The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงการในพระราชดำริ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by wan, 2021-10-09 22:41:38

โครงการในพระราชดำริ

โครงการในพระราชดำริ

โครงการในพระราชดำริ

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และโทคโนโลยี
เสนอรายวิชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ภาคเรียน 2564

คำนำ

ตั้งแต่พุทธศักราช 2502 เป็นต้นมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม
ราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทุกภาคทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎร ในชนบทที่ดำรง
ชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญและด้อยโอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้
ปัญหาตลอดมาตราบจนปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า ทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่
รอยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจัดทุกข์ยากนำความผาสุก และทรงยกฐานะความ
เป็นอยู่ ของราษฎร ให้ดีขึ้นด้วยพระบุญญาธิการและพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง
พร้อมด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฏร
และเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศชาติตลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงคำนึง
ประโยชน์สุขส่วนพระองค์เลย ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าในฐานะเป็นพสกนิกรคนหนึ่งที่
ประสงค์จะเผยแพร่สิ่งที่พ่อหลวงได้กระทำกิจอันเป็นประโยชน์จวบจนถึงปัจจุบัน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกา
ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แต่ละโครงการล้วนมี
ประโยชน์ต่อพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้จริง และ
ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ภูมิภาค ได้อีก มีหลายหลายโครงการ ที่มีชื่อเสียง และ
ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

โครงการในพระราชดำริ

สารบัญ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 04
06
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี 09
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร 11
โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 15
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 19
โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ 22
โครงการสะพานพระราม 8 (พ.ศ. 2538) 25
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ 28
โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 31
โครงการพัฒนาห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 33
โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดำริบ้านป่าเด็ง 35
โครงการจัดหาน้ำ สนับสนุนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปิล๊อกคี่ 37
โครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านหนองกลางดง วัดเขาถ้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 40
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ําปากพนัง 43
โครงการพัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรี 45
โครงการกังหันลม
โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล

4
ที่ตั้งโครงการ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในบริเวณ

ชายฝั่ งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ อำเภอท่าใหม่
ตำบลคลองขุด คือ หมู่บ้านเนินประดู่
หมู่บ้านหมูดุด หมู่บ้านจ้าวหลาว หมู่บ้าน
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ้าวหลาว (หัวแหลม) หมู่บ้านคุ้งกระเบน

จังหวัดจันทบุรี หมู่บ้านคลองขุด (บน) หมู่บ้านคลองขุด และ
หมู่บ้านหนองหงส์ และกิ่งอำเภอนายายอาม
คือ ตำบลสนามไชย คือ หมู่บ้านหนองโพรง

หมู่บ้านคลองบอน หมู่บ้านปากตะโปน

หมู่บ้านสนามไชย หมู่บ้านสองพี่น้อง

หมู่บ้านนาซา หมู่บ้านอัมพวาและหมู่บ้านท่า

แคลง

พระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เริ่มก่อตั้งตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จ
พระเจ้าตากสินมหาราช ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2524 โดยมีพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
จันทบุรี "ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมง และการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่ ง
ทะเลจันทบุรี" และได้พระราชทานเงินที่ราษฎรจังหวัดจันทบุรีได้ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลใน
โอกาสดังกล่าว เป็นทุนริเริ่มดำเนินการ

ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนัก
จิตรลดารโหฐาน สาระโดยสรุปว่า "ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม หรือพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อจัดตั้งศูนย์
ศึกษาการพัฒนา เช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล"

จังหวัดจันทบุรีได้ร่วมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาความเหมาะสม จึงกำหนดพื้นที่ตำบลคลอง
ขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ศูนย์ศึกษาดัง
กล่าวเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษา สาธิตและการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล โดยวิธีการผสมผสานความรู้อันหลาก
หลายของแต่ละหน่วยงาน เพื่อวางแผนพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสม และยั่งยืนตลอดไป และเมื่อวันที่
26 สิงหาคม 2531 ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ในโอกาสที่ประธานคณะกรรมการ
พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นำผู้เข้าร่วมสัมมนาและบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเฝ้าฯ เพื่อรับ
พระราชทานพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการดำเนินงานในช่วงต่อไป ณ ศาลาดุสิดาลัย สาระโดยสรุป คุ้งกระเบนเป็นการ
ศึกษาเกี่ยวกับชายทะเล ต้นไม้ต่าง ๆ ชายทะเล และปลา การประมง

พื้นที่ดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินการและพื้นที่ขยายผลศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ
ครอบคลุม 33 หมู่บ้าน ในตำบลคลองขุด, ตำบลรำพัน, ตำบลโขมง อำเภอ
ท่าใหม่ และ ตำบลสนามไชย, ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
มีพื้นที่ประมาณ 71,025 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. พื้นที่ศูนย์กลาง ได้แก่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน และพื้นที่โดยรอบ ซึ่งครอบคลุม
พื้นที่ ประมาณ 4,000 ไร่ การดำเนินกิจกรรมจะเป็นการผสมผสานระหว่างป่า
ไม้และ ประมง

2. พื้นที่รอบนอก ได้แก่ พื้นที่ตำบลคลองขุด ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ และ
ตำบลสนามไชย ตำบล กระแจะ อำเภอนายายอาม ซึ่งเป็นทั้งเขตเกษตรกรรม
และเขตหมู่บ้านประมงตลอดแนวชายฝั่ ง มีพื้นที่ประมาณ 57,025 ไร่ การ
ดำเนินกิจกรรมมุ่งเน้นการส่งเสริมการเกษตรแบบบูรณาการ

3. พื้นที่ขยายผล ได้แก่ พื้นที่ ตำบลรำพัน ตำบลโขมง ตำบลเสม็ดโพธิ์ศรี อำเภอ
ท่าใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง ศูนย์ฯ มีพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ เป็นการส่งเสริม
และพัฒนาอาชีพที่ประสบความสำเร็จ ในศูนย์ฯ สู่พื้นที่โดยรอบ

5

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ในการปฏิบัติงานบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จะเป็นทั้งรูปแบบการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการ
ส่งเสริมพัฒนาอาชีพของราษฎรตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการที่หน่วยงานหนึ่ง หน่วยงาน
ใดจะเป็นทั้ง “ นักอนุรักษ์และนักพัฒนา” ในคราวเดียวกันนั้นย่อมยากต่อการประสบความสำเร็จอีกทั้งการจัดการทรัพยากร
มักจะมีข้อขัดแย้งมากมายระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การอนุรักษ์ป่าชายเลนกับการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งทะเล เนื่องจากการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นรูปแบบ “ สหวิทยาการ (INTERDISCIPINARY)” มิใช่การจัดการแบบเบ็ดเสร็จ การที่ศูนย์
ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์นั้นจะต้องมีหน่วยงานที่หลากหลายเข้าร่วมโครงการเพื่อการ
ประสานแผน (INTEGRATED PLANNING) การดำเนินงานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป โดยมี
หน่วยงานร่วมดำเนินการประกอบด้วยหน่วยงานในระดับพื้นที่ จำนวน 36 หน่วยงาน จาก 22 กรม/สำนัก ใน ๗ กระทรวง
โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานกระทรวงหลักในการพัฒนา

วัตถุประสงค์ของศูนย์ฯ ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรชายฝั่ งอย่างยั่งยืน 1. เป็นศูนย์กลางในการอบรมและเผยแพร่การศึกษา
2.เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอบรมและเผยแพร่ผลการศึกษาการ ด้านการจัดการทรัพยากรชายฝั่ งแก่ส่วนราชการและ
จัดการทรัพยากรชายฝั่ ง ให้แก่ส่วนราชการและภาคเอกชนทั่วไป ประชาชนทั่วไปและเป็นหน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำ
3. เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ อาชีพของราษฎรบริเวณรอบอ่าว การทำฟาร์มทะเล
คุ้งกระเบน และ พื้นที่ใกล้เคียง โดยมุ่งเน้นพัฒนาช่วยเหลือราษฎรที่มี 2. ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ ลดต้นทุนการผลิตใน
ฐานะยากจน อาชีพด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
4. เพื่อพัฒนาด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ งเพื่อ ชายฝั่ ง ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการนำ
เป็นการเพิ่มผลผลิตของประเทศ และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้าน ความรู้ที่ได้จากศูนย์ฯ มาประยุกต์ใช้กับการประกอบ
การประมง ตลอดจนพัฒนากิจกรรม ทางด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย อาชีพ
5. เพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อมและดุลยภาพทางธรรมชาติให้คง 3. ทำให้การปฏิบัติงานของศูนย์ฯ เป็นไปอย่างมี
ลักษณะพิเศษของพื้นที่เอาไว ประสิทธิภาพและเป็นไปตามแผนงาน/โครงการ
นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังมีศักยภาพ โดยเป็นการท่องเที่ยว
เชิงอนุรักษ์จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ผลการดำเนินการ

การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีลักษณะ "สหวิทยาการ"
(INTERDISCIPINARY) โดยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานเพื่อสร้างรายได้และใช้ทรัพยากรท้องถิ่นหลายกิจกรรม ครอบคลุมถึงการ
รักษาสภาพป่าโดยการส่งเสริมการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆ การเลี้ยงปลา และหอย เพื่อเผยแพร่
แก่เกษตรกร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงกุ้ง เพื่อที่จะยกระดับฐานะความเป็นอยู่ อาชีพของราษฎรบริเวณรอบอ่าว
คุ้งกระเบน และพื้นที่ใกล้เคียงโดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านการประมง และการเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ งเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านการประมง ตลอดจนพัฒนากิจกรรมทางด้านอื่นๆ ควบคู่กันไป และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อ
ให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติ การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ มีผลการดำเนินงาน
สรุปได้ดังนี้

6

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร

ประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากที่สุดของประเทศ โดยมีพื้นที่ถึง 106.4 ล้านไร่ หรือ
170,218 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 33.1 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งประสบกับปัญหาหลักๆ 3 ประการ คือ ปัญหา
เกี่ยวกับดิน เนื่องจากความสมบูรร์ของทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ แร่ธาตุต่างๆ ดินมีคุณภาพต่ำไม่สามารถอุ้มน้ำได้และมี
ความเค็ม ปัญหาด้านแหล่งน้ำและป่าไม้ แหล่งน้ำธรรมชาติมีไม่เพียงพอ ทำให้ดินขาดความชุ่มชื้น ส่งผลต่อการเพาะ
ปลูกพืช มีการแผ้วถางป่าเพื่อการประกอบอาชีพจนทำให้แหล่งต้นน้ำลำธารและระบบนิเวศวิทยาถูกทำลาย ปัญหาด้าน
วิทยากร นอกจากปัญหาปัจจัยการผลิตการเกษตรข้างต้นที่ไม่พร้อมแล้ว ผลจากการขาดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการ
ดำรงชีวิต โดยเฉพาะเทคนิควิชาการเกษตรที่ถูกต้อง การปรับปรุงบำรุงรักษาคุณภาพของปัจจัยการผลิตอย่างมีหลักวิชา
เช่น เรื่องป่าไม้ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน การแปรรูปผลผลิตและเรื่องการตลาด
จากสภาพภูมิประเทศ และทรัพยากร ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างไปจากภาคอื่น จึงมีการศึกษาถึง
ปัญหาสภาพท้องถิ่น หรือวิถีชีวิตของราษฎรเพื่อจัดหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับภาคอีสาน ดังนั้น พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงคัดเลือกพื้นที่จัดตั้งศูนย์ฯ ด้วยตนเอง เพื่อเป็นพื้นที่ตัวแทนของภาคอีสานทั้งหมด ด้วยพื้นที่
นี้มีลักษณะสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวงจรทางชีวภาพที่คล้ายคลึงกับภูมิภาคโดยทั่วไปของภาคอีสาน ศูนย์
ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ เพื่อเป็นแบบ
จำลองของภาคอีสานและเป็นพื้นที่ส่วนย่อที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อ
พัฒนาให้ภูมิภาคนี้เกิดความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

พื้นที่ดำเนินการ

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ดำเนินการลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ
ทั้งในด้านการเกษตร การอนุรักษ์ป่าไม้ การพัฒนาแหล่งน้ำและศิลปาชีพ
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดสกลนคร-นครพนม ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูกในฤดู
ฝน และการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร อุปโภคบริโภคในฤดูแล้งให้แก่ราษฎร
ที่อาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ
โครงการขุดสระกักเก็บน้ำตามทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้เป็นจุดศึกษา ทดลอง และสาธิตให้ราษฎรได้
เห็นผลการพัฒนาการเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่"

7

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร

หน่วยงานที่รับผิดชอบ


กรมชลประทาน กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาชุมชน กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร
สาธารณสุขจังหวัด กรมประมง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาที่ดิน
จังหวัดสกลนคร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ที่ตั้งแผนที่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระ
ราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอ
เมือง จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยพื้นที่โครงการ
ประมาณ 2,300 ไร่ และพื้นที่เพื่อการพัฒนาป่าไม้
ประมาณ 11,000 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 13,300 ไร่ ซึ่งอยู่
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูล้อมข้าว - ภูเพ็ก และป่า
โครงการไม้กระยาเลยน้ำพุง

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตู้ปณ. 21 อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์
0-4271-2975 โทรสาร 0-4271-2975

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

โครงการสะพานพระราม 8 (พ.ศ. 2538)

สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำ
เจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อ
กับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์
ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์

1.เพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
และผ่อนคลายปัญหาการจราจรในถนนที่ต่อเนื่องจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าทั้งฝั่ง
พระนครและฝั่งธนบุรีเช่นถนนราชดำเนินถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าถนนบรมราชชนนีถนน
ตลิ่งชัน-นครไชยศรี ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนอรุณอมรินทร์ ถนนสิรินธร เป็นต้น
2.เพื่อลดปริมาณการจราจรที่จะผ่านเข้าไปในเกาะรัตนโกสินทร์.
3.เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายถนนให้มีความสมบูรณ์เอื้ออำนวยการคมนาคมขนส่งระหว่างฝั่ง
พระนครและฝั่งธนบุรีและช่วยให้การพัฒนาพื้นที่ในฝั่งธนบุรีสะดวกยิ่งขึ้น.
4.เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่และบริเวณ
ใกล้เคียง.

20

พระราชดำริ

สะพานนี้เกิดจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย
เดช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งที่เสด็จทรงเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรี
นครินทราบรมราชชนนี พระองค์ทอดพระเนตรเห็นถึงปัญหาการจราจรของสะพาน
สมเด็จพระปิ่นเกล้า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 จึงโปรดเกล้าฯ ให้
กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการ
จราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนคร
กับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ โดยเริ่มเปิดให้
ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เวลา 7:00 น.และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานชื่อว่า “โครงการสะพานพระราม 8” เพื่อระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระปร
เมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 ดังที่ปรากฏอยู่ด้าน
หลังของธนบัตรใบละ 20 บาท แบบที่ 15 ซึ่งมีรูปสะพานพระราม 8 ปรากฎอยู่เบื้อง
หลังพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8

ปัจจุบัน สะพานพระราม 8 ช่วย
เชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่ง
พระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบาย
ขึ้น ซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพาน
สมเด็จพระปิ่นเกล้าได้ถึง 30% และ
บนสะพานกรุงธน อีก 20% และยัง
สามารถลดมลพิษทางอากาศ
บริเวณในเมืองได้อีกด้วย

ลักษณะโดยทั่วไป 21

สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร สูงเท่าสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และความลาด
ชันไม่เกิน 3% เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ 300 เมตร สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตร และ
สะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา 75 เมตร มีรูปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึง
แบบอสมมาตร ซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้น
บนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ
ช่วยป้องกันน้ำท่วมและระบบนิเวศวิทยาในน้ำ รวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้งกระบวนพยุหยาตรา
ชลมารค
การรับน้ำหนักของสะพาน ได้ติดตั้งสายเคเบิลระนาบคู่ 28 คู่ขึงยึดพื้นช่วงข้ามแม่น้ำ และใช้สาย
เคเบิลระนาบเดี่ยว 28 เส้น ขึงยึดรั้งกับโครงสร้างยึดเสาสะพานบนฝั่งธนบุรี เคเบิลแต่ละเส้นประกอบ
ด้วยสลิงตั้งแต่ 11-65 เส้น เมื่อเกิดปัญหากับเคเบิล สามารถขึงหรือหย่อนได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องปิด
การจราจรเหมือนสะพานพระราม 9

สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่ยาวติดอันดับ 5 ของโลก รองจากประเทศ
เยอรมนีซึ่งติดอันดับถึง 3 สะพาน และประเทศเนปาล โดยนับจากความยาวช่วงของสะพาน ส่วน
สะพานพระราม 9 ซึ่งเป็นสะพานขึงตัวแรกแต่เป็นแบบสมมาตร เพราะมี 2 เสา ถือว่าอยู่ในอันดับที่
18 ของโลก โดยนับความยาวช่วงของสะพานได้ 450 เมตร

สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว
ระนาบที่ยาวที่สุดในโลก

มีเสาขนาดใหญ่เพื่อรับสายเคเบิลเพียงเสาเดียวบนฝั่ง
ธนบุรี

ผ่านการทดสอบที่ทันสมัยที่สุดในโลก โดยเป็นสะพานที่
ผ่านการทดสอบอุโมงค์ลมที่ห้องทดลองของบริษัท Rowan
Williams Davies & Irwin Inc. (RWDI) ที่เมืองเกลฟ์
(Guelph) ประเทศแคนาดา

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดำริบ้านป่าเด็ง
ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้มีพระราชเสาวนีย์กับ พลเอก นพดล วรรธ
โนทัย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555 ความโดยสรุปว่า “...ช้างเป็นสัตว์ที่
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรัก ทรงห่วงใย โดยเฉพาะช้างทาง
กุยบุรี และแก่งกระจาน ทรงห่วงใยมาตลอด ทรงช่วยหาที่อยู่ ที่กินให้ช้าง จะได้ไม่รบกวนคน คนกับช้างจะได้มีปัญหากัน
น้อยที่สุด เช่น ที่กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ช้างมีความสำคัญมาแต่ครั้งประวัติศาสตร์ เคยช่วยรักษาบ้านเมือง กู้บ้านกู้เมือง
ดังนั้น ขอให้ช่วยกันดูแล มิให้ช้างถูกฆ่าอย่างทารุณเยี่ยงนี้ เพื่อจะได้ไม่ผิดพระราชประสงค์ ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชน
กาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งพระทัยที่จะให้มีการอนุรักษ์ช้าง ให้เป็นสัตว์
คู่แผ่นดินสืบไป...”

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้มีพระราชเสาวนีย์กับ ท่านผู้หญิง
ฉัตรแก้ว นันทาภิวัฒน์ ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ และพลเอก นพดล วรรธโนทัย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 ความโดยสรุปว่า “...ขอให้ร่วมมือกับ แม่ทัพภาคที่ 1 และ ดร.ธวัชชัย
สันติสุข ดำเนินการ เรื่อง การปลูกพืชอาหารช้าง การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่ามีที่อยู่ที่กินของช้างที่แก่งกระจาน เช่นเดียวกับที่
กุยบุรี...”

ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการจัดหา

และรวบรวมพืชอาหารช้าง (ไผ่พันธุ์ท้องถิ่น) จำนวน 40,000 กล้า
ปรับปรุงแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่า ขนาด 1,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน
2 แห่ง ปรับปรุงทุ่งหญ้าสำหรับเป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่า จำนวน 200
ไร่ ปรับปรุงแหล่งอาหารสัตว์ป่า (โป่งเทียม) จำนวน 20 แห่ง

32

โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดำริบ้านป่าเด็ง
ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ประโยชน์ที่ได้รับ
ช่วยเพิ่มแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของช้างป่า รวมทั้งสัตว์ป่าอื่น ส่งผลให้ช้างป่าไม่ออกจากป่ามากินพืช

ผลการเกษตรของราษฎร ลดการกระทบกระทั่งระหว่างคนกับช้างป่า นอกจากนี้ ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เกิด
จิตสำนึกในการอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่า ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ

33

เรื่องเดิมเร

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ โครงการจัดหาน้ำ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน สนับสนุนโรงเรียน
พระราชดำริ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2558 ณ ตำรวจตระเวนชาย
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปิล๊อกคี่ ตำบล แดนปิล๊อกคี่ อัน
ปิล๊อกคี่ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องมาจากพระ
สรุปความว่า ให้พิจารณาให้ความช่วยเหลือ ราชดำริ
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปิล๊อกคี่ที่ประสบ ตำบลปิล๊อกคี่
ปัญหาท่อส่งน้ำชำรุด และถังเก็บน้ำมีความจุไม่ อำเภอทองผาภูมิ
เพียงพอ โดยการปรับปรุงระบบท่อส่งน้ำพร้อม จังหวัดกาญจนบุรี

ก่อสร้างถังพักน้ำเพิ่มเติม ให้สามารถส่งน้ำให้
กับโรงเรียนได้เพียงพอตลอดทั้งปี

34 ผ ล ก า ร ดำ เ นิ น ง า น

กรมชลประทานดำเนินการวางระบบท่อส่งน้ำเป็นท่อเหล็กเหนียวพร้อมอาคารประกอบ ความยาว
3,098 เมตร ถังเก็บน้ำ ความจุ 100 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 แห่ง ถังเก็บน้ำ ความจุ 50 ลูกบาศก์
เมตร จำนวน 1 แห่ง ก่อสร้างอาคารโรงเก็บเครื่องกรองน้ำเพื่อผลิตน้ำดื่มพร้อมอุปกรณ์ประกอบ
และอาคารฝายหินก่อ ขนาด 9.50 x 8.70 x 2.00 เมตร ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์
สามารถใช้งานได้แล้ว

ประโยชน์ที่ได้รับ
เพิ่มแหล่งน้ำสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของครูและนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปิล๊

อกคี่ และราษฎรบริเวณใกล้เคียง สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อ การอุปโภคบริโภค
ภายในโรงเรียน และราษฎรบริเวณใกล้เคียง ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลปิล๊อกคี่ อำเภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านปิล๊อกคี่ บ้านห้วยน้ำขุ่น และบ้านเกริงแกะ
จำนวน 360 ครัวเรือน 1,380 คน

35

โ ค ร ง ก า ร พั ฒ น า ป่ า ชุ ม ช น บ้ า น ห น อ ง ก ล า ง ด ง วั ด เ ข า ถ้ำ
อั น เ นื่ อ ง ม า จ า ก พ ร ะ ร า ช ดำ ริ ตำ บ ล ศิ ล า ล อ ย อำ เ ภ อ ส า ม ร้ อ ย ย อ ด จั ง ห วั ด ป ร ะ จ ว บ คี รี ขั น ธ์




พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ บ ร ม ช น ก า ธิ เ บ ศ ร ม ห า ภู มิ พ ล อ ดุ ล ย เ ด ช ม ห า ร า ช
บ ร ม น า ถ บ พิ ต ร ท ร ง พ ร ะ ก รุ ณ า โ ป ร ด เ ก ล้ า ฯ รั บ โ ค ร ง ก า ร พั ฒ น า ป่ า
ชุ ม ช น บ้ า น ห น อ ง ก ล า ง ด ง วั ด เ ข า ถ้ำ ห มู่ ที่ 7 ตำ บ ล ศิ ล า ล อ ย อำ เ ภ อ
ส า ม ร้ อ ย ย อ ด จั ง ห วั ด ป ร ะ จ ว บ คี รี ขั น ธ์ ไ ว้ เ ป็ น โ ค ร ง ก า ร อั น เ นื่ อ ง ม า
จ า ก พ ร ะ ร า ช ดำ ริ เ มื่ อ วั น ที่ 1 8 พ ฤ ษ ภ า ค ม 2 5 5 9 เ พื่ อ เ ป็ น ก า ร
อ นุ รั ก ษ์ แ ล ะ ฟื้ น ฟู ป่ า ที่ มี ค ว า ม สำ คั ญ ต่ อ วิ ถี ชุ ม ช น แ ล ะ ร ะ บ บ นิ เ ว ศ โ ด ย
ร ว ม ร ว ม ทั้ ง พั ฒ น า ใ ห้ เ ป็ น แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ เ ชิ ง นิ เ ว ศ แ ล ะ โ ค ร ง ก า ร
ต้ น แ บ บ ใ น ก า ร ดู แ ล รั ก ษ า ป่ า ไ ม้

ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2562
กรมป่าไม้ได้จัดทำโครงการในพื้นที่ 652 ไร่ บริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพยอม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองกลางดง ตามแนวทางการดําเนินงานโครงการพัฒนาป่าชุมชน
ให้เป็นโครงการต้นแบบในการดูแลรักษาป่าไม้ต่อไป โดยมีคณะทำงานพื้นที่ดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนาป่าชุมชน

ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ โดยปลูกป่าใช้สอย จำนวน 100 ไร่ ชนิดไม้ที่ปลูก จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ สะเดา สัก ไผ่
รวก ไผ่ตง เสี้ยวป่า มะค่าโมง ประดู่ป่า หว้า และยางนา งานเพาะกล้าไม้ทั่วไปเพื่อปลูกในพื้นที่และแจกจ่ายแก่
ราษฎร จำนวน 50,000 กล้าต่อปีได้แก่ ยางนา สัก เสี้ยวป่า มะขามป้อม หว้า มะค่าโมง พร้อมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำ
ในพื้นที่โดย ดำเนินการขุดสระน้ำ ขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ลึก 4 เมตร ความจุ 6,400 ลูกบาศก์เมตร
เพื่อเป็นแหล่งน้ำ สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการ และก่อสร้างฝายถาวร จำนวน 2 แห่ง ก่อสร้างฝายกึ่ง
ถาวร จำนวน 4 แห่ง ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 16 แห่งเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่าในโครงการ
งานสำรวจ ศึกษา รวบรวม ความหลากหลายทางชีวภาพของป่า จำนวน 1 งาน โดยวางแปลงขนาด 40 x 40 เมตร
จำนวน 4 แปลง

36

2. กิจกรรมป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า
ประชาสัมพันธ์ป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า โดยตั้งกลุ่มอาสาสมัครรักษ์ป่า

พระราชดำริ ตั้งจุดสกัดไฟป่า ให้ความรู้เรื่องไฟป่า วิธีการดับไฟ คุณค่าป่าไม้และสัตว์ป่า
๓. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

จัดทำแปลงสาธิตพืชสมุนไพร จำนวน 1 แปลงต่อ 5 ไร่ และรวบรวมสมุนไพร
จำนวน 25 ชนิด ได้แก่ ตะขาบบิน รากสามสิบ พลู ว่านหางจระเข้ ชุมเห็ดเทศ เขยตาย ฟ้า
ทะลายโจร ดีปลี รางจืด ข่าเหลือง ตะไคร้ บุกป่า ฯลฯ จัดทำแปลงสาธิตไม้ 3 อย่างได้
ประโยชน์ 4 อย่าง จำนวน 1 แปลงต่อ 5 ไร่ พันธุ์ไม้ที่ปลูก เช่น ยางนา สัก เสี้ยวป่า มะขาม
ป้อม หว้า ฯลฯ งานจัดทำฐานการเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ
(ศาสตร์พระราชา) จำนวน 1 งาน ได้แก่ การเลี้ยงชันโรง การเลี้ยงกบ การเลี้ยงไก่ดำภูพาน
งานจัดตั้งกลุ่มพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จำนวน 1 งาน งานอบรมการพัฒนาป่าไม้
ตามแนวพระราชดำริ จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 60 คน (เยาวชน 1 รุ่น ประชาชนทั่วไป 2 รุ่น)

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. สามารถแก้ไขปัญหา การบุกรุกพื้นที่ป่าบริเวณโครงการพัฒนาป่าชุมชน
บ้านหนองกลางดง วัดเขาถ้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพื้นที่ใกล้เคียง
2. เพิ่มพื้นที่ป่าไม้โดยการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าไม้ที่มีอยู่ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์
จากการสำรวจพบว่า เป็นภูเขาหินปูน เป็นป่าเบญจพรรณที่อุดมสมบูรณ์
พรรณไม้ที่พบ เช่น มะกอกป่า แจง ไทร ขะเจ๊าะ พืชตระกูลหมากหมาก เฟิร์น
ตีนตุ๊กแก มะเกลือ มะค่าโมง กระชิด งิ้วป่า กร่าง ตะโก เสลา ชิงชัน พรรณ
สัตว์ที่พบ เช่น กระต่ายป่า ไก่ป่า เลียงผา ผีเสื้อ นกเค้าแมว
นกแก๊ก เต่าเหลือง และงูจงอาง เป็นต้น
3. สร้างจิตสำนึกแก่ประชาชน ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่า
ไม้และสัตว์ป่า
4. เป็นโครงการต้นแบบในการดูแลรักษาป่าไม้ให้แก่พื้นที่อื่น ๆ นำไป
ประยุกต์ใช้ได้

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

บรรณานุกรม

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
แหล่งข้อมูล HTTP://WWW.RDPB.GO.TH/TH/STUDYCENTER/อ่าวคุ้งกระเบน

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
แหล่งข้อมูล HTTP://WWW.RDPB.GO.TH/TH/STUDYCENTER/พื้นที่พัฒนาภูพาน

โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
แหล่งข้อมูล HTTP://WWW.RDPB.GO.TH/TH/RECOMMEND/ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
แหล่งข้อมูล HTTP://WWW.RDPB.GO.TH/TH/PROJECTS/โครงการสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
แหล่งข้อมูลHTTP://WWW.TSDF.NIDA.AC.TH/TH/ROYALLY-INITIATED-PROJECTS/10782
โครงการสะพานพระราม 8 (พ.ศ. 2538)
แหล่งข้อมูล HTTP://KM.RDPB.GO.TH/PROJECT/VIEW/6650
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ
แหล่งข้อมูลHTTP://WWW.TSDF.NIDA.AC.TH/TH/ROYALLY-INITIATED-PROJECTS/10756

บรรณานุกรม

โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
แหล่งข้อมูล HTTPS://WWW.CHIANGMAI.GO.TH/PROJECT/HOYLAN.HTML

โครงการพัฒนาห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
แหล่งข้อมูล HTTPS://WWW.CHAIPAT.OR.TH/SITE_CONTENT/ITEM/128-36.HTML

โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดำริบ้านป่าเด็ง
แหล่งข้อมูล HTTP://WWW.RDPB.GO.TH/TH/PROJECTS/บ้านป่าเด็ง

โครงการจัดหาน้ำ สนับสนุนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปิล๊อกคี่
แหล่งข้อมูล HTTP://WWW.RDPB.GO.TH/TH/PROJECTS/ปิล๊อกคี่

โครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านหนองกลางดง วัดเขาถ้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
แหล่งข้อมูล HTTP://WWW.RDPB.GO.TH/TH/PROJECTS/วัดเขาถ้ำ
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ําปากพนัง
แหล่งข้อมูล HTTPS://WWW.RID.GO.TH/ROYALPROJECT/
โครงการพัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรี
แหล่งข้อมูล HTTPS://WWW.DNP.GO.TH/PETCHBURI/ROYAL%20PROJECT2
โครงการกังหันลม
แหล่งข้อมูล HTTPS://TH.M.WIKIPEDIA.ORG/WIKI/
โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล
แหล่งข้อมูล HTTPS://WWW.RID.GO.TH/ROYALPROJECT/INDEX.PHP?OPTION


Click to View FlipBook Version