เมื่อสิ้นแสงฉาน ฉบับหลวงพระบาง พระมหาชาติชาย ปญฺญาวชิโร ป.ธ.๙
เม ื่อส ิ ้ นแสงฉาน ฉบบ ั หลวงพระบาง พระมหาชาติชาย ปญฺญาวชิโร คณะสังคมศาสตร์ มจร บทน า แสงในนิยามของวิทยาศาสตร์ไม่มีวันสิ้นไป แสงเป็นนิรันดร์ แสงเป็นปัจจุบันอดีตและอนาคต ผู้เขียนไม่ได้ก าลังจะเล่าเรื่องของอิงเง่กับเจ้าจาแสงดอก แต่ในห้วงมโนก็ให้คิดนึกย้อนภาพกลับไปในอดีตอัน ไม่ไกลของเพื่อนบ้านเรือนเคียงไทย ที่เกิดเหตุการณ์พลิกประวัติศาสตร์ชาติทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภาพจ าอันนั้นล่องลอยมาเมื่อผู้เขียนได้เหยียบย ่าบาทาลงบนพื้นแผ่นดินลาว ท าให้ภาพ ประวัติศาสตร์ลอยมาอยู่ตรงหน้า จึงได้เกิดการเปรียบเทียบ ไล่เลียงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนที่นี่ที่ เวียงจันทน์และหลวงพระบางและห้วงแผ่นดินมรดกโลกทั้งหมด ถึงแม้จะไม่ใช่ลักษณะเดียวกันทั้งหมด แต่ก็ มีความใกล้เคียงกัน เนื่องจากทั้งเมียนมาร์และลาว ต่างก็ไม่มีสถาบันเจ้าผู้ปกครองอีกต่อไป แต่เป็นคณะ ปฏิวัติคณะหนึ่งที่ให้นิยามตัวเองว่าเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยหรือสหพันธรัฐประชาธิปไตยอะไรท านองนี้ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของเรื่องและภารกิจทางการศึกษามหาวิทยาลัยของผู้เขียนในครั้งนี้ วังเวียงคู่เวียงจันทน์
ผู้ที่จะเดินทางต่อไปพื้นที่ทางภาคเหนือจะต้องพาดผ่านประตูชัยที่เวียงจันทน์อันเป็นสัญญะแห่ง อ านาจปกครองเสียก่อน เวียงจันทน์มีสถานที่ทางประวัติศาสตร์มากมาย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสยามไทยและ รัฐอื่น ๆ ในอดีต โดยเฉพาะวัดศรีสะเกษและวัดพระแก้วมรกต ซึ่งถือว่ามีความละเอียดอ่อนทาง ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง การทหารและศิลปะ วัดศรีสะเกษเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดพระแสน เพราะ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจ านวนมากมายเป็นแสน จุดไฮไลท์อยู่ที่อุโบสถนั่นเอง และวัดแห่งนี้ทราบว่า เป็นฐานทัพของทหารสยามในอดีตเมื่อครั้งที่ท าสงครามกัน และทราบอีกว่าเป็นสถานที่แห่งเดียวที่ไม่ถูก ท าลายจากน ้ามือของทหารสยาม จริงเท็จประการใดผู้เขียนก็มิอาจตัดสินด้วยตัวเองได้ เหมือนสุภาษิตที่ว่าผู้ ชนะเขียนประวัติศาสตร์หากท่านใดต้องการดื่มด ่ากับศิลปะทั้งศิลปะทั่วไปและพุทธศิลปกรรม จะต้องไม่ พลาดที่จะแวะมาวัดนี้ ย้อนมาหาผู้เขียนในฐานะนักแสวงบุญที่มาด้วยภารกิจเฉพาะบางอย่างทางการศึกษา จึงจ าเป็นต้อง ขอให้ไกด์น าทางไปสู่สถานที่ที่มีความส าคัญทางการศึกษาของสงฆ์และฆราวาสบางส่วน นั่นก็คือวิทยาลัย สงฆ์องค์ตื้อ ที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และมีลูกศิษย์ของ มจร เป็นครูผู้สอนอยู่ที่นี่หลายท่านด้วยกัน วิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ในวัดองค์ตื้อมหาวิหารหรือวัดไชยภูมิหรือสีภูมิก็เรียก สิ่งส าคัญคือพระเจ้าองค์ตื้อศิลปะ
ล้านช้าง ที่เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองทั้งในอดีตและปัจจุบัน พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อท่านมีพี่น้องร่วมอุทรอีกสามองค์ คือ พระสุก พระใส และพระเสริม และวัดแห่งนี้ในอดีตก็เป็นที่ประทับของพระสังฆราชลาวเชื้อสายไทยด้วย คือพระมหาผ่อง และที่ขาดเสียมิได้ของนักเดินทางสายสโลว์ไลฟ์ ก็คือวังเวียง เมืองแห่งนี้ตั้งอยู่ในแขวงเวียงจันทน์นี่ แหละแต่เป็นเมืองสมัยใหม่ส าหรับสายกินสายดื่มสายปืนเขาและสายล่องน ้า เมืองแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองกุ้ย หลินแห่งเมืองลาวครับ สถานที่ท่องเที่ยวทั้งกลางวันและกลางคืนที่ส าคัญคือ สระน ้าสีฟ้าบลูลากูน (Blue Lagoon) ถ ้าปูค า สะพานส้ม (Orange Bridge) ถ ้าจัง (Jang Cave/Tham Chang) ล่องแม่น ้าซอง (Nam Song River) ขึ้นบอลลูนชมวิววังเวียง นั่งห่วงยางลอดถ ้าน ้า และสะพานน ้าเงินกับถ ้านางฟ้า ผู้เขียนพักอยู่ วังเวียงนี้แค่หนึ่งคืน เพราะจะต้องท าภารกิจต่อไป
รถไฟฟ้าความเร็วสูง คนไทยมักจะดูถูกคนลาวและประเทศลาวว่าล้าสมัยขาดความศิวิไลซ์ แต่ขอโทษครับลาวเขามี รถไฟฟ้าความเร็วสูงก่อนไทยเสียอีก พูดไปก็น่าข าครับ และเป็นครั้งแรกของผู้เขียนที่มีโอกาสได้นั่งรถไฟฟ้า ความเร็วสูงของจริง ไม่ใช่รถไฟฟ้าความเร็วสูงทิพย์เหมือนบางประเทศ มีสุภาษิตหนึ่งที่เขาบอกว่า “จะได้อะไรมา ก็ต้องเสียอะไรไป” ข้อนี้จริงครับ เพราะลาวได้รถไฟฟ้า ความเร็วสูงมาก็ต้องแลกด้วยการสูญเสียอิสรภาพบางอย่างทั้งเชิงพื้นที่และเศรษฐกิจ ข้อสังเกตก็คือ เมื่อ ผู้เขียนย่างเท้าเข้าสู่ลาว จะเห็นสัญญะหลาย ๆ อย่าง ที่บ่งบอกว่าเป็นฝีมือของคนจีน เช่น ระบบขนส่ง เครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากไทยเท่าไหร่ สถานีเริ่มต้นของรถไฟฟ้าความเร็วสูงคือเวียงจันทน์ไปสิ้นสุดที่หลวงพระบาง ซึ่งเป็นสถานที่หมุด หมายของพวกเราในการเดินทางครั้งนี้ รถไฟฟ้าความเร็วสูงจากที่ได้ลองนั่ง ก็ถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ล ้าสมัยของจีน จากเมื่อก่อนจะ เดินทางไปหลวงพระบางทางบกหรือทางน ้า จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งวัน แต่นั่งรถไฟฟ้าใช้เวลาแค่ 1 – 2 ชั่วโมง แค่นั้นเอง บนรถไฟฟ้าก็มีสิ่งอ านวยความสะดวกสบายมากมายทั้งอาหารการกินและอื่น ๆ รถไฟฟ้าจะวิ่งตรงลอดอุโมงค์ไปจนถึงหลวงพระบางเลย ด้วยเทคโนโลยีการขุดเจาะภูเขาทั้งลูก ไม่ต้องวิ่ง อ้อมภูเขาให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย นี่คือเอกลักษณ์ทางเทคโนโลยีของจีน ซึ่งอาจจะแตกต่างจากตะวันตกที่ เน้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แม่น ้าล าคลองและหมู่สัตว์ แต่ก็เรื่องนานาจิตตังครับ
หลวงพระบางอนัศกัด์ิสิทธ์ิริมสองแม่น ้า เมื่อย่างเท้าลงบนพื้นแผ่นดินหลวงพระบาง เราจะสัมผัสได้ถึงรูปแบบและวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์เป็น ของตนเอง ทั้งเรื่องอาหารการกิน ผู้คน ศิลปะและวัฒนธรรม วิถีชีวิต หลวงพระบางมีสัญลักษณ์คือเจ้ามหาชีวิตและพระบาง ที่เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่อดีต แต่ ปัจจุบันเหลือแต่พระบางประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติใจกลางกรุงหลวงพระบาง แต่เป็นที่น่า เสียดายวันที่ผู้เขียนเดินทางไปเพื่อสักการะ กลับเป็นวันอนามัยเสียนี่ (ทุกวันพฤหัสบดีเป็นวันท าความ สะอาด) เนื่องจากว่าอีกไม่วันข้างหน้าจะเป็นวันปีใหม่ของหลวงพระบางและชาวลาวหลวงพระบางล้านช้าง คือวันสงกรานต์นั่นเองครับ เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ส าหรับชนชาติพันธุ์ไท-ลาวมาแต่อดีตนะครับ เนื่องจาก สถานที่แห่งนี้เคยเป็นฐานอ านาจของเจ้ามหาชีวิตล้านช้าง (ที่คู่กับล้านนาของไทย) ที่ปกครองทั้งฝั่งไทยและ ลาว ซึ่งเมื่อก่อนมิได้แยกเป็นประเทศหรือรัฐสมัยใหม่เหมือนปัจจุบันนี้ หลวงพระบาง (ลาว: ຫຼ ວງພຣະບາງ) เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว อยู่ ทางภาคเหนือของประเทศ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น ้าโขงและแม่น ้าคานซึ่งไหลมาบรรจบกัน บริเวณนั้นเรียกว่า ปากคาน เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้วย
หลวงพระบางเป็นเมืองเก่าแก่ เป็นราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรล้านช้าง สมัยแรกเริ่มสถาปนา อาณาจักรล้านช้าง แต่เดิมมีชื่อว่า "เมืองซวา" (ออกเสียงว่า ซัว) และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอซึ่งถือเป็นปฐม กษัตริย์ลาว ได้ทรงตั้งเมืองซวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น "เชียง ทอง" เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1916) เสด็จกลับจากกัมพูชา อันเนื่องจากพระองค์และพระ บิดาต้องเสด็จลี้ภัยเพราะถูกขับไล่จากกษัตริย์องค์ก่อน ซึ่งแท้จริงก็คือพระอัยกาของเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง เจ้าฟ้า งุ้มทรงรวบรวมก าลังขณะอยู่ในเมืองพระนคร หรือเมืองเสียมราฐ และน ากองทัพนับพันก าลังเพื่อกู้ราช บัลลังก์กลับคืน และสถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้นมาใหม่ และสถาปนาเมืองเชียงทองขึ้นเป็นราชธานีว่า กรุงศรีสัตนาคนหุตอุตตมราชธานี ต่อมาในรัชสมัยพระโพธิสารราชเจ้า พระองค์ได้ทรงอาราธนาพระบางซึ่ง
เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงค าขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวง เมืองเชียงทองจึงมี ชื่อเรียกว่า "หลวงพระบาง" นับแต่นั้นมา ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น "นครหลวงพระบาง" เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 และมีพิธีการประกาศ ยกฐานะอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา เมื่อแสงทองยังผ่องอ าไพ หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลกด้วยเหตุผลคือ มีวัดวาอารามเก่าแก่ มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น ้าโขงและแม่น ้าคาน ซึ่งไหลบรรจบกัน ท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียม ประเพณีอันงดงาม ในขณะที่แหล่งมรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจ าเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วัดล่องคูณอันถูกลืมเลือน วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ ณ ตรงปากน ้าคานและน ้าโขงบรรจบกัน ณ อีกฟากฝั่งหนึ่งของพระนคร ผู้อ่าน อาจจะแปลกใจว่าท าไมผู้เขียนจึงกล่าวถึงวัดแห่งนี้ ทั้งที่วัดในพระนครหลวงพระบางมีตั้งเยอะแยะ แท้ที่จริงวัดแห่งนี้มีความส าคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งทางศาสนา วัฒนธรรมและการเมืองการปกครองของ ลาว ด้วยเหตุที่วัดแห่งเป็นสถานที่ทรงผนวชของกษัตริย์ลาวทุกพระองค์ โดยเฉพาะกษัตริย์ที่จะครองหลวง พระบาง จะต้องออกผนวชอย่างน้อย 7 วัน ก่อนขึ้นครองราชย์ อย่างเช่นพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา พระเจ้าศรี สว่างวงศ์ ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสกุฏิดังกล่าวด้วย ด้วยความกรุณาของสาธุใหญ่สมบัติ ที่มีหน้าที่ใน การดูแลปฏิสังขรณ์อารามแห่งนี้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ วัดแห่งนี้ยังเป็นที่สมเด็จพระสังฆราชลาวพระองค์สุดท้าย ก่อนที่ลาวจะเปลี่ยนแปลงการ ปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อ พ.ศ.2518 เคยผนวชและจ า พรรษาอยู่หลายพรรษา เล่าว่าน่าจะ 32 พรรษาโดยประมาณ อันได้แก่ สมเด็จยอดแก้วพุทธชิโนรส (บุญทัน ธฺมมญาโณ) ที่ต่อมาได้เสด็จลี้ภัยมาประเทศไทยและ อาพาธด้วยโรคชราหลังจากเข้าประทับรักษาที่โรงพยาบาลสงฆ์ระยะหนึ่งก็สิ้นพระชนม์เมื่อเดือนมิถุนายน 2524 นับได้ว่าวัดล่องคูนแห่งนี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเทศไทยเราทั้งในอดีตอันยาวนานกว่าร้อย ปีและในอดีตเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว
ส าหรับความสัมพันธ์ในอดีตอันยาวไกลนั้น มีเรื่องเล่าว่า วัดนี้ได้รับการบูรณะโดยกองก าลังทหาร ไทย ของ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ที่ยกทัพมาปราบฮ่อ ในบริเวณนี้พบว่าเป็นวัดร้างอยู่จึงช่วยปรับปรุงให้ งดงามขึ้น บรรดาจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ หรือ “สิม” หลังเล็กๆ จึงออกมาในลักษณะที่คล้ายๆ จิตรกรรมฝาผนังไทย และเรื่องราวในภาพวาดก็เป็นเรื่องทางพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติ และชาดก ทศ ชาติ อันประกอบด้วยภาพพระมหาชนก ภาพพระเตมีย์ ภาพพระเวสสันดร ภาพสุวรรณสามชาดก ฯลฯ เมื่อตรวจสอบประวัติศาสตร์ย้อนหลังก็พบว่า เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ในฐานะผู้บัญชาการกรม ทหารบกในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ควบคุมกองทัพไทยมาปราบกบฏฮ่อที่ลาว เมื่อ พ.ศ.2428 หรือ 138 ปีที่ แล้ว ข้อสันนิษฐานเรื่องภาพวาดต่าง ๆ ที่ว่าอาจเป็นฝีมือทหารไทย หรือน าจิตรกรจากประเทศไทยไป วาดที่พระอุโบสถแห่งนี้หรือไม่ คงต้องหาหลักฐานและค้นคว้ากันต่อไป ส่วนความสัมพันธ์ เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว นั่นก็คือ เรื่องราวของสมเด็จพระสังฆราชองค์สุดท้ายของ ลาว สมเด็จพระสังฆราชยอดแก้ว พุทธชิโนรส ดังที่กล่าวไว้ในช่วงแรกๆแล้วว่า หลังการปฏิวัติในลาวได้ เสด็จลี้ภัยมาประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2522 แล้วมาสิ้นพระชนม์ที่โรงพยาบาลสงฆ์
บทสรุป การเดินทางมีเริ่มต้นก็ย่อมมีบทสรุป ไม่อยากจากลาก็ต้องจากลา เมื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ณ ดินแดนมรดกโลก ที่ให้สาระแก่ชีวิตหลายอย่าง ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม แก่ชาวลาวและผู้มาเยือน ทั้งโลก มีทุกชาติศาสนาและภาษา ที่ได้เดินทางมาดื่มด ่ากับบรรยากาศที่หาที่ไหนไม่ได้ในโลกและใน ประเทศของตน รวมถึงตัวผู้เขียนก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย จึงไม่แปลกใจแต่ประการใดเลย ที่แห่งนี้จะได้รับการ ยกย่องให้เป็นแหล่งมรดกโลกอย่างเป็นเอกฉันท์ แม้เมียนมาร์จะสิ้นแสงฉานเสียแล้ว แต่พระนครหลวงพระ บางยังไม่สิ้นแสงฉานแต่ประการใดเลย มีแต่จะทอแสงผ่องอ าไพตลอดไปและตลอดกาล ด้วยประการฉะนี้