มุมมอง “จิตสาธารณะ” : ศกึ ษา เรยี นรู้ และทำความเข้าใจ
* ศาสตราจารย์ ดร.วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมติ กลู
ความเจริญด้านเทคโนโลยีต่างๆ ส่งผลกระทบต่อบุคคลในสังคมโดยทั่วไปให้มีค่านิยมในการให้
ความสำคัญกับการแสวงหาอำนาจบารมีมากกว่าที่จะให้ความสำคัญทางด้านจิตใจ เกิดการเอารัดเอาเปรียบ
ซึง่ กันและกนั มุ่งแสวงหาผลประโยชนใ์ หแ้ ก่ตนเองมากกวา่ ส่วนรวม ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงมีการกล่าวถึงคำว่า
“จิตสาธารณะ” เพื่อให้ผู้คนไดต้ ระหนักถึงความรบั ผิดชอบต่อสาธารณะมากกว่าตนเอง โดยการปลูกฝังให้เด็ก
และเยาวชนได้รจู้ ักรบั ผิดชอบต่อตนเองและสังคมหรือสาธารณะ นบั เปน็ การสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับ
เดก็ และเยาวชน รวมทัง้ ประชาชนทว่ั ไป การทสี่ งั คมจะพัฒนาได้อยา่ งยงั่ ยืนคนในสังคมต้องรว่ มมือรว่ มใจกัน เหน็ แก่
ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนมีจิตสำนึกที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม รักและ
หวงแหนทรัพยากรท้องถิ่น และสาธารณสมบัติของชุมชน ดังจะเห็นได้จากการระบุยุทธศาสตร์การดำเนินการ
ไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพทุกช่วงวัยและการสร้าง
สังคมแห่งการเรียนรู้ ในวัตถุประสงค์ข้อ 1.3 (3) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพทั้งความรู้ ทักษะอาชีพ
ทักษะการทำงาน . . . .รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ และสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
(สำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560 : 109-115)
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมคุณลักษณะ
“จิตสาธารณะ” ให้เกิดขึ้นในบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยกลไกทางการศึกษาเรียนรู้ทั้งในระบบ และนอกระบบ
การศกึ ษาที่เป็นรูปธรรม อย่างไรกต็ าม เพ่อื เป็นการสร้างความเข้าใจอย่างแท้จรงิ เกี่ยวกับ “จิตสาธารณะ” ผู้เขียน
จึงขอเสนอ “มุมมองจิตสาธารณะ : ศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ” เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
เกี่ยวกับ “จิตสาธารณะ” โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบ การก่อรูป
พฤตกิ รรม ขอบเขต และปัจจยั ตา่ ง ๆ รวมทง้ั คุณลกั ษณะของบคุ คลทม่ี ีจติ สาธารณะ ดงั ตอ่ ไปน้ี
ความหมายของจติ สาธารณะ
คำว่า “จิตสาธารณะ” มีการใช้คำอื่นๆ ในภาษาไทยที่มีความหมายที่เป็นนัยเดียวกันหลายคำ ได้แก่
จิตสำนึกทางสังคม จิตอาสา จิตสำนึกต่อส่วนรวม และจิตสำนึกสาธารณะ เป็นต้น ส่วนในภาษาอังกฤษใช้คำว่า
Public Mind หรือ Public Consciousness ซึ่งนักวิชาการและนักการศึกษาได้ให้นิยามความหมายไว้อย่าง
หลากหลาย ดงั นี้
สุพจน์ ทรายแก้ว (2546 : 49) ได้ให้ความหมายของจิตสาธารณะว่า หมายถึง คุณลักษณะทางจิตใจ
ของบุคคลเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่าของการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมที่ไม่มีผู้หน่ึง
ผู้ใดเป็นเจ้าของ หรือเป็นสิ่งที่คนในสังคมเป็นเจ้าของร่วมกัน เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากความรู้สึกนึกคิด
หรอื การกระทำท่ีแสดงออกมา
ไชยา ลิ้มวิไล (2550 : 15) ได้ให้ความหมายของจิตสำนึกสาธารณะ หมายถึง ความเป็นสาธารณะที่
ส่อนัยถึงความรู้ ความนึกคิด สติปัญญา และความรับผิดชอบของประชาชนที่มีต่อสังคม การเคารพกฎหมาย
2 มุมมอง “จิตสาธารณะ” : ศกึ ษา เรียนรู้ และทำความเขา้ ใจ
กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของสังคมโดยรวมและหน่วยงานองค์กรที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ โดยพยายาม
ยดึ มั่นต่อกฎเกณฑแ์ ละกฎหมายอย่างเคร่งครัด พยายามหลกี เลีย่ งการละเมิดให้น้อยท่สี ดุ ดว้ ยการปฏิบัติหน้าที่
อย่างมคี ณุ ธรรมและจริยธรรม
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2552: 13) ให้ความหมายของจิตสาธารณะ หมายถึง การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและ
เข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรมและ
จริยธรรมทดี่ ีงาม ละอายต่อสิ่งผดิ เน้นความเรยี บร้อย ประหยัด และมคี วามสมดลุ ระหวา่ งมนุษยก์ บั ธรรมชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ (2552: 50) ได้ให้ความหมาย จิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะ
ที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม
ด้วยความเตม็ ใจ กระตอื รือรน้ โดยไม่หวงั ผลตอบแทน
กรรยา พรรณนา (2559: 13) ไดใ้ หค้ วามหมายของจิตสาธารณะ หมายถึง การรู้จกั เอาใจใส่เป็นธุระ
ในเรื่องของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน การคิดในสิ่งที่ดี ประพฤติดี ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่เห็นแก่
ผลประโยชน์ส่วนตน การรู้จักสิทธิของตนเองและผู้อื่น การไม่ทำลาย เบียดเบียนบุคคล สังคม วัฒนธรรม
ประเทศชาติ และสิ่งแวดลอ้ ม
จากนิยามความหมายที่กำหนดโดยนักวิชาการ นักการศึกษา และนิยามความหมายตามทรรศนะของ
ประชาชนโดยทั่วไปนั้น จิตสาธารณะเป็นคุณลักษณะทางจิตใจที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นแก่ประโยชน์
ส่วนตน อาสาที่จะดูแลช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความลำบากหรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้
ในแง่มุมต่างๆ อย่างหลากหลาย ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎระเบียบท่ี
วางไว้ เพือ่ รกั ษาประโยชนท์ ี่เกดิ ขน้ึ โดยรวม
จึงสรุปได้ว่า จิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่ให้คุณค่าแก่บุคคลอื่นและสังคม
โดยรวม มีความปรารถนาดีและมีความรับผิดชอบตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม
มงุ่ ประพฤติในสิ่งที่เอ้ือประโยชน์ต่อสังคม และหลีกเลี่ยงการประพฤติใดๆ ทก่ี ่อให้เกดิ ความเสียหายต่อสังคมน้ันๆ
ความสำคัญของจิตสาธารณะ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท
ความวา่
“ใครต่อใครบอกว่า ขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม อันนี้ฟังจนเบ่ือ
อาจรำคาญด้วยซ้ำว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจ
วา่ ใหอ้ ยเู่ รอ่ื ย... แลว้ ส่วนตัวจะได้อะไร
ขอให้คิดว่า คนที่ให้ส่วนรวมนั้นมิได้ใหส้ ว่ นรวมแต่อย่างเดียว เป็นการให้เพื่อตัวเอง
สามารถที่จะมสี ่วนรวมท่ีจะอาศยั ได.้ ..”
พระบรมราโชวาทพระราชทาน ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2514
จากพระบรมราโชวาทที่อัญเชิญมากล่าวข้างต้น เมื่อน้อมนำมาพิจารณาสรุปได้ว่า การเสียสละของ
บุคคลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสิ่งที่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยว่าบุคคลล้วนเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม
นั้นๆ กล่าวคือ การที่บุคคลมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้นย่อมต้องมีความสัมพันธ์ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกันภายใต้
บทบาทและหน้าทีข่ องแต่ละบคุ คล
มมุ มอง “จิตสาธารณะ” : ศกึ ษา เรียนรู้ และทำความเขา้ ใจ 3
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า จิตสาธารณะเป็นคุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่ให้คุณค่าแก่บุคคลอื่นและสังคม
โดยรวม จิตสาธารณะจึงนับเป็นกลไกสำคัญของสังคมที่สงบสุข และมีคุณภาพ ดังจะเห็นได้จากการระบุให้มีการ
สร้างเสริมคุณลักษณะจิตสาธารณะให้แก่บุคคลไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ
หลักสูตรในระดับต่าง ๆ รวมทั้งการกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจของสถาบันการศึกษา และการกำหนดให้เป็น
อัตลักษณข์ องผเู้ รียน เป็นตน้ ซง่ึ ในทน่ี ผี้ เู้ ขยี นขอนำเสนอให้เห็นความสำคัญของจิตสาธารณะ ดงั น้ี
1. จิตสาธารณะในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
หมวด 4 มาตรา 6 และมาตรา 7 ได้กำหนดแนวการจดั การศกึ ษาเพื่อให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน ดงั ปรากฏใน
มาตรา 6 “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุ ข”
และมาตรา 7 “กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบ อบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพ
กฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์
ส่วนรวมและของประเทศชาติ . . . .” (กระทรวงศึกษาธกิ าร, 2545: 5)
2. จติ สาธารณะในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
แผนการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2560-2579 (สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา, 2560 : ง, 67 - 73)
ได้ระบุความจำเป็นในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติว่ามีมูลเหตุจากความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลก
ศตวรรษที่ 21 ทั้งในส่วนที่เป็นแรงกดดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก
อันเนื่องจากการปฏิวัติดิจิทัล (digital revolution) การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 (the forth
industrial revolution) การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
2573 (Sustainable Development Goals : SDGS 2030) ทปี่ ระเทศไทยได้ให้สตั ยาบันไว้ รวมทง้ั ผลกระทบ
ของประชาคมอาเซียน และความต้องการกำลังคนที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ประกอบกับแรงกดดันภายในที่
เกิดจากโครงสร้างประชากรที่ส่งผลให้ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัย ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และ
พฤติกรรมของประชากรทีป่ รับเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภวิ ัฒน์ ปัญหาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา
รวมทั้งปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม และการขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการมีวินัย ความซื่อสัตย์
สุจริต และการมีจิตสาธารณะของคนไทย ซึ่งกำหนดเป็นปัญหาและความท้าทายท่ีเกิดจากระบบการศึกษา 6
ประการ คอื 1) คณุ ภาพของคนไทยทุกกลุ่มวยั ยังมีปัญหา 2) การจัดการศกึ ษายังขาดคุณภาพ และมาตรฐานใน
ทุกระดับ 3) ระบบการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังเป็นจุดอ่อน 4) การ
บริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษายังไม่เหมาะสมและขาดความคล่องตัว 5) โอกาสและความเสมอภาคทาง
การศึกษาที่ยังมีความเหลื่อมล้ำ 6) คนไทยส่วนใหญ่ยังมีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม และไม่ตระหนักถึง
ความสำคัญของการมีวินัย ความซอ่ื สตั ย์สจุ รติ และการมีจิตสาธารณะ
4 มุมมอง “จติ สาธารณะ” : ศกึ ษา เรยี นรู้ และทำความเขา้ ใจ
ดว้ ยปัจจัยข้างตน้ จงึ กำหนดยทุ ธศาสตรก์ ารดำเนินการ 6 ประการ คือ
ยทุ ธศาสตร์ท่ี 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสงั คมและประเทศ
ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 2 การผลิตและพัฒนากำลงั คน การวจิ ยั และนวัตกรรมเพ่ือสรา้ งขีด
ความสามารถ
ยทุ ธศาสตร์ท่ี 3 การพัฒนาศักยภาพทุกช่วงวยั และการสร้างสงั คมแห่งการเรียนรู้
ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเทา่ เทยี มกนั ทางการศึกษา
ยทุ ธศาสตร์ท่ี 5 การจดั การศึกษาเพ่อื สร้างเสริมความเปน็ มติ รกับส่ิงแวดล้อม
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 6 การพฒั นาประสิทธิภาพของระบบบริหารการศึกษา
โดยในยทุ ธศาสตรท์ ่ี 3 การพฒั นาศักยภาพทุกชว่ งวัยและการสร้างสงั คมแหง่ การเรยี นรู้ ได้กำหนด
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนาท่ีเกี่ยวกับจิตสาธารณะไว้ ดังนี้ (สำนักงานเลขาธิการ
สภาการศกึ ษา, 2560 : 109 - 115)
วตั ถปุ ระสงค์
ขอ้ 1.3 เพือ่ ให้คนทกุ ช่วงวัยได้รบั การพัฒนาและเสริมสรา้ งศักยภาพท่เี หมาะสมกับแต่ละช่วงวยั
3) ผเู้ รยี นไดร้ ับการพัฒนาอยา่ งมีคุณภาพท้ังความรู้ ทกั ษะอาชพี ทักษะชีวิต ทกั ษะการ
ทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ และสามารถ
ปรับตัวอยู่รว่ มกบั ผ้อู ืน่ ในสงั คมได้
เป้าหมาย
ข้อ 2.1 ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและคุณลักษณะที่
จำเป็นในศตวรรษท่ี 21
ตัวช้วี ัด
2) ร้อยละของผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมีวินัย และ
มีจิตสาธารณะเพม่ิ ขึ้น
3) ร้อยละของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่จัดกิจกรรม
สะท้อนการสร้างวินยั จติ สาธารณะ และคณุ ลกั ษณะทพ่ี ึงประสงค์เพิ่มขึ้น
แนวทางการพฒั นา
ขอ้ 3.3 สร้างเสริมและปรับเปล่ยี นค่านยิ มของคนไทยให้มวี ินัย จติ สาธารณะ และพฤติกรรมท่ี
พงึ ประสงค์
2) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน และ
กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันของครอบครัว กลุ่มสนใจ และชุมชน ที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย
จติ สาธารณะ รวมทง้ั บูรณาการศาสนา ศลิ ปวฒั นธรรม ดนตรี กีฬา เข้ากบั กระบวนการเรียนรู้และวถิ ชี วี ิต
3. จติ สาธารณะในหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551และมาตรฐานการเรียนรู้และ
ตัวชว้ี ดั ฯ (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2560) ไดก้ ำหนดให้จิตสาธารณะเปน็ สาระสำคัญในการสร้างเสริมให้แก่เยาวชน
ไวใ้ นหลายสว่ นของหลักสูตร ดังนี้
มมุ มอง “จติ สาธารณะ” : ศึกษา เรยี นรู้ และทำความเขา้ ใจ 5
จุดหมาย
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข
มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษา
ขน้ั พน้ื ฐาน โดยในข้อท่ี 5 ได้กลา่ วเนน้ ยำ้ ถงึ จุดหมายในการม่งุ พฒั นาผเู้ รียนใหเ้ ป็นผู้มจี ติ สาธารณะไว้ ดังน้ี
“5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มจี ติ สาธารณะทม่ี ุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งทด่ี งี ามในสงั คม และอยรู่ ว่ มกันในสังคมอย่างมคี วามสุข”
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐาน ม่งุ พัฒนาผู้เรยี นใหม้ คี ณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ เพื่อให้
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก 8 คุณลักษณะ
ซึ่งคุณลักษณะข้อท่ี 1 - 7 เป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของความเปน็ ผู้มจี ิตสาธารณะ สำหรับคุณลกั ษณะข้อที่ 8
นั้น หลักสูตรได้กล่าวถึงความเป็นผู้มีจิตสาธารณะโดยตรง ดังนี้ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต
3) มวี นิ ยั 4) ใฝเ่ รยี นรู้ 5) อยอู่ ย่างพอเพยี ง 6) มงุ่ มนั่ ในการทำงาน 7) รกั ความเปน็ ไทย 8) มีจิตสาธารณะ
นอกจากนั้นในแนวปฏิบัติเพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในด้านจิตสาธารณะ
ไดก้ ำหนดแนวทางการดำเนนิ งานไว้สรุปได้ดงั น้ี (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2554 : 70 - 76)
1. จัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิด ทฤษฎี และเทคนิควิธีการต่างๆ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นกลุ่มสาระฯ ที่เน้นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน เติบโตขึ้นเป็นพลเมืองดีของ
สังคมและประชาชาตโิ ดยตรงทสี่ ดุ ในท้ัง 5 สาระการเรยี นรู้
2. จัดการเรียนรโู้ ดยบรู ณาการ/สอดแทรกเก่ียวกับจติ สาธารณะในกลุ่มสาระการเรียนรู้อน่ื ๆ อีก 7
กลุ่มสาระฯ ไดอ้ ยา่ งหลากหลาย
3. จดั กิจกรรมพฒั นาผู้เรยี น
4. จัดโครงการ/กิจกรรมเสริมหลักสตู รต่างๆ
5. ส่งเสริม/พฒั นา/ปลกู ฝังจติ สาธารณะในบริบทตา่ งๆ โดยสอดแทรกในการดำเนินชีวติ ประจำวันของผูเ้ รียน
ในส่วนของการจัดการศึกษาในระดับอื่นๆ ได้ให้ความสำคัญกับจิตสาธารณะโดยวิธีการที่แตกต่างกัน
เชน่ การบรรจุไว้ในรายวชิ าเลือก การกำหนดไว้ในผลการเรยี นรู้ การจัดทำเป็นหัวข้อกิจกรรมการอบรมเป็นการ
เฉพาะ เป็นต้น นอกจากนี้สถาบันการศึกษาบางแห่งได้นำคำว่า “จิตสาธารณะ” ไปกำหนดเป็น ปณิธาน
วสิ ยั ทัศน์ พนั ธกจิ วัตถปุ ระสงค์ และอัตลกั ษณข์ องผูเ้ รียน ดังตัวอย่างเชน่
1. จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั กำหนดพันธกจิ ไวใ้ นข้อ 1 ว่า “1. สร้างบัณฑิตทมี่ คี วามสามารถด้าน
วิชาการ มีทกั ษะ ทนั สมัย มีจิตสาธารณะ และมคี วามเป็นผ้นู ำ”
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำหนดอัตลักษณ์ของบัณฑิตไว้ว่า “มีจิตสาธารณะ
ทักษะส่ือสารดี และมคี วามเปน็ ไทย”
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กำหนดอัตลักษณ์บัณฑิตไว้ว่า “บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ
และสู้งาน”
4. มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ กำหนดวัตถปุ ระสงค์ของการดำเนนิ งาน ขอ้ ท่ี 1 ไว้วา่ “เพือ่ ผลติ บัณฑิต
ทีม่ คี ณุ ธรรม จริยธรรม มีจติ สาธารณะ มคี วามรคู้ วามสามารถ และทักษะในระดบั มาตรฐานสากล ...”
6 มุมมอง “จิตสาธารณะ” : ศกึ ษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ
5. มหาวิทยาลัยรามคำแหง กำหนดปณิธานไว้ว่า “พัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้เป็นแหล่ง
วิทยาการแบบตลาดวชิ า มุ่งผลติ บณั ฑติ ทีม่ ีความรู้คคู่ ุณธรรม และจิตสำนกึ ในความรับผดิ ชอบตอ่ สงั คม”
จากที่กล่าวมา เป็นสาระเชิงประจักษ์ว่า จิตสาธารณะเป็นคุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่ให้คุณค่า
แก่บุคคลอื่นและสงั คมโดยรวม ท่ีจำเป็นอย่างยง่ิ จะต้องพัฒนาให้เกิดในสมาชิกของสงั คมทุกคน โดยในส่วนของ
การจัดการศึกษาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องล้วนให้ความสำคัญต่อ "จิตสาธารณะ" โดยกำหนดแนวทางต่างๆ เพื่อให้
เกดิ การพฒั นาจิตสาธารณะในผู้เรียนทุกระดับ ทง้ั ในลกั ษณะการจดั การเรียนการสอนในระดบั ต่างๆ กลไกอื่นๆ
รวมทั้งการระบุเป็นความสำคัญระดับสถานศึกษาและสถาบันการศึกษา ด้วยการกำหนดเป็นส่วนหนึ่งของ
ปณิธาน วสิ ยั ทัศน์ พนั ธกิจ วัตถปุ ระสงค์ และอัตลกั ษณ์ของผู้เรียน
องค์ประกอบของจติ สาธารณะ
ในการสร้างเสริมจิตสาธารณะให้เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับ
องค์ประกอบของจิตสาธารณะ เพ่อื ให้การสร้างเสรมิ จิตสาธารณะได้ครบถ้วนทุกองค์ประกอบ ซง่ึ ย่อมทำให้เกิด
ประสิทธภิ าพในการสร้างเสรมิ จิตสาธารณะอยา่ งแท้จริง
องค์ประกอบของจิตสาธารณะได้รับการกล่าวไว้ในหลายแง่มุม ดังเช่น ชาย โพธิสิตา และคณะ (2540 :
14 - 15) และลัดดาวลั ย์ เกษมเนตร (2546 : 2 – 3) ไดก้ ล่าวถึงองค์ประกอบของจิตสาธารณะไวส้ รุปได้ดงั น้ี
องค์ประกอบที่ 1 คือ การหลีกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อ
ส่วนรวมทีใ่ ช้ประโยชน์ร่วมกันของกลมุ่ โดยกำหนดตวั ช้ีวดั จาก
1. การดแู ลรกั ษาของส่วนรวม การใช้ของสว่ นรวมแล้วเกบ็ เข้าทเ่ี ดมิ
2. ลกั ษณะการใชข้ องส่วนรวม โดยการใช้อย่างประหยดั และทะนถุ นอม
องค์ประกอบที่ 2 คือ การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในวิสัยที่ตนสามารถ
ทำได้ โดยกำหนดตัวชีว้ ัดจาก
1. การทำตามหนา้ ท่ีท่ีไดร้ ับมอบหมายเพ่อื ส่วนรวม
2. การรบั อาสาที่จะทำบางอยา่ งเพอ่ื สว่ นรวม
องค์ประกอบที่ 3 คือ การเคารพสิทธิ์ในการใช้ของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม โดยกำหนด
ตัวชี้วดั จาก
1. การไมย่ ึดครองของสว่ นรวมนน้ั มาเปน็ ของตนเอง
2. การเปดิ โอกาสให้ผ้อู ืน่ ไดใ้ ชข้ องส่วนรวมนั้น
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่บุคคลแสดงออกถึงการเปน็
ผู้มีจิตสาธารณะใน 3 ลักษณะ คือ การใช้ของส่วนรวม การถือเป็นหน้าที่ในการกระทำเพื่อส่วนรวม และการ
เคารพสิทธิใ์ นการใชข้ องส่วนรวม
พระธรรมปิฎก ประยุทธ์ ปยุตโต (2541) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมจิตสาธารณะว่ามีองค์ประกอบ 3
องคป์ ระกอบ ดังน้ี
มมุ มอง “จติ สาธารณะ” : ศึกษา เรยี นรู้ และทำความเขา้ ใจ 7
องคป์ ระกอบท่ี 1 ด้านพฤติกรรม ถ้าเขามีพฤตกิ รรมทด่ี ดี ้วยความเคยชินกด็ ีแลว้
องค์ประกอบที่ 2 ด้านจิตใจ ถ้าเขามีความพึงพอใจหรือมีความสุขในการทำพฤติกรรมนั้น
พฤติกรรมนั้นจะมั่นคงยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นทางด้านจิตใจจะต้องคอยดูว่าทำอย่างไรจะให้เขาตั้งอยู่ในวินัยด้วย
ความสุข มคี วามพึงพอใจ
องค์ประกอบท่ี 3 ดา้ นปญั ญา ถา้ เขามคี วามรู้ความเข้าใจเหตุผล มองเหน็ คุณค่า มองเหน็ ประโยชน์
ของการกระทำหรือพฤติกรรมนั้น ความรู้ความเข้าใจนั้นก็จะหนุนองค์ประกอบฝ่ายจิตใจ ทำให้เขายังมีความ
พงึ พอใจและความสุขในการปฏบิ ัติตามพฤติกรรมนน้ั ยิง่ ขน้ึ ไปอีก
เกรียงศักด์ิ เจรญิ วงศ์ศักด์ิ (2558) ไดน้ ำเสนอองค์ประกอบสำคญั ของจิตสาธารณะไว้ 3 ประการ ดังน้ี
1. การมีจิตสำนึก “เห็นคุณค่า” ส่วนรวม เริ่มต้นจากการมีความรู้สึกนึกคิดถึงการเป็นเจ้าของใน
ส่ิงทีเ่ ปน็ สาธารณะ เช่น รู้สึกเดอื ดเนอ้ื ร้อนใจเมื่อเห็นสาธารณสมบตั ิถูกทำลาย
2. การมีจิตสำนึก “รับผิดชอบ” ต่อส่วนรวม ฐานคิดของจิตสาธารณะที่ลึกซ้ึงอีกระดับหนึ่งคือ การมี
ส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อนเสียหาย ยินดีช่วยเหลือสังคม ความรับผิดชอบน้ี
ประกอบด้วย ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ความรับผิดชอบต่อโรงเรียน/ครู/อาจารย์ ความรับผิดชอบต่อองค์กร/
ท่ที ำงาน ความรบั ผดิ ชอบตอ่ ชุมชน ความรบั ผดิ ชอบตอ่ ประเทศชาติ
3. การมีจิตสำนึก “อาสา”เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ต้องการช่วยเหลือผู้อื่นและส่วนรวม ไม่เห็นแก่ตัว
ละอัตตา ชีวา สูป่ วงประชา ยินดอี ุทศิ ตวั อทุ ิศเวลา อทุ ิศทรพั ยากร เพ่อื สร้างประโยชน์แกส่ ่วนรวม แสดงออก
ด้วยการอาสาสมัครไมม่ ใี ครบงั คบ สมัครใจ เสยี สละ ร่วมมือรว่ มใจในการทำประโยชน์เพอ่ื สว่ นรวม
นอกจากนั้น ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประชาชนที่มาร่วมบำเพ็ญประโยชน์และให้การ
ช่วยเหลือประชาชนที่เดินทางเข้ามาถวายสักการะพระบรมศพของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของ
จิตสาธารณะ สรปุ ได้ดังนี้
บทสัมภาษณ์ประชาชนที่มาร่วมบำเพ็ญประโยชน์และใหก้ ารช่วยเหลือประชาชนท่ีเดินทางเข้ามา
ถวายสกั การะพระบรมศพพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ณ พระท่ีน่ังดสุ ิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวงั
----------------------------------
การสมั ภาษณ์เดก็ นกั เรยี นทม่ี าชว่ ยเก็บขยะ
เพราะอะไรถึงมาทำจิตอาสาที่น่ี : เพราะเห็นในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำมาเยอะแล้ว เรามาทำแค่นี้ก็ไม่ถึงครึ่งของท่านเลย
เคยเห็นทา่ นทำงานจากโทรทศั น์ มาที่น่ีหลายวันแลว้ แตพ่ ง่ึ นกึ ไดว้ ่าหนสู ามารถชว่ ยเขาทำได้
เพราะอะไรถึงเลอื กทำเก็บขยะ : เหน็ ขยะมนั เยอะ หนูเลยอยากช่วย
เริ่มต้นทำอย่างไร : ทุกคนต้องไปลงทะเบียน ไปลงทะเบียนได้ที่ธรรมศาสตร์ สนามหลวง สภากาชาด บางคนก็ไม่
ลงทะเบียน การลงทะเบียนเป็นการรับรองว่าเรามาทำจริง เราสามารถเอาถุงขยะและถุงมือได้จากจุดที่เราลงทะเบียน
แล้วเขามอี บรมให้กอ่ น 5 นาที เพื่ออธิบายให้ความรู้วา่ จะต้องแยกขยะอย่างไร แต่ละถุงใสอ่ ะไร
มีความรู้สึกอยา่ งไร : ตื้นตันใจ เหมอื นได้ช่วยพๆ่ี
อยากได้อะไรตอบแทน : ไมอ่ ยากได้เลย
8 มุมมอง “จติ สาธารณะ” : ศึกษา เรยี นรู้ และทำความเขา้ ใจ
การสัมภาษณค์ นขับมอเตอร์ไซคบ์ ริการรับ-ส่ง
จุดเริ่มต้นที่มาให้บริการมอเตอร์ไซต์รับ - ส่ง : อาทิตย์แรกที่เกิดเหตุการณ์เราก็มารวมตัวกันเพราะเห็นประชาชน
ลำบาก ตอนนัน้ ไม่ได้คิดอะไร คิดแตว่ า่ จะทำอย่างไรใหป้ ระชาชนสะดวกทส่ี ดุ เพราะเส้นทางปดิ ทกุ ทางเลย และหวั หนา้
ทมี ทเ่ี รมิ่ กจิ กรรมนี้เขารักในหลวงมาก
แรงบนั ดาลใจท่ีทำกจิ กรรมน้ี : อยูใ่ กล้พอ่ ทส่ี ุด แคน่ น่ั เอง ทกุ คนจะมองเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะจุดน้ี
จะมองเหน็ พอ่ ได้ใกลท้ ่ีสดุ
มีการจัดสรรค่าใช้จ่ายในการให้บริการอย่างไร : ส่วนใหญ่มีเงินส่วนตัว บางคนได้เงินสนับสนุนบ้าง เป็นค่าน้ำมัน
เสอื้ ทีมท่ใี ช้อยู่ก็ใชง้ บประมาณตนเอง
สมาชิกในทีมบริการรับ - ส่ง ต้องทำอย่างไรบ้าง : ทุกคนต้องใส่หมวกกันน็อค คนขับต้องใส่ให้ถูกต้อง และปฏิบัติ
ตามกฎจราจร รถของเรามีสติ๊กเกอร์หน้ารถ เพื่อให้รู้ว่าเป็นทีมเรา เป็นกลุ่มของเรา บางคนก็ขอเข้ามาเป็นกลุ่มเรา
เราจะดวู ่าไปรอบแรกแลว้ กลบั มาไหม ถา้ กลบั มาแล้วเป็นอยา่ งไร
เราจะดูแลผู้โดยสารโดยเฉพาะผู้หญิงที่ใส่กระโปรงจะลำบากในการขึ้นลงรถ และผู้สูงอายุที่ขึ้นลงลำบากมาก
เราจะใหค้ นขบั ทีเ่ ปน็ ผู้หญิงเพื่อให้ผ้โู ดยสารอนุ่ ใจ
ความรูส้ ึกทไ่ี ด้รับจากกจิ กรรมน้ี : มีความสขุ มาก และรอให้ถงึ วนั อาทิตย์ เพื่อใหเ้ ราไดม้ าเจอกนั แล้วพ่ีจะเชค็ ช่ือว่า
วันนี้ใครมาบ้าง เพื่อดูความร่วมมือและเป็นข้อมูลเมื่อเกิดปัญหา เช่น วันน้ันเวลานั้นที่เกิดเรื่องมีใครอยู่ในทีมบ้าง
ตอ้ งแจง้ เวลากลบั ด้วย
การสัมภาษณ์พนกั งานกระทรวงแห่งหน่งึ ที่ใหบ้ ริการแจกนำ้
การทำกิจกรรมนี้แลว้ เกิดความรสู้ กึ อยา่ งไร : ผลสงู สดุ คือทางด้านจิตใจเปน็ หลัก ท้งั ของเราและของเขา เมื่อเราให้เขา
เรากไ็ ด้ความสขุ ใจ
การเลือกทำกจิ กรรมมีประเดน็ อะไรในการเลอื กทำ : เรมิ่ ตน้ จากส่ิงที่เราตอ้ งการอยากจะให้อยากจะรบั ไมใ่ ชว่ า่ เขาไม่
อยากจะรับ เขาต้องจำใจรบั เช่น ถ้าเราจะซื้อลูกบอลไปแจก แต่เขามีกันทุกบ้าน ถามว่าเขาอยากได้ไหม เขาก็ไม่อยาก
หรอก แต่เขาก็ต้องรับ แต่ถ้าเราเลือกที่จะรู้ก่อนว่า เขาไม่มีอะไร เขาขาดอะไร เราไปให้ มันเหมือนสิ่งที่เขาโหยหา
เหมือนเราเข้าไปเติมเต็มให้เขา ให้แล้วเขาอยากรับมันก็เกิดประโยชน์ แต่ถ้าเราให้สิ่งที่เขาไม่อยากรับมันก็จะเกิด
ประโยชน์ครึ่งหน่งึ โทษครง่ึ หนงึ่
การทำจิตสาธารณะ บางครั้งต้องมีการลงทุนในเรื่องอุปกรณ์หรืออื่นๆ มีความเห็นอย่างไร : ก็ขึ้นอยู่ที่เรา อย่างใน
หลวงท่านได้สอนคำวา่ พอเพียง ก็คือการทำอะไรไม่เกนิ ตัว ถา้ เราคดิ ว่าเงนิ ตรงน้ันมาลงทุนเพื่อจิตสาธารณะ มันเป็นเงิน
10 - 20% ของเงินท่ีเรามี ซ่ึงเราไม่ได้เดอื นร้อน เปน็ เงินเย็น ไม่ใชเ่ งินรอ้ น มนั ก็ไม่แปลกอะไร คอื ถ้าเราทำแล้วเราสบาย
ใจ แต่ถ้าเรามีเงิน 100 บาท แล้วมาใช้ลงทุน 50% ซึ่งเงินนั้นมันไม่ใช่เงินเย็น เป็นเงินที่เราต้องมาใช้จ่ายทุกวนั อันนั้นก็
เป็นการทำจิตสาธารณะที่มีผลกระทบต่อเรา ซึ่งมันไม่ใช่ผลดีมากนักคือการทำจิตสาธารณะจริงตัวเรามีความสุข
เราจะต้องไม่เดอื นรอ้ น เราควรจัดสรรสงิ่ ท่พี อเหมาะกับตัวเรา ทำแล้วเกิดผลอะไร เกิดผลกระทบอะไรกับเรา
เคยมคี วามรสู้ กึ ท้อไหม : ถา้ ทำจิตสาธารณะผมจะไมค่ ่อยทอ้ เราทำแลว้ สบายใจ เราไมไ่ ด้ทำโดยที่เราบีบตัวเอง การที่
เราท้อก็คือการที่เราบบี ตัวเอง บีบตัวเองให้ทำให้ได้อย่างนั้น แล้วเราทำไม่ไหว เราสู้ไมไ่ หว ก็เกิดความท้อ ตอนที่เราทำ
จิตสาธารณะ เราไม่ได้ไปบีบตวั เราเอง ไม่ได้บีบใคร เราทำแล้วเราสบายใจ ความสบายใจมันเริ่มตั้งแต่ก่อนทำ ทำแลว้
สบายใจไม่เดือดร้อนอะไร เราไม่ได้ทำจนเหนื่อยจนตาย เหนื่อยกายแล้วสุขใจมันหลับสบาย มันต่างกันด้วยการ
สบายกายแตเ่ หนอ่ื ยใจนอนไม่หลับนะ
มมุ มอง “จติ สาธารณะ” : ศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ 9
การสัมภาษณ์ผู้แจกอาหารจากวัดสงั ฆทาน
จุดเรม่ิ ต้นในการทำกจิ กรรมน้ี : เพราะเป็นงานพ่อหลวง อยากแสดงความจงรักภักดี และรูส้ ึกว่าคนมากทีส่ ดุ ซ่ึงไม่เคย
มปี รากฏการณ์แบบนี้มากอ่ น กเ็ ลยร่วมกบั วัดสังฆทานมาบรจิ าคอาหาร
ทำไมถงึ เลอื กทำกจิ กรรมนี้ : เพราะรู้วา่ มคี นจำนวนมากเขา้ มา คนต่างจังหวดั เขา้ มา คนจำนวนมากกย็ ่อมหิวแน่นอน
ก็เลยใหอ้ าหารถึงแม้จะมหี ลายจดุ ที่ใหบ้ ริการ แต่ก็ไม่พอ
กระบวนการในการทำกิจกรรม : ทางวัดจะมีการเตรียมอาหารในแต่ละวัน แล้วนำขนส่งมาที่นี่ บางเมนูสามารถปรงุ
ไดท้ นี่ ี่ เชน่ ไข่เจียว แต่บางอย่างก็ไมส่ ามารถทำได้ อาจต้องปรุงมาจากวัด โดยจัดใหม้ คี นดแู ลดำเนนิ การอยทู่ วี่ ดั วัตถุดิบ
ที่ได้มาก็มาจากการบริจาคร่วมกันมา ซื้อเองบ้าง ระยะเวลาในการจัดเตรียมอาหารก็ใช้เวลา มีบางคนก็จะเอาเงินมาให้
เรากจ็ ะไม่รับเราจะบอกว่าใหเ้ อาไปซอื้ น้ำตาล ซื้อน้ำพริกเผามาให้ดีกว่า เพราะการรับเงินจะทำให้คนอ่นื มองเราไม่ดี
มีการต้งั เปา้ หมายไหม : ทำให้ไดม้ ากทีส่ ุด หรอื จนกวา่ จะหมด ทำให้ครบสามม้อื วันหนง่ึ คร้ังละเปน็ พัน
ปัญหาที่พบในกระบวนการดำเนินการ : ไม่มปี ญั หา อาจมภี าชนะทีใ่ สไ่ มพ่ อก็จะมกี ารขอจากเต็นท์ขา้ งๆ หรอื น้ำตาล
เต็นท์ข้างๆ ไม่พอก็จะมาขอกัน ซึ่งเราก็จะเกื้อกูลกัน เต็นท์ข้างๆ ก็เคยมาขอหุงข้าวเราก็ให้เขา เพราะเรามีคอนโดข้าว
ซง่ึ หุงไดท้ ีละจำนวนมากๆ ในระยะเวลารวดเรว็ วนั หน่งึ ได้สองสามพันถว้ ย
ปญั หาในสว่ นของการมารบั อาหาร กไ็ ม่คอ่ ยมีนะ จะน่าสงสารมากกว่า บางคนขอใส่ถงุ กลับบา้ นเราก็ให้ ขอสองสาม
จานเราก็ให้
ความรู้สึกเมื่อได้ทำกิจกรรมนี้ : เราทำแล้วเรารู้สึกภูมิใจ มีความรู้สึกว่าเราอยากมา บางทีเราเหนื่อยเราก็พักสักวัน
แล้วก็มาทำใหม่ บางทเี ราทำแลว้ ปวดเมื่อยแต่พอกลบั ไปก็หายเลย เรากม็ าใหมไ่ ด้
บางครั้งก็มีคนมาขอข้าวทาน เราก็ให้เขา พอเราเห็นเขากินแล้วเราก็รู้สึกปลื้มใจ เห็นเขามีความสุข
กนิ อย่างอร่อย เหน็ ผู้รบั เขามคี วามสขุ เราก็ดใี จมาก
แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมนี้ : คิดว่าเป็นงานพ่อหลวง เราได้เข้ามาร่วมเป็นอะไรที่เราภาคภูมิใจ
คร้งั หนึ่งในชีวิต เราจงึ ตอ้ งทุม่ เทเต็มท่ี ไม่เคยเกิดความรู้สกึ ทอ้ มแี ตค่ ิดจะทำให้นาน คิดจะทำใหค้ รบหนึง่ ปี
จากขอ้ มลู ทีไ่ ดจ้ ากการสัมภาษณป์ ระชาชนที่มารว่ มบำเพ็ญประโยชน์และให้การช่วยเหลือประชาชนที่เดินทางเข้า
มาถวายสักการะพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ดังกล่าวข้างต้น
จะเห็นไดว้ ่า พฤตกิ รรมจิตสาธารณะของผู้ให้ข้อมูลดังกล่าวมีองค์ประกอบจากการท่ีไดศ้ ึกษาทำความเข้าใจเก่ียวกับ
สภาพการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือได้พบเห็นในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง จากนั้นจึงพิจารณาจากความสามารถ
ทักษะของตนเอง และปัจจัยอื่นๆ เช่น เวลา ค่าใช้จ่าย แล้วตัดสินใจที่จะแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะ
พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายในการดำเนินการหลังจากนั้นจึงได้ลงมือปฏิบัติ หรือแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะ
โดยพฤติกรรมจติ สาธารณะดังกลา่ วเปน็ ไปดว้ ยความสมัครใจ และมไิ ดห้ วงั ผลตอบแทนใดๆ
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากนิยามความหมายของจิตสาธารณะดังกล่าวข้างต้น ซึ่งให้ความสำคัญ
เกี่ยวกับ “คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่ให้คุณค่าแก่บุคคลอื่น และสังคมโดยรวม” ที่นับว่าเป็น
“มิติภายใน” ซึ่งบุคคลต้องรับรู้ ทำความเข้าใจ และตัดสินใจที่จะแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะ หลังจากนั้น
จึงแสดงออกเป็นพฤติกรรมจิตสาธารณะที่เป็น “มติ ภิ ายนอก” ซึง่ ผู้เขียนนำเสนอเปน็ ภาพต่อไปน้ี
10 มุมมอง “จติ สาธารณะ” : ศกึ ษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ
องคป์ ระกอบของจติ สาธารณะ
องค์ประกอบที่ 1 องคป์ ระกอบท่ี 2
ความรู้ความเขา้ ใจ การตัดสินใจทจ่ี ะแสดงพฤติกรรม
• รับรู้ • พิจารณาภายใตห้ ลกั เกณฑ์
• เรยี นรู้ ทำความเขา้ ใจ ของบุคคล
มิติ
ภายใน • ตดั สินใจ
มิติ องคป์ ระกอบที่ 3
ภายนอก การแสดงพฤตกิ รรมจิตสาธารณะ
• ใหค้ วามสำคญั
• ถอื เป็นหนา้ ท่ที ่ีต้องทำเพ่ือส่วนรวม
• หลีกเลย่ี งการกระทำทเ่ี ปน็ ปัญหาต่อสว่ นรวม
ภาพท่ี 1.1 องค์ประกอบของจติ สาธารณะ
จากภาพองคป์ ระกอบของจิตสาธารณะข้างต้น แสดงใหเ้ ห็นถงึ องคป์ ระกอบของจิตสาธารณะใน 2 มิติ กลา่ วคอื
มติ ภิ ายใน ประกอบด้วยองคป์ ระกอบ 2 องค์ประกอบ ไดแ้ ก่
องค์ประกอบที่ 1 ความรู้ความเข้าใจ บุคคลที่มีคุณลักษณะจิตสาธารณะจะเป็นผู้ท่ีรับรู้เกี่ยวกับสภาพการณ์
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางจิตสาธารณะ โดยเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการณ์นั้นๆ ว่าเกี่ยวข้องกับ
เรื่องใด อยา่ งไร และหากต้องเข้าไปกระทำจะต้องทำอะไรอยา่ งไร
องค์ประกอบที่ 2 การตัดสินใจที่จะแสดงพฤติกรรม บุคคลที่มีคุณลักษณะจิตสาธารณะ จะพิจารณาการ
รับรู้และเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการณ์ในองค์ประกอบที่ 1 แล้วตัดสินใจ ที่จะแสดงพฤติกรรมภายใต้
หลกั เกณฑข์ องแตล่ ะบุคคล
มิติภายนอก ในมิตินี้เป็นองค์ประกอบที่ 3 การแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะ ได้แก่ การให้ความสำคัญใน
การลงมือกระทำ การถือเปน็ หน้าทท่ี ต่ี ้องทำเพื่อสว่ นรวม และการหลีกเล่ยี งการกระทำที่เปน็ ปัญหาต่อสว่ นรวม
การก่อรปู พฤติกรรมจิตสาธารณะ
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นเกี่ยวกับองค์ประกอบของจิตสาธารณะ 3 องค์ประกอบ ใน 2 มิติ ทั้งมิติภายใน
คือ ความรู้ความเข้าใจ และการตัดสินใจเกี่ยวกับสภาพการณ์ในการแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะ และมิติ
ภายนอก คือ การแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะตามที่บุคคลมีความรู้และความเข้าใจ และได้ตัดสินใจไว้แล้ว
ดังน้ัน การก่อรปู พฤติกรรมจิตสาธารณะมลี ำดับของความสัมพนั ธข์ ององค์ประกอบท้งั 3 องคป์ ระกอบ ดังนี้
มุมมอง “จิตสาธารณะ” : ศึกษา เรยี นรู้ และทำความเข้าใจ 11
ขน้ั ท่ี 1 การสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงจิตสาธารณะ เปน็ กระบวนการทีบ่ ุคคลเรียนรู้เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลนั้นๆ กับสถานการณ์ในสังคม การรับรู้การเป็นสมาชิกของสังคม การตระหนักในผลกระทบของ
สถานการณ์ในสังคมต่อตัวบุคคลเอง และต่อสังคมนั้นๆ การคิดค้น การกำหนดแนวทางในการปฏิบัติและการ
เขา้ มีส่วนร่วมในสถานการณด์ ังกล่าว เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเชิงจิตสาธารณะตอ่ สถานการณ์ในสังคมนัน้
ขั้นที่ 2 การตัดสินใจเชิงจิตสาธารณะ เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้หลักการหรือเหตุผลของตัวบุคคล
เองในการตัดสนิ ใจเขา้ ไปมีส่วนรว่ มในสถานการณ์ของสังคมนัน้ ๆ ตามท่มี ีความรูค้ วามเขา้ ใจเชิงจติ สาธารณะกับ
สถานการณ์ของสังคมดงั กลา่ ว
ขั้นที่ 3 การแสดงพฤติกรรมเชิงจิตสาธารณะ เป็นกระบวนการที่บุคคลแสดงพฤติกรรมเชิงจิตสาธารณะ
ตามที่มีความรู้ความเข้าใจ และตัดสินใจเชิงจิตสาธารณะไว้แล้ว โดยที่พฤติกรรมท่ีแสดงออกดังกล่าวอยู่ภายใต้
หลักการของการให้ความสำคัญกับสถานการณ์นั้นๆ การถือเป็นหน้าที่ ที่จะมีส่วนร่วมในสถานการณ์ และ
การหลีกเล่ียงการกระทำที่จะกอ่ ใหเ้ กิดผลเสียต่อสังคมนนั้ ๆ
ด้วยความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของจิตสาธารณะดังกล่าว เมื่อนำมาพิจารณากระบวนการก่อรูป
จติ สาธารณะกบั การแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะในสถานการณต์ ่างๆของสังคม สามารถนำเสนอความสัมพันธ์
ได้ดงั นี้
การก่อรปู จิตสาธารณะ จิตสาธารณะในสถานการณ์ของสังคม
ความรูค้ วามเขา้ ใจ การสรา้ งความรู้
การตัดสินใจ ความเข้าใจเชงิ จิต
สาธารณะในสถานการณ์
ของสงั คม
การตดั สินใจเชิงจิตสาธารณะ
ในการเข้าร่วมในสถานการณ์
ของสังคม
การแสดงพฤติกรรม การแสดงพฤติกรรม
เชงิ จิตสาธารณะตาม
ความรคู้ วามเขา้ ใจและ
ตดั สนิ ใจในสถานการณ์
ของสังคม
ความสัมพันธข์ องการกอ่ รูปจิตสาธารณะกบั จิตสาธารณะในสถานการณ์ของสังคม
ภาพท่ี 1.2 ความสมั พนั ธ์ของการก่อรูปจติ สาธารณะกับจิตสาธารณะในสถานการณ์ของสังคม
12 มมุ มอง “จติ สาธารณะ” : ศึกษา เรยี นรู้ และทำความเข้าใจ
จากภาพข้างต้นแสดงถึงความสัมพันธ์ของการก่อรูปจิตสาธารณะ โดยนำไปเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในสังคม
เพื่อแสดงให้เห็นการแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะในสถานการณ์ของสังคม ภายใต้ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
จิตสาธารณะ
เมื่อพิจารณาในมุมมองของการก่อรูปพฤติกรรมจิตสาธารณะเพื่อให้เห็นถึงกระบวนการทัง้ หมดของการแสดง
พฤติกรรมจิตสาธารณะของบุคคลซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์กันขององค์ประกอบของจิตสาธารณะทั้ง 3
องค์ประกอบนั้น ผู้เขียนไดท้ ำการวิจัยเพื่อคน้ หาคำตอบเกี่ยวกบั ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบใน
รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์การแก้ปัญหาสังคมมาเป็นสถานการณ์ในการสร้างเสริมจิต
สาธารณะในหัวข้อ “การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อสร้างเสริมจิตสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม โดยการสร้างความ
กระจา่ งค่านิยมและการกำกบั ตนเอง สำหรับนักศึกษาระดบั ปรญิ ญาตร”ี (วิโฬฏฐ์ วฒั นานิมิตกูล, 2554)
การวิจัยดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อสร้างเสริมจิตสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม
สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภายใต้สมมุติฐานในการวิจัยที่กำหนดขั้นตอนในการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ตามองค์ประกอบของจติ สาธารณะทั้ง 3 องค์ประกอบ เพ่ือสรา้ งเสริมจิตสาธารณะในการแกป้ ญั หาสงั คม ประกอบดว้ ย
1. พัฒนาการศกึ ษาเรียนรู้เชิงจติ สาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม
2. พัฒนาระดบั การตัดสินใจเชงิ จติ สาธารณะในการแก้ปัญหาสงั คม
3. พฒั นาพฤติกรรมเชงิ จิตสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม
โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างความกระจ่างค่านิยมมาเป็นกลไกในการพัฒนาระดับการ
ตัดสินใจเชิงจิตสาธารณะ และนำแนวคิดการกำกับตนเองมาเป็นกลไกในการพฒั นาพฤตกิ รรมเชิงจติ สาธารณะ ด้วยการ
กำหนดขั้นตอนในการสอนออกเป็น 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การสร้างความตระหนักในปัญหาสังคม ขั้นที่ 2
การประเมินตนเอง ขัน้ ที่ 3 การเลอื กแนวทางการแก้ปัญหาและการใหค้ ณุ คา่ ข้นั ท่ี 4 การกำหนดเปา้ หมายและจดั ระบบ
ในการแกป้ ญั หาสงั คม ขน้ั ที่ 5 ปฏิบตั ิการแกป้ ญั หาสังคม ขน้ั ท่ี 6 การนำเสนอผลงานและตรวจสอบ ขั้นท่ี 7 การสรุปผล
การแก้ปัญหาสังคมและเผยแพร่ผลงาน ซึ่งเมื่อพิจารณาขั้นตอนการสอนทั้ง 7 ขั้นตอนเป็นไปเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการ
พัฒนาตามสมมตุ ิฐานทต่ี ง้ั ไว้ เพ่ือสร้างเสรมิ จติ สาธารณะในการแกป้ ัญหาสงั คม ดังภาพที่ 1.3 ต่อไปนี้
การกอ่ รูปพฤตกิ รรมจติ สาธารณะ
องคป์ ระกอบของจติ สาธารณะ
จิตสาธารณะ
ความรูค้ วามเข้าใจ การตัดสนิ ใจ แสดงพฤตกิ รรม
สรา้ งความตระหนกั การประเมินตนเอง ปฏิบัติการ จิตสาธารณะ
แกป้ ญั หา การเลือกแนวทาง การนำเสนอ ในการแก้ปญั หา
สังคม
แก้ปญั หาสังคมและ ผลงานและ
การให้คณุ คา่
ตรวจสอบ
การกำหนดเป้าหมาย การสรุปผล
และจดั ระบบ
ในการแก้ปญั หาสงั คม การแก้ปัญหาสงั คม
และเผยแพร่ผลงาน
รปู แบบการสอนเพอื่ สรา้ งเสรมิ จติ สาธารณะในการแกป้ ญั หาสังคม
มมุ มอง “จิตสาธารณะ” : ศกึ ษา เรยี นรู้ และทำความเข้าใจ 13
ภาพที่ 1.3 การก่อรูปพฤติกรรมจิตสาธารณะ : กรณีพิจารณาจากการวิจัย เรื่องการพัฒนารูปแบบการสอน
เพ่ือสร้างเสริมจิตสาธารณะในการแกป้ ญั หาสงั คม โดยการสรา้ งความกระจ่างคา่ นิยมและการกำกับ
ตนเอง สำหรบั นกั ศกึ ษาระดับปรญิ ญาตรี
จากงานวิจัยดังกลา่ วเป็นการพฒั นารูปแบบการสอนเพื่อสร้างเสริมจติ สาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม
โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน 7 ขั้นตอน ภายใต้การสร้างความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของ
จิตสาธารณะทั้ง 3 องค์ประกอบ ดังนั้นในการสร้างเสริมจิตสาธารณะของบุคคลจึงสามารถดำเนินการได้อย่าง
หลากหลาย ด้วยการนำแนวคิด ทฤษฎตี า่ งๆ มาวิเคราะห์ สงั เคราะห์ เพ่อื จัดทำเป็นข้ันตอนต่างๆ ในองค์ประกอบ
หลกั ทงั้ 3 องคป์ ระกอบดังกลา่ วในบริบทของจิตสาธารณะที่ต้องการสร้างเสริมน้ันๆ
ขอบเขตของจติ สาธารณะ
เมื่อพิจารณานิยามความหมายของจิตสาธารณะท่ีเป็น “คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่ให้คุณค่าแก่
บุคคลอื่นๆ และสังคมโดยรวม” และองค์ประกอบของจิตสาธารณะ ซึ่งประกอบด้วยมิติ 2 มิติ ได้แก่ มิติภายใน
คือ ความรู้ความเข้าใจ และการตัดสินใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในการแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะ และมิติ
ภายนอก คอื การแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะตามท่ีบุคคลมีความรู้ความเขา้ ใจ และได้ตัดสินใจไว้แล้ว ซ่ึงเมื่อ
พิจารณาตามนัยดังกล่าว การที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะนั้นจึงเป็นไปได้อย่างกว้างขวาง หลายแง่มุม
กล่าวคือ ภายใต้สถานการณ์หนึ่งๆ บุคคลต่างๆ ที่ได้ปะทะกับสถานการณ์นั้นๆ จะทำความรู้ความเข้าใจกับ
สถานการณ์นั้นว่าเป็นสถานการณ์อะไร มีช่องทางใดบ้างที่บุคคลจะเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งในลักษณะเป็นตาม
บทบาทหน้าที่หรืออาสาสมัคร เพื่อให้สถานการณ์นั้นๆ เกิดความราบรื่น เรียบร้อย สมบูรณ์ จากนั้นบุคคลจึง
พิจารณาและประเมินความสามารถของตน รวมทั้งความเป็นไปได้ในการแสดงพฤติกรรมในช่องทางต่างๆ แล้ว
ตัดสินใจเลือกช่องทางที่จะแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะ และแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะตามช่องทางที่ได้
เลือกไว้
ดังนั้น พฤติกรรมจิตสาธารณะที่บุคคลต่างๆ แสดงออกในสถานการณ์หนึ่งๆ ย่อมมีความแตกต่างกันไป
ตามความรู้ความเขา้ ใจ การตัดสินใจ และการแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะของบุคคลนนั้ ๆ
ปัจจยั ที่เก่ียวขอ้ งกบั จติ สาธารณะ
จิตสาธารณะเป็นคุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่ให้คุณค่าแก่บุคคลอื่นและสังคมโดยรวม การเกิด
จิตสาธารณะนั้นจึงเป็นสิ่งที่เกิดตามวิถีของแต่ละบุคคล รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ ตั้งแต่ระดับครอบครัว
และชุมชนล้วนมีผลต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของบุคคลทั้งสิ้น ซึ่งมีนักการศึกษาต่างๆ ได้แสดงทรรศนะ
เกย่ี วกบั ปจั จยั ที่เกีย่ วขอ้ งกบั จติ สาธารณะไว้ดงั น้ี
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร (2543 : 13) ได้นำเสนอไว้สรุปได้ว่า จิตสาธารณะอยู่ภายใต้
อิทธิพลของปัจจยั แวดล้อมภายในและภายนอก ดงั น้ี
ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์ ภาวะทางสังคม เป็นภาวะ
ที่ลึกซึ้งทีม่ ีตอ่ จิตสำนึกด้านต่างๆ ของมนุษย์ เป็นภาวะที่ได้อบรมกลอ่ มเกลา และสะสมอยู่ในส่วนของการรบั รู้
ทีละเล็กทีละน้อย ทำให้เกิดสำนึกที่มีรูปแบบหลากหลาย ภาวะแวดล้อมทางสังคมนี้เริ่มตั้งแต่พ่อแม่ พี่น้อง
ญาติ เพ่อื น ครู สอื่ มวลชน บคุ คลทัว่ ไป ตลอดจนระดบั องค์กร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมาย ศาสนา
14 มุมมอง “จิตสาธารณะ” : ศึกษา เรยี นรู้ และทำความเข้าใจ
รวมทั้งภาวะแวดล้อมด้านสื่อสารมวลชน และส่วนที่กำกับสำนึกของบุคคล คือ การได้สัมผัสจากการใช้ชีวิตที่มี
พลงั ต่อการเกิดสำนึก อาทิ การไปโรงเรียน ไปทำงาน ดูละคร ฟังผคู้ นสนทนากัน รบั รเู้ หตุการณ์บา้ นเมือง ขับรถ
ฝ่าการจราจรทแ่ี ออัด เป็นตน้
ปัจจยั ภายใน สำนกึ ที่เกิดจากปจั จยั ภายใน หมายถงึ การคดิ วิเคราะห์ของแตล่ ะบุคคลในการพิจารณา
ตัดสินคุณค่าและความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติโดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ
เพอ่ื ขดั เกลาตนเองให้เป็นไปทางใดทางหนึ่ง โดยเกิดจากการรับรู้จากการเรียนรู้ การมองเหน็ การคิด แล้วนำมา
พิจารณาเพ่ือตัดสินใจว่าต้องการสรา้ งสำนึกแบบใด ก็จะมีการฝกึ ฝนและสง่ั สมสำนึกเหล่านน้ั
เกียรติศักดิ์ แสงอรุณ (2551 : 38 - 40) พิจารณาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด
จิตสาธารณะในมุมมองของทฤษฎีทางสังคมวิทยา คือ องค์กรที่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม ซึ่งประกอบด้วย
องคก์ รสำคญั ๆ ดงั น้ี
1. ครอบครัว ในกระบวนการขัดเกลาทางสังคม กระบวนการขัดเกลาขั้นต้น (primary socialization)
คอื ครอบครัวเปน็ สถาบันพ้ืนฐานที่ขัดเกลามนุษย์ให้รู้ว่าสง่ิ ใดควรทำหรืออะไรถูกอะไรผิด เปน็ ตน้ เป็นสถาบัน
ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการบุคลิกภาพอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่ออารมณ์ ทัศนคติ และความประพฤติของ
เด็กเป็นอย่างยิง่
2. กลมุ่ เพอ่ื น เป็นกลุ่มท่ีมอี ายรุ ะดบั ใกลเ้ คียงกนั โดยอาจจะรวมกนั เปน็ กล่มุ เพ่อื น ธรรมดาจนถงึ
ชมรม สมาคมท่ีตนสนใจ เช่น เพอ่ื นรว่ มช้ัน ชมรมฟุตบอล เบสบอล สมาคมนักเรียน
3. สถานศึกษา โรงเรียนเสมือนบ้านที่สองของเด็กในการที่รับความรู้ความคิดต่างๆ และวิชาการ
ต่างๆ อย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะสังคมปัจจุบัน โรงเรียนเป็นสถานทีส่ ำคัญในเรื่องการให้การขัดเกลาแก่เด็ก
ตลอดจนทำให้เด็กมโี อกาสพบปะสมาคมกับเพ่ือนในวัยเดยี วกนั
4. สำนักงานหรือองค์กรที่บุคคลสังกัดอยู่ เป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ ในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่มอาชีพจะมี
คุณค่าหรือระเบียบกฎเกณฑ์ไปตามอาชีพของตน เช่น ครูต้องสอนลูกศิษย์ด้วยความเมตตา นักสังคม
สงเคราะหไ์ มเ่ ปิดเผยความลบั ของผ้มู ารับการสงเคราะห์ แตล่ ะอาชพี จึงมบี คุ ลิกภาพแตกต่างกนั ไป
5. สถาบันศาสนา เป็นตัวแทนที่ขัดเกลาคนหรือแนะนำทางให้คน เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อเป็น
เป้าหมายในการกระทำ โดยเฉพาะศาสนาพุทธได้สอนให้คนเราไม่ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะหลายสิ่งใน
โลกไม่มคี วามแนน่ อน จึงต้องยดึ มัน่ ในสิ่งที่ดีงาม มศี ลี ธรรม จริยธรรม และความประพฤติในทางท่ถี กู ท่ีควร
6. สื่อสารมวลชน สื่อมวลชนเหล่านี้มีหลายประเภท เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์
นิยาย วรรณคดี เป็นต้น ซึ่งมีส่วนในการขัดเกลาทางสังคมแก่มนุษย์ในด้านต่างๆ ตั้งแต่ความคิด ความเช่ือ
แบบของความประพฤติ เพราะสอ่ื มวลชนมีทงั้ การใหค้ วามรู้ และความบันเทงิ โดยเฉพาะอิทธิพลของส่อื มวลชน
คอื การให้ขา่ วสาร ซ่ึงมสี ่วนช่วยครอบครวั โรงเรยี นในการขัดเกลา
นอกจากนี้ยังมีสถาบัน และองค์กรต่างๆ ในสังคมที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายอาสา ซึ่งเกิดจากกลุ่ม
คนทำงานภาคสังคมที่เห็นความสำคัญของงานอาสาสมัครทำงานเพื่อสาธารณะมารวมตัวกัน โดยจุดประสงค์
ของเครือข่ายคือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลงานอาสาสมัคร และการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ในสังคมไทย รวมท้ัง
เป็นแหล่งข่าวสารสำหรับคนทั่วๆ ไปที่ต้องการทำงานสาธารณะประโยชน์ กลุ่มสมาชิกในเครือข่ายมีดังนี้
(วิกพิ ีเดยี , 2564 : ออนไลน์)
1. ศูนย์สง่ เสริมการใหแ้ ละการอาสาชว่ ยเหลอื สังคม
2. มลู นิธอิ าสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)
มมุ มอง “จิตสาธารณะ” : ศึกษา เรยี นรู้ และทำความเข้าใจ 15
3. มูลนธิ กิ ระจกเงา
4. กลมุ่ นวตั กรรมเยาวชนเพอื่ สงั คม (why i why)
5. Budpage.com
6. กรนี พซี เอเชียตะวนั ออกเฉียงใต้ (สำนกั งานประเทศไทย)
7. มูลนธิ ิสขุ ภาพไทย
8. องค์การแอคชน่ั เอด
9. มลู นธิ เิ พอ่ื การพัฒนาเดก็
10. United Nations Volunteers (UNV)
11. มูลนธิ กิ องทนุ ไทย (โครงการสง่ เสริมการให้เพ่อื สงั คม และโครงการเยาวชนอาสา)
12. บางกอกฟอร่ัม
13. องค์กรอโชกา้ ผ้รู เิ ริม่ สร้างสรรค์เพือ่ สังคม
14. เครือขา่ ยชาวพุทธเพื่อพระพทุ ธศาสนาและสงั คมไทย (เครือข่ายพุทธกิ า)
15. สถาบันรามจติ ติ
16. มูลนธิ กิ ลุม่ มะขามป้อม
17. มูลนิธิบูรณะพฒั นาชนบทแหง่ ประเทศไทย
18. กลุ่มธรุ กิจเพื่อสงั คมไทย
19. โครงการมลู นธิ ชิ ุมชนกรงุ เทพ
20. เครือขา่ ยอาสารักษ์ธรรมชาติ (V4N Network)
21. แผนงานพัฒนาจติ เพอ่ื สขุ ภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิว์ งศ์ (มสส.)
22. สำนกั งานอาสากาชาด
23. เครือข่ายองค์กรสาธารณประโยชน์
24. ชมรมหวั ใจสาธารณะ (C4pC)
25. พพิ ิธภณั ฑ์ภาพพระเครอ่ื ง โครงการฟ้ืนฟปู ระเทศไทย
26. OFC Club โครงการทำดีถวายพ่อหลวง
27. ธนาคารจติ อาสา
28. มลู นิธจิ ิตอาสาชว่ ยเหลือสังคมเพอ่ื สงั คม
กล่าวสรุปได้ว่า การสร้างเสริมจิตสาธารณะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายนอก ได้แก่ บุคคลและกลุ่ม
บุคคลต่างๆ สภาพการณ์ที่เกิดข้ึนในบริบทของสังคม และปัจจัยภายในตัวบุคคลแต่ละบุคคล ดังนั้นการสร้าง
เสรมิ จิตสาธารณะในแตล่ ะบคุ คลจึงจำเปน็ ต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้ง 2 สว่ นดังกล่าวให้มีส่วนสนับสนนุ ซง่ึ กนั และกัน
เพ่อื ทำใหก้ ารสร้างเสริมจิตสาธารณะดำเนินไปอย่างมีประสทิ ธภิ าพ
คุณลกั ษณะทัว่ ไปของผูท้ ีม่ จี ิตสาธารณะ
มนี กั การศึกษาหลายท่านได้แสดงทรรศนะเก่ียวกับคุณลักษณะทวั่ ไปของผูท้ ่ีมีจติ สาธารณะไว้ดงั นี้
ยทุ ธนา วรุณปิติกลุ (2542: 60) กล่าวถึงบคุ คลท่ีมจี ิตสาธารณะต้องมีลกั ษณะดังนี้
16 มมุ มอง “จิตสาธารณะ” : ศกึ ษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ
1. การทมุ่ เทและอุทิศตน มคี วามรบั ผดิ ชอบตอ่ สังคม บุคคลไมเ่ พียงแต่ปฏิบตั ิตามสิทธเิ ท่าน้ัน แต่
ตอ้ งปฏบิ ัติเพ่ือช่วยเหลือใหบ้ รกิ ารแกบ่ ุคคลอื่น เพื่อพัฒนาสงั คมด้วย
2. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้มีจิตสาธารณะต้องมีความอดทน ตระหนักว่าการมีสว่ นรว่ ม
ไม่ได้ทำให้ได้อย่างที่ต้องการเสมอไป ต้องเคารพและยอมรับความแตกต่างที่หลากหลาย และหาวิธีอยู่ร่วมกับ
ความขัดแย้ง โดยการแสวงหาทางออกร่วมกัน การจำแนกประเด็นปัญหา การใช้เหตุผลในการแลกเปลี่ยน
ความคดิ เหน็ การตดั สินใจตอ้ งมีการพดู แลกเปล่ียนความคิดเหน็ ระหว่างกนั ให้มากท่สี ดุ เพ่ือหาขอ้ ยุติ สร้างการ
เขา้ ร่วมรู้ ตดั สนิ ใจ และผนึกกำลงั เพ่ือใหเ้ กดิ การยอมรับจากทุกฝ่าย
3. คำนึงถงึ ผลประโยชน์สว่ นรวม คนในสงั คมต้องคำนึงถึงกิจการเพื่อส่วนรวมและเพ่ือคุณธรรมมากข้ึน
มิเชลลิส (Michaelis, 1963 อ้างถึงในสุนทรี จูงวงศ์สุข, 2548: 68) เสนอแนวคิดว่า การเป็นผู้มี
จติ สาธารณะ สามารถวดั และประเมินผลได้จากพฤตกิ รรมที่แสดงออก ประกอบด้วย
1. ความรับผิดชอบ (responsibility) วัดได้โดยผ่านทางการใช้สิทธิการตัดสินใจ และการวางแผน
เพื่อปฏิบัติกิจกรรมตา่ งๆ
2. การตระหนักถึงผู้อื่น (concern for others) การตระหนักถึงผู้อื่นแสดงผ่านการเคารพซึ่งกัน
และกนั ความสภุ าพออ่ นโยน การรู้จกั ผอ่ นปรน ความตัง้ ใจทจ่ี ะช่วยเหลอื ผู้อ่นื ความไวตอ่ ความต้องการ ปญั หา
และความสนใจของผู้อ่ืนท้ังในครอบครัว โรงเรียน และสงั คม
3. การมีจิตใจที่เปิดกว้าง (open mindedness) การมีจิตใจที่เปิดกว้างแสดงผ่านการพิจารณา
ขอ้ เทจ็ จริงและเหตผุ ลจากแหล่งข้อมลู ตา่ งๆ การพจิ ารณาถงึ ความสัมพันธข์ องประเด็น และปัญหาการแสดงหา
หนทางท่ีดกี ว่าในการกระทำสิ่งต่างๆ การใช้เหตผุ ลในการเปลย่ี นแปลงการกระทำของตนและสนับสนุนแนวคิด
ของผู้อืน่ โดยพิจารณาจากความถกู ต้องของหลักฐานและเหตุผล
4. การมีความคิดสร้างสรรค์ (creativeness) การค้นพบแนวทางใหม่ในการกระทำสิ่งต่างๆ มี
มุมมองที่สร้างสรรค์ทั้งต่อแนวคิดใหม่และแนวคิดเก่า ตลอดจนการใช้สิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์การวางแผน
การปรบั ปรุงการปฏบิ ตั ิทัง้ ของตนเองและกลุ่ม
5. ความร่วมมือ (cooperativeness) พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการรวบรวมความคิดเห็น
การวางแผนการรวบรวมแนวคิด หากนักเรียนสามารถพัฒนาพฤติกรรมข้างต้นได้จะสามารถปฏิบัติงานได้
สำเร็จและประเมนิ ผลการทำงานของตนได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ
ไชยา ย้ิมวิไล (2550 : 15) กล่าวถงึ ผทู้ ี่มีจิตสำนกึ สาธารณะนั้นจะมีความรับผดิ ชอบต่อสังคม เคารพ
กฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของสังคม โดยรวมและหน่วยงานองค์กรที่ตนเองเป็นสมาชิกสังกัดอยู่
โดยพยายามยึดมั่นต่อกฎเกณฑ์และกฎหมายอย่างเคร่งครัด พยายามหลีกเลี่ยงการละเมิดให้น้อยที่สุด
ด้วยการปฏบิ ตั ิหนา้ ทอ่ี ย่างมคี ุณธรรมและจรยิ ธรรม
จิราภรณ์ เกตุแก้ว (2559: 52) กล่าวโดยสรุปว่า คุณลักษณะทั่วไปของบุคคลที่มีจิตสาธารณะจะต้อง
ประกอบด้วยการทุ่มเท อทุ ิศตน การเคารพความแตกต่างระหวา่ งบุคคล การคำนึงถงึ ผลประโยชน์สว่ นรวม การ
ลงมือกระทำ ความรับผิดชอบ การตระหนักถึงผู้อื่น การมีจิตใจเปิดกว้าง การมีความคิดสร้างสรรค์ และความ
ร่วมมือร่วมใจ ซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ในเรื่องของการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ความรัก เอื้ออาทร การเรียนรู้ที่มี
การปฏิบัตริ ว่ มกนั และการมเี ครอื ข่ายในการติดตอ่ สือ่ สาร
มุมมอง “จติ สาธารณะ” : ศึกษา เรียนรู้ และทำความเขา้ ใจ 17
ทิพมาศ เศวตวรโชติ (2560: ออนไลน์) กล่าวถงึ ผ้ทู ่มี จี ติ สาธารณะตอ้ งมลี กั ษณะ ดงั นี้
1. คิดในทางบวก (positive thinking) คือ คิดในทางที่ดีต่อคนอ่ืน
2. มีส่วนร่วม (participation) คือ การมีส่วนร่วมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
การอยู่ร่วมกนั อย่างกลมกลืน เก้ือกลู เปน็ ธรรมชาติ
3. ทำตัวเป็นประโยชน์ (useful) คือ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสาธารณะ ต่อสังคม ไม่นิ่งดูดาย
อะไรท่เี ป็นประโยชนต์ อ่ สาธารณะแมเ้ พยี งเล็กน้อยก็จะทำ
4. ไม่เห็นแก่ตัว (unselfish) คือ การฝึกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน แบ่งปันของเล่น ของใช้ให้
เพอ่ื น รจู้ กั ให้ทาน
5. มีความเข้าใจ (understand) คือ เข้าใจผอู้ นื่ (empathy) ไม่ทบั ถมผู้อน่ื ไม่ซำ้ เติมผูอ้ ่ืน
6. มใี จกว้าง (broad mind) คอื มจี ติ ทีก่ ว้างใหญ่ เปดิ กว้าง ไมค่ บั แคบ รับฟังความคดิ เหน็ ของผู้อ่ืน รับฟัง
ข้อมูล แสวงหาความรใู้ หมอ่ ย่เู สมอ
7. มคี วามรู้ (love) คือ รกั เพ่ือน รักผูอ้ น่ื เมตตาต่อสตั ว์ และพชื
8. มกี ารสอ่ื สารที่ดี (communication) คือ มีมนุษยสัมพนั ธท์ ่ดี กี บั ผอู้ น่ื เล่น และทำงานรว่ มกับผ้อู น่ื ได้
จากความคิดเห็นข้างต้นเก่ยี วกบั คณุ ลกั ษณะท่ัวไปของผู้มจี ติ สาธารณะ พบวา่ มคี ุณลักษณะท่ีสอดคลอ้ งกันใน
ดา้ นการมสี ่วนรว่ ม การตระหนักถงึ ผูอ้ ่นื การมจี ติ ใจทเี่ ปิดกว้าง ความรับผิดชอบ ความคิดสร้างสรรค์ การคำนงึ ถึงความ
แตกต่างระหว่างบคุ คล และความรัก ความเอ้ืออาทร ดังนนั้ ในการเสริมสร้างจิตสาธารณะอาจนำคณุ ลักษณะดังกล่าวมา
เปน็ ต้นทางในการกำหนดวตั ถปุ ระสงค์ เน้ือหา สาระ และกิจกรรมในการสรา้ งเสริมจิตสาธารณะตอ่ ไป
บทสรปุ
จากสาระที่ผู้เขียนนำเสนอข้างต้น เป็นสาระสำคัญที่เป็นปัจจัยในการสร้างเสริมจิตสาธารณะให้แก่
ผู้เรียนและบุคคลต่าง ๆ โดยทั่วไป มีสาระสำคัญที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นในประเด็นต่างๆ ได้แก่
ความหมายของจิตสาธารณะ ซึ่งเป็นคุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลในการเห็นคุณค่าของบุคคลอื่นและสังคม
โดยรวม จิตสาธารณะเป็นกลไกสำคญั ของสังคมที่สงบสุขและมีคุณภาพ จงึ ได้รับการบรรจุไวใ้ นพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในแผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2560-2579 และยงั ได้นำสาระเกี่ยวกับจิตสาธารณะบรรจุไวใ้ นหลักสูตรการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน พ.ศ. 2551
ทง้ั ในสว่ นจุดหมาย และคุณลกั ษณะที่พงึ ประสงค์ของผู้เรยี น สำหรับในการศึกษาระดับอื่นๆ ได้นำจติ สาธารณะ
ไปบรรจุลงในหลักสตู รและกิจกรรมการอบรมต่าง ๆ รวมท้งั สถาบนั การศึกษาหลายแห่งไดน้ ำจิตสาธารณะบรรจุ
ลงในปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และกำหนดเป็นอัตลักษณ์ของผู้เรียน ในส่วนขององค์ประกอบจิต
สาธารณะ ประกอบด้วย 2 มิติ คือ มิติภายใน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ และการตัดสินใจที่
จะแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะ มิติภายนอก ได้แก่ การแสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะ ในด้านการก่อรูป
จิตสาธารณะ ประกอบด้วย 1) การสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงจิตสาธารณะในสถานการณ์ของสังคม 2) การตัดสินใจ
เชิงจิตสาธารณะในการเข้าร่วมในสถานการณ์ของสังคม 3) การแสดงพฤติกรรมเชิงจิตสาธารณะตามความรู้ความ
เข้าใจ และตดั สินใจในสถานการณข์ องสังคม ส่วนปัจจัยที่เกย่ี วข้องกับจติ สาธารณะ ประกอบด้วยปัจจัยภายใน
และปัจจัยภายนอก สำหรับคุณลักษณะทั่วไปของจิตสาธารณะที่สำคัญ ได้แก่ การมีส่วนร่วม การตระหนักถึงผู้อ่ืน
18 มุมมอง “จติ สาธารณะ” : ศึกษา เรียนรู้ และทำความเขา้ ใจ
การเปดิ ใจกว้าง ความรับผิดชอบ ความคดิ สร้างสรรค์ การคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และความรักความ
เอ้ืออาทร
สาระสำคัญเกี่ยวกับจิตสาธารณะที่ผู้เขียนนำเสนอในบทความนี้ คงทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึง
ความสำคัญของจิตสาธารณะและมีแรงบันดาลใจที่จะร่วมกันสร้างเสริมจิตสาธารณะให้ เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนและ
บุคคลทั่วไป ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับบทบาท หน้าที่และภารกิจของแต่ละบุคคล หน่วยงาน และ
องค์กรท่มี สี ่วนเกี่ยวขอ้ งได้อยา่ งเป็นรปู ธรรมและมีประสิทธิภาพ ต่อไป
บรรณานุกรม
กรรยา พรรณนา. (2559). จิตสาธารณะ...สร้างได้งา่ ยนดิ เดียว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แหง่ จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั .
กระทรวงศึกษาธกิ าร. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ทแ่ี ก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่2)
พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับสง่ สินค้าและพัสดุภัณฑ์
_________. (2552). หลักสตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพช์ ุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกรียงศักด์ิ เจริญวงศศ์ ักดิ.์ (2558). ดี เกง่ กล้า : พฒั นาเด็กและเยาวชนไทยกา้ วไกลในฐานะพลเมอื งอาเซียน.
รัฐสภาสาร, 63(9), 62-72.
เกียรติศักดิ์ แสงอรุณ. (2551). แนวทางการพัฒนาจิตสำนกึ สาธารณะสำหรับเยาวชนไทย: กรณศี กึ ษากล่มุ
และเครือข่ายเยาวชนท่ีทำงานดา้ นจติ สาธารณะ. วทิ ยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
พัฒนาศึกษา คณะครศุ าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จริ าภรณ์ เกตุแก้ว. (2559). การพฒั นาหลกั สูตรฝกึ อบรมเพือ่ เสริมสรา้ งจิตสาธารณะ สำหรับนักศึกษาคณะ
ครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภฎั นครศรีธรรมราช. วทิ ยานพิ นธก์ ารศึกษาดุษฎบี ัณฑิต สาขาวชิ า
หลกั สตู รและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยบูรพา.
ชาย โพธิสิตา และคณะ. (2540). รายงานการศึกษาวจิ ยั เร่ือง จิตสำนกึ ต่อสาธารณะสมบัติ: ศึกษากรณี
กรุงเทพมหานคร. นครปฐม: สถาบันวิจยั ประชากรและสงั คม. มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล.
ชยั วฒั น์ สทุ ธิรัตน.์ (2552). สอนเดก็ ให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ : วี พรินท์(1991).
ไชยา ยิม้ วไิ ล. (2550). สำนึกสาธารณะ. มตชิ นสดุ สัปดาห์, 27(1939), (12 พฤษภาคม).
ทิพมาศ เศวตวรโชติ. (2560). จติ สาธารณะ. [ออนไลน์]. ไดจ้ าก: http://taamkru.com/th/จิตสาธารณะ/
[สืบคน้ เมอ่ื 11 มนี าคม 2561].
พระธรรมปฎิ ก (ประยทุ ธ์ปยุตโต). (2541). ธรรมกับไทยในสถานการณป์ ัจจบุ นั . กรงุ เทพฯ:
โรงพิมพ์ครุ สุ ภา.
ไพบูลย์ วฒั นศริ ิธรรม และสังคม สัญจร. (2543). สำนกึ ไทยที่พงึ ปรารถนา. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์เดือน
ตุล.
ยทุ ธนา วรุณปติ ิกลุ . (2542). สำนึกพลเมือง : ความเรยี งว่าด้วยประชาชนบนเส้นทาง ประชาคม. กรุงเทพฯ
: มูลนธิ ิการเรียนรู้และพฒั นาประชาคม.
มุมมอง “จิตสาธารณะ” : ศกึ ษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ 19
ลัดดาวลั ย์ เกษมเนตร. (2546). รูปแบบการพัฒนานักเรียนระดับประถมศกึ ษาให้มจี ิตสาธารณะการศกึ ษา
ระยะยาว. เอกสารประกอบการประชุมสถาบนั วจิ ยั พฤติกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ.
วกิ ิพเี ดยี สารานุกรมเสร.ี (2564). เครอื ขา่ ยจิตอาสา. [ออนไลน์]. ได้จาก:
https://th.m.wikipedia.org/wiki/เครือข่ายจติ อาสา. [สบื คน้ เมือ่ 11 กรกฎาคม 2565].
วโิ ฬฏฐ์ วัฒนานิมติ กูล. (2554). การพฒั นารูปแบบการสอนเพอ่ื สรา้ งเสรมิ จิตสาธารณะ
ในการแกป้ ัญหาสงั คม โดยการสร้างความกระจ่างคา่ นิยม และการกำกบั ตนเอง สำหรบั
นักศกึ ษาระดบั ปริญญาตรี. กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สนุ ทรี จูงวงศ์สขุ . (2548). การใชก้ ระบวนการสง่ิ แวดลอ้ มศกึ ษาเพอื่ สร้างเสรมิ ลกั ษณะนิสัยจิตสาธารณะ
ของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียนสาธติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม.่ วทิ ยานพิ นธ์ศกึ ษา
ศาสตรมหาบณั ฑิต (การสอนสังคมศึกษา), บณั ฑติ วทิ ยาลัย มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่,
สพุ จน์ ทรายแก้ว. (2546). จิตสำนึกสาธารณะ การก่อรูปและกระบวนการเสรมิ สรา้ ง. วารสารเพชรบุรี
วทิ ยาลงกรณ์. 4(1).
สำนกั งานเลขาธิการสภาการศกึ ษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พมิ พค์ รงั้ ที่ 2).
กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนกั วชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา. สำนกั งานคณะกรรมการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน, กระทรวงศกึ ษาธกิ าร.
(2554). เพื่อนคูคดิ มิตรคูครูแนวทางการจัดการเรียนรูประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
ชมุ นุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
---------------------------------