SOCIALMEDIA
เครื่องมือเเละอุปกรณ์ใ นก ารใช้งาน
SOCIALMEDIA
คอมพิวเตอร์ (Computer) คือ เครื่องคำนวณ
อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและ
เปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่าง
ต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความ
ของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่อง
อิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมอง
กล ใช้สำหรับแก้ปั ญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน
สมาร์ทโฟน (SmartPhone) คือ โทรศัพท์มือ
ถือที่นอกเหนือจากใช้โทรออก-รับสายแล้วยังมี
แอพพลิเคชั่นให้ใช้งานมากมาย สามารถรองรับ
การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน 3G, Wi-Fi และ
สามารถใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คและแอพพลิ
เคชั่นสนทนาชั้นนำ เช่น LINE, Youtube,
Facebook, Twitter ฯลฯ โดยที่ผู้ใช้สามารถ
ปรับแต่งลูกเล่นการใช้งานสมาร์ทโฟนให้ตรงกับ
ความต้องการได้มากกว่ามือถือธรรมดา ผู้ผลิต
สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ นิยมผลิตสมาร์ทโฟนที่
มีหน้าจอระบบสัมผัส
แท็บเล็ต (Tablet) คือ อุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอระบบสัมผัสขนาด
ใหญ่ มีขนาดหน้าจอตั้งแต่ 7 นิ้วขึ้นไป พก
พาได้สะดวก สามารถใช้งานหน้าจอผ่าน
การสัมผัสผ่านปลายนิ้วได้โดยตรง มีแอพ
พลิเคชั่นมากมายให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะรับ-ส่ง
อีเมล์, เล่นอินเทอร์เน็ต, ดูหนัง, ฟั งเพลง,
เล่นเกม หรือแม้กระทั่งใช้ทำงานเอกสาร
ออฟฟิต
อุปกรณ์เครือข่ายทาง
SOCIAL MEDIA
เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่อง
คอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัด
เก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากร
อื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือ
ข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็น
เซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง
และมีฮาร์ดดิสก์ความจำสูงกว่า
คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีก
อย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็น
คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ
บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัด
เก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็
คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์
ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือ
ข่าย
ฮับ (HUB) หรือ รีพีตเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์
ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่ง
เฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง
ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับ
จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย
เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้
อัตราการส่งข้อมูลลดลง
เนทเวิร์ค สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่
ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้
รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็น
ปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อม
ต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลา
เดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือ
แบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปั จจุบัน
นิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปั ญหา
การชนกันของข้อมูล
เราต์เตอร์ (Router) เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ใน
เลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของ
สถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ต
ข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์
เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้ง
เทเบิ้ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทาง
นอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ให้โพรโท
คอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) IPX
(Internet Package Exchange) และ
AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น
ได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์
ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่าง
ประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้
เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่
เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC)
เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภท
แมคอินทอช (MAC)
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อ
วงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถ
ขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่
ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจาก
การติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูก
ส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และ
เนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data
Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่าย
ที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้
เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น บริดจ์
มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อยๆ ในองค์กรเข้าด้วย
กันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือ
ข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ
ได้
กฎเกณฑ์การใ ช้งาน
SOCIAL MEDIA
1. ต้องรู้ถึงแนวนโยบายขององค์กร/หน่วยงาน ต่อการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อการ
พัฒนางาน
2. ต้องตระหนักในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียว่าสื่อดังกล่าวนี้จะเป็นสื่อที่มีรูปแบบและ
ลักษณะของระบบการทำงานแบบผสมผสาน ทั้งการประสานงาน และการสานคนใน
องค์กร
3. ต้องมีความชัดเจนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใน
ประเด็น หรือสาระที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย
4. คำนึงถึงอยู่เสมอว่าขั้นตอนการดำเนินงานจะทำอะไรก่อน-หลังในการใช้สื่อโซเชีย
ลมีเดียทุกครั้ง
5. คำนึงถึงหลักสำคัญของการให้เกียรติ ผู้ที่เป็นเจ้าของ
6. พึงใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างระมัดระวัง
7. ใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีมารยาทในการใช้
8. ผลิตเนื้อหาสาระ หรือสื่อ ให้ตรงกับสมรรถนะ ความรู้ ความสามารถของผู้ใช้
9. การเชื่อมโยง เพื่อการโต้ตอบระหว่างกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมระหว่างกัน
10.ต้องยอมรับในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และรีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาด
เหล่านั้น
ข้อดีเเละข้อจำกัดของ
SOCIAL MEDIA
ข้อดี
– สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
– เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดง
ความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้
บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ
– ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว
– เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิ
โอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น
– ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับ
บริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
– ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบ
ใหม่ๆ ขึ้น
– คลายเครียดได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ
– สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้
ข้อจำกัด
-การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของหน่วยงานราชการอาจมีข้อจํากัด เพราะหน่วยงานราชการ
จะต้อง
- กําหนดว่า หน่วยงานราชการจะต้องกําหนดบทบาทของตนว่าหน่วยงานของตนอยู่
ในตําแหน่งใดของ
- สังคมออนไลน์ โดยหากกําหนดระดับความเป็นทางการในการสื่อสารสื่อสังคมออนไลน์
ไว้สูง โอกาสที่จะ
- มีการเข้าถึงของผู้ใช้จะน้อยลง ด้วย แต่หากกําหนดระดับความเป็นทางการในการ
สื่อสารสื่อสังคม
- ออนไลน์ไว้ในระดับที่ต่ํา ความน่าเชื่อถือของหน่วยงานก็จะลดลงตามไปด้วย ในการนํา
สื่อสังคมออนไลน์
- ไปใช้ในหน่วยงานรัฐ จะต้องรักษาระดับระหว่างการใช้ประโยชน์ การให้ข้อมูล และ
ความเป็นกลาง
- ทางการเมือง ในกรณีที่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์กลายเป็นประเด็นร้อน บางครั้งจะ
ต้องอธิบาย หรือ
- แก้ไขความถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
การประยุกต์ใช้SOCIAL MEDIA
สำหรับการศึกษา
ปั จจุบัน Social Media เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะ
กับกลุ่มนักเรียนนักศึกษา มีการใช้ติดต่อสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย และยังมี
บทบาทกับระบบการศึกษาด้วย ผู้สอนจะสามารถประยุกต์ใช้ Social Media
กับการศึกษา นำมาเป็นช่องทางในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
และมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจาก
วิวัฒนาการของสื่อใหม่ หรือสื่อทางสังคมในปั จจุบัน ได้ก้าวรุดหน้าไปอย่าง
รวดเร็ว และเป็นที่นิยมในการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมทุกกลุ่ม ดัง
นั้นจึงได้มีการนำมาใช้ในวงการศึกษาเรียนรู้จากสื่อประเภทดังกล่าวนี้ ซึ่ง
เหตุผลบางประการสำคัญของการนำเอาสื่อสังคม หรือ Social Media มาใช้
ร่วมกันในหลักสูตร และการเรียนการสอนนั้นมีหลายประการ แต่มีเหตุผล 2
ประการสำคัญ
1. สื่อโซเชียลมีเดีย เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำให้ผู้เรียนมี
อิสระในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำเอาสื่อประเภทเหล่านี้เข้ามาใช้ใน
โรงเรียน จะสนองต่อจุดประสงค์สำคัญ และเป้าหมายที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
ได้
2. การนำเอาสื่อโซเชียลมีเดียมาใช้ในโรงเรียน ยังเป็นการจำกัดช่อง
ทาง และมีความเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ (ผู้เรียน) ที่จะสามารถพัฒนารูป
แบบการสื่อสารได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการสื่อสารจาการใช้เว็บไซต์
และยังเป็นระบบการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับต้นได้อีกด้วย
ปั ญหาการใช้SOCIALM EDIA
ในสังคมปั จจุบัน
- สื่อสังคมออนไลน์ อาจไม่เป็นกลาง สามารถที่จะก่อให้เกิดผลก
ระทบในวงกว้างทั้งด้านความคิด
- อารมณ์ ความรู้สึกของสมาชิก หรือผู้รับสื่อสังคมออนไลน์ ผลก
ระทบที่เกิดขึ้นอาจมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
- และไม่สามารถควบคุมได้ กรณีที่เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ผู้
สร้างข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข
- และสามารถกําหนดเงื่อนไข ความรับผิดชอบ การควบคุมเนื้อหา
สาระได้ ขณะที่การเผยแพร่ข้อมูลผ่าน
- สื่อสังคมออนไลน์ ผู้เผยแพร่ไม่สามารถเป็นผู้กําหนดขอบเขต
ความรับผิดชอบได้เอง แต่ผู้ให้บริการสื่อ
- สังคมออนไลน์จะเป็นผู้กําหนดขอบเขตความรับผิดชอบ ผู้ใช้ไม่
สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ ซึ่งมีทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็น
ทางการ