The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลกา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sompuan341, 2022-07-13 00:42:21

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลกา

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลกา

หน้า ๑๘ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง ราชกิจจานุเบกษา

ระเบยี บกระทรวงศกึ ษาธิการ

ว่าดว้ ยการจดั การศกึ ษาและการประเมินผลการศกึ ษาระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยหี รือสายปฏบิ ตั ิการ
ของสถาบนั การอาชวี ศึกษา พ.ศ. 2564

โดยที่พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 9 กาหนดให้
การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพต้องจัดตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากาหนด
โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง มาตรฐาน
การศกึ ษาของชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ กรอบคุณวฒุ ิอาชีวศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และเกณฑม์ าตรฐาน

คุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2562 เพื่อผลิต
และพัฒนากาลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการประกอบอาชีพอิสระ
ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล จึงสมควรออกระเบียบว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผล
การศึกษาตามหลักสูตร

อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคาแนะนาของคณะกรรมการ
การอาชีวศกึ ษา จึงวางระเบียบไว้ดงั ต่อไปน้ี

ข้อ ๑ ระเบียบน้ีเรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและ
การประเมินผลการศกึ ษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรอื สายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศกึ ษา
พ.ศ. 2564”

ขอ้ ๒ ระเบียบน้ีใหใ้ ช้บังคับต้งั แตว่ ันถัดจากวันประกาศในราชกจิ จานุเบกษาเปน็ ตน้ ไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผล
การศึกษาระดบั ปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏบิ ัติการของสถาบนั การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2556

ขอ้ 4 ให้ใช้ระเบียบนี้บังคับแก่สถาบันการอาชีวศึกษาที่จัดต้ังข้ึนตามพระราชบัญญัติ
การอาชีวศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๕๑ ซ่งึ จัดการศกึ ษาหลกั สูตรระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยหี รือสายปฏบิ ัติการ

ขอ้ 5 ในระเบียบน้ี
“หลักสตู ร” หมายความว่า หลกั สตู รเทคโนโลยีบณั ฑิต
“รายวิชา” หมายความว่า หน่วยวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตรในช่วงเวลาหน่ึงภาคเรียน มีท้ังท่ีบังคับ
และให้เลือก
“ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ” หมายความว่า การศึกษาตามหลักสูตร
เทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเน่ือง) หลังจากจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
หรือเทยี บเท่า ใช้อกั ษรย่อว่า “ทล.บ.”

หน้า ๑๙ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพเิ ศษ ๒๖๙ ง ราชกจิ จานเุ บกษา

“ผู้เข้าศึกษา” หมายความว่า ผู้มาสมัครเข้าศึกษาในสถาบัน หรือสมัครฝึกอาชีพกับสถาน
ประกอบการทยี่ ังไมไ่ ด้ขึ้นทะเบยี นเปน็ นกั ศกึ ษา

“นักศึกษา” หมายความว่า ผู้ท่ีได้ข้ึนทะเบียนเป็นนักศึกษาตามหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต
สาหรับนักศึกษาการศึกษาระบบทวิภาคีต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาและทาสัญญาการฝึกอาชีพกับ

สถานประกอบการ
“ภาคเรียน” หมายความว่า ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทาการสอน โดยกาหนดให้ ๑ ปี

การศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียนปกติ และใน ๑ ภาคเรียน มีระยะเวลาจัดการศึกษารวม
การวัดผล ๑๘ สปั ดาห์

“ภาคเรียนฤดูร้อน” หมายความว่า ช่วงเวลาท่ีสถาบันเปิดทาการสอนในช่วงปิดภาคเรียน
ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธกิ าร วา่ ดว้ ยการเปิดภาคเรียนฤดรู ้อนในสถานศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ

“สถาบัน” หมายความว่า สถาบันการอาชีวศึกษา ของรัฐที่จัดตั้งข้ึนเพื่อดาเนินการจัดการ
อาชีวศึกษาและการฝกึ อบรมวิชาชีพตามพระราชบัญญตั ิการอาชวี ศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑

“อาจารย์ประจา” หมายความว่า คณาจารย์ประจาของสถาบันการอาชีวศึกษานั้นท่ีมีหน้าที่
หลักทางด้านการสอน การวิจัย และปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาตามภาระงานท่ีรับผิดชอบในหลักสูตร
ท่เี ปิดสอน

“อาจารย์ท่ีปรึกษา” หมายความว่า อาจารย์ประจาในสาขาวิชาซ่ึงสถาบันมอบหมายให้ทาหน้าที่

ให้คาแนะนาปรึกษา ติดตามผลเก่ียวกับการศึกษา ตักเตือนดูแลความประพฤติ ตลอดจนรับผิดชอบดูแล
แผนการเรียนของนกั ศึกษา

“อาจารย์ผู้สอน” หมายความว่า อาจารย์ประจาและอาจารย์พิเศษผู้ท่ีมีหน้าท่ีรับผิดชอบ
สอนรายวชิ าในระดับปรญิ ญา

“อาจารย์ประจาหลักสูตร” หมายความว่า อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
ของหลักสูตรทเ่ี ปดิ สอน ซงึ่ มหี นา้ ที่สอนและคน้ ควา้ วิจัยในสาขาวชิ าดงั กลา่ ว

“อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” หมายความว่า อาจารย์ประจาหลักสูตรที่มีภาระหน้าท่ี
ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน ต้ังแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ
การติดตามประเมนิ ผล และการพัฒนาหลักสูตร

“อาจารยพ์ เิ ศษ” หมายความวา่ ผู้สอนที่ไมใ่ ช่อาจารยป์ ระจา
“อาจารย์นิเทศก์” หมายความว่า อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในสถานประกอบการ ทาหน้าที่
นิเทศ ให้คาปรึกษา แนะนา ติดตาม วัดและประเมินผลนักศึกษาท่ีฝึกอาชีพและฝึกประสบการณ์

สมรรถนะวิชาชพี
“การศึกษาในระบบ” หมายความว่า การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เน้นการศึกษาในสถาบัน

เป็นหลกั โดยมีการกาหนดจดุ มงุ่ หมาย วิธกี ารศกึ ษา หลกั สูตร ระยะเวลา การวัดและการประเมินผล
ท่เี ป็นเงื่อนไขของการสาเร็จการศึกษาท่ีแนน่ อน

หน้า ๒๐ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพเิ ศษ ๒๖๙ ง ราชกิจจานุเบกษา

“การศึกษาระบบทวภิ าคี” หมายความว่า การจัดการศกึ ษาวชิ าชพี ท่ีเกิดจากข้อตกลงระหว่าง
สถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน
การวัดและการประเมินผล โดยนักศึกษาใช้เวลาส่วนหน่ึงในสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถาน
ประกอบการ รฐั วิสาหกจิ หรอื หนว่ ยงานของรฐั

“สถานประกอบการ” หมายความว่า บริษัท ห้างหุ้นส่วน ร้าน รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ
และเอกชนทั้งในประเทศและตา่ งประเทศทีร่ ว่ มมอื กบั สถาบันเพอ่ื จดั การอาชวี ศกึ ษา

“ผู้ควบคุมการฝกึ ” หมายความว่า ผู้ที่สถานประกอบการมอบหมายให้ทาหน้าท่ีประสานงาน
กับสถาบันในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี และรับผิดชอบดูแลการฝึกอาชี พของนักศึกษา
ในสถานประกอบการ

“ครูฝึก” หมายความว่า ผู้ทาหน้าท่ีวางแผนการฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ วัดผลและประเมินผล
นักศึกษาในสถานประกอบการตามหลกั เกณฑท์ ี่คณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษากาหนด

“มาตรฐานวิชาชีพ” หมายความว่า ข้อกาหนดด้านสมรรถนะวิชาชีพ ซึ่งครอบคลุม
เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ เพ่ือใช้เป็น
เกณฑใ์ นการกากบั ดูแล ตรวจสอบและประกันคุณภาพผูส้ าเร็จการศึกษา

“การประเมนิ มาตรฐานวชิ าชพี ” หมายความว่า การทดสอบความรู้ ความสามารถ ตลอดจน
ลักษณะนิสัย ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ซ่ึงกาหนดเกณฑ์
การตัดสนิ ไวช้ ดั เจน พรอ้ มทัง้ จดั ดาเนินการประเมนิ ภายใต้เงื่อนไขทเ่ี ป็นมาตรฐาน

“คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ” หมายความว่า คณะกรรมการผู้ทาหน้าท่ี
รับผิดชอบในการอานวยการ ติดตาม และกากับดูแลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพของนักศึกษา
ในสถานศกึ ษา

“การเรียนแบบเต็มเวลา” หมายความว่า การจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนปกติหรือ
ภาคฤดูรอ้ น โดยนักศึกษาจะตอ้ งลงทะเบียนเรียนในแตล่ ะภาคเรยี นตามเกณฑจ์ านวนหนว่ ยกิตมาตรฐาน
ของการลงทะเบยี นที่กาหนดสาหรับการเรยี นแบบเต็มเวลา

“การเรยี นแบบไม่เตม็ เวลา” หมายความว่า การจัดการเรียนการสอนนอกเหนอื จากการเรียน
การสอนภาคเรียนปกติ โดยนักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียนตามเกณฑ์จานวนหน่วยกิต
มาตรฐานของการลงทะเบยี นท่ีกาหนดสาหรับการเรียนแบบไม่เต็มเวลา

ขอ้ 6 ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบน้ี
และใหม้ ีอานาจตคี วามและวินจิ ฉยั ช้ขี าดปัญหาเก่ียวกบั การปฏบิ ัติตามระเบียบน้ี

เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง หน้า ๒๑ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
ราชกิจจานเุ บกษา

หมวด ๑
สภาพนกั ศกึ ษา

ส่วนที่ ๑
พนื้ ความรแู้ ละคุณสมบตั ขิ องผูเ้ ข้าศึกษา

ข้อ 7 ผเู้ ขา้ ศึกษา ต้องมพี น้ื ความรแู้ ละคุณสมบตั ิ ดังน้ี
(1) เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาที่ตรงกับ
สาขาวิชาท่ีจะเข้าศึกษา กรณีสาขาวิชาท่ีเก่ียวข้องหรือสัมพันธ์ ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสถาบัน
โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา ท้งั น้ี โดยคานงึ ถงึ คณุ ภาพของผสู้ าเร็จการศึกษา
(2) คุณสมบตั ิของผู้เข้าศึกษาให้เป็นไปตามทส่ี ถาบันกาหนด

สว่ นท่ี ๒
การรบั ผู้เขา้ ศกึ ษา

ข้อ 8 การรับผู้เข้าศึกษา ให้ทาการสอบคัดเลือก หรือคัดเลือกให้เป็นไปตามระเบียบ
ท่ีสถาบันกาหนด สถาบันจะเป็นผู้สอบคัดเลือกหรือคัดเลือกนักศึกษาเองตามคุณสมบัติท่ีกาหนดและ
ตามจานวนท่ไี ดต้ กลงรว่ มกับสถานประกอบการหรือดาเนินการร่วมกนั ก็ได้

การรับผเู้ ข้าศกึ ษาตามโครงการตา่ ง ๆ ของสถาบัน ใหส้ ถาบันคัดเลือกตามคุณสมบัติทกี่ าหนด
ตามความเหมาะสมของโครงการนั้น

ขอ้ 9 ให้มีการตรวจร่างกายเฉพาะผู้ท่ีผ่านการสอบคัดเลือก หรือได้รับการคัดเลือก
โดยแพทยป์ รญิ ญา

สว่ นท่ี ๓
การเปน็ นักศึกษา

ขอ้ 10 ผูท้ ่ผี ่านการสอบคดั เลอื กหรือคัดเลอื กเขา้ ศึกษา จะมีสภาพเปน็ นกั ศึกษาเม่อื ได้ขึน้ ทะเบียน
และชาระเงนิ คา่ ลงทะเบยี นเรียนและค่าธรรมเนียมตามระเบียบทสี่ ถาบันกาหนด

หากผู้ผ่านการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกเข้าศกึ ษา ไม่มาขึ้นทะเบียนเป็นนักศกึ ษาตามกาหนด
ของสถาบัน จะถือว่าสละสทิ ธิ์ท่จี ะเขา้ เป็นนกั ศึกษา เว้นแต่มีเหตุจาเปน็ และได้รบั อนุมตั ิจากสถาบัน

ผเู้ ข้าศึกษาต้องทาสัญญาการฝึกอาชพี กบั สถานประกอบการ
การข้ึนทะเบียนเปน็ นักศกึ ษา และการทาสัญญาการฝึกอาชีพตอ้ งกระทาด้วยตนเอง พรอ้ มทง้ั
แสดงหลักฐานการสาเร็จการศึกษาตามวัน เวลา ที่สถาบันกาหนด โดยชาระเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
ตามทสี่ ถาบนั กาหนด ทัง้ นี้ ให้เสรจ็ ส้นิ ก่อนวันเปดิ ภาคเรียน

หน้า ๒๒ ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพเิ ศษ ๒๖๙ ง ราชกิจจานุเบกษา

ข้อ ๑1 ให้สถาบันออกบัตรประจาตัวใหแ้ ก่นักศึกษา โดยให้เป็นไปตามระเบยี บกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยบตั รประจาตวั นักเรยี นและนกั ศึกษา

สว่ นที่ ๔
การพ้นสภาพและคนื สภาพนกั ศกึ ษา

ขอ้ ๑2 การพน้ สภาพนกั ศึกษา เป็นไปตามกรณีใดกรณหี นง่ึ ตอ่ ไปนี้
(๑) สาเรจ็ การศึกษาตามหลกั สตู ร
(๒) ลาออก
(๓) ถึงแกก่ รรม

(๔) สถาบันสัง่ ใหพ้ น้ สภาพนักศกึ ษาในกรณใี ดกรณีหนึง่ ตอ่ ไปนี้
ก. ขาดเรียน ขาดการฝึกอาชีพ ขาดการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ หรือ

ขาดการติดต่อเกินกว่า ๑๕ วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติกรรมอย่างอื่นท่ีแสดงว่าไม่มี
ความตัง้ ใจทจ่ี ะศึกษาเลา่ เรียนหรอื รบั การฝกึ อาชพี หรอื รบั การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ

ข. ไม่ยื่นคาร้องขอกลับเข้าศึกษาภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกาหนดลาพัก
การศึกษาหรอื การฝึกอาชีพ ตามข้อ 19

ค. ไม่มาติดตอ่ เพอ่ื รกั ษาสภาพนักศึกษา ไมช่ าระค่าธรรมเนยี มการรกั ษาสภาพนักศึกษา
ทกุ ภาคเรยี นท่พี กั การศกึ ษาตามข้อ 28

ง. ประพฤตฝิ ่าฝนื ระเบยี บขอ้ บังคบั ของสถาบนั หรอื สถานประกอบการ หรือของทางราชการ
หรือประพฤติผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง จนเป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียงแก่สถาบันหรือประพฤติตนเป็นภัย
ต่อความสงบเรยี บร้อยของบา้ นเมอื ง

จ. ได้รับโทษจาคุก โดยคาพิพากษาถึงท่ีสุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิด

ทไ่ี ด้กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ฉ. ขาดพน้ื ความรู้ ตามขอ้ 7
ช. พ้นสภาพนกั ศึกษา ตามขอ้ 55

ขอ้ 13 ผู้ท่ีพ้นสภาพนักศึกษา ตามข้อ 12 (๒) (๔) ก. ข. และ ค. ถ้าประสงค์จะขอ
คืนสภาพการเป็นนักศึกษา จะต้องย่ืนคาร้องขอต่อสถาบันแห่งนั้นภายใน ๑ ปี นับแต่วันถัดจาก
วนั พน้ สภาพนกั ศึกษาเม่อื สถาบันพจิ ารณาเห็นสมควรกใ็ ห้รบั เข้าศกึ ษาได้

ขอ้ 14 การขอคืนสภาพการเปน็ นักศึกษา ตามข้อ 13 ใหป้ ฏิบัติ ดังนี้
(๑) ตอ้ งเขา้ ศกึ ษาภายในสปั ดาหแ์ รกของภาคเรียน เว้นแตก่ ลับเข้าศกึ ษาในภาคเรียนเดยี วกนั
(๒) ตอ้ งศึกษาตามหลักสตู รที่ใช้อยูใ่ นขณะนั้น
(3) ให้นาจานวนหน่วยกิตของรายวิชาท่ีประเมินได้ไว้ และเป็นรายวิชาที่ยังปรากฏอยู่ใน
หลักสูตรนี้มานับรวม เพอื่ พจิ ารณาตัดสินการสาเร็จการศกึ ษาตามหลกั สูตร

เล่ม ๑๓๘ ตอนพเิ ศษ ๒๖๙ ง หน้า ๒๓ ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔
ราชกิจจานุเบกษา

ส่วนที่ ๕
การพกั การศกึ ษา

ข้อ 15 สถาบันและสถานประกอบการอาจพิจารณาอนุญาตให้นักศึกษาลาพักการศึกษา
หรือฝึกอาชีพได้ตามท่ีเห็นสมควร เม่ือมเี หตุจาเปน็ กรณใี ดกรณหี นงึ่ ต่อไปน้ี

(๑) ได้รับทุนการศึกษาให้ไปศึกษา หรือดูงาน หรือเป็นตัวแทนของสถาบนั หรือสถานประกอบการ
ในการเขา้ รว่ มประชมุ หรือกรณอี ่นื ๆ อันควรแก่การส่งเสริม

(๒) เจ็บปว่ ยต้องพักรักษาตัวเปน็ เวลานาน โดยมีคารับรองของแพทย์ปริญญา
(๓) กรณีลาพกั เพื่อรบั ราชการทหารกองประจาการใหล้ าพกั ไดจ้ นกวา่ จะได้รับการนาปลด
(๔) เหตุจาเป็นอย่างอื่นตามท่ีสถาบัน หรือสถาบันและสถานประกอบการจะพิจารณา
เห็นสมควร
ขอ้ ๑6 นักศึกษาท่ีขออนุญาตลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพ ต้องย่ืนคาขอ
เป็นลายลักษณ์อักษรต่อสถาบัน หรือสถาบันและสถานประกอบการ มิฉะน้ันจะถือว่าขาดเรียน
เว้นแต่เหตุสุดวสิ ยั
ขอ้ ๑7 สถาบันส่ังให้นักศึกษาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพได้ โดยปฏิบัติตามข้อกาหนด
เก่ียวกบั วนิ ัยของนักศึกษาของสถาบันหรือระเบียบข้อบงั คบั ของสถานประกอบการ
นักศึกษาท่ีขออนุญาตลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพตามข้อ ๑5 หรือถูกสั่งพักการศึกษา
หรือการฝึกอาชีพตามข้อ ๑7 เป็นเวลาเกินกว่า ๑ ภาคเรียน ต้องชาระค่าธรรมเนียมการรักษา
สภาพนักศึกษาทุกภาคเรียนท่ีพักการศึกษาตามระเบียบของสถาบัน ภายใน ๑๕ วัน นับจากวันประกาศ
ลงทะเบียนเรยี นในภาคเรยี นถัดไป
ขอ้ ๑8 การอนุญาตให้นักศึกษาลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพ ให้สถาบันทาหลักฐาน
เป็นลายลักษณ์อกั ษรแจง้ ให้นกั ศึกษาทราบ
ขอ้ 19 นกั ศึกษาทีล่ าพกั การศึกษาหรอื การฝกึ อาชพี เมอื่ ครบกาหนดเวลาที่ลาพกั การศกึ ษา
หรือการฝึกอาชีพแล้ว ให้ยื่นคาร้องขอกลับเข้าศึกษาพร้อมด้วยหลักฐานการอนุญาตให้ลาพักการศกึ ษา
หรอื การฝึกอาชพี ต่อสถาบันภายใน ๑๕ วัน นบั แตว่ ันถดั จากวนั ครบกาหนด หากพ้นกาหนดนีใ้ ห้ถือวา่
พ้นสภาพนกั ศึกษา เวน้ แตม่ เี หตผุ ลสมควร

สว่ นท่ี ๖
การลาออก

ขอ้ 20 นักศึกษาท่ีประสงค์จะลาออกจากการเป็นนักศึกษา ต้องดาเนินการตามระเบียบ
ท่ีสถาบันกาหนด

หน้า ๒๔ ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพเิ ศษ ๒๖๙ ง ราชกจิ จานุเบกษา

ขอ้ ๒1 นักศึกษาที่ลาออกแล้วได้รับอนุญาตให้กลับเข้าศึกษาในภาคเรียนเดียวกัน ให้ถือว่า
นกั ศกึ ษาผ้นู ั้นมสี ภาพนกั ศึกษามาตัง้ แต่ต้นภาคเรียนน้นั ทุกประการ

หมวด ๒
การจดั การศกึ ษา

ส่วนท่ี ๑
การเปิดเรยี น

ขอ้ ๒2 ให้สถาบันกาหนดวันเปิดและปิดภาคเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย
ปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา หากสถาบันใดจะกาหนดวันเปิดและปิดภาคเรียนแตกต่าง
ไปจากระเบยี บดังกล่าว ใหร้ ายงานสานักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษาทราบ

ขอ้ ๒3 สถาบันที่เปิดภาคเรียนฤดูร้อน ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย
การเปิดภาคเรยี นฤดรู อ้ นในสถานศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ

ส่วนที่ ๒
การลงทะเบยี นรายวิชา

ขอ้ ๒4 สถาบันต้องจัดให้นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาต่าง ๆ ให้เสร็จก่อนวันเปิดภาคเรียนน้ัน
ตามระยะเวลาที่สถาบันกาหนด

ข้อ ๒5 การลงทะเบียนรายวิชาต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยเป็นไป

ตามข้อกาหนดของหลกั สตู ร
ขอ้ ๒6 นกั ศึกษาต้องลงทะเบียนรายวชิ าดว้ ยตนเอง ตามวันและเวลาทสี่ ถาบันกาหนด
ในกรณีท่ีนักศึกษาไม่สามารถมาลงทะเบียนรายวิชาด้วยตนเองได้ จะมอบหมายให้ผู้อ่ืน

มาลงทะเบยี นแทน ใหส้ ถาบันพจิ ารณาเปน็ ราย ๆ ไป
ข้อ ๒7 สถาบนั อาจให้นกั ศึกษาลงทะเบียนรายวชิ าภายหลงั กาหนดตามข้อ ๒4 กไ็ ด้ โดยให้

สถาบันกาหนดวันส้ินสุดการลงทะเบียนตามท่ีเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียน
หรือไมเ่ กนิ ๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรยี นฤดรู อ้ น

การลงทะเบียนรายวิชาตามวรรคหนง่ึ นกั ศึกษาตอ้ งชาระคา่ ปรบั ตามที่สถาบนั กาหนด
ข้อ ๒8 นกั ศกึ ษาทีม่ ไิ ด้ลงทะเบียนรายวชิ าภายในวนั และเวลาทส่ี ถาบนั กาหนด ตามขอ้ ๒7
ถ้าประสงค์จะรักษาสภาพนักศึกษา ต้องติดต่อรักษาสภาพนักศึกษาภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันถัด
จากวันสิน้ สุดการลงทะเบียน หากพน้ กาหนดนใ้ี ห้ถอื ว่าพน้ สภาพนกั ศกึ ษา เว้นแต่มีเหตุผลสมควร
ข้อ 29 นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาได้ไม่น้อยกว่าภาคเรียนละ 9 หน่วยกิต และไม่เกิน

ภาคเรียนละ ๒๒ หน่วยกิต สาหรับการเรียนแบบเต็มเวลา และได้ไม่เกินภาคเรียนละ 9 หน่วยกิต

หน้า ๒๕ ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพเิ ศษ ๒๖๙ ง ราชกจิ จานุเบกษา

สาหรับการเรียนแบบไม่เต็มเวลา ส่วนการลงทะเบียนรายวิชาในภาคเรียนฤดูร้อน ให้ลงทะเบียน
ไดไ้ มเ่ กิน 9 หน่วยกติ

หากมีเหตุผลและความจาเป็นในการให้นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาที่แตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้น
อาจทาได้แตต่ อ้ งไดร้ บั อนุญาตจากสถาบัน

ส่วนท่ี ๓
การเปล่ียน การเพมิ่ และการถอนรายวิชา

ข้อ 30 นักศกึ ษาจะขอเปลยี่ นรายวชิ าทไี่ ดล้ งทะเบียนไวแ้ ล้ว หรอื ขอเพ่มิ รายวิชาตอ้ งกระทา
ภายใน ๑๕ วัน นับแตว่ ันเปิดภาคเรยี น หรือภายใน ๕ วนั นบั แตว่ ันเปดิ ภาคเรยี นฤดูร้อน สว่ นการขอถอน
รายวิชาต้องกระทาภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนหรือภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันเปิด
ภาคเรียนฤดรู อ้ น

การถอนรายวิชาภายหลังกาหนดตามวรรคหน่ึงอาจกระทาได้ ถ้าสถาบันพิจารณาเห็นว่า
มีเหตุผลสมควร

การขอเปล่ียน ขอเพ่ิม หรือขอถอนรายวิชา ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ท่ีปรึกษา
และอาจารยผ์ ู้สอนประจารายวิชา

ข้อ 31 การถอนรายวิชาภายในกาหนด ตามข้อ 30 ไม่ต้องลงรายวิชานั้นในใบแสดง
ผลการศึกษา การถอนรายวิชาภายหลังกาหนด ให้ลงอักษร “ถ.” ในใบแสดงผลการศึกษาช่อง
“ระดบั ผลการศึกษา”

สว่ นท่ี 4
การศกึ ษาโดยไมน่ บั จานวนหนว่ ยกิตมารวมเพอ่ื การสาเรจ็ การศึกษาตามหลักสตู ร

ข้อ ๓2 สถาบนั อาจอนญุ าตให้นักศกึ ษาลงทะเบียนเรยี นรายวชิ าใดวชิ าหน่งึ เพื่อเป็นการเสริม
ความรู้ โดยไมน่ บั จานวนหนว่ ยกิตของรายวชิ าน้ันมารวมเพอ่ื การสาเรจ็ การศกึ ษาตามหลกั สูตรก็ได้

ขอ้ ๓3 เม่ือได้ทาการวัดและประเมินผลการศึกษาแล้วได้ระดับผลการศึกษาผ่าน ให้บันทึก
“ม.ก.” ลงในใบแสดงผลการศกึ ษาช่อง “ระดบั ผลการศึกษา” ถ้าผลการประเมนิ ไมผ่ า่ น ไม่ต้องบนั ทึก
รายวิชาน้ัน และให้ถือเป็นการสิ้นสุดสาหรับการศึกษารายวิชาน้ัน โดยไม่นับจานวนหน่วยกิตมารวม
เพือ่ การสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

สว่ นที่ 5
การนบั เวลาเรียนเพ่ือสิทธใิ นการประเมนิ สรุปผลการศกึ ษา

ขอ้ ๓4 นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาไม่ต่ากว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียน
สาหรบั รายวิชาน้นั จงึ จะมีสทิ ธริ บั การประเมินสรปุ ผลการศกึ ษา

หน้า ๒๖ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพเิ ศษ ๒๖๙ ง ราชกิจจานเุ บกษา

ในกรณที ม่ี ีเหตุสุดวสิ ัย สถาบันอาจพจิ ารณาผ่อนผันได้เปน็ ราย ๆ ไป
ข้อ ๓5 การนับเวลาเรียนใหป้ ฏบิ ัตดิ งั น้ี
(๑) เวลาเปดิ เรียนเต็มภาคเรียนปกติรวมการประเมนิ ผลรายวชิ า ภาคเรียนละ ๑๘ สัปดาห์
(2) นักศึกษาทยี่ า้ ยสถาบนั ระหวา่ งภาคเรียน ให้นาเวลาเรยี นจากสถาบันทั้งสองแห่งมารวมกัน

(3) นักศึกษาท่ีลาออกแล้ว ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าศึกษาในภาคเรียนเดียวกัน ให้นับเวลา
เรยี นทเ่ี รยี นแลว้ มารวมกัน

(4) นักศึกษาที่ลาพักการศึกษาหรือฝึกอาชีพในภาคเรียนใดได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียน
หรือฝึกอาชีพในภาคเรียนเดียวกันให้นับเวลาเรียนหรือฝึกอาชีพก่อนและหลังการลาพักการเรียน
หรอื การฝึกอาชีพในภาคเรยี นนน้ั มารวมกัน

(5) นกั ศึกษาท่ีถกู สัง่ พักการศึกษาจะไม่นบั เวลาเรียนในระหวา่ งถูกส่งั พกั การศกึ ษา
(6) รายวิชาที่มีอาจารย์ผู้สอนหรือครูฝึกต้ังแต่ ๒ คนขึ้นไป และแยกกันสอน ให้นาเวลาเรียน
ทศี่ ึกษากบั อาจารย์ผ้สู อนหรือครูฝกึ ทกุ คนมารวมกัน
(7) ถา้ มีการเปลี่ยนรายวชิ า หรือเพ่ิมรายวชิ า ให้นับเวลาเรียนตั้งแต่เรมิ่ เรียนรายวิชาใหม่

สว่ นท่ี 6
การขออนญุ าตเลอื่ นการประเมนิ

ข้อ ๓6 นกั ศึกษาท่ีไม่สามารถเขา้ รับการประเมนิ ผลรายวิชาตามวนั และเวลาทส่ี ถาบนั กาหนด
สถาบนั อาจอนุญาตใหเ้ ล่ือนการประเมนิ ผลรายวชิ า ได้ในกรณตี ่อไปน้ี

(๑) ประสบอุบตั เิ หตุ หรือเจบ็ ป่วย
(๒) ถูกควบคมุ ตัวโดยพนกั งานเจ้าหนา้ ที่ตามกฎหมาย
(๓) เป็นตัวแทนของสถาบัน หรือสถานประกอบการ ในการเข้าร่วมประชุมหรือกิจกรรมพิเศษ

อย่างอ่นื โดยไดร้ บั ความยนิ ยอมจากสถาบันหรือสถานประกอบการ
(๔) มีความจาเป็นอย่างอนื่ โดยสถาบัน หรือสถาบันและสถานประกอบการพิจารณาแล้วเห็นวา่

เปน็ ความจาเป็นอย่างแทจ้ ริง
ข้อ ๓7 นักศึกษาท่ีประสงค์จะขออนุญาตเล่ือนการประเมินผลรายวิชา ต้องยื่นคาร้อง

พร้อมท้ังหลักฐานประกอบต่อสถาบันก่อนการประเมินไม่น้อยกว่า ๓ วัน หากไม่สามารถกระทาได้
ใหส้ ถาบนั พจิ ารณาเป็นราย ๆ ไป

การอนุญาตให้เลื่อนการประเมินผลรายวชิ าให้สถาบนั ทาเป็นลายลกั ษณอ์ ักษรมอบให้นกั ศกึ ษา
ข้อ ๓8 นักศึกษาจะขออนุญาตเลื่อนการประเมินผลรายวิชาออกไปได้ไม่เกินวันกาหนด
การประเมินสรุปผลการศึกษาปลายภาคเรียนของภาคเรียนถัดไป เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสถาบัน
เปน็ ราย ๆ ไป

หน้า ๒๗ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง ราชกิจจานุเบกษา

ขอ้ 39 ถ้าเป็นกรณีท่ีสามารถกาหนดวันประเมินผลรายวิชาได้ ให้สถาบันกาหนด
วันประเมินผลรายวิชาไว้ในหนังสืออนุญาตให้เลื่อนการประเมินผลรายวิชา แต่ถ้าไม่สามารถกระทาได้
ให้เป็นหน้าท่ีของนักศึกษาซึ่งพร้อมท่ีจะรับการประเมินผลรายวิชายื่นคาร้องต่อสถาบั นเพ่ือขอเข้ารับ
การประเมินผลรายวิชาพรอ้ มทั้งหลกั ฐานการอนุญาตใหเ้ ลอ่ื นการประเมนิ ผลรายวชิ า

ทั้งน้ีต้องไม่เกินวันกาหนดการประเมินสรุปผลการศึกษาปลายภาคเรียนของภาคเรียนถัดไป
หากพ้นกาหนดนใ้ี หถ้ ือวา่ ขาดการประเมินผลรายวชิ าและให้สถาบนั ทาการประเมนิ ตดั สินผลการศกึ ษา

หมวด ๓
การประเมนิ ผลการศกึ ษา

ส่วนท่ี ๑
หลักการในการประเมนิ ผลการศึกษา

ข้อ 40 ให้สถาบันมีหน้าที่รับผิดชอบในการประเมินผลการศึกษารายวิชาท่ีเรียนและ
ฝึกปฏิบัติในสถาบัน โดยให้สถาบันและสถานประกอบการมีหน้าท่ีรับผิดชอบร่วมกันในการประเมิน
ผลการศึกษารายวชิ าท่ีเรียนและฝกึ ปฏบิ ตั ใิ นสถานประกอบการ

ขอ้ ๔1 ให้ประเมินผลการศึกษาเป็นรายวิชาตามระบบหน่วยกิต ตามสภาพจริงต่อเนื่อง
ตลอดภาคเรียน รวมท้ังการประเมินสรุปผลการศึกษา ซึ่งครอบคลุมจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา
และเน้อื หาวิชา โดยใช้เครือ่ งมือและวิธกี ารหลากหลายตามความเหมาะสม

สว่ นที่ ๒
วิธีการประเมนิ ผลการศึกษา

ขอ้ ๔2 ให้สถาบันทาการประเมินผลการศึกษารายวิชาที่เรียนและฝึกปฏิบัติในสถาบัน
เมื่อสน้ิ ภาคเรยี น หรือเมื่อส้ินสดุ การศึกษาหรอื การปฏิบัติงานในแต่ละรายวชิ า

สาหรับรายวิชาที่เรียนและฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ ให้สถาบันและสถานประกอบการ
โดยอาจารย์นิเทศก์และครูฝึกร่วมกันประเมินผลการศึกษา เม่ือสิ้นสุดการเรียนและฝึกปฏิบัติ
ในแต่ละรายวิชา

ให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาและการประเมินสรุปผลการศึกษา โดยพิจารณาจากการประเมิน
ในแตล่ ะกจิ กรรมและงานทม่ี อบหมาย ในอัตราส่วนตามความสาคญั ของแต่ละกิจกรรมหรอื งานที่มอบหมาย

ให้ดาเนินการประเมินผลการศึกษาสาหรับนักศึกษาที่ศึกษาในรูปแบบการศึกษาระบบทวิภาคี
จากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ตามวิธีการท่ีอาจารย์นิเทศก์และครูฝึกกาหนด
โดยความเห็นชอบของสถาบนั

หน้า ๒๘ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง ราชกิจจานุเบกษา

ขอ้ ๔3 ให้ใชต้ ัวเลขแสดงระดับผลการเรยี นในแต่ละรายวิชา ดังต่อไปน้ี
ร้อยละ 80 ข้นึ ไป ระดับผลการเรยี น ๔.๐ หมายถงึ ผลการเรียนอยูใ่ นเกณฑด์ ีเยีย่ ม
รอ้ ยละ 75 - 79 ระดับผลการเรียน ๓.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยใู่ นเกณฑ์ดีมาก
ร้อยละ 70 - 74 ระดบั ผลการเรียน ๓.๐ หมายถงึ ผลการเรยี นอยใู่ นเกณฑด์ ี

ร้อยละ 65 - 69 ระดับผลการเรียน ๒.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์
ค่อนขา้ งดี

รอ้ ยละ 60 - 64 ระดบั ผลการเรยี น ๒.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์พอใช้
ร้อยละ 55 - 59 ระดับผลการเรียน ๑.๕ หมายถึง ผลการเรยี นอยใู่ นเกณฑ์อ่อน
ร้อยละ 50 - 54 ระดบั ผลการเรยี น ๑.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยใู่ นเกณฑ์อ่อนมาก
ตา่ กว่ารอ้ ยละ 50 ระดบั ผลการเรยี น ๐ หมายถงึ ผลการเรยี นตา่ กว่าเกณฑ์
การบันทึกระดับผลการเรียนในแต่ละรายวิชาลงในใบแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ
ให้ใช้ตัวอกั ษรแสดงระดับผลการศกึ ษาในแต่ละรายวิชา ดังต่อไปนี้
4.0 ใช้ตัวอกั ษร A หมายถึง Excellent
3.5 ใชต้ ัวอักษร B+ หมายถึง Very Good
3.0 ใช้ตวั อักษร B หมายถึง Good
2.5 ใชต้ วั อักษร C+ หมายถึง Fairly Good

2.0 ใชต้ ัวอักษร C หมายถงึ Fair
1.5 ใชต้ วั อกั ษร D+ หมายถึง Poor
1.0 ใชต้ วั อกั ษร D หมายถงึ Very Poor
0 ใช้ตัวอกั ษร F หมายถงึ Fail
ข้อ ๔4 รายวชิ าใดทแี่ สดงระดับผลการเรยี นตามขอ้ ๔3 ไมไ่ ด้ ใหใ้ ช้ตวั อักษรต่อไปนี้
ข.ร. หมายถึง ขาดเรียน ไม่มีสิทธิเข้ารับการประเมินสรุปผลการศึกษา เนื่องจาก
มีเวลาศกึ ษาตา่ กว่าร้อยละ ๘๐ โดยสถาบนั พจิ ารณาแลว้ เห็นว่าไม่ใช่เหตสุ ุดวสิ ัย สาหรับรายวิชาทีเ่ รียน
หรอื ฝกึ ปฏิบัตใิ นสถาบนั
ข.ป. หมายถึง ขาดการปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติงานไม่ครบตามเกณฑ์ โดยสถาบัน
และสถานประกอบการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร สาหรับรายวิชาท่ีเรียนหรือฝึกปฏิบัติ
ในสถานประกอบการ
ข.ส. หมายถึง ขาดการประเมนิ สรุปผลการศึกษา โดยสถาบนั พิจารณาแล้วเห็นวา่

ไม่มีเหตุผลสมควร
ถ. หมายถงึ ถอนรายวิชาภายหลงั กาหนด
ท. หมายถึง ทุจริตในการสอบหรืองานท่ีมอบหมายให้ทา

หน้า ๒๙ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพเิ ศษ ๒๖๙ ง ราชกิจจานเุ บกษา

ม.ส. หมายถึง ไม่สมบูรณ์ เน่ืองจากไม่สามารถเข้ารับการประเมินครบทุกคร้ัง
และหรือไมส่ ง่ งานอนั เปน็ ส่วนประกอบของการศกึ ษารายวชิ าตามกาหนดด้วยเหตุสดุ วิสัย

ม.ท. หมายถึง ไม่สามารถเข้ารับการประเมินทดแทนการประเมินส่วนที่ขาด
ของรายวิชาท่ีไมส่ มบูรณ์ภายในภาคเรยี นถดั ไป

ม.ก. หมายถึง การศึกษาโดยไม่นบั จานวนหนว่ ยกิตมารวมเพ่ือการสาเร็จการศกึ ษา
ตามหลกั สตู ร และผลการประเมนิ ผ่าน

การบันทึกตัวอักษรที่แสดงระดับผลการเรียนลงในใบแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ
ให้ใชต้ วั อักษรแสดงระดบั ผลการศกึ ษาในแตล่ ะรายวชิ า ดังตอ่ ไปนี้

ข.ร. ใชอ้ กั ษร I.C. หมายถึง Insufficient class attendance
ข.ป. ใชอ้ ักษร I.P. หมายถึง Incomplete practical assignment
ข.ส. ใชอ้ ักษร I.L. หมายถงึ Incomplete learning assessment
ถ. ใช้อกั ษร W.A. หมายถึง Withdraw after dead line
ท. ใชอ้ ักษร C. หมายถึง Cheating
ม.ส. ใช้อกั ษร N.C. หมายถึง Not complete
ม.ท. ใชอ้ ักษร U.T. หมายถึง Unable to undertake substitute Assessment
ม.ก. ใช้อักษร N.Cr. หมายถึง Non - credit
ข้อ ๔5 ในกรณีตอ่ ไปน้ีให้ตดั สินผลการศกึ ษาเปน็ ระดับ ๐ (ศนู ย์) เฉพาะรายวชิ า
(๑) ได้ ข.ร.
(๒) ได้ ข.ป.
(๓) ได้ ข.ส.
(๔) ได้ ถ.
(๕) ได้ ท.
(๖) ได้ ม.ท.
ข้อ ๔6 นักศึกษาที่ทาการทุจริต หรือส่อเจตนาทุจริตในการสอบ หรืองานที่มอบหมาย
ใหท้ าในรายวชิ าใด ใหส้ ถาบนั พิจารณาดาเนินการ ดังน้ี
(๑) ให้ไดค้ ะแนน ๐ (ศนู ย์) เฉพาะครง้ั นั้น หรอื
(๒) ให้ระดับผลการเรียนเป็น ๐ (ศูนย์) โดยบันทึก “ท.” ลงในใบแสดงผลการศึกษาช่อง
“ระดับผลการศกึ ษา” ในรายวิชาน้ัน หรอื
ดาเนินการตาม (๒) และตัดคะแนนความประพฤติตามระเบียบว่าด้วยการตัดคะแนน
ความประพฤตทิ ่สี ถาบนั กาหนดตามความรา้ ยแรงแลว้ แต่กรณี

หน้า ๓๐ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง ราชกจิ จานเุ บกษา

ข้อ 47 การคานวณค่าระดับคะแนนเฉลยี่ ให้ปฏบิ ัตดิ ังนี้
(๑) ให้นาผลบวกของผลคณู ระหวา่ งจานวนหนว่ ยกติ ของแต่ละรายวชิ ากับระดบั ผลการศกึ ษา
หารด้วยผลบวกของจานวนหน่วยกติ ของแต่ละรายวชิ า คดิ ทศนยิ มสองตาแหนง่ ไม่ปัดเศษ
(๒) ให้คานวณค่าระดับคะแนนเฉล่ีย จากรายวิชาที่ได้ระดับผลการศึกษาตามข้อ 43
และข้อ ๔5 รายวิชาท่ีนักศึกษาเรียนซ้า เรียนแทน ให้ใช้ระดับผลการศึกษาสุดท้ายและนับจานวน
หนว่ ยกติ มาเป็นตวั หารเพยี งครงั้ เดียว
(๓) ให้คานวณคา่ ระดับคะแนนเฉลีย่ ดงั น้ี

(ก) ค่าระดับคะแนนเฉล่ียประจาภาคเรียน คานวณจากรายวิชาท่ีได้ระดับผลการศึกษา
ตาม (๒) เฉพาะในภาคเรยี นหน่งึ ๆ

(ข) ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม คานวณจากรายวิชาท่ีเรียนมาทั้งหมดและได้ระดับ
ผลการศึกษาตาม (๒) ต้ังแตส่ องภาคเรียนข้นึ ไป

ข้อ 48 ผู้ที่ได้ ม.ส. และไมส่ ามารถเขา้ รับการประเมนิ ทดแทนภายในเวลาที่สถาบนั กาหนด
ให้สถาบันบันทึก “ม.ท.”ลงในใบแสดงผลการศึกษา ช่อง “ระดับผลการศึกษา” เว้นแต่ได้ ม.ส.
ตามขอ้ ๓5 (๓) ใหส้ ถาบันและหรือสถานประกอบการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

กรณีผู้ท่ีได้ ม.ส. เน่ืองจากไม่สามารถส่งงานอันเปน็ สว่ นประกอบของการเรียนรายวชิ าได้ตาม
กาหนดใหน้ ักศกึ ษาส่งงานนัน้ ภายใน ๑๐ วัน นับแต่วนั ประกาศผลการศกึ ษารายวิชา หากไมส่ ามารถ
ดาเนินการได้ให้สถาบันประเมินผลการเรียนจากคะแนนท่ีมีอยู่ เว้นแต่มีเหตุจาเป็นท่ีสถาบันพิจารณา
เห็นสมควร ให้สถาบันหรือสถานประกอบการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ท้ังน้ี ให้ดาเนินการให้เสร็จสิ้น
ภายในกาหนดการประเมินสรปุ ผลการศึกษาของภาคเรยี นถดั ไป

ขอ้ 49 นักศึกษาต้องเข้ารับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ เม่ือนักศึกษาได้ลงทะเบียน
รายวิชาครบทุกรายวิชาตามหลักสูตร หรือตามระยะเวลาที่คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพกาหนด
ทงั้ น้ี ใหเ้ ป็นไปตามหลกั เกณฑ์และวธิ ีการทีค่ ณะกรรมการการอาชีวศกึ ษากาหนด

นักศึกษาจะสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้ จะต้องเข้ารับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
และผลการประเมนิ ผ่านเกณฑท์ ีก่ าหนด

สว่ นที่ ๓
การตัดสนิ ผลการศกึ ษา

ขอ้ 50 การตดั สินผลการศึกษาให้ดาเนนิ การ ดงั น้ี
(๑) ตดั สินผลการศกึ ษาเป็นรายวิชา
(๒) รายวิชาที่มีผลการศึกษาต้ังแต่ระดับ ๑.0 ข้ึนไป ถือว่าประเมินผ่านและให้นับจานวน
หนว่ ยกติ ของรายวชิ านัน้ เป็นจานวนหน่วยกติ สะสม
(๓) เมอื่ ไดป้ ระเมนิ ผลการศึกษาแล้วนกั ศกึ ษาทีม่ ผี ลการศกึ ษาระดบั ๐ (ศูนย์) ตามที่กาหนดไว้

หน้า ๓๑ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพเิ ศษ ๒๖๙ ง ราชกจิ จานเุ บกษา

(๔) ในข้อ 43 และ ข้อ ๔5 ถ้าเป็นรายวิชาบังคับที่กาหนดให้ศึกษาในแต่ละสาขาวิชา
ใหศ้ ึกษาซ้ารายวชิ านนั้ ถ้าเปน็ รายวิชาเลอื ก จะศึกษาซ้า หรอื ศึกษารายวิชาอื่นแทนก็ได้

ในกรณที ใ่ี ห้ศกึ ษารายวชิ าอนื่ แทนใหล้ งหมายเหตุว่าใหศ้ ึกษาแทนรายวิชาใด
ขอ้ 51 การตดั สินผลการศึกษาเพอ่ื สาเรจ็ การศกึ ษาตามหลักสูตร ให้ถอื ตามเกณฑ์ต่อไปน้ี

(๑) ได้รายวิชาและจานวนหน่วยกิตสะสมในทุกหมวดวิชา ครบถ้วนตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตร
และเงื่อนไขอน่ื ๆ ทสี่ ถาบนั กาหนด

(๒) ไดค้ า่ ระดบั คะแนนเฉล่ียสะสมไมต่ า่ กว่า ๒.๐๐
(๓) ผ่านเกณฑก์ ารประเมนิ มาตรฐานวิชาชพี
ข้อ 52 ให้สถาบันเปน็ ผ้อู นุมตั ิผลการเรยี นและการสาเรจ็ การศกึ ษาตามหลักสตู ร
ขอ้ ๕3 นักศึกษาผู้ใดประสงค์จะลงทะเบียนเรียนเพิ่ม เพื่อประเมินปรับค่าระดับคะแนน
เฉล่ียสะสมให้สงู ขน้ึ ให้สถาบนั ดาเนนิ การให้ศกึ ษาเพมิ่ ภายในเวลาทเี่ หน็ สมควร การนับจานวนหน่วยกติ
สะสมในกรณนี ้ใี ห้นบั หนว่ ยกิตท่ลี งทะเบยี นเรยี นทกุ รายวชิ า
ข้อ ๕4 ให้สถาบันพิจารณาเกณฑ์การพ้นสภาพเน่ืองจากผลการศึกษาของนักศึกษา
ตามหลกั เกณฑ์ดังตอ่ ไปนี้
(1) เม่ือนักศึกษาได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ 2 ภาคเรียน หรือไม่น้อยกว่า 40 หน่วยกิต
และได้รับการประเมินใหม่แล้ว หากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ากว่า 1.75 ให้สถาบันพิจารณา

ว่าควรให้เรียนตอ่ ไปหรอื พ้นสภาพนกั ศกึ ษา
(2) เมื่อนักศึกษาได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ 4 ภาคเรียน หรือไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

และได้รับการประเมินใหม่แล้ว หากได้ค่าระดับคะแนนเฉล่ียสะสมต่ากว่า 1.90 ให้สถาบันพิจารณา
ว่าควรใหเ้ รยี นต่อไปหรือให้พน้ สภาพนักศึกษา

สว่ นท่ี ๔
การเทียบโอนผลการศึกษา

ขอ้ 55 การโอนผลการศึกษา ให้สถาบันท่ีรับนักศึกษาเข้าศึกษารับโอนผลการศึกษา
ทีไ่ ดร้ บั ความเห็นชอบจากสถาบัน

ข้อ 56 สถาบันจะรับโอนผลการศึกษารายวิชาจากหลักสูตรอ่ืนซ่ึง ก.พ. รับรองคุณวุฒิ
ไมต่ ่ากว่าระดบั ปริญญาตรี หรอื จากหลักสตู รอน่ื ใดทม่ี ีรายวชิ าลักษณะเดียวกนั แตเ่ รียกชื่อเปน็ อยา่ งอื่น
ของสถาบนั การศกึ ษาของรฐั หรือเอกชน ตามหลกั เกณฑ์ ดงั นี้

(๑) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มวิชาท่ีมีเน้ือหาใกล้เคียงกันไม่ต่ากว่า ร้อยละ ๗๕ และมีจานวน
หน่วยกิตไม่น้อยกว่าหนว่ ยกิตของรายวิชาท่รี ะบุไว้ในหลักสตู รท่ีใชร้ ะเบียบน้ี

(๒) รายวิชาที่ได้ระดับผลการศึกษาต้ังแต่ ๒.๐ หรือระดับคะแนนตัวอักษร C ข้ึนไป
สถาบนั จะรบั โอนผลการศกึ ษาหรือจะทาการประเมนิ ใหมแ่ ลว้ จงึ รับโอนรายวิชานนั้ กไ็ ด้

หน้า ๓๒ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง ราชกจิ จานเุ บกษา

(3) การขอโอนผลการศกึ ษาและหน่วยกิต สถาบนั จะรบั โอนไดไ้ มเ่ กิน 3 ใน 4 ของจานวน
หน่วยกติ รวมของหลกั สูตรทร่ี บั โอน

(4) รายวิชาหรือกลมุ่ วชิ าทร่ี ับโอนผลการศึกษา ต้องนามาคานวณระดบั คะแนนเฉล่ยี สะสมด้วย
ขอ้ 57 เมือ่ นักศึกษาขอโอนผลการศึกษา ให้สถาบันดาเนนิ การให้แล้วเสร็จกอ่ นการประเมนิ

สรปุ ผลการศกึ ษา ภาคเรียนแรกทนี่ ักศึกษาเขา้ เรียน
ขอ้ 58 การบันทึกผลการศึกษา ตามข้อ 55 ข้อ 56 ลงในใบแสดงผลการศึกษา

ให้ใช้รหัสวิชาและช่ือรายวิชาตามหลักสูตร โดยแสดงหมายเหตุว่าเป็นรายวิชาท่ีรับโอนมาจากหลักสูตรอ่ืน
หรือจากการเทียบรายวชิ ารหสั วิชาใด ยกเวน้ มีข้อกาหนดเฉพาะในเร่ืองน้ัน ๆ

ข้อ 59 นักศึกษาท่ีมีประสบการณ์ในงานอาชีพ หรือทางานในอาชีพน้ันอยู่แล้ว หรือ
มีความรู้ในรายวิชาตามหลักสตู รน้ีมาก่อนเขา้ ศึกษา จะขอเทยี บโอนความรแู้ ละประสบการณ์การทางาน
ในสถานประกอบการ เพ่ือนับจานวนหน่วยกิตสะสมสาหรับรายวิชานั้นได้ ตามหลักเกณฑ์ท่ีสถาบันกาหนด
โดยสถาบันจดั ให้มรี ะบบสะสมหนว่ ยกติ (Credit Bank)

ถ้าผลการประเมินไม่ผ่าน นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนปกติในภาคเรียนน้ันหรือ
ขอประเมนิ เทียบโอนความร้แู ละประสบการณ์ในภาคเรียนตอ่ ไปได้

ขอ้ 60 นักศึกษาที่สถาบันให้พ้นสภาพนักศึกษาตามข้อ ๕4 แล้วสอบเข้าศึกษาใหม่
ในสถาบันเดิมหรือสถาบันแห่งใหม่ได้ ให้สถาบันรับโอนผลการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่ยังปรากฏอยู่ใน

หลกั สูตรปจั จุบันทีเ่ ปิดสอน และไดร้ ะดับผลการศกึ ษาต้งั แต่ ๒.๐ ขึน้ ไป
ข้อ 61 นักศึกษาที่ขอโอนผลการศึกษารายวิชาตามข้อ 55 หรือขอประเมินเทียบโอน

ความรู้และประสบการณ์ ต้องลงทะเบยี นเรยี นรายวชิ าในสถาบนั นน้ั ไมน่ ้อยกว่า ๑ ภาคเรยี น
ข้อ 62 ใหส้ ภาสถาบันเปน็ ผู้อนุมัติผลการเทียบโอนผลการศกึ ษา

หมวด ๔
การขอสาเรจ็ การศกึ ษาและอนุมตั ิการใหป้ รญิ ญา

สว่ นท่ี ๑
การขอสาเร็จการศกึ ษาและการขอขึน้ ทะเบยี นบัณฑติ

ขอ้ 63 นักศึกษาทม่ี สี ิทธขิ อสาเร็จการศึกษา ตอ้ งมีเกณฑ์คณุ สมบัตอิ ยา่ งนอ้ ย ดังน้ี
(๑) ศึกษารายวิชาได้ครบตามหลักสูตร และข้อกาหนดของสาขานั้น ท้ังนี้ ระยะเวลา
การศึกษา 4 ภาคเรียน สาหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา หรือไม่เกิน 12 ภาคเรียน สาหรับ
การลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา นับตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา โดยไม่นับภาคเรยี นที่ลาพักการเรยี น
หรือถกู สัง่ พกั การเรยี นรวมเขา้ ดว้ ย
(๒) มีหนว่ ยกิตสะสมไม่ตา่ กว่าที่หลักสูตรกาหนดไว้ และผ่านการประเมนิ มาตรฐานวชิ าชีพ

หน้า ๓๓ ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง ราชกจิ จานเุ บกษา

(๓) มีคณุ สมบตั เิ หมาะสมกบั การเปน็ บัณฑติ และไมม่ ีหนสี้ ินผูกพนั ต่อสถาบัน
(๔) ต้องย่ืนคาร้องขอสาเร็จการศึกษาในภาคเรียนท่ีนักศึกษาคาดว่าจะสาเร็จการศึกษา
ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันเปดิ ภาคเรยี นนั้น ตามขอ้ บงั คบั ของสถาบัน
นักศึกษาทีไ่ ม่ดาเนนิ การตามขอ้ (๔) จะไม่ไดร้ ับการพิจารณาเสนอช่ือเพื่อรับปริญญาในแต่ละ
ภาคเรียนนั้น และจะต้องชาระค่ารักษาสภาพการเป็นนักศึกษาจนถึงภาคเรียนที่นักศึกษายื่นคาร้องขอ
สาเร็จการศึกษาให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาและการประเมินสรุปผลการศึกษา โดยพิจารณาจาก
การประเมินในแต่ละกิจกรรมและงานที่มอบหมาย ในอัตราส่วนตามความสาคัญของแต่ละกิจกรรม
หรอื งานทีม่ อบหมาย
ให้ดาเนินการประเมินผลการศึกษาสาหรับนักศึกษาท่ีศึกษาในรูปแบบการศึกษาระบบทวิภาคี
จากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ตามวิธีการที่ครูฝึกและอาจารย์นิเทศก์กาหนดโดยความเห็นชอบ
ของสถาบนั
ข้อ 64 นกั ศกึ ษาท่สี าเรจ็ การศกึ ษาตอ้ งขอขน้ึ ทะเบยี นบณั ฑิต โดยยืน่ คาร้องขอขน้ึ ทะเบยี นบณั ฑติ
พร้อมชาระเงนิ คา่ ขน้ึ ทะเบยี นบณั ฑิต ตามขน้ั ตอนท่สี ถาบันกาหนด
ขอ้ 65 การเสนอช่อื เพอ่ื อนุมตั ิการใหป้ ริญญา ให้เปน็ ไปตามข้อบังคบั ของสถาบัน

สว่ นท่ี ๒
ปริญญาเกยี รตนิ ิยม

ขอ้ 66 ให้สภาสถาบันโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอาจออกข้อบังคับ
กาหนดให้ผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งหรือปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสองได้
ภายใตแ้ นวทางดังนี้

(1) ลงทะเบยี นรายวชิ าในสถาบนั ไม่ตา่ กวา่ ๗๒ หนว่ ยกิต
(2) สาเร็จการศึกษาในระยะเวลาท่ีหลักสูตรกาหนด ท้ังนี้ไม่นับระยะเวลาที่นักศึกษา
ขอลาพกั การศกึ ษาตามระเบยี บนี้
(3) ตอ้ งไม่มผี ลการศกึ ษาอยใู่ นเกณฑต์ า่ กว่าพอใช้ ในรายวชิ าใดวิชาหนง่ึ
(4) นักศึกษาผู้สาเร็จการศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม (2) และ (3) ที่มีค่าระดับ
คะแนนเฉล่ียสะสมไมต่ า่ กว่า ๓.๗๕ ไดร้ ับการเสนอช่อื เพอ่ื รบั ปรญิ ญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึง่
(5) นักศกึ ษาผู้สาเร็จการศึกษาทม่ี ีคุณสมบตั คิ รบถ้วนตาม (2) และ (3) ทมี่ ีคา่ คะแนนเฉลย่ี
สะสมไม่ต่ากวา่ ๓.๕๐ ได้รบั การเสนอชือ่ เพือ่ รับปริญญาตรีเกยี รตินิยมอนั ดบั สอง
(6) การเสนอช่ืออนุมัติการให้ปริญญาเกียรตินิยม ให้สถาบันนาเสนอต่อสภาสถาบันในคราวเดียวกัน
กบั ท่เี สนอขออนุมัติปรญิ ญาประจาภาคเรยี นน้นั

เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง หน้า ๓๔ ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔
ราชกจิ จานุเบกษา

หมวด 5
เอกสารการศึกษา

ข้อ 67 สถาบันต้องจัดให้มีเอกสารการศึกษา ดงั ต่อไปนี้
(1) ใบแสดงผลการศกึ ษา

การจัดทาใบแสดงผลการศึกษา ให้หัวหน้างานทะเบียนเป็นผู้จัดทา ลงลายมือช่ือ
พร้อมทั้งวัน เดือน ปี และให้ผู้อานวยการสถาบันเป็นผู้ลงนามรับรองผลการศึกษาและการสาเร็จ
การศกึ ษาตามหลกั สตู ร

(2) ใบแสดงผลการศกึ ษาฉบบั ภาษาองั กฤษ

การจัดทาใบแสดงผลการศึกษาฉบับภาษาอังกฤษ ให้หัวหน้างานทะเบียนเป็นผู้จัดทา
ลงลายมือชื่อ พร้อมท้ัง วัน เดือน ปี และให้ผู้อานวยการสถาบันเป็นผู้ลงนามรับรองผลการเรียน
และการสาเรจ็ การศกึ ษาตามหลักสตู ร

(3) แบบรายงานผลการศกึ ษาของผูท้ ่สี าเร็จการศึกษา
(4) ปริญญาบตั รและวฒุ ิบัตร
(5) สมุดประเมินผลการศึกษารายวิชาและหลักฐานเกี่ยวกับการประเมินผลการศึกษาในแบบอ่ืน
สมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ หรือสมุดบันทึกการปฏิบัติงานหรือสมุดรายงาน
ของนกั ศึกษา
(6) หนงั สอื รบั รองการเป็นนักศกึ ษาและหนังสอื รบั รองผลการศกึ ษา
ข้อ 68 ให้สถานศึกษาเก็บรักษากระดาษคาตอบ และหลักฐานการประเมินผลการเรียน
ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปกี ารศกึ ษา
ข้อ 69 ให้ใช้สาเนาคู่ฉบับใบแสดงผลการศึกษา และสาเนาคู่ฉบับใบแสดงผลการศึกษา

ฉบับภาษาอังกฤษ เปน็ เอกสารรับรองผลการศกึ ษา
ขอ้ 70 ให้สถาบันออกสาเนาคูฉ่ บับใบแสดงผลการศึกษา สาเนาคู่ฉบบั ใบแสดงผลการศกึ ษา

ฉบับภาษาอังกฤษ ปริญญาบัตรและวุฒบิ ัตรแกผ่ สู้ าเร็จการศึกษา
ขอ้ 71 การทาสาเนาใบแสดงผลการศึกษา จะใช้วิธีพิมพ์ใหม่ หรือสาเนาเอกสาร

ตามตน้ ฉบบั ก็ได้ โดยใหเ้ ขียนหรอื ประทบั ตรา “สาเนาถูกตอ้ ง” สว่ นการทาสาเนาใบแสดงผลการศึกษา
ฉบับภาษาอังกฤษจะใช้วิธีพิมพ์ใหม่หรือสาเนาเอกสารตามต้นฉบับก็ได้ โดยให้เขียนหรือประทับตรา
“CERTIFIED TRUE COPY”

ให้หัวหน้างานทะเบียน หรือผู้ท่ีได้รับมอบหมายให้ทาการแทนลงลายมือชื่อรับรองสาเนา
พรอ้ มทัง้ วนั เดือน ปี ทอี่ อกสาเนา และผูอ้ านวยการสถาบนั หรอื ผไู้ ดร้ ับมอบหมายลงลายมอื ชือ่ กากบั
ทร่ี ปู ถา่ ย

หน้า ๓๕ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง ราชกจิ จานเุ บกษา

ข้อ 72 นักศึกษาที่ต้องการหนงั สือรบั รองการเป็นนกั ศกึ ษา หรือหนังสือรับรองผลการศึกษา
จากสถานศึกษาให้สถาบันออกหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา หรือหนังสือรับรองผลการศึกษา
แลว้ แตก่ รณี ใบรับรองนม้ี ีอายุ ๖๐ วนั โดยให้สถาบนั กาหนดวันหมดอายไุ ว้ด้วย

ขอ้ 73 ให้ผู้อานวยการอาชีวศกึ ษาบณั ฑติ ทาหนา้ ท่ีหัวหนา้ งานทะเบียน

หมวด 6
บทเฉพาะกาล

ขอ้ 74 สถาบันใดท่ีมีนักศึกษาเขา้ ศึกษาก่อนปกี ารศึกษา 2563 ให้ถือปฏิบัติตามระเบยี บ
กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยี

หรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕56 ที่ใช้บังคับอยู่เดิม จนกว่านักศึกษา
จะสาเร็จการศกึ ษา

ขอ้ 75 ในระหว่างท่ียังมิได้กาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แนวปฏิบัติ หรือข้อบังคับกรณีใด
เพื่อปฏิบัติตามระเบียบน้ี ให้นาหลักเกณฑ์ วิธีการ แนวปฏิบัติ หรือข้อบังคับท่ีกาหนดไว้แล้วซ่ึงใช้อยู่เดมิ
มาใช้บังคับไปพลางก่อน เท่าท่ีไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการกาหนดหลักเกณฑ์
วธิ กี าร แนวปฏบิ ตั หิ รอื ข้อบงั คับตามระเบยี บนี้

ในกรณที ี่ไมอ่ าจนาหลกั เกณฑ์ วธิ กี าร หรือแนวปฏบิ ตั ิท่ีกาหนดไว้แล้วมาใชบ้ ังคับ การจะดาเนนิ การ
ประการใดให้เปน็ อานาจของผู้รักษาการตามระเบียบน้ี

ประกาศ ณ วนั ท่ี 20 สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕64
ตรีนชุ เทยี นทอง

รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงศกึ ษาธิการ


Click to View FlipBook Version