จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในกระดาษคำตอบ 1. ข้อใดคือการเรียงจังหวะในการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ก. ระเบิด – คาย – อัด – ดูด ข. ระเบิด – คาย – ดูด – อัด ค. ดูด – คาย – ระเบิด – อัด ง. ระเบิด – ดูด – คาย – อัด 2. เครื่องยนต์แก๊สโซลีนหัวเทียนจะจุดประกายไฟใน ตำแหน่งใด ก. ลูกสูบเลื่อนขึ้น ถึงศูนย์ตายบนในจังหวะคาย ข. ลูกสูบเลื่อนลง ถึงศูนย์ตายล่างในจังหวะระเบิด ค. ลูกสูบเลื่อนลง หลังศูนย์ตายบนในจังหวะระเบิด ง. ลูกสูบเลื่อนขึ้น ก่อนถึงศูนย์ตายบนในจังหวะอัด 3. ข้อใดคือหน้าที่ของแหวนลูกสูบในเครื่องยนต์ ก. ลดแรงดันในกระบอกสูบ ข. ลดอาการสั่นของลูกสูบ ค. ป้องกันแรงอัดรั่ว ง. เพิ่มความแข็งแรงให้กับลูกสูบ 4. ระยะพิทธ์ หมายถึงข้อใด ก. จำนวนเกลียวทั้งหมด ข. ความยาวเกลียว ค. ระยะห่างระหว่างยอดพันเกลียว ง. เส้นผ่านศูนย์กลางโดนเกลียว 5. เครื่องมือใดที่ใช้วัดทั้งขนาดความโตภายนอกภายในหรือ ความลึกของชิ้นงาน ก. ไดอัลเกจ ข. เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ค. ฟิลเลอร์เกจ ง. บรรทัดเหล็ก 6. เครื่องมือใดเหมาะสมกับการวัดความคดของเพลา ลูกเบี้ยว ก. ไดอัลเกจ ข. ฟิลเลอร์เกจ ค. ไมโครมิเตอร์ ง. เวอร์เนียร์คาร์ลิบเปอร์ 7. เครื่องยนต์มีน้ำมันเครื่องเข้าไปในระบบน้ำหล่อเย็นเกิด จากสาเหตุใด ก. ปะเก็นฝาสูบรั่ว ข. ปะเก็นอ่างน้ำมันเครื่องรั่ว ค. เติมน้ำมันเครื่องเกินพิกัด ง. ความดันน้ำมันเครื่องสูงเกินพิกัด 8. ข้อใดคือเครื่องมือที่ใช้วัดความตึงสะพาน ก. Belt Filler Wrench ข. Belt compressor gauge ค. Belt strieng gauge ง. Belt tension gauge
๒ 9. ลิ้นไอเสียเปิดก่อนศูนย์ตายล่างในจังหวะกำลังเพื่ออะไร ก. เพิ่มประสิทธิภาพในจังหวะอัด ข. ลดแรงต้านการเคลื่อนที่ในจังหวะคาย ค. ลดความร้อนของเครื่องยนต์ ง. เพื่อให้การระบายไอเสียได้หมดจด 10. Combination wrench หมายถึงข้อใด ก. ประแจปากตายร่วมกับประแจแหวน ข. ประแจทุกชนิดที่ใช้ในงานถอดประกอบ ค. ประแจกรอกแกรก ง. ประแจเลื่อน 11. ค่าสัมประสิทธิ์การต้านการไหลของลมอัดในระบบนิว แมติกส์เมื่อเทีบกับการของน้ำมันในระบบไฮดรอลิกส์เป็น อย่างไร ก. มีค่าน้อยกว่า ทำให้เคลื่อนที่ได้ช้ากว่า ข. มีค่าน้อยกว่าจึงเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า ค. มีค่ามากจึงเคลื่อนที่ได้ช้ากว่า ง. มีค่ามากกว่าจึงเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า 12. อุปกรณ์ใดที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็น พลังงานลมอัด ก. Air Filter ข. Air Dryer ค. Air Compessor ง. Air Cylinder 13. อุปกรณ์ใดที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมอัดเป็น พลังงานกล ก. Air Filter ข. Air Silencer ค. Air Compessor ง. Air Cylinder 14. ข้อใดคือหน้าที่ของ Heat exchanger ในระบบ นิวแมติกส์ ก. ลดอุณหภูมิ ข. ลดปริมาตร ค. ลดความดัน ง. ลดเสียง 15. ข้อใดคือหน้าที่ของ Air Silnser ในระบบนิวแมติกส์ ก. ลดอุณหภูมิ ข. ลดปริมาตร ค. ลดความดัน ง. ลดเสียง 16. ข้อใดคือเครื่องมือที่ใช้วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า ก. โอห์มมิเตอร์ ข. แอมมิเตอร์ ค. โวลต์มิเตอร์ ง. พารามิเตอร์ 17. ข้อใดคือสูตรการหาค่ากระแสไฟฟ้าตามกฏของโอห์ม ก. I = E R ข. R = E I ค. E = I R ง. ถูกทุกข้อ 18. ข้อใดคือหน้าที่ของโซลีนอยด์ ก. สร้างสนามแม่เหล็กในขณะกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ข. ทำให้เกิดความร้อนและเปล่งแสงออกมา ค. ปัดน้ำฝนกลับไฟตำแหน่งอัตโนมัติ ง. ทำให้กระแสไหลผ่านหน้าสัมผัส 19. ความถ่วงจำเพาะของน้ำยาในแบตเตอรี่ที่ 1.160 มีสภาพความจุของแบตเตอรี่เป็นอย่างไร ก. มีไฟเต็ม ข. 50% ค.ไฟเกือบหมด ง. ไม่มีไฟเลย
๓ 20. Electronic Control Ignition System คือ ความหมายของข้อใด ก. ระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ ข. ตัวกำเนิดสัญญาณ ค. แรงดันไฟฟ้า ง. ตัวช่วยจุดระเบิด 21. ข้อใดคือการต่อขดลวดสเตเตอร์ ก. การต่อแบบสตาร์ ข. การต่อแบบเดลต้า ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. ง. ไม่มีข้อใดถูก 22. ข้อใดคืออุปกรณ์ที่ใช้แปลงกระแสไฟฟ้าในอัลเทอร์เน เตอร์ ก. ตัวต้านทาน ข. คาร์ปาซิเตอร์ ค. ไดโอด ง. ซีเนอร์ไดโอด 23. หลอดฮาโลเจน ภายในบรรจุด้วยแก๊สฮาโลเจนผสมกับ สิ่งใด ที่ทำให้แสงสว่างมากกว่าหลอดแบบธรรมดา ก. แก๊สเฉื่อย ข. แก๊สโซลีน ค. คาร์บอนไดออกไซด์ ง. คาร์บอน 24. ไฟหน้าตัดหมอกรถยนต์จะทำงานร่วมกับอุปกรณ์ใด ก. ไฟหน้า ข. ไฟท้าย ค. ไฟหรี่ ง. ไฟเก๋ง 25. Back up light system มีความหมายตรงกับข้อใด ก. ระบบไฟเบรก ข. ระบบแตร ค. ระบบไฟถอยหลัง ง. ระบบไฟเลี้ยวไฟฉุกเฉิน 26.ข้อใดคือความหมายของชุดเฟืองดอกจอกหน้า ก. Rear Differential ข. Front Differentia ค. Viscous Coupling ง. Front Transfer Case 27. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของชุดเฟืองแพลนเนตตารี่ ก. เปลี่ยนทิศทางการหมุน ข. ส่งถ่ายกำลังได้หลายอัตราทด ค. ใช้เป็นโอเวอร์ไดร์ฟ ง. เปลี่ยนระยะเวลาการหมุน 28. เพลารับกำลัง มีความหมายตรงกับข้อใด ก. Output Shaft ข. Input Shaft ค. Overdrive ง. Ring Gear 29. Helical Gear Teeth มีความหมายตรงกับข้อใด ก. เฟืองเกียร์บายศรี ข. เพลาส่งกำลัง ค. เฟืองฟันเฉียง ง. เฟืองดอกจอก 30. เพลาส่งกำลังออก ทำหน้าที่อะไร ก. ตัวรับกำลังขับจากเครื่องยนต์ ข. ตัวรับกำลังจากเพลารับกำลัง ค. ตัวรับกำลังขับจากเพลารองและขับเฟืองท้าย ง. ตัวรับกำลังเพลาส่งกำลัง 31. ข้อใดคือระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบบางเวลา ก. Full-Time 4 WD ข. Part Time 4 WD ค. Time 4 WD ง. Pick – up
๔ 32. ข้อใดคือ Limited Ship Type Differential ก. เฟืองท้ายแบบกันลื่น ข. เฟืองท้ายแบบแผ่นคลัช์ ค. เฟืองท้ายหลังระบบดิฟ-ล็อก ง. วงจรไฟฟ้าของเฟืองท้าย 33. ข้อใดคือความหมายของ Inspect Thrust Washer ก. การตรวจสอบสภาพชิ้นส่วน ข. การตรวจสภาพแผ่นคลัตช์ ค. การตรวจจานคลัตช์ ง. การตรวจวัดความยาวสปริง 34. การลากจูงควรทำด้วยความเร็วเท่าใด ก. มากกว่า 30 กม./ชม. ข. น้อยกว่า 30 กม./ชม. ค. มากกว่า 50 กม./ชม. ง. น้อยกว่า 50 กม./ชม. 35. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. สัญญาณไฟเตือน O/D OFF แสดงว่าสามารถ เปลี่ยนเข้าสู่โอเวอร์ไดร์ฟได้ ข. อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์ต่ำ เกียร์ อัตโนมัติจะไม่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งโอเวอร์ไดร์ฟได้ ค. ไม่ควรกดปุ่มโอเวอร์ไดร์ฟไว้ เพราะจะทำให้ สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ง. เปิดสวิตช์โอเวอร์ไดร์ฟ ON เกียร์จะเปลี่ยนเป็น เกียร์ 3 36. ข้อใดหมายถึงปริมาณความร้อน 1 บีทียู ก. ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิ เปลี่ยนไป 1 F ข. ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิ เปลี่ยนไป 1 F ค. ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิ เปลี่ยนไป 1 C ง. ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิ เปลี่ยนไป 1 C 37. อุปกรณ์ในข้อใดทำหน้าที่ ลดความดันสารทำความเย็น จากความดันสูงเป็นความดันต่ำ ก. คอนเดนเซอร์ ข. คอมเพรสเซอร์ ค. อีวาพอเรเตอร์ ง. เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว 38. คอมเพรสเซอร์ดูดและอัดสารความเย็นในสถานะใด ก. ดูดและอัดสถานะแก๊ส ข. ดูดและอัดสถานะของเหลว ค. ดูดสถานะแก๊ส อัดสถานะของเหลว ง. ดูดสถานะของเหลว อัดสถานะแก๊ส 39. เพราะเหตุใดขณะเครื่องปรับอากาศทำงาน คอนเดนเซอร์จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น จนต้องมีการระบายความ ร้อนออก ก. ได้รับความร้อนจากเครื่องยนต์ ข. สารความเย็นถ่ายเทความร้อนให้ ค. อากาศรอบ ๆ ถ่ายเทความร้อนให้ ง. สารความเย็นไหลในคอนเดนเซอร์อย่างรวดเร็ว
๕ 40. ข้อใดคือจุดประสงค์หลักในการระบายความร้อนออก จากคอนเดนเซอร์ ก. เพิ่มคุณภาพของสารความเย็น ข. ช่วยให้สารความเย็นไหลได้ง่ายขึ้น ค. ป้องกันสารความเย็นเปลี่ยนสถานะ ง. ทำให้สารความเย็นเปลี่ยนเป็นของเหลว 41. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของรีซีฟเวอร์-ไดรเออร์ ก. ดูดความชื้น ข. กรองสิ่งสกปรก ค. ทำให้สารความเย็นที่ส่งออกเป็นของเหลว 100% ง. ลดอุณหภูมิสารความเย็นสถานะแก๊สให้ต่ำลงกว่า ปกติ 42. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของเอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว ก. ลดความดันสารความเย็นเหลว ข. รับสารความเย็นเหลวจากรีซีฟเวอร์- ไดรเออร์ ค. ดูดความร้อนจากอากาศเพื่อให้สารทำความเย็น เปลี่ยนสถานะ ง. ควบคุมปริมาณสารความเย็นที่เข้าไปใน อีวาพอเรเตอร์ 43. สีของสายแมนิโฟลด์เกจด้าน HI คือสีอะไร ก. ดำ ข. แดง ค. เหลือง ง. น้ำเงิน 44. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. ถ้าเปิดวาล์วด้าน Low อย่างเดียวสายเกจ ด้าน Low กับสายเกจเส้นกลางจะทะลุ ถึงกันได้ ข. ถ้าเปิดวาล์วดาน HI อย่างเดียวสายเกจด้าน HI กับ สายเกจด้าน Low จะทะลุถึงกันได้ ค. ถ้าเปิดวาล์วด้าน Low อย่างเดียวสายเกจ ด้าน HI กับสายเกจด้าน Low จะทะลุ ถึงกันได้ ง. ถูกทุกข้อ 45. ข้อใดคือแรงดันของสารทำความเย็น (R – 134a) ที่เหมาะสมในรถยนต์ ก. ด้านแรงดันต่ำ 0.15-0.25 MPa และ ด้านแรงดันสูง 1.37-1.57 MPa ข. ด้านแรงดันต่ำ 1.5-2.5 MPa และ ด้านแรงดันสูง 14-16 MPa ค. ด้านแรงดันต่ำ 21-36 MPa และ ด้านแรงดันสูง 199-228 MPa ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง 46. คุณลักษณะใดของวัตถุที่บ่งบอกว่ามีความเครียดสูง ก. ทนแรงดึงสูง ข. ทนแรงดึงต่ำ ค. วัตถุยืดตัวมาก ง. วัตถุยืดตัวน้อย 47. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ค่ามอดูลัสความยืดหยุ่น ก. อัตราส่วนระหว่าง ความเค้นต่อความเครียด ข. อัตราส่วนระหว่าง ระยะยืดตัวต่อความยาวเดิม ค. อัตราส่วนระหว่าง ความเครียดต่อระยะยืดตัว ง. อัตราส่วนระหว่าง ความเค้นต่อระยะยืดตัว
๖ 48. จุดที่ความเค้นกระทำต่อวัสดุแล้ววัสดุนั้นไม่สามารถคืน กลับรูปร่างเดิมได้เมื่อนำแรงกระทำออก คือข้อใด ก. Elastic Limit ข. Constant Limit ค. Hooks Point ง. Modulus Point 49. ข้อใดคือความหมายของความเครียด ก. แรงที่กระทำต่อความยาว ข. พื้นที่หน้าตัดต่อแรงที่กระทำ ค. แรงที่กระทำต่อพื้นที่หน้าตัด ง. ความยาวที่เปลี่ยนไปต่อความยาวเดิม 50. จุดวาบไฟและจุดติดไฟต่ำจะมีผลต่อเครื่องยนต์ในกรณี ใดมากที่สุด ก. ช่วยให้เครื่องยนต์มีอัตราเร็วสูง ข. ช่วยให้เครื่องยนต์ติดได้ง่าย ค. ช่วยให้เครื่องยนต์มีอัตราการน๊อคต่ำ ง. ช่วยให้เครื่องยนต์มีแรงม้าสูงขึ้น 51. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของปั๊มน้ำ จะมีลักษณะ อย่างไร ก. เมื่อความดันเพิ่มขึ้น อัตราการไหลจะเพิ่มขึ้น ข. เมื่อความดันเพิ่มขึ้น อัตราการไหลจะลดลง ค. เมื่อความดันปั๊มเพิ่มขึ้น พลังงานขับปั๊มจะลดลง ง. เมื่อความดันเพิ่มขึ้น ความสูญเสียในท่อจะลดลง 52. ข้อใดคือสัญลักษณ์ของสัญญาณสตาร์ท ก. S ข. ST ค. STA ง. STS 53. ความแตกต่างของรูปคลื่นสัญญาณมุมเพลาข้อเหวี่ยง และ สัญญาณความเร็วรอบเครื่องยนต์คือข้อใด ก. ความถี่ ข. แรงดันไฟฟ้า ค. ความต้านทาน ง. กระแสไฟฟ้า 54. ระบบป้อนข้อมูลในระบบควบคุมเครื่องยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์อะไรบ้าง ก. ICU, ECT, THA, THWL ข. IT MOTOR, EGR MOTOR ค. MAF, IT MOTOR, INJECTOR ง. VTA, IAT, THW, IDL, MAF 55. ระบบวิเคราะห์สั่งการระบบควบคุมเครื่องยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์อะไรบ้าง ก. MAF, IAT, THW, IDL, VTA ข. MAF, IAT, IT MOTOR,EGR MOTOR ค. MAF, IT MOTOR, INJECTOR ง. ECT, ECU 56. ข้อใด คือ โครงสร้างระบบควบคุมเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ก. ป้อนข้อมูล, วิเคราะห์ และดําเนินการ ข. ป้อนข้อมูล, วินิจฉัย และสั่งการ ค. วิเคราะห์ข้อมูล, วิเคราะห์สั่งการ และปฏิบัติการ ง. ป้อนข้อมูล, วิเคราะห์ และปฏิบัติการ 57. ข้อใดคือหน้าที่ของ Mass air flow sensor ก. ตรวจวัดปริมาณอากาศ ข. ตรวจวัดปริมาณการไหลของอากาศ ค. เซนเซอร์วัดอากาศ ง. ตัวรับรู้วัดปริมาณการไหลอากาศ
๗ 58. แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ป้อนเข้าที่ตัวรับรู้อุณหภูมิอากาศมีค่า เท่าใด ก. 0.5 โวลต์ ข. 5 โวลต์ ค. 12 โวลต์ ง. มากกว่า 12 โวลต์ 59. อัตราส่วนผสมบางหมายถึงข้อใด ก. อัตราส่วนที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าอากาศ ข. อัตราส่วนที่ใช้อากาศน้อยกว่าทฤษฏี ค. อัตราส่วนที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยกว่าอากาศ ง. อัตราส่วนที่ใช้อากาศมากกว่าทฤษฏี 60. ข้อใดคืออักษรย่อของ ตัวรับรู้มุมเพลาลูกเบี้ยว ก. CKP ข. CMP ค. MAF ง. IAT 61. ข้อใดคืออักษรย่อของ ตัวรับรู้มุมเพลาข้อเหวี่ยง ก. CKP ข. CMP ค. MAF ง. IAT 62. ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวถึงหน้าที่ของระบบหมุนวนแก๊สไอ เสียกลับคืนได้ถูกต้อง ก. ควบคุมการปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้ของ เครื่องยนต์ออกสู่บรรยากาศ ข. นำไอเสียมาวนเข้าท่อไอดีใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ อุณหภูมิห้องเผาไหม้ลดลง ค. บำบัดมลพิษของไอเสียจากการเผาไหม้ของ เครื่องยนต์ ง. อุ่นอากาศในห้องเผาไหม้ให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสม กับการทำงานของเครื่องยนต์ 63. ถ้าปริมาณอากาศที่เข้าสู่เครื่องยนต์มาก (รอบ เครื่องยนต์สูง) ค่าที่วัดได้ของ Mass air flow จะมีค่าเป็น อย่างไร ก. ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น เกิน12 volt ข. ค่าแรงดันไฟฟ้าต่ำลง ค. ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 5 volt ง. ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น 64. ตัวรับรู้มุมเพลาลูกเบี้ยว เป็นสัญญาณชนิดใด ก. CKP ข. G signal ค. Volt ง. NE signal 65. ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวถึงหน้าที่ของแคตตาไลติกคอน เวอร์เตอร์ได้ถูกต้อง ก. ควบคุมการปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้ของ เครื่องยนต์ออกสู่บรรยากาศ ข. นำไอเสียมาวนเข้าท่อไอดีใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ อุณหภูมิห้องเผาไหม้ลดลง ค. บำบัดมลพิษของไอเสียจากการเผาไหม้ของ เครื่องยนต์ ง. อุ่นอากาศในห้องเผาไหม้ให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับ การทำงานของเครื่องยนต์ 66. ไมโครมิเตอร์ขนาด 0-20 มม.ชนิดวัดละเอียด 1/100 (0.01 มม.) ถ้าหากหมุนแกนวัดไปจนครบ 15 รอบ จะได้ค่าการวัดเท่าไร ก. 1.00 มิลลิเมตร ข. 1.50 มิลลิเมตร ค. 15.00 มิลลิเมตร ง. 7.5 มิลลิเมตร
๘ 67. ถ้าขณะเครื่องยนต์มีรอบหมุน 1,000 รอบ/นาที อัตราการหมุนระหว่างเพลาข้อเหวี่ยงกับเพลาลูกเบี้ยวจะ เป็นเท่าใด ก. เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1,000 รอบ เพลาลูกเบี้ยวจะ หมุน 500 รอบ ข. เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1,000 รอบ เพลาลูกเบี้ยวจะ หมุน 1,000 รอบ ค. เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1,000 รอบ เพลาลูกเบี้ยวจะ หมุน 2,000 รอบ ง. เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2,000 รอบ เพลาลูกเบี้ยวจะ หมุน 1,000 รอบ 68. อุปกรณ์ในข้อใดที่ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำมัน เชื้อเพลิงในท่อคอมมอนเรล (Common rail) ก. ปั๊มป้อน (Feed pump) ข. ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูง (Supply pump) ค. วาล์วควบคุมปริมาณการดูดน้ำมันเชื้อเพลิง (Suction control valve) ง. ลูกปั๊ม (Plunger) 69. ถ้าหัวฉีดฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงหลังลูกสูบเคลื่อนที่ผ่านศูนย์ ตายบนไปแล้วจะมีผลอย่างไรต่อเครื่องยนต์ ก. ควันไอเสียเครื่องยนต์มีสีขาว ข. เครื่องยนต์มีเสียงเขก ค. เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง ง. เครื่องยนต์ร้อน 70.การเกิดความล่าช้าในการจุดระเบิด (Ignition Delay) ของเครื่องยนต์ดีเซลน่าจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในข้อใด ก. ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ข. ปริมาณอากาศ ค. อัตราส่วนการอัด ง. การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง (ค่าซีเทนนัมเบอร์) 71. หน้ากากป้องกันฝุ่นใช้สำหรับป้องกันอะไรให้เข้ากับ ร่างกายของผู้ปฏิบัติงานได้บ้าง ก. ป้องกันฝุ่นที่เกิดจากการขัดสีโป้ ข. ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น ค. ป้องกันแมลงเข้าจมูก ง. ช่วยระบายอากาศ 72. เครื่องขัดซิงเกิลแอ็กชั่นใช้สำหรับงานประเภทใด ก. ขัดสีพ่นทับหน้า ข. ขัดเปิดปากแผล ค. ขัดสีที่พ่นเสีย ง. ขัดสนิม 73. การจับค้อนที่ถูกต้องด้ามค้อนควรเอียงทำมุมกับแขน ประมาณกี่องศา ก. 60 องศา ข. 90 องศา ค. 120 องศา ง. 180 องศา 74. ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการโป๊สีรถยนต์ ก. พอกเสริมพื้นผิวให้ราบเรียบ ข. ยึดเกาะมวลสารของสี ค. ปิดบังรอยบุบ ง. ป้องกันสีย่น 75. ข้อใดคือการโป๊วสีที่ถูกต้อง ก. โป๊วสีครั้งละมาก ๆ โป๊วช้า ๆ ข. โป๊วสีครั้งละมาก ๆ โป๊วเร็ว ๆ ค. โป๊วแต่ละชั้นครั้งละบาง ๆ ง. โป๊วสีแต่ละชั้นให้หนา 76. ข้อใดคือส่วนประกอบของสีพ่นรถยนต์ ก. ผงสี สารเคลือบ สารละลาย ข. สารปรุงแต่ง และตัวปรับคุณสมบัติ
๙ ค. ผงสี สารละลาย สารปรุงแต่ง ง. ถูกทุกข้อ 77. สีในข้อใดเป็นแม่สีทั้งหมด ก. น้ำเงิน แดง ขาว ข. น้ำเงิน แดง เหลือง ค. น้ำเงิน แดง เขียว ง. น้ำเงิน แดง ดำ 78.ข้อใดคืออัตราส่วนผสมที่ถูกต้องระหว่างสีโป้กับฮาร์ด เดนเนอร์ ก. 100 : 1 ข. 100 : 2 ค. 100 : 3 ง. 100 : 4 79. การขัดสีโป้วด้วยเครื่องขัดเริ่มต้นด้วยกระดาษทราย เบอร์ใด ก. 120 ข. 150 ค. 180 ง. 240 80. ก่อนจะทำการพ่นสีรองพื้น จะต้องใช้กระดาษทราย เบอร์อะไรเพื่อปรับพื้นผิวงานให้เรียบโดยไม่มีรอยขีดข่วน ของกระดาษทราย ก. 100 ข. 180 ค. 320 ง. 1000 81. ข้อใดคือความหมายของ สี 2K ก. สี 2 องค์ประกอบ ข. สีผสม 2 ส่วน ค. สีองค์ประกอบที่ 2 ง. สีแห้งช้าปานกลาง 81. มุมที่เหมาะสมในการถือปืนพ่นสีควรเป็นทำมุมเท่าไหร่ กับแผงตัวถัง ก. 45o ข. 75o ค. 90o ง. 135o 82. ความหมายของคำว่า ฮาร์ดเดนเนอร์4 : 1 ตามขอใด ถูกต้อง ก. ผสม Clear 4 ส่วน : ทินเนอร์ 1 ส่วน ข. ผสม Clear 4 ส่วน : ฮาร์ดเดนเนอร์ 1 ส่วน ค. ผสม Clear 1 ส่วน : ทินเนอร์ 4 ส่วน ง. ผสม Clear 1 ส่วน : ฮาร์ดเดนเนอร์ 4 ส่วน 83. ค้อนตู้ทำจากวัสดุประเภทใด ก. เงิน ข. เหล็กตะกั่ว ค. เหล็กคาร์บอน ง. อลูมิเนียม 84. ขนาดของหัวปืนพ่นสีที่เหมาะสมในการพ่นสีรองพื้น คือข้อใด ก. 1.2 มม. ข. 1.3 มม. ค. 1.4 มม. ง. 1.6 มม. 85. เพราะสาเหตุใดจึงไม่ควรทำความสะอาดกาพ่นสีโดย การแช่ปืนพ่นสีในอ่างทินเนอร์ ก. จะทำให้อายุการใช้งานของปืนพ่นสีสั้นลง ข. ทำให้ยางภายในเกิดยืดและชำรุด ค. น้ำมันหล่อลื่นบางจุดจะถูกชำระล้างออกไป ง. ถูกทุกข้อ 86. ข้อใดคือรถยนต์ไฟฟ้า ปลั๊กอินไฮบริด ก. HEV ข. BEV ค. PHEV ง. FCEV 87. การประจุไฟ (charging) แบบใดใช้เวลาน้อยที่สุด ก. Station charging ข. Normal charging ค. Trickle charging ง. Fast charging 88. ขั้นตอนแรกในการถอดอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าแรงสูง (High voltage) คือข้อใด ก. ปลด service plug ข. ปลด สายไฟแรงสูง
๑๐ ค. คลายประจุไฟในแบตเตอรี่ลิเทียมฯ (Li-ion Battery) ง. ถอดแบตเตอรี่ 12v 89. ส่วนประกอบหลักที่ให้เกิดเป็นพลังงานไฟฟ้าของระบบ Fuel cell คือข้อใด ก. hydrogen, oxygen ข. hygrogen ค. oxygen, carbon dioxide ง. carbon dioxide 90. แบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮดรายด์ (Ni-MH) เป็น แบตเตอรี่ที่นิยมใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าประเภทใด ก. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) ข. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ค. รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ง. เหมาะสำหรับรถยนต์ทุกประเภท 91. รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน นำไฮโดรเจนไปใช้ประโยชน์ ในรูปแบบใด ก. เป็นเชื้อเพลิงส่งให้เครื่องยนต์ ข. ผลิตกระแสไฟประจุเข้าแบตเตอรี่ ค. ส่งกระแสไฟไปขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า ง. ขับเคลื่อนเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า 92. รถยนต์ประเภทใดใช้พลังงานเชื้อเพลิงน้ำมันเป็นหลัก ในการขับเคลื่อน ก. Hybrid Electric Vehicle: HEV ข. Plug-in Hybrid Vehicle: PHEV ค. Battery Electric Vehicle: BEV ง. Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV 93. เพราะเหตุใดตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ต้องแปลง ไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง ก่อนนำพลังงานไฟฟ้าเข้า สู่รถยนต์ไฟฟ้า ก. เนื่องจากรถนต์ไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้าตรงใน การขับเคลื่อน ข. เนื่องจากแบตเตอรี่บรรจุพลังงานไฟฟ้าที่เป็นไฟฟ้า กระแสตรง ค. เนื่องจากมอเตอร์ไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้าตรงใน การแปลงเป็นพลังงานกลก่อนส่งต่อไปยังเพลา ง. ถูกทุกข้อ 94. ข้อใดคือประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% แต่ไม่มีการสร้างพลังงานไฟฟ้าในตัว ก. Hybrid Electric Vehicle: HEV ข. Plug-in Hybrid Vehicle: PHEV ค. Battery Electric Vehicle: BEV ง. Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV 95. ข้อใดคือประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ มีการสร้างพลังงานไฟฟ้าในตัว ก. Hybrid Electric Vehicle: HEV ข. Plug-in Hybrid Vehicle: PHEV ค. Battery Electric Vehicle: BEV ง. Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV 96. จากสมการหาค่าพลังงานศักย์ PE = mgZ ค่า g มีค่าเท่าใด ก. 6.81 m/s2 ข. 8.61 m/s ค. 9.81 m/s2 ง. 9.61 m/s2
๑๑ 97. หน่วยเอสไอของความร้อนจำเพาะ คือข้อใด ก. จูลกิโลกรัมต่อเคลวิน (J/kg.K) ข. นิวตันต่อตารางเมตร(N/m2 ) ค. กิโลจูล (kJ) ง. จูล (J) 98. ข้อใดคือความหมายของความดันสัมบูรณ์ (Absolute pressure) ก. ความดันเกจรวมกับความดันบรรยากาศ ข. ความหนาแน่นรวมกับความอัดอากาศ ค. แรงรวมกับความดันบรรยากาศ ง. ความดันที่ได้จากการอุปกรณ์ 99. พลังงานที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง คือพลังงานใด ก. พลังงานศักย์ ข. พลังงานจลน์ ค. พลังงานที่เกิดจากการไหล ง. พลังงานภายใน 100. ข้อใดคือความหมายของ "ความดัน" (Pressure) ก. แรงที่กระทำในแนวตั้งฉากกับพื้นที่ ข. แรงที่กระทำในแนวตั้งฉาก ค. แรงที่กระทำในแนวขนานกับพื้นที่ ง. แรงที่กระทำกับพื้นที่