เอกสารคำ� แนะนำ� ท่ี 8/2558
สมุนไพรประจ�ำบ้าน
พมิ พ์คร้งั ที่ 1 : จำ� นวน 10,000 เล่ม พฤษภาคม พ.ศ.2558
จดั พิมพ์ : กรมสง่ เสรมิ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พมิ พ์ที่ : ชมุ นุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกัด
ค�ำน�ำ
ประเทศไทยมพี ชื พรรณนานาชนดิ คนไทยมภี มู ปิ ญั ญาในการใชป้ ระโยชนจ์ าก
พืชในการดแู ลสขุ ภาพมากมาย นบั แตเ่ กิดจนตาย องคค์ วามรเู้ หลา่ น้ถี ่ายทอดจากรุ่น
สรู่ นุ่ แมจ้ ะขาดตอนไปบา้ งตามการเปลีย่ นแปลงของสังคม ปจั จบุ ันสงั คมไทยยังไดใ้ ห้
คุณค่า เปดิ รบั เช่อื มั่นและใช้สมุนไพรในการรักษาอาการเจ็บป่วยอยูม่ าก โดยเฉพาะ
การใชส้ มนุ ไพรในการดแู ลสขุ ภาพของคนในครอบครวั เปน็ อาหาร เปน็ ยารกั ษาอาการ
เจบ็ ปว่ ยเบอื้ งตน้ กอ่ นไปหาหมอและใชป้ ระโยชนอ์ น่ื ๆ ในชวี ติ ประจำ� วนั ซง่ึ เรม่ิ ตน้ จาก
ทีบ่ า้ น
เอกสารคำ� แนะนำ� เรอื่ ง “สมนุ ไพรประจำ� บา้ น”ฉบบั นปี้ ระกอบดว้ ยคำ� แนะนำ�
ในการปลกู การดแู ลรกั ษา การเกบ็ เกย่ี ว สรรพคณุ และการใชป้ ระโยชนข์ องพชื สมนุ ไพร
จ�ำนวน 12 ชนดิ ทส่ี ามารถปลกู ในบริเวณบ้านเรือน สามารถนำ� สว่ นตา่ ง ๆ ของพืช
มาใช้ประโยชน์อย่างง่าย ๆ และถูกต้อง ซ่ึงคณะผู้จัดท�ำหวังว่าเอกสารค�ำแนะน�ำ
ฉบับน้ีจะเป็นข้อมูล เป็นแรงผลักดันให้ผู้สนใจได้น�ำไปปฎิบัติ เกิดประโยชน์ต่อ
ครอบครัวและสงั คมต่อไป
กรมสง่ เสรมิ การเกษตร
2558
สารบญั หนา้
1
4
บทน�ำ 6
8
กระเจ๊ียบแดง 10
12
ขมิ้นชัน 14
ชุมเหด็ เทศ
ตะไคร้หอม
บวั บก
ฟ้าทะลายโจร
หน้า
ฟกั ขา้ ว 16
มะขามป้อม 18
รางจดื 20
วา่ นหางจระเข้ 22
หญา้ หนวดแมว 24
อัญชัน 26
บรรณานกุ รม 28
บทนำ�
รู้ตน้ ร้ปู ลูก รปู้ ระโยชน์
รู้ใชพ้ ชื สมุนไพร
ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจสังคมที่บีบรัดและแข่งขันเช่นทุกวันนี้
คนไทยคงต้องตระหนักถึงการประหยัดและพอเพียงมากขึ้น สุขภาพของคนในครอบครัว
เปน็ ปจั จยั ส�ำคญั หนงึ่ ท่ตี อ้ งเอาใจใส่ เพราะมคี ่าใชจ้ า่ ยสงู มากหากเจ็บปว่ ย วธิ ีดูแลสขุ ภาพ
ได้แก่ การออกก�ำลังกาย ลดความเครียด รับประทานอาหารสุขภาพ หลีกเล่ียง
ความเส่ียงตา่ ง ๆ การใช้สารธรรมชาตแิ ละการใชพ้ ชื สมนุ ไพร นบั เปน็ อกี ทางเลอื กทีใ่ ชใ้ น
การดูแลสุขภาพ
สมนุ ไพรประจ�ำบา้ น 1
ปลูกสมนุ ไพรในบ้านดีอยา่ งไร
✤ ปลกู ไวใ้ ชเ้ วลาฉกุ เฉนิ ใชบ้ รรเทาอาการเจบ็ ปว่ ย
เบอื้ งตน้ ทำ� ให้ประหยดั ค่ารักษา แบง่ เบาภาระ
เศรษฐกิจ เป็นการดูแลสุขภาพพ้ืนฐานของคน
ท้งั ครอบครัว
✤ มีวิธีใช้ที่ง่าย ได้สรรพคุณทางยาครบถ้วน
หากปลูกและใช้ถูกวิธี ไม่มีผลร้ายข้างเคียง
สมุนไพรท่ีใช้ปลอดภัย ไม่ปนเปื้อนสารเคมี
จุลินทรยี ์ หรอื เชื้อรา
✤ เป็นซุปเปอรม์ าร์เก็ตในบ้าน ทงั้ ประกอบอาหาร
เป็นเคร่ืองปรุง เปน็ เครื่องดืม่ ใช้ไล่ยงุ และแมลง
ในแปลงปลกู พชื และในบา้ นเรอื น ใชก้ บั สตั วเ์ ลย้ี ง
เปน็ ไม้ประดับสวยงาม ทำ� สวนสวย
2 กรมส่งเสริมการเกษตร
สวนสมนุ ไพรในบา้ น เรมิ่ อย่างไร
✤ ต้องรู้จักช่ือพืชสมุนไพร เรียกให้ถูกช่ือ ถูกต้น ระวังช่ือพ้อง ข้อน้ีส�ำคัญมาก
อยา่ ใชผ้ ิดต้น
✤ เลอื กชนดิ ท่เี หมาะกบั บ้าน และความตอ้ งการบรโิ ภคและใชข้ องคนในครอบครัว
✤ ต้องรู้จักลักษณะของพืช ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใหญ่ กลาง ไม้ล้มลุกหรือประเภท
หัว ไมเ้ ล้ือย เถาขนาดเลก็ ใหญ่ หรือไม้พุ่ม
✤ รู้จักธรรมชาติของพืช ต้องการแสงหรือร่มเงา ชอบชื้นมากน้อย ต้องการน�้ำ
มากน้อย ดินชนิดใด
✤ รู้วิธีขยายพันธุ์ เมล็ดขนาดใหญ่ ปลูกลงดินโดยหยอดหลุมหรือเพาะในถุงด�ำ
เมล็ดขนาดเล็กเพาะกล้าในภาชนะแล้วย้ายกล้าปลูก หรือใช้วิธีหว่าน เช่น
ฟ้าทะลายโจร ขยายพันธุ์ด้วยกิ่งช�ำใช้กิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่มีตา 2-3 ข้อ เช่น
หญ้าหนวดแมว ปักช�ำในแกลบท่ีมีความชื้นสูง หรือพวกหัว เช่น ขม้ินชัน
แบง่ หัวให้มี 2-3 ตา ปลกู ต้นฤดฝู น
✤ เตรียมดินให้ดี ตากดินใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักซ่ึงต้องย่อยสลายแล้ว ปรับปรุงดิน
ให้มีความอุดมสมบูรณ์ หากปลูกในภาชนะ ดินหรือวัสดุปลูกต้องโปร่ง ร่วนซุย
หากเป็นภาชนะแขวนต้องใหม้ นี ้ำ� หนกั เบา
✤ รูเ้ กบ็ เกย่ี วสมุนไพรไปใช้ใหถ้ ูกสว่ น กง่ิ ใบ ดอก ราก ผล ฯลฯ เพราะสารสำ� คัญ
ออกฤทธิห์ รือตัวยาในแต่ละสว่ นของพืชมคี วามแตกต่างกัน รู้เกบ็ เกยี่ วไปใช้ใหถ้ กู
อายพุ ืชเพราะตัวยาทีไ่ ดจ้ ากส่วนตา่ ง ๆ ของพชื มมี ากน้อยแตกตา่ งกนั ตามระยะ
การเจรญิ เติบโตของพชื
สมุนไพรประจ�ำบา้ น 3
กระเจี๊ยบแดง
Hibiscus sabdariffa L.
กระเจยี๊ บแดง เปน็ ไมพ้ ุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1.2-2 เมตร ก่ิงก้านมสี มี ่วงแดง
ใบมีหยักเว้า 3 หยัก ขอบใบเรยี บ ดอกมสี ีชมพู ตรงกลางจะมีสเี ขม้ กวา่ สว่ นนอกของกลีบ
เมือ่ กลีบดอกรว่ งโรย กลบี รองดอกและกลบี เลย้ี งจะเจรญิ ขึ้น มสี มี ว่ งแดงเข้ม มีรสเปรีย้ ว
กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชท่ีปลูกเลี้ยงง่าย ชอบอากาศร้อนหรือค่อนข้างร้อน ทนต่อความ
แห้งแล้ง และไม่ชอบน้�ำขัง กลีบรองดอกและกลีบเล้ียงของกระเจี๊ยบแดงเมื่อน�ำมาต้ม
กับน�ำ้ ใชด้ ื่มแกร้ อ้ นใน กระหายนำ้� มสี รรพคณุ ป้องกันการจับตัวของไขมนั ในเสน้ เลอื ด
การขยายพนั ธ์แุ ละการปลกู
กระเจยี๊ บแดง ขยายพนั ธด์ุ ้วยเมลด็ พนั ธุ์พ้ืนเมืองจะมกี ลบี ขนาดเล็กไม่หนาแต่มี
สารส�ำคัญสูง เลือกพ้ืนท่ีแจ้ง มีแสงแดดจัดเต็มวัน ไม่มีน�้ำขัง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด
กระเจย๊ี บแดงเปน็ พชื ไวแสงจะออกดอกเมอื่ วนั สนั้ จงึ ควรปลกู ในเดอื นกรกฏาคม-สงิ หาคม
ซง่ึ จะออกดอกเมือ่ อายปุ ระมาณ 120 วนั น�ำเมล็ดไปแชน่ �้ำ คดั เมลด็ ลอยทงิ้ เก็บไวเ้ ฉพาะ
เมล็ดจม นำ� ขน้ึ ผ่งึ ลมจนแหง้ แล้วน�ำไปปลูก
4 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร
การปลกู แบบหยอดเมล็ด หยอดหลุมละประมาณ 2-3 เมลด็ ระยะปลูกระหวา่ งตน้
1 เมตร ระหวา่ งแถว 1 เมตร แล้วกลบดนิ เล็กน้อย เมื่ออายไุ ด้ 3-4 สัปดาห์ เปน็ ตน้ ออ่ น
ถอนให้เหลือหลุมละ 1 ตน้
การปลูกในภาชนะ ควรเตรียมดินร่วนซุย หยอดเมล็ดลงในภาชนะปลูก แล้ว
กลบดนิ เล็กน้อย ตั้งไว้ในทม่ี ีแสงแดดทงั้ วนั
การดแู ลรกั ษา
กระเจย๊ี บแดง ระยะอายุ 30-60 วัน หลังเมลด็
งอก ควรให้น้�ำสม�่ำเสมอ หลังจากนั้นจะทนต่อความ
แหง้ แล้งได้ดี การใสป่ ุย๋ ใชป้ ุ๋ยคอกหรือป๋ยุ อนิ ทรีย์ ช่วงที่
เรม่ิ เจรญิ เติบโต อายุ 10-15 วนั และอายุ 40-50 วัน
ไมค่ วรใหป้ ยุ๋ ทม่ี ไี นโตรเจนมากเกนิ ไป กำ� จดั วชั พชื รอบ ๆ
โคนต้นอย่างสม�่ำเสมอ
การเกบ็ เกี่ยว
กระเจยี๊ บแดง เกบ็ เกี่ยวประมาณเดอื นพฤศจกิ ายน-ธนั วาคม
วธิ ีการเก็บเกี่ยว เกบ็ ส่วนดอกกระเจ๊ยี บแดง เฉพาะดอกท่แี ก่ ใชก้ รรไกรหรอื มีด
ตัดใส่ในภาชนะทส่ี ะอาดและมวี ัสดรุ อง แยกกลีบเล้ยี งและกลบี ดอกออกจากเมล็ด น�ำไป
ตากแดดจนแห้งสนทิ เลือกต้นกระเจ๊ียบแดงทม่ี ีดอกโต เนอื้ หนา สีแดงเข้ม เก็บเมลด็ แก่
ไวท้ �ำพนั ธุ์
การใชป้ ระโยชนใ์ นครวั เรือน
✤ กลีบรองดอกและกลบี เล้ียงสด นำ� มาต้มกบั น้�ำ และ
น�้ำตาล ใช้ด่ืมแก้ร้อนใน กระหายน้�ำ และป้องกันการจับตัวของ
ไขมันในเสน้ เลือด
✤ น�ำกลีบรองดอกและกลีบเล้ียงตากแห้งบดเป็นผง
น�ำมาชงในน้�ำเดอื ดคร้ังละ 1 ชอ้ นชาตอ่ นำ้� 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครงั้ จะชว่ ยขบั ปสั สาวะ
✤ ใบของกระเจีย๊ บแดง ใชแ้ กงสม้ มีวติ ามนิ เอสูงช่วยบ�ำรุงสายตา
สมนุ ไพรประจ�ำบา้ น 5
ขมิน้ ชนั
Curcuma longa L.
ขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยมีภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์มายาวนาน
โดยเฉพาะภาคใต้ ซ่ึงจะมีการใช้ขมิ้นชันเป็นเครื่องเทศในอาหารประจ�ำวันเกือบทุกชนิด
ขม้ินชันเป็นพืชล้มลุกอายุ 1 ปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เน้ือในของเหง้ามีสีส้มอมเหลือง และ
มกี ลน่ิ หอมเฉพาะตวั เหงา้ ขมน้ิ ชนั มสี รรพคณุ รกั ษาโรคกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการ จกุ เสยี ด
แน่นเฟ้อ บ�ำรุงผิวพรรณ รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ขมิ้นชันน�ำไปใช้ในอุตสาหกรรม
สมนุ ไพรอยา่ งกวา้ งขวางทง้ั อาหาร อาหารเสรมิ ยารกั ษาโรคของคนและสตั ว์ และเครอื่ งสำ� อาง
การขยายพันธุ์และการปลูก
ขม้ินชัน ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้า ควรปลูกต้นฤดูฝน การปลูกในบ้านเลือก
พ้ืนที่มีแสงแดด หรือรำ� ไรได้ ดินร่วนซยุ มกี ารระบายนำ�้ ดี หา้ มมีน�้ำขงั จะเกิดโรคเน่าไดง้ า่ ย
เตรียมแปลงให้ดินรว่ นซุย ขดุ หลุมปลูกลึก 10-15 เซนติเมตร รองกน้ หลมุ ปลกู ด้วยปุ๋ยคอก
200-300 กรมั วางเหง้าในหลุมปลกู กลบดินหนา 5-10 เซนติเมตร ระยะปลกู ระหว่างตน้
35 เซนติเมตร ระหวา่ งแถว 50 เซนตเิ มตร
6 กรมส่งเสรมิ การเกษตร
การปลูกในภาชนะ ควรใช้ในภาชนะขนาดใหญ่และมีความลึก เพราะเป็นพืช
ท่ีมกี ารลงหวั รดน้�ำทกุ วนั ส่วนผสมของดินปลกู ดนิ 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน ป๋ยุ คอก 1 ส่วน
แกลบเผา 1 สว่ น ตั้งไว้ในทีม่ ีแสงแดด
การดูแลรกั ษา
ในระยะแรกปลูกต้องให้น้�ำอย่างสม�่ำเสมอจนกว่าพืชจะต้ังตัวได้ ให้น�้ำน้อยลง
ในระยะหัวเร่มิ แก่ งดให้นำ้� ในระยะเก็บเกยี่ ว ใส่ปยุ๋ อินทรยี ์ 2 ครัง้ หลงั ปลูก 1 เดือน และ
หลังปลูก 3 เดือน โรยเป็นแถวข้างต้น ห่างจากโคนต้น 8-15 เซนติเมตร ก�ำจัดวัชพืช
บอ่ ย ๆ โดยถอนหรอื ใช้จอบดายพรวนดนิ และกลบโคนตน้ ในระยะทข่ี มนิ้ ชนั ยังเลก็ อยู่
การเก็บเกีย่ ว
ขม้ินชัน เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้ง เม่ือขมิ้นชันมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป สังเกต
ต้นจะฟุบ จะเป็นช่วงท่ีมีสารส�ำคัญท่ีเป็นตัวยาสูง ไม่ควรเก็บเก่ียวขม้ินชันในช่วงก�ำลัง
แตกหน่อใหมเ่ พราะจะมีตัวยานอ้ ย
วิธีการเก็บเกี่ยว ให้น้�ำดินพอชื้น ท้ิงไว้ 1 สัปดาห์ เก็บเก่ียวโดยใช้จอบขุด
ตัดแยกส่วนเหนือดินและเหง้า อย่าให้หัวขม้ินชันเกิดบาดแผล น�ำไปล้างเอาดิน
ทต่ี ดิ อยูอ่ อกให้สะอาด ตดั รากออก สามารถทำ� แหง้ ไว้ใชโ้ ดยฝานบาง ๆ น�ำไปตากแดดบน
ภาชนะท่ีสะอาดจนแห้งสนิท เก็บรักษาในท่ีเย็น เหง้าพันธุ์ส�ำหรับปลูกขยายพันธุ์ต่อไป
ควรเกบ็ ผึง่ ในที่รม่ สะอาด อากาศถา่ ยเทได้และไมช่ ื้น
การใช้ประโยชน์ในครัวเรือน
✤ ใชเ้ หง้าสดประกอบอาหาร
✤ ใชเ้ ปน็ ยาโดยนำ� เหงา้ ขมนิ้ ชนั
ฝานเป็นชน้ิ บาง ๆ ตากใหแ้ ห้งสนทิ
น�ำมาบดให้เป็นผง รับประทานแก้ท้องอืด
ท้องเฟ้อ แก้ทอ้ งร่วง และรกั ษาแผล
ในกระเพาะอาหาร
✤ เหง้าสดมาฝนกับนำ้� ต้มสุก
ทาแก้ผนื่ คัน หรอื ใชผ้ งขมนิ้ โรยบรเิ วณทีม่ ีอาการผนื่ คนั
สมุนไพรประจำ� บ้าน 7
ชุมเหด็ เทศ
Senna alata L. Roxb
ชุมเห็ดเทศ เป็นสมุนไพรท่ีมีสรรพคุณช่วยในการระบาย ใบชุมเห็ดเทศมี
สารสำ� คญั คอื แอนทราควโิ นน ซงึ่ มฤี ทธชิ์ ว่ ยกระตนุ้ ใหล้ ำ� ไสใ้ หญบ่ บี ตวั ชมุ เหด็ เทศเปน็ ไมพ้ มุ่
ขนาดกลาง สงู 1-3 เมตร ใบรปู ไข่ แตกออกเปน็ คตู่ รงขา้ มกนั ออกดอกเปน็ ชอ่ สเี หลอื งใหญ่
ผลเป็นฝักแบนยาวคล้ายไม้บรรทัด โดยท่ัวไปชุมเห็ดเทศชอบอากาศร้อนช้ืน สามารถ
ขึ้นไดด้ ีในดินทกุ ประเภท โดยเฉพาะบรเิ วณที่ลุม่ และดินมีความชุม่ ชนื้ มาก
การขยายพันธ์ุและการปลูก
ชุมเห็ดเทศ ขยายพนั ธดุ์ ้วยการเพาะเมล็ด โดยเมล็ดตอ้ งมาจากฝักท่ีแก่จัด แตกอา้
เมลด็ มสี เี ทาอมน�้ำตาลไม่ลีบ เมลด็ ของชมุ เหด็ เทศมเี ปลอื กหุ้มที่แข็ง น�ำเมลด็ แช่ในน�ำ้ รอ้ น
อุณหภูมิประมาณ 80-100 องศาเซลเซียส นานประมาณ 10 นาที จากนั้นน�ำไปเพาะ
โดยน�ำไปคลุกกับทราย อัตรา 1 : 2 แล้วหอ่ ด้วยผ้าขาวบาง รดน้�ำหรอื แชน่ ำ้� ใหช้ มุ่ น�ำขน้ึ
มาเก็บในทช่ี น้ื ประมาณ 1-2 วนั เมลด็ จะเร่มิ งอก
น�ำเมล็ดท่ีเร่ิมงอกหว่านลงในแปลงเพาะ เกล่ียดินกลบบาง ๆ รดน้�ำเช้าเย็น
เมอ่ื อายุได้ 25-35 วัน มใี บจรงิ ประมาณ 5-7 ใบ น�ำลงปลูกในพ้ืนทที่ ่เี ตรยี มไว้ ขุดหลมุ
ขนาด 40 x 40 x 40 เซนตเิ มตร ระยะระหวา่ งต้นประมาณ 3 เมตร ระหวา่ งแถว 4 เมตร
ใสป่ ยุ๋ อนิ ทรยี ห์ ลุมละครึง่ กิโลกรมั น�ำตน้ กลา้ ลงปลูก ควรปลูกในฤดฝู น
8 กรมส่งเสริมการเกษตร
การดูแลรักษา
ชุมเห็ดเทศ เจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน หลังปลูกควรรดน้�ำทุกวัน จนกว่า
ต้นกล้าจะต้ังตัวได้ คือ ประมาณ 3 เดือน หลังจากนั้นดูตามความชุ่มชื้นของดิน
ท�ำไม้ค�้ำยันต้นเพ่ือป้องกันการโค่นล้ม ช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ชุมเห็ดเทศจะพักตัว
กอ่ นฤดูฝนใหใ้ สป่ ๋ยุ คอกรอบ ๆ โคนต้นในแนวรศั มที รงพ่มุ พรวนดนิ และตดั แต่งกิ่ง
การเกบ็ เกย่ี ว
ชุมเห็ดเทศ เกบ็ เกีย่ วไดเ้ มื่อต้นมอี ายไุ ด้ 6-7 เดอื นขน้ึ ไป
วิธีการเก็บเก่ียว ให้เก็บเฉพาะใบเพสลาด (ใบไม่อ่อนไม่แก่) และเก็บเก่ียว
คร้ังต่อไปห่างกัน 2-3 เดือน เก็บใบจากด้านล่าง โดยใช้กรรไกรตัดใบประกอบทั้งใบ
และล้างนำ้� สะอาด ผ่งึ ใหส้ ะเด็ดน้�ำ เกลยี่ ตากแดดให้แหง้
การใช้ประโยชน์ในครวั เรอื น
✤ ดอกชุมเห็ดเทศประมาณ 3 ช่อ ลวกรับประทานกบั น�้ำพริก เป็นยาระบาย
บรรเทาอาการท้องผูก หรือใช้ใบ 8-12 ใบ ตากแดดให้แห้ง ป่นเป็นผงชงกับน�้ำเดือด
รนิ เฉพาะน�ำ้ มาดื่ม
✤ ใบชุมเห็ดเทศสดขย้ีหรือต�ำในครกให้ละเอียด เติมน้�ำเล็กน้อย ทาบริเวณที่
เปน็ กลาก
✤ ใบชุมเห็ดเทศและก้านสดต้มกับน้�ำพอท่วม แล้วเค่ียวให้เหลือ 1 ใน 3
ใชช้ ะล้างบริเวณที่เป็นฝี และแผลพพุ อง
✤ ยาจากสมุนไพรในบัญชี
ยาหลักแห่งชาติ ผงใบชุมเห็ดเทศแห้ง
ซองละ 3 กรมั รบั ประทานครง้ั ละ 1-2 ซอง
โดยชงในน้�ำเดือด 120 มิลลิลิตร นาน
10 นาที วันละ 1 คร้ังก่อนนอน บรรเทา
อาการทอ้ งผกู
สมุนไพรประจ�ำบ้าน 9
ตะไครห้ อม
Cymbopogon nardus L. Rendle
ตะไครห้ อม เปน็ พชื ในตระกลู เดยี วกบั ตะไครแ้ กงแตม่ ขี นาดใหญก่ วา่ ลกั ษณะเปน็
ไม้ล้มลกุ เจริญเตบิ โตเปน็ กอและมกี ลน่ิ หอมเฉพาะตวั มดี อกสีแดงเป็นช่อ แตกเปน็ แขนง
สามารถเจริญเติบโตไดด้ ใี นดินทุกชนิด พน้ื ท่ีโลง่ แจ้ง มีแสงแดดตลอดทั้งวัน และสามารถ
ทนแลง้ ไดด้ ี ตะไครห้ อมเปน็ พชื สมนุ ไพรทมี่ นี ำ้� มนั หอมระเหยอยใู่ นสว่ นใบและลำ� ตน้ นำ้� มนั
ตะไคร้หอมนำ� ไปใช้ประโยชน์ในการแตง่ กล่นิ ผลติ ภัณฑ์ตา่ ง ๆ เชน่ สบู่ แชมพู อาหารและ
เคร่อื งด่มื รวมทั้งสามารถนำ� ไปใช้ในการเกษตรโดยใช้เป็นสารไล่แมลงศัตรพู ืช
การขยายพนั ธแุ์ ละการปลูก
ตะไคร้หอม การเตรียมต้นพันธุ์ โดยตัดแต่งให้มีข้อเหลืออยู่ 2-3 ข้อ ตัดปลาย
ใบออก น�ำไปปกั ชำ� ในแปลงปลูก โดยใช้ระยะหา่ ง 1-1.25 เมตร
การปลูกลงแปลง เลือกพื้นท่ีที่มีแสงแดดจัด จะแตกกอดี ดินร่วนปนทราย
พรวนดินบริเวณที่จะปลูกให้ร่วนซุย ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ขุดหลุมขนาด กว้าง 15 เซนติเมตร
ยาว 15 เซนติเมตร ลกึ 15 เซนตเิ มตร ระยะปลูก 1-1.5 เมตร รองกน้ หลุมดว้ ยป๋ยุ คอกหรอื
ปยุ๋ อนิ ทรยี ์ นำ� ตน้ พนั ธท์ุ เี่ ตรยี มไวป้ ลกู 3 ตน้ ตอ่ หลมุ ปกั ตน้ พนั ธต์ุ ะไครล้ งใหเ้ อยี ง 45 องศา
10 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร
ไปดา้ นใดด้านหนง่ึ แลว้ กลบดนิ พอมดิ ราก แลว้ รดน้�ำใหช้ มุ่
การปลกู ในภาชนะ เนอ่ื งจากตะไครห้ อม มขี นาดกอคอ่ นขา้ งใหญแ่ ละสงู ประมาณ
1.5 เมตร หากปลูกในภาชนะ จึงควรเลือกภาชนะท่ีลึก และมีขนาดใหญ่เพียงพอให้พืช
แตกกอได้ ปักตะไคร้หอมลงในภาชนะประมาณ 2-3 ต้น หลังปลูกรดน�้ำให้ชุ่ม น�ำไปไว้
ในที่แสงแดดจดั เพื่อให้แตกกอ
การดแู ลรักษา
ในระยะแรกปลกู ควรรดน้ำ� ทุกวนั เพอ่ื ใหแ้ ตกกอดี หลงั จากนน้ั จึงลดการใหน้ ำ้�
ตะไคร้หอมเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี แต่หากได้รับน้�ำสม่�ำเสมอจะสามารถแตกกอได้ตลอดทั้งปี
การใสป่ ยุ๋ ควรบ�ำรงุ ตน้ หลงั ตัดใบไปใช้ เพือ่ ใหแ้ ตกกอใหมเ่ ร็วขน้ึ
การเก็บเกี่ยว
ตะไครห้ อม เรมิ่ เกบ็ เกย่ี วได้เม่อื อายุประมาณ 7 เดือน สงั เกตจากใบลา่ งท่ีเร่ิมแห้ง
ตดั เอาสว่ นใบเหนือจากพืน้ ดิน 25-30 เซนตเิ มตร เพื่อให้ตน้ ท่ีเหลือแตกใบใหม่ไดเ้ ร็วขน้ึ
ถา้ ตะไครห้ อมไดร้ บั น้ำ� สมำ่� เสมอ สามารถตัดได้ปีละ 2-3 ครงั้ เกบ็ เกีย่ วแตล่ ะครั้งหา่ งกัน
ประมาณ 3 เดอื น ตะไคร้หอมจะให้ผลผลิตได้นาน 2-3 ปี
การใช้ประโยชนใ์ นครัวเรอื น
✤ น�ำใบและต้นมาทุบ จะมีกลิ่นน้�ำมันหอมระเหยออกมา มัดวางไว้บริเวณ
รอบ ๆ ตวั จะชว่ ยปอ้ งกนั ยงุ กัด และชว่ ยดบั กลน่ิ ไม่พึงประสงค์ในครวั เรือนได้
✤ การนำ� ไปใชไ้ ลแ่ มลงทำ� ได้
โดยการใช้ใบสดของตะไคร้หอมที่แก่
จัดผสมกับเหง้าข่าสดและใบสะเดาบด
ในอตั รา 1 : 1 แชน่ �ำ้ 1 ป๊ีบ หมกั นาน
2 วัน กรองเฉพาะน�้ำไปเป็นหัวเชื้อ
ใชห้ วั เชื้อ 10 ชอ้ นแกง ผสมนำ้� 1 ปี๊บ
ฉีดป้องกันแมลงในแปลงพชื ผัก
สมนุ ไพรประจำ� บ้าน 11
บวั บก
Centella asiatica L. Urban
บวั บก เปน็ พืชล้มลกุ ล�ำตน้ สน้ั มไี หลเล้อื ยแผ่ไปตามดนิ มรี ากงอกออกตามข้อของ
ลำ� ต้น ใบรูปร่างกลม ขอบใบหยกั เปน็ คลนื่ มีดอกขนาดเล็กสมี ว่ ง บัวบกเปน็ พชื ที่สามารถ
ปลูกได้ทั่วไป ปลูกได้ดีในดินเหนียวหรือดินเหนียวปนดินร่วน พ้ืนที่ชื้นแฉะแต่น�้ำไม่ท่วมขัง
สามารถขน้ึ ไดด้ ที ง้ั ในทร่ี ม่ รำ� ไรและทโ่ี ลง่ แจง้ มแี สงแดดมาก ลำ� ตน้ และใบบวั บกมสี ารสำ� คญั
คือ กรดมาดีคาสสิค (Madecassic acid) กรดเอเซียติค (Asiatic acid) มีฤทธ์ิในการ
สมานแผล ชว่ ยฆา่ เช้อื แบคทีเรยี ไมใ่ หเ้ กิดแผลเปน็ สารสกัดบวั บกใช้มากในอตุ สาหกรรม
เครือ่ งสำ� อางและยา
การขยายพนั ธุ์และการปลกู
บัวบก ขยายพันธุ์โดยการใช้ไหลหรือเมล็ด การใช้ไหลเป็นวิธีท่ีง่ายและสะดวก
รวดเร็วกว่าการใช้เมล็ด โดยนำ� ล�ำต้นหรอื ไหลท่ีมีรากและต้นอ่อน ตดั เป็นท่อน ๆ ไปเพาะ
ในกระบะเพาะประมาณ 1-2 สัปดาห์ รดนำ�้ ใหก้ ระบะเพาะมคี วามชุ่มช้นื อย่เู สมอ แลว้ จงึ
ย้ายกลา้ จากกระบะเพาะไปปลกู ในแปลงหรอื ภาชนะที่เตรยี มไว้
การปลกู ในแปลง ควรเตรยี มแปลงใหด้ นิ รว่ นซยุ และยกรอ่ งแปลงใหส้ งู เหนอื กวา่
ระดบั ดนิ ปกตเิ พอื่ ปอ้ งกนั นำ้� ทว่ มขงั โดยทำ� แปลงใหก้ วา้ งประมาณ 1-2 เมตร ความยาวตาม
12 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร
ความเหมาะสมของพ้ืนท่ี ตากดินประมาณ 7 วัน จากน้ันพรวนดินพร้อมใส่ปุ๋ยคอกหรือ
ป๋ยุ อนิ ทรีย์ อัตรา 1-2 กิโลกรมั ต่อตารางเมตร หลังจากนน้ั น�ำไหลท่เี พาะไว้ ปกั ลงในแปลง
ระยะปลูกระหวา่ งต้น 15 เซนตเิ มตร ระหว่างแถว 15 เซนตเิ มตร ระยะแรกของการปลูก
ควรท�ำตาข่ายพรางแสงไว้ประมาณ 7-10 วัน หลังจากนั้น จึงน�ำตาข่ายพรางแสงออก
บวั บกมรี ะบบรากตน้ื ประมาณ 1.5-2 เซนตเิ มตร จงึ สามารถปลกู ไดด้ ใี นภาชนะตา่ ง ๆ และ
ภาชนะห้อยแขวนทมี่ ปี ากกวา้ ง และมคี วามลกึ ไม่เกิน 10 เซนตเิ มตร
การดูแลรักษา
บวั บก ตอ้ งการความชน้ื แฉะมากจงึ ควรใหน้ ำ�้ อยา่ งสมำ่� เสมอ แตต่ อ้ งระวงั อยา่ ให้
นำ�้ ขงั จะเกดิ โรคโคนเนา่ เนอ่ื งจากบวั บกเปน็ พชื ทเี่ จรญิ เตบิ โตไดง้ า่ ย การใหป้ ยุ๋ จงึ ไมจ่ ำ� เปน็
อาจใหเ้ มอื่ ตน้ มสี ภาพไมส่ มบรู ณเ์ ทา่ นน้ั ใหป้ ยุ๋ สตู ร 15-15-15 ปรมิ าณดตู ามความเหมาะสม
ของขนาดพ้ืนท่ีที่ปลูก การเจริญเติบโต ความอุดมสมบูรณ์ของดินและความสมบูรณ์ของ
ตน้ บัวบกดว้ ย และทุกครงั้ ทีม่ กี ารใสป่ ุ๋ยเสร็จแล้วจะตอ้ งรดน้�ำใหช้ ุ่ม
การเก็บเกีย่ ว
เร่ิมเก็บเก่ียวบัวบกหลังจากปลูกได้ประมาณ 60-90 วัน โดยใช้มีดตัดต้นเหนือ
จากพ้ืนดินประมาณ 2-3 เซนติเมตร และสามารถเกบ็ เกี่ยวรอบต่อไปได้ภายใน 2-3 เดือน
และหากบ�ำรุงรักษาดจี ะสามารถเกบ็ ผลผลติ ไดน้ านประมาณ 2-3 ปี
การใชป้ ระโยชน์ในครัวเรอื น
บัวบกสด ใช้รับประทานเป็นผัก
หรอื คน้ั นำ้� ทำ� เปน็ เครอ่ื งดมื่ โดยการนำ� บวั บก
1 กำ� มือ มาลา้ งให้สะอาด ต�ำให้ละเอียด คัน้
น้ำ� ดมื่ รกั ษาอาการร้อนใน อ่อนเพลยี บำ� รุง
ก�ำลัง น้�ำคั้นใบบัวบกใช้ทาบริเวณแผลสด
ชว่ ยสมานแผล ใบสดควรเก็บรักษาในตู้เย็น
หากทิ้งให้เห่ียวจะท�ำให้สารส�ำคัญบางชนิด
ลดลงรวดเรว็
สมุนไพรประจ�ำบา้ น 13
ฟา้ ทะลายโจร
Andrographis paniculata (Burm.)Wall.ex Nees.
ฟ้าทะลายโจร เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 30-100 เซนติเมตร ใบมีลักษณะ
ปลายใบแหลม ผวิ ด้านบนมสี ีเขียวเขม้ มากกว่าด้านล่างใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว ผลคล้าย
ฝกั ตอ้ ยตง่ิ ภายในมเี มลด็ สนี ำ้� ตาล สามารถเจรญิ เตบิ โตไดด้ ใี นสภาพอากาศรอ้ นหรอื รอ้ นชนื้
สามารถปลกู ไดท้ กุ ฤดกู าล ทง้ั ในทโี่ ลง่ แจง้ หรอื แสงรำ� ไร มสี รรพคณุ ทางยา คอื บรรเทาอาการ
เจบ็ คอ ไขห้ วัด ท้องเสีย
การขยายพนั ธแ์ุ ละการปลกู
ฟา้ ทะลายโจร ขยายพนั ธโ์ุ ดยการใชเ้ มลด็ หากเพาะเมลด็ เองจากตน้ เดมิ ทม่ี อี ยใู่ หเ้ ลอื ก
ฝักท่ีแก่จัด เมล็ดมีสีน้�ำตาลแดง เมล็ดฟ้าทะลายโจรมีเปลือกหุ้มหนาและแข็ง ให้แช่น�้ำ
ที่อุณหภูมิหอ้ งนาน 24 ชัว่ โมง หรือแช่น�ำ้ รอ้ นนาน 5-7 นาที แล้วน�ำข้ึนมาผึ่งใหเ้ ย็น
การปลูก โดยทั่วไปไม่ต้องท�ำแปลง ยกเว้นพ้ืนที่ท่ีค่อนข้างลุ่ม ให้ท�ำแปลงยกร่อง
กว้าง 1-2 เมตร ไถพรวนดนิ ใสป่ ุ๋ยคอกหรือปยุ๋ หมกั พอประมาณ ถา้ มีเมลด็ มากและมีพน้ื ที่
กว้าง ควรปลูกโดยใช้การหว่านเมล็ด โดยผสมเมล็ดกับทรายหยาบในอัตราส่วน 2 : 1
กลบดินบาง ๆ หลังหว่านเสร็จ หากมีพ้ืนท่ีและเมล็ดจ�ำกัด ควรขุดดินเป็นร่องต้ืน ๆ
ระหวา่ งแถวหา่ งกนั 40 เซนตเิ มตร โรยเมลด็ ลงในร่อง กลบดนิ บาง ๆ โดยไมใ่ หเ้ หน็ เมลด็
14 กรมส่งเสรมิ การเกษตร
หรือขุดหลุมลึก 3-5 เซนติเมตร เป็นแถว ๆ หา่ งกนั หลุมละ 30 เซนติเมตร หยอดเมล็ด
ลงหลุม หลุมละ 5-10 เมล็ด แล้วเกลี่ยดินกลบ ฟ้าทะลายโจรสามารถปลกู ในบริเวณบ้าน
ไดด้ ีทงั้ ในแปลงและในภาชนะตงั้
การดูแลรกั ษา
หลังปลูกฟ้าทะลายโจรควรใช้วัสดุคลุมพ้ืนท่ีปลูก เช่น ฟางหรือหญ้าแห้ง
เพื่อรกั ษาความชนื้ แลว้ รดน้�ำให้ชุ่ม หลงั จากน้นั ในระยะ 1-2 เดอื นแรก ควรรดน�้ำทุกวัน
วันละ 1-2 คร้งั เมือ่ อายุ 2 เดอื น ให้ใสป่ ยุ๋ อินทรีย์ 300-400 กรมั ตอ่ 2 ตารางเมตร เมอื่ อายุ
ได้ 3-3.5 เดอื น ใหป้ ุ๋ยอินทรีย์ 300-500 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร ให้ปุ๋ยโดยการหวา่ น หรือ
ให้แบบหยอดโคน ห่างจากโคนต้น 10 เซนตเิ มตร หลังให้ปุ๋ยแล้วรดน้�ำทันที กำ� จัดวัชพืช
โดยเฉพาะในช่วงฟ้าทะลายโจรอายุ 1-2 เดือน ถอนวชั พชื รอบ ๆ โคนตน้ อยา่ งสมำ่� เสมอ
การเก็บเกย่ี ว
ระยะเก็บเก่ียวฟ้าทะลายโจรที่เหมาะสมคือ ช่วงเร่ิมออกดอก อายุประมาณ
110-150 วนั การเกบ็ เก่ยี วใช้กรรไกรตดั กงิ่ หรือใชเ้ คยี ว ตัดทง้ั ต้นใหเ้ หลอื ตอสงู ประมาณ
5-10 เซนตเิ มตร เพ่ือให้แตกยอดและกอใหม่ สามารถเก็บเกย่ี วได้ปีละ 2 คร้ัง โดยสามารถ
เก็บเก่ยี วรอบท่ี 2 ได้ ห่างจากรอบแรกประมาณ 3 เดือน
การใช้ประโยชน์ในครวั เรือน
✤ ใบสดหรือแหง้ ประมาณ 5-7 ใบ ชงด้วยน�้ำเดอื ด 1 แก้ว ปิดฝาทิ้งไวจ้ นอุน่
รินน้�ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว หรือใช้ฟ้าทะลายโจรท้ังต้นและใบ 1 ก�ำมือ ต้มกับน�้ำ 4 แก้ว
ชว่ ยบรรเทาอาการเจบ็ คอ
✤ ยาจากสมนุ ไพรในบญั ชยี าหลกั แหง่ ชาติ ยาแคปซลู ยาเมด็ ทม่ี ผี งฟา้ ทะลายโจรแหง้
250 มลิ ลิกรมั และ 500 มิลลกิ รัม
- บรรเทาอาการทอ้ งเสยี ไมต่ ดิ เชอ้ื รบั ประทานครง้ั ละ 500 มลิ ลกิ รมั -2 กรมั
วนั ละ 4 คร้งั หลงั อาหารและก่อนนอน
- บรรเทาอาการหวัด เจบ็ คอ รบั ประทานวนั ละ 1.5-3 กรัม วนั ละ 4 ครัง้
หลงั อาหารและกอ่ นนอน
สมนุ ไพรประจำ� บ้าน 15
ฟักข้าว
Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng
ฟกั ขา้ ว เปน็ ผกั พน้ื บา้ นโบราณทม่ี กี ารนำ� มาใชป้ ระกอบอาหารในครวั เรอื นมานาน
พบทุกภูมิภาคของประเทศ ลักษณะเป็นไม้เถาเล้ือยขนาดใหญ่ ผลมีลักษณะกลมรี
ท่ีเปลือกมีหนามเล็ก ๆ อยู่รอบผล ผลอ่อนจะมีสีเขียวอมเหลือง แต่เม่ือสุกแล้วผลจะมี
สแี ดงหรอื สสี ม้ อมแดง ผลสกุ เนอื้ จะเปน็ สเี หลอื ง ฟกั ขา้ วสามารถนำ� มารบั ประทานไดต้ ง้ั แต่
ยอดอ่อน ใบอ่อน และผล ฟักข้าวมีสารอาหารท่ีส�ำคัญ คือ เบต้าแคโรทีนและไลโคปีน
อยู่ท่ีเย่ือหุ้มเมล็ดของฟักข้าว มีสรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระ ลดความเส่ียงของการ
เกิดโรคหลอดเลอื ดหวั ใจ และโรคมะเรง็ รวมท้งั ชว่ ยเสรมิ ภูมคิ ุม้ กันให้รา่ งกาย
การขยายพนั ธแุ์ ละการปลูก
ฟักข้าว นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ท�ำได้โดยน�ำเมล็ดแช่น�้ำท้ิงไว้
1 คืน เมลด็ จะอิ่มน้�ำ หรอื จะกะเทาะเปลอื กแขง็ ๆ ออก เพ่ือช่วยใหเ้ มลด็ งอกไดง้ ่ายและ
เร็วข้ึน จากนั้นวางเมล็ดลงบนดินเพาะ ปลูกที่โปร่ง ชุ่มช้ืน แต่ไม่แฉะ กลบดินบาง ๆ
ประมาณ 2-3 เซนติเมตร รดน�้ำให้ชุ่ม ระวังอย่าให้ดินแห้ง พอเมล็ดแตกใบจริงออกมา
3-4 ใบ จึงน�ำไปลงแปลงปลกู
16 กรมส่งเสริมการเกษตร
การปลูก สามารถท�ำได้หลายรูปแบบ เช่น ปลูกขึ้นต้นไม้ตามธรรมชาติ หรือ
ข้นึ ตามร้วั บา้ นในลกั ษณะค้างแบบแถวเดยี ว หรือทำ� คา้ งแบบหลังคา การเตรียมค้างปลกู
แบบหลังคา ท�ำค้างให้มีหน้ากว้างประมาณ 3-4 เมตร สูงประมาณ 1.80 เมตร
กางตาขา่ ย เพอ่ื ใหเ้ ถาฟักข้าวเลอ้ื ยเกาะค้างส่วนบน เป็นพ้นื ท่เี ลอ้ื ยของเถา
การดแู ลรกั ษา
เมื่อต้นฟักข้าวเจริญเติบโตควรมีการตัดแต่งและควบคุมทรงต้น โดยดูแล
ตดั กงิ่ ขา้ งทง่ี อกจากตน้ หลกั ออกใหห้ มด รวมทง้ั ตอ้ งมดั เถาใหเ้ ลอ้ื ยขนึ้ ตงั้ ตรงอยตู่ ลอดเวลา
หลังจากต้นเจริญถึงค้างแล้ว ให้ตัดยอดบังคับให้แตกเถาใหม่ 3-4 ก่ิง จากน้ันจัดเถา
ให้กระจายออกไปโดยรอบต้นท่ัวพ้ืนท่ีของค้าง และควรตัดยอดของเถาอีกครั้งเมื่อยาว
พอสมควรเพื่อช่วยให้แตกยอดมากข้ึน นอกจากน้ี หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรมีการ
ตัดแต่งก่ิง โดยเลือกตัดแต่งกิ่งที่ตาย ก่ิงไม่สมบูรณ์ เพื่อท�ำให้ทรงพุ่มโปร่ง และท�ำให้ก่ิง
ท่เี หลือมกี ารเจริญเติบโตไดเ้ ตม็ ที่
การเก็บเกี่ยว
การเกบ็ เกีย่ วผลสกุ เพอ่ื บรโิ ภค ใหเ้ ก็บเกยี่ วเมอ่ื เปลือกผลเปล่ยี นเป็นสีแดง ผลท่ี
แก่เริ่มสกุ เนอื้ ในผลมีสีเหลอื ง สามารถใช้บรโิ ภคสดหรือแปรรูปได้ ฟกั ขา้ วมีข้วั ผลคอ่ นขา้ ง
เหนียว การเกบ็ ผลควรใชม้ ีดคมตัด กรณีค้างสูง ควรเกบ็ ด้วยตะกร้อ และควรรองพื้นตะกร้อ
ดว้ ยกระดาษหนงั สอื พมิ พก์ อ่ นเพอื่ ไมใ่ หผ้ ลชำ้� เกบ็ รกั ษาผลฟกั ขา้ วในตเู้ ยน็ ควรหอ่ กระดาษ
เพ่อื ลดการคายความช้ืน จะสามารถชะลอการสุกได้ประมาณ 2-4 สปั ดาห์
การใชป้ ระโยชนใ์ นครัวเรอื น
ผลฟักข้าวสดแปรรูปเป็นน�้ำฟักข้าว โดยการน�ำเนื้อฟักข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ด
มาป่ันให้เป็นเน้อื เดียวกัน เติมนำ�้ เสาวรสหรอื นำ้� ผลไมอ้ น่ื ท่ีมรี สเปรี้ยวลงไป ตม้ นำ�้ ละลาย
น้�ำตาลให้เดือด น�ำน้�ำฟักข้าวใส่ลงไปคนให้เป็นเน้ือเดียวกัน เมื่อเดือดได้ท่ีให้ยกลง
น�ำมารบั ประทานได้ นอกจากนี้ ยอดและผลอ่อน นำ� ไปตม้ เปน็ ผัก รบั ประทานกับน�้ำพริก
แกงแค แกงสม้ แกงเลียง เป็นต้น
สมุนไพรประจำ� บ้าน 17
มะขามปอ้ ม
Phyllanthus emblica L.
มะขามป้อม เป็นไม้พ้ืนบ้านท่ีสามารถพบเห็นได้ท่ัวไป ตามป่าเบญจพรรณ
ป่าเต็งรัง และป่าดิบเขา สามารถน�ำมาปลูกเป็นไม้ประดับที่สวยงามในบ้านที่มีพ้ืนที่
มะขามป้อมเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง ล�ำต้นมีลักษณะคดงอ เปลือกสีน�้ำตาลเทา
ใบคล้ายใบมะขาม ผลกลม ผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน เม่ือแก่จะเป็นสีเขียวอมเหลือง
เน้ือฉ่�ำน้�ำ รับประทานได้ทันที มีรสฝาดเปร้ียวชุ่มคอ ผลมะขามป้อมมีสรรพคุณ
ทางสมนุ ไพรใชล้ ดไข้ ขับปัสสาวะ ช่วยระบาย บ�ำรงุ หวั ใจ น้�ำค้นั ผลสด มปี รมิ าณวติ ามินซี
สูงกวา่ น้�ำส้มคน้ั ประมาณ 20 เท่า ในปรมิ าณทเี่ ทา่ กัน
การขยายพนั ธแ์ุ ละการปลกู
มะขามป้อม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ซ่ึงมะขามป้อมจะให้ผลผลิตได้
เม่อื อายุ 7-8 ปี วิธอี ่ืนในการขยายพนั ธ์ุ ไดแ้ ก่ วิธที าบก่งิ ตอนกง่ิ หรอื เสยี บยอด ซึง่ จะให้
ผลผลติ ในระยะ 3 ปี และมีทรงตน้ ไมส่ งู
มะขามปอ้ ม มที รงพมุ่ กวา้ ง ควรเลือกพ้ืนท่ใี ห้เหมาะสม หากปลกู ในบา้ นขดุ หลมุ
50 x 50 x 50 เซนตเิ มตร ระยะปลูก 3 x 6 เมตร น�ำกิ่งพนั ธุ์ลงปลกู กลบดนิ ใหม้ ิด รดนำ้�
ทันทหี ลังปลกู
18 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร
การดแู ลรักษา
การให้นำ้� เม่ือปลกู ใหม่ ๆ รดน�้ำวนั เว้นวนั เม่อื เข้าเดือนท่ี 2 รดนำ�้ วันเวน้ 2 วนั
หรอื สงั เกตดคู วามชน้ื ของหนา้ ดนิ ทโ่ี คน การใหป้ ยุ๋ ควรใหป้ ยุ๋ อนิ ทรยี ป์ ลี ะ 2 ครง้ั การกำ� จดั
ศตั รพู ชื ควรใชว้ ธิ ธี รรมชาติ เชน่ ใชส้ ารสกดั จากสะเดา ยาสบู เปน็ ตน้ สว่ นการกำ� จดั วชั พชื
ใชก้ ารถอนวชั พืช รอบ ๆ โคนต้นอย่างสมำ�่ เสมอ
การเก็บเกีย่ ว
มะขามป้อม จะออกดอกในช่วง
เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ติดผลในช่วงเดือน
มีนาคม-เมษายน ผลจะแก่และเก็บได้ในช่วง
เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เก็บผลแก่จัด
ดจู ากสผี ลเปลย่ี นเปน็ เหลอื งใส กดเมลด็ ดขู า้ งใน
จะเปน็ สนี ้�ำตาลเข้ม
การใช้ประโยชน์ในครวั เรือน
ผลมะขามปอ้ มนำ� มารบั ประทานสด แก้ไอ ชุ่มคอ หรือนำ� มะขามปอ้ มแห้ง 1 ลูก
แชน่ ำ้� 1 แก้ว ทงิ้ ไว้ตลอดคนื รบั ประทานทั้งเนอ้ื และนำ�้ ในช่วงท้องว่าง ช่วยบำ� รงุ ร่างกาย
ขบั เสมหะ นอกจากนี้ ผลมะขามปอ้ มสามารถนำ� ไปท�ำมะขามปอ้ มแช่อิ่มได้ดี
สมนุ ไพรประจ�ำบา้ น 19
รางจดื
Thumbergia lourifolia L. indl.
รางจดื “ราชาแหง่ การถอนพษิ ” เปน็ ไมเ้ ถาเลอื้ ยเนอ้ื แขง็ ขนาดกลาง ลกั ษณะใบ
ใหญ่ หนา เปน็ ใบเดีย่ วรปู ไข่ ปลายเรียวแหลม ขอบใบมสี ว่ นหยกั เล็กนอ้ ย ผวิ เรยี บเปน็ มนั
ดอกของรางจืดเป็นรูปปากแตรสีม่วงออกท่ีปลายกิ่ง รางจืดชอบดินปนทราย มีสรรพคุณ
ถอนพษิ เบ่อื เมา พิษไข้ แกร้ อ้ นในกระหายน้ำ�
การขยายพนั ธแ์ุ ละการปลกู
รางจืด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือใช้เถาแก่ปักช�ำ เลือกพื้นท่ีดินร่วนปนทราย
มคี วามชมุ่ ช้ืนสงู ต้องการแสงแดดปานกลาง
กอ่ นท�ำการปลูก ควรท�ำคา้ งปลกู อาจใชค้ ้างปนู หรือค้างไม้กไ็ ด้ น�ำเถาแกร่ างจดื
ที่มีความสมบูรณ์ มีตาประมาณ 5-6 ตา ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มาปักช�ำ
ในหลมุ ๆ ละ 2-3 ต้น กลบดนิ ที่โคนใหแ้ นน่ และคลมุ ตาขา่ ยพรางแสง 50 เปอร์เซน็ ต์
รดน้�ำให้ชมุ่
20 กรมส่งเสริมการเกษตร
การดแู ลรักษา
รางจดื ตอ้ งการน�้ำในชว่ งเริม่ ปลูกมากกวา่ ชว่ งอ่นื ๆ หลงั จากนนั้ มีการใหน้ �้ำบา้ ง
ในช่วงฤดูแล้ง การให้ปุ๋ยควรให้ปุ๋ยอินทรีย์ รอบโคนต้นทุก ๆ 6 เดือน ตัดแต่งเถา
โดยตดั ยอดท้งิ ก็จะแตกยอดขน้ึ มาใหม่ การท�ำค้าง อาจเลือกท�ำคา้ งปนู คา้ งไม้ ท�ำเป็นซมุ้
หรือปลูกริมรั้ว ค้างรางจืดควรมีขนาดใหญ่ เน่ืองจากรางจืดเป็นไม้เถาขนาดกลาง และ
มีการเจริญเตบิ โตเร็ว
การเก็บเกี่ยว
การปลูกโดยใช้เมล็ดจะสามารถเก็บเก่ียวเม่ืออายุประมาณ 1 ปี ถ้าปลูกโดยใช้
เถาแก่ปกั ชำ� เกบ็ เก่ยี วเมื่ออายุประมาณ 5-6 เดือน
วิธีการเก็บเกี่ยว เก็บใบก่อนจึงเก็บเถา โดยเก็บใบท่ีเจริญเติบโตเต็มท่ี เก็บเถา
ขนาดเสน้ ผา่ ศนู ยก์ ลาง 0.5 เซนติเมตร
การใชป้ ระโยชน์ในครวั เรือน
รากหรือใบรางจืด น�ำมาโขลกให้แหลก
ผสมนำ้� ซาวขา้ วคัน้ เอาแตน่ ำ�้ ใชด้ ม่ื
ใบรางจืดผ่ึงลมให้แห้ง ชงกับน้�ำร้อน
ดื่มตา่ งนำ้� เป็นการล้างพิษออกจากร่างกาย
สมุนไพรประจำ� บา้ น 21
ว่านหางจระเข้
Aloe vera L. Burm. f.
ว่านหางจระเข้ เปน็ พชื ลม้ ลุก ล�ำต้นสนั้ ใบยาวอวบนำ้� ปลายใบแหลม ขอบใบ
หยกั และมหี นาม ผวิ ใบสเี ขยี วและอาจมรี อยกระสขี าว สามารถปลกู ไดง้ า่ ย ตอ้ งการนำ�้ มาก
ดนิ ระบายนำ�้ ได้ดี ไมช่ อบน�้ำขัง จะท�ำให้รากเนา่ ชอบแดดร�ำไร ปลูกไว้ประจำ� บา้ นนอกจาก
จะใชป้ ระดบั ตกแตง่ เพอื่ ความสวยงามแลว้ ภายในใบวา่ นหางจระเขม้ วี นุ้ ซง่ึ สามารถรกั ษา
อาการเบอ้ื งตน้ ของแผลไฟไหม้ นำ้� รอ้ นลวก อกั เสบ และแผลเรอื้ รงั ในกระเพาะอาหารไดด้ ี
ว่านหางจระเข้เป็นสว่ นประกอบในเคร่อื งสำ� อางและเครอ่ื งดม่ื สขุ ภาพ
การขยายพันธแ์ุ ละการปลกู
ว่านหางจระเข้ ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ขนาดหน่อสูง 10-15 เซนติเมตร
การปลูกในแปลง ควรเตรียมแปลงให้ดินร่วนซุย ชอบดินทราย อาจยกร่องแปลงให้สูง
เหนือกว่าระดับดินปกติเพ่ือให้ระบายน�้ำได้ดี โดยท�ำแปลงกว้างประมาณ 1 เมตร ตาม
ความยาวของพนื้ ท่ี ขดุ หลมุ ลกึ 10-20 เซนตเิ มตร ใสป่ ยุ๋ คอกเลก็ นอ้ ย นำ� ตน้ วา่ นหางจระเข้
ลงปลูก ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 70 เซนติเมตร การปลูก
ในภาชนะ ใชภ้ าชนะขนาดเส้นผา่ ศูนยก์ ลาง 10-12 น้วิ ส่วนผสมของดนิ ปลกู ดนิ 1 สว่ น
ทราย 1 สว่ น ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
22 กรมส่งเสริมการเกษตร
การดแู ลรกั ษา
การให้น้�ำว่านหางจระเข้ ควรรดน้�ำแบบเป็นฝอยกระจายสม�่ำเสมอและพอเพยี ง
ใส่ปุ๋ยคอกเดือนละคร้ัง ป้องกันโรคโคนเน่าจากเชื้อรา โดยลดการให้น้�ำปริมาณมาก
อยา่ ให้นำ้� ท่วมขัง หรอื ไมค่ วรปลกู ซ�้ำในท่ีเดมิ หลาย ๆ ครั้ง
การเก็บเกย่ี ว
ว่านหางจระเข้ เก็บเกี่ยวใบสดหลังปลูก 6-8 เดือน เก็บใบล่างข้ึนไป
โดยสังเกตเนื้อวุ้นที่โคนใบด้านในเต็ม และลายที่ใบลบหมดแล้ว ระวังอย่าให้ใบช้�ำ
เก็บเกีย่ วไดป้ ีละ 8 ครัง้
การใช้ประโยชน์ในครัวเรือน
✤ รักษาแผลไฟไหม้ และน้�ำร้อนลวก ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้�ำให้สะอาด
ปอกเปลือกสีเขียวออก ลา้ งน้ำ� ยางสเี หลอื งออกใหห้ มด เพราะอาจจะระคายเคอื งผิวหนงั
และท�ำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล
พนั ด้วยผ้าพันแผลทสี่ ะอาด เปลี่ยนวนั ละ 2 ครัง้ เชา้ เยน็ จนกว่าแผลจะหาย
✤ บ�ำรุงเส้นผม ใช้วุ้นจากใบสดชโลมบนเส้นผม เพราะวุ้นของว่านหางจระเข้
ทำ� ให้รากผมเย็น เป็นการชว่ ยบ�ำรงุ ตอ่ มทร่ี ากผมให้มีสขุ ภาพดี นอกจากนนั้ ยงั ช่วยรักษา
แผลบนหนงั ศรี ษะ
✤ รบั ประทานเปน็ อาหาร
สุขภาพ โดยน�ำใบมาลอกเปลือก
ออกให้เหลือวุ้น น�ำมาล้างยางออก
ต้ม รับประทานผสมน้�ำเชื่อม เป็น
ของหวานเยน็
สมุนไพรประจ�ำบา้ น 23
หญา้ หนวดแมว
Orthosiphon aristatus (Biume) Miq
หญ้าหนวดแมว เป็นพืชสมุนไพรขนาดเล็กที่ออกดอกเกือบตลอดปี ปลูกง่าย
เจริญเติบโตเร็ว เป็นไม้ประดับท่ีสวยงาม มีดอกสีขาวสวย เกสรตัวผู้ยื่นยาวออกมา
นอกกลีบดอก ท�ำให้มีลักษณะคล้ายหนวดแมว หญา้ หนวดแมวจดั เป็นพืชในกล่มุ เดยี วกนั
กับกะเพราและโหระพา มีล�ำต้นและกิ่งอ่อนเป็นสี่เหล่ียมมีสีน้�ำตาลหรือสีม่วงแดง
ต้นมคี วามสงู ประมาณ 0.3-0.8 เมตร ลกั ษณะของใบเปน็ รปู ขา้ วหลามตดั มขี อบใบหยัก
เป็นจักคล้ายฟันเล่ือย แผ่นใบบางเป็นสีเขียวเข้ม ปลายใบเรียวแหลม หญ้าหนวดแมว
มสี รรพคณุ ในการขบั ปสั สาวะและช่วยขับนิ่วในทางเดนิ ปสั สาวะหรอื ในไต
การขยายพันธแุ์ ละการปลูก
หญ้าหนวดแมว ขยายพันธุ์โดยการปักช�ำ ตัดก่ิงแก่หรือปานกลาง ความยาว
1-2 คบื เลอื กเอาจากยอดตรงดกี วา่ ยอดข้าง ไม่ต้องเดด็ ใบออก ปักชำ� ในแปลงหรอื ถงุ ช�ำ
ประมาณ 10-15 วนั จึงย้ายปลกู
หญ้าหนวดแมว สามารถปลูกลงแปลงหรือปลูกในภาชนะได้ดี ควรเลือกพ้ืนท่ี
แดดไม่จัด เตรียมให้ดินร่วนซุย รองพื้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หากปลูกในแปลงใช้ระยะปลูก
24 กรมสง่ เสริมการเกษตร
ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร เม่ือย้ายปลูกแล้วรดน�้ำทันที
และควรท�ำร่มให้ประมาณ 7 วัน ก็จะตั้งตัวได้ หากปลูกในภาชนะให้ใช้ภาชนะขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 10-12 นิ้ว ส่วนผสมของดินปลูก ดิน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน ปุ๋ยคอก
1 สว่ น แกลบเผา 1 ส่วน
การดแู ลรกั ษา
การใหน้ ำ้� ใหส้ งั เกตความชุม่ ชื้นในดิน หากยงั ชุ่มชืน้ อยู่ กย็ งั ไมจ่ ำ� เป็นต้องให้น้ำ�
ดใู หด้ นิ มคี วามชมุ่ ชนื้ สมำ�่ เสมอ ใหป้ ยุ๋ คอกหลงั จากเกบ็ เกยี่ ว เพอื่ เรง่ ยอดใหมใ่ หเ้ กดิ เรว็ ขน้ึ
หลงั ใส่ปุ๋ยควรตัดแต่งทรงพุ่ม เพื่อให้หญา้ หนวดแมวแตกยอดใหม่
การเก็บเก่ียว
หญ้าหนวดแมว ใช้ส่วนยอดเปน็ ยาสมุนไพร แต่จะไม่ใช้ดอก โดยระยะเก็บเกีย่ ว
ที่เหมาะสม ควรเก็บในช่วงที่หญ้าหนวดแมวก�ำลังออกดอก อายุประมาณ 3 เดือน
เพราะจะเปน็ ช่วงท่มี สี ารส�ำคญั ควรเก็บเกีย่ วเวลาเช้า
วธิ กี ารเกบ็ เกยี่ ว เลอื กตน้ ทแ่ี ขง็ แรง ดไู ดจ้ ากใบสเี ขยี วเขม้ เปน็ มนั ใบใหญแ่ ขง็ หนา
ไมอ่ อ่ นหอ้ ยลง ลำ� ตน้ อวบ ตรงเหลย่ี มของลำ� ตน้ มสี มี ว่ งแดงเขม้ เดด็ ตรงสว่ นยอดของลำ� ตน้
ยาวประมาณ 1 คืบ
การใชป้ ระโยชน์ในครวั เรอื น
วิธีท�ำชาหญ้าหนวดแมวไว้รับประทานในครัวเรือน ให้ใช้ส่วนยอดซึ่งมีก้านและ
ใบอ่อน 2-3 ใบ น�ำมาห่ันเปน็ ทอ่ นสั้น ๆ ตากแดดให้แห้ง
ใช้ 4 กรัม ชงกับน�้ำร้อน 750 มิลลิลิตร ปิดฝาท้ิงไว้
5-10 นาที ดื่มขณะรอ้ น ๆ วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
และต้องดม่ื นำ้� ตามมาก ๆ
ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน
เพราะสารจากหญา้ หนวดแมวจะส่งเสริมใหย้ าจำ� พวก
แอสไพรินไปจับกล้ามเน้ือหัวใจมากข้ึนและเป็น
อันตรายตอ่ ร่างกายได้
สมุนไพรประจำ� บา้ น 25
อัญชญั
Hibicus subdariffa L.
อัญชัน เป็นไม้ท่ีส่วนใหญ่รู้จักกันดี นิยมปลูกตามริมร้ัวให้เล้ือยปกคลุม มีดอก
ท่ีมีสีสันสวยงาม อัญชันสามารถปลูกได้ทุกภาคท่ัวประเทศ เป็นไม้ท่ีปลูกง่าย สามารถ
เติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย อัญชันมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ใช้ยอด
เลอ้ื ยพนั ดอกมที งั้ ชนดิ ทเ่ี ปน็ ดอกชนั้ เดยี วซง่ึ มสี นี ำ้� เงนิ คราม และดอกซอ้ นซง่ึ มที งั้ ดอกสขี าว
และสีมว่ ง ออกดอกเกือบตลอดปี สามารถน�ำไปใชป้ ระโยชน์ไดห้ ลายส่วน ทั้งดอก เมลด็
และราก ดอกอัญชันมีสารแอนโธไซยานิน ซ่ึงช่วยต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้าง
ภูมิต้านทานในร่างกาย ใช้เป็นเคร่ืองดื่ม ผสมในอาหารหรือขนมเพื่อให้เกิดสีสันสวยงาม
ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตแชมพูเพ่ือช่วยป้องกันและหยุดผมร่วง ช่วยให้ผมดกด�ำ
เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบายนิยมใช้
รากอัญชนั ชนิดดอกขาว
การขยายพันธแุ์ ละการปลูก
อัญชัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เมล็ดอัญชันงอกง่าย สามารถน�ำเมล็ดไปปลูกใน
บริเวณที่เตรียมไว้ได้เลย เตรียมดินในบริเวณที่จะปลูกให้ร่วนซุย หยอดเมล็ดลงใน
26 กรมส่งเสริมการเกษตร
พ้ืนท่ีท่ีเตรียมไว้ หลุมละ 2-3 เมล็ด ให้มีระยะห่างตามความเหมาะสม ท�ำค้างหรือซุ้ม
ใหอ้ ัญชันเลอ้ื ยเกาะ สงู ประมาณ 1.20-1.50 เมตร ค้างควรมคี วามแข็งแรง อาจใช้ไมร้ วก
ปักสามเส้าแบบค้างถัว่ ฝกั ยาวก็ได้
การดแู ลรกั ษา
การใหน้ ้�ำ ให้นำ้� โดยสงั เกตความชุม่ ชื้นในดิน หากยงั ชมุ่ ชน้ื อยู่ กย็ ังไมจ่ ำ� เป็นต้อง
ใหน้ ำ้� และในชว่ งฤดฝู นอาจไมต่ อ้ งใหท้ กุ วนั ดใู หด้ นิ มคี วามชมุ่ ชนื้ สมำ�่ เสมอ เพอ่ื ใหอ้ อกดอก
ไดต้ ลอดปี ตดั แต่งกิง่ ท่ีแหง้ ท้ิงเสมอ ควรใหป้ ุย๋ อนิ ทรยี ์ ประมาณปีละ 2 ครง้ั ก�ำจัดศัตรูพืช
โดยวิธีธรรมชาติ เช่น ใช้สารสกดั จากสะเดา ยาสบู เป็นตน้
การเก็บเก่ียว
ดอกอัญชัน ควรเก็บเกี่ยวในช่วงเช้า เก็บเก่ียวดอกที่บานเต็มท่ี เก็บเก่ียว
แบบประณีตไม่ให้ช�้ำและสะอาด ดอกอัญชันตากแห้งโดยผึ่งลม หรือตากแดดตอนเช้า
ไมใ่ หถ้ กู แสงโดยตรง
การใช้ประโยชนใ์ นครวั เรอื น
การทำ� นำ้� อญั ชนั รบั ประทานในบา้ น โดยนำ�
ดอกอัญชันสดประมาณ 100 กรัม น�ำมาล้างน้�ำ
ให้สะอาด แล้วใส่หม้อ เติมน้�ำเปล่า 2 ถ้วย น�ำไป
ตม้ จนเดือด ปิดฝาทง้ิ ไว้ประมาณ 3 นาทแี ลว้ กรอง
ดอกอัญชันออกจากหม้อ ใส่น�้ำเชื่อมเพ่ิมตาม
เหมาะสม
สมุนไพรประจำ� บ้าน 27
บรรณานุกรม
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2545. สมนุ ไพรนา่ ร.ู้ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำ� กัด.
กรมสง่ เสริมการเกษตร. 2556. องคค์ วามรเู้ พ่ิมประสิทธภิ าพการผลิตส่กู ารเป็น smart officer สมนุ ไพรและ
เครอื่ งเทศ.
มูลนิธสิ ขุ ภาพไทย. 2554. ปลกู ยารกั ษาป่า 1 คู่มือการปลูกสมนุ ไพรเพอื่ เศรษฐกิจชุมชน. บริษัท ที คิว พี จำ� กดั .
มลู นิธสิ ขุ ภาพไทย. 2555. ปลูกยารักษาปา่ 2 คู่มอื การปลกู สมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจชุมชน. บรษิ ทั ที คิว พี จำ� กดั .
สถาบนั การแพทย์แผนไทย. 2553. คู่มือการปลูกสมุนไพรท่เี หมาะสม. โรงพมิ พ์องค์การสงเคราะหท์ หารผา่ นศึก.
สทุ ธชิ ยั ปทมุ ลอ่ งทอง. 2556. สดุ ยอดยามหศั จรรย์ ผกั พน้ื บา้ นตา้ นโรค ฟกั ขา้ ว มะเขอื พวง. สำ� นกั พมิ พ์ feel good.
วิธีการปลกู บัวบก. 2558. สบื คน้ จาก http://alangcity.blogspot.com/2013/02/blog-post_7.html
อัญชนั สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชนั 30 ข้อ. 2558. สบื คน้ จาก http://frynn.com/%E0%B8%AD%
E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99/
มะขามป้อม สรรพคุณและประโยชน์ของมะขามปอ้ ม 47 ข้อ. 2558. สบื ค้นจาก http://frynn.com/%E0%B8
%A1%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B
8%AD%E0%B8%A1/
มะขามปอ้ ม สมุนไพรท่ีไม่ควรมองขา้ ม. 2558. สืบค้นจาก http://www.doctor.or.th/article/detail/1901
ขมนิ้ ชนั แกโ้ รคกรดไหลย้อนได้. 2558. สืบคน้ จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=519519
กระเจย๊ี บแดง. 2558. สบื คน้ จาก http://บา้ นพอเพยี ง.blogspot.com/2014/02/blog-post_8016.html
สมนุ ไพรกระถาง. 2558. สบื ค้นจาก http://www.tungsong.com/samunpai/Gratan/Gratan.html
วา่ นหางจระเข้. 2558. สืบค้นจาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_3.htm
วา่ นรางจืด. 2558. สืบค้นจาก http://natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/data/lang-jud.htm
หญ้าหนวดแมว. 2558. สืบค้นจาก http://thaiherbal.org/%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%89%e
0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b9%81%e0%b8%a1%
e0%b8%a7/159
ชมุ เหด็ เทศ. 2558. สบื คน้ จาก http://frynn.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80
%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/
http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n16/v_11-dec/korkui.html
พัชริน ส่งศรี. ฟักข้าว พืชพ้ืนบ้านคุณค่าสูงเพ่ือสุขภาพ. 2558. สืบค้นจาก http://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.
cfm?filename=01-Patcharin.pdf&id=617&keeptrack=38
ฟักข้าว พืชสร้างรายได้. 2558. สืบค้นจาก http://www.ndoae.doae.go.th/ndoae_article57/ndoae_
article57_006.html
28 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร
เสอมกุนสไพารรคปำ� รแะนจะำ� นบ�ำา้ ทน่ี 8/2558
ท่ีปรกึ ษา อธิบดีกรมสง่ เสริมการเกษตร
นายโอฬาร พิทักษ์ รองอธบิ ดกี รมส่งเสริมการเกษตร ฝา่ ยบรหิ าร
นายสุรพล จารุพงศ์ รองอธิบดกี รมส่งเสรมิ การเกษตร ฝา่ ยวิชาการ
นายไพรชั หวังด ี รองอธบิ ดกี รมส่งเสริมการเกษตร ฝา่ ยสง่ เสรมิ และฝกึ อบรม
นายสงกรานต์ ภักดคี ง ผู้อำ� นวยการสำ� นักพฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี
นางสกุ ญั ญา อธปิ อนนั ต์
นางอรสา ดิสถาพร ผู้อ�ำนวยการส�ำนกั สง่ เสริมและจดั การสินค้าเกษตร
เรียบเรยี ง
นางภัสรา ชวประดษิ ฐ ์ ผู้อำ� นวยการกลมุ่ สง่ เสริมพชื สมนุ ไพรและเคร่ืองเทศ
นางสาวพรพิมล ศิรกิ าร นกั วิชาการเกษตรช�ำนาญการ
นางสาวปรารถนา ไปเหนือ นกั วชิ าการเกษตรปฏบิ ัตกิ าร
กลมุ่ สง่ เสริมพืชสมุนไพรและเครอ่ื งเทศ
ส�ำนกั ส่งเสริมและจัดการสนิ คา้ เกษตร
กรมสง่ เสริมการเกษตร
จดั ท�ำ
นางอมรทิพย์ ภิรมย์บรู ณ ์ ผ้อู �ำนวยการกล่มุ พฒั นาส่อื สง่ เสริมการเกษตร
นางอบุ ลวรรณ อารยพงศ ์ นกั วิชาการเผยแพร่ช�ำนาญการ
นางสาวอำ� ไพพงษ์ เกาะเทยี น นกั วิชาการเผยแพร่ช�ำนาญการ
กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร
ส�ำนักพฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี
กรมสง่ เสรมิ การเกษตร