The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติความเป็นมาเมืองเพชรบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pattarawan Nogkaew , 2022-09-11 10:43:24

ประวัติความเป็นมาเมืองเพชรบุรี

ประวัติความเป็นมาเมืองเพชรบุรี

ประวตั ิความเป็นมา
เมืองเพชรบุรี

จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่เปรียบเสมือนประตูเดินทางสู่ภาคใต้อยู่ห่าง
จากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนตป์ ระมาณ 120 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีความสำคญั
และความรุ่งเรืองของศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังปรากฏให้
เห็นอยู่ตามวัดวาอาราม โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ที่เปรียบเสมือนเป็น
นครประวัติศาสตร์ และเมืองวัฒนธรรมที่เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่
ทรงคุณค่า อีกทั้งวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนเมืองเพชรที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
โดยเฉพาะในเรื่องของภูมิปัญญา ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่น ทำให้พื้นที่เขตเทศบาล
เมอื งเพชรบรุ ีเป็นแหล่งทอ่ งเที่ยวท่ีนกั ทอ่ งเที่ยว เข้ามาเท่ยี วชม พรอ้ มซื้อสนิ คา้ ประเภท
อาหารและขนมหวานรบั ประทานและเป็นของฝาก

-2-

“เทศบาล” เป็นรปู แบบการปกครองส่วนท้องถ่ินที่เก่าแกท่ ีส่ ดุ เกิดข้ึนใน
สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเองตาม
ระบอบประชาธิปไตย โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัด
สมุทรสาคร ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรในท้องถิ่น
ปกครองตนเองเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจได้เรียนรู้และทดลองการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตย พระองค์ทรงเห็นว่า “มันเป็นการดีแก่ประชาชนอย่างแท้จริงท่ี
เขาจะเริ่มต้นด้วยการควบคุมกิจการท้องถิ่น ก่อนที่พวกเขาพยายามที่ควบคุมกิจการ
ของรัฐโดยผ่านทางรัฐสภา” และในปี พ.ศ.2476 จึงมีการจัดตั้งเทศบาลตาม พ.ร.บ.
จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลหลายแห่ง จน
กระทั้งมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้ยกเลิกการปกครองท้องถ่ิน
รูปแบบสุขาภิบาลทั้งหมด ตาม พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล
พ.ศ.2542 ซึ่งแบ่งเทศบาลออกเป็น 3 ประเภท คือ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และ
เทศบาลตำบล

เขตเทศบาลเมอื งเพชรบุรี

เทศบาลเมืองเพชรบุรี จัด ตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจดั ตั้งเทศบาลเมือง
เพชรบุรี จังหวัดเพชรบรุ ี พุทธศักราช 2478 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พุทธศกั ราช 2478
โดยยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองเพชรบุรีเป็นเทศบาลเมืองเพชรบุรี ท้องถิ่นที่เป็นที่ต้ัง
ของศาลากลางจังหวัด โดยกำหนดเขตเทศบาลเมอื งเพชรบุรี ไว้ดงั นค้ี ือ

-3-

ดา้ นเหนือ
หลักเขตหมายเลขที่ 1 ตั้ง อยู่บนเส้นขนานและห่างจากฟากตะวันตกของ
ถนนราชดำเนินไปทิศตะวันตก 80 เมตร และอยูต่ รงที่เสน้ ขนานนี้ตัดกับเส้นที่ต่อตรงไป
จากฟากเหนอื ของถนนราชเสวก
จากหลักเขตหมายเลขที่ 1 ไปทางทิศตะวันออกเป็นเส้นตรงไปจดหลักเขต
หมายเลขที่ 2 ทม่ี มุ ตะวันออกเฉียงเหนอื ของบริเวณวดั น้อย
จาก หลักเขตท่ี 2 เปน็ เสน้ ตรงไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ จดหลักเขตหมายเลข
ท่ี 3 ซ่งึ อยูฟ่ ากเหนือของถนนไปตำบลบางจาน ตรงทตี่ ดั กบั ศนู ย์กลางทางรถไฟ

ด้านตะวนั ออก
จาก หลักเขตท่ี 3 ตามเสน้ ศนู ยก์ ลางทางรถไฟไปทศิ ใต้ จดหลกั เขตหมายเลข
ท่ี 4 ซ่งึ อยบู่ นเสน้ ศนู ย์กลางนแ้ี ละหา่ งจากฟากใตข้ องถนนราชดำริห์ไปทศิ ใต้ 80 เมตร

ด้านใต้
จาก หลักเขตที่ 4 เป็นเส้นขนานและห่างจากฟากใต้ของถนนราชดำริห์ ไป
ทางทิศใต้ 80 เมตร ไปทางทิศตะวันตก จดหลักเขตหมายเลขที่ 5 ซึ่งอยู่บนเส้นขนานน้ี
และห่างจากฟากตะวันตกของถนนราชดำเนนิ ไปทศิ ตะวนั ตก 80 เมตร

ดา้ นตะวนั ตก
จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นขนานและห่างจากฟากตะวันตกของถนนราช

ดำเนินไปทิศตะวนั ตก 80 เมตร ไปทางทิศเหนอื จดหลักเขตที่ 1
การเปลย่ี นแปลงเขตเทศบาลเมอื งเพชรบรุ ี

-4-

เทศบาลเมืองเพชรบุรี ไดม้ กี ารเปล่ียนแปลงเขตเทศบาลครงั้ แรกตามพระ
ราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล เมืองเพชรบุรี พ.ศ. 2491 เมื่อวันที่
4 มิถุนายน พ.ศ. 2491 โดยให้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ซึ่งได้กำหนด
ไว้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองเพชรบุรี พ.ศ. 2478
เสียใหม่ เปน็ ดังนี้

ด้านทศิ เหนอื

ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากตะวันตกของถนนไปเขาหลวง ตัดกับเส้น
ศูนย์กลางทางรถไฟเป็นเสน้ ตรงไปทางทิศตะวนั ออกเฉยี งใต้จดหลักเขต ที่ 2 ซึง่ ต้งั อยู่บน
เส้นที่ต่อเส้นฟากเหนือของถนน ราชเสวก เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
และตดั กบั เสน้ ต้ังไดฉ้ ากกับฟากตะวนั ตกของถนน ราชดำเนนิ ซึ่งมีระยะยาว 80 เมตร

จากหลักเขตที่ 2 หักเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดหลักเขตที่ 3
ซึง่ ตั้งอยทู่ ่ี มุมตะวันออกเฉยี งเหนอื ของบริเวณวัดนอ้ ย

จากหลักเขตที่ 3 หักเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดหลักเขตที่ 4
ซึ่งตงั้ อยู่ที่ ฟากเหนือของทางไปตำบลบางจาน ตดั กบั เสน้ ศนู ย์กลางทางรถไฟ

ด้านทิศตะวันออก
จากหลักเขตที่ 4 หักไปตามเส้นศูนย์กลางทางรถไฟไปทางทิศใต้จดหลักเขตท่ี
5 ซึ่งอยบู่ น เสน้ ศนู ยก์ ลางทางรถไฟ และห่างจากฟากใตข้ องถนนราชดำรหิ ์ 80 เมตร

ดา้ นทิศใต้
จากหลักเขตที่ 5 หักเป็นเส้นตรงขนานและห่างจากฟากใต้ของถนนราชดำริห์
80 เมตร ไปทางทิศตะวนั ตกจดหลักเขตที่ 6 ซ่งึ ต้ังอยทู่ ่รี มิ ฝ่ังตะวันตกของแม่น้ำเพชรบรุ ี

-5-

จากหลักเขตที่ 6 หักเลียบตามฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรีไปทางทิศ
ตะวันตกเฉียงใต้จดหลักเขต ท่ี 7 ซึง่ ตง้ั อย่รู ิมฝั่งแม่น้ำเพชรบรุ ี และหา่ งจากฟากตะวนั ตก
ของถนนราชดำเนิน 80 เมตร วดั เปน็ เสน้ ตง้ั ได้ฉากกบั ฟากตะวนั ตกของถนนนี้

ด้านทศิ ตะวันตก
จากหลักเขตที่ 7 หักเป็นเส้นตรงขนานและห่างจากฟากตะวันตกของถนนราช
ดำเนนิ 80 เมตร ไปทางทศิ เหนือจดหลักเขตที่ 8 ซึง่ ต้ังอยทู่ ่ีฟากใตข้ องถนนไปเขาบันไดอิฐ
จากหลักเขตที่ 8 หกั เป็นเสน้ ตรงเลียบฟากใตข้ องถนนไปเขาบันไดอิฐไปทางทิศ
ตะวันตกระยะ 648 เมตร จดหลักเขตที่ 9 ซงึ่ ตงั้ อยู่ที่ปากถนนเขา้ วัดถำ้ แกว้ ฟากตะวนั ตก
จากหลักเขตที่ 9 หักเลียบฝั่งตะวันตกของถนนไปวัดถ้ำแก้วจดหลักเขตที่ 10
ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากตะวนั ตกของถนนไปวัดถ้ำแกว้ ตดั กับฟากเหนอื ของทางสายที่ 19 (ทางไป
จังหวดั ราชบรุ )ี
จากหลักเขตท่ี10 หักเป็นเส้นตรงเลียบฟากเหนือของทางสายที่ 19 ไปทางทิศ
ตะวันออกระยะ 392 เมตร จดหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ทีฟ่ ากเหนือของทางสายที่ 19 ตัด
กับฟากตะวันตกของถนนไปเขาหลวง
จากหลักเขตที่ 11 หักเป็นเส้นตรงเลียบฟากตะวันตกของถนนไปเขาหลวงจน
จดหลกั เขตท่ี 1


Click to View FlipBook Version