The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สค11002 ศาสนาและหน้าที่พลเมือง

ระดับประถมศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ebookrayong, 2020-06-15 23:26:22

สค11002 ศาสนาและหน้าที่พลเมือง

สค11002 ศาสนาและหน้าที่พลเมือง

ระดับประถมศึกษา

Keywords: ประถม

43

ตามกรอบ ขอกําหนดของกฎหมายตางๆ ที่เกี่ยวของดวยการใชสิทธิตามกฎหมาย
และตองรักษาปกปอง สิทธิของตนเองและชุมชนเม่ือถูกละเมิดสิทธิ หรือผลประโยชน
อนั ชอบธรรมของตัวเองและชุมชน ซ่ึงการปฏบิ ัติตามกฎหมายดาํ เนินการได ดังน้ี

ก. การปลูกฝงและประพฤติปฏิบัติตนตามกฎหมายท่ีเกี่ยวของกับตนเองและ
ครอบครัว เชน เมอ่ื มคี น เกดิ ตาย ในบา นตองดําเนนิ การตามกฎหมายทะเบียนราษฎร

ข.ชุมชน/สังคม ตองปฏิบัติตนใหเหมาะสมกับการอยูในสังคมประชาธิปไตย
ตามบทบาท หนา ท่ี โดยยึดกฎหมายท่ีเก่ียวของ เชน การปฏิบัติตนตามกฎหมาย สงเสริมและ
รักษาคณุ ภาพสง่ิ แวดลอ ม ไมทาํ ลายธรรมชาติ

3.1.1 การรักษาสทิ ธติ ามกรอบของกฎหมาย
กฎหมายใหสิทธิแกบุคคลหรือหนวยงาน สามารถเรียกรอง เพ่ือรักษา

สิ ท ธิ ข อ ง ต น ท่ี ถู ก บุ ค ค ล ห รื อ ห น ว ย ง า น ไ ม ว า จ ะ เ ป น ห น ว ย ง า น ข อ ง เ อ ก ช น ห รื อ รั ฐ
มาละเมิดสิทธิของบุคคลหรือชุมชนโดยใหเปนหนาที่ของบุคคล องคกร และผูเกี่ยวของ
ทําหนา ทร่ี วมกนั ในการเรยี กรองเพื่อรักษาสิทธิ ผลประโยชนท่ีถูกละเมิด ซึ่งการละเมิดสิทธิมี 2
กรณี ดงั น้ี

1) การละเมิดสทิ ธิ/ผลประโยชนสวนบคุ คล
2) การละเมดิ สิทธิ/ผลประโยชนข องชุมชน
3.1.2 การปฏิบัตติ นเปน พลเมอื งดตี ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย
1) การมีสวนรวมในกระบวนการปกครองประเทศ หมายถึง
การตระหนักและเห็นความสําคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เชน การไปใชสิทธิ
เลอื กตงั้ ผแู ทนราษฎร สมาชิกวฒุ สิ ภา
2) การดาํ เนินชีวิตตามวถิ ที างประชาธิปไตย หมายถึง การปฏิบัติตนใหมี
คุณธรรม จรยิ ธรรม การเสยี สละเพอ่ื สว นรวม และการใชเ หตผุ ลเปน หลักในการตัดสินใจ
3) ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม เปนสมาชิกท่ีดีของสังคม
ไมละเมิดสิทธิของผูอ่ืน ควบคุมตัวเองได เชน นักเรียนเคารพกฎระเบียบของโรงเรียน
เปนตน
4) ยดึ มนั่ ในคณุ ธรรมและจรยิ ธรรม เชน ยึดมนั่ ในความซ่ือสตั ย
ประกอบอาชีพดวยความสจุ รติ มีความสามัคคี มคี วามกตัญูกตเวทีตอผูมีพระคุณ เปน ตน
5) การมีสวนรวมในการแกไขปญหาของชุมชน เชน เสียสละ
สวนตนเพอ่ื ประโยชนส วนรวม สามารถทาํ งานรว มกบั ผูอื่นได

44

3.2 การมีสวนรว มในการปองกันและปราบปรามการทุจริต
สังคมไทยใหความสําคัญกับเร่ืองคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตยสุจริต

มาต้ังแตโบราณจนถึงปจจุบัน มีสุภาษิตและคําพังเพยที่คนไทยใชสอนลูกหลานใหเปน
คนดี มีความซื่อสัตยไมคดโกงผูอื่นใหไดยินเสมอมา เชน "ซ่ือกินไมหมด คดกินไมนาน"
"คนดตี กน้าํ ไมไหล ตกไฟไมไหม" "ทําดีไดดี ทาํ ช่วั ไดชั่ว" เปนตน

สังคมปจจุบันท่ีเปนสังคมวัตถุนิยม สงผลใหประชาชนคนไทยถูกชักนําให
หลงใหลอยูกับวัฒนธรรมสมัยใหมที่เปนทาสของเงิน ยกยองคนรวยมีอํานาจวาสนา
โดยไมคํานึงถึงความเปนคนดีมีคุณธรรมและภูมิปญญา ทําใหเกิดปญหาการทุจริตอยาง
กวางขวาง ปญหาทุจริตประพฤติมิชอบ ซึ่งเปนปญหาใหญในทุกระดับ ทุกภาคสวน
ของสังคมและมีความสําคัญยิ่งตออนาคตของชาติบานเมืองที่ตองไดรับการแกไขเยียวยาโดย
ดวน เปนเรอื่ งทีป่ ระชาชนจะตองรูเทา รูทัน มีจิตสํานึกและมีสวนรวมที่จะปองกัน แกไขขจัด
ปญ หาการทจุ รติ ประพฤติมชิ อบเหลา น้ใี หลดลง และหมดไป

สาํ นกั งานปองกนั และปราบปรามการทจุ ริตแหงชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งมีอํานาจหนาท่ี
ใ น ก า ร ป อ ง กั น แ ล ะ ป ร า บ ป ร า ม ก า ร ทุ จ ริ ต ต า ม ข อ กํ า ห น ด ข อ ง ก ฎ ห ม า ย รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ
ไดกาํ หนดยุทธศาสตรและมาตรการในการปองกันและปราบปรามการทุจริตโดยใหประชาชน
ทกุ ภาคสว นมสี วนรว มในการเขาไปมีบทบาทในฐานะเปนสวนหน่ึงของผูดําเนินการในกิจกรรม
ตา ง ๆ โดยตองมีการวางระบบท่ีเปดโอกาสใหประชาชนมีความกลาในการแสดงความคิดเห็น
และกลา ในการตดั สนิ ใจโดยอยูในกรอบของการเคารพสทิ ธขิ องผอู ื่น และสนบั สนุนใหประชาชน
รว มกันทาํ งานเปน เครือขา ยเพื่อใหเกดิ พลังสรางความเขมแข็ง เช่ือมโยงกันทั้งระดับบุคคลและ
ระดับองคกรเปนอันหน่ึงอันเดียวกันโดยมีผลประโยชนของ สังคมเปนท่ีต้ัง ในการสนับสนุน
สงเสริมใหประชาชนมีสวนรวมในการตอตานการทุจริตคอรัปช่ันนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช.
ไดก าํ หนดมาตรการเพอ่ื การปฏบิ ตั ิรว มกันไวดงั นี้

3.2.1 การสรางความตระหนักใหประชาชนมีสวนรวมในการตอตานการ
ทุจริตการสรางความตระหนักใหป ระชาชนมีสวนรวมในการตอ ตานการทจุ รติ มีวิธีการ ดงั นี้

1) ป ลูก จิต สํา นึก แล ะค านิ ยม กา รมี คุณ ธร รม จริ ยธ รร มแ ล ะ
การมีวินัยแกประชาชนทุกภาคสวน สงเสริมการดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพยี ง สงเสรมิ ใหใ ชการศึกษาเปนเคร่ืองมือในการปลูกจิตสํานึกนักเรียน นักศึกษา เยาวชน
และประชาชน อยางตอเน่ือง

45

2) สงเสริมสนับสนุนใหความเขมแข็งแกเครือขาย การมีสวนรวมของ
องคกรตาง ๆ โดยเนนการประชาสัมพันธ การสรางขวัญและกําลังใจ การสงเสริมขอมูลและ
ทักษะการทํางานดานกฎหมาย การขยายเครือขาย การปองกันและปราบปรามการทุจริตให
กระจายลงไปถึงระดบั ฐานราก

3) สงเสริมความเปนอิสระและมีประสิทธิภาพแกองคกรที่มีหนาท่ี
ตรวจสอบการทุจริตโดยเฉพาะสํานักงาน ป.ป.ช. ใหมีการถวงดุลอํานาจจากภาครัฐ
ท่ีเกย่ี วของทกุ ระดับโดยปราศจากการแทรกแซงของอิทธิพลจากภาคการเมือง และภาคธุรกิจ
ราชการ

4) สงเสริมการสรางมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพแกบุคลากรที่เกี่ยวของ
เพอ่ื ใหเปน ทีย่ อมรับและมน่ั ใจขององคกรเครอื ขา ย

3.2.2 การสรางความเขาใจท่ีถูกตองในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวของกับการ
ปอ งกนั และปราบปราม การทุจริตคอรัปชั่น มกี ฎหมายที่เปนหลัก เชน

1) รฐั ธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 87 (3)
ที่กําหนดให ประชาชนมีบทบาทและมีสวนรวมในการตรวจสอบการใชอํานาจรัฐอยางเปน
รปู ธรรม

2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยการปองกันและ
ปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 (ฉบับท่ี 2) พุทธศักราช 2554 มาตรา 19 (13)
กําหนดใหคณะกรรมการ ป.ป.ช. มหี นา ทีส่ ง เสริมใหประชาชนหรือกลุมบุคคลมีสวนรวมในการ
ปองกันและปราบปราม ทั้งนี้มีรายละเอียดที่สามารถศึกษาคนควาไดจาก www.nacc.go.th
(เวป็ ไซดข อง ป.ป.ช.)

3.3 การกระตนุ จิตสํานกึ การมีสว นรว มในการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ
เพื่อใหผูเรียนเกิดความเขาใจ ตระหนักและมีจิตสํานึกในการมีสวนรวม

ทีจ่ ะปองกนั การทจุ รติ ประพฤติมิชอบในชุมชน และสังคม หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ
การศกึ ษาขั้นพื้นฐาน พทุ ธศักราช 2551 จงึ ไดกาํ หนดแนวทางการเรียนรู ในรูปแบบกรณีศึกษา
ใหผ เู รยี นไดฝก ทกั ษะการคดิ วิเคราะห การมีสวนรวมในการแกปญหาการทุจริตรูปแบบตาง ๆ
ดวยเจตนาท่ีจะใหผูเรียนสามารถนําไป เปนแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อประโยชนตอตนเอง
ครอบครวั ชุมชน และสังคมจนเกดิ การพฒั นาจิตสํานึกในการมีสว นรวมปอ งกันและปราบปราม
การทจุ รติ ไดแ ก

46

1. เรอ่ื ง “ใตโ ตะหรือบนโตะ’,
2. เรื่อง “ทจุ รติ ’’ หรือ “คิดไมซอื่ ’’

กรณศี กึ ษาเรอื่ งท่ี 1
เร่อื ง “ใตโตะ หรือบนโตะ
นายนภดล ขับรถกระบะจากบานพักไปโรงพยาบาลในกรุงเทพ เพื่อไปเย่ียมแม
ที่ประสบอุบัติเหตุ อาการเปนตายเทากันอยูในหอง ICU ขณะขับรถผานส่ีแยกไฟแดง
ดวยความรอนใจและเห็นวาไมมีรถอื่นในบริเวณน้ันเลย ทําใหนายนภดลตัดสินใจขับรถ
ฝาไฟแดง ตํารวจท่ีอยูบริเวณน้ันเรียก ใหหยุดและขอตรวจใบขับขี่ นายนภดลจึงได
แอบสงเงินจํานวนหนึ่งใหแกตํารวจ เพื่อจะไดไมเสียเวลาใหตํารวจเขียนใบสั่งและ
ตอ งไปจายคา ปรับท่ีสถานีตํารวจ หลงั จากนั้นตํารวจไดปลอยนายนภดลไป
ประเดน็
1. ทานคิดวาการท่ีนายนภดลขับรถผาไฟแดงดวยเหตุผลเพ่ือจะรีบไปเย่ียมแม
ท่ีประสบอบุ ัติเหตุอยใู นหอง ICU เปนการปฏิบตั ิที่ถกู ตอ งหรือไม เพราะอะไร
2. ถาทานเปนนายนภดล จะมวี ิธีปฏิบัติอยางไรในกรณีดังกลาวใหถูกตองตามกฎหมาย
หนา ที่ พลเมืองและคุณธรรมจรยิ ธรรม
3. ตํารวจท่ีรับเงินที่นายนภดลแอบให เพื่อที่จะไมตองเสียคาปรับไดช่ือวาเปน
การกระทําที่ทุจรติ ผดิ กฎหมาย หรอื คอรรปั ช่ันอยา งไร
4. ในฐานะที่เปนประชาชน ทานคิดวา จะมีสวนหรือมีบทบาทในการปองกันพฤติกรรม
ทีเ่ กิดขึน้ ไดหรือไม อยางไร

กรณศี กึ ษาเรอื่ งที่ 2
เรือ่ ง “ทจุ ริต” หรอื “คิดไมซ ื่อ”
นางสาวรุงฤดี อายุ 22 ป ประกอบอาชีพรับจางในโรงงาน หาเล้ียงครอบครัว
ฐานะทางบานยากจนและไมไดเรียนหนังสือ ดวยความเปนคนมีมานะ และใฝเรียน
จึงไดสมัครเรียน กศน. ภาคเรียนนี้เปนภาคเรียนสุดทายที่จะจบมัธยมศึกษาตอนปลาย
เมื่อเรยี นจบ ม.ปลายแลว เธอจะไดรับ เงนิ เดือนเพ่ิมขึน้ และมีโอกาสไดรับการพิจารณาใหเลื่อน
เปนหัวหนางาน ดวยความกลัววาจะสอบไมผาน และจะไมสามารถนําวุฒิไปปรับตําแหนง
และเงินเดือนใหสูงข้ึนได นางสาวรุงฤดี จึงไดทําการลักลอบจดสูตรคณิตศาสตร และ

47

นําเครื่องคิดเลขเขาไปในหองสอบ แตบังเอิญกรรมการคุมสอบจับได และปรับใหไมผานการ
สอบครั้งน้นั
ประเดน็

1. ถา ทานเปนนางสาวรงุ ฤดี และมคี วามตองการเล่ือนข้ันเงินเดือนและตําแหนง แตก็มี
ความ วติ กกงั วลวาจะสอบไมผ าน ทานจะปฏิบัติเชน เดียวกับนางสาวรุงฤดีหรอื ไม เพราะเหตใุ ด

2. การตัดสินใจทําการทุจริตของนางสาวรุงฤดี จะกอใหเกิดปญหาและผลกระทบ
ตอการทํางานของตนหรือไม อยางไร นางสาวรุงฤดี ควรจะใชคุณธรรมขอใดในการนํามา
แกป ญ หาของตนโดยไมท าํ การทจุ รติ

เร่อื งที่ 4 คณุ ธรรมและคานิยมพ้ืนฐานในการอยูรว มกันอยา งปรองดองสมานฉันท
4.1 ความหมายของ คุณธรรม คานยิ ม และ ความสมานฉนั ท
คุณ ธรร ม คือ ความดี งามที่ถู กปลูก ฝงข้ึนใ นจิตใจ มีจิตสํ านึกที่ ดี

ความละอาย และเกรงกลัวในการทจ่ี ะประพฤติช่วั ถงึ แมว าคุณธรรมจะเปนเรอื่ งภายในจติ ใจ
แตสามารถสะทอนออกมาไดทางพฤติกรรม เชน ความซ่ือสัตยความกตัญูกตเวที ความมี
ระเบียบวนิ ยั เปน ตน

ความปรองดอง หมายถึง ออมชอม ประนปี ระนอมยอมกัน ไมแกงแยงกัน ตกลง
กนั ดว ยความไกลเ กลย่ี ตกลงกันดวยไมตรจี ิต (พจนานกุ รม ฉบับราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ. 2554)

คานิยม คือ ความคิด พฤติกรรมและส่ิงอื่นที่คนในสังคมมองเห็นวา
มีคุณคา จึงยอมรับมาปฏิบัติและหวงแหนไวระยะหน่ึง คานิยมมักเปล่ียนแปลงไปตาม
กาลสมัยและความคดิ เหน็ ของคนในสังคม

ความสมานฉันท คือ ความพอใจรวมกัน ความเห็นพองตองกัน มีความ
ตองการท่ีจะทําการอยางใดอยางหน่ึงตรงกัน หรือเสมอเหมือนกัน ซึ่งความสมานฉันท
จะเปนตวั ลดความขัดแยง และนาํ ไปสูความสามัคคี

48

ประชาชนชาวไทยพรอมใจกนั เฝารับเสดจ็ พระบาทสมเดจ็ พระเจา อยูหวั ฯ
เสดจ็ ออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระท่นี ่งั อนันตสมาคม
เมอ่ื วันท่ี 9 มฤิ นายน 2549

จากภาพเปนความพรอมเพรียงกันของพสกนิกรชาวไทยและชาวตางประเทศ
ท่รี ว มใจกันสวมเสือ้ สเี หลือง รวมกันโบกธงชาติและธงพระปรมาภิไธยพรอมกับเปลงเสียงถวาย
พระพรเปนการแสดงใหเ ห็นถึงความสมานฉนั ทของพสกนิกรชาวไทยและชาวตางประเทศ ภาพ
เหตุการณเหลาน้ีสรางความแปลกใจใหกับสื่อตางประเทศเปนอยางมาก จนทําใหสํานักขาว
หลายสํานกั ตองเสนอขาวเกย่ี วกบั งานพระราชพิธีคร้ังน้ีเพ่ิมเติม เพ่ืออธิบายถึงเหตุผลที่ปวงชน
ชาวไทยถวายความจงรกั ภักดแี ละเทดิ ทนู สถาบันพระมหากษตั รยิ ม ากมายขนาดน้ี

ชาวตา งชาติแสดงออกถงึ ความรัก และเทดิ ทนู พระบาทสมเดจ็ พระเจาอยูหวั ฯ

49

แตใ นทางกลับกนั ในชวงป พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2557 ทั้งชาวไทยและชาวตา งชาติตางรูถึง
ความขัดแยงทางดานการเมืองในประเทศไทย เหตุการณเหลาน้ีสงผลตอเศรษฐกิจ สังคม
โดยเฉพาะธุรกิจดา นการทอ งเท่ียว และยังสงผลกระทบตอสภาพจติ ใจของคนไทยอีกดวย

จากเหตุการณท ีก่ ลา วมา จะเหน็ ไดว าหากเรามคี วามสมานฉันทใ นสิง่ ท่ีถกู ตอ งดงี าม
จะทําใหสังคมของเรามีความเจริญกาวหนา ความสมานฉันทเปนบอเกิดของความสุข
ความสามัคคีของหมูคณะ เม่ือมีความสามัคคีของหมูคณะยอมทําใหเกิดพลังที่จะนําไปสู
ความสําเร็จในจุดมุงหมายที่ไดต้ังเอาไว แตความสมานฉันทที่จะนําไปสูความสุขและ
ค ว า ม เ จ ริ ญ น้ั น จ ะ ต อ ง เ ป น ไ ป ใ น ท า ง ที่ ถู ก ต อ ง ดี ง า ม ค ง ต อ ง ป ร ะ ก อ บ ด ว ย คุ ณ ธ ร ร ม แ ล ะ
ที่สําคัญย่ิงคือการเห็นแกประโยชนสวนรวม หากสมานฉันทแตเฉพาะในกลุมพวก
ของตนเองแลวไปขดั แยงกบั กลมุ พวกของคนอน่ื แลวทําใหส ว นรวมเสียหาย ลักษณะน้ีถือวาเปน
การสมานฉันทในทางที่ผิด ดังน้ันหากเราตองการความสมานฉันทท่ีถูกตองดีงามจะตองอาศัย
คณุ ธรรม ดังตอไปน้ี

คานิยมพ้ืนฐานในการอยูรวมกันอยางสมานฉันท 12 ประการ มีความสําคัญ
อยา งยง่ิ ที่คนไทยจะตองนาํ มาประพฤติปฏิบัติในชีวติ ประจาํ วนั อยูเ สมอ ซึ่งมรี ายละเอยี ด ดงั นี้

1. มีคว ามรั กชา ติ ศ าส นา พระ มหา กษัต ริย เป นคุณ ลักษ ณะที่ แสด งถึ ง
รักความเปนชาติไทย เปนพลเมืองดีของชาติ มีความสามัคคี เชิดชูความเปนไทย
เห็นคุณคา ภูมิใจ ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาท่ีตนนับถือ และแสดงความจงรักภักดี
ตอ สถาบันพระมหากษตั รยิ 

ประชาชนรว มกจิ กรรมจดุ เทยี นถวายพรพระบาทสมเดจ็ พระเจา อยหู วั ฯ

50

2. ซอื่ สตั ย เสียสละ อดทน เปนคณุ ลักษณะทแี่ สดงถงึ การยึดมน่ั ในความถกู ตอ ง
ประพฤติตรงตามความเปนจริงตอตนเองและผอู ื่น ละความเหน็ แกตัว รูจักแบงปน ชว ยเหลือ
สงั คมและบคุ คลทคี่ วรให รูจกั ควบคุมตนเองเมอ่ื ประสบกบั ความยากลาํ บากและส่งิ ทก่ี อ ใหเ กดิ
ความเสยี หาย

3. กตัญูตอพอ แม ผปู กครอง ครบู าอาจารยเปนคณุ ลักษณะที่แสดงออกถึง
การรูจกั บุญคุณ ปฏิบตั ิตามคาํ สง่ั สอน แสดงความรกั ความเคารพ ความเอาใจใส รักษาช่ือเสียง
และตอบแทนบญุ คณุ ของพอแม ผูปกครอง และครูบาอาจารย

ประชาชนรวมกจิ กรรมแสดงความกตญั กู ตเวที

4. ใฝห าความรู หม่ันศกึ ษาเลา เรยี นทัง้ ทางตรงและทางออ ม เปนคุณลักษณะท่ีแสดงออกถึง
ความต้งั ใจ เพียรพยายามในการศึกษาเลา เรียน แสวงหาความรู ท้งั ทางตรงและทางออม

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม เปนการปฏิบัติสืบทอด อนุรักษวัฒนธรรม
และประเพณีไทย อนั ดีงามดวยความภาคภูมิใจเหน็ คณุ คาความสาํ คัญ

6. มศี ีลธรรม รกั ษาความสัตย หวงั ดีตอผูอื่น เผื่อแผและแบงปน เปนความประพฤติ
ทคี่ วรละเวน และความประพฤติทค่ี วรปฏิบัตติ าม

7. เขา ใจเรยี นรูการเปนประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุขที่ถูกตอง คือ
มคี วามรู ความเขาใจ ประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ นตามสิทธิและหนาที่ของตนเอง เคารพสิทธิและหนาที่

51

ของผูอื่น ใชเสรีภาพดวยความรับผิดชอบภายใตขอบเขตของกฎหมายตามระบอบ
ประชาธปิ ไตย อนั มพี ระมหากษัตริยท รงเปนประมุข

8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผูนอยรูจักการเคารพผูใหญ เปนคุณลักษณะ
ท่ีแสดงออกถึงการปฏิบัติตามขอตกลง กฎเกณฑระเบียบ ขอบังคับและกฎหมายมีความเคารพ
และนอบนอมตอผใู หญ

9. มีสตริ ูตวั รูค ดิ รูทํา รูป ฏิบตั ติ ามพระราชดาํ รัสของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว
เปนการประพฤติ ปฏบิ ัติตนอยา งมีสติรูตวั รูคิด รทู าํ อยางรอบคอบถกู ตอ ง เหมาะสม และนอม
นําพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจาอยหู วั ฯ มาปฏิบัตใิ นชวี ิตประจาํ วัน

10. รูจักดํารงตนอยูโดยใชหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดํารัสของ
พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว รูจักอดออมไวใชเม่ือยามจําเปน มีไวพอกินพอใชถาเหลือ
ก็แจกจาย จําหนาย และขยายกิจการ เม่ือมีความพรอม สามารถดําเนินชีวิตอยาง
พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุมกันในตัวที่ดี มีความรู มีคุณธรรม และปรับตัวเพื่ออยูใน
สังคมไดอ ยา งมีความสุข

11. มคี วามเขม แข็งท้ังรางกายและจิตใจ ไมยอมแพตออํานาจฝายตํ่าหรือกิเลสมีความละอาย
เกรงกลวั ตอ บาปตามหลกั ของศาสนาเปนการปฏบิ ตั ติ นใหมีรางกายสมบรู ณ แขง็ แรงปราศจากโรคภยั และ
มจี ติ ใจท่ี เขมแข็ง ไมก ระทําความชว่ั ใด ๆ ยึดมนั่ ในการทาํ ความดตี ามหลักของศาสนา

12. คํานึงถึงผลประโยชนของสวนรวมและตอชาติมากกวาผลประโยชนของตนเอง ให
ความรว มมือใน กจิ กรรมท่เี ปน ประโยชนตอสวนรวม และประเทศชาติ เสียสละประโยชนสวน
ตนเพื่อรักษาประโยชนของสว นรวม

ประชาชนรว มกจิ กรรมปลูกปา ชุมชน

52

การนาํ คณุ ธรรมไปใชใ นชีวิตประจาํ วันเพือ่ แกปญ หาความขัดแยง และสรางความสมานฉันท
คณุ ธรรม ความมรี ะเบยี บวนิ ยั
กรณศี กึ ษาที่ 1 : การเขา คิวรับบรกิ าร

หมูบานหนองผักบุง เปนหมูบานหน่ึงท่ีโดนนํ้าทวมหนักคราวน้ําทวมใหญ
ของประเทศที่ผานมา ชาวบานบางคน ถูกนํ้าทวมบานจนมิดหลังคาบาน จึงตองอพยพ
ไปพักอาศัยชั่วคราวที่วัดหนองผักบุง ที่พอจะอาศัยอยูไดจึงมีผูคนมาอยูรวมกันพอสมควรน้ํา
ทวมอยนู าน ความเดือดรอ นเรอื่ งกินเรื่องอยูก็มาก เปนทวีคูณ แตคนไทยท่ีไมประสบอุทกภัยก็
ไ ม แ ล ง นํ้ า ใ จ เ ดิ น ท า ง ม า ช ว ย เ ห ลื อ นํ า ข า ว ส า ร อ า ห า ร แ ห ง แ ล ะ อุ ป ก ร ณ เ ค รื่ อ ง ใ ช
มาบริจาค คราวหน่ึงเจาอาวาสประกาศวา ไดรับขาววาจะมีผูใจบุญนําของมาแจก
ชาวบานรูขาวก็มารอรับกันแนนวัด ในขณะท่ีกําลังเขาคิวรับถุงยังชีพก็เกิดเหตุการณ
ไมคาดฝน มีชาย 2 คน กาํ ลังชกตอ ยกนั เจาอาวาสจึงบอกใหย ตุ ิ และซักถามไดความวาเกิดการ
ตอวากัน เรื่องมาท่ีหลังแลวมาแซงคิว คนท่ีถูกตอวาก็ไมพอใจ และทั้งสองคน
เปนชาวบา นคนละหมูบา น จงึ โมโหและชกตอยกันข้ึน เจาอาวาสจึงเตือนสติใหท้ังสองคนระงับ
อารมณและสอนใหทุกคน รูจักการอดทนในการรอรับบริการ เพราะมีคนจํานวนมากทุกคน
เดือดรอนเหมือนกัน ทั้งน้ีก็เพื่อความเปนระเบียบเรียบรอย เคารพสิทธิของผูอื่น
จึงตองรูจักการเขาคิวตามลําดับกอนหลัง ถาทุกคนทําไดเชนน้ีปญหาความขัดแยงก็จะ
ไมเกิดข้ึน พวกเราในหมูบานหรือชุมชนไหนก็ตามก็จะอยูรวมกันไดอยางเรียบรอยปกติสุข

53

กรณศี กึ ษาท่ี 2 : เหน็ ความสาํ คญั ของระโยชนส ว นรวม
การบกุ รกุ ทด่ี นิ ขอบเขตรว้ั

เหตเุ กิดขึ้นในชมุ ชนแหงหนึง่ ทคี่ นในชุมชนเกิดความขดั แยงในเรื่องการใช กระบวนการ
ยึดสทิ ธเิ ปน หลกั เรื่องมีอยูวา ร้ัวบานของนายสงบ ไดรุกล้ําเขาไปในพื้นท่ีบานของนายสมชาย
เพราะถือวา บดิ าของนายสงบ มาจับจองพน้ื ทก่ี อ น ในขณะท่นี ายสมชายรับรูวาท่ีดินน้ีไมมีโฉนด
บุคคลอ่ืนในชุมชนสามารถเขาถือครองสิทธิ เปนเหตุใหทั้งสองทะเลาะวิวาทกัน การจัดการ
ความขัดแยง หรือลดปญหาดังกลา วที่เกิดขึ้น คนในชุมชนสามารถมีสวนรวมในการแกไขความ
ขัดแยง โดยใชว ธิ กี ารเจรจาไกลเกลี่ย มคี นกลางที่คปู ญ หาทัง้ สองนับถอื และใหก ารยอมรับ
ซง่ึ วิธกี ารน้เี ปนการจัดการความขัดแยงโดยเช่อื มความสัมพันธระหวางสองครอบครัวและการท่ี
ทั้งสองเปนคนท่ีมีถิ่นฐานอยูภูมิภาค เดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกัน การมีบิดาของนายสงบและ
นายสมชายมารวมเจรจาทําใหงายตอการเจรจาหาจุดยืนของทั้งสองฝาย แลวคํานึงถึง
ผลประโยชนรวมผลสุดทายของการเจรจานายสงบ ยอมรื้อถอนเขตร้ัวออกจากที่ดินของนาย
สมชายเพื่อใหเปนหลักฐานในการตกลงเจรจา ทั้งสองฝายตองทําสัญญา ประนีประนอมยอม
ความหลังจากขอตกลง และเปนไปตามหลักกฎหมายเกี่ยวของ โดยสรุปกระบวนการจัดการ
ความขัดแยงขางตนหลักคือ ตองมุงเนนความสัมพันธ และพยายามทําใหคูกรณีเกิดความพึง
พอใจ ดว ยเหตุนว้ี ิธีการจัดการความขัดแยงเบ้ืองตนในชุมชน จึงใชรูปแบบการเจรจาไกลเกลี่ย
โดยคนกลาง อํานวยความสะดวกในการสนทนาและใหค าํ ปรึกษาหาทางออก
เพอ่ื อยูร วมกนั อยา งสันตสิ ามัคคี ปรองดอง

54

กรณศี ึกษาที่ 3 เหตุเกดิ ทโี่ นนดอนตา
เหตเุ กดิ ทีโ่ นนดอนตา

“บานโนนดอนตา” เปน ชุมชนหมูบานเล็ก ๆ ในชนบทท่ีไมหางไกลจากที่วาการอําเภอ
มากนัก ชุมชนบานโนนดอนตา เคยอยูกันเหมือนพี่นอง สงบและรมเย็น เอ้ือเฟอ เผื่อแผกัน
ชวยเหลือเกื้อกูลกัน และรวมแรงรวมใจในกิจการของสวนรวม แตยังขาดสาธารณูปโภค
ขน้ั พน้ื ฐานและสิง่ จาํ เปน ตา ง ๆ อยูมาก เชน ถนน สะพาน แหลงนํ้า สถานีอนามัย ศูนยพัฒนา
เด็กเลก็

ตอ มาเมอื่ ทางราชการใหมีการเลือกต้ังสมาชิกสภาองคการบริหารสวนตําบลและนายก
องคก ารบริหารสว นตําบลข้ึน ตามหลักการประชาธิปไตยและหลักการกระจายอํานาจ เพ่ีอให
ชาวบานไดมีสวนในการบริหารจัดการกิจการตาง ๆ ของตําบล เพี่อใหตรงกับความตองการ
ที่แทจริงของคนในทองถิ่น สะดวกรวดเร็ว แทนที่จะตองรอนโยบายและงบประมาณจาก
สวนกลาง อีกทง้ั ยงั เปน การสรา งวถิ ี สะดวกจากองคการบริหารสวนตําบลมากกวาเดิม แตดวย
ความทช่ี าวบานยังไมคนุ เคยกบั การเลือกต้งั ทอ งถ่ิน ผูสมัครรบั เลือกตง้ั ใชว ิธีการหาเสียง แขงขัน
กันหาเสียงกับชาวบาน ซึ่งสวนใหญก็เปนญาติมิตรกันแทบทั้งน้ัน การท่ีตางฝายตางสนับสนุน
ผูสมคั รที่ตนชื่นชอบมากกวากลับกลายเปนการเห็นตาง มีการอภิปรายถกเถียง จนนําไปสูการ
ขัดแยง ทะเลาะวิวาท แบงฝกแบงฝายกัน ทําใหบานโนนดอนตาท่ีเคยมีความรักสามัคคี
กลับกลายเปนความสับสน วุนวาย แตกแยกสามัคคีกัน ไมสงบรมเย็นดังที่เปนมา หรือการ
พัฒนาและความเจริญของหมูบาน จะตองแลกดวยความสงบรมเย็นของคนบานโนนดอนตา
จาํ เปนเพียงใดทชี่ าวบา นโนนดอนตาจะตองเลอื กเพยี งอยา งใดอยางหนึ่งเทา นนั้ หรือ

เรือ่ งท่ี 5 รัฐธรรมนญู

รัฐธรรมนูญ เปนกฎหมายสูงสุดหรือเปนกฎหมายหลักของประเทศท่ีออกโดย
ฝายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา อันประกอบดวย ตัวแทนของประชาชน ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงเปน
กฎหมายที่ประชาชนสวนใหญ ใหค วามเห็นชอบ

ความสําคัญ
รัฐธรรมนูญเปนกฎหมายที่สําคัญท่ีสุด เปนเสมือนกฎเกณฑหรือกติกา
ท่ีประชาชนในสังคมยอมรับใหเปนหลักในการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งการออก

55

กฎหมายใดๆ ยอมตองดําเนินการภายในกรอบของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ กฎหมายใด
ท่ขี ดั แยง ตอ รัฐธรรมนูญจะไมส ามารถใชบ งั คบั ได

สาเหตทุ ี่มรี ฐั ธรรมนญู ในประเทศไทย
สาเหตุที่สาํ คญั มาจากการทป่ี ระเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองจาก
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยเปนระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเร่ิมมีแนวคิดต้ังแตรัชกาล
ท่ี 6 โดยกลุมบุคคลท่ีเรียก ตนเองวา“คณะราษฎร”ประกอบดวย ขาราชการ ทหาร
พลเรือน ไดเขาถึงอํานาจการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวจึงไดทรง
พระปรมาภิไธย ในรางรัฐธรรมนูญการปกครองแผนดิน ฉบับชั่วคราวท่ีคณะราษฎร
ไดเตรียมไว นับวานับวาเปนรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยเม่ือวันท่ี 10 ธันวาคม 2475
ถือไดวาประเทศไทยมกี ารเปลยี่ นแปลงการปกครองจากระบอบบูรณาญาสิทธิราชย มาเปนการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตย นับแตนั้นมาจนถึงปจจุบันไดมีการเปลี่ยนแปลงแกไข และ
ประกาศใชรัฐธรรมนูญการปกครองหลายฉบับ เพ่ือใหเหมาะสมสอดคลองกับสภาวการณ
บานเมืองท่ีผันแปรเปลี่ยนในแตละยุคสมัย โดยมีสาระสําคัญเหมือนกันคือ ยึดมั่นในหลักการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข มีเนื้อหาแตกตางกันก็
เพอื่ ใหเ หมาะสมกับสถานการณของบานเมืองในขณะนั้น ประเทศมีรัฐธรรมนูญมาแลวจํานวน
18 ฉบับ และปจจบุ นั ใชรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พทุ ธศกั ราช 2550
หลกั การสาํ คัญของรฐั ธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธคกั ราช 2550
รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ ฉ บั บ ป จ จุ บั น มี ห ลั ก ก า ร แ ล ะ เ จ ต น า ร ม ณ ท่ี จ ะ ธํ า ร ง รั ก ษ า ไ ว ซ่ึ ง
เอกราชและความมั่นคงของชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริยซึ่งหลักการสําคัญของรัฐธรรมนูญ
พทุ ธศกั ราช 2550 ไดระบไุ วในหมวด 1 บททว่ั ไป สรปุ ได ดงั นี้
1. ประเทศไทยเปนราชอาณาจักรอันหนง่ึ อนั เดียว จะแบงแยกมไิ ด
2. มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษตั ริยทรงเปน ประมุข
3. อํานาจอธิปไตยเปนของปวงชนชาวไทย
4. ศักดิ์ศรคี วามเปนมนุษยสิทธิ เสริภาพ และความเสมอภาคของบุคคลตองไดรับ
ความคุม ครอง
5. ประชาชนชาวไทยทุกคนไมแยกเพศ ศาสนา และยอมไดรับความคุมครองเทา
เทยี มกนั

56

โครงสรางของรฐั ธรรมนญู
รฐั ธรรมนญู แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แบงโครงสรางออกเปน 15
หมวด และมบี ทเฉพาะกาล สรุปสาระสาํ คญั แตล ะหมวดดังนี้
หมวด 1 บททว่ั ไป

ประเทศไทย เปนราชอาณาจักรอันหน่ึงอันเดียวจะแบงแยกออกมิได
มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเปนประมุข พระมหากษัตริยทรงใช
อาํ นาจทางรฐั สภาคณะรฐั มนตรี และศาล

หมวด 2 พระมหากษตั ริย
ทรงอยูในฐานะอันเปนท่ีเคารพ ผูใดจะละเมิดมิไดทรงเลือกและแตงต้ัง

ประธานองคมนตรี และองคมนตรไี มเกิน 18 คน
หมวด 3 สทิ ธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
การใชอํานาจโดยองคกรของรัฐ ตองคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเปนมนุษย

สิทธิและเสรีภาพของบุคคลทั้งดานการประกอบอาชีพ การส่ือสาร การแสดงความคิดเห็น
ความเปน ธรรมดา นการศึกษา การสาธารณสุข และสวสั ดกิ ารของรฐั เสรีภาพในการชมุ นมุ
ท่ีไมล ะเมิดสทิ ธผิ อู ่ืนและกฎหมาย

หมวด 4 หนาทขี่ องชนชาวไทย
บุคคลมีหนาที่พิทักษรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริยและ

การปกครองระบอบประชาธปิ ไตย อันมีพระมหากษัตริยเปนประมุข และมีหนาท่ีปองกันรักษา
ผลประโยชนของชาติ ปฏิบตั ติ ามกฎหมาย โดยเฉพาะหนา ทไี่ ปใชส ิทธิเลือกต้งั

หมวด 5 แนวนโยบายพนื้ ฐานแหงรฐั
เนน ใหป ระชาชนมสี ว นรว ม การกระจายอํานาจ การดําเนินการ มุงเนน

การพัฒนา คุณภาพ คุณธรรม มีประสิทธิภาพ โปรงใส ใหความคุมครองและพัฒนาเด็ก
เยาวชน สงเสริมความรรู กั สามคั คี

หมวด 6 รัฐสภา
รัฐสภามีหนาที่บัญญัติกฎหมาย และควบคุมการปฏิบัติงานของ

ฝา ยบรหิ าร ประกอบดวย 2 สภา คอื สภาผแู ทนราษฎร (ส.ส.) และวุฒิสภา (ส.ว.)
หมวด 7 การมสี ว นรว มทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
ป ร ะ ช า ช น ผู มี สิ ท ธิ เ ลื อ ก ต้ั ง มี สิ ท ธิ เ ข า ช่ื อ ร อ ง ข อ ต อ วุ ฒิ ส ภ า ใ ห

ถอดถอนบคุ คลออกจากตาํ แหนงได เพราะมสี ทิ ธอิ อกเสียงประชามติ

57

หมวด 8 การเงิน การคลงั และงบประมาณ
เพ่ือกําหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับการจัดหารายได การกําหนดรายจาย

การกอ หนี้หรือการดําเนินการทผี่ ูกพันทรัพยสินของรัฐหลักเกณฑการกําหนดวงเงินสํารองจาย
เพือ่ กรณีฉุกเฉนิ หรอื จาํ เปน ซึง่ เปน กรอบในการกํากับการใชจายเงินตามแนวทางการรักษาวินัย
การเงิน การคลัง และรกั ษาเสถียรภาพทางเศรษฐกจิ อยางย่ังยืน และเปนแนวทางในการจัดทํา
งบประมาณรายจายของแผน ดนิ

หมวด 9 คณะรฐั มนตรี
รัฐธรรมนูญกําหนดใหมีนายกรัฐมนตรี 1 คน และมีรัฐมนตรีอื่นอีก

ไมเ กนิ 35 คน โดยไดร ับการแตงตง้ั จากพระมหากษตั ริย
หมวด 10 ศาล
กาํ หนดใหศาลหรืออํานาจตุลาการแบงเปน
1. บททว่ั ไป
2. ศาลรัฐธรรมนูญ
3. ศาลยุตธิ รรม
4. ศาลปกครอง
5. ศาลทหาร
หมวด 11 องคกรตามรัฐธรรมนูญ
กําหนดใหมีองคกรท่ีจะดําเนินการตรวจสอบ ติดตามการทํางานของ

บุคคล คณะบคุ คล และ หนวยงานทงั่ ภาครัฐและเอกชน ดังนี้
1. องคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ประกอบดวย คณะกรรมการ

การเลือกตั้ง ผูตรวจการแผนดินคณะกรรมการการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ
และคณะกรรมการตรวจเงิน แผน ดิน

2. องคกรอันตามรัฐธรรมนูญ ประกอบดวย องคกรอัยการ
คณะกรรมการสิทธมิ นุษยชน แหง ชาติ และสภาทีป่ รึกษาเศรษฐกจิ และสังคมแหง ชาติ

หมวด 12 การตรวจสอบการใชอ าํ นาจรัฐ
กําหนดใหมกี ารตรวจสอบขา ราชการประจํา และขาราชการการเมือง

58

หมวด 13 จรยิ ธรรมของผูดํารงตาํ แหนง ทางการเมอื งและเจาหนา ทข่ี องรฐั
การพจิ ารณา สรรหา แตตั้งบุคคลเขาสูตําแหนงตองเปนไปตามระบบ

คณุ ธรรมและคาํ นงึ ถึง พฤติกรรมทางจรยิ ธรรมดวย
หมวด 14 การปกครองสวนทอ งถิ่น
ใหความเปนอิสระแกองคกรปกครองสวนทองถิ่น ในการบริหารงาน

เนน การกระจายอาํ นาจ โดยใหก ารสนับสนนุ และกาํ หนดนโยบายการบรหิ าร
หมวด 15 การแกไ ขเพ่ิมเตมิ รฐั ธรรมนูญ
ใหมีการแกไขเพ่ิมเติมได แตหามแกไขที่มีผลตอการเปลี่ยนแปลงการ

ปกครองระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษตั ริยเปน ประมขุ
บทเฉพาะกาล
ใหองคมนตรดี ํารงตําแหนงอยใู นวนั ประกาศใชร ฐั ธรรมนูญ

เรือ่ งที่ 6 ความรูเบอื้ งตนเก่ียวกบั กฎหมาย
6.1 ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ ขอบังคับของรัฐที่ใชควบคุมความประพฤติของคน

ในประเทศโดยมีจดุ มุงหมายท่ีจะคุมครองประโยชนรักษาความสงบเรียบรอยในการอยูรวมกัน
ในสังคม ผูใดฝา ฝน จะตอ งถูกลงโทษ

6.2 ความสาํ คญั ของกฎหมาย
กฎหมายมีความเกี่ยวของกับมนุษยต้ังแตเกิดจนตาย เชน การเกิด เก่ียวของ

กับกฎหมายบุคคล กฎหมายทะเบียนราษฎร โตข้ึนเกี่ยวของกับ พ.ร.บ. การศึกษาแหงชาติ
แตงงาน เกย่ี วของกับกฎหมายครอบครวั ตาย กฎหมายมรดก กฎหมายมคี วามสําคญั

6.2.1 เปน เคร่อื งมอื สรางระเบียบใหส ังคมและประเทศชาติ
6.2.2 กอ ใหเกดิ ความเปน ธรรมในสงั คม
6.3 ลักษณะทั่วไปของกฎหมาย
6.3.1 กฎหมายมลี กั ษณะเปนขอบังคับ ดงั นี้

1) บังคับใหทํา เชน ชายไทยตองเกณฑทหาร ผูมีรายไดตองเสียภาษี
เดก็ ตองเขา เรียน ตาม พ.ร.บ. การศึกษา ฯลฯ

2) บงั คับไมใ หท าํ เชน หามทํารายรา งกาย หามลักทรพั ยฯ ลฯ

59

6.3.2 กฎหมายมีลักษณะเปนคําส่ังท่ีมาจากผูมีอํานาจสูงสุดในประเทศ เชน
ประเทศทีม่ ีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มรี ัฐสภาเปนผอู อกกฎหมายและพระราชบัญญัติ
มีรฐั บาลเปนผูออกพระราชกําหนด พระราชกฤษฎกี าและกฎกระทรวง

1) กฎหมายเปนขอ บังคับทใ่ี ชไดทว่ั ไปกบั ทกุ คน โดยไมเลอื กปฏบิ ัติ
2) ผทู ่ีฝา ยฝนกฎหมายตองไดร บั โทษ
6.4 ความจําเปนทต่ี อ งเรยี นรูก ฎหมาย
ในฐานะที่เราเปน สมาชกิ ของสังคมจงึ มคี วามจําเปนตองศึกษาและเรียนรู
ทําความเขาใจในกฎหมายตาง ๆ ท่ีเก่ียวของกับตัวเราและสังคมที่เราอยู ท้ังนี้ก็เพ่ือกอเกิด
ประโยชนตอตนเอง ซึ่งไดแก
6.4.1 รูจักระวังตน ไมเผลอหรือพล้ังกระทําความผิดโดยไมรูตัวเน่ืองมาจาก
เพราะไมรูกฎหมาย และเปน เหตใุ หตอ งไดร ับโทษตามกฎหมาย
6.4.2 ไมใ หถ กู ผูอ ื่นเอาเปรยี บและถูกฉอ โกงโดยทเ่ี ราไมมีความรูเรอื่ งกฎหมาย
6.4.3 กอเกิดประโยชนในการประกอบอาชีพ ถาหากรูหลักกฎหมาย
ทเ่ี ก่ยี วกับการประกอบอาชพี ของตนเอง แลวยอ มจะปอ งกันความผิดพลาดอันเกิดจากความไมรู
กฎหมายในอาชพี ได
6.4.4 กอใหเกิดประโยชนทางการเมืองการปกครองของประเทศ เพราะเม่ือ
ประชาชนรูจักใช สิทธิและหนาท่ีของตนเองตามกฎหมายแลวยอมทําใหสังคมเกิดความสงบ
เรยี บรอย
6.5 ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายทีเ่ ก่ียวขอ งกับชวี ิตประจําวนั สามารถแบงไดเปน
6.5.1 กฎหมายอาญา
กฎหมายอาญา (Criminal Law) เปนกฎหมายมหาชนที่บัญญัติถึง
ความสัมพันธระหวางรัฐ กับเอกชนท่ีอยูใตอํานาจปกครองของรัฐ ผูท่ีฝาฝนจะตอง
ไดรับโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติอื่นที่บัญญัติถึงการกระทํา
ที่เปนความผิดและโทษทางอาญา เชน ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก อาวุธปน
เครื่องกระสุนปน วตั ถุระเบดิ ยาเสพตดิ ใหโทษ การพนนั ปาไม ปา สงวน เปน ตน
เน่ืองจากกฎหมายอาญามสี ภาพบงั คบั คอื มีโทษที่จะทําใหบ ุคคลไดรับ
ผลถึงแกชีวิต รางกาย เสรีภาพ ทรัพยสิน เชน ประหารชีวิต จําคุก กักขัง ปรับ
ริบทรัพยสิน ดังนั้นจึงตองมีหลักประกันแก บุคคล กลาวคือ บุคคลจะไดรับโทษ ทางอาญา

60

จะตองไดกระทําการใดที่มีกฎหมายขอหามไว ถาไมมีกฎหมายก็ไมมีความผิด ไมมีโทษ เชน
ความผิดฐานสบู บหุ รใ่ี นทท่ี กี่ ําหนด เดิมไมม คี วามผิดแตเม่ือประกาศใชพระราชบัญญัติคุมครอง
สุขภาพของผูไมสูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 แลวผูที่สูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหร่ีหรือสูบบุหร่ีในท่ี
สาธารณะทก่ี ําหนด ยอ มมีความผิดและจะตอ งไดร บั โทษ

โทษตามประมวลกฎหมายอาญามี 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จําคุก
กักขงั ปรบั ริบทรพั ยส นิ

นอกจากน้ียังมีการรอการลงโทษ หรือรอการลงอาญา เม่ือบุคคล
กระทําความผิดและจะไดรับโทษ จําคุกไมเกิน 2 ป ผูนั้นอาจไดรับความกรุณาจากศาล
ไมต องไดร ับโทษจาํ คกุ ในเรอื นจาํ เพราะผูน นั้ ไมเ คยไดร บั โทษจําคกุ มากอน เมอ่ื ไดพจิ ารณา
ถงึ อายุ ประวตั ิ ความประพฤติ สติปญ ญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแหงจิต นิสัย อาชีพ
สิ่งแวดลอม สภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแลว ศาลจะกําหนดโทษไว หรือรอการ
ลงโทษไวทีเ่ รียกกนั วา“รอการลงอาญา”

6.5.2 กฎหมายแพงและพาณชิ ย
กฎหมายแพง คือ กฎหมายท่ีบัญญัติถึงความสัมพันธของบุคคล เปน

กฎหมายสารบัญญัติ และเปนกฎหมายเอกชนท่ีมีความสําคัญแกชีวิตของบุคคลตั้งแตแรกเกิด
จนสนิ้ สภาพบุคคลไป

กฎหมายพาณิชย คือ กฎหมายทบ่ี ญั ญตั ิถึงความสัมพันธของบุคคลท่ีมี
อาชีพคาขาย และนักธุรกิจ กลาวถึงระเบียบหลักปฏิบัติในทางการคาท่ีบุคคลในอาชีพคาขาย
และนักธุรกิจจะตองปฏิบัติเกี่ยวของสัมพันธกัน เชน กฎหมายเกี่ยวกับหุนสวนบริษัท ต๋ัวเงิน
ประกันภัย การขนสงสนิ คา

ประเทศไทยไดร วมบญั ญตั กิ ฎหมายพาณชิ ยเขาไวในประมวลกฎหมาย
แพงจึงรวมเรยี กวา “ประมวลกฎหมายแพง และพาณชิ ย”

สภาพบงั คบั ในทางแพง โทษหรือสภาพบงั คบั ทางแพง ทจี่ ะใหผฝู า ฝน ไม
ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ การใชคาสินไหมทดแทนหรือคาเสียหาย หรือใหชําระหน้ีดวยการสง
มอบทรัพยสินให

61

เรื่องที่ 7 กฎหมายทีเ่ กยี่ วของกับตนเองและครอบครัว

กฎหมายในชีวิตประจําวันท่ีเก่ียวของกับตนเอง และครอบครัว ไดแก กฎหมาย
ดังตอ ไปนี้

7.1 กฎหมายเก่ียวกับช่ือบุคคล
พระราชบัญญัติชื่อบุคคลกําหนดไววา (มีสัญชาติไทยตองมีชื่อตัวและ

ชือ่ สกลุ สวนช่ือรองมีหรอื ไมม ีก็ได)
7.1.1 การตงั้ ชือ่ ตวั ตอ งไมใ หพ อ งกบั พระปรมาภไิ ธยของพระมหากษัตริยและ

พระนามของ พระราชินี หรือราชทินนาม และตองไมมีคําหยาบคาย ช่ือตัวมีก่ีพยางค
กไ็ ดแ ละมคี วามหมายดี การตงั้ ชือ่ สกลุ ไมเ กนิ 10 พยัญชนะ (ยกเวนราชทินนามเกา)

7.1.2 ในเรื่องชื่อสกุล เดิมกฎหมายกําหนดใหหญิงที่มีสามีตองเปล่ียน
ช่ือสกุลของตนมาใชชื่อ สกุลของสามี แตปจจุบันกฎหมายไดมีการแกไขใหมมีผลตาม
พระราชบญั ญตั ิช่อื บุคคล (ฉบบั ที่ 3) พ.ศ. 2548 ดังนี้

1) คูสมรสมีสิทธิใชช่ือสกุลฝายใดฝายหน่ึงไดตามท่ีตกลงหรือ
ตา งฝา ยตางใชน ามสกุลเตมิ ของตนได

2) เมื่อการสมรสส้ินสุดลงดวยการหยาหรือศาลมีคําพิพากษาให
เพิกถอนการสมรส ใหฝายที่ใชชือ่ สกลุ ของอกี ฝายหนง่ึ กลบั ไปใชช ่อื สกุลเดมิ ของตน

3) เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงดวยความตาย ฝายที่มีชีวิตอยูที่ใชช่ือสกุล
ของอีกฝายคงมีสทิ ธใิ ชไดตอ ไป แตเม่ือจะสมรสใหมใหก ลับไปใชชอ่ื สกลุ เดิมของตน

4) หญิงที่มีสามี ซ่ึงใชช่ือสกุลสามีอยูแลว กอนการเปล่ียนแปลง
กฎหมายใหมสี ทิ ธใิ ช ตอไป หรอื จะมาใชสทิ ธิกลบั ไปใชช ่ือสกุลเดมิ ของตนได

7.2 กฎหมายทะเบยี นราษฎร
“กฎหมายทะเบียนราษฎร’, เกิดข้นึ มาเพอ่ื การจดั ระเบียบคนในสังคมและการ

ท่ีจะเปนประชาชนไทยที่ถูกตองไมใชเพียงแคลืมตาดูโลกบนแผนดินไทยแลวจะถือวาเปนคน
ไทยท่ีสม บูรณ จํ าเปนต องปฏิบั ติตามก ฎหมายท ะเบียน ราษฎร อยางเ ครงครั ด
ซ่ึงกฎหมายทะเบียนราษฎรพื้นฐานที่ควรตระหนักใหความสําคัญ ไดแก การเกิด การตาย
การยายทอ่ี ยแู ละการทําบตั รประชาชน

62

7.2.1 การแจงเกิด
ตองแจงตอนายทะเบียนที่อําเภอภายใน 15 วัน นับต้ังแตวันเกิด

แลว ทางการจะออก “ใบสตู ิบัตร” ซึ่งเปน เอกสารท่ีแสดงชาติกําเนิด วันเดือนปเกิด การแจงเกิด
นไ้ี มเสยี คา ธรรมเนียมใด ๆ แตถาไมแจงเกดิ มีความผดิ ตอ งระวางโทษ ปรบั ไมเกิน 1,000 บาท

วธิ กี ารแจงเกดิ
1) แจง รายละเอียดเก่ียวกับเด็กที่เกิด คือ ช่ือ นามสกุล เพศ สัญชาติของ
เด็กท่เี กิด วนั เดือนปเกดิ เวลาตกฟาก ตลอดจนวนั ขางขึ้นขางแรม สถานท่ีเกิด บานเลขท่ี ถนน
ตําบล เขต จงั หวดั
2) แจงรายละเอียดเก่ียวกับมารดาของเด็กที่เกิด คือ ชื่อ นามสกุล
และนามสกลุ เดิมกอ นสมรส อายุ สญั ชาติ ทอี่ ยูโดยละเอียด
3) แจง รายละเอยี ดเกีย่ วกบั บดิ า คอื ชอื่ นามสกุล อายุ สัญชาติ
4) หลักฐานทจี่ ะตองนาํ ไปแสดงตอ นายทะเบียน

- สาํ เนาทะเบียนบาน ฉบับเจาบา น (ท.ร.14)
- บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวอื่น ๆของ
เจา บานและของคนแจง หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.1/1) ซง่ึ แพทยห รือพยาบาลหรือเจาหนาท่ี
อนามัย หรือผดุงครรภแลว แตกรณี ออกให( ถา มี)
- บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวอ่ืน ๆ ของพอแม
เด็กทเี่ กิด
7.2.2 การแจงตาย
เมื่อมคี นตาย ผูเกี่ยวของตองไปแจงการตายเพ่ือใหไดใบมรณะบัตร บัตรท่ี
แสดงวาคนนั้นตายแลว ภายใน 24 ช่ัวโมง การแจงตายไมเสียคาธรรมเนียมใดๆ
แตถาไมแ จงตายภายในเวลาท่ีกําหนดมคี วามผดิ ตอ งระวางโทษปรับไมเ กนิ 1,000 บาท
วธิ กี ารแจงตาย
1) แจงรายละเอียดเกี่ยวกบั ผูตาย เชน ชือ่ นามสกุล อายุ สัญชาติ เพศ
ของผูตาย เวลาที่ตาย ระบุวัน เดือนป เวลาโดยละเอียด สถานท่ีตาย สาเหตุการตาย การ
ดาํ เนินการกบั ศพของผตู าย (เก็บ ฝง เผา) ทไ่ี หน เม่ือไร ฯลฯ
2) หลกั ฐานที่จะตองนําไปแสดงตอนายทะเบยี น
- สําเนาทะเบียนบา น ฉบบั เจาบาน (ท.ร.14)
- บตั รประจําตวั ประชาชน หรอื บัตรประจําตวั อน่ื ๆ ของเจา บา น

63

- บตั รประจําตวั ประชาชนของผตู าย
7.2.3 การจดทะเบียนสมรส

ชายหญิงที่จะจดทะเบียนสมรส ตองไปใหถอยคําและแสดงความ
ยินยอมเปนสามีภรรยากันโดยเปดเผยตอหนานายทะเบียนท่ีอําเภอ กิ่งอําเภอ เขต หรือ
สถานทูต สถานกงสุลไทยในตางประเทศแหงใดก็ไดโดยไมจําเปนตองมีชื่ออยูในทะเบียนบาน
ของทองถ่ินนั้น

หลักฐานทจี่ ะตอ งนําไปแสดงตอนายทะเบียน
- บัตรประชาชน
- สําเนาทะเบียนบานของท้ังสองคน
- กรณที ท่ี ง้ั คยู ังไมบรรลนุ ิตภิ าวะ (17 ป แตไมถึง 20 ป) ตองใหบคุ คลมี
ผูอํานาจใหความ ยินยอม เชน พอแม หรือผูปกครอง เปนตน โดยอาจใหผูยินยอม
ลงลายมอื ชื่อในขณะจดทะเบยี น หรือทาํ เปน หนังสือยินยอมกไ็ ด
7.2.4 การจดทะเบียนหยา
การหยาสําหรบั คูส มรสท่ีไดจดทะเบียนสมรสแลวไมวากรณีใดตองไป
จ ด ท ะ เ บี ย น ห ย า กั น ที่ สํ า นั ก ท ะ เ บี ย น จ ะ ไ ป จ ด ที่ อ่ื น ไ ม ไ ด แ ล ะ ต อ ง ทํ า ต อ ห น า
นายทะเบยี นเทา นน้ั การจดทะเบียนหยา จะมีผลสมบูรณ ทาํ ได 2 วธิ ี ดงั น้ี
1) การหยาโดยความยินยอมของทั้งสองฝาย คือ การที่คูสมรส
ไปจดทะเบียนหยาดวยตนเองที่ สํานักทะเบียนแหงใดก็ไดและจะตองนําหลักฐานติดตัว
ไปดวยดังตอไปนี้ บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวขาราชการของท้ังสองฝาย
หลักฐานการจดทะเบียนสมรส เชน ใบสําคัญการสมรส หรือสําเนาทะเบียนสมรส สําเนา
ทะเบยี นบา นฉบบั เจาบานของทงั้ สองฝา ย หนงั สือสัญญาหยา
2) การหยาโดยคําพิพากษาของศาล หากคูหยาตองการให
นายทะเบยี น บนั ทึกการหยาไวเ ปนหลักฐาน จะตอ งยืน่ สาํ เนาคําพิพากษาของศาลที่แสดงวาได
หยากันแลวแกน ายทะเบยี น จากน้ันนายทะเบียนก็จะบันทึกคําสั่งศาลไวเปนหลักฐานท้ังนี้หาก
มีขอตกลงอยางอื่น เชน ทรัพยสิน อํานาจการ ปกครองบุตรก็สามารถบันทึกไวในทะเบียน
หยาได

64

7.2.5 การจดทะเบยี นรับรองบุตร
การจดทะเบยี นรับรองบตุ ร พอแมของเดก็ ซ่งึ เปนสามภี รรยากนั โดย

ไมชอบดวยกฎหมาย เด็กที่เกิดมาจึงเปนลูกที่ชอบดวยกฎหมายของแมฝายเดียว
ห า ก เ ด็ ก จ ะ เ ป น ลู ก ที่ ช อ บ ด ว ย ก ฎ ห ม า ย ข อ ง พ อ ก็ ต อ ง มี ก า ร จ ด ท ะ เ บี ย น รั บ ร อ ง บุ ต ร
เมื่อจดทะเบยี นเรยี บรอ ยเด็กก็จะมสี ทิ ธใิ ชนามสกลุ และรบั มรดกของพอ แมอยา งถูกตอ ง

การจดทะเบียนรับรองบุตรนี้ ทําไดเฉพาะฝายชายเทาน้ัน สวนหนุม
สาวคใู ดทมี่ ีลกู กอ นแตง งาน เม่ือแตง งานจดทะเบยี นสมรสกันแลวเด็กคนนั้นจะเปนลูกท่ีถูกตอง
ตามกฎหมายทนั ทโี ดยไมต อ งจดทะเบียนรับรองบตุ รอกี

หลักฐานท่จี ะตอ งนาํ ไปแสดงตอนายทะเบียน
- ใบสูติบตั ร และสําเนาทะเบียนบา นของเด็ก
- บัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาทะเบยี นบา นของมารดาเดก็
- บัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาทะเบียนบานของบิดา
(ผูยนื่ คาํ รอ ง)
- บตั รประจาํ ตัวประชาชนของเดก็ (ในกรณที เี่ ด็กอายุเกนิ 15ป)

เร่ืองที่ 8 กฎหมายทเ่ี ก่ียวของกับชุมชน

กฎหมายท่ีเกี่ยวของกับชุมชน เปนกฎหมายวาดวยการรักษาสภาพแวดลอม
ท่ีอยูรอบตัวคนในชุมชน มิใหเกิดความผิดปกติจากธรรมชาติท่ีควรจะเปนตลอดจนการดูแล
ปกปอง และปองกันใหเกิดความเปนธรรมในสังคม ไมเอารัดเอาเปรียบตอกันซึ่งกฎหมาย
ท่คี วรรูไดแ ก

8.1 กฎหมายสงเสริมและรกั ษาคุณภาพส่งิ แวดลอม
โดยท่ัวไปบุคคลมีสิทธิและหนาท่ีตองมีสวนรวมในการจัดการ บํารุงรักษา

และใชป ระโยชนจากทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอมอยางสมดลุ และยั่งยืน รวมถึงมีหนาที่
ตองอนรุ ักษธรรมชาติและส่ิงแวดลอม ตามท่ีรัฐธรรมนูญบัญญัติไว โดยเฉพาะพระราชบัญญัติ
สง เสรมิ และรกั ษาคุณภาพสิง่ แวดลอมแหง ชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดไว ดังนี้

8.1.1 สทิ ธิของบุคคลเก่ยี วกับการสงเสริมและรกั ษาคุณภาพสิง่ แวดลอม
1) มีสทิ ธจิ ะไดร บั ขอ มูลและขา วสารจากทางราชการ

65

2) มีสิทธิไดรับชดเชยคาเสียหายหรือคาทดแทนจากรัฐ กรณีไดรับ
ความเสียหายจากภัยอันตรายที่เกิดจากการแพรกระจายของมลพิษ หรือภาวะมลพิษ
อันมสี าเหตุจากกจิ การ / โครงการ โดยสว นราชการ /รัฐวิสาหกจิ

3) มีสิทธิรองเรียนกลาวโทษผูกระทําผิดหรือฝาฝนกฎหมายเกี่ยวกับการ
ควบคมุ มลพษิ

8.1.2 หนาทข่ี องบคุ คล
1) ใหความรวมมอื และชวยเหลือเจา พนกั งานในการปฏบิ ตั ิหนาทที่ ี่

เก่ยี วขอ งกบั การ สง เสริมการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวของกับการสงเสริมและรักษาคุณภาพ

ส่งิ แวดลอมดว ยความเครงครัด
8.1.3 ปญ หากระทบตอส่งิ แวดลอมในปจจบุ ันมี 2 ประการ คือ
1) การลดลงและขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เน่ืองจาก

การทาํ ลายตน ไม ปาไมแ ละแหลงกําเนดิ ของลําธาร
2) เกิดมลพิษส่ิงแวดลอม เนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยีและ

จาํ นวนประชากรท่เี พิ่มขึน้ การใชม ากทําใหเ กดิ สิ่งทเี่ หลือจากการใชท รพั ยากร เชน ขยะ นํ้าเสีย
จากครัวเรือน โรงงาน ควนั ไฟ สารเคมี ทาํ ใหเกดิ มลพิษทางนาํ้ อากาศ และบนดิน

ผทู ีไ่ ดรับผลกระทบ คือ ประชาชน ดังน้ัน พ.ร.บ. สงเสริมและรักษา
คณุ ภาพส่ิงแวดลอม แหงชาติ พ.ศ. 2535 จงึ ไดกาํ หนดใหม ี

1) คณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ ทําหนาที่กําหนดมาตรฐาน
ควบคุมคุณภาพ สง่ิ แวดลอ มที่ประกอบดวยมาตรฐานคุณภาพของนาํ้ อากาศ เสียง และอ่ืนๆ

2) กองทุนสิ่งแวดลอม เพื่อใชในกิจการชวยเหลือใหกูยืมเพ่ือการ
ลงทุนแกสวนราชการ ทองถิ่น รัฐวิสาหกิจ เอกชน ในการจัดระบบบําบัดน้ําเสีย อากาศเสีย
และระบบกาํ จัดของเสยี

3) กองควบคุมมลพิษ โดยคณะกรรมการควบคุมมลพิษทําหนาที่
เสนอแผนปฏิบัตกิ ารตอคณะกรรมการสิ่งแวดลอ มแหงชาติ และกําหนดมาตรฐานมลพิษทางนํ้า
มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง พรอมเขาทําการเองกันและแกไขอันตรายอันเกิดจาก
มลพษิ เหลาน้ัน

4) ความรบั ผิดชอบของเจาของหรือผูครอบครองแหลงกําเนิดมลพิษ
ทงั้ ทางแพง และทางอาญา

66

8.2 กฎหมายที่เกี่ยวกบั การคุม ครองผบู รโิ ภค
กฎหมายวาดว ยการคมุ ครองผูบ รโิ ภคในปจจุบัน คอื พระราชบัญญัติคุมครอง

ผูบริโภค พ.ศ. 2522 และมีการแกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2541 เปนกฎหมายท่ีใหความ
คมุ ครองและใหความเปน ธรรมแก ผบู ริโภคซ่งึ บุคคลทก่ี ฎหมายคุมครองผูบริโภคไดแก บุคคล 6
ประเภทดงั นี้

8.2.1 ผซู ้อื สนิ คาจากผูขาย
8.2.2 ผไู ดร บั การบรกิ ารจากผขู าย
8.2.3 ผูเชา ทรพั ยส นิ จากผใู หเ ชา
8.2.4 ผเู ชา ซอื้ ทรพั ยส ินจากผูใหเชาซือ้
8.2.5 ผซู ึง่ ไดรับการเสนอหรือไดรับการชกั ชวนใหซ้ือสนิ คาหรือรบั บริการจาก
ผปู ระกอบธรุ กจิ
8.2.6 ผูใชส ินคาหรือผไู ดรับบรกิ ารจากผูประกอบธุรกิจโดยชอบ แมมิไดเปน
ผูเสียคาตอบแทน

สทิ ธิของผูบรโิ ภคทจ่ี ะไดร ับความคมุ ครอง มดี ังนี้
สิทธิที่ไดรับขาวสารรวมท้ังคําพรรณนาคุณภาพท่ีถูกตองและเพียงพอ
กับสินคาหรือบริการสิทธิท่ีจะมีอิสระในการเลือกหาสินคาหรือบริการ สิทธิท่ีจะไดรับความ
ปลอดภัยจากการใชสินคาหรือบริการ สิทธิจะไดรับความเปนธรรมในการทําสัญญา
สิทธิจะไดรับการพิจารณาและชดเชยความเสียหายจากสิทธิของผูบริโภคนี้ กฎหมาย
ไดว างหลกั การคุมครองผูบรโิ ภคไว 4 ดาน ไดแก
1. คุมครองดานโฆษณา คือ ผูบริโภคมีสิทธิไดรับขาวสารเกี่ยวกับสินคา
2. คุม ครองดา นฉลาก คอื ผบู ริโภคมีสทิ ธแิ ละอสิ ระในการเลอื กซือ้ สนิ คา
และบรกิ าร
3. คุมครองดานสัญญาคือผูบริโภคมีสิทธิไดรับความเปนธ ร ร ม
ในการซ้ือขายและทาํ สัญญา กรณีการซื้อขายเปนลายลักษณอักษรกับผูประกอบธุรกิจหรือ
ผขู าย
4. คุม ครองดานความเสยี หาย ผบู รโิ ภคมีสิทธไิ ดร ับการชดเชย หากไดรบั
ความเสียหายหรอื อันตรายจากสนิ คา หรอื บริการน้ันๆ

67

ซ่ึงมีสทิ ธขิ องผบู รโิ ภคจะไดร บั การคมุ ครองโดยที่ พ.ร.บ. คุม ครองผบู รโิ ภคได
จดั ตั้งองคก รเพอื่ คมุ ครองผูบ ริโภคขึ้น โดยมีคณะกรรมการคุมครองผบู รโิ ภคทําหนาที่
ดาํ เนินการ

เร่ืองท่ี 9 กฎหมายอื่น ๆ

กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับชีวิตประจําวันท่ีควรศึกษา ทั้งน้ีเพื่อเปนการรักษา
ผลประโยชนที่เราพึงมี หรือเปนการปองกันไมใหปฏิบัติตนผิดกฎหมาย โดยรูเทาไมถึงการณ
กฎหมายทส่ี ําคัญ มดี ังตอไปน้ี

9.1 กฎหมายประกันสงั คม
กฎหมายประกันสังคม เปนกฎหมายที่ใหหลักประกันแกบุคคลในสังคมที่มี

ปญ หา หรือความเดือดรอนทางดานการเงิน เน่ืองจากการประสบเคราะห หรือมีเหตุการณอัน
ทาํ ใหเกิดปญหา

ขอบเขตการบงั คบั ใชก ฎหมายประกนั สงั คม
ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ใชบังคับอยูในปจจุบัน
ไดกําหนดให สถานประกอบกิจการที่มีลูกจางรวมกันตั้งแต 10 คน ขึ้นไป และนายจางของ
สถานประกอบกิจการน้นั ตอ งอยูภายใตขอ บังคับของกฎหมายดงั กลา ว
ลูกจางซ่ึงมีฐานะเปนผูประกันตนก็คือ บุคคลท่ีสมัครเขาทํางานในสถาน
ประกอบกิจการ ที่มีลูกจางรวมกันตั้งแต 10 คน ข้ึนไป โดยกฎหมายประกันสังคมบังคับให
ลกู จางดังกลา วตองจายเงินสมทบเขากองทนุ ประกันสังคม ซึง่ นายจางจะเปนผูหักเงินคาจางทุก
ครั้งท่ีมีการจา ยคาจา งและนาํ สง เขากองทนุ ประกนั สังคม เปนเงนิ สมทบสวนของลกู จาง

*ปจจุบันกฎหมายเปดใหใชไดตั้งแตกิจการท่ีมีลูกจางต้ังแต 1 คน
ข้นึ ไปแลว แตเ จาของและลูกจา งสมัครใจ

ประโยชนท ดแทน
ประโยชนทดแทน หมายถึง ความชวยเหลือที่ใหแกผูประกันตนหรือ
ผูท่ีมีสิทธิเม่ือผูประกันตนประสบเคราะหภัยหรือเดือดรอน และปฏิบัติตามเง่ือนไข
ที่กฎหมายกําหนดแลว ซึ่งรูปแบบของประโยชนทดแทนมี 4 รูปแบบ คือ บริการ
ทางการแพทย เงินทดแทนการขาดรายได คาทําศพ เงินสงเคราะห

68

9.2 กฎหมายเกีย่ วกับยาเสพติด
กฎหมายเก่ียวกับยาเสพติดท่ีบังคับใชในปจจุบัน คือ พระราชบัญญัติ

ยาเสพติดใหโทษ พ.ศ. 2522
ความหมายของยาเสพติด
ยาเสพติดใหโ ทษ หมายถงึ สารเคมีหรือวตั ถชุ นดิ ใดๆ ซึง่ เมือ่ เสพเขาสรู างกาย

ไมวา จะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือดวยวิธีการใดแลวก็ตาม ทําใหเกิดผลตอรางกายและ
จติ ใจ เชน ตอ งการเสพในปริมาณท่เี พ่มิ ขนึ้ เลกิ เสพยาก สขุ ภาพท่ัวไปจะทรดุ โทรมและบางราย
ถึงแกชวี ิต

ประเภทของยาเสพตดิ
ยาเสพตดิ ใหโทษ แบง ได 5 ประเภท คอื

ประเภท 1 ยาเสพตดิ ใหโทษชนดิ รายแรง เชน เฮโรอีน
ประเภท 2 ยาเสพติดใหโ ทษท่ัวไป เชน มอรฟน โคเคนปน
ประเภท 3 ยาเสพติดใหโทษท่ีมีลักษณะเปนตํารับยาและยาเสพติดให
โทษ ประเภท 2 ผสมอยูดวย ตามหลกั เกณฑทีร่ ัฐมนตรปี ระกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประเภท 4 สารเคมีท่ีใชในการผลิตยาเสพติดใหโทษประเภท 1 หรือ
ประเภท 2 เชน อาเซติกแอนไฮโดรดอาเซตลิ คลอไรด
ประเภท 5 ยาเสพติดใหโทษท่ีไมไดเขาอยูในประเภท 1 ถึง ประเภท 4
เชน กัญชา พืชกระทอม
ความผิดเก่ียวกบั ยาเสพตดิ ใหโ ทษทผี่ ิดกฎหมาย
ยาเสพตดิ ประเภท 1 มคี วามผิด ดงั นี้
- ฐานผลติ นําเขา สงออกเพอ่ื การจาํ หนา ย ตองระวางโทษประหาร
ชีวติ
- ฐานจาํ หนา ยหรอื มีไวในครอบครองเพือ่ การจําหนายเปนสารบรสิ ทุ ธิ์
ไมเ กนิ 100 กรัม ตองระวางโทษจําคุก 5 ป ถึงตลอดชีวิต และปรับต้ังแต 50,000 - 500,000
บาท ถาเกนิ 100 กรัม ตองระวางโทษจําคกุ ตลอดชวี ิตหรือประหารชีวติ
- ถามีไวในครอบครองไมถึง 20 กรัม ตองระวางโทษจําคุกตั้งแต
1 – 10 ป และ ปรบั 10,000 - 100,000 บาท
- ถา มีไวเสพตอ งระวางโทษจาํ คุก ตัง้ แต 6 เดือน ถงึ 10 ป และปรับต้ังแต
5,000 - 100,000 บาท

69

ยาเสพติด ประเภท 2 มีไวในครอบครองโดยไมไดรับอนุญาตตอง
ระวางโทษ จาํ คกุ ต้งั แต 1-10 ป และปรบั ตัง้ แต 10,000 - 100,000 บาท

ยาเสพติดประเภท 3 มีลักษณะเปนตํารับยา จึงอาจมีการขออนุญาตผลิต
จําหนาย หรือนําเขา หรอื สง ออกได

ยาเสพตดิ ประเภท 4 และ 5 นัน้ อาจผลิต จําหนาย นําเขา สงออก หรือมีไว
ในครอบครองไดโดยรัฐมนตรีเปนผูอนุญาต โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
เปนราย ๆ ไป

หามเสพยาเสพติดใหโทษประเภท 5 โดยเด็ดขาด หากฝาฝนจะตองระวาง
โทษจาํ คกุ ไมเกิน 1 ป และปรับไมเ กิน 10,000 บาท

9.3 กฎหมายคมุ ครองแรงงาน กฎหมายวา ดว ยการคมุ ครองแรงงานของประเทศ
ไท ย ป จ จุบั น น้ี คื อ พ ร ะ ร า ชบั ญ ญั ติ คุ มค ร อ ง แร ง ง า น พ . ศ . 25 4 1 ซึ่ งถื อ ไ ด ว า
เปนแมบทในการคุมครองแรงงาน บุคคลที่ไดรับการคุมครอง จากกฎหมายฉบับน้ี คือ
“ลูกจาง” ซ่ึงหมายความถึงผูซึ่งตกลงทํางานใหนายจางโดยรับคาจาง สาระสําคัญของ
พระราชบญั ญตั ิคมุ ครองแรงงาน ประกอบดว ย

1. การคมุ ครองกาํ หนดเวลาในการทํางาน
2. สิทธขิ องลูกจา งในการพักผอนระหวางทํางาน
3. สิทธิของลูกจา งในการมวี นั หยุด
4. สทิ ธกิ ารลาของลูกจาง
5. สทิ ธไิ ดร บั เงนิ ทดแทนการคุมครองการใชแรงงานหญงิ
6. การคุมครองการใชแรงงานเด็ก
9.4 กฎหมายวาดว ยสิทธิเดก็ และสตรี
ตามพระราชบัญญัติคมุ ครองเดก็ พ.ศ. 2546 กาํ หนดใหเด็ก หมายถึง บุคคล
ซึ่งมีอายุต่าํ กวา 18 ปบริบูรณ ไมร วมผทู บี่ รรลุนิติภาวะโดยการสมรส
สิทธิเด็ก หมายถึง สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของเด็ก ที่ไดรับการ
คมุ ครองตามกฎหมาย เชน สิทธิในการไดรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ป สิทธิในการไดรับการ
คุม ครองจากการใชความรนุ แรงของผใู หญ เปน ตน
กฎหมายทีเ่ กี่ยวของกบั การคุมครองเดก็
1. รัฐธรรมนูญ แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การพิทักษ
คมุ ครอง เดก็ ท้งั เด็กปกติ เด็กพิการ ทพุ พลภาพ และเดก็ ดอยโอกาส

70

2. พระราชบญั ญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 กําหนดใหรฐั จดั การศึกษา
ใหเด็ก มสี ทิ ธิ เสมอกนั ในการรับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานไมนอ ยกวา 12 ป

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 กําหนดใหเด็ก
ตอ งเขา รบั การศึกษาภาคบังคบั 9 ป

4. พระราชบัญญัติคุมครองเด็ก พ.ศ. 2546 กฎหมายที่คุมครอง
สวสั ดภิ าพและสง เสริมความประพฤตทิ ี่ดงี านของเดก็

5. กฎหมายแรงงาน มีขอ กําหนดหา มใชแรงงานเดก็
6. ประมวลกฎหมายอาญา กาํ หนดบทลงโทษหนกั แกผทู ่ีละเมดิ สิทธเิ ด็ก
7. ระเบยี บกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการลงโทษนักเรียน กําหนดไมใหครู
ลงโทษนกั เรยี นดวยการเฆี่ยนตี ซ่ึงถือเปนการละเมิดสิทธเิ ด็ก
กฎหมายเกี่ยวกับความผดิ ของเด็กทางอาญา
การกระทําผิดทางอาญา หมายถึง การกระทําใดๆ ที่กระทําลงไปแลว
มคี วามผิด โทษทางอาญามี 5 สถาน ดังนี้
1. รบิ ทรัพยสนิ
2. ปรบั
3. กักขงั
4. จาํ คกุ
5. ประหารชวี ติ
โทษการกระทาํ ความผดิ ทางอาญาของเด็ก
1. เด็กอายุไมเ กิน 7 ป กระทําผิดไมต อ งรบั โทษ
2. เด็กอายุ 7-14 ป กระทําผิดไมตองรับโทษ แตศาลมีอํานาจวากลาว
ตกั เตอื น
3. เด็กอายุ 14 -17 กระทําผิดถือวามีความผิด โดยกฎหมายใหสิทธิ
แกศาลทีจ่ ะพิจารณา ลงโทษหรอื ไม

71

กิจกรรมทา ยบทท่ี 3

กจิ กรรมที่ 1 ใหผเู รยี นเลอื กคําตอบท่ีถกู ตอ ง

1. ความหมายคาํ วา “ประชาธิปไตย” ตรงกบั ขอใด

ก. ประชาชนเปนใหญใ นประเทศ

ข. ระบอบการปกครองท่ีถือมตขิ องปวงชนเปน ใหญ

ค. การปกครองท่ียึดหลกั สิทธเิ สรภี าพ

ง. การปกครองทีม่ ี 3 อาํ นาจ

2. การปลกู ฝงประชาธิปไตย ตองเรม่ิ ตนที่ใดเปน แหงแรก

ก. ครอบครวั ข. โรงเรยี น

ค. ไปใชส ิทธิเลอื กต้ัง ง. การเลอื กตั้งผูใหญบ า น

3. หลักสาํ คญั ในการประชมุ รวมกนั คอื อะไร

ก. รกั ษาระเบียบ ข. มสี วนรวมในการจดั ประชมุ

ค. ยอมรับฟงความคิดเหน็ ผูอนื่ ง. เคารพกฎกตกิ า

4. สถานภาพการสมรสไดแกข อ ใด

ก. โสด ข. สมรส

ค. หมา ย ง. ถกู ทกุ ขอ

5. ขอตอไปนี้ขอใดหมายถึง “หนา ที่ของปวงชนชาวไทย”

ก. ชาวไทยมหี นา ทเ่ี กณฑทหาร เมอ่ื อายคุ รบ 20 ป

ข. หนา ท่เี ลือกตงั้ ผแู ทนราษฎร

ค. หนาทท่ี าํ นุบํารุงศาสนา

ง. หนา ทร่ี ักษาสถาบันทกุ สถาบนั

6. เมอื่ มีคนตายเกดิ ขึน้ ในบาน ใหแ จงการตายภายในเวลาเทา ใด

ก. 24 ชั่วโมง ข. 2 วัน

ค. 3 วนั ง. 7 วัน

72

7. ผใู ดขาดคณุ สมบตั ิในการสมัครเลือกตั้งเปน สมาชิกสภาผแู ทนราษฎร
ก. นายแดงจบการศกึ ษาระดบั ปรญิ ญาตรี
ข. นายแดงไมไปเลือกตั้งทุกครั้ง
ค. นายเขยี วไปเลอื กต้ังทกุ ครงั้
ง. นายเขียวสงั กัดพรรคการเมอื ง

8. ขอใดเปนหนา ที่ ตามรฐั ธรรมนูญของพลเมืองไทย
ก. รับราชการครู
ข. การนับถอื ศาสนาพุทธ
ค. รับการศึกษาภาคบังคับ
ง. สมัครรบั เลอื กต้งั เปนสมาชิกผูแ ทนราษฎร

9. ขอใดเปนการปฏิบตั ิตนเปนพลเมอื งดตี ามวิถปี ระชาธิปไตยในครอบครัว
ก. เคารพกฎระเบยี บของทอ งถ่ิน
ข. เคารพกฎระเบยี บของครอบครวั
ค. มสี ว นรวมในการพฒั นาทอ งถ่นิ
ง. รวมกันวางแผนการทํางานเปน กลมุ

10. การขับขี่รถจักรยานยนต ใหป ลอดภยั ควรปฏิบัตอิ ยา งไร
ก. สวมเส้ือแจคเก็ต
ข. คาดเขม็ ขัดนริ ภัย
ค. ขบั รถตามใจตนเอง
ง. สวมหมวกกันน็อคขณะขับขี่

11. “ชาติชายเปน คนพิการ เมอื่ อายุครบสิบแปดป เขาสามารถไปใชสิทธิเลือกต้ังได” ขอความ
นี้สอดคลองกบั เรอื่ งใด

ก. ศกั ดศ์ิ รคี วามเปนมนษุ ย
ข. ความเสมอภาค
ค. สทิ ธิ หนาท่ี
ง. เสรภี าพ

73

12. ถา เห็นสญั ญลกั ษณไ ฟกระพริบสเี หลอื ง ใหรถทุกคันปฏบิ ัตอิ ยางไร

ก.ว่ิงตอ ไป ข. เตรยี มหยุด

ค. รบี ว่ิงใหผ า นไป ง. ลดความเร็วลง

13. ขอ ใดเปนหนา ท่ตี ามรฐั ธรรมนญู ของชายไทย

ก. ตอ งแตง งาน

ข. ตอ งอปุ สมบท

ค. รบั การเกณฑท หาร

ง. ตองทาํ งานรับราชการ

14. กรณที ตี่ อ งเขาไปคน สถานที่ท่ีสงสยั วามีการละเมิดสิทธิเดก็ เจาหนาที่ควรปฏิบัตอิ ยางไร

ก. นาํ แพทยไ ปดวย

ข. ไปพรอ มกับนกั จิตวิทยา

ค. ขอใหศาลออกหมายคน

ง. ไมตอ งขอหมายคน จากศาล

15. การปฏิบัติของผูปกครองในขอใด เปนการขัดขวางการพัฒนาความเจริญเติบโต

ของเดก็

ก. หา มวิง่ เลน

ข. หามคบเพอื่ นเกเร

ค. หามนอนดึก

ง. หา มเทยี่ วกลางคืน

74

กิจกรรมที่ 2
จงอธบิ ายมาพอเขา ใจ
1.ประชาธปิ ไตยหมายถงึ
……………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………….

2. การเปนพลเมอื งดตี ามวิถีประชาธปิ ไตย มีอะไรบา ง (ตอบอยา งนอ ย 3 ประเด็น)
……………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………..
3. ระบอบประชาธิปไตย มกี ารปกครองกรี่ ูปแบบ อะไรบา ง
……………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………….
4. การจดทะเบยี นหยา ทที่ าํ ใหมผี ลสมบูรณ ตองดําเนนิ การอยา งไร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
5. หากผกู ระทําผิด โดยการครอบครองยาเสพติด ไมถ งึ 20 กรัม จะตองไดรบั โทษสถานใด
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………….

75

กจิ กรรมท่ี 3
จงกาเคร่ืองหมาย  ในขอ ท่ถี กู และกาเคร่ืองหมาย X ในขอทผ่ี ดิ
…………… 1. สถานภาพของบคุ คล เปนรากฐานท่ีสาํ คัญในการปกครองตามระบอบ
ประชาธิปไตย
…………… 2. หนา ที่ของชายไทยประการหนึง่ ในระบอบประชาธปิ ไตย ไดแ ก การเขารับ
การคดั เลือกทหารกองประจําการ
…………… 3. ทุกคนทีม่ ีรายได จะตอ งมีหนา ท่ใี นการเสียภาษีตามท่กี ฎหมายกาํ หนดไว
…………… 4. การเปน สมาชิกท่ดี ขี องครอบครวั ชมุ ชน ถือเปนการปฏิบัติตนเปน พลเมืองดี
ตามวิถีประชาธิปไตย
…………… 5. สอดสอ งดแู ลการบรหิ ารงานของนายอําเภอ ไมใชหนา ทขี่ องบคุ คลที่อยใู น
อําเภอนั้น
…………… 6. สํานักงาน ป.ป.ช. มีบทบาทในการสรางความสัมพันธใหแกประชาชน
เพอ่ื รวมกันตอตานการคอรรัปช่นั
…………… 7. กฎหมายแพงและพาณิชย มีบทลงโทษตามประมวลกฎหมาย 5 สถาน
คือประหารชวี ิต จาํ คุก กักขงั ปรบั รบิ ทรัพยส ิน
…………… 8. การท่พี อ แมไมไ ดจ ดทะเบยี นสมรสกนั บุตรท่ีเกิดข้ึนมาจงึ ตอ งไปทําการตกลง
กันทีส่ ํานกั ทะเบยี นวา เปน บุตรของฝายใด
…………… 9. กฎหมายวาดว ยการคมุ ครองผูบริโภค ครอบคลมุ การคุม ครองผเู ชาตกึ แถว
เพื่อทาํ เปนสาํ นกั งานประกันภยั
…………… 10. สถานประกอบการทีม่ ลี ูกจางรวมกนั ต้งั แต 10 คน ขน้ึ ไป จะตองอยภู ายใต
ขอ บังคับของพระราชบัญญัตปิ ระกนั สังคม พ.ศ. 2533

76

เฉลยกิจกรรมทา ยบทที่ 1

กจิ กรรมที่ 1

1. ง. 2. ค. 3. ก. 4. ข. 5. ข.

6. ก. 7. ข. 8. ข. 9. ข. 10. ง

กิจกรรมท่ี 2

1. ตอบ องคประกอบของศาสนามี 5 องค ประกอบ ไดแก ศาสดา คัมภีร สาวก
ศาสนสถาน และสญั ลกั ษณ

2. ตอบ ศาสดาของศาสนา คอื ผกู อตง้ั ศาสนา เปนผูที่คิดคนหลักธรรมคําส่ังสอน โดยศาสนา
พทุ ธมีพระพุทธเจาเปน ศาสดา ศาสนาคริสตมพี ระเยซเู ปน ศาสดา และศาสนาอสิ ลามมพี ระมูฮัม
หมัดเปนศาสดา

3. ตอบ หลกั ธรรมท่ีทําใหร อดพนจากความทุกขสูนิพาน คือ อริยสัจ 4 ซ่ึงถือเปนหลักธรรม
คําสอนทค่ี ลมุ หลกั ธรรมทงั้ หมดของพระพุทธศาสนา เปนหลกั ธรรมทเ่ี ปนหลกั ความจรงิ แหงชาติ
ไดแก ทุกข สมุทัย นิโรธ มรรค

4. ตอบ หลักธรรมสําหรับผูบริหารบานเมืองท่ีจําเปนตองมี คือ พรหมวิหาร 4 เนื่องจากเปน
หลักธรรมที่ปรารถนาใหผูอ่ืนเปนสุข มีความเอื้ออาทร ตองการใหผูอื่นพนจากทุกข
ซึ่งหลกั ธรรมน้ี ไดแ ก เมตตา กรณุ า มุทติ า อเุ บกขา

5. ตอบ หลักธรรมที่ใชเปนเคร่ืองยึดเหนี่ยวจิตใจคนและสามารถใชแกปญหาความแตกแยก
ของบุคคล สังคม และชุมชน ก็คือ หลักธรรมของศาสนาทุกศาสนา เพราะสาระหลักของทุก
ศาสนา สอนใหคนเปนคนดี ทําแตค วามดี ละเวนความช่ัว หากทุกคนยึดเหน่ียวและปฏิบัติตาม
ศาสนาทตี่ นนับถอื แลวก็จะเกิดความสงบสุขของคนในสงั คม

77

เฉลยกิจกรรมทา ยบทท่ี 2

กิจกรรมท่ี 1 3. ค. 4. ง. 5. ข.

1. ง. 2. ข. 8. ข. 9.ข. 10. ง.
6. ก. 7. ข.

กจิ กรรมที่ 2

1. ค. วฒั นธรรม
2. ก. ขนบธรรมเนยี ม
3. ฌ. จงั หวัดเลย
4. จ. จังหวดั อุบลราชธานี
5. ซ. จงั หวดั นครศรีธรรมราช
6. ญ. บานทรงไทยหลงั คาจวั่ สงู
7. ฉ. บานทรงไทยหลงั คาประดบั กาแล
8. ง. ขาวยําน้าํ บดู ู
9. ช. จงั หวัดนครศรธี รรมราช
10. ฒ. ลงแขกเกี่ยวขา ว

78

เฉลยกิจกรรมทายบทที่ 3

กิจกรรมที่ 1
1. ข 2. ก 3. ค 4. ง 5. ก
6. ก 7. ง 8. ค 9. ข 10. ง.
11. ค 12. ข 13. ค 14. ง 15. ก

กิจกรรมท่ี 2 จงอธิบายมาพอเขา ใจ

1. ตอบ การท่ีประชาชนมีสวนรวมในการกําหนดนโยบายปกครองของประเทศโดยผาน
ผูแ ทนทปี่ ระชาชนเลอื กเขาไป โดยคํานงึ ถึงผลประโยชนของประชาชนสวนรวมเปน หลกั

2. ตอบ 1. สังคมและประเทศพฒั นาอยา งมนั่ คง
2. มคี วามรกั สามคั คใี นหมูคณะ
3. สงั คมมรี ะเบยี บ สงบเรยี บรอย
4. ทกุ คนมสี ทิ ธิ หนาที่ เสรีภาพ จากกฎหมายท่เี ทา เทียมกนั
5. ทกุ คนมีความเอ้ือเฟอ เผื่อแผ มีน้าํ ใจตอ กัน

3. ตอบ มี 2 รปู แบบ คอื
1 .ระบอบประชาธิปไตยแบบมพี ระมหากษัตริยเปนประมขุ
2. ระบอบประชาธปิ ไตยแบบมปี ระธานาธิบดเี ปน ประมุข

4. ตอบ การทาํ ใหการหยา มีผลสมบรู ณ ทําได 2 วิธี ดงั นี้
1. การหยาโดยความยนิ ยอมของ 2 ฝา ย โดยไปจดทะเบียนที่สาํ นกั ทะเบยี น
2. การหยาโดยคําพิพากษาของศาล โดยย่ืนคําพิพากษาแกนายทะเบียน และนาย

ทะเบียนที่จะบันทกึ ไว

5. ตอบ ตองระวางโทษจาํ คุกต้ังแต 1-10 ป และปรับ 10,000 – 100,000 บาท

79

กจิ กรรมที่ 3 จงกาเครอื่ งหมาย  ในขอ ท่ถี กู และกาเคร่อื งหมาย X ในขอท่ผี ิด

1 ……… X …… 2.……………

3.…………… 4.……………

5.……… X …… 6.……………

7……… X …… 8……… X ……

9…………… 10……………

80

บรรณานุกรม

การทจุ รติ คืออะไร, เขา ถึง www.oknation.net วันที่ 19 มีนาคม 2556.
การศึกษาทางไกล, สถาบนั . ชดุ การเรยี นทางไกล หมวดวิชาพฒั นาสงั คมและชุมชน

ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย. องคก ารรบั สงสนิ คา และพสั ดุภัณฑ (ร.ส.พ.) :
กรงุ เทพฯ,2548.
การศกึ ษานอกโรงเรยี น,กรม ชุดการเตรยี มการทางไกล ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนตน
หมวดวชิ าพัฒนาสังคมและชมุ ชน.คุรุสภาลาดพรา ว,กรงุ เทพฯ : 2546.
การศึกษานอกโรงเรยี น,กรม. หมวดวิชาพัฒนาสงั คมและชมุ ชน ชุดการเรียนทางไกล
ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พค ุรสุ ภาลาดพรา ว, 2546
คณะกรรมการปอ งกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาต(ิ ป.ป.ช.),สาํ นกั งาน.โครงการ
เสริมสรางเครอื ขายประชาชนในการพทิ ักษส าธารณสมบตั ิ. 2553.
(เอกสาร อัดสาํ เนา)
คณะกรรมการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ แหง ชาติ(ป.ป.ช.),สํานักงาน. รวมพลังเดินหนา
ฝา วกิ ฤตคอรร ปั ช่นั . เอกสารประชาสมั พันธ มปป.
คณะกรรมการปอ งกันและปราบปรามการทุจรติ แหง ชาติ(ป.ป.ช.),สาํ นักงาน.สาํ นกั กฎหมาย
กรอบเน้ือหาสาระ เรือ่ ง การมสี วนรว มของประชาชนในการปอ งกันและปราบปรามการ
ทจุ ริต, 2556. เอกสารอัดสําเนา
คณะกรรมการปอ งกันและปราบปรามการทจุ ริตแหง ชาต(ิ ป.ป.ช.),สาํ นักงาน.สาํ นักกฎหมาย
“ยุทธศาสตรช าตวิ า ดวยการปองกันและปราบปรามการทุจริต”. ม.ป.ป.
คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ(ป.ป.ช.), สํานักงาน.สํานักกฎหมาย
รวมกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ท่ีเก่ียวของกับการปองกันและปราบปรามการทุจริต.
2555.
คณะอาจารย กศน. พัฒนาสังคมและชมุ ชน. คมู ือการเรยี นรรู ะดบั ประถมศกึ ษา.
กรุงเทพฯ : บริษัทไผมเิ ดีย เซน็ เตอร จาํ กัด, 2548
ความเคลือ่ นไหวทางการจดั การศึกษาของ ศธ.กับ คสช. ทีน่ ารู. [เว็ปไซต] เขา ถงึ ไดจ าก
http://jukravuth.blogspot.com/ . สืบคน เมื่อ วันท่ี 26 สงิ หาคม 2557.

81

คา นยิ ม 12 ขอ :เราจะสรา งสรรคประเทศไทยใหเ ขม แข็งคนตองเขมแข็งกอน.[เวป็ ไซต]
เขาถึงไดจ าhttp://www.mof.or.th/web/uploads/news/199_12values.pdf
สืบคนเมอ่ื วนั ที่ 26 สงิ หาคม 2557.

จกั ราวธุ คาทวี. สันติ/สามัคค/ี ปรองดอง/คา นยิ ม 12 ประการของ คสช. : เนอื้ หาชว ย
สอนและจัดกิจกรรม เพอ่ื นคร,ู ม.ป.ท. 2557. (เอกสารอัดสาเนา).

ฐานพร มว งมณี. หนงั สอื เรยี นสาระ การพฒั นาสังคม วิชาศาสนาและหนาทพ่ี ลเมอื ง
ระดบั ประถมศึกษา.กรุงเทพฯ : บริษทั หนอนหนงั สอื สตารเ นต็ เวริ ค จาํ กัด, 2554.

ถนอม พันธุมณ.ี หนงั สอื เรียนสาระการพัฒนาสังคม รายวชิ าศาสนาและหนา ทีพ่ ลเมือง
ระดบั ประถมศกึ ษา ฉบับปรับปรงุ 2554 . กรุงเทพ : บรษิ ทั บานไอที จาํ กัด,
ม.ป.ป.

เผด็จ เอมวงศ และจุฑามาศ ลบแยม. กฎหมายในชีวิตประจําวัน : ตนเอง ครอบครัว
ชุมชน และประเทศชาติ. กรุงเทพ : สํานกั พิมพ เอมพันธ จาํ กัด, 2551.

มหามกุฎราชวิทยาลยั ในพระบรมราชูปถัมภ. พระสตู รและอรรถกถาแปลอุทกนิยาม
ชาดก เลม ที่ 3. โรงพิมพม หามกฎุ ราชวทิ ยาลยั , กรงุ เทพฯ : 2534.

ราชบณั ฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลมิ พระเกยี รติ
พระบาทสมเดจ็ พระเจาอยหู วั เนอื่ งในโอกาสพระราชพิธมี หามงคลเฉลมิ พระ
ชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธนั วาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบณั ฑติ ยสถาน, 2556.

เลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา, สํานักงาน. คณุ ธรรมนาํ ความรู. สํานกั งานเลขาธกิ ารสภา
การศึกษา, กรงุ เทพฯ : 2550.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. สาํ นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. ชดุ วิชาพฒั นาสังคมและ
ชมุ ชน ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย. เอกพมิ พจํากดั : กรุงเทพฯ,ม.ป.ป.

ศกึ ษาธกิ าร,กระทรวง. หลักการทรงงานในพระบาทสมเดจ็ พระเจาอยูห ัว. สาํ นักงาน
คณะกรรมการพเิ ศษเพอ่ื ประสานงานโครงการอันเนอื่ งมาจากพระราชดาํ ริ
(สํานักงาน กปร.), กรุงเทพฯ : 2550.

สมโพธิ ผลเตม็ . ปรชั ญาคํากลอน 100 เรอื่ งแรก. สทิ ธวิ รรณ , บรษิ ทั กรงุ เทพฯ : 2549.
สันติ/สามัคค/ี ปรองดอง/คา นิยม 12 ประการ ของ คสช. : เน้ือหาชวยสอน และจัด

กจิ กรรมเพอื่ นครู.[เวป็ ไซต].เขา ถงึ ไดจ าก :http://www.slideshare.net
/jukravuth. สืบคน เม่อื วันที่ 26 สิงหาคม 2557

82

สทุ ธธิ รรม เลขวิวัฒน. หมวดวชิ าพฒั นาสงั คมและชุมชน ระดบั ประถมศกึ ษา
การศกึ ษานอกโรงเรียน. กรงุ เทพฯ : บริษัท สามเจริญพาณิชย จาํ กดั , 2548

http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.tumsrivichai.com

83

คณะผูจัดทาํ

ทปี่ รกึ ษา

นายสุรพงษ จําจด เลขาธกิ าร กศน.
นายประเสริฐ หอมดี รองเลขาธกิ าร กศน.
นางตรีนุช สขุ สุเดช ผอู าํ นวยการกลมุ พัฒนาการศึกษานอกระบบ
และการศกึ ษาตามอธั ยาศัย
นายวมิ ล ชาญชนบท ผูอํานวยการ สถาบัน กศน. ภาคกลาง
ด.ต.ชาติวฒุ ิ เพช็ รนอ ย รองผอู าํ นวยการ สถาบนั กศน. ภาคกลาง

ผสู รปุ เนือ้ หา
นางสมหทยั ประสมศรี ผอู ํานวยการ กศน. อาํ เภอบานลาด จังหวัดเพชรบรุ ี
นางสาวบษุ รา ทศั นา ครู กศน. อาํ เภอบานลาด จังหวดั เพชรบุรี
นางสาวสทุ ธิยา แสงคาํ ครู กศน. อําเภอบานลาด จังหวัดเพชรบุรี
นางสาวอรุณโรจน ทองงาม ครู สถาบนั กศน.ภาคกลาง จังหวดั ราชบรุ ี
นายสรุ พิชญ โพธวิ หิ ค เจา หนา ท่ี สถาบนั กศน.ภาคกลาง จงั หวัดราชบรุ ี

ผตู รวจและบรรณาธกิ าร

นางสาวดารตั น กาญจนาภา ผอู ํานวยการสํานกั งาน กศน.จงั หวัดราชบุรี

นายสันติ อิศรพันธุ ครู กศน.อําเภอโพธาราม จงั หวดั ราชบรุ ี

นางฟา หมน รัตนฉายา ครู กศน.อาํ เภอปากทอ จงั หวัดราชบุรี

นางสาวจติ รา ถันอาบ ครู กศน.อําเภอดาํ เนินสะดวก จังหวัดราชบรุ ี

นางสาวอัญชลี ภูวพานิช ครู กศน.อาํ เภอเมอื งราชบุรี จังหวดั ราชบุรี

ผพู ิมพต น ฉบับ

นางสาวอรณุ โรจน ทองงาม ครู สถาบนั กศน.ภาคกลาง จังหวัดราชบรุ ี
นายสรุ พิชญ โพธวิ หิ ค เจา หนาท่ี สถาบนั กศน.ภาคกลางจงั หวัดราชบุรี

ผอู อกแบบปก

นายศุภโชค ศรรี ัตนศลิ ป กลมุ พฒั นาการศึกษานอกระบบ
และการศกึ ษาตามอัธยาศัย

84


Click to View FlipBook Version