จะหยุดคิดหรือวาง 
ความคดิ กไ็ มไ่ ด ้ หลายคนกนิ กค็ ดิ  อาบนำ้� กค็ ดิ  นงั่  
พักก็คิด คิดตลอดเวลาจนฟุ้งซ่าน อยากจะหยุด 
ก็หยุดไม่ได้ คนสมัยน้ีจึงมีความกังวลสูงมาก 
เพราะวา่ สมองคดิ ตลอดเวลา เวลาทำ� งานกค็ ดิ ถงึ  
ลูกท่ีบ้าน เป็นห่วงลูกมาก แต่พออยู่กับลูกที่บ้าน 
ก็กลับคิดถึงงาน เป็นห่วงงาน ก็เลยท�ำไม่ได้ด ี
สกั อยา่ ง หลายคนตนื่ ขน้ึ มากค็ ดิ ทนั ท ี ถฟู นั อาบนำ�้  
กค็ ิดว่าจะทำ� อะไรกนิ วันน้ ี ระหวา่ งที่ทำ� ครวั  ก็นึก 
ไปถงึ การลา้ งจาน ระหวา่ งทลี่ า้ งจานกเ็ ปน็ หว่ งเรอ่ื ง 
การเดินทางไปท�ำงาน ระหว่างท่ีนั่งรถไปทำ� งาน 
กเ็ ปน็ หว่ งเรอ่ื งงานทร่ี ออยขู่ า้ งหนา้  คอื คดิ ขา้ มชอ็ ต 
อยตู่ ลอดเวลา ไมอ่ ยกู่ บั ปจั จบุ นั  และหยดุ ความคดิ  
ไม่ได้ สุดท้ายความคิดก็กลายเป็นนายเรา มันสั่ง 
ให้เราคิดตลอดเวลา ไม่หยุดหย่อน เดี๋ยวนี้คนบ้า 
คนวกิ ลจรติ จงึ มเี ยอะมาก พดู ไปเรอื่ ยเพราะความ 
คดิ มนั สง่ั ใหพ้ ดู  หยดุ ไมไ่ ด ้ นนั่ คอื ผลลพั ธข์ องคนท่ี 
คิดเก่งแต่หยุดคิดไม่ได้ วางความคิดไม่เป็น

๕๖ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

สังเกตว่าคนสมัยนี้เน้นเรื่องการคิดเก่ง คิด 
ให้เร็ว ไม่ว่าโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือเกมโชว ์
เขาจะสนับสนุนให้คิดเก่งคิดเร็วท้ังนั้น แต่ไม่เห็น 
มที ไี่ หนสอนใหร้ จู้ กั วางความคดิ เมอื่ จำ� เปน็ ตอ้ งวาง 
ผลก็คือคนสมัยน้ีเป็นโรคเครียดโรคประสาทกัน 
มาก ถ้าเราไม่อยากเป็นอย่างนั้นก็ต้องฝึกจิตให้ 
รู้จักวางความคิด ถึงเวลาคิดก็คิด ถึงเวลาจะต้อง 
พกั กว็ างความคดิ ได ้ นกี่ เ็ ปน็ การปฏบิ ตั ธิ รรมเหมอื น 
กัน มีการพัฒนาจิตหลายวิธีท่ีช่วยให้เราสามารถ 
วางความคดิ ได ้ เชน่ การท�ำสมาธ ิ เวลาจติ ครนุ่ คดิ  
ตลอดเวลา แลว้ ปรงุ แตง่ อารมณต์ า่ งๆ ตามมา เชน่  
ความโกรธ ความเศรา้ เสยี ใจ หรอื ความวติ กกงั วล 
พอเราหันมาตามลมหายใจ จิตก�ำหนดลมหายใจ 
เขา้  ลมหายใจออก หรอื บรกิ รรมวา่ หายใจเขา้ พทุ  
หายใจออกโธ ใจกว็ างความคิดลงได้

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๕๗

การเจริญสติก็ช่วยได้มาก คือพอเผลอคิด 
ฟงุ้ ซา่ น กร็ ทู้ ัน แลว้ วางมันลงได ้ เผลอคดิ เมอื่ ไหร่ 
ก็รู้ทุกที และรู้ได้เร็ว จึงวางความคิดได้ แต่เวลา 
ตงั้ ใจคดิ  กค็ ดิ ไดอ้ ยา่ งแนว่ แน ่ มสี มาธ ิ ไมว่ อกแวก 
เพราะสติช่วยก�ำกับจิตให้อยู่กับเร่ืองที่คิด ท�ำให ้
คิดได้ต่อเน่ือง เราเคยฝึกวิธีวางความคิดแบบนี ้
บ้างไหม

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนครบเคร่ือง 
นอกจากสอนให้รู้จักใช้ความคิดอย่างมีเหตุมีผล 
อย่างเป็นระบบ ท่ีเรียกว่า โยนิโสมนสิการแล้ว 
ในอกี ดา้ นหนง่ึ ทา่ นกส็ อนใหร้ วู้ ธิ กี ารวางความคดิ  
วางในท่ีน้ีมีความหมายหลายอย่าง เช่น รู้ทัน 
ความคิดฟุ้งซ่านแล้วก็วางความคิดน้ันลงได้ หรือ 
ละวางเร่ืองท่ีผ่านไปแล้ว ไม่กังวลกับสิ่งที่ยังมา 
ไมถ่ งึ  รวมทง้ั ละวางความยดึ ตดิ ถอื มนั่ ในความคดิ  
ทเ่ี รยี กวา่  ทฏิ ฐปุ าทาน อปุ าทานคอื ความยดึ ตดิ ถอื  
ม่ัน คนเรามีท้ังความยึดติดถือม่ันในกาม ในทิฏฐิ 

๕๘ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

ในศีลพรต (หรือระเบียบวิธีธรรมเนียมประเพณี) 
และในความส�ำคัญหมายว่ามีตัวตน ทั้งหมดน้ีมี 
ฐานมาจากความคิดด้วยส่วนหนึ่ง แต่ว่าเพียงแค ่
มสี ตยิ งั ไมพ่ อทจ่ี ะวางไดอ้ ยา่ งสนิ้ เชงิ  ตอ้ งมปี ญั ญา 
แก่กล้าจนแลเห็นว่ามันไม่มีอะไรที่ยึดม่ันถือม่ัน 
ไดเ้ ลยสกั อยา่ ง แมแ้ ตค่ วามคดิ กไ็ มใ่ ชต่ วั ไมใ่ ชต่ นท ี่
จะยึดถือได้ ยึดถือเมื่อไหร่ก็เป็นทุกข์เม่ือน้ัน เมื่อ 
เห็นเช่นนี้ก็วางได้ ไม่ใช่วางได้แค่ชั่วครั้งช่ัวคราว 
แตว่ างอยา่ งสิ้นเชิงโดยไม่กลับมาแบกอีกเลย เชน่  
เดยี วกบั ขนั ธท์ ง้ั หลาย ซง่ึ ยดึ เมอ่ื ไหรก่ ท็ กุ ขเ์ มอ่ื นนั้  
อยา่ งทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่  “ขนั ธท์ ง้ั  ๕ เปน็ ของหนกั  
เนอ้  การสลดั ของหนักทิ้งลงเสยี เป็นความสขุ ”

คนทุกวันน้ีเก่งในเรื่องการยึดแต่วางไม่เป็น 
เมอ่ื ยดึ หรอื แบกแลว้ กต็ อ้ งรจู้ กั วางดว้ ย แตน่ เ่ี รายดึ  
เราแบกตะพดึ ตะพอื  แลว้ กไ็ มร่ ตู้ วั เสยี ดว้ ย เลยเปน็  
ทกุ ข ์ หลวงพอ่ ชา สภุ ทั โท ใหข้ อ้ คดิ ทดี่ มี าก ทา่ นสอน 
เปน็ กลอนวา่  “ทกุ ขม์ เี พราะยดึ  ทกุ ขย์ ดื เพราะยาก 

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๕๙

ทุกข์มากเพราะพลอย ทุกข์น้อยเพราะหยุด ทุกข์ 
หลดุ เพราะปลอ่ ย” คนเราทกุ วนั นที้ กุ ขเ์ พราะความ 
คิดกันมาก ทุกข์เพราะยึดติดถือมั่นในความคิด 
เอาเป็นเอาตายกับความคิดท่ีตนยึดจนกระท่ัง 
ทะเลาะกนั  ทะเลาะทงั้ ในบา้ น ทง้ั ในทท่ี ำ� งาน เพราะ 
ทนไม่ได้ท่ีคนอ่ืนเห็นไม่ตรงกับตัวเอง โดยเฉพาะ 
ความเหน็ ทางการเมอื ง หรอื เรอื่ งสเี สอื้  แมก้ ระทงั่  
เชียร์ฟุตบอลคนละทีมก็ยังทะเลาะกันได้ น่ันเป็น 
เพราะวา่ เราไมร่ จู้ กั วาง ยดึ ตดิ ถอื มนั่ ไมย่ อมปลอ่ ย 
ฟตุ บอลแพ ้ แตค่ นไมแ่ พ ้ เลยตกี นั  อยา่ งนกี้ เ็ กดิ ขนึ้  
บ่อยๆ

คนคดิ เกง่ เหมอื นกบั รถทเ่ี ครอ่ื งแรงแลน่ เรว็  
แต่ถ้ารถคันน้ันไม่มีเบรก เราอยากจะน่ังไหม รถ 
ท่ีแล่นเร็ว ๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เบาะดี น่ิม 
แตไ่ มม่ เี บรก มใี ครอยากนงั่ ไหมรถคนั นนั้  ไมม่ ใี คร 
อยากนง่ั  แตล่ องกลบั มายอ้ นดตู วั เอง อาจจะพบวา่  
ใจเราแท้จริงก็ไม่ต่างจากรถคันนั้น คือคิดเก่ง 

๖๐ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

คิดเร็ว คิดได้นานแต่ว่าหยุดคิดไม่ได้ เราต้องเติม 
เบรกใหแ้ กจ่ ติ ใจของเรา เตมิ เบรกใหแ้ กช่ วี ติ ของเรา 
บา้ ง เพอ่ื แล่นสูจ่ ุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย

ประโยชนต์ น
ประโยชน์ท่าน

สมดุลประการต่อมาซึ่งจ�ำเป็นมากส�ำหรับ 
การด�ำเนินชีวิตในปัจจุบันก็คือ สมดุลระหว่าง 
ประโยชน์ตนกับประโยชน์ท่าน ท่ีอาตมาพูดมา 
ทง้ั หมดเปน็ เรอื่ งประโยชนต์ น แตว่ า่ คนเราโดยเฉพาะ 
ชาวพทุ ธ ไมไ่ ดม้ หี นา้ ทเ่ี พยี งแคบ่ ำ� เพญ็ ประโยชนต์ น 
เทา่ นัน้  แตค่ วรบ�ำเพญ็ ประโยชน์ท่านดว้ ย เดยี๋ วนี้ 
นักปฏิบัติธรรมจ�ำนวนมากหรือผู้ใฝ่ธรรมจ�ำนวน 
ไมน่ อ้ ยสนใจแตเ่ รอื่ งการท�ำตวั เองใหด้  ี มคี วามสขุ  
แตว่ า่ บอ่ ยครงั้ กก็ ลวั  ไมก่ ลา้  ไมอ่ ยากไปชว่ ยคนอนื่  



พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๖๓

หรือช่วยเหลือส่วนรวม เพราะกลัวว่าจะท�ำให้ใจ 
ไม่สงบ เพราะฉะนั้นจึงปฏิเสธการงานหรือความ 
รบั ผดิ ชอบ อนั นนั้ กถ็ อื วา่ เปน็ ชวี ติ ทไ่ี มส่ มดลุ  เพราะ 
ชีวิตท่ีสมดุลนั้นต้องบ�ำเพ็ญท้ังประโยชน์ตนและ
ประโยชนท์ า่ น คนทบ่ี ำ� เพญ็ ประโยชนท์ งั้ สองพระ- 
พทุ ธเจา้ ทรงสรรเสรญิ วา่ เปน็ บณั ฑติ  อนั ทจ่ี รงิ การ 
บำ� เพญ็ ประโยชนท์ า่ นไมใ่ ชส่ ง่ิ ตรงขา้ มกบั ประโยชน์ 
ตน เป็นสิ่งท่ีส่งเสริมเกื้อกูลประโยชน์ท่านด้วย 
พดู อกี อยา่ งวา่  การบำ� เพญ็ ประโยชนท์ า่ นกค็ อื การ 
บำ� เพญ็ ประโยชนต์ นในอกี แงห่ นงึ่ ดว้ ย ดงั มพี ทุ ธพจน์ 
วา่  “เมอื่ รกั ษาตนกช็ อื่ วา่ รกั ษาผอู้ นื่  เมอ่ื รกั ษาผอู้ น่ื  
ก็ช่ือว่ารักษาตนด้วย” มันไม่ได้แยกกัน อย่างเช่น 
เวลาเราเสยี สละเพอื่ สว่ นรวม มนี ำ้� ใจเออื้ เฟอ้ื เกอ้ื กลู  
ผอู้ นื่  ตอนนน้ั เรากำ� ลงั บำ� เพญ็ เมตตาธรรม และละ 
ความเหน็ แกต่ วั  ตรงกนั ขา้ มเมอ่ื ใดกต็ ามทเ่ี รานกึ ถงึ  
แต่ตัวเอง นั่นแสดงว่าอัตตาตัวตนหรือความเห็น 
แก่ตัวก�ำลังพอกพูนขึน้ มา

๖๔ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

นกั ปฏบิ ตั ธิ รรมจำ� นวนไมน่ อ้ ยตอ้ งการความ 
สงบในจติ ใจ แตว่ า่ ความสงบทแี่ สวงหา เปน็ ความ 
สงบทต่ี ดั ขาดจากโลกภายนอก เปน็ ความสงบทเ่ี กดิ  
จากการหลกี เลยี่ งกจิ สว่ นรวม หรอื ไมส่ นใจชว่ ยเหลอื  
ผู้อื่น การท�ำเช่นนั้นเท่ากับเป็นการส่งเสริมความ 
เห็นแก่ตัวให้มากขึ้น เพราะว่านึกถึงแต่ตัวเอง แต่ 
ถ้าเราพยายามเปิดใจของเราให้กว้างแล้วก็นึกถึง 
ประโยชนข์ องผอู้ นื่ ดว้ ย เรม่ิ ตงั้ แตก่ ารใหท้ าน เวลา 
เราท�ำบุญให้ทาน เราก็ไม่ได้นึกถึงแต่ประโยชน์ท่ ี
เราจะได้ แต่นึกถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้รับเป็น 
สำ� คญั  เราลองสงั เกตดใู จเราบา้ งไหม วา่ เวลาทำ� บญุ  
เรานกึ ถงึ อะไร เรานกึ ถงึ ประโยชนท์ อี่ ยากไดเ้ ขา้ ตวั  
หรือว่าประโยชน์ที่จะบังเกิดข้ึนแก่ผู้อื่น ถ้าเรา 
นกึ ถงึ ประโยชนท์ ตี่ นเองจะไดร้ บั  กแ็ สดงวา่ ทำ� บญุ  
ดว้ ยใจทเี่ จอื กเิ ลส เพราะมใี จทอี่ ยากจะเอาหรอื อยาก 
จะได ้ การทำ� บญุ อยา่ งนพ้ี ระพทุ ธองคไ์ มส่ รรเสรญิ  
มตี อนหนงึ่ ทพี่ ระองคต์ รสั วา่  การใหท้ านทมี่ อี านสิ งส์ 
น้อย คือการให้ทานอย่างมีใจเย่ือใย มีจิตผูกพัน 

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๖๕

มงุ่ หวงั สงั่ สมบญุ  ตอ้ งการเสวยผลในชาตหิ นา้  หรอื  
แมแ้ ตก่ ารใหท้ านดว้ ยคดิ วา่  “เมอื่ เราใหท้ านน ี้ จติ  
ย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชมโสมนัส” ในเรื่องนี้ 
พระสารบี ตุ รกส็ อนเชน่ กนั วา่  “บณั ฑติ ทงั้ หลาย ยอ่ ม 
ไม่ให้ทานเพราะเห็นแก่อุปธิสุข (โลกียสุข) ย่อม 
ไม่ให้ทานเพื่อภพใหม่ แต่บัณฑิตเหล่านั้น ย่อม 
ใหท้ านเพ่อื ก�ำจัดกิเลส เพอ่ื ไม่กอ่ ภพตอ่ ไป”

กลับมาสู่ประเด็นที่อาตมาพูดไว้แต่แรกว่า 
คนเราอย่าคิดแต่จะเอาอย่างเดียว ต้องให้ด้วย 
การทำ� บญุ  ถา้ เราทำ� ไมเ่ ปน็  มนั กเ็ ปน็ การพอกพนู  
ความอยากไดอ้ ยากเอาเขา้ ตวั  ซง่ึ กเ็ ทา่ กบั ไปเพม่ิ พนู  
อัตตา เพ่ิมพูนความเห็นแก่ตัวมากข้ึน แต่ถ้าเรา 
ท�ำบุญให้ทานโดยนึกถึงประโยชน์ท่ีจะเกิดขึ้นแก ่
ผรู้ บั  อยากใหเ้ ขาไดค้ วามสขุ  หา่ งไกลจากความทกุ ข ์
มีก�ำลังในการบ�ำเพ็ญศาสนกิจหรือเพื่ออุปถัมภ ์
พระศาสนา การตงั้ จติ แบบนน้ี อกจากเปน็ ประโยชน์ 
ท่านแล้ว ยังช่วยลดละความเห็นแก่ตัวในใจเรา 

๖๖ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

และถ้าเราจะสามารถทำ� ได้มากกว่าน้ัน เช่น เป็น 
จิตอาสา เข้าไปช่วยเหลือเกื้อกูลส่วนรวม ดูแล 
รักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก 
กย็ ง่ิ ดี

เข้าใจผดิ
เร่ืองเจ้ากรรมนายเวร

เดย๋ี วนม้ี คี วามคดิ แปลกๆ เกดิ ขนึ้ ซงึ่ สง่ เสรมิ  
ความเห็นแก่ตัว หรือท�ำให้ละเลยเพิกเฉยผู้อื่น 
อาตมาเคยไปเยยี่ มคนไขค้ นหนง่ึ  แกเปน็ มะเรง็ ทค่ี อ 
ก้อนมะเร็งขยายตัวเป็นก้อนใหญ่จนกระท่ังไม ่
สามารถนอนได้ ต้องน่ัง แล้วต้องนั่งในท่าท่ีไม ่
ธรรมดา คอื เอาหนา้ อกแนบกบั พน้ื  เวลาคยุ กนั ตอ้ ง 



พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๖๙

คยุ ในทา่ นน้ั  ทางโรงพยาบาลกด็ แู ลเอาใจใสด่  ี แต่ 
พอแกกลับไปท่ีบ้านกลับมีปัญหาเพราะไม่มีคน 
ดูแล ถามว่าแกไม่มีพี่ไม่น้องหรือ พ่ีก็มีน้องก็ม ี
แต่เมอ่ื พยาบาลไปถามพี่สาวว่าท�ำไมจึงไม่มาดแู ล 
น้องชายเลย พ่ีสาวเป็นคนสนใจธรรมะ ไปปฏิบัติ 
ธรรมอยทู่ วี่ ดั แหง่ หนงึ่ แถวนครปฐม พส่ี าวบอกกบั  
พยาบาลวา่  นอ้ งชายตอ้ งรบั กรรมของเขาเอง นคี่ อื  
เหตุผลที่พ่ีสาวไม่มาช่วยดูแลน้องชาย พ่ีสาวให้ 
เหตผุ ลวา่ เปน็ เรอื่ งกฎแหง่ กรรม ดงั นน้ั จงึ ไมค่ ดิ จะ 
ไปชว่ ยเหลอื นอ้ งชาย นคี่ อื ความเขา้ ใจทไี่ มถ่ กู ตอ้ ง 
เรื่องกฎแห่งกรรม เป็นการใช้กฎแห่งกรรมเป็น 
ข้ออ้างเพ่ือปฏิเสธความช่วยเหลือ ทั้งๆ ที่คนที่ 
เดอื ดรอ้ นกไ็ มใ่ ชใ่ คร เปน็ นอ้ งชายของตนเอง ลอง 
คิดดูสิว่าถ้าชาวพุทธมีความคิดแบบนี้ทั้งประเทศ 
จะเกดิ อะไรขน้ึ  ถา้ ผคู้ นไมม่ นี �้ำใจกนั ขนาดน ้ี เมอื ง 
ไทยคงไมต่ ่างจากนรก

๗๐ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

นักปฏิบัติธรรมผู้นี้อาจจะคิดว่าการไปดูแล 
นอ้ งชายเปน็ การแทรกแซงกรรม นนั่ คอื การเขา้ ใจ 
ทผี่ ดิ  เพราะวา่ กฎแหง่ กรรมไมม่ ใี ครแทรกแซงหรอื  
ละเมิดได้ แต่ขณะเดียวกันนั่นไม่ได้หมายความว่า 
เราจะช่วยคนอื่นท่ีตกทุกข์ได้ยากไม่ได้ ในทาง 
ตรงกันข้ามถ้าหากว่าเราละเลยที่จะช่วยเขา ก ็
แสดงวา่ เรากำ� ลงั สรา้ งกรรมใหมซ่ ง่ึ เปน็ อกศุ ลกรรม 
คนทุกข์ต่อหน้าแล้วเราไม่ช่วย นั่นก็คือการสร้าง 
กรรมทไ่ี มด่  ี ตอ่ ไปกรรมนน้ั กจ็ ะสง่ ผลสะทอ้ นยอ้ น 
กลบั มาทตี่ วั เราเอง เชน่  พอถงึ คราวทเี่ ราเจบ็ ปว่ ย 
หรอื ประสบเคราะหร์ า้ ยก็จะไมม่ ใี ครมาชว่ ยเรา

อาตมาสังเกตว่าคนที่คิดแบบนี้นับวันจะม ี
มากขนึ้ ในหมชู่ าวพทุ ธ มคี วามคดิ หนงึ่ คลา้ ยๆ กนั  
และกำ� ลงั แพรห่ ลายมากขนึ้ กค็ อื  ความคดิ ทวี่ า่  เวลา 
เหน็ ใครเดอื ดรอ้ น อยา่ ไปชว่ ยเขานะ ถา้ ชว่ ยเขาให ้
พ้นทุกข์ หรือรอดชีวิต ประเด๋ียวเจา้ กรรมนายเวร
ของเขาจะมาเลน่ งานเราแทน หากคนไทยมคี วามคดิ  

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๗๑

แบบนี้มากมาย บ้านเมืองก็จะเต็มไปด้วยคนแล้ง 
นำ้� ใจสนใจแตต่ วั เอง นน่ั ไมใ่ ชเ่ ปน็ จดุ มงุ่ หมายของ 
กฎแหง่ กรรมทพ่ี ระพทุ ธเจา้ สอน พระพทุ ธเจา้ สอน 
กฎแหง่ กรรมเพอื่ สง่ เสรมิ ใหค้ นทำ� ความด ี ชว่ ยเหลอื  
เอ้ือเฟื้อเก้ือกูลต่อกัน และยังเป็นการปฏิบัติธรรม 
ไปในตวั ดว้ ย ตวั อยา่ งมมี ากมายในชาดกซง่ึ เปน็ เรอื่ ง 
ของพระโพธสิ ตั วท์ เี่ สยี สละเพือ่ ผอู้ น่ื  จนแม้แตส่ ละ 
อวัยวะหรือสละชีวิตให้ก็มี ท่ีจริงไม่ต้องดูอื่นไกล 
พระพุทธเจา้ เป็นตวั อย่างทช่ี ัดเจนในเรอื่ งน้ี

ยิง่ ใหย้ ิ่งได้

เดี๋ยวน้ียังมีความคิดอีกแบบหน่ึงซึ่งคล้ายๆ 
กับท่ีพูดข้างต้น คือ ความคิดท่ีว่า อย่าแผ่เมตตา 
หรอื อทุ ศิ สว่ นบญุ สว่ นกศุ ลใหแ้ กใ่ ครมาก เพราะจะ 
ท�ำให้บุญกุศลของเราเหลือน้อยลง อาตมาไม่รู ้
ว่าชาวพุทธเราเอาความคิดแบบนี้มาจากไหน ม ี
หลายคนเช่ือว่าเป็นค�ำสอนของพุทธศาสนา แต่ 
ท่ีจริงไม่ใช่เลย บุญกิริยาวัตถุหรือการท�ำบุญข้อ 
หนงึ่ ใน ๑๐ ประการ กค็ อื  ปตั ตทิ านมยั  ไดแ้ ก ่ บญุ  



๗๔ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

ท่ีเกิดจากการอุทิศส่วนกุศลให้ นั่นแสดงว่าย่ิงเรา 
อุทิศส่วนบุญให้ใคร เราก็ย่ิงได้บุญ พระพุทธองค์ 
ทรงสอนว่า ผู้ให้ความสุขย่อมได้รับความสุข แต่ 
เดี๋ยวน้ีคนเราตระหน่ีถึงขนาดว่า แม้แต่บุญกุศลก็ 
ยังไม่ยอมให้ใครเลย ตระหน่ีขนาดน้ีแล้วบุญกุศล 
จะเจรญิ งอกงามได้อย่างไร เดยี๋ วนเี้ ราไปเข้าใจว่า 
บุญเหมือนเงินในกระเป๋า ย่ิงให้ก็ย่ิงหมด ที่จริง 
ตรงกนั ข้าม ย่ิงให้ยิ่งได ้ ยิง่ อทุ ิศส่วนบญุ  ก็ยงิ่ รวย 
บุญ อย่าว่าแต่บุญที่ยิ่งให้ยิ่งได้ แม้กระท่ังเงินใน 
กระเป๋าหรือวัตถุส่ิงของ ใช่ว่าย่ิงให้ก็ยิ่งหมด มัน 
อาจจะเพิม่ ขึ้นก็ได้นะ

มีนักท�ำสารคดีเก่ียวกับชีวิตเด็ก คือคุณ 
นริ มล เมธสี วุ กลุ  เลา่ วา่  วนั หนง่ึ ระหวา่ งทถ่ี า่ ยท�ำ 
สารคดใี นชนบท มคี ณุ ปา้ คนหนง่ึ ถอื ปลาพวงใหญ ่
มา แลว้ กถ็ ามคนในกองถา่ ยซงึ่ สว่ นใหญเ่ ปน็ หนมุ่ ๆ 
สาวๆ ว่า “รู้ไหมว่าปลาพวงนี้ท�ำอย่างไรถึงจะกิน 
ไดน้ าน” ทกุ คนในกองถา่ ยกค็ ดิ หาคำ� ตอบกนั ใหญ ่

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๗๕

บ้างก็ว่าเอาไปตากแดด บ้างก็ว่าเอาไปหมัก เอา 
ไปท�ำส้ม เอาไปใส่ตู้เย็น แสดงความเห็นกันเป็น 
การใหญ ่ คณุ ปา้ บอกวา่ ผดิ หมดเลย คณุ ปา้ บอกวา่  
“ตอ้ งเอาไปแบง่ เพอ่ื นบา้ นใหท้ ว่ั ถงึ ” ฟงั ดแู ปลกไหม 
ถา้ เอาไปแบง่ เพอื่ นบา้ นใหท้ วั่ ถงึ  เราถงึ จะกนิ ไดน้ าน

คนสมัยนี้เข้าใจว่าถ้าเราเอาปลาไปแบ่งให้ 
คนอ่ืน เราก็ได้กินน้อยลงสิ แทนที่จะได้กิน ๓ วัน 
กก็ นิ ไดแ้ คม่ อ้ื เดยี ว แตค่ วามจรงิ แลว้  ไมใ่ ชเ่ ลย เพราะ 
เมอื่ เราแบง่ ใหค้ นอน่ื  เมอ่ื เขาไดป้ ลามา เขากจ็ ะแบง่  
ให้เรา ท�ำให้มีกินได้ตลอด อันนี้คือกฎแห่งกรรม 
นน่ั เอง เรยี กอกี อยา่ งวา่  action เทา่ กบั  reaction 
เมอื่ เราใหเ้ ขา เวลาเขาม ี หรอื เมอื่ เราเดอื ดรอ้ น เขา 
กใ็ หเ้ รา เหน็ ไหมวา่ แมแ้ ตก่ ารใหว้ ตั ถกุ ไ็ มไ่ ดแ้ ปลวา่  
ยิ่งให้ยิ่งหมด ไม่ใช่ ย่ิงให้ก็ย่ิงได้ นับประสาอะไร 
กบั บญุ กศุ ล ยงิ่ อทุ ศิ สว่ นบญุ ใหใ้ คร เรากลบั ไดบ้ ญุ  
มากขน้ึ  ไม่ใช่เหลอื บญุ น้อยลง

๗๖ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

คนสมัยก่อนเข้าใจเรื่องน้ีดี เขาจึงมีน้�ำจิต 
นำ้� ใจ มเี มตตา มคี วามเออ้ื เฟอ้ื  เพราะเขารวู้ า่ การ 
ให้ สุดท้ายก็คือการได้น่ันเอง แม้ไม่อยากจะได ้
ก็ตาม “ผู้ให้ความสุขย่อมได้รับความสุข” “ผู้ให้ 
ของประณีต ย่อมได้ของประณีต” อันน้ีคือความ 
จรงิ ทพ่ี ระพทุ ธองคต์ รสั รบั รอง เปน็ ความหมายอกี  
แง่หน่ึงของกฎแห่งกรรมทีเ่ ราควรจะตระหนัก

ดงั นน้ั การบำ� เพญ็ ประโยชนท์ า่ นจงึ เปน็ สงิ่ ที ่
เราไม่ควรละเลย เหตุผลส�ำคัญไม่ใช่เพราะว่าถ้า 
เราใหอ้ ะไรแกใ่ คร เราจะไดส้ ง่ิ นน้ั กลบั คนื  แทจ้ รงิ  
แล้วอานิสงส์ท่ีส�ำคัญกว่าน้ันก็คือช่วยลดละความ 
เห็นแก่ตัว ถา้ เรายังคิดถงึ ตวั เองอย่ ู ยอ่ มยากทจ่ี ะ 
พน้ ทกุ ขห์ รอื มชี วี ติ ทเี่ จรญิ กา้ วหนา้  ยง่ิ คดิ ถงึ ตวั เอง 
มากเทา่ ไหรก่ ย็ งิ่ มคี วามทกุ ขม์ ากเทา่ นน้ั  แตย่ งิ่ นกึ ถงึ  
คนอน่ื มาก ความทกุ ข์ของเราจะเปน็ เร่ืองเลก็ ลง

คดิ ถึงคนอ่นื ใหม้ ากขึ้น

คณุ หมอทา่ นหนง่ึ ทำ� งานในโรงพยาบาลชมุ ชน 
เป็นคนที่ตั้งใจว่าจะเป็นหมอท่ีดี ท่านเล่าให้ฟังว่า 
วันหนึ่งขึ้นเวรดึก คนไข้ไม่ค่อยมี ก็เลยนอนหลับ 
พอถงึ ต ี ๔ กถ็ กู ปลกุ ใหม้ าตรวจผปู้ ว่ ย ไมใ่ ชผ่ ปู้ ว่ ยใน 
แต่เป็นผู้ป่วยนอก ทีแรกก็นึกว่าเป็นเรื่องปัจจุบัน 
ทนั ดว่ น แตพ่ อรวู้ า่ ผปู้ ว่ ยอาย ุ ๖๐ คนนปี้ วดหวั มา 
๑๐ วนั แลว้  หมอกร็ สู้ กึ หงดุ หงดิ วา่ ทำ� ไมถงึ มาตอนน ี้
รบกวนเวลานอนของแก แต่พอได้ซักถามคุณลุง 
ความรสู้ กึ กเ็ ปลยี่ นไป คณุ ลงุ บอกวา่ ปวดหวั มา ๑๐ 
วันแล้ว พยายามหายากินเอง แต่อาการไม่ดีข้ึน 

ชี วิ ต ส ม ดุ ล

อยากจะมาโรงพยาบาล แต่ไม่มีลูกคนไหนว่างมา 
สง่ ตอนกลางวนั เลย จนกระทง่ั วนั นค้ี นขา้ งบา้ นจะ 
เข้าเมืองตอนตี ๓ แกก็เลยขอโดยสารมาด้วย พอ 
คุณหมอได้ยินแบบน้ี ความรู้สึกหงุดหงิดหายไป 
เลย มีความเห็นใจมาแทนท่ี เพราะได้คิดว่าไม่ม ี

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๗๙

คนป่วยคนไหนอยากต่ืนตี ๓ มาหาหมอหรอก 
ถ้าไม่จ�ำเป็นจริงๆ เพราะเขาก็ต้องการพักผ่อน 
เหมือนกัน

ความหงดุ หงดิ ของคณุ หมอหายไปทนั ทเี มอ่ื  
รับรู้ถึงความเดือดร้อนของคนไข้ ได้รับรู้ว่าเขาม ี
ความทกุ ขอ์ ยา่ งไร แตถ่ า้ คนเราคดิ ถงึ แตต่ วั เอง เจอ 
เรื่องแบบนี้ ก็จะมแี ต่ความไมพ่ อใจ มอี ะไรเกดิ ขน้ึ  
ก็กระทบใจตนเองตลอดเวลา หาความสุขได้ยาก 
แต่พอเรานึกถึงคนอื่น ความทุกข์ของเขาจะปลุก 
ความเห็นใจหรือเมตตากรุณาข้ึนมาในใจเรา ไม ่
เปิดช่องให้ความหงุดหงิด หรือความขุ่นเคืองมา 
รบกวนจิตใจได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะม ี
ความสุข ควรนึกถึงตัวเองให้น้อยลง แล้วนึกถึง 
คนอื่นให้มากข้ึน ยิ่งเห็นคนอ่ืนมีความทุกข์มาก 
เท่าไร ความเดือดร้อนของเราจะกลายเป็นเรื่อง 
เล็กน้อยมากเทา่ นนั้



มปี ัญหาอย่าโทษแพะ

เร่ืองข้างต้นให้แง่คิดว่าอย่านึกถึงแต่ตัวเอง 
ใหน้ กึ ถงึ คนอน่ื บา้ ง อยา่ งไรกต็ ามเวลาเกดิ ปญั หา 
หรอื มขี อ้ ผดิ พลาดขนึ้ มา แทนทจี่ ะมองหรอื เพง่ โทษ 
คนอนื่  ควรหนั มามองทต่ี วั เราเอง มนี ทิ านจนี เรอ่ื ง 
หน่ึงเป็นนิทานสั้นมากแต่สอนธรรมะได้ดี แต่เล่า 
จบไปแลว้ หลายคนคงงงวา่ นทิ านเรอ่ื งนสี้ อนอะไร

๘๒ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

มีชายตาบอดคนหนึ่งไปเย่ียมเพ่ือน น่ังคุย 
กันเพลิดเพลิน พอตกค�่ำชายตาบอดก็ขอตัวกลับ 
เจ้าของบ้านจึงย่ืนโคมให้ ชายตาบอดถามว่า ให ้
เขาท�ำไม มันไม่จ�ำเป็นเพราะเขาตาบอด เจ้าของ 
บา้ นบอกวา่ มนั ไมจ่ ำ� เปน็ กบั คณุ จรงิ  แตว่ า่ มนั ชว่ ย 
ให้คนอ่ืนเขาเห็นทาง ซ่ึงก็ท�ำให้เขาไม่เดินมาชน 
คณุ  ชายตาบอดจงึ เดนิ ถอื โคมกลบั บา้ น เดนิ ไปได ้
พักใหญ่ก็มีคนมาเดินชน ชายตาบอดโมโหมาก 
พูดข้ึนว่า “แกตาบอดหรือไง ไม่เห็นโคมของฉัน 
หรอื ” คนทเ่ี ดนิ มาชนพดู ตอบวา่  “ขอโทษครบั  แต่ 
โคมของคณุ มันดับไปต้งั นานแล้ว” จบเทา่ น้ี

นิทานเรื่องน้ีสอนว่าอะไร สอนว่า ข้อแรก 
เราควรจะนึกถึงคนอ่ืน ถึงแม้เราตาบอด เราไม่ 
จำ� เปน็ ตอ้ งใชโ้ คม แตค่ วรนกึ ถงึ คนอน่ื วา่  โคมชว่ ย 
ส่องทางให้คนอ่ืนเดินได้สะดวก ซึ่งในที่สุดก็เป็น 
ประโยชน์ต่อเราเองด้วย เพราะเม่ือเขาเห็นทาง 
เขากไ็ มเ่ ดนิ มาชนเรา เพราะฉะนน้ั การเออื้ เฟอ้ื ตอ่  

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๘๓

คนอื่นก็มีผลดีกับเราด้วย แต่ไม่ใช่เท่านั้น นิทาน 
เรื่องนี้ยังเตือนใจเราว่า เมื่อเกิดปัญหาหรือความ 
ผิดพลาดข้ึน อย่าเพิ่งโทษคนอื่น ให้กลับมามองที่ 
ตวั เองกอ่ น ถา้ เราไมห่ นั กลบั มามองทต่ี วั เอง เราก ็
ไมต่ า่ งจากคนตาบอด โคมของตวั เองดบั ไปตงั้ นาน 
แลว้ ยงั ไมร่  ู้ แตไ่ ปตอ่ วา่ คนทเ่ี ดนิ ชนวา่ ตาบอดหรอื ไง 
คนส่วนใหญ่เป็นอย่างน้ีใช่ไหม คือเวลาเกิดความ 
ผดิ พลาดขนึ้ มากจ็ ะโทษคนอน่ื กอ่ น แตล่ มื ดตู วั เอง

นทิ านเรอ่ื งนส้ี อนไดด้ มี ากคอื วา่  เราควรนกึ  
ถงึ ประโยชนข์ องผอู้ น่ื  หรอื มองจากมมุ ของคนอนื่  
ด้วย อยา่ นึกถึงแตป่ ระโยชนข์ องตนเอง หรอื มอง 
จากมุมของตัวเองอย่างเดียว ขณะเดียวกันเมื่อ 
เวลาเกดิ ความผดิ พลาดขน้ึ มา อยา่ เพง่ิ โทษคนอนื่  
ใหก้ ลบั มาดตู วั เราเองกอ่ น คนทไี่ มส่ ามารถจะมอง 
เห็นความผิดพลาดของตนเองก็ไม่ต่างจากคนตา 
บอด ตาบอดในทน่ี ไ้ี มไ่ ดห้ มายถงึ ตาเนอ้ื  แตห่ มาย 
ถงึ ตาใน คอื ขาดสต ิ จงึ มองไมเ่ หน็ ตนเอง คนสว่ น 

๘๔ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

ใหญ่เป็นอย่างน้ี บางคร้ังความผิดพลาดมีสาเหตุ 
มาจากตนเอง แตม่ องไม่เห็น มัวเพง่ โทษคนอนื่

น้ีก็เป็นเรื่องของความสมดุลอีกอย่างหนึ่ง 
คือ หม่ันมองจากมุมของคนอื่นด้วย แต่ในเวลา 
เดียวกันก็ควรหันมามองตนเองเมื่อเกิดความผิด 
พลาดหรอื เกดิ ปญั หาขนึ้ มา พดู งา่ ยๆ วา่  มองนอก 
แต่อย่าลืมมองใน แต่คนส่วนใหญ่ท�ำตรงข้าม 
เวลานกึ ถงึ ประโยชน ์ กน็ กึ แตป่ ระโยชนข์ องฉนั  ไม ่
สนใจว่าคนอ่ืนจะได้ประโยชน์หรือไม่ แต่เวลามี 
ปญั หากม็ องไปนอกตวั  หาเหยอื่ หาแพะ หรอื คนท่ี 
ฉันจะกล่าวโทษได้ แต่ไม่สนใจหันมามองตัวเอง 
สวนทางกับคตธิ รรมจากนิทานเรื่องน้ี

เศษแก้วในกำ� มือ

ทงั้ หมดนพ้ี ดู รวมๆ คอื  เราควรกลบั มาทบทวน 
ชีวิตของเราว่าทุกวันนี้ชีวิตเรามีความสมดุลมาก 
น้อยเพียงใด มีสมดุลระหว่างกายกับใจ ระหว่าง 
ชีวิตด้านนอกกับชีวิตด้านในหรือไม่ หัวใจกับ 
สมองสมดุลกันไหมหรือว่าเราหนักไปทางด้านใช้ 
ความคดิ หรอื เหตผุ ล แตว่ า่ จติ ใจหรอื อารมณก์ ลบั  
ออ่ นแอเสอื่ มถอย พดู เปน็ ภาพพจน ์ คนปจั จบุ นั จะ 
มีลักษณะหัวโตสมองใหญ่ แต่ใจเล็กใจแคบ เรา 
พัฒนาแต่เร่ืองการใช้ความคิดจนคิดเก่ง แต่กลับ 
หยุดคิดไม่ได้ สุดท้ายความคิดกลายมาเป็นนาย 

ชี วิ ต ส ม ดุ ล

เรา บงการเรา และเล่นงานเราจนกินไม่ได้นอน 
ไม่หลับ กระทั่งบางทีถึงกับคลุ้มคลั่ง วิกลจริต 
เปน็ บา้ กม็  ี นอกจากนน้ั กต็ อ้ งพยายามจดั ใหช้ วี ติ ม ี
ความสมดลุ ระหวา่ งประโยชนต์ นกบั ประโยชนท์ า่ น 
ควรมองจากมุมของคนอื่น หรือนึกถึงประโยชน์ 
ของผอู้ น่ื บา้ ง แตก่ ค็ วรหนั กลบั มาดตู วั เองเวลาเกดิ  
ปัญหาข้นึ มาด้วย

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๘๗

การลืมมองตนนอกจากจะท�ำให้เกิดปัญหา 
ความสัมพันธ์กับผู้อ่ืนแล้ว ยังทำ� ให้เกิดปัญหากับ 
ตัวเราเองด้วย เป็นเพราะเราลืมดูใจของตัวเองใช่ 
ไหม เราจึงไม่ได้เฉลียวใจเลยว่าท่ีเราทุกข์ทุกวันน ี้
เปน็ เพราะใจของตวั เอง มากกวา่ เปน็ เพราะคนอนื่  
เวลาเราโกรธหรอื โมโหเมอื่ ไดย้ นิ คำ� ตำ� หนขิ องคนอนื่  
เรามกั โทษวา่ เขาเปน็ สาเหตทุ ท่ี ำ� ใหเ้ ราทกุ ข ์ แตเ่ รา 
หาได้ตระหนักว่า ท่ีเราทุกข์ก็เพราะใจของเรา 
เปดิ ชอ่ งใหค้ ำ� ตำ� หนนิ น้ั เขา้ มาทม่ิ แทงเราตา่ งหาก 
ถ้าใจเราไม่ยึดติดถือม่ันกับค�ำพูดเหล่านั้น เราจะ 
ไม่ทุกข์เลย แต่เป็นเพราะเราเอาแต่ครุ่นคิดถึง 
คำ� พดู ของเขา เกบ็ มาเปน็ อารมณไ์ มย่ อมปลอ่ ย ไม ่
ยอมวาง เรากเ็ ลยโกรธแค้น ไม่ต่างกับคนที่มเี ศษ 
แก้วอยู่ในมือ ก็รู้ทั้งรู้ว่าเศษแก้วมันคม แต่แทนท ่ี
จะพลิกมือเพ่ือให้เศษแก้วตกลงพ้ืน กลับก�ำเอาไว ้
เทา่ นน้ั ไมพ่ อ ยงั บบี แรงๆ กำ� แลว้ กบ็ บี  กำ� แลว้ กบ็ บี  
ผลกค็ อื  เศษแกว้ บาดมอื จนเปน็ แผล แลว้ จะไปโทษ 
ใคร โทษแกว้ วา่ บาดมอื ฉนั  ทำ� ใหฉ้ นั ปวดหรอื  ทำ� ไม 

๘๘ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

เราไม่ถามตัวเองว่า ฉันก�ำเศษแก้วท�ำไม แถมยัง 
บบี อกี  คำ� ตำ� หน ิ คำ� ตอ่ วา่ กเ็ หมอื นกบั เศษแกว้  ถา้  
เราไมไ่ ปทำ� อะไรมนั  มนั กไ็ มท่ ำ� อะไรเรา แตเ่ พราะ 
เราไปก�ำแลว้ บบี มนั ไม่หยุด มันจงึ ท่มิ แทงจติ ใจ

น่ีเป็นตัวอย่างของสมดุลในชีวิตที่อยากให ้
เราให้พิจารณาและท�ำให้เกิดขึ้น ซ่ึงจะช่วยให้เรา 
ก้าวเดินบนทางสายกลางได้อย่างมั่นคงย่ังยืน 
แน่วแนถ่ งึ จุดหมายได้

สง่ิ หนงึ่ ทอ่ี ยากยำ้� คอื  ความสมดลุ หรอื ความ 
พอดนี นั้  เปน็ คนละอยา่ งกบั ทางสายกลาง คนไทย 
มกั จะแยกไมค่ อ่ ยออก คอื ไปเขา้ ใจวา่ ทางสายกลาง
กบั ความสมดลุ หรอื ความพอดีน้ันเปน็ อนั เดยี วกนั  
เช่น ถ้าใครขยันมากไป ก็มองว่าเขาไม่ได้อยู่บน 
ทางสายกลาง ทางสายกลางนนั้  พดู งา่ ยๆ คอื ทาง 
ที่อยู่ระหว่างทางสุดโต่งสองทางซ่ึงแย่ทั้งคู่ ทาง 
หนง่ึ คอื กามสขุ ลั ลกิ านโุ ยค คอื การหมกมนุ่ ในกาม 

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๘๙

อีกทางคืออัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตน 
ทางหนงึ่ เตม็ ไปดว้ ยความอยากไดใ้ ครม่  ี อยากเสพ 
อยากครอบครอง อยากเข้าหา อีกทางหน่ึงเป็น 
เรื่องของการปฏิเสธผลักไส เป็นการกระทำ� ที่เจือ 
ไปด้วยความเกลียด เกลียดกาม เกลียดร่างกาย 
เกลียดเน้ือหนัง จึงพยายามทรมานมันเพื่อให้จิต 
เปน็ อสิ ระจากสงิ่ นน้ั  ทางสายกลางอยรู่ ะหวา่ งสอง 
ทางท่ีผิดท้ังคู่ ส่วนชีวิตสมดุลหรือดุลยภาพท ี่
อาตมาพูดถึงนั้น หมายถึงความพอดีระหว่างสิ่ง 
ดีๆ สองสิ่งซึ่งจ�ำเป็นทั้งคู่ เช่น ระหว่างศรัทธา 
กับปัญญา ระหว่างเหตุผลกับอารมณ์ ระหว่าง 
ประโยชน์ตนกับประโยชน์ท่าน ทางสายกลางคือ 
ทางท่ีไม่ข้องแวะกับส่ิงไม่ดีที่สุดโต่งสองอย่าง แต ่
ความสมดลุ หมายถงึ การเชอื่ มประสานสง่ิ ดๆี  สอง 
ส่ิงใหม้ คี วามพอเหมาะพอดกี นั  

ในชวี ติ เราจะพบเสมอวา่  มสี ง่ิ ดๆี  สองสง่ิ ทดี่  ู
เหมือนไปคนละทาง แต่ก็มีประโยชน์และมีความ 

๙๐ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

ส�ำคัญท้ังส้ิน เช่น ระเบียบวินัย กับ เสรีภาพ ท้ัง 
สองอย่างดีทั้งน้ัน จะเอาอันหนึ่ง ปฏิเสธอีกอันก ็
ไม่ได้ ส่ิงที่ควรท�ำก็คือต้องจัดให้มีสมดุลระหว่าง 
ระเบียบวินัยกับเสรีภาพ มองกว้างอีกหน่อย การ 
พัฒนาประเทศก็เป็นส่ิงที่ดี ขณะเดียวกันการ 
อนรุ กั ษธ์ รรมชาตกิ ส็ ำ� คญั  เราจะเลอื กอนั หนง่ึ  ทงิ้  
อีกอันไม่ได้ แต่จะต้องค�ำนึงถึงทั้งสองอย่างโดย 
จัดให้มีสมดุลหรือความพอดี แค่ไหนถึงเรียกว่า 
พอดีนั้น เปน็ อกี เร่ืองท่ตี อ้ งพจิ ารณา

ในการทำ� งานกเ็ ชน่ กนั  ความรบั ผดิ ชอบ ความ 
ขยัน เป็นสิ่งท่ีขาดไม่ได้ แต่ในเวลาเดียวกันเราก็ 
ตอ้ งรจู้ กั ปลอ่ ยวางดว้ ย ถา้ ทำ� งานแบบยดึ มน่ั ถอื มนั่  
จนเอาเปน็ เอาตายกบั มนั กจ็ ะทกุ ขม์ าก แถมงานอาจ 
ออกมาไม่ดีด้วย ดังนั้นสิ่งที่ควรท�ำก็คือ ประสาน 
สองส่ิงนั้นให้ได้สมดุล เช่น ปล่อยวางอย่างรับผิด 
ชอบหรอื ทำ� เตม็ ทแ่ี ตไ่ มซ่ เี รยี ส จะวา่ ไปแลว้  ศลิ ปะ 
ของการด�ำเนินชีวิตและการปฏิบัติธรรม คือ 

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                          ๙๑

การประสานและประคองส่ิงสองส่ิงที่ดีงามให ้
ได้สมดุลกัน เช่น ระหว่างการท�ำงานทางโลกกับ 
การปฏบิ ตั ธิ รรม ระหวา่ งปรยิ ตั กิ บั ปฏบิ ตั  ิ ระหวา่ ง 
สมาธิกับวิปัสสนา แม้แต่ระหว่างวัตถุกับจิตใจ ก็ 
เป็นเรื่องที่เราต้องจัดให้ได้สมดุล เราปฏิเสธวัตถุ 
ไม่ได้ แต่ท�ำอย่างไรเราถึงจะไม่ให้มันมาบั่นทอน 
จิตใจ ถ้าหากว่าเรามีจิตใจที่พัฒนาแล้ว เช่น มี 
ปัญญา มเี มตตากรุณา เรากส็ ามารถใชว้ ัตถไุ ปใน 
ทางที่เป็นประโยชน์ได้ อันน้ีเป็นเร่ืองศิลปะของ 
การด�ำเนินชวี ติ

อย่างไรก็ตามอาตมาอยากจะย้�ำว่า แม้ใน 
ชีวิตของเรา มีสมดุลหลายอย่างหลายคู่ที่ต้อง 
จดั การหรอื ทำ� ใหเ้ กดิ ขน้ึ  แตก่ อ็ ยา่ ไปคดิ วา่ มนั เปน็  
เรื่องยุ่งยากซับซ้อน หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเป็น 
เร่ืองล�ำบากในการจัดเวลาให้ได้ดีในทุกเร่ือง ที่ 
จริงสมดุลแต่ละคู่น้ันไม่ได้แยกขาดจากกันทีเดียว 
นัก สามารถท�ำไปด้วยกันได้ เช่น สมดุลระหว่าง 

๙๒ ชี วิ ต ส ม ดุ ล

กายกับใจ งานภายนอกกับงานภายใน เราทำ� ไป 
ดว้ ยกนั ได ้ เวลากนิ ขา้ ว ถา้ เรากนิ อยา่ งมสี ต ิ กเ็ ปน็  
การเตมิ ทงั้ อาหารกายและอาหารใจไปพรอ้ มๆ กนั  
เวลาอาบน้�ำ ถ้าเราอาบอย่างมีสติ ก็เท่ากับชำ� ระ 
ทั้งกาย ช�ำระท้ังใจ ในท�ำนองเดียวกัน เวลาเรา 
ท�ำงาน เราก็ท�ำอย่างมีสติ ท�ำด้วยความขยัน 
ขันแข็ง แต่ก็รู้จักปล่อยวาง และมีสมาธิไปพร้อม 
กัน ถ้าท�ำอย่างน้ันด้วยท่าทีอย่างน้ันก็เท่ากับว่า 
เราได้ท�ำงานทางโลกควบคู่กับการปฏิบัติธรรม 
นอกจากน้ันหากเราท�ำอาชีพการงานด้วยใจที่มี 
เมตตากรณุ าตอ่ ทกุ ฝา่ ยทเี่ กยี่ วขอ้ ง เชน่  ปรารถนาด ี
ต่อผู้มารับบริการหรือลูกค้า ก็เท่ากับว่าเราได้ท�ำ 
ท้ังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ดังนั้นการ 
สร้างสมดุลในชีวิตจึงไม่ใช่เป็นเรื่องของการแบ่ง 
เวลาให้ถูกต้องเท่าน้ัน ท่ีส�ำคัญไม่น้อยก็คือ การ 
วางใจให้ถูกต้องจะช่วยให้ท�ำหน่ึงได้ถึงสอง นี้ 
เปน็ ศลิ ปะอกี อย่างหนง่ึ ของการด�ำเนินชวี ิต

รายนามผรู้ ่วมศรทั ธา
พมิ พ์หนังสือ ชีวิตสมดลุ

ลำ� ดับ ชื่อ-สกุล จ�ำนวนเงิน ล�ำดบั ชอ่ื -สกลุ จ�ำนวนเงิน
๑ คณุ ประกอบ มานะจิตต์ ๑๖,๕๐๐
๒ คุณอุดมพร สายเพ็ชร์ ๑๐,๗๘๐ ๑๘ คณุ ส่งศรี รงุ่ ถาวรวงค์  ๒,๑๐๐
๓ คณุ ภทั รวุฒิ ศศธิ ร ๙,๐๐๐ และครอบครวั
๔ คณะศรัทธาจากธนาคารออมสนิ ๗,๑๔๐ คณุ ศราชยั รุ่งถาวรวงค์
๕ คณุ ธิตาภา พิจติ รบนั ดาล ๗,๐๐๐ และครอบครวั
๖ บรษิ ัท ยูซีไอคอร์ปอเรชน่ั จ�ำกดั ๗,๐๐๐
๗ คุณบรรจง รตั นะ ๖,๐๐๐ ๑๙ คณุ พงศ์ภสั สร์ ถีระบตุ ร ๒,๐๐๐
๘ คณุ พชั นี ทองสิมา ๕,๐๐๐
๙ ผไู้ มป่ ระสงค์ออกนาม ๕,๐๐๐ ๒๐ พระมงคล มงคฺ โล ๒,๐๐๐
๑๐ คุณถนอมศักด์ิ อนิ ทร์จนั ทร์
๕,๐๐๐ ๒๑ คุณประพิณพฒั น์ บุญสร้าง ๒,๐๐๐
และมหาประธานจันทรโส ๕,๐๐๐
๑๑ หลวงตามหาสรุ ินทร์ วดั สะพาน ๒๒ คุณราชวรรณ์ ถวลิ หว่ ง ๒,๐๐๐
๑๒ คุณนรินทร์ เศวตประวิชกุล ๔,๐๐๐
๔,๐๐๐ ๒๓ ครอบครัวเมธาพิรฬุ หโ์ ชค และเพ่อื นๆ ๒,๐๐๐
และครอบครวั ๔,๐๐๐
๑๓ คุณพิรณุ จิตรยั่งยนื ๓,๑๐๐ ๒๔ คณุ จติ รา ปิยะวาทนิ ๒,๐๐๐
๑๔ หลวงตา มหาสุรินทร์ ๓,๐๐๐
๑๕ คณุ ณิชชา สิริธัญกร ๒๕ คุณไพฑรู ย์ ศฤงฆารนันท์ ๒,๐๐๐
๑๖ คณุ ปัญธณฏั ฐ์ ศรสี ุวรรณ ๓,๐๐๐
๑๗ คุณประสาท สตั ยใ์ จเท่ยี ง ๒๖ คณุ เอกชัย ดรี งุ่ โรจน์ ๑,๘๐๐

และคุณอารีย์ ขันธโภคา ๒๗ คุณปราณี จันมา ๑,๗๓๐

๒๘ ชมรมธรรมจริยะ ๑,๖๐๐

๒๙ ผไู้ มป่ ระสงคอ์ อกนาม ๑,๕๘๐

๓๐ พลตรีหม่อมหลวงระววี ัฒน์ ๑,๕๖๐
เกษมสนั ต์

๓๑ คุณศศิวรรณ ๑,๓๑๐

๓๒ คุณอโยธยั งดงาม ๑,๓๐๐

๓๓ คุณผัน สังขท์ อง ๑,๒๐๐

๓๔ คณุ สุฤดี ธีระภทั รานันท์ ๑,๒๐๐

ชี วิ ต ส ม ดุ ล

ล�ำดบั ชื่อ-สกุล จ�ำนวนเงนิ ลำ� ดับ ชือ่ -สกลุ จำ� นวนเงนิ
๓๕ คุณวิทยา หวงั กิตตกิ าล ๑,๐๐๐ ๕๕ คณุ นฤมล สารนติ ย์ ๕๓๐
๓๖ คณุ สมภพ ไตรโภชน์ ๑,๐๐๐ ๕๖ คณุ มานะ นาวนิ ๕๒๐
๓๗ คุณวิรุณภัสร์ วงศวรวัชร์ ๑,๐๐๐ ๕๗ คณุ ตีระ ตีรวฒั น์ ๕๒๐
๓๘ คุณอบุ ล เลาหเจริญสมบตั ิ ๕๘ คณุ สุพตั รา ศรรี านุรักษ์
๑,๐๐๐ ๕๐๐
และครอบครัว ๑,๐๐๐ และครอบครัว ๕๐๐
๓๙ ผไู้ ม่ประสงค์ออกนาม ๑,๐๐๐ ๕๙ คุณผาสพร ธปู พลี ๕๐๐
๔๐ คุณจิตต์วไิ ล จติ รวัฒนะ ๖๐ ฝ่ายการเงนิ บจก.ไปรษณีย์ไทย
๔๑ พระอานนท์ อริโย, คุณภาณี ๑,๐๐๐ ๖๑ คุณณฐั บุรี ๕๐๐
๕๐๐
คณุ ประกายวรรณ ๑,๐๐๐ และคณุ อาภามาศ สิรินุตานนท์ ๕๐๐
คุณประกายดาว ฅนซ่อื ๖๒ คณุ รุ่งนภา เดชไพบลู ย์ยศ ๕๐๐
๔๒ คุณแมท่ องค�ำ สูติกลางวหิ าร, ๑,๐๐๐ ๖๓ คุณทิวาพร หลวงบ�ำรุง ๕๐๐
คณุ ลิว้ เซง็ -คณุ ขรรคช์ ยั - ๑,๐๐๐ ๖๔ คุณพรทพิ ย์ ผลานวุ ัตร
ด.ญ.ยลดา น้าวิไลเจรญิ , ๖๕ คุณสุรภา แสงสรุ ิยา ๕๐๐
คุณเชาวนี ลม้ คาเจรญิ , ๑,๐๐๐ ๖๖ คุณชวลิต จริ ะธนากุล ๕๐๐
คณุ นยิ ม-ด.ช.ทัตตวิ ินท์ ยิม้ แยม้ , ๑,๐๐๐ ๕๐๐
คณุ ฐิติการ-คุณคณุ ากร พิเชฐไพศาล และครอบครวั
๔๓ คณุ ศริ ิพร วสุวราภรณ์ ๑,๐๐๐ ๖๗ คณุ อมรฤทธิ์ ชตุ ิมารกุล ๕๐๐
๔๔ คุณกานดา ปยิ ะวาทิน ๖๘ คุณกติ ตยิ า โคธนะเกษม ๕๐๐
๔๕ คณุ จนั ทรจ์ ิรา-คุณณัฐฐา-คณุ ๙๐๐ ๖๙ คณุ ณฎั ฐิยา พงษ์สวสั ดิ์ ๕๐๐
วชั รนิ ทร-์ คณุ ณัฐกรณ์-คณุ ธนารัฐ ๗๐๐ ๕๐๐
๔๖ คุณวิชยั โพธนิ์ ทไี ทและครอบครัว และครอบครวั
๔๗ คุณอุดมพร สายเพช็ ร ๖๙๐ ๗๐ คณุ ญาณภัค อาวรณ์ ๕๐๐
และครอบครัว ๖๐๐ ๗๑ คุณนฤดี ประมาภรณ์ ๕๐๐
๔๘ คุณหงส์ แซ่อวั่ , ร้านทองชชั อรุณ ๖๐๐ ๗๒ คณุ ศรีรตั น์ ประมาภรณ์ ๕๐๐
และลูกหลานทุกคน ๖๐๐ ๗๓ พ.ญ.สวุ รรณี สรุ ตั นโสภณ ๕๐๐
๔๙ คณุ มณนี ชุ ทรงแสงธรรม ๖๐๐ ๕๐๐
๕๐ ครอบครัวกุลไชย, และครอบครัว ๕๐๐
ครอบครวั แยม้ โอษฐ์ ๗๔ คณุ วไิ ล วิชากร
๕๑ คณุ สุภัค เจรญิ กอ้ งเกียรติ ๗๕ คณุ จตุพร จงโชติชัชวาลย์ ๕๐๐
๕๒ คุณปทัตตา ภูมริ ัตน์ ๗๖ คุณพอ่ พกั ไล้ แซ่น้า
๕๓ คุณววิ ฒั นา ธรรมวริ ุฬห์ ๗๗ คุณประชา ศิริสัตย์
๕๔ คณุ เกษกาญจน์ ชุณหวิริยะกุล ๗๘ ผู้ไมป่ ระสงค์ออกนาม
๗๙ คุณแสงอรุณ เทยี นศรี

และคุณบปุ ผา เพ็ญลชัยพร

พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล                         

ลำ� ดับ ช่ือ-สกุล จ�ำนวนเงนิ ลำ� ดับ ชอื่ -สกลุ จ�ำนวนเงนิ
๘๐ คุณจนิ ตนา พรหมประเสรฐิ ๕๐๐ ๑๐๘ คุณมยรุ ี ทองใบ ๒๐๐
๘๑ คณุ เอ้อื มพร ชัยประภา ๕๐๐ ๑๐๙ คณุ ชวิน ค�ำวงั จกิ ๒๐๐
๘๒ คณุ ยุวดี องึ๊ ศรีวงษ์ ๕๐๐ ๑๑๐ คณุ ศรีวรรณ สุขแสนไกรศร
๘๓ คุณลักขณา อธิกจิ ๕๐๐ ๒๐๐
๘๔ คณุ พนติ า ปยิ ะอยุ ๔๘๐ และครอบครัว ๒๐๐
๘๕ คณุ วรลักษณ์ อรา่ มประยรู ๔๕๐ ๑๑๑ คณุ ชนิ วัฒน์ ล้ี ๒๐๐
๘๖ คุณกิตติ ธนูสวุ รรณศักด์ิ ๓๖๐ ๑๑๒ คุณลลี นาฏ อทิ ธพิ รภาคย์ ๒๒๐
๘๗ คุณจริ ชั ญา เออื้ ชัยกุล ๓๕๐ ๑๑๓ คณุ ศรี มะพร้าวขดู และครอบครัว ๒๐๐
๘๘ คณุ สมศักดิ์ จิตตริ ตั น์ ๓๓๐ ๑๑๔ คุณสิรวิ รรณ นาถเสวี ๒๐๐
๘๙ คณุ นัทธภัทร ๑๑๕ คุณเงก็ (อุทศิ ใหแ้ ม่เซีย้ ม ศิริสตั ย์) ๒๐๐
๓๒๐ ๑๑๖ ผไู้ ม่ประสงคอ์ อกนาม ๒๐๐
ปาลกะวงศ์ ณ อยธุ ยา ๓๐๐ ๑๑๗ คุณเตยี ง-คุณพิม สริ ิเบญ็ จา ๒๐๐
๙๐ คณุ นนทกร สกั กะพลางกูร ๓๐๐ ๑๑๘ คณุ กฤชฤกษ์ เลาหไพโรจน์วฒั นา ๒๐๐
๙๑ คุณวาสนิ ี สักกะพลางกรู ๓๐๐ ๑๑๙ คุณธีรยุทธ สุวรรณเกษตร ๒๐๐
๙๒ ด.ญ.ปวณี ก์ ร สักกะพลางกรู ๓๐๐ ๑๒๐ คณุ ขนิษฐา ปที่ อง ๒๐๐
๙๓ คุณสมชาย วริ าศ ๓๐๐ ๑๒๑ คณุ พรสวรรค์ วทิ ยาอนมุ าส ๑๙๐
๙๔ คณุ วันดี อุดมวงศยนต์ ๓๐๐ ๑๒๒ คณุ วาสนา ศรบี ุญธรรม ๑๘๐
๙๕ คณุ อรนนั ท์ เออ้ื ชัยกุล ๑๒๓ คุณสมชาย วิราศ ๑๗๐
๙๖ คณุ นวลศร-ี คุณสุวรรณา- ๓๐๐ ๑๒๔ คุณขนษิ ฐา งามประดษิ ฐ์วงศ์ ๑๕๐
๓๐๐ ๑๒๕ คุณพิจยั อคั รวฒุ ิ ๑๕๐
คุณสุนนั ท์ สริ ิต้งั จิตธรรม ๒๗๐ ๑๒๖ คุณประมวล สมณะ ๑๔๐
๙๗ คณุ ศุภกิจ กรกจิ โสภณ ๑๒๗ คุณชาญณรงค์ หมื่นพรม ๑๔๐
๙๘ คุณปนัดดา ทวขี �ำ ๒๕๐ ๑๒๘ คุณเอื้อมพร ม่นั เสกวทิ ย์ ๑๔๐
๙๙ ด.ญ.ศภุ สรา-ด.ญ.ชนิดาภา- ๒๕๐ ๑๒๙ คณุ พัชรา องั คลุ นาวนิ ๑๓๐
๒๔๐ ๑๓๐ คุณเทยี มเนตร แสงงาม ๑๑๐
ด.ญ.ชนาธนิ าถ สมณะ ๒๓๐ ๑๓๑ จติ สทโฺ ธภกิ ขุ ๑๑๐
๑๐๐ คณุ ศิลปช์ ยั จันทรเ์ พชร ๒๓๐ ๑๓๒ คุณมนสั นนั ท์ เด่นลมิ ปนวฒุ ิ ๑๑๐
๑๐๑ คณุ ส�ำราญ กอไธสง ๒๒๐ ๑๓๓ คณุ พลู ศรี ธนาพทุ ธาสวสั ดิ์ ๑๐๐
๑๐๒ ผ้ไู มป่ ระสงคอ์ อกนาม ๒๑๐ ๑๓๔ คณุ มณทิรา เกษมกรกจิ ๑๐๐
๑๐๓ คณุ ปิติวฒั น์ จงศิริรัตนก์ ุล ๒๐๐ ๑๓๕ อ.จันทรา ทองเคียน ๑๐๐
๑๐๔ คณุ ไพริน สิงหท์ อง และครอบครวั ๒๐๐ ๑๓๖ คณุ วรรณชยั ท้าวนลิ ๑๐๐
๑๐๕ คุณอคั วทิ ย์ สวุ รรณวานชิ กุล ๑๓๗ คณุ ศริ ดา สัยเกตุ
๑๐๖ คณุ พนั ทพิ ย์ ประมูลวงษ์
๑๐๗ คณุ อัจฉรา แซต่ ัง้

ชี วิ ต ส ม ดุ ล

ล�ำดบั ช่อื -สกุล จำ� นวนเงิน ล�ำดับ ชอื่ -สกลุ จ�ำนวนเงนิ
๑๓๘ คุณอ�ำนาจ ปลอดโปรง่ ๑๐๐
๑๓๙ คณุ มนตจ์ นั ทร์ ภญิ โญชนม์ ๑๐๐ ๑๖๓ ด.ญ.วรรณภิ า แสงอุ่น ๕๐
๑๔๐ คณุ วรลกั ษณ์ พเิ ศษ ๓
๑๐๐ ๑๖๔ คุณภคั นนั ท์ จันทร์เสละ ๕๐
รพ.สมทุ รปราการ ๑๐๐
๑๔๑ คุณเชาวรนิ ภัทรโชคช่วย ๑๐๐ ๑๖๕ คุณชนเธียร ภู่ทอง ๔๐
๑๔๒ พ.ญ.อัจจิมา อิสสระ ๑๐๐
๑๔๓ คุณพไิ ลพร แพงไพรี ๑๖๖ คุณพัชรา คุณประภา ๔๐
๑๔๔ คณุ พอ่ ระนกึ -คุณแม่สงวน- ๑๐๐
๑๐๐ ๑๖๗ คณุ อารี อยู่สุข ๔๐
คณุ ปานทิวา สุขทองสา,
คณุ ศราชัย-ด.ญ.กัลยา รุง่ ถาวรวงศ์ ๑๐๐ ๑๖๘ คุณจิรญั บรู ณ์ เภตราพูนสนิ ไชย ๔๐
๑๔๕ คณุ แนง่ น้อย มณีพนั ธ์ ๑๐๐
๑๔๖ คุณจรญู รัตน์-คุณบุญช่วย- ๑๐๐ ๑๖๙ คุณสมศักด์ิ ปัทมวรกลุ ชยั ๔๐
ด.ช.ปฏิภาณ-ด.ช.ปณชยั พพิ ัฒน์ชลธี
๑๔๗ คุณสมพงษ์ รงุ่ ถาวรวงค์ ๑๐๐ ๑๗๐ คุณเมธณิ แจม่ นยั น์ ๔๐
๑๔๘ คณุ วิไล หริ ญั พฤกษ์ และครอบครัว ๑๐๐
๑๔๙ คณุ ภาวณิ ี อคั วรุ่งบ�ำรุง ๑๐๐ ๑๗๑ คุณทวิ าพร หลวงบำ� รงุ ๔๐
และครอบครวั
๑๕๐ คณุ ธัญลกั ษณ์ กาญจนลกั ษณ์ ๑๐๐ ๑๗๒ คณุ ณัฐฐยาน์ ตั้งเสริมวงศ์ ๒๐
๑๕๑ ผไู้ มป่ ระสงคอ์ อกนาม ๑๐๐
๑๕๒ คุณวิโรจน์ ศริ ะพรพันธุ์ ๘๐ ๑๗๓ คณุ ภรภัทร สจุ ริ าธรณ์ ๒๐
และครอบครวั ๗๐
๑๕๓ คุณสมนกึ นจิ จอหอ ๗๐ ๑๗๔ คณุ ธนา ศรีนเิ วศน์ ๒๐
๑๕๔ คณุ นภสั ศรณ์ มีพรอ้ มมาศ ๖๐
๑๕๕ คุณอรพิมล โพธด์ิ ง ๖๐ ๑๗๕ คณุ เล็ก เถาสุวรรณ์ ๒๐
๑๕๖ คุณรตั น์รุ่ง สขุ เสมอ ๕๐
๑๕๗ คณุ ชชั รยี ์ ชูรตั น์ ๖๐ ๑๗๖ ด.ช.ปุญวจั น์ จนั ทรสมบัติ ๑๐
๑๕๘ คุณมานะ นาวนิ ๕๐
๑๕๙ คณุ ชานียา ธรรมสังวาลย์ ๕๐ ๑๗๗ คุณเพิม่ พงศ-์ ด.ช.เอกสหัส ๑๐
๑๖๐ คณุ ยพุ นิ แกว้ กนิ เนตร ธนพิพฒั น์สัจจา
๑๖๑ คณุ พรวดี สุกรนิ ทร์
๑๖๒ คณุ วนั ทนา ศภุ กาญจนกันต์ รวมศรัทธาท้ังสิน้ ๑๘๐,๗๒๐ บาท

ชมรมกลั ยาณธรรมขอกราบอนุโมทนา
ในกุศลจติ ของทุกทา่ นมา ณ ทีน่ ี้
ขอให้ทกุ ท่านเจริญในธรรม
ย่ิงๆ ขนึ้ ไปเทอญ

ธรรมชาตงิ ดงามไดเ้ พราะมคี วามสมดุล
ระหวา่ งการรับกับการให้

ต้นไมเ้ มือ่ ยงั เป็นต้นกลา้ ก็ดดู เอาน�ำ้ เอาปุย๋ จากดิน
ในเวลาเดียวกันกค็ ายน�้ำใหก้ บั โลก
ทง้ิ ก่งิ ท้งิ ใบใหเ้ ปน็ ปุย๋ กลับคืนสพู่ ้นื ดิน

เมอื่ โตขึน้ กย็ ังแผ่กิ่งกา้ นสาขาใหด้ อกผล
เพอื่ เป็นประโยชนแ์ ก่สรรพสัตว์

อันน้ีเป็นคุณสมบตั หิ รอื กฎเกณฑ์พนื้ ฐานของทุกชีวติ
ทกุ ชีวติ ตอ้ งมีคุณสมบตั ขิ อ้ น้ีถงึ จะอย่รู อด
และเจริญงอกงามได้
มนุษย์ก็เชน่ กันตอ้ งมสี มดุลระหว่างรบั กบั ให ้
แต่ทุกวนั น้เี ราใช้ชีวิตอยา่ งขาดสมดลุ มาก
จึงเต็มไปด้วยปัญหาท่ีลกุ ลามจนเปน็ วิกฤต
ทง้ั ในระดบั โลกและในระดบั ชวี ติ

www.kanlayanatam.com
www.visalo.org


Click to View FlipBook Version