The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แบบฝึกหัดท้ายบทที่-10

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by niceza12674, 2021-04-28 01:21:56

แบบฝึกหัดท้ายบทที่-10

แบบฝึกหัดท้ายบทที่-10

นางสาวนัฏฐนิชา ช่ืนนอก 6240120109 หมูเ่ รียน P.13

บทที่ 10
คะแนน และการบรหิ ารการสอบ

1. จงบอกความหมายของคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน พร้อมยกตวั อยา่ งประกอบมาพอเข้าใจ

ตอบ 1. คะแนนดิบ (Raw Score) คะแนนดิบเป็นคะแนนที่ได้จากการวัดหรือการทดสอบผู้เรียน โดยตรง
ซง่ึ คะแนนทีไ่ ด้เป็นเพยี งตัวเลขจำนวนหนึ่งท่ียังไมผ่ ่านการจัดกระทำ เปน็ ตัวเลขทีย่ ังไมส่ ามารถตีความหมายได้
ชัดเจนนักว่าผู้เรียนมีสภาพการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด เช่น เด็กชายบุณยกรสอบวิชาภาษาไทยได้ 30 คะแนน
และวิชาคณติ ศาสตรไ์ ด้ 29 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน เป็นต้น

2. คะแนนแปลงรูป (Derived Score) คะแนนแปลงรูปหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คะแนนมาตรฐาน
เป็นคะแนนที่ได้จากการนำคะแนนดิบไปปรับเปลี่ยนค่าคะแนนให้เป็นคะแนนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้
สามารถบอกสภาพการเรยี นรูข้ องผเู้ รยี นได้ชัดเจนขน้ึ เกง่ หรอื อ่อนวิชาใด คะแนนแปลงรูปมีหลายรปู แบบ ดังนี้

2.1) คะแนนร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ เป็นการนำคะแนนที่ได้จากการวัดไปเปรียบเทียบคะแนนเต็ม
โดยแปลงค่าคะแนนเต็มให้เป็น 100 เช่น เด็กหญิงจริยาสอบได้ 30 คะแนนจากคะแนนเต็ม 40 คะแนน
สามารถแปลงเป็นคะแนนร้อยละไดเ้ ปน็ ร้อยละ 75

2.2) คะแนนลำดับที่ เป็นการนำคะแนนดิบที่ได้จากการวัดผู้เรียนไปเรียงลำดับคะแน นแล้ว
พิจารณาวา่ ผ้เู รยี นแตล่ ะคนอยใู่ นตำแหนง่ ใดจากผ้เู รียนท้ังหมด ซึง่ การแปลงคะแนนแบบมุ่งพิจารณาลำดับที่ได้
มากกว่าคะแนนที่ได้จากการวัด เช่น เด็กชายออกัสสอบได้ 28 คะแนน เมื่อเรียงลำดับแล้วอยู่ในลำดับที่ 10
จากผู้เข้าสอบทั้งหมด 20 คน สามารถเทียบตำแหน่งใหม่ได้เป็นตำแหน่งที่ 50 จากผู้สอบทั้งหมด 100 คน ซ่ึง
การแปลงคะแนนลำดับนีเ้ รียกวา่ ตำแหน่งรอ้ ยละหรือตำแหนง่ เปอรเ์ ซ็นไทล์ เป็นตน้

2.3) คะแนนมาตรฐาน เป็นการนำคะแนนดิบที่ได้จากการวัดผู้เรียนไปเปลี่ยนเป็น คะแนน
มาตรฐาน โดยใชค้ ่าเฉลย่ี (X) และสว่ นเบียงเบนมาตรฐาน (S) เป็นฐานในการแปลงรูป

2.4) คะแนนสเตไนน์ (Stanine) เปน็ การนำคะแนนดบิ ทไ่ี ดจ้ ากการวัดผเู้ รียนไปเปลี่ยนเป็นคะแนน
เปอรเ์ ซ็นไทล์ แลว้ เปล่ียนเป็นคะแนนมาตรฐานปกติซี (Z) จากนนั้ แบง่ พน้ื ทีใ่ ตโ้ ค้งปกติออกเป็น 9 ชว่ ง

2. จงอธบิ ายลักษณะของคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน

ตอบ 1. ลักษณะของคะแนนดิบ คะแนนดิบเป็นคะแนนที่ได้จากการวัดพฤติกรรมของผู้เรียนโดยตรง มี
ลักษณะสำคัญ

1.1) คะแนนดิบไม่สามารถบอกได้ว่าสภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้คะแนนดิบเป็นคะแนนที่ไม่
สามารถบอกได้ว่าผู้เรียนเก่งหรืออ่อนในรายวิชาใด หากนำมาเปรียบเทียบโดยตรงย่อมไม่มีความหมายชัดเจน
เน่อื งจากธรรมชาตขิ องแตล่ ะรายวิชาแตกต่างกนั

นางสาวนัฏฐนิชา ชนื่ นอก 6240120109 หมูเ่ รียน P.13

1.2) คะแนนดิบที่ได้จากการสอบในรายวิชาเดียวแต่ข้อสอบต่างชุดกันนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้
การนำคะแนนดิบที่ได้จากการสอบในวิชาเดียวกันแต่ใช้ข้อสอบต่างฉบับกัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ถือ
วา่ ไมถ่ ูกต้อง เนื่องจากแบบทดสอบแตล่ ะฉบบั มีความยากงา่ ยตา่ งกนั

1.3) คะแนนดิบของแต่ละวิชารวมกันไม่ได้ การนำคะแนนดิบแต่ละวิชามารวมกันถือเป็นสิ่งที่ไม่
ถูกตอ้ ง เพราะค่านำ้ หนกั คะแนนของแต่ละรายวชิ ามีคา่ ไม่เท่ากนั

2. ลักษณะของคะแนนมาตรฐาน คะแนนมาตรฐานมลี ักษณะสำคญั ดงั ต่อไปน้ี

2.1) คะแนนมาตรฐานเป็นคะแนนที่แปลงรูปมาจากคะแนนดิบ คะแนนมาตรฐานเป็นคะแนนที่
เกิดจากการนำคะแนนดิบมาเปลี่ยนค่าคะแนนให้เป็นคะแนนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน คะแนนมาตรฐานจึง
สามารถเปรียบเทียบความความสามารถของผู้เรียนได้ว่าอ่อนหรือเก่งในแต่ละวิชา รวมทั้งเปรียบเทียบกันได้
ระหว่างวิชา และสามารถนำคะแนนมาตรฐานมาบวกหรอื ลบกันไดเ้ พราะมีหนว่ ยเหมอื นกัน

2.2) การเปรียบเทียบคะแนนมาตรฐานใชค้ ่าเฉลี่ยของกลุ่มเปน็ หลัก ในการนำคะแนนมาตรฐานมา
เปรียบเทียบกันเพื่อแสดงความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับคะแนนของผู้เรียน
คนอื่น ๆ ในกลุ่ม คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มถือเป็นตัวแทนของกลุ่มที่ใช้ในการเปรียบเทียบ โดยมีหลักว่าผู้เรียนคน
ใดคะแนนสูงกว่าค่าเฉลยี่ ถือว่าเกง่

จากลกั ษณะของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานท่ีกล่าวมาข้างต้น จงึ จำเปน็ ต้องเปล่ยี นคะแนนดิบให้เป็น
คะแนนแปลงรูปซ่งึ มหี ลากหลายวิธี เพอื่ ใหก้ ารเปรียบเทียบคะแนนหรือการรวมคะแนนมคี วามหมายชัดเจนข้ึน
และเชื่อถือได้เนื่องจากคะแนนมาตรฐานมีหน่วยเท่ากันจึงสามารถนำคะแนนมาตรฐานมาดำเนินการทาง
คณิตศาสตรไ์ ด้ รวมทง้ั สามารถนำไปเปรียบเทยี บกันได้อย่างมคี วามหมาย

3. ผลการทดสอบ O-NET ของนักเรยี น 4 คน ได้คะแนนดงั น้ี

วชิ า ค่าเฉล่ยี สว่ นเบ่ียงเบน คะแนนท่ีสอบได้

( ̅ ) มาตรฐาน (S) นันทนา วรรณษา รชั ดา กานดา

สงั คมศึกษา 46 8 58 61 59 62

คณิตศาสตร์ 22 10 56 54 57 54

ภาษาไทย 40 15 46 45 44 44

จงแปลงคะแนนทั้ง 3 วิชาของนักเรียนทกุ คนใหเ้ ปน็ คะแนนมาตรฐาน T และเรียงลำดบั ความสามารถ

ของเรยี นท้งั 4 คน จากคะแนนมาตรฐาน T

วิชา คะแนนมาตรฐาน T

นันทนา วรรณษา รชั ดา กานดา

สงั คมศึกษา 65 68.75 66.25 70

คณติ ศาสตร์ 84 82 85 82

ภาษาไทย 54 53.3 52.6 52.6

รวม 203 204.05 203.85 204.6

นางสาวนฏั ฐนิชา ชืน่ นอก 6240120109 หมเู่ รียน P.13

ตอบ สรุป กานดา (Tรวม =204.67) มีความสามารถสูงสุด รองลงมาคือ วรรณษา (Tรวม =204.05) รัชดา (Tรวม
=203.85) และนนั ทนา (Tรวม =203) ตามลำดับ

4. ผลของการสอบปลายภาคเรียนของสมชาย ได้คะแนนเท่ากับ 55 และเมื่อคำนวณหาตำแหน่งเปอร์เซ็น
ไทล์ (PR) แล้วพบว่าอยู่ใน PR ที่ 62.50 อยากทราบว่าคะแนนสอบปลายภาคเรียนของสมศักดิ์มีค่า
คะแนนมาตรฐานปกติ Z และคะแนนมาตรฐานปกติ T เทา่ กบั เท่าใด
ตอบ ค่าคะแนนมาตรฐานปกติ Z = 0.75 และค่าคะแนนมาตรฐานปกติ T = 57.5

5. จงตัดเกรดวิชาภาษาไทยของนักเรียนจำนวน 150 คน โดยใช้วิธีแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนมาตรฐาน
T-ปกติ และใหเ้ กรดเปน็ 8 ระดับจากคะแนนตอ่ ไปนี้

คะแนน ความถ่ี คะแนน ความถ่ี คะแนน ความถ่ี
90 1 77 9 70 5
88 3 76 9 69 5
87 4 75 8 67 4
85 4 74 8 66 4
83 5 73 7 64 3
81 6 72 6 62 3
78 7 71 5 61 2

ตอบ ดงั ตารางดงั นี้

ขน้ั ท่ี 1 ขน้ั ท่ี 2 ข้ันที่ 3 ขน้ั ที่ 4 ขัน้ ที่ 5 ขัน้ ท่ี 6

คะแนนดิบ f Cf Cf+1/2 tile T-ปกติ

90 1 108 108.5 71.61 56

88 3 107 108.5 71.61 56

87 4 104 106 69.96 55

85 4 100 102 67.32 55

83 5 96 98.5 65.01 54

81 6 91 93 61.38 53

78 7 85 88.5 58.41 52

77 9 78 82.5 54.45 51

76 9 69 73.5 48.51 49

75 8 60 64 42.24 48

74 8 52 56 36.96 48

ขัน้ ท่ี 1 ขั้นท่ี 2 ขนั้ ที่ 3 นางสาวนัฏฐนชิ า ชนื่ นอก 6240120109 หมเู่ รียน P.13
คะแนนดบิ f Cf
7 44 ข้นั ท่ี 4 ข้นั ที่ 5 ขนั้ ท่ี 6
73 6 37 Cf+1/2 tile T-ปกติ
72 5 31 47.5 31.35 45
71 5 26
70 5 21 40 26.4 44
69 4 16 23.5 22.11 43
67 4 12 28.5 18.81 41
66 38 23.5 15.51 40
64 35 18 11.88 38
62 22 14 9.24 37
61 11.6 7.59 36
6.5 9.84 37
3 1.98 29

6. ในการบริหารการสอบมหี ลกั การอยา่ งไร จงอธิบาย

ตอบ การบริหารการสอบที่จะทำให้ได้ผลการสอบมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และป้องกันความคลาดเคลื่อนที่
อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการสอบ จึงควรที่จะใชห้ ลกั การบรหิ ารการสอบดงั ตอ่ ไปน้ี

1. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน ในการสอบควรกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนเพื่อเป็นทิศทางในการ
ดำเนนิ การสอบให้มปี ระสิทธิภาพ

2. มีแผนการดำเนินการสอบที่ชัดเจน โดยมีการวางแผนการสอบอย่างรอบคอบว่าจะสอบอะไร สอบ
อยา่ งไร สอบเม่อื ไหร่ สอบทใ่ี ด และใครเป็นผรู้ ับผิดชอบ

3. กำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน โดยกำหนดแนวปฏิบัติในการดำเนินการสอบที่ชัดเจนและแจ้งให้บุคลากร
ทเ่ี ก่ียวขอ้ งไดท้ ราบ

4. มีการเตรียมความพร้อม โดยดำเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบมีความพร้อมในการจัดทำ
แบบทดสอบ จดั เตรียมวสั ดุ อปุ กรณ์ในการสอบ สถานท่ีสอบ และการดำเนินการสอบ

5. มีความสะดวก โดยดำเนินการเอื้ออำนวยต่อผู้เข้าสอบได้รับความสะดวกสูงสุด มีการรบกวนน้อยที่สุด
เพื่อให้ผเู้ ข้าสอบได้ใช้ความรูค้ วามสามารถในการทำแบบทดสอบอยา่ งเต็มศกั ยภาพ

6. มคี วามยตุ ิธรรม โดยการดำเนนิ การใหผ้ ู้เขา้ สอบได้รับความยุตธิ รรมเทา่ เทยี มกนั ทง้ั ในเรอ่ื งการแจกและ
การเก็บแบบทดสอบ การชแี้ จงในการสอบ การใชเ้ วลาในการสอบและการกำกบั การสอบ

7. มีประสิทธิผล โดยมีการกำกับดูแลให้การดำเนินการสอบเป็นไปตามแผนการสอบและแนวทางการ
ปฏบิ ตั ิในการสอบอยา่ งเคร่งครดั จนบรรลจุ ุดม่งุ หมายของการสอบ

7. จงบอกแนวทางในการนำผลการวัดและประเมินไปใช้ประโยชน์

นางสาวนฏั ฐนชิ า ชื่นนอก 6240120109 หมูเ่ รียน P.13

ตอบ การวัดผลและการประเมินผลจะเกิดคุณประโยชน์อย่างมากต่อการเรียนการสอน ถ้าหากว่าหลังการ
ดำเนินการแล้ว ได้มีการนำผลไปใช้ให้คุ้มค่า ทั้งในด้านการพัฒนาผู้เรียน การปรับปรุงการจัดเรียนการสอน
และการปรบั ปรงุ หลกั สูตร รวมท้ังเป็นสารสนเทศให้กบั ผู้บริหารและผ้ปู กครอง ดงั น้ี

1. การใช้ผลการวัดและประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน ครูผู้สอนสามารถนำผลการการวัดและประเมินไปใช้
พฒั นาผู้เรียนไดใ้ น 3 ลกั ษณะ ดังน้ี

1.1) การวินิจฉัยผู้เรียน (diagnosis) เป็นการใช้ผลการประเมินผลก่อนการสอน เพื่อตรวจสอบ
ความรู้พื้นฐานของผู้เรียนว่ายังมีข้อบกพร่องในเรื่องใด ครูผู้สอนจะได้จัดการสอนซ่อมเสริมความรู้พื้นฐานให้มี
ความพรอ้ มท่ีจะเรียนรู้ตอ่ ไป

1.2) การปรบั ปรุงการเรยี นรู้ เป็นการใชผ้ ลการประเมินผลระหวา่ งเรียน (formative evaluation)
เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ หากพบว่ายังไม่ผ่าน
จุดประสงค์การเรียนรู้หรือยังมีข้อบกพร่องในเรื่องใด ครูผู้สอนจะได้ปรับปรุงแก้ไขโดยการจัดการสอนซ่อม
เสริมใหผ้ เู้ รยี นมีความรู้ความสามารถตามจุดประสงคก์ ารเรียนร้ทู ่ีกำหนดไว้

1.3) การตัดสินผลการเรียน เป็นการใช้ผลการประเมินผลรวม (summative evaluation)
หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชา เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในรายวิชา
เพียงใด แลว้ พจิ ารณาตัดสนิ ผลการเรยี นตามเกณฑ์ทก่ี ำหนดวา่ ผู้เรยี นแต่ละคนควรจะไดร้ ะดับผลการเรียนใด

2. การใช้ผลการวัดและประเมินเพือ่ พฒั นาการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตร เมื่อครูจัดการเรยี นการ
สอนแต่ละวิชา และได้มีการวัดและประเมนิ ผลแล้วผลการวัดและประเมินถือเป็นตวั ชี้วัดทีแ่ สดงถึงผลการเรยี น
ของผู้เรียน ซึ่งเป็นผลอันเน่ืองมาจากการสอนของครูนั่นเอง ถ้าผลการเรียนหรือผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ก็
อาจกล่าวว่าเป็นเพราะครูใช้เทคนคิ การสอนทีด่ ีมีประสิทธิภาพ แต่ผลการเรียนหรอื ผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์
ไม่ดี ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพราะครูใช้เทคนิควิธีการสอนที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นผลการวัดและประเมิน จึงเป็น
ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ให้ครูพิจารณาทบทวนปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับ
เปา้ หมายการพฒั นาคุณภาพผเู้ รยี น

3. การใช้ผลการวัดและประเมินเป็นข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ผู้บริหารโรงเรียนจำเป็นต้องมี
ข้อมูลสารสนเทศ (Information) สำหรับประกอบ การตัดสินใจในการบริหารงาน เพื่อให้การบริหางานมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผลประเมินแต่ละวิซาหรือโดยภาพรวมทั้งโรงเรียนถือว่าเป็นข้อมูลสารสนเทศ
เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่ผู้บริหารสามารถจะนำมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการปรับปรุงและ
พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชา หรือการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
โรงเรยี น

4. การใช้ผลการวัดและประเมินเป็นข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้ปกครอง การรายงานผลการเรียนให้
ผู้ปกครองทราบเป็นการแสดงถงึ ความรับผิดชอบ (Accountability) ต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือการ
จัดการเรยี นการสอนของครวู ่าไดจ้ ดั การศกึ ษาเพอื่ พัฒนาผเู้ รียนไดผ้ ลเป็นอย่างไรและทำให้ผู้ปกครองไดร้ ่วมมือ
ในการปรับปรุงแก้ไซหรือพัฒนาผู้เรียนด้วย โดยทั่วไปโรงเรียนจะรายงานผลการเรียนได้ทราบถึงผลการเรียน

นางสาวนฏั ฐนิชา ช่นื นอก 6240120109 หม่เู รียน P.13

ให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ ๆ โดยใช้สมุดรายงานประจำตัวผู้เรียน เพื่อให้ผู้ปกครองได้ทราบถึงการประเมิน
การผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ และผลการสอบปลายภาค โดยรายงานสารสนเทศดังกล่าวในแบบรายงานผล
การเรยี นทโ่ี รงเรยี นจดั ทำข้นึ ตามระเบยี บ


Click to View FlipBook Version