The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

psychology03

psychology03

10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ 49

พฒั นาการของโอโตทาเกะใหม่ โดยใหโ้ อโอ
ทาเกะทำ� หนา้ ทแี่ ตกตา่ งจากเพอื่ นๆ วธิ กี าร
แรก คือ น�ำเคร่ืองพิมพ์คอมพิวเตอร์ ที่
เรยี กวา่ เวริ ด์ โปรเซสเซอร์ มาใหโ้ อโตทาเกะ
หัดพิมพ์ แล้วท�ำหน้าที่พิมพ์เอกสารของ
ห้องเรียน เหมือนเป็นเลขานุการของชั้น
และเพื่อเป็นการจงู ใจกต็ ง้ั เปน็ บรษิ ัท “โอโต
ฮโิ รการพมิ พ”์ โดยนำ� ตวั แรกของชอ่ื นามสกลุ
โอโตทาเกะมาตง้ั ชอ่ื “บรษิ ัท” ให้โอโตทาเกะ
เปน็ ประธาน ปรากฏวา่ โอโตทาเกะเรยี นรแู้ ละ
ท�ำหน้าที่ได้ดีจนสามารถช่วยพิมพ์เอกสาร
ของหอ้ งเรียนรวมทง้ั ของห้องเรียนอ่ืนๆ ได้มาก

ต่อมาคุณครูโอกะก็ชกั ชวนโอโตทาเกะลงแข่งขันว่ิง 100 เมตร แต่
เพราะระยะทางขนาดนน้ั เขาต้องใชเ้ วลาว่งิ ถึง 2 นาที ขณะที่เด็กคนอน่ื ทวี่ ง่ิ
ชา้ ทส่ี ุด จะใช้เวลาแค่ 20 วนิ าที จงึ ตกลงใหโ้ อโตทาเกะตง้ั ต้นวงิ่ ทีจ่ ดุ 50
เมตรแทน โอโตทาเกะตอ้ งฝกึ ซอ้ มกับมโิ นรเุ พอื่ นสนทิ อย่างหนัก ในท่ีสุดก็
ว่งิ ถึงเสน้ ชยั จนได้ ทา่ มกลางเสียงเชียร์ของเพื่อนๆ ครแู ละผปู้ กครอง แม้
จะเข้าที่โหล่ แตก่ ็ไดร้ ับเสยี งปรบมอื กึกกอ้ ง

50 10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ

สิ่งท่ียากที่สุดส�ำหรับโอโตทาเกะที่จะต้องท�ำให้ได้คือการว่ายน�้ำ ซ่ึง
ทางโรงเรียนก�ำหนดให้นักเรียนช้ันประถม 6 จะต้องว่ายน�้ำให้ได้ระยะทาง
25 เมตร สภาพรา่ งกายที่สูงเพียง 70 ซม. ขณะท่สี ระนำ�้ ลกึ กว่าหนงึ่ เมตร
ท�ำให้เขาหย่ังไม่ถึงพ้ืน จึงลงสระน�้ำคนเดียวไม่ได้ เม่ือน้�ำสาดใส่หน้าก็ไม่
สามารถใชแ้ ขนปาดนำ�้ ออกได้ เปน็ ผลใหโ้ อโตทาเกะมอี าการ “กลวั นำ�้ ” ตง้ั แต่
แรก แตค่ รกู ็ไมล่ ดละ ได้ใชค้ วามพยายามจนเขาคอ่ ยๆ เรยี นรวู้ ิธลี อยตวั จน
เรมิ่ ว่ายได้ แต่ตลอดห้าปีแรกเขาว่ายไดร้ ะยะทางไกลแค่ 6 เมตรเท่านั้น
เด็กคนอ่ืนเมื่อว่ายไปสักคร่ึงทางเกิดหมดแรง ก็สามารถพักโดยยืนบนพื้น
สระ ก่อนจะว่ายตอ่ ไปจนครบ 25 เมตร แต่โอโตทาเกะท�ำเชน่ นั้นไม่ได้ ใน
ทสี่ ดุ ตอ้ งใช้แผ่นโฟมช่วยใหล้ อยตัว จึงวา่ ยจนถึงได้ โดยใชเ้ วลาถงึ 1 นาที
57 วนิ าที ซงึ่ เปน็ ท่ีโหล่ในช้ัน แตเ่ พือ่ นๆ ทงั้ ในชั้นและจากโรงเรยี นอ่นื พา
กนั ปรบมอื ให้ คณุ ปา้ ผ้ปู กครองคนหน่ึงที่ไปในงานวนั นนั้ ถึงกับร้องไห้เลย

ทางด้านการพัฒนาสมอง คุณครูโอกะใช้วิธีให้เด็กนักเรียนสอบ
แข่งขันวดั อนั ดบั ความเกง่ อกั ษร “คันจิ” ปรากฏวา่ โอโตทาเกะไดแ้ ชมปเ์ ป็น
ประจำ� เพราะขอ้ จำ� กดั ของรา่ งกายทำ� ใหไ้ ดอ้ ยบู่ า้ นมากกวา่ เพอื่ นๆ หลงั เลกิ
เรียน จึงมีเวลาค้นหาคำ� ศัพทจ์ ากพจนานุกรมได้มากกว่าเพอื่ นๆ

เหนืออื่นใด ความพิการของโอโตทาเกะซึ่งคุณครูก�ำหนดให้เพื่อนๆ

10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ 51

ทุกคนให้ความช่วยเหลือ ได้ปลูกฝังให้เด็กนักเรียนในชั้นเป็นคนใจดีอย่าง
ชดั เจน คุณครูโอกะบอกว่า “เพราะหอ้ งเรามีฮิโร เวลามีใครเดอื ดรอ้ น เรา
ก็จะช่วยกันโดยธรรมชาติ เป็นห้องที่มีความเมตตาดีจริงๆ” ประสบการณ์
เช่นเดียวกันน้ีเกิดกับเพื่อนของโอโตทาเกะ ซึ่งท�ำงานเป็นครูพี่เล้ียงเล่าให้
เขาฟังวา่ “เม่ือเรม่ิ ฤดูใบไมผ้ ลิปนี ี้ มเี ดก็ ดาวน์ซนิ โดรมมาอยใู่ นความดแู ล
ของฉนั ตอนแรกๆ เดก็ ในหอ้ งกต็ กใจ ไมก่ ลา้ เขา้ ใกล้ แตพ่ อเวลาผา่ นไปสกั
เดือนสองเดอื น หอ้ งของเราก็เกิดบรรยากาศของความมีเมตตาขึ้นมา โดย
มเี ด็กคนน้ันเปน็ ศูนย์กลาง”

ในทส่ี ดุ โอโตทาเกะกเ็ รยี นจนจบชนั้ ประถมศกึ ษาไปไดด้ ว้ ยดี และเขา้
ส่รู ะดับมธั ยม ซง่ึ โรงเรียนมัธยมโองะรับโอโตทาเกะเข้าเรยี นโดยไมม่ ปี ัญหา
อะไร คงเพราะตอนประถมปลาย โอโตทาเกะไปโรงเรยี นเองโดยไมต่ อ้ งมีใคร
ต้องดูแล และยงั สนุกสนานกบั ชีวิตในโรงเรยี นย่งิ กว่าคนอนื่

พอเขา้ เรยี นชน้ั มธั ยม เด็กนกั เรยี นต้องเขา้ ร่วมกิจกรรมชมรมตา่ งๆ
โอโตทาเกะทำ� เซอร์ไพรส้ ์ใหแ้ กท่ กุ คนโดยเฉพาะพอ่ กบั แมโ่ ดยการสมคั รเขา้
ชมรมบาสเกตบอล รา่ งทเ่ี ตย้ี มากเปน็ ขอ้ จำ� กดั อยา่ งยง่ิ แตเ่ ขากข็ ยนั ฝกึ ซอ้ ม
จนว่งิ เล้ยี งลกู และส่งลูกได้ เร่มิ จากหดั เลี้ยงลูกอยูก่ บั ท่ี ตอ่ ดว้ ยการวงิ่ เลีย้ ง
ลกู จากมอื ซา้ ยทถ่ี นดั เรมิ่ หดั เลย้ี งลกู ดว้ ยมอื ขวา และสลบั ซา้ ยขวาจนครูให้

52 10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ

“ความพิการของโอโตทาเกะ

ซ่งึ คณุ ครกู �ำหนดให้เพือ่ นๆ ทกุ คน
ใหค้ วามชว่ ยเหลือ

ไดป้ ลูกฝังให้เดก็ นักเรียนในชนั้
เป็นคนใจดีอย่างชดั เจน



10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ 53

ลงแขง่ ขันได้ แนน่ อนวา่ เขาท�ำให้ทมี มีสภาพเหมือนลงแข่งแค่ 4 คน สกู้ บั
อกี ทีมซ่งึ มคี รบ 5 คน แตท่ ง้ั โคช้ และเพ่ือนร่วมทมี ต่างพร้อมใจให้เขารว่ ม
ทีมลงแขง่

นอกจากกิจกรรมกีฬาแล้ว โอโตทาเกะยังเข้าร่วมกิจกรรมด้าน
“วัฒนธรรม” อย่างแข็งขัน ถึงขั้นลงสมัครเป็นผู้แทนของช้ันในคณะ
“กรรมการบรหิ ารด้านวัฒนธรรม” โดยแข่งขันกับเพอ่ื นทอ่ี ยู่ในแมนชั่นตรง
ข้ามบา้ นของเขา คแู่ ข่งของเขาเปน็ นักเรียนเก่ง และยงั เป็นหน่ึงใน “สาม
หวั โจกประจำ� หมู่ 1” ในชน้ั ดว้ ย คะแนนเสียงของทัง้ คู่สูสกี ัน ซึ่งในทสี่ ุดโอโต
ทาเกะสามารถเอาชนะได้ แต่ชนะแล้วก็ไม่สบายใจ เพราะบ้านของทั้งสอง
อยู่ใกล้กัน เวลากลับบ้านก็ไปทางเดียวกัน แต่น่ายินดีที่เพื่อนยอมรับ
ความพา่ ยแพโ้ ดยดษุ ฎแี ละแสดงออกโดย การบอกวา่ “วนั นเ้ี ราจะไปเลน่ บา้ น
นายนะ” เม่ือไปถึงก็บอกแมโ่ อโตทาเกะวา่ “คุณป้าฮะ ผมแพ้โอโตซะแลว้
แพแ้ คน่ ิดเดียวเอง นา่ เจบ็ ใจจงั ฮะ” แมต่ อบวา่ “แลว้ ยงั อตุ สา่ ห์มาเลน่ ดว้ ย
เหรอ? ดีจังนะ เด็กผู้ชายนี้ไม่เร่ืองมากดี” โอโตทาเกะเขียนถึงเพ่ือนคนน้ี
อย่างนา่ รักมาก ว่า “ไม่ใชห่ รอกครบั ไม่ใชเ่ พราะเปน็ ผชู้ ายแลว้ ไมเ่ รื่องมาก
อยา่ งทแ่ี มผ่ มคดิ แตเ่ ขาคำ� นงึ ถงึ ความรสู้ กึ ของผม จงึ สทู้ นอดกลนั้ ความรสู้ กึ
เสยี ใจเอาไว้ ตอนนเ้ี พอ่ื นทำ� อะไร อยทู่ ี่ไหนนะ? ไดเ้ รยี นหมอตามทเ่ี คยใฝฝ่ นั
หรือเปลา่ นะ? คนอยา่ งเพอ่ื นรบั รองวา่ เปน็ หมอที่ดีแนน่ อน”

54 10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ

ในช่วงมัธยมต้นน่ันเอง โอโตทาเกะพบ “ฮีโร” ของเขาซ่ึงมาจาก
โรงเรียนประถมเดียวกัน แต่ไม่เคยเรียนห้องเดียวกัน เมื่อข้ึนไปเรียนช้ัน
มธั ยม “ยตั จงั ” เร่ิมเบอ่ื เรียน โดดเรียน แอบสูบบุหร่ีและมีพฤติกรรมแบบ
“นกั เรยี นนกั เลง” โอโตทาเกะ มองความแปลกแตกตา่ งน้นั เป็นเสนห่ ด์ งึ ดดู
อย่างมาก จนเริ่มโดดเรียนไปกับยัตจัง ซึ่งชวนเขาสูบบุหร่ี แต่เขาปฏิเสธ
และยตั จงั ก็ไมค่ ะยนั้ คะยออกี โอโตทาเกะ “รสู้ กึ ผดิ เหมอื นกนั ท่ีโดดเรยี น แต่
ความสุขท่ีได้อยกู่ บั เขา พัดเอาความรสู้ ึกผิดของผมหายไปหมด” ครูเตือน
โอโตทาเกะวา่ “อย่าไปเก่ยี วขอ้ งกับหมอนน่ั นะ” และเตือนยัตจงั ว่า “อย่าไป
ยุ่งกับโอโตทาเกะนักนะ” ในสายตาของครูและคนท่ัวไปมองว่ายัตจังเป็น
“เด็กเลว” แต่โอโตทาเกะมองวา่ เขาไม่ใช่ “คนเลว” แน่นอน สดุ ทา้ ยยตั จังก็
เรยี นไมจ่ บ ต้องออกจากโรงเรยี นกลางคันขณะเรียนอย่ชู ้ันมัธยมปลาย แต่
เขาก็ไม่ได้เสียคน และกลายเป็นช่างไฟฟ้าที่กลับตัดผมเรียบร้อยและย้อม
ผมใหก้ ลับเปน็ สดี ำ� ดงั เดิม

แม้โอโตทาเกะจะสุ่มเส่ียงที่ไปคบและช่ืมชมกับ “นักเรียนนักเลง”
อย่างยตั จงั แตด่ า้ นดีก็คือ สถานะท่เี ป็นคนเรยี นเก่งจนเป็น “คนเด่น” และ
มลี ักษณะ “อวดดี” จนอาจมีเดก็ บางคน “หมั่นไส้ไอ้เดก็ พกิ ารน่นั ” แต่เขาก็
ไมเ่ คยถูกใครรังแกเลย

10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ 55

ในชน้ั มัธยมต้นนน่ั เอง แม้จะพกิ ารอย่างมาก แต่ความเดน่ ความดงั
ของโอโตทาเกะก็ท�ำใหน้ ักเรียนหญงิ รุ่นน้องเขยี นจดหมายบอกรัก เร่ิมจาก
ฉบบั แรก และตอ่ มาอกี หลายฉบบั ถงึ ขน้ั โอโตทาเกะมอบ “กระดมุ เมด็ ทส่ี อง”
ให้ กระดมุ เมด็ ทสี่ องของเครอื่ งแบบนกั เรยี นชาย “คอื เมด็ ทอี่ ย่ใู กลห้ วั ใจทสี่ ดุ
นักเรียนหญิงจึงมักขอจากคนที่เธอชอบในวันจบการศึกษา” แม้ในที่สุด
โอโตทาเกะจะ “ไมส่ ามารถตอบสนองความรสู้ ึกของเธอได้” แตเ่ ธอคือผูล้ บ
ปมด้อยความพิการของเขาในเร่ืองความรัก “เธอคือผู้ท่ีท�ำให้ผมเกิดความ
กล้าหาญตอ่ ความรักในภายหลงั ”

จากมัธยมตน้ ก็ถงึ เวลาหาโรงเรียนมธั ยมปลายที่ดีทส่ี ุด โอโตทาเกะ
ฝนั อยากเขา้ โรงเรยี นมธั ยมโทยามะ สงั กดั มหานครโตเกยี ว ซง่ึ เปน็ โรงเรยี น
เก่าแก่มีประวัติยาวนานกว่าร้อยปี แต่คนที่จะเข้าโรงเรียนน้ีได้คะแนนต้อง
สูงมากทุกวิชา คะแนนหลักท้ัง 5 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาญ่ีปุ่น
คณติ ศาสตร์ สังคมศึกษา และวทิ ยาศาสตร์ โอโตทาเกะท�ำได้ดีมาก แต่
คะแนนทฉี่ ดุ มากคอื พลศกึ ษาเพราะเขาไดเ้ พยี ง 1 จากเตม็ 5 ฉะนนั้ เขาตอ้ ง
ทำ� คะแนนวชิ าอนื่ ๆ ใหส้ งู ลว่ิ นอกจากนน้ั บา้ นเขายงั อยไู่ กลจากโรงเรยี นมาก
จึงแทบเป็นไปไม่ได้ท่ีเขาจะเดินทางไปโรงเรียนเป็นประจ�ำทุกวัน แต่แล้ว
ทกุ อยา่ งกเ็ ปน็ ไปได้ เมอื่ พอ่ ของเขาตดั สนิ ใจยา้ ยบา้ นไปอยใู่ กลโ้ รงเรยี น ซง่ึ กวา่
จะหาบ้านใหม่ได้ก็แสนยาก เพราะทางเข้าต้องไม่เป็นขั้นบันได ถ้าอยู่ช้ัน

56 10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ

สองต้องมีลิฟท์ ตรงทางเข้าต้องมีท่ีว่าง
ส�ำหรับไวเ้ ก้าอ้ลี ้อ เวลากม็ จี �ำกดั แต่ใน
ท่ีสุดพ่อก็หาจนได้ และรีบท�ำสัญญา
เพราะมีรายอื่นมาติดต่อไว้ด้วย แรง
กดดนั จงึ อยทู่ ี่โอโตทาเกะจะตอ้ งสอบเขา้
ให้ได้ ซึ่งในทส่ี ดุ โอโตทาเกะกท็ �ำได้ พ่อ
แมบ่ อกภายหลงั วา่ ท่ตี กลงท�ำสัญญาก็
เพราะ “มัน่ ใจในตัวลกู ชาย”

พอเข้าโรงเรียนมัธยมโทยามะ
ได้ โอโตทาเกะก็ท�ำตามความฝันอีกขั้นคือ ขอสมัครเข้าชมรมอเมริกัน
ฟตุ บอล ซ่งึ ปกตจิ ะต้องเป็นคนปกติรา่ งกายใหญ่โตเท่านั้น แตเ่ พราะความ
ฝงั ใจกบั คำ� กลา่ วของศลั ยแพทยค์ นหนง่ึ ทผี่ า่ ตดั ใหเ้ ขา บอกวา่ “พวกอเมรกิ นั
ฟตุ บอลโทยามะนา่ ท่งึ มาก” ในทส่ี ดุ ทกุ ฝ่ายก็หาหนา้ ทีท่ ่ีเหมาะสมให้แก่เขา
ได้ เพราะแมอ้ เมรกิ นั ฟตุ บอลจะตอ้ งตอ่ สกู้ นั ดว้ ยพลกำ� ลงั มหาศาล แต่ “พลงั
ปญั ญา” กม็ คี วามสำ� คญั ไมแ่ พก้ นั โอโตทาเกะไดร้ บั มอบหนา้ ทด่ี า้ น “ขอ้ มลู ”
ของคู่ต่อสู้ โดยรวบรวมข้อมูลให้รอบด้านป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ น�ำมา
วิเคราะห์เพื่อวางแผนการเลน่ ของทมี โอโตทาเกะยังได้รับอนญุ าตพิเศษให้
เขา้ รว่ มประชมุ เวลาโคช้ ตดั สนิ ตำ� แหนง่ ของผเู้ ลน่ นอ้ งใหม่ และบางครง้ั กท็ ำ�

10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ 57

หน้าทีด่ ูแลการฝึกซ้อมดว้ ย และแล้วสงิ่ ท่ีไม่คาดฝันกบ็ ังเกิดขน้ึ เมอ่ื ทมี ของ
โทยามะสามารถพิชิตแชมป์โตเกียว ซ่ึงนับเป็นคร้ังท่ีสองในประวัติศาสตร์
ของโรงเรียนโทยามะ แตไ่ ม่สามารถไปถึงฝัน “แชมป์คันโต” คือแชมปภ์ าค
ตะวนั ออกของเกาะฮอนชูได้

โรงเรียนมัธยมโทยามะไม่ได้มุ่งการเรียนการสอนในช้ันเรียนเท่าน้ัน
ทุกปีในเดอื นกนั ยายนจะมี “เทศกาลโทยามะ” ซง่ึ นักเรียนปีหนึง่ จะเปน็ ผจู้ ัด
แสดงนทิ รรศการ ปสี องจดั แสดงละคร และปสี ามจะตอ้ งผลติ ภาพยนตรห์ อ้ ง
ละ 1 เรอ่ื ง เพอ่ื นๆ เชียร์ให้โอโตทาเกะสมคั รเปน็ ผู้กำ� กบั แต่โอโตทาเกะรูด้ ี
วา่ เพอ่ื นชอื่ มชิ โิ อะมคี วามรคู้ วามสามารถดกี วา่ ตนมาก จงึ ไมย่ อมทำ� ตาม
แรงเชยี ร์ของเพื่อน ห้องเรียนจงึ มมี ชิ โิ อะเปน็ ผู้กำ� กับ โอโตทาเกะเป็นผูช้ ่วย
ผ้กู �ำกบั โอโตทาเกะพงึ พอใจในหนังและผลงานชน้ิ นมี้ าก

โอโตทาเกะมไิ ดเ้ รยี นเกง่ ไปทกุ วชิ า การทเี่ ขามงุ่ มนั่ ทมุ่ เทใหแ้ กช่ มรม
อเมริกันฟุตบอล ทำ� ใหค้ ะแนนบางวิชาของเขาต่ำ� มาก วิชาคณติ ศาสตร์ ซงึ่
เป็นวิชาที่เขาไม่ชอบ คะแนนเต็ม 200 เขาเคยสอบได้แค่ 7 คะแนน

โอโตทาเกะกเ็ หมอื นเดก็ คนอน่ื ๆ ทมี่ คี วามฝนั อยากเปน็ โนน่ เปน็ นม่ี า
ตง้ั แตย่ งั เดก็ เร่ิมจากอยากเป็นนักเบสบอลท้ังๆ ทม่ี ีแขนขากดุ ตอ่ มาตอน

58 10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ

เรยี น ป.3 ป.4 อยากเปน็ นักเลน่ หมากรกุ อาชีพ พออยูช่ ้ัน ป. 6 จู่ๆ ก็อยาก
เปน็ ประธานาธบิ ดสี หรฐั อเมรกิ า ถงึ ชนั้ มธั ยมตน้ อยากเปน็ ทนายความ เพราะ
ตอนนั้นชอบเถียงแม่จนแม่ประชดให้ว่า “ถ้าลูกชอบต่อล้อต่อเถียง ชอบ
เอาชนะดว้ ยปากละก็ เปน็ ทนายความซะเลยสิ” โอโตทาเกะฟงั แม่ประชดก็
เกิดอยากเป็นทนายความจรงิ ๆ เพราะคิดว่า “เปน็ ทนายความนี่เท่ด”ี และ
ฝนั เชน่ นน้ั อยหู่ ลายปี แตพ่ อใกลข้ นึ้ ชน้ั มธั ยมปลายความอยากเปน็ ทนายเกดิ
จางหายไป และเรมิ่ เคว้งคว้างไมร่ ู้ว่าตนเองตอ้ งการอะไร และพาลคดิ ตอ่ ไป
วา่ เมอื่ “ไมร่ วู้ า่ ตวั เองอยากทำ� อะไรแลว้ จะเรยี นมหาวทิ ยาลยั ไปทำ� ไม” เพราะ
ปักใจกับคตชิ วี ิตทว่ี ่า “ผมไม่ยอมท�ำงาน เพราะไม่ร้จู ะท�ำอะไรดีเด็ดขาด”
ความคดิ เชน่ น้ันทำ� ให้หมดไฟท่ีจะทมุ่ เทดูหนงั สือเพ่ือสอบเขา้ มหาวทิ ยาลัย
ไปดอื้ ๆ ขณะทเี่ พอ่ื นๆ พากนั มงุ่ เขา้ มหาวทิ ยาลยั บางคนวงิ่ หาโรงเรยี นกวด
วชิ า แต่โอโตทาเกะยงั ไม่รูจ้ ะไปไหนกบั เขา

เคราะหด์ ีมีเพือ่ นคนหนึ่งมาพดู ว่า “โอโต นายนะ่ อุดมคตเิ กนิ ไป อายุ
18 ปี แค่น้ี จะมีสักกี่คนท่ีรู้ว่าตัวเองอยากจะท�ำอะไร จริงอยู่ เราเข้า
มหาวทิ ยาลยั เพอื่ เรยี นในสาขาทเี่ ราอยากทำ� ถา้ ใครทำ� อยา่ งนี้ไดก้ ด็ ที ส่ี ดุ แต่
เรากอ็ าจจะเขา้ มหาวิทยาลัยเพือ่ แสวงหาสง่ิ ทเี่ ราอยากจะท�ำก็ได้นี่นา”

ประโยคนี้เองท�ำให้โอโตทาเกะตาสว่าง ตกลงใจจะเข้ามหาวิทยาลัย

10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ 59

ซึ่งเขาเล็งมหาวิทยาลัยวาเซดะไว้แล้ว เพราะมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็น
มหาวิทยาลัยเอกชนเก่าแก่ท่ีมีช่ือเสียงมาก ข้อส�ำคัญอยู่ใกล้ๆ โรงเรียน
โทยามะ และอยู่ฝั่งตรงข้ามหรือเย้ืองๆ บ้านของเขาน่ันเอง แต่จะเข้า
มหาวิทยาลัยวาเซดะได้ไม่ใช่ง่ายๆ ต้องแข่งขันสูงมาก เขาจึงต้องไปหา
โรงเรยี นกวดวชิ าซงึ่ กต็ อ้ งไปเจอปญั หาใหญ่ เพราะโรงเรยี นกวดวชิ าโดยมาก
ไม่ “พรอ้ ม” ทจ่ี ะรบั คนพิการมากๆ อยา่ งโอโตทาเกะ เนือ่ งจากสถานที่ไม่
เอ้อื อำ� นวย ตั้งแต่เรยี นจนจบช้นั มธั ยม โอโตทาเกะไดร้ ับการดูแลช่วยเหลอื
จากครู พอ่ แมแ่ ละเพอ่ื นๆ จนไมร่ สู้ กึ วา่ เปน็ คนพกิ าร แตพ่ อถงึ คราวตอ้ งหา
โรงเรยี นกวดวชิ ากเ็ จอปญั หาจนรสู้ กึ วา่ “นคี่ อื ครง้ั แรกทผี่ มตอ้ งชนกำ� แพงใน
ฐานะคนพิการ” เคราะห์ดีที่สขุ ภาพจิตเขาดีเยยี่ ม จงึ “เพยี งแต่รู้สกึ แปลกใจ
เท่านน้ั วา่ ....หืมม์ คนนง่ั เก้าอี้ล้อเนี่ยล�ำบากเหมือนกันนะ”

โชคดี สดุ ทา้ ยโรงเรยี นกวดวชิ าแหง่ หนง่ึ กร็ บั เขาเขา้ เรยี น แตช่ ว่ งแรก
เขายงั หว่ งเทยี่ วสนกุ สนานกบั เพอ่ื นๆ ขณะทจี่ ะตอ้ งทมุ่ เทดหู นงั สอื สอบ แลว้
“จะมหี วงั หรือ”

แมจ้ ะมาจากโรงเรยี นชนั้ ดี แตพ่ นื้ ฐานความรบู้ างวชิ าของโอโตทาเกะ
ออ่ นมาก ชวั่ โมงแรกในวชิ าภาษาองั กฤษ อาจารยฟ์ น้ื เรอ่ื งโครงสรา้ งพน้ื ฐาน
ของประโยค คอื ประธาน (S-Subject) กรยิ า (V-Verb) กรรม (O-Object)

60 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

โอโตทาเกะยังไม่ร้เู ลยวา่ มนั หมายถึงอะไร ห้องนอนที่บา้ นเขาก็แคบ ต้ังได้
แตเ่ ตยี ง กบั ตเู้ สอื้ ผา้ เทา่ นนั้ ไมม่ ที พี่ อใหต้ ง้ั โตะ๊ หนงั สอื ถา้ จะดหู นงั สอื ทบ่ี า้ น
กต็ อ้ งลงไปดูในหอ้ งนงั่ เลน่ ซง่ึ อยขู่ า้ งๆ พอ่ แมซ่ งึ่ กำ� ลงั ดูโทรทศั น์ โอโตทาเกะ
จงึ ต้องใช้หอ้ งหนึง่ ท่ีโรงเรยี นเป็นทดี่ ูหนงั สอื เม่อื กลบั บ้านกด็ กู ารถ่ายทอด
เบสบอลกับพอ่ อยา่ งสบายอารมณ์ และเขา้ นอนต้งั แตส่ ่ที มุ่ เศษ เขามสี ภาพ
เหมือนเด็กประถมคือ ต้องนอนให้พอ ไม่เช่นน้ันวันรุ่งขึ้นจะไม่ค่อยมีแรง
ท�ำอะไรไม่ไหว แต่การจัดระบบเช่นน้ีท�ำให้เขาได้ดูหนังสือวันละมากกว่า
10 ชว่ั โมงทกุ วนั และนอนพอด้วย แตพ่ อถงึ วันสอบ ซงึ่ เขาสมคั รสอบเข้า
ถึง 5 คณะ ขณะสอบวิชาที่สอง ในวันแรก เกิดปวดฉี่ข้ึนมากะทันหัน
เนอ่ื งจากอณุ หภมู หิ ้องเย็นกวา่ ทคี่ าด และเครยี ดดว้ ย ทำ� ให้เสยี สมาธอิ ย่าง
มาก สอบเสร็จก็ไม่มีหวงั จะเขา้ ได้สกั คณะ พอ่ แมก่ ็ไม่คดิ ว่าจะสอบได้ ตอน
นั้นพ่อแม่ไม่ได้ห่วงว่าเขาจะสอบได้หรือไม่ ได้แต่ปรึกษากันว่าจะปลอบใจ
ลกู อยา่ งไรดตี อนทเี่ ห็นลกู คอตกกลับบ้าน ซ้ำ� ร้ายรายการท�ำนายโชคชะตา
ทางโทรทศั นเ์ ชา้ วนั ฟงั ผลสอบ ยงั ทำ� นายคนราษเี มษอยา่ งโอโตทาเกะวา่ “จะ
ตอ้ งอบั อายตอ่ หนา้ คนจำ� นวนมาก” แตผ่ ลกลบั ตรงขา้ ม เขา้ สอบไดท้ งั้ 5 คณะ
และตอ้ งใช้เวลาถึงหนึ่งสปั ดาหต์ ดั สนิ ใจเลอื กเข้าเรยี นในคณะเศรษฐศาสตร์
การเมือง

มหาวทิ ยาลยั วาเซดะ มชี มรมตา่ งๆ ใหเ้ ลอื กถงึ 2-3 พนั ชมรม โอโตทาเกะ

10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ 61

เลอื กเขา้ “สมาคมฝกึ พดู ภาษาองั กฤษ” (English Speaking Society : ESS)
ซึ่งเขาทุ่มเทฝึกซ้อมอย่างหนักในการประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ
แขง่ ขันกับสมาชิกทีเ่ ปน็ นกั ศึกษาใหมถ่ ึง 200 คน บางคนเคยไปเรยี นตา่ ง
ประเทศมาแล้วด้วย ผลการแข่งขัน โอโตทาเกะแทบไม่เชื่อตัวเอง เพราะ
เขาไดช้ นะเลศิ !

หลงั ชนะเลศิ แสดงสนุ ทรพจน์ โอโตทาเกะกล็ าออกจากสมาคมฝกึ พดู
ภาษาองั กฤษ เพราะไมช่ อบกจิ กรรมอน่ื เชน่ ละครภาษาองั กฤษ และเปลย่ี น
ไปเขา้ สมาคมนกั ศกึ ษาวชิ าเศรษฐศาสตรแ์ ละบรหิ ารธรุ กจิ นานาชาตแิ ทน ได้
เข้าร่วมกิจกรรมฤดูร้อนซ่ึงเป็นกิจกรรมใหญ่ใช้งบประมาณถึงหนึ่งล้านเยน
เนื้อหาหลักของงานคือ “ไลฟ์ดีไซน์” หรือการร่วมกันคิดออกแบบชีวิตว่า
“เราจะมชี วี ติ อยา่ งไร” โอโตทาเกะสนกุ กบั งานนม้ี าก และจากงานนเ้ี ขากเ็ รม่ิ
“คน้ พบตวั เอง” วา่ ชวี ติ นจ้ี ะม่งุ ทำ� เพื่อคนอ่ืนและเพ่ือสังคมได้แคไ่ หน “จะมี
เมตตาต่อคนรอบด้านได้เพียงใด จะแลกเปลี่ยนความเข้าใจกับคนจ�ำนวน
มากขนาดไหน...ขณะเดียวกันผมต้องให้ความส�ำคัญที่สุดกับตัวเองด้วย”
นอกจากนน้ั โอโตทาเกะยงั เรม่ิ ครนุ่ คดิ วา่ “คนพกิ ารอาจจะทำ� อะไรบางอยา่ ง
ไมไ่ ด้ แต่ก็นา่ จะมีอะไรบางอยา่ งท่คี นพกิ ารเทา่ น้ันท�ำได้ และเริ่มตระหนกั
วา่ ทแ่ี ลว้ มา “ผมไมไ่ ดใ้ ชป้ ระโยชนข์ องความพกิ ารที่ไดร้ บั ตดิ ตวั มา หรอื กลา่ ว
อีกนัยหน่ึงคือมันกลายเป็นสมบัติท่ีสูญเปล่า” คืนน้ันเขาคิดถึงเร่ืองเหล่าน้ี

62 10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ

จนตีสอง ท้ังๆ ที่ปกติเขาจะนอนราวสี่ทุ่มเท่านั้น แต่ความครุ่นคิดคืนนั้น
“ผมคงไม่มวี ันลืมไปช่ัวชีวิต”

รุ่งขึ้น เหมือนเทพเจ้าบันดาล มีเพ่ือนมาชวนท�ำกิจกรรม “สร้าง
ชุมชน” ท่ี “ปลอดส่ิงกดี ขวาง” (Barrier-free) ส�ำหรับคนพิการและคนชรา
เพอ่ื นมาปรกึ ษาเพราะตอ้ งการความเหน็ โดยตรงจากคนพกิ ารอยา่ งโอโตทาเกะ
งานน้จี งึ เหมอื น “โอกาสอนั ดที ีส่ วรรคป์ ระทานให้”

งานเทศกาลรกั สงิ่ แวดลอ้ มชว่ งฤดรู อ้ น (Eco-Summer Festival) ครง้ั
แรก ม่งุ “การทดลองขยะเป็นศูนยร์ ะหวา่ งเวลาเปิดเรียน” ต่อมาจึงตั้งเป็น
“คณะกรรมการสร้างชุมชนเพ่ือชีวิตวาเซดะ” ข้ึน โอโตทาเกะเข้าร่วมงาน
เทศกาลตั้งแต่คร้ังที่สอง ท�ำหน้าท่ีผลิตใบปลิวโฆษณางาน เพ่ือส่งไปยัง
หนังสือพิมพ์และบ้านหนึ่งหมื่นหลัง และรับผิดชอบ “ทัวร์เก้าอี้ล้อส�ำหรับ
เด็ก” ท�ำหน้าทบี่ รรยายให้เด็กทม่ี าร่วมงานฟัง ด้วยความหวงั ว่า “อีก 30 ปี
ชุมชนน้ีจะไม่มีส่ิงกีดขวาง” เขาต้องแสดงสุนทรพจน์ตอนจบ และต้องท�ำ
หน้าทย่ี ื่นขอ้ เสนอให้มหาวิทยาลัยเป็นเขตปลอดส่งิ กีดขวาง

ก่อนจะยื่นข้อเสนอให้รองอธิการบดี เขาออกลูกเล่นว่า “เพ่ือนผม
เตือนว่า ถ้ามหาวิทยาลัยมีอุปกรณ์พร้อม นายก็จ�ำเป็นต้องเข้าเรียนนะซี่”

10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ 63

เรียกเสียงหัวเราะครืนจากผู้ท่ีรุมล้อม ท่านรองอธิการบดีก็เล่นมุขตอบว่า
“เราจะพิจารณาเรื่องน้ี เพ่ือไม่ให้โอโตทาเกะคุงมีข้ออ้างในการไม่มาเรียน”
เรยี กเสยี งฮาอกี ครงั้ จากผฟู้ ัง

ต่อมามงี านใหญ่ คอื การจดั ประชมุ เพื่อการท่องเที่ยวโดยครัง้ แรกจดั
ในหวั ข้อ “ไม่วา่ ใคร ไมว่ ่าท่ีไหน ก็เท่ยี วไดส้ บาย” คราวน้ีก้าวหนา้ ไปอีกข้ัน
ในหวั ขอ้ “จาก Barrier - Free สู่ Universal Design” จากแนวคดิ ทว่ี า่ เพราะ
มสี ง่ิ กดี ขวางจงึ ตอ้ งทำ� ใหป้ ลอด แตถ่ า้ เราออกแบบสรา้ งพน้ื ท่ีใหใ้ ชไ้ ดท้ งั้ คน
ปกติและคนพิการตงั้ แตแ่ รก เราก็ไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ งตดิ ตงั้ อุปกรณ์พิเศษส�ำหรบั
คนชราหรอื คนพกิ าร งานนี้เป็นงานใหญ่ใชง้ บประมาณถงึ เกอื บ 4 ลา้ นเยน
เพอ่ื นๆ เสนอใหโ้ อโตทาเกะรบั เปน็ ประธาน เขาปฏเิ สธหลายครงั้ เพราะเพงิ่
จะได้ยนิ เรอ่ื ง Universal Design อายกุ เ็ พงิ่ จะ 20 ปี แต่ในที่สุดเขากร็ บั
หนา้ ท่ี และทำ� จนลลุ ว่ งไปดว้ ยดี เพยี งแตต่ อนปดิ งาน โอโตทาเกะจะตอ้ งขนึ้
เวทกี ล่าวปิดงาน แตเ่ ขากลับพดู ไม่ออกทง้ั ๆ ทป่ี กตเิ ป็นคนพดู เกง่ อยา่ งไร
ก็ดี เพอ่ื นๆ ก็เขา้ ใจดี ทกุ คนรวู้ ่าเขาเหน่อื ยมาก และขอบคุณเขา แทนที่จะ
ขอบคุณตอบ นำ�้ ตาเขากลับไหลออกมาแทนค�ำตอบ และ ร้องไหไ้ มห่ ยุด
เหมอื นเดก็

สดุ ทา้ ย โอโตทาเกะกบั เพอื่ นสมยั เรยี นกวดวชิ า 5 คน พากนั ไปเทยี่ ว

64 10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ

อเมรกิ าเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และพบว่าสหรัฐอเมรกิ ากา้ วหน้าเรอื่ งผู้พกิ าร
กว่าญีป่ ่นุ มาก ขณะท่ีชาวญี่ปุ่นมองคนพกิ ารอย่างโอโตทาเกะเปน็ คนแปลก
คนพิเศษ คนอเมริกันมองเขาอย่างคนปกติ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกก็พรั่ง
พรอ้ มกว่ามาก แมแ้ ต่ในโรงละครก็จดั ที่นัง่ อย่างเหมาะสมส�ำหรับคนพกิ าร
สวนสนุกอย่างโรงถ่ายภาพยนตร์ยูนิเวอร์แซลมีการจัดสภาพแวดล้อม
สมบูรณ์แบบส�ำหรบั เกา้ อีล้ อ้ โชว์ทุกแห่งมที ี่นั่งส�ำหรบั เกา้ อล้ี อ้ อยแู่ ถวหน้า
สุด และเก้าอี้ล้อสามารถข้ึนไปร่วมการละเล่นทุกอย่างได้ ห้องน้�ำส�ำหรับ
เกา้ อีล้ ้อกส็ ะดวก

โอโตทาเกะพูดถึงพ่อแม่อยา่ งนา่ รกั มาก พอ่ เป็นสถาปนิก แต่งงาน
เมอื่ อายุ 33 มลี กู เมอ่ื อายุ 35 เพราะมลี กู คนเดยี ว พอ่ จงึ ทำ� หนา้ ทเ่ี ปน็ ทงั้ พอ่
และพี่ “เพอ่ื ฝกึ ไม่ใหล้ กู เอาแต่ใจตวั เองเกนิ ไป” “พอ่ เปน็ คนทม่ี คี วามเปน็ เดก็
มากกว่าผมอยหู่ ลายสว่ นทเี ดยี ว พอทมี เบสบอลไจแอนทแ์ พ้ พ่อก็จะหน้า
บดู เวลามีขนมหวานหลังอาหารเกินจ�ำนวน พ่อก็จะแย่งกับผม เวลาดทู ีวีก็
พยายามรอ้ งเพลงตามนกั รอ้ ง ทงั้ ๆ ทร่ี อ้ งไม่เปน็ ” สว่ นแมน่ นั้ คณุ ครูทาคางิ
บอกวา่ “ตามปกตพิ อ่ แมข่ องเดก็ พกิ ารมกั จะเรยี กรอ้ งกบั ทางโรงเรยี นวา่ ตอ้ ง
อยา่ งนน้ั ตอ้ งอยา่ งน้ี แตค่ ณุ แมข่ องโอโตทาเกะไมเ่ ปน็ เชน่ นน้ั เลย มอบใหค้ รู
ท�ำทกุ อย่าง จึงจัดการไดง้ ่าย” ไม่เฉพาะกบั ครูเทา่ นนั้ กบั ตวั ลูกชาย แมก่ ็
จะไม่เข้าไปยุ่งโดยไม่จ�ำเป็น ตอนเข้าโรงเรียนใหม่ๆ เด็กจะเข้าไปรุมล้อม

10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ 65

โอโตทาเกะ ซกั ถามบา้ ง ทำ� ทา่ เหมือนล้อเลยี นบา้ ง ท�ำให้ครู “หายใจไม่ทว่ั
ทอ้ ง” แตแ่ ม่กย็ งั ใจเย็นบอกว่า “เป็นปัญหาที่เจา้ ตัวตอ้ งแกเ้ อง” เมอ่ื โอโตทา
เกะบอกแมว่ า่ จะไปเที่ยวต่างจังหวดั กบั เพอื่ น แทนท่ีจะแสดงความเป็นห่วง
ซกั โนน่ ซกั นว่ี า่ จะไปไดห้ รอื แมก่ ลบั ถามทนั ทวี า่ จะไปเมอ่ื ไรใหบ้ อกแตเ่ นนิ่ ๆ
เพื่อพอ่ กบั แมจ่ ะไดว้ างแผนไปเที่ยวระหวา่ งน้ันดว้ ย

ท่าทีที่คอยห่วงใย มักท�ำให้เด็กพิการรู้สึกถึงความพิการตั้งแต่อายุ
4 - 5 ขวบ แต่ทา่ ทีของพอ่ แม่โอโตทาเกะท�ำให้เขาอยมู่ าจนอายุ 20 จึงรูส้ กึ
ถงึ ความพิการ เมื่อตอ้ งตระเวนหาโรงเรยี นกวดวชิ า

หนงั สอื “ไมค่ รบหา้ ” นี้ โอโตทาเกะเขยี นอยา่ งคนมองโลกในแงด่ โี ดย
แท้ และเขยี นไดอ้ ยา่ งสนกุ สอดแทรกความคดิ เรอื่ งคนพกิ ารอยา่ งแหลมคม
ผ้แู ปลคือ พรอนงค์ นิยมคา้ ซ่ึงเป็นนกั แปลฝีมือเย่ียม แปลงานน้ดี ว้ ยใจรัก
อย่างแท้จรงิ ดงั เธอไดเ้ ขียนไว้ในหมายเหตผุ ู้แปลวา่ “สง่ิ ทม่ี คี ่าทีส่ ดุ ในการ
ท�ำงาน(นี้) คือก�ำลังใจ ในการฟนั ฝ่าอุปสรรคทั้งหลาย เมื่อพบผู้พิการที่มี
ชีวติ อยู่อยา่ ง สงา่ งาม ส่งิ ท่ีเราจะได้รับอยา่ งอัตโนมัติ คอื ก�ำลังใจในการสู้
ชวี ติ ดฉิ นั ขออทุ ศิ งานแปลหนงั สอื เลม่ นเี้ พอื่ ประโยชนส์ ำ� หรบั ผพู้ กิ ารทกุ ทา่ น”

66 10ชีวติ 10แรงบนั ดาลใจ

10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ 67

ของบกรุ าษุ รลจึกดั ลทับ�ำผพอู้ จยนู่ใานนฉุการกมซอ่ออนกเซร์ฟน้ อร์ด

เกรน่ิ น�ำ
พจนานกุ รมในโลกปจั จบุ นั รวมทง้ั ในอนาคตอกี ยาวนาน คงไมม่ ฉี บบั
ใดยง่ิ ใหญเ่ ทา่ พจนานุกรมออกซฟ์ อร์ด ซึ่งปัจจบุ ันมีช่ือวา่ Oxford English
Dictionary(OED) ฉบับท่ีตีพมิ พค์ รั้งแรก มชี อ่ื ว่า A New English Diction-
ary on Historical Principles (NED) เรม่ิ ทยอยตพี ิมพเ์ ลม่ แรกตั้งแตว่ ันที่
29 มกราคม พ.ศ. 2427 จนถึงวันท่ี 19 เมษายน พ.ศ. 2471 เปน็ หนงั สอื
รวม 10 เลม่ ตอ่ มาในปี 2476 ไดจ้ ัดเลม่ ใหม่ รวมภาคผนวกที่จดั ท�ำเพิ่มขนึ้

68 10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ

รวมเปน็ 12 เล่ม ในชว่ งปี พ.ศ. 2515-2529 มกี ารตีพิมพภ์ าคผนวกออก
มาอกี 4 เล่ม โดยเริม่ จัดท�ำมาตงั้ แตป่ ี พ.ศ. 2498 ท�ำการรวบรวมคำ� ใหม่ๆ
ทเี่ พิม่ ข้ึนตั้งแต่พิมพ์เลม่ แรก ในปี พ.ศ. 2532 ได้ตีพมิ พ์ใหม่ ถอื เป็นฉบับ
พิมพ์คร้งั ท่ี 2 (OED2) รวมเป็น 20 เล่ม หนารวม 22,000 หน้า รวบรวม
คำ� ทง้ั สนิ้ กวา่ 500,000 คำ� พรอ้ มคำ� อธบิ ายและอา้ งองิ กวา่ 2.4 ลา้ นประโยค

เทยี บกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของเรามี
เพยี งเล่มเดยี ว หนาเพยี ง 1,488 หน้าเทา่ น้ัน

พจนานกุ รมออกซ์ฟอร์ดฉบบั ซีดรี อมออกจ�ำหนา่ ยเมือ่ ปี พ.ศ. 2535
ขณะน้ีส�ำนักพิมพ์ก�ำลังด�ำเนินการแก้ไขปรับปรุงเพื่อจัดท�ำเป็นฉบับพิมพ์
ครั้งท่ีสาม

พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ดได้รับการอ้างถึงอย่างกว้างขวางโดยผู้ใช้
ภาษาอังกฤษ ทั้งในรัฐสภา ในศาล ในโรงเรียน ในห้องบรรยายและทอี่ ืน่ ๆ
ด้วยการเริม่ ตน้ ประโยคว่า “พจนานกุ รมออกซฟ์ อรด์ กลา่ ววา่ ….”

แต่เช่ือหรือไม่ว่า บรรณาธิการคนแรกท่ีสามารถจัดท�ำพจนานุกรม
ออกซ์ฟอรด์ เป็นผลสำ� เรจ็ เป็นคนที่มพี น้ื เพจากครอบครัวทยี่ ากจนในเมือง

10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ 69

“แตเ่ ชอ่ื หรือไม่วา่

บรรณาธิการคนแรก
ทีส่ ามารถจดั ท�ำพจนานกุ รม
ออกซ์ฟอร์ดเปน็ ผลสำ� เรจ็

เปน็ คนทีม่ พี ้ืนเพจาก
ครอบครัวทยี่ ากจน



70 10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ

เล็กๆ ชายแดน ตอ้ งออกจากโรงเรียนเม่อื อายุไดเ้ พียง 14 ปี เพราะยากจน
จนกวา่ จะเรยี นตอ่ ได้ และมบี คุ คลอกี คนหนง่ึ ทมี่ สี ว่ นชว่ ยเหลอื ไมน่ อ้ ยในการ
จดั ทำ� พจนานกุ รมฉบบั น้ี ซงึ่ เมอื่ เปดิ เผยตวั ออกมาแลว้ ยงั ความตนื่ ตะลงึ ให้
แก่ผคู้ นท้ังหลายเปน็ อย่างมาก
พจนานุกรมท่ีมีอยู่ก่อนแลว้ บางเล่ม
ยอ้ นไปเพยี งสร่ี อ้ ยปกี อ่ น ยงั ไมม่ ีใครจดั ทำ� พจนานกุ รมออกมาใช้ สมยั
ทีเ่ ชคสเปยี ร์แตง่ บทละคร ถา้ จะต้องใช้คำ� แปลกๆ หรือคำ� ท่ีไม่ได้ใชก้ นั บอ่ ย
จงึ ไมม่ ที างจะพง่ึ พจนานกุ รมฉบบั ใดได้ วลที ว่ี า่ “ลองคน้ หาความหมาย (จาก
พจนานุกรม หรือสารานุกรม หรือหนังสืออ้างอิงอน่ื ๆ)…..” เพ่ิงพบมีการใช้
คร้ังแรกโดย นักประวตั ศิ าสตรท์ อ่ี อกซ์ฟอรด์ ชอ่ื แอนโธนี วดู เมื่อปี พ.ศ.
2235 หรอื เมือ่ สามรอ้ ยกวา่ ปีมานเี้ อง
พจนานกุ รมองั กฤษ-องั กฤษ ฉบบั แรก ตพี มิ พเ์ มอ่ื ปี พ.ศ.2147 แตง่
โดย โรเบิรต์ คอว์เดรย์ ครูใหญ่โรงเรียนรทั แลนด์ เป็นหนังสือเลก็ ๆ หนา
เพียง 120 หนา้ อธิบายศัพทย์ ากในภาษาอังกฤษ ชอื่ หนงั สอื คือ A table
Alphabetical….of hard unusual English Words

พจนานุกรม อังกฤษ-อังกฤษ ฉบับแรกที่ขยายขอบเขตอธิบายทั้ง

10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ 71

ศัพท์ยากและค�ำที่ใช้ท่ัวไป จัดพิมพ์ขึ้นโดย นาธาเนียล เบเลย์ เจ้าของ
โรงเรียนกินนอนสเตพเนย์ มีผู้รู้ประวัติของ นาธาเนียล เบเลย์ น้อยมาก
ทน่ี า่ สนใจคอื ในพจนานกุ รมฉบบั พมิ พค์ รงั้ แรก มหี ลกั ฐานแสดงความรอบรู้
อย่างกวา้ งขวางของเขา นั่นคอื ระหว่างปี พ.ศ. 2264-2325 มีผลงานของ
เขาตีพิมพ์แล้วถงึ 25 เล่ม ทกุ เลม่ ล้วนขายดี

พจนานกุ รมองั กฤษ-องั กฤษ ทย่ี ง่ิ ใหญท่ ส่ี ดุ กอ่ นการจดั ทำ� พจนานกุ รม
ออกซ์ฟอร์ด คือฉบับของ ซามเู อล จอหน์ สนั บุรษุ ผไู้ ดร้ บั ฉายาว่า “ขา่ นผู้
ยิ่งใหญแ่ หง่ วงวรรณกรรม” (“Literature’s Great Cham”) จอห์นสนั ใช้ทมี
งานเจด็ คน เลอื กคำ� จากเอกสารจำ� นวนมากจนเสรจ็ เมอื่ พ.ศ. 2293 ตอ่ จากนน้ั
ใชเ้ วลาอกี 4 ปี คดั และเรยี บเรยี ง ขอ้ ความคำ� อธบิ ายตา่ งๆ จำ� นวน 118,000
ขอ้ ความ ในทส่ี ดุ ไดค้ ำ� ทงั้ สน้ิ 43,500 คำ� ตพี มิ พอ์ อกมาเปน็ หนงั สอื สองเลม่
เมอ่ื วนั ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2298 ในชอ่ื A Dictionary of English Language
พจนานกุ รมฉบบั นี้ ตีพมิ พ์ถงึ ครง้ั ทีส่ ่ีในขณะที่จอหน์ สนั ยงั มีชวี ิตอยู่
พจนานกุ รมของจอหน์ สนั นบั เปน็ พจนานกุ รมทย่ี งิ่ ใหญ่ แตย่ งั มคี วาม
บกพรอ่ งและขาดความสมบูรณอ์ ยมู่ าก เพราะ
• รวบรวมคำ� จากเอกสารทเี่ ขยี นขน้ึ ในชว่ งหนง่ึ รอ้ ยหา้ สบิ ปที จี่ อหน์ สนั
เหน็ วา่ เปน็ ชว่ งสำ� คัญเท่าน้นั

72 10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ

• จอหน์ สนั ไดใ้ สท่ ศั นะสว่ นตวั ลงไปในคำ� อธบิ ายตา่ งๆ ซงึ่ นกั วชิ าการ
บางคนเห็นว่าเป็นการผิดหลักการจัดท�ำพจนานุกรม หน่ึงศตวรรษต่อมา
ธอมสั บาบงิ ตัน แมคคอเลย์ กวี นักประวตั ศิ าสตร์ และรฐั บุรษุ ของอังกฤษ
(พ.ศ.2343-2402) ถงึ กบั ประณามจอหน์ สนั วา่ เปน็ “นกั นริ กุ ตศิ าสตรช์ น้ั เลว”
(“a wretched etymologist”)
ความฝันอนั ย่งิ ใหญ่
ผจู้ ดุ ประกายความฝนั อนั ยงิ่ ใหญท่ จี่ ะจดั ท�ำพจนานุกรมฉบบั สมบูรณ์
ทต่ี อ่ มาคอื พจนานกุ รมออกซฟ์ อรด์ คอื ดร.รชิ ารด์ เชเนวคิ เทรนช์ เจา้ คณะ
แหง่ มหาวหิ ารเวสตม์ นิ สเตอร์ ผแู้ สดงปาฐกถาเมอ่ื หวั คำ�่ วนั ที่ 5 พฤศจกิ ายน
พ.ศ. 2400 ซึง่ เปน็ วันกัยฟอว์คส์ (Guy Fawkes Day)* ในการประชุมของ
สมาคมภาษาและหนังสอื (Philological Society) ทหี่ อสมุดลอนดอน

หัวข้อปาฐกถาของ ดร. เทรนช์ ในวันนั้นคือ “ความบกพร่องบาง
ประการในพจนานกุ รมภาษาองั กฤษของเรา” (“Some Deficiencies in Our

* กัยฟอวค์ ส์ เกิดเมอ่ื ปี พ.ศ.2113 เป็นผู้เชี่ยวชาญเรอ่ื งระเบิด ถกู จับไดเ้ น่ืองจากวางแผนกับ
พวกจะระเบิดรัฐสภา หลังจากถูกทรมานได้ยอมรับสารภาพ และเปิดเผยช่ือผู้ร่วมขบวนการ
ทั้งหมด ถกู ประหารชีวิตโดยการแขวนคอทเี่ วสตม์ ินสเตอร์ เม่อื วนั ท่ี 31 มกราคม พ.ศ.2149
ทุกวันที่ 5 พฤศจกิ ายน องั กฤษจะจดั งานเฉลิมฉลอง มีการจดุ พลไุ ฟในงาน

10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ 73

English Dictionaries”) มีผู้เข้าประชุม 60 คน ดร.เทรนช์ได้เสนอหลักเจด็
ประการในการจัดทำ� พจนานกุ รม ท่นี ่าสนใจส�ำหรบั คนทวั่ ไป คือ

• พจนานกุ รม คือท่ีรวมค�ำทม่ี ีใชอ้ ยู่ในภาษา (an inventory of the
language)[หลกั การขอ้ นคี้ อื หลกั ทผ่ี จู้ ดั ทำ� พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน
ยึดถือ ดงั ปรากฏในค�ำน�ำพจนานุกรรมฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493
เมือ่ พมิ พค์ รง้ั ที่หนึง่ ดงั นี้ “ในเรื่องคำ� นน้ั ถือกนั เปน็ หลกั ว่า พจนานุกรมเปน็
ทรี่ วมคำ� ทม่ี ีใชอ้ ยู่ในภาษา ดจุ ทะเบยี นสำ� มะโนครวั ซงึ่ เปน็ ทรี่ วบรวมจำ� นวน
พลเมืองของชาติ” แต่ในการจัดท�ำจริง ราชบัณฑิตยสถานดูจะไม่ยึดหลัก
การขอ้ นี้นัก]

• พจนานุกรมมิใช่หนังสือแนะน�ำการใช้ค�ำที่ถูกต้อง ผู้จัดท�ำจึงไม่มี
หน้าท่ีเลือกค�ำเพื่อบรรจุในพจนานุกรมโดยพิจารณาว่าเป็นค�ำที่ดีหรือเลว
(เชน่ ท่ีซามูเอล จอห์นสนั ทำ� ผิดพลาดมาแล้ว) นักจัดทำ� พจนานกุ รมเปน็
“นักประวัติศาสตร์” มิใช่ “นักวิจารณ์” การตัดสินใจว่าจะบรรจุค�ำใดเข้าใน
พจนานุกรมมิใช่หน้าท่ีของเผด็จการคนใดคนหน่ึงหรือคณะใดคณะหน่ึง
พจนานกุ รมควรเป็น บนั ทกึ ค�ำทุกค�ำ ที่ใชใ้ นช่วงใดช่วงหนง่ึ

• หวั ใจของพจนานกุ รม คอื การบนั ทกึ ประวตั ขิ องคำ� แตล่ ะคำ� ทกุ ๆ คำ�

74 10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ

บางคำ� อาจใชม้ าแตโ่ บราณและยงั คงใชอ้ ยู่ในปจั จบุ นั บางคำ� อาจเปน็ คำ� ใหม่
และอายสุ น้ั อยา่ งแมลงชปี ะขาว (mayfly) บางคำ� อาจใชใ้ นชว่ งเวลาหนงึ่ แลว้
ใชต้ ่อๆมาจนดูท่าทางว่าจะใช้กันไปตลอด บางค�ำอาจดูทา่ ทางว่าจะอายุส้นั
ค�ำทุกประเภทเหล่าน้ีล้วนถือเป็นส่วนหน่ึงของภาษา ไม่ว่าจะเป็นค�ำเก่า
ล้าสมัย หรือคำ� ใหม่ท่ีอาจไม่มีอนาคต ข้อส�ำคัญ เม่ือใครก็ตามตอ้ งการจะ
ค้นหาค�ำใดกต็ าม จะตอ้ งมคี ำ� น้ันอยู่ในพจนานุกรม ไมเ่ ชน่ นั้น พจนานกุ รม
นั้นก็ไรค้ วามหมาย เพราะเป็นเอกสารท่ีคนอ้างองิ ถึงไมไ่ ด้

• ในการลำ� ดบั ประวตั ขิ องคำ� แตล่ ะคำ� จำ� เปน็ ตอ้ งรวู้ า่ คำ� นน้ั เรม่ิ ใชค้ รงั้
แรกเมื่อไร แล้วบันทึกก�ำเนิดของค�ำนั้นไว้ ซ่ึงในยุคที่ยังไม่มีเคร่ืองบันทึก
เสยี ง จำ� เปน็ ตอ้ งคน้ หาใหไ้ ดว้ า่ คำ� นน้ั มผี เู้ ขยี นไวค้ รง้ั แรกเมอื่ ไร แลว้ คดั ลอก
ข้อเขียนตอนนั้นเอาไว้ ต่อจากน้ันจะต้องค้นหาประโยคท่ีแสดงให้เห็นการ
บดิ ผนั หรอื เปลยี่ นแปลงความหมายของค�ำแตล่ ะค�ำ เพม่ิ ความละเอยี ดออ่ น
ของความหมายของค�ำหรือบางครั้งอาจกลายความหมายไปตามที่อารมณ์
ของสาธารณชนกำ� หนด
แนวคดิ ดงั กลา่ วน้ี ซามเู อล จอหน์ สนั เคยทำ� แลว้ แตเ่ ฉพาะเพอ่ื อธบิ าย
ความหมายของคำ� เทา่ นนั้ ขอ้ เสนอของ ดร.เทรนชต์ อ้ งการใหห้ าประวตั โิ ดย
ละเอียดของแต่ละค�ำ ซ่ึงแปลว่าจะต้องอ่านเอกสารทั้งหมด และคัดลอก

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 75

ข้อความทุกข้อความท่ีแสดงประวัติของค�ำทุกค�ำเพ่ืออ้างอิงถึง จึงเป็นงาน
ที่ใหญ่โตมโหฬารและดูไม่มีทางท่ีจะเป็นไปได้โดยวิธีที่เคยท�ำกันมาก่อน
เพราะจะตอ้ งอา่ นวรรณกรรมภาษาองั กฤษทง้ั หมด รวมตลอดถงึ หนงั สอื พมิ พ์
ทง้ั ทอ่ี อกในลอนดอนและนวิ ยอรค์ รวมทง้ั นติ ยสารและวารสารตา่ งๆ สว่ นใหญ่
แต่ ดร.เทรนช์ ได้เสนอวธิ ีการใหม่ น่ันคอื แทนทจี่ ะท�ำงานนีเ้ ฉพาะในวง
ผเู้ ชย่ี วชาญ ก็ใหค้ ดั เลอื กทมี งานขนาดใหญป่ ระกอบดว้ ยคนนบั รอ้ ยๆ คนเขา้
มาชว่ ยทำ� โดยทำ� งานในรปู แบบอาสาสมคั รทง้ั หมด นน่ั คอื ตอ้ งใหป้ ระชาชน
ไดเ้ ขา้ มามสี ว่ นรว่ มอยา่ งกวา้ งขวาง หรอื เปน็ การทำ� งานแบบ “ประชาธปิ ไตย”
โดยแท้จริง
ยสี่ บิ สองปที ีฝ่ นั เกอื บสลาย
เพยี งสองเดอื นหลงั การประชมุ ทหี่ อสมดุ ลอนดอน สมาคมภาษาและ
หนงั สอื ตกลงใจเร่ิมโครงการจัดท�ำพจนานุกรมฉบับใหม่ โดยมีมติเมื่อวันท่ี
7 มกราคม พ.ศ. 2401 ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นบรรณาธิการคนแรกคือ
เฮอเบริ ต์ โคเลอรดิ จ์ บตุ รชายของ ซามเู อล เทเลอร์ โคเลอรดิ จ์ กวี นกั ปรชั ญา
และนกั วจิ ารณข์ ององั กฤษ (พ.ศ.2315-2377)

เฟรเดอริค เฟอร์นิวอลล์ เลขาธิการสมาคมได้ออกหนังสือเชิญชวน
อาสาสมัครให้ช่วยงานน้ีโดยก�ำหนดแบ่งหนังสือเป็นสามช่วง ที่เชื่อว่ามี
พัฒนาการของภาษาแตกตา่ งกัน

76 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ช่วงแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1793 ถึง 2069 ซ่ึงเป็นปีแรกที่ตีพิมพ์
พระคัมภีร์ใหม่ (New Testament) ฉบบั ภาษาองั กฤษ
ช่วงสอง ตงั้ แตห่ ลัง พ.ศ. 2069 ถึง 2217 ซ่งึ เป็นปีทีก่ วีเอกมลิ ตัน
ถงึ แก่มรณกรรม
ชว่ งสาม นบั จากหลังปี 2217 จนถึงขณะนัน้

งานของอาสาสมัครคือ ให้แจ้งว่าจะชว่ ยอ่านหนังสือใด อาสาสมัคร
จะไดร้ บั การขอรอ้ งใหท้ ำ� บญั ชคี ำ� ทง้ั หมดจากหนงั สอื ทอี่ า่ น นอกจากนน้ั อาจ
จะได้รับการขอร้องให้ตรวจสอบค�ำเฉพาะท่ีทีมงานจัดท�ำพจนานุกรมก�ำลัง
ใหค้ วามสนใจ อาสาสมคั รแตล่ ะคนจะตอ้ งเขียนบันทกึ ในแผ่นกระดาษ โดย
เขียนค�ำท่ีก�ำหนดท่ีมุมซ้ายบน บรรทัดถัดมาให้เขียนวันเดือนปีที่พิมพ์
หนังสือ ถัดมาเป็นช่ือหนังสือหรือเอกสาร พร้อมหมายเลขฉบับ และเลข
หนา้ บรรทดั ถดั ลงไปเปน็ ประโยคเตม็ ทง้ั ประโยคทแี่ สดงการใชค้ ำ� นน้ั วธิ กี าร
ดงั กล่าวน้เี ป็นวิธกี ารที่นกั จดั ทำ� พจนานุกรมยังใช้อย่จู นปัจจุบนั

โคเลอริดจ์ ไดจ้ ัดท�ำ “รงั นกกระจอก” ขนาดกว้าง 9 ชอ่ ง สงู 6 ชอ่ ง
เพอ่ื เตรยี มรบั เอกสารจากอาสาสมคั รได้ 60,000-100,000 แผน่ โดยคาดวา่
จะสามารถจดั ทำ� พจนานกุ รมเลม่ แรกออกมาไดภ้ ายในสองปี เพอ่ื ใหส้ ามารถ
ทยอยพิมพ์ออกจำ� หนา่ ยเป็นทุนในการดำ� เนนิ การต่อไป

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 77

แต่โคเลอริดจ์คาดผิดไปถนัด เพราะแท้จริงแล้วมีเอกสารจากอาสา
สมัครสง่ มาถึง 6 ล้านฉบับ และเวลาท่คี าดไวก้ ็ผดิ ไปกวา่ สิบเท่า

ปญั หาใหญเ่ รอ่ื งแรกทป่ี ระสบกค็ อื เฮอเบริ ต์ โคเลอรดิ จ์ เสยี ชวี ติ เมอื่
อายุได้แค่ 31 ปี เพียงสองปหี ลงั จากรบั งาน ยังท�ำแค่อกั ษร A ไปได้ไมถ่ ึง
ครึ่ง โคเลอริดจ์เสียชีวิตเพราะโดนฝนระหว่างเดินทางไปสมาคมแล้วไปนั่ง
หนาวสน่ั อย่ใู นหอ้ งทำ� งานชนั้ สองที่ไมม่ เี ครอื่ งทำ� ความอนุ่ จนเปน็ ไขห้ วดั ใหญ่
กอ่ นตายเขาเพอ้ ว่า “ฉันจะเร่มิ เรียนภาษาสันสกฤตพรุ่งน”ี้

เฟอรน์ วิ อลล์รบั หน้าท่แี ทนโคเลอริดจ์ เฟอร์นิวอลล์เป็นคนมคี วามรู้
แต่มีปญั หาในการท�ำงานหลายอยา่ ง รวมทั้งมปี ัญหาความประพฤตสิ ว่ นตัว
โดยเฉพาะในเรื่องผู้หญิง ท�ำให้เป็นที่เส่ือมศรัทธาของผู้คนในวงวิชาการ
เสน่หด์ ึงดูดใจให้อาสาสมคั รช่วยทำ� งานกแ็ ทบไม่มี อาสาสมคั รจำ� นวนมาก
หยุดงานไปเฉยๆ ในปี พ.ศ. 2422 ปีเดียวอาสาสมัครส่งเอกสารคืนเป็น
น�ำ้ หนักถึงสองตนั งานต่างๆ เร่ิมอยา่ งเชือ่ งช้าและท�ำท่าว่าจะหยดุ ชงัก ใน
ปี พ.ศ. 2411 ข่าวในวารสารท่ีตดิ ตามงานของสมาคมอย่างใกล้ชดิ บอกกับ
ผูอ้ ่านว่าโครงการนคี้ งลม้ เหลว

อยา่ งไรกต็ าม ความดขี องเฟอรน์ วิ อลลก์ ค็ อื การยอมรบั วา่ ตวั เองไมม่ ี

78 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

คณุ สมบัติท่ีจะท�ำงานนี้ใหส้ �ำเร็จ จงึ ไดพ้ ยายามตดิ ตอ่ คนอนื่ ๆ ในสมาคมให้
มารบั งานนต้ี ่อ หนึ่งในจำ� นวนนนั้ คือ เจมส์ ออกัสตสั เฮนรี เมอรเ์ รย์

ความหวงั เร่ิมทอแสง
เจมส์ เมอร์เรย์ เกดิ เม่ือเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2380 ทีเ่ มืองฮาวคิ
ซ่ึงเป็นเมืองเล็กๆใกล้ชายแดนด้านสกอตแลนด์ ครอบครัวมีอาชีพขายผ้า
และตดั เสอ้ื ผา้ ขาย เจมส์เป็นคนรกั การศึกษาเล่าเรยี นมาก แต่ตอ้ งออกจาก
โรงเรยี นเม่ืออายุเพียง 14 ปี เหมือนเด็กยากจนอนื่ ๆในองั กฤษเวลานน้ั แต่
เจมสพ์ ยายามศึกษาตอ่ ด้วยตนเองอย่างไมห่ ยดุ ย้งั เมอื่ อายุ 15 ปี เขารทู้ ั้ง
ภาษาฝรง่ั เศส อติ าเลียน เยอรมนั กรกี และละติน เมอ่ื อายุ 17 ปี เขาได้
งานเป็นผู้ชว่ ยครูใหญ่ท่ีโรงเรียนในหมบู่ า้ น พออายุ 20 ปี ก็ไดเ้ ปน็ ครูใหญ่
ของสถาบนั แหง่ หน่ึงในหม่บู า้ น และยังได้เป็นสมาชิกคนสำ� คัญของสถาบนั
วิชาการสาขาประจ�ำเมือง สามารถแสดงปาฐกถาในท่ีประชุมของสถาบัน
และสง่ ผลงานทางวชิ าการไปยงั สมาคมวรรณกรรมและปรชั ญาอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง

แตแ่ ลว้ ความกา้ วหนา้ ทางวชิ าการของเขาเรม่ิ ชงกั เมอื่ ตดั สนิ ใจแตง่ งาน
ขณะอายไุ ด้ 25 ปี กบั ครสู อนดนตรี สองปีต่อมาไดล้ กู สาวแต่เสยี ชวี ิตต้ังแต่
แรกเกิด ภรรยากล็ ม้ ป่วยดว้ ยวณั โรค แพทย์แนะนำ� ให้หนีอากาศหนาวของ
แถบนน้ั ไปอยทู่ างตอนใตข้ องฝรงั่ เศส แตร่ ายไดอ้ นั นอ้ ยนดิ ทำ� ใหเ้ จมส์ไปไดแ้ ค่

10ชวี ิต 10แรงบนั ดาลใจ 79

ลอนดอน โดยตอ้ งทงิ้ อาชพี และแวดวงวชิ าการทต่ี นเองรกั ทงั้ หมดเพอื่ ภรรยา
ไปเปน็ เสมยี นทธ่ี นาคารชารเ์ ตอรแ์ หง่ อนิ เดยี ทกุ สงิ่ ทกุ อยา่ งดทู า่ ทางจะจบสนิ้

ทวา่ เหตกุ ารณห์ าไดเ้ ปน็ เชน่ นนั้ ไม่ แมจ้ ะตอ้ งทำ� งานประจำ� ทไี่ มต่ รงจรติ
แตเ่ พยี งช่ัวไมก่ ่เี ดือน เจมส์กเ็ ริม่ ปรบั ตวั ได้ เขาเรม่ิ ศกึ ษาภาษาฮนิ ดูสถาน
และเปอรเ์ ซยี ในระหวา่ งเดินทางไปกลบั จากที่ท�ำงาน และได้แสดงปาฐกถา
เกี่ยวกบั เรอื่ งนี้ในท่ปี ระชมุ ทางวิชาการดว้ ย

ไมน่ านภรรยาของเจมสก์ เ็ สยี ชวี ติ หลงั จากนนั้ หนง่ึ ปเี ขาแตง่ งานใหม่
กับสตรีจากครอบครัวฐานะดีและสนใจวรรณคดี แม่ของภรรยาเคยเรียน
หนงั สอื กับชาร์ลอต บรองเต นกั ประพันธส์ ตรีเรืองนามของอังกฤษ ภรรยา
ใหมข่ องเจมสจ์ งึ เปน็ ผทู้ เ่ี หมาะสมกบั เขาอยา่ งยง่ิ ทง้ั คมู่ ลี กู ดว้ ยกนั ถงึ 11 คน

เมอ่ื อายไุ ด้ 30 ปี เจมสข์ อสมคั รเขา้ ทำ� งานในพพิ ธิ ภณั ฑอ์ งั กฤษ โดย
ได้บรรยายความรอบรู้ไว้มากมายในใบสมัคร แต่ก็น่าประหลาดที่ทาง
พิพธิ ภณั ฑ์ไมร่ บั เขาเข้าท�ำงาน

แมไ้ มจ่ บปรญิ ญา แตผ่ ลงานคณุ ภาพสงู จ�ำนวนมากทำ� ให้เขาไดร้ บั
คดั เลอื กใหเ้ ปน็ สมาชกิ สมาคมภาษาและหนงั สอื ตงั้ แตป่ ี พ.ศ. 2412 เมอื่ อายุ

80 10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ

ได้ 32 ปี ขณะนั้นเขาไดล้ าออกจากธนาคารไปท�ำงานทเี่ ขารกั คือเป็นครูท่ี
มิลล์ฮิลล์ ซ่ึงเป็นโรงเรียนมัธยมมีชื่อในกรุงลอนดอน ตอนท่ีเฟอร์นิวอลล์
ทาบทามให้เจมส์รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการพจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด เขา
มอี ายเุ พยี ง 40 ปี ซงึ่ นบั วา่ ยงั นอ้ ยสำ� หรบั งานเชน่ นนั้ เขาไดร้ บั การชกั ชวนให้
ลองทำ� ตวั อยา่ งคำ� ทจ่ี ะปรากฏในพจนานกุ รมเพอ่ื เสนอใหส้ ำ� นกั พมิ พอ์ อกซฟ์ อรด์
พิจารณา เขาเลอื กค�ำสีค่ ำ� คือ arrow carouse castle และ persuade สง่ ไป
ให้ออกซฟ์ อร์ดเม่อื ปลายฤดูใบไม้ร่วงของปี พ.ศ.2420 แต่ทางส�ำนักพมิ พ์
ไม่สนใจ เฟอร์นวิ อลลจ์ ึงลองติดตอ่ ส�ำนักพิมพ์แหง่ ใหม่ ไดแ้ ก่ ส�ำนักพมิ พ์
แมคมิลแลน ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และที่อ่ืนๆ แต่ไม่ได้รับ
ความสนใจอยา่ งจรงิ จงั จากท่ใี ดๆ คณะผแู้ ทนของสำ� นกั พมิ พอ์ อกซฟ์ อรด์ เอง
วิจารณ์ตัวอยา่ งคำ� ในพจนานุกรมที่เจมส์จัดทำ� เสนอว่า เจมส์ยงั ต้องท�ำการ
บ้านมากกว่านนั้ รวมทั้งไม่ชอบรูปแบบวธิ กี ารออกเสยี งที่เสนอ และเสนอ
ใหพ้ จิ ารณาวา่ ควรตดั สว่ นทเ่ี กย่ี วกบั เรอื่ งทางนริ กุ ตศิ าสตรอ์ อกหรอื ไม่ เพราะ
ส�ำนักพมิ พเ์ องไดพ้ มิ พพ์ จนานกุ รมนิรกุ ตศิ าสตร์แยกเลม่ ออกจ�ำหน่ายแล้ว

ในทส่ี ดุ เจมส์ เมอรเ์ รย์ไดร้ บั เชญิ ใหไ้ ปพบคณะผแู้ ทนของออกซฟ์ อรด์
เมื่อวนั ท่ี 26 เมษายน 2421 เปน็ การพบกันครัง้ แรกโดยตา่ งเกร็งเข้าหากัน
ทง้ั สองฝา่ ย แตเ่ มอื่ พบกนั จรงิ ๆ ตา่ งพงึ พอใจซง่ึ กนั และกนั จนตกลงหลกั การ
กนั ไดแ้ ละมกี ารดม่ื ฉลองกนั อย่างง่ายๆ แต่การเจรจาในรายละเอยี ดของข้อ

10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ 81

ตกลงตอ้ งใชเ้ วลาอกี ปเี ศษ จงึ เซน็ สญั ญากนั ไดเ้ มอื่ วนั ท่ี 1 มนี าคม พ.ศ. 2422
รวมเวลาเกอื บ22 ปี นบั จากวนั ที่ ดร. เทรนช์ เสนอความคดิ นใี้ นการแสดงปาฐกถา
ท่ีหอสมุดลอนดอน

ในช้ันต้นคาดว่าพจนานุกรมจะจัดพิมพ์ในรูปเล่มขนาดแปดหน้ายก
หนาประมาณเจ็ดพันหน้า แบ่งเป็นส่ีเล่ม คาดว่าจะใช้เวลาจัดท�ำประมาณ
สบิ ปี แตเ่ หนอื ความคาดคดิ ของทกุ คน พจนานกุ รมทที่ ำ� ออกมามคี วามหนา
มากกว่าน้นั มาก และใชเ้ วลานับจาก เจมส์ เมอร์เรย์ รบั เป็นบรรณาธกิ าร
รวมถงึ 50 ปี รวมเวลานบั ต้ังแต่ต้นกวา่ 70 ปี เจมส์ เมอรเ์ รย์ ทำ� งานน้ีอยู่
ถงึ 36 ปี จนเสียชีวติ ดว้ ยโรคเย่ือหุม้ ปอดอักเสบ เมอ่ื วนั ท่ี 26 กรกฎาคม
พ.ศ. 2458 ขณะอายไุ ด้ 78 ปี 5 เดือน มีผูร้ ับเปน็ บรรณาธกิ ารตอ่ จากเขา
3 คน คอื เฮนรี แบรดเลย์ วลิ เลยี ม อเลกซานเดอร์ เครกี และ ซ.ี ท.ี อนั ยนั ส์
งานอนั ยง่ิ ใหญ่
หลงั เซน็ สญั ญาไมก่ วี่ ัน เจมส์ เมอร์เรยเ์ ริม่ ต้นลงมือเตรยี มงานสอง
อยา่ ง คอื ปรบั ปรงุ สำ� นกั งานสำ� หรบั งานจดั ทำ� พจนานกุ รมทโี่ รงเรยี นมลิ ลฮ์ ลิ ล์
เรยี กว่า หอคัมภีร์ (Scriptorium) และเขยี นจดหมายส่หี นา้ กระดาษผ่านส่อื
และสง่ ตรงไปยงั ท่ีตา่ งๆ เชญิ ชวนอาสาสมัครใหช้ ่วยกันทำ� งานน้ีตอ่ เพราะ
“ตอ้ งการความชว่ ยเหลอื จากผอู้ า่ นทง้ั ในบรเิ ตนใหญ่ อเมรกิ า และอาณานคิ ม

82 10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ

ขององั กฤษทวั่ โลก ใหม้ าชว่ ยกนั ทำ� งานทเ่ี รมิ่ ตน้ ดว้ ยศรทั ธาอนั แรงกลา้ เมอ่ื
ย่ีสิบปีก่อนให้ส�ำเร็จ โดยขอให้อาสาสมัครช่วยกันอ่านและสกัดข้อความที่
ต้องการจากหนังสือท่ียังไมไ่ ดอ้ ่าน” สำ� หรับเอกสารท่ีอาสาสมคั รส่งมาแลว้
ก่อนหนา้ นั้น และเอกสารอ่ืนๆ ที่ เจมส์ เมอร์เรย์ รับจากบรรณาธกิ ารคน
กอ่ นมีนำ�้ หนกั ถึงสองตนั

ห้าปีเศษหลังจากน้ัน หลังจากพจนานุกรมเล่มแรกได้ตีพิมพ์ออก
จ�ำหนา่ ยได้ราวหกเดือน เมอร์เรย์ได้ย้ายสำ� นกั งาน หรือ “หอคัมภรี ์” เข้าไป
อยู่ในออกซ์ฟอรด์ โดยภรรยาและลูกท้งั สบิ เอด็ คน (ชายหกหญิงห้า) ย้าย
เข้าไปอย่ดู ้วย เพ่อื ให้มีเวลาทมุ่ เทท�ำงานได้เต็มท่ี รงั นกกระจอกไดท้ �ำเพ่ิม
เปน็ 1,029 ชอ่ ง จากเดิมสมัยโคเลอรดิ จ์ ซง่ึ มีเพยี ง 54 ช่อง แตก่ ็ยังไม่พอ
ตอ้ งมชี นั้ สำ� หรบั เอกสารเพมิ่ ขน้ึ อกี เป็นจ�ำนวนมาก

งานจดั ท�ำพจนานกุ รมจะทำ� อย่างเป็นระบบ ดังนี้
ข้ันตอนแรก หน่ึงในทีมงานจะตรวจสอบเอกสารท่ีส่งมาจากอาสา
สมคั รอยา่ งครา่ วๆ วา่ ขอ้ ความทคี่ ดั ลอกมานนั้ สมบรู ณแ์ ละตวั สะกดถกู ตอ้ ง
ขนั้ ตอนทส่ี อง เอกสารแตล่ ะแผน่ จะถกู แยกเปน็ กลมุ่ ๆตามลำ� ดบั อกั ษร
งานนี้ลูกๆของเมอร์เรย์ท่ีเร่ิมรู้หนังสือและพอแยกค�ำได้จะได้รับค่าจ้าง
สปั ดาหล์ ะหกเพนนีใหท้ �ำงานนี้วันละคร่ึงชั่วโมง

10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ 83

ขนั้ ตอนทส่ี าม คำ� ทค่ี ดั ไวแ้ ตล่ ะคำ� จะถกู เจา้ หนา้ ทแ่ี ยกไปตามประเภท
เช่น เป็นคำ� นาม คณุ ศพั ท์ หรอื ค�ำกรยิ า เปน็ ตน้
ขั้นตอนที่สี่ ข้อความท่ีรวบรวมไว้ของแต่ละค�ำจะถูกน�ำมาเรียงตาม
ลำ� ดับเวลาทปี่ รากฏในเอกสารต่างๆ
ขั้นตอนท่ีห้า ผู้ช่วยบรรณาธิการจะท�ำหน้าที่แยกย่อยความหมายท่ี
แตกต่างของแต่ละค�ำ ในขั้นตอนนี้อาจจัดท�ำร่าง นิยามศัพท์ (definition)
ขน้ึ งานนี้เป็นงานละเอยี ดออ่ น ตอ้ งการความรู้ ความสามารถพเิ ศษ
ขน้ั ตอนทหี่ ก บรรณาธกิ ารจะเปน็ ผตู้ รวจสอบและอาจจดั หรอื แยกยอ่ ย
เอกสารเหลา่ นใี้ หมต่ ามทเ่ี หน็ วา่ เหมาะสม แลว้ เขยี นเพมิ่ เรอ่ื งทมี่ าและความหมาย
ของคำ� รวมทง้ั การออกเสยี ง ซงึ่ เปน็ เรอ่ื งทยี่ ากและมคี วามเหน็ โตแ้ ยง้ ไดม้ าก
จากนนั้ จะคดั เลอื กขอ้ ความอา้ งองิ (quotation) เปน็ ขน้ั สดุ ทา้ ย ซงึ่ โดยหลกั การ
จะเลอื กอยา่ งนอ้ ยหนงึ่ ประโยคจากงานวรรณกรรมในแตล่ ะชว่ งศตวรรษ เวน้ แตบ่ าง
คำ� ทมี่ กี ารเปลย่ี นแปลงโดยรวดเรว็ กอ็ าจเลอื กขอ้ ความอา้ งองิ มากกวา่ นน้ั
ขน้ั ตอนทเ่ี จ็ด เป็นขนั้ ตอนสดุ ท้าย บรรณาธกิ ารจะเปน็ ผ้เู ขียนนิยาม
ศพั ทแ์ ตล่ ะคำ� ทกี่ ระชบั (concise) ดคู งแกเ่ รยี น(scholarly) ถกู ตอ้ ง(accurate)
และงดงามนา่ รกั (lovingly elegant) สง่ ไปเขา้ โรงพมิ พ์
พจนานุกรมเล่มแรกตพี มิ พ์ออกมาภายหลังเมอร์เรย์เข้ารบั ตำ� แหน่ง
บรรณาธกิ ารเกอื บหา้ ปี ท�ำไดแ้ คอ่ กั ษร A ถงึ Ant เปน็ หนงั สอื หนา 352 หนา้

84 10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ

จำ� หนา่ ยเลม่ ละ 12 ชลิ ลงิ 6 เพนนี ส�ำหรบั ในอเมรกิ าจดั พมิ พ์โดยสำ� นกั พมิ พ์
แมคมลิ แลนในนิวยอร์ค จ�ำหนา่ ยเลม่ ละ 3.25 ดอลลาร์

จากผลงานอนั ยงิ่ ใหญช่ นิ้ น้ี ทำ� ใหเ้ จมส์ เมอรเ์ รย์ ไดร้ บั ปรญิ ญาดษุ ฎี
บณั ฑติ กติ ตมิ ศกั ดจิ์ ากมหาวทิ ยาลยั ออกซฟ์ อรด์ และตอ่ มาไดร้ บั พระราชทาน
บรรดาศกั ดเ์ิ ปน็ เซอร์

เมอรเ์ รย์ คาดวา่ จะสามารถทยอยพมิ พง์ านนอ้ี อกมาไดป้ ลี ะสองเลม่ จงึ ตอ้ ง
เขยี นนยิ ามศพั ทใ์ หไ้ ดว้ นั ละ 33 คำ� แตค่ วามจรงิ แตล่ ะคำ� เชน่ คำ� วา่ approve ค�ำ
เดยี ว เมอรเ์ รย์ใช้เวลาถึงค่อนวัน จงึ ไมแ่ ปลกทีเ่ มอรเ์ รย์คาดว่าพจนานกุ รม
จะเสร็จสมบรู ณ์ในเวลาอีกสิบเอด็ ปี แตค่ วามจริงตอ้ งใช้เวลาอกี ถึงส่สี บิ สี่ปี
บรุ ษุ ลกึ ลับแห่งโครวธอรน์
หลงั จากประกาศเชิญชวนอาสาสมัครไม่นานนัก เจมส์ เมอร์เรย์ ได้
รับจดหมายขอเป็นอาสาสมัครจากนายแพทย์วิลเลียม เชสเตอร์ ไมเนอร์
จดหมายลงท่อี ย่วู า่ “บรอดมัวร์ โครวธอร์น เบอร์คส์”

ชว่ ง 17-18 ปหี ลงั จากนน้ั คณะผจู้ ดั ทำ� พจนานกุ รมไดร้ บั เอกสารจาก
นายแพทย์ ไมเนอร์จ�ำนวนมากมาย นับร้อยชิ้นในแต่ละสัปดาห์ หรือ
ประมาณ 20 ช้นิ ในแตล่ ะวนั เอกสารทกุ ชน้ิ เขยี นอย่างประณตี และชัดเจน

10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ 85

จากบันทึกค�ำปราศรัยเร่ืองการจัดท�ำพจนานุกรมของเซอร์เมอร์เรย์
ทแ่ี สดง ณ สมาคมภาษาและหนงั สอื เมอื่ ปี พ.ศ. 2440 เซอร์เมอร์เรยก์ ลา่ ว
วา่ “ปที แี่ ลว้ เราได้รบั เอกสารจากอาสาสมคั รราว 15,000-16,000 ช้นิ ครึง่
หนง่ึ มาจากนายแพทย์ไมเนอร…์ . ซง่ึ ชว่ ยอา่ นหนงั สอื 50 หรอื 60 เลม่ สว่ น
ใหญเ่ ปน็ หนงั สอื หายากของศตวรรษที่ 16-17 ผลงานของเขาดจู ะลำ�้ หนา้ ไป
กว่างานจดั ท�ำพจนานกุ รมทกี่ �ำลงั ทำ� อยู”่

เมอ่ื ผจู้ ดั ทำ� พจนานกุ รมกำ� ลงั จดั ทำ� คำ� วา่ art ผจู้ ดั ทำ� ไดเ้ ขยี นจดหมาย
ติดตอ่ ไปยงั อาสาสมคั รหลายคนรวมทั้งนายแพทย์ไมเนอร์ ให้ชว่ ยตรวจค้น
ความหมายของคำ� ดงั กลา่ วทอี่ าจมคี วามหมายอยา่ งอน่ื นอกเหนอื จากทพ่ี บ
แลว้ 16 ความหมาย หรอื มขี ้อความอา้ งองิ ท่ีเก่ากว่าทมี่ ีอยูแ่ ล้ว ปรากฏว่า
มจี ดหมายตอบกลบั ไปยงั คณะบรรณาธกิ ารรวม 18 ฉบบั ในจำ� นวนนน้ั 17 ฉบบั
คัดลอกประโยคมาได้เพยี งฉบบั ละ 1-2 ประโยค แต่นายแพทย์ไมเนอร์สง่
ไปถงึ 27 ประโยค ยังความประหลาดใจใหแ้ กค่ ณะผชู้ ่วยบรรณาธิการเป็น
อยา่ งมากวา่ อาสาสมคั รผนู้ ี้ นอกจากเปน็ คนพถิ พี ถิ นั แลว้ ยงั เปน็ คนทมี่ คี วาม
ร้ลู ึกซง้ึ นับเป็นอาสาสมคั รที่หายากมาก

เอกสารท่หี ล่ังไหลเข้ามาจ�ำนวนมาก ท�ำใหไ้ ม่มีใครให้ความสนใจตอ่
ทอี่ ยูท่ ่คี อ่ นขา้ งแปลกในจดหมายของนายแพทย์ไมเนอร์ เซอร์เมอรเ์ รยเ์ ล่า

86 10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ

ในภายหลังว่า “ผมคิดว่าเขาอาจจะเป็นแพทย์ท่ีมีรสนิยมทางวรรณกรรม
และมเี วลาวา่ งคอ่ นขา้ งมาก หรอื อาจเปน็ แพทยท์ เี่ กษยี ณอายแุ ลว้ และไมไ่ ด้
ทำ� งานอื่นอีก”

จนกระทงั่ วนั องั คารท่ี 12 ตลุ าคม พ.ศ. 2440 ซง่ึ เปน็ วนั จดั งานเฉลมิ
ฉลองใหญท่ ี่ ควนี สค์ อลเลจของมหาวทิ ยาลยั ออกซฟ์ อรด์ เนอ่ื งจากงานจดั ทำ�
พจนานกุ รมคบื หนา้ มาดว้ ยดี ทางมหาวทิ ยาลยั เหน็ สมควรจดั งานเพอ่ื เปน็ เกยี รติ
แก่บรรณาธกิ าร โดยปีนัน้ เปน็ ปีเฉลิมฉลองวัชรสมโภช (Diamond Jubilee)
หรอื ฉลองครบรอบ 60 พรรษาแหง่ การครองราชสมบตั ขิ องสมเดจ็ พระราชนิ ี
วคิ ตอเรยี ดว้ ย ในงานมอี าหารและเครอ่ื งดม่ื ชน้ั ดเี ยยี่ มบรกิ าร แขกแตล่ ะคนแตง่
ตัวประดับประดาเต็มยศ ในงานนี้อาสาสมัครคนส�ำคัญๆ ที่ช่วยงานจัดท�ำ
พจนานกุ รมไดร้ บั เชญิ เปน็ แขกดว้ ย หนงึ่ ในจำ� นวนนนั้ คอื นายแพทย์ไมเนอร์
แตป่ รากฏวา่ นายแพทย์ไมเนอร์ ไมไ่ ดไ้ ปรว่ มงานดว้ ย ยงั ความประหลาดใจให้
แกห่ ลายๆ คน เพราะโครวธอรน์ ทเ่ี ปน็ ทอ่ี ยขู่ องนายแพทย์ไมเนอรอ์ ยหู่ า่ งจาก
ออกซฟ์ อรด์ ไมถ่ งึ สสี่ บิ ไมล์ ใชเ้ วลาเดนิ ทางโดยรถไฟเพยี งหกสบิ นาที

ดงั ทเี่ ซอรฟ์ รานซสิ เบคอน ไดร้ วบรวมคำ� จากคมั ภรี แ์ ละเขยี นไวเ้ มอ่ื ปี
พ.ศ. 2167 วา่ “ถา้ ภเู ขาไมไ่ ปหาพระมหะหมดั พระมหะหมดั กต็ อ้ งไปหาภเู ขา”
ดร.เมอรเ์ รย์ ตดั สนิ ใจขอไปพบ นายแพทย์ไมเนอรท์ โ่ี ครวธอรน์ ดว้ ยตนเอง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 87

ดร.เมอรเ์ รย์ จงึ ทราบวา่ บรอดมวั ร์ คอื สถานพกั ฟน้ื สำ� หรบั ผวู้ กิ ลจรติ
ทก่ี อ่ อาชญากรรม หรอื คกุ สำ� หรบั นกั โทษทว่ี กิ ลจรติ ซง่ึ ตงั้ อยทู่ หี่ มบู่ า้ นโครวธอรน์
ในอำ� เภอเบอร์คไชร์ และนายแพทย์ไมเนอรค์ อื ผตู้ ้องขงั หมายเลข 742 ซ่ึง
ถูกศาลตัดสนิ ให้ตอ้ งคมุ ขังตลอดชวี ิต

ชีวติ ท่ีผกผันของผู้ต้องขังจากแดนไกล
นายแพทย์ไมเนอรเ์ กดิ ทศ่ี รลี งั กา เมอื่ เดอื นมถิ นุ ายน พ.ศ. 2377 อายุ
มากกวา่ ดร.เมอร์เรย์สามปีเศษ ในครอบครวั มชิ ชนั นารีอเมริกัน เมอ่ื อายุ
ไดส้ บิ สป่ี พี อ่ แมส่ ง่ กลบั ไปเรยี นหนงั สอื ทอี่ เมรกิ า จนจบการศกึ ษาแพทยจ์ าก
มหาวิทยาลัยเยล เข้ารับราชการในกองทัพบกสหรัฐในต�ำแหน่งผู้ช่วย
ศัลยแพทย์ ขณะน้ันอเมริกาอยู่ในช่วงสงครามกลางเมือง ความโหดร้าย
ทารุณของสงครามก่อความกระทบ
กระเทอื นตอ่ จติ ใจของศลั ยแพทยห์ นมุ่
มากมาย เช่ือว่าเหตุการณ์ท่ีสร้าง
บาดแผลทางใจให้แก่นายแพทย์
ไมเนอรเ์ ปน็ อยา่ งมากคอื การทตี่ อ้ งทำ�
หน้าที่ตีตราทหารที่หนีทัพจนในท่ีสุด
ปว่ ยเปน็ โรคจติ อาการทางจิตของเขา
รุนแรงข้ึนเรื่อยๆ จนต้องเข้าพักรักษา

88 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ตวั ในโรงพยาบาลโรคจิตและถกู ปลดประจำ� การ

เมอื่ เดอื นตลุ าคม พ.ศ. 2414 นายแพทย์ไมเนอรเ์ ดนิ ทางจากบอสตนั
มุ่งหน้าสู่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาต้ังใจจะไปพักผ่อนในยุโรปสัก
หนึ่งปแี ละหวงั วา่ จะหายจากโรค

เช้ามดื วนั ท่ี 17 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2415 ในย่านแลมเบธ ซึ่งเปน็ ถิน่
คนยากจนในกรุงลอนดอน ไมเนอร์ก่ออาชญากรรมโดยการยิงกรรมกรชื่อ
จอร์จ เมอร์เรตต์ ถึงแก่ความตาย เพราะประสาทหลอนว่ามีคนจะเข้าไป
ท�ำรา้ ย จึงตามออกมาแล้วยิงใส่เหยื่อที่ไม่รู้อโิ หนอ่ เิ หน่ ทนี่ า่ เศร้าอยา่ งมาก
ก็คือ จอรจ์ ผู้ตายมีลกู ถึงเจ็ดคนและเมียกำ� ลงั อมุ้ ทอ้ งอยูอ่ ีกหนึง่ คน

ศาลตดั สนิ วา่ จำ� เลยไม่ผิด แต่วิกลจรติ และเป็นอนั ตรายตอ่ สังคม ให้
สง่ เขา้ สถานพกั ฟน้ื สำ� หรบั คนวกิ ลจรติ ทก่ี อ่ อาชญากรรม “จนกวา่ จะเปน็ ทพ่ี อ
พระทัยของสมเด็จพระราชินี” (“until Her Majesty’s Pleasure be known”)

นายแพทย์ไมเนอร์มีลักษณะคุ้มดีคุ้มร้าย อาการส�ำคัญของเขาคือ
ระแวงวา่ จะมคี นเขา้ ไปทำ� รา้ ยในยามวกิ าล แตโ่ ดยทวั่ ไปเขาจะดเู หมอื นปกติ
เงนิ บำ� นาญจากกองทพั ทำ� ใหเ้ ขาอยคู่ อ่ นข้างสบายในสถานพกั ฟน้ื หลังจาก

10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ 89

ปรบั ตัวระยะหน่ึงเขาได้อยู่ในห้องสองห้อง พ้นื เพที่มกี ารศึกษาสูงทำ� ให้เขา
สามารถหาความเพลิดเพลินไดจ้ ากการอา่ นหนงั สอื และเขยี นรูป เขาสะสม
หนงั สือจำ� นวนมากไว้ในห้องหน่ึง ในหิ้งหนังสอื ที่สงู จนจรดเพดาน เม่อื ได้
ทราบข่าวการรบั อาสาสมคั รเพือ่ ช่วยทำ� พจนานกุ รมนัน้ นายแพทย์ไมเนอร์
ถกู คมุ ขงั มาแลว้ แปดปี เวลาวา่ งทม่ี ากมายประกอบกบั ความคงแกเ่ รยี นทำ� ให้
เขาสามารถทำ� ประโยชนแ์ กท่ มี งานจดั ท�ำพจนานุกรมไดม้ ากมาย เปน็ เวลา
ยาวนานประมาณ 30 ปี บางชว่ งอาการวกิ ลจรติ ของเขากำ� เรบิ ขน้ึ จนทำ� งาน
ไมไ่ ด้ ทางทมี ผจู้ ดั ทำ� พจนานกุ รมพากนั คดิ แตเ่ พยี งวา่ เขาคงหมดความสนใจ
งานน้ีไปแลว้

ช่วงหลังในสถานพักฟื้น อาการของเขารุนแรงมากถึงข้ันตัดอวัยวะ
เพศตวั เองทงิ้ บน้ั ปลายชวี ติ เขาไดร้ บั พจิ ารณาวา่ นา่ จะไมเ่ ปน็ ภยั ตอ่ ผอู้ นื่ แลว้
และดว้ ยการช่วยเหลอื ของนอ้ งชาย เขาได้รบั การปลดปลอ่ ยจากบรอดมัวร์
กลับไปอยู่ภายใต้การดูแลในสหรัฐอเมริกาบ้านเกิด จนเสียชีวิตเมื่อวันศุกร์
ท่ี 26 มนี าคม พ.ศ. 2463 ด้วยโรคปอดบวม รวมอายไุ ด้ 85 ปี 9 เดือน
หนังสอื ของเขาทีส่ ะสมไว้ได้ยกให้แก่เลดเี มอร์เรย์ ภรยิ าของเซอร์เมอร์เรย์
ซ่งึ ตอ่ มาตกเปน็ สมบตั ิของมหาวิทยาลยั ออกซ์ฟอร์ด

โรคของนายแพทย์ไมเนอรน์ น้ั นายแพทยแ์ ฮมมอนดแ์ หง่ กองทพั บก

90 10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ

สหรัฐวินิจฉัยไว้ครั้งแรก เมื่อวันท่ี 3 กันยายน พ.ศ. 2411 ว่าเป็นโรค
โมโนแมเนยี (Monomania) ซงึ่ เปน็ คำ� กวา้ งๆ หมายถงึ โรคจติ ทม่ี อี าการหมกมนุ่
ในเร่ืองใดเรื่องหน่ึง ขณะน้นั นายแพทย์ไมเนอร์อายไุ ด้ 34 ปี ประมาณสิบปี
ตอ่ มามบี นั ทกึ ในเวชระเบยี นทส่ี ถานพกั ฟน้ื บรอดมวั ร์ แหง่ โครวธอรน์ วา่ “เขา
สามารถพูดคุยในเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีเหตุมีผลเป็นส่วนมาก เขาสนุกกับ
งานทำ� สวนเลก็ ๆ น้อยๆ แต่บางวนั ก็อารมณ์ไมด่ แี ละเกบ็ ตวั ” เม่อื วันที่ 8
พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2461 จติ แพทยด์ าวเิ ดยี น ซง่ึ ดแู ลเขาท่ีโรงพยาบาลจติ เวช
เอลิซาเบธ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ได้ให้การวินิจฉัยโรคท่ี
จำ� เพาะมากขนึ้ วา่ เปน็ โรคดีเมนเชีย ปรคี อกซ์ (Dementia praecox) ซึง่ ใน
ปจั จุบนั คอื โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคทน่ี ายแพทย์ไมเนอรเ์ ปน็ น่าจะ
เป็นชนิดหวาดระแวง (paranoid type) โรคน้ีเป็นแล้วระดับเชาวน์ปัญญา
(intelligent หรอื intellect) มกั ไม่เสื่อม แตส่ ตมิ กั เสอ่ื มเปน็ ระยะ
สำ� หรบั เอลซิ า เมอรเ์ รตต์ ภรรยาหมา้ ยของจอรจ์ ทางสถานทตู อเมรกิ นั
ในกรุงลอนดอนได้มอบเงินช่วยเหลือแก่เธอเพื่อไถ่บาปให้คนของประเทศ
ตนท่ีก่อโศกนาฏกรรมข้ึน และพระในย่านแลมเบธก็ได้จัดงานกุศลหาเงิน
ช่วยเหลือเธอด้วย นายแพทย์ไมเนอร์เองได้ขอพบเอลิซาในภายหลังและ
มอบเงินช่วยอุปการะเธอ เอลิซาไปเยี่ยมนายแพทย์ไมเนอร์เป็นครั้งคราว
โดยรบั เปน็ ธรุ ะชว่ ยหาซอ้ื หนงั สอื ไปใหด้ ว้ ย นา่ เสยี ดายทมี่ ติ รภาพของคนทงั้

10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ 91

สองไมย่ ืนยาวนกั เพราะต่อมาเอลซิ าหนั ไปพง่ึ สรุ าและขาดการตดิ ตอ่ ไป

ในพจนานกุ รมออกซฟ์ อรด์ ฉบบั พมิ พค์ รง้ั แรก ในบรรดารายชอ่ื อาสา
สมคั รที่ไดร้ บั การขอบคณุ จากบรรณาธกิ าร มชี อ่ื ทอ่ี ยขู่ องบคุ คลคนหนง่ึ รวม
อยู่ดว้ ยเขียนไวส้ ้นั ๆวา่ “ดร.ดับเบิลย.ู ซี.ไมเนอร์ แหง่ โครวธอรน์ ”
เอกสารท่ีใช้ในการเรยี บเรียง
1. Simon Winchester, The Professor and the Madman, Harper
Collins Publishers, Inc. New York 1999
2. The New Encyclopedia Britannica, Vol.9 Encyclopedia
Britannica, Inc.1997
3. พจนานุกรมฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 พิมพค์ รั้งที่ 1
บริษทั นานมบี ุ๊คส์พับลเิ คชน่ั ส์ กรุงเทพฯ 2546
4. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์คร้ังที่ 9
โรงพิมพศ์ ูนยก์ ารทหารราบ กรุงเทพฯ 2511
5. นพพร สุวรรณพานชิ , พจนานุกรมศพั ทน์ อกต�ำรา พจนานุกรม
ฉบับสัปดน อังกฤษ-ไทย ส�ำนักพมิ พ์แสงดาว กรงุ เทพฯ 2541
6. Encyclopedia Americana, Vol. 7, 11, 18, Grolier Interna
tional, Inc. 1980

92 10ชีวติ 10แรงบันดาลใจ

ล�ำดบั เหตกุ ารณส์ ำ� คัญ เจมส์ เมอร์เรย์ เกดิ
กมุ ภาพันธ์ 2380 ดร.รชิ ารด์ เชเนวิค เทรนช์ แสดงปาฐกถา
5 พฤศจิกายน 2400 เรอื่ งเกย่ี วกบั พจนานกุ รมทหี่ อสมดุ ลอนดอน
สมาคมภาษาและหนงั สือ มีมติใหจ้ ัดทำ�
7 มกราคม 2401 พจนานุกรมตามแนวคิดของ ดร.เทรนช์
เฮอเบิรต์ โคเลอริดจ์ บรรณาธิการคนแรก
เสียชีวิตหลงั รบั งานได้เพียงสองปี
เฟรเดอริค เฟอรน์ ิวอลล์ เลขาธกิ ารสมาคม
รบั หนา้ ที่ตอ่
เจมส์ เมอร์เรย์ ไดร้ บั เชญิ ใหไ้ ปพบเจรจา
กับคณะผแู้ ทนของออกซฟ์ อรด์
26 เมษายน 2421

10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ 93

1 มนี าคม 2422 ออกซฟ์ อรด์ เซน็ สัญญาโครงการจดั
ทำ� พจนานกุ รม
29 มกราคม 2427 พจนานกุ รมเลม่ แรก พมิ พอ์ อกจำ� หนา่ ย
12 ตลุ าคม 2440 งานเลยี้ งฉลองใหญท่ ีค่ วนี ส์คอลเลจ
มหาวทิ ยาลัยออกซ์ฟอร์ด
26 กรกฎาคม 2458 เซอรเ์ จมส์ เมอรเ์ รย์ ถงึ แกก่ รรมดว้ ยโรคเยอ่ื
หมุ้ ปอดอกั เสบ ขณะ อายุได้ 78 ปี 5 เดอื น
19 เมษายน 2471 พจนานุกรมฉบับพิมพค์ ร้งั แรกเสรจ็ สมบรู ณ์
พ.ศ. 2532 พิมพค์ ร้ังที่สอง
พ.ศ. 2535 ฉบบั ซดี ีรอมออกจำ� หนา่ ย

94 10ชีวติ 10แรงบนั ดาลใจ

10ชวี ติ 10แรงบนั ดาลใจ 95

สตีเฟ่นจฮากอมว์กมุ ้ิงม:องอขจั อฉงรยิ “คะใู่ชนีวรติ ่า”งพกิ าร

”ส่อู นนั ตกเารล่อื ชงีวเิตล่ฉาจนั าแกลหะนสตังสเี ฟือ่น ฮอว์กงิ้ ”

คนไทยทีผ่ า่ นระบบการศกึ ษามาพอสมควร จะรูจ้ ัก สตเี ฟ่น ฮอวก์ ง้ิ
นักฟิสิกส์ทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกปัจจุบัน ในฐานะ “อัจฉริยะในร่างพิการ”
เพราะเปน็ ผพู้ กิ ารเกอื บทงั้ รา่ งกายจากโรคทเี่ รยี กวา่ โรคของเซลลป์ ระสาทสงั่
งานสว่ นลา่ ง (Low Motor Neurone Disease : LMN) เกดิ จากเส้นประสาท
สั่งงานกล้ามเนื้อของร่างกายแทบทุกส่วนเส่ือมจนส่ังงานกล้ามเน้ือไม่ได้
ท�ำให้ร่างกายเป็นอัมพาตไปแทบทุกส่วน ในขณะท่ีประสาทรับความรู้สึก
(Sensory Nerve) ยงั ดี ซงึ่ จะทำ� ให้ยังคงมีความรู้สึกของผวิ หนงั เปน็ ปกติ

96 10ชีวิต 10แรงบนั ดาลใจ

ทัง้ เจบ็ รอ้ น แสบ คัน เปน็ ต้น โรคน้มี กั เรยี กอกี ช่ือหนึง่ ว่า โรค ลู เกห์ริก
(Lu Gehrig Disease) ตามชอ่ื ของนักเบสบอลอเมริกนั คนหน่ึงที่ปว่ ยและ
เสยี ชวี ติ จากโรคนตี้ ง้ั แตอ่ ายยุ งั นอ้ ย ทำ� ใหโ้ รคนซ้ี ง่ึ พบนอ้ ยมากแตเ่ ปน็ ทร่ี จู้ กั
อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในสหรฐั อเมรกิ า เพราะคนอเมรกิ ันสมัยนน้ั ล้วน
รู้จักนักเบสบอลผู้นี้ เน่ืองจากเบสบอลเป็นกีฬายอดนิยมถึงขั้นเป็นกีฬา
ประจ�ำชาติของสหรฐั

สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง เริ่มป่วยด้วยโรคน้ีต้ังแต่อายุแค่ 20 ต้นๆ แพทย์
วนิ จิ ฉยั แลว้ ทำ� นายวา่ เขาคงจะมอี ายตุ อ่ ไปไดอ้ กี ไมเ่ กนิ 2 ปี แตเ่ ขาอยมู่ าได้
จนอายยุ า่ งเขา้ 70 ปี แลว้ โดยอาการของโรคเริม่ จากเส้นประสาทส่วนล่าง
ของลำ� ตวั คอื ขา ท�ำให้เริ่มมอี าการเดินเซ และหกล้มงา่ ย ตอ่ จากน้ันจะลาม
สงู ขนึ้ ไปเรอ่ื ยๆ อยา่ งชา้ ๆ จนในทสี่ ดุ เมอื่ ไปถงึ บรเิ วณทรวงอกจะท�ำใหห้ ายใจ
โดยกล้ามเนื้อทรวงอกไม่ได้เพราะกล้ามเนื้อจะยกไม่ขึ้น เมื่อลามข้ึนไปถึง
ลำ� คอ คอกจ็ ะพบั เพราะสมองไมส่ ามารถสง่ั งานกลา้ มเนอ้ื ใหล้ ำ� คอตง้ั ตรงไว้
ได้ ตามปกติโรคมักหยุดแค่ระดับไขสันหลังไม่ลามขึ้นสมอง เพราะเซลล์
สมองมีลักษณะแตกต่างจากเซลล์ประสาทสั่งงาน โรคจึงมักไม่ท�ำลายเน้ือ
สมอง สตีเฟน่ ฮอว์กง้ิ โชคดีที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี จึงดำ� รงชีวติ
มาไดแ้ มร้ า่ งกายจะพกิ ารแทบทกุ สว่ น เสยี งพดู กแ็ ทบจะไมไ่ ดย้ นิ และมเี พยี ง
บางคนเท่าน้ันท่ีฟังรู้เร่ือง แต่สมองยังปกติ คงความเป็นอัจฉริยะไว้ได้

10ชวี ิต 10แรงบันดาลใจ 97

โดยความเปน็ อจั ฉรยิ ะของสตเี ฟน่ นนั้ เชอ่ื กนั วา่ เลอเลศิ ระดบั เดยี วกบั อลั เบริ ต์
ไอน์สไตน์

การที่สตีเฟ่นรักษาชีวิตและสมองอันเลอค่าเอาไว้ได้ ผู้มึส่วนส�ำคัญ
อยา่ งย่ิงคอื เจน ภรรยาคนแรกของเขา ซึ่งใช้ชวี ติ ร่วมกนั อย่ถู งึ 25 ปี ก่อน
จบลงดว้ ยโศกนาฏกรรมคอื ตอ้ งหยา่ ขาดจากกนั

สตีเฟ่น ฮอว์ก้ิง เป็นท่ีรู้จักท่ัวโลก จากหนังสือท่ีโด่งดังของเขาคือ
“ประวตั ิยอ่ ของกาลเวลา” (A Brief History of Time) ซง่ึ ตดิ อันดับขายดี
ยาวนานกวา่ ทศวรรษ ขายไดก้ วา่ สบิ ลา้ นเลม่ ทวั่ โลก และมกี ารแปลเปน็ ภาษา
ตา่ งๆ มากมาย ภาษาไทยมกี ารแปลออกมาหลายสำ� นวน เรม่ิ จากฉบบั ทน่ี กั
ดาราศาสตร์คนส�ำคัญของไทย คือ ดร.นพิ นธ์ ทรายเพชร แปลออกมาเป็น
คนแรก หนงั สอื เลม่ นอ้ี ธบิ ายเรอ่ื งจกั รวาลซง่ึ เปน็ เรอ่ื งเขา้ ใจยาก โดยใชภ้ าษา
ง่ายๆ และเข้าใจไดง้ า่ ย เพราะเขยี นโดยอัจฉริยะท่ศี ึกษาเรอ่ื งนอ้ี ยา่ งลกึ ซึง้
และเขา้ ใจเร่ืองราวในระดับทะลุปรุโปรง่ สามารถเขียนใหค้ นทวั่ ไปเข้าใจได้
ดพี อสมควร โดยทั้งเล่มมสี มการทีน่ ำ� มาใชอ้ ธบิ ายเพยี งสมการเดียวเท่านน้ั
คอื สมการเปลยี่ นโลก ของอลั เบริ ต์ ไอนส์ ไตน์ (E = mc2) และมภี าพประกอบ
อีกเพียงไม่ก่ีภาพ ต่อมาฮอว์กิ้ง ได้เขียนอธิบายเร่ืองเดียวกันนี้ใหม่ในรูป
แบบการเขียนอกี อย่างหน่งึ ในช่อื “จกั รวาลในเปลือกนทั ” (Universe in the

98 10ชวี ติ 10แรงบันดาลใจ

Nutshell) ซงึ่ แปลเปน็ ภาษาไทยแลว้ เชน่ กนั หนงั สอื เลม่ นเ้ี นอื้ หาสาระสำ� คญั
เหมือนกับ “ประวัติย่อของกาลเวลา” แต่ใช้รูปแบบการเขียนแตกต่างกัน
โดยการใช้ตาราง ภาพ และคำ� อธบิ ายแยกหลายเรือ่ งออกไปไว้ใน “กล่อง”
(Box) ต่างหาก คลา้ ยใสว่ งเล็บข้อความยาวมากๆ แทนท่จี ะเขียนต่อเนอื่ ง
กันไป เพือ่ ทำ� ใหเ้ ขา้ ใจเรื่องราวไดง้ ่ายขึ้น

ในหนงั สอื ทง้ั สองเลม่ ของฮอวก์ ง้ิ มกี ารสรปุ ประวตั ยิ อ่ ของฮอวก์ งิ้ เอา
ไว้ ช่วยให้ผู้อ่านรู้จักเขาโดยสังเขป ซ่ึงมักท�ำให้ผู้อ่านเกิดปัญหาตามมา
มากมายว่า อาการปว่ ยของฮอว์ก้งิ เป็นอย่างไร มากนอ้ ยแคไ่ หน เขาดูแล
ตวั เองอย่างไร ใครดแู ลเขาบา้ ง มปี ญั หามากนอ้ ยแค่ไหน ฯลฯ จึงนา่ ยินดี

ทเ่ี จน ฮอวก์ ง้ิ ภรรยาคนแรกของเขาไดเ้ ขยี น
เลา่ เรื่องราวเหลา่ นอี้ ยา่ งละเอียดละออ ชวน
ตดิ ตาม เปน็ หนงั สอื เลม่ โต ในภาษาไทยเปน็
เล่มขนาด 16 หน้ายกขยาย หนาถึง 624
หน้า ซ่ึงหลายคนเห็นแล้วก็อาจท้อ แต่ผู้
สนใจใฝ่รู้ ย่อมยินดีเพราะย่อมหวังได้ว่า
จะได้รบั รูเ้ รอื่ งราวโดยได้อา่ นอย่างจุใจ ซึง่
เมื่อได้ต้ังต้นอ่านไปจนจบก็ขอบอกได้เลย
ว่าไม่ผิดหวงั


Click to View FlipBook Version