The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by เฟิร์ส สุ, 2024-02-10 11:47:59

วิจัยจบ ส่ง

วิจัยจบ ส่ง

พับสัตว์ และภาชนะ ครูสามารถให้เด็กน าผลงงานของตัวเอง มาน าเสนอร่วมกับเพื่อนเรียนกับเพื่อน รู้กับ เพื่อน พัฒนาการที่เด็กได้รับเป็นดังนี้ ด้านร่างกาย ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กการท างานของมือและสายตาพัฒนาการท างานของสมอง ด้านจิตใจ มีความมั่นใจ มีความภาคภูมิใจในตน มีสมาธิ ด้านสังคม มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ มีความอดทน ด้านปัญญา คิดเป็นรู้เหตุผลเกิดความรู้ในสาระต่างๆ ทั้งภาษา วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และสังคม Paper lover, ส านักพิมพ์คลื่นอักษร (2553:9) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการพับกระดาษ ดังนี้ 1. ฝึกสมาธิ 2. ฝึกความอดทน 3. ฝึกกระบวนการคิด 4. ฝึกระบบความจ า 5. สามารถใช้บ าบัดผู้ป่วยโรคความจ าสั้นได้ 6. ฝึกทักษะการประดิษฐ์ 7. ฝึกการใช้กล้ามเนื้อ 8. ส่งเสริมจินตนาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ ประพิมพ์พักตร์ พละพงศ์ (2550: 58) ศึกษาเรื่องความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยใน การท ากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระดาษเส้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการท ากิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ด้วยกระดาษเส้น 2. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยในการท ากิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ด้วยกระดาษเส้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการด าเนินการวิจัยในครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุ 5 – 6 ปีที่ ก าลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ของโรงเรียนพระยามนธาตุราช ศรีพิจิตร์ส านักงานบางบอน สังกัดกรุงเทพมหานคร จ านวน 15 คน โดยมีขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยมีขั้นตอนดังนี้


1. จับฉลากเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มา 1 ห้องเรียน จากจ านวนเด็กปฐมวัยทั้งหมด 5 ห้องเรียน ท าการทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยในห้องที่จับฉลากได้ใน ข้อ 1 ด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถด้ามมิติสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และคัดเลือกเด็กปฐมวัยที่มีคะแนน ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ 15 อันดับสุดท้ายมาเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองเครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระดาษเส้น จ านวน 40 แผน 2. แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ จ านวน 30 ข้อ แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ ด้านการมอง วัตถุกับ การเคลื่อนไหว ด้านการรับรู้ภาพและพื้นหลัง ด้านการรับรู้ความคงรูปของวัตถุ ด้านการรับรู้ต าแหน่งของ วัตถุที่สัมพันธ์กับพื้นที่ และการการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถใน ด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองท ากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระดาษเส้นโดยรวมสูงขึ้น อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อจ าแนกรายด้าน พบว่า ความสามารถด้ามมิติสัมพันธ์ด้านกา มองวัตถุกับการเคลื่อนไหว ด้านการรับรู้ภาพและพื้นหลังภาพ ด้านการรับรู้ความคงรูปของวัตถุ และด้าน การรับรู้ต าแหน่งของวัตถุ ที่สัมพันธ์กับพื้นที่สูงขึ้น อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ ความสัมพันธ์ระหว่าง วัตถุสูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญท าสถิติที่ ระดับ .05 2. เด็กปฐมวัยมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์หลังการทดลองท ากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วย กระดาษเส้นโดยรวมมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 100.00 ของเด็กปฐมวัยทั้งหมด และเมื่อ จ าแนกรายด้านพบว่า เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงขึ้นในด้าน การรับรู้ ความคงรูปของวัตถุมากเป็นอันดับแรก (ร้อยละ 100.00) รองลงมา คือ ด้านการรับรู้ภาพพื้นหลัง (ร้อยละ 93.33) และด้านการรับรู้ต าแหน่งความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ (ร้อยละ 66.67) ส่วนด้านการมองวัตถุกับการ เคลื่อนไหว (ร้อยละ 53.33) และด้านการรับรู้ต าแหน่งของวัตถุที่สัมพันธ์กับพื้นที่ (ร้อยละ 53.33) มีการ เปลี่ยนแปลงสูงขึ้นเท่ากัน ปัญญา คลังมนตรี (2554: 59 - 60) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์พับกระดาษ แบบออ ริกามิที่มีต่อความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม คณิตศาสตร์พับกระดาษ แบบออริกามิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ อ าเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จ านวน 30 คน ปีการศึกษา 2553 ที่มีความสนใจ และสมัครใจในการเข้าชมรมคณิตศาสตร์ โดยคัดเลือกตามล าดับการสมัคร ด าเนินการ ทดลองโดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์พับกระดาษแบบออริกามิที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นใช้เวลาในการเข้าร่วม กิจกรรม 8 วัน โดยใช้คาบเรียนชุมนุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์


พับกระดาษออริกามิ จ านวน 6 ชุดกิจกรรม 2. แบบวัด ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสอบ อัตนัย จ านวน 10 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์พับกระดาษแบบออริกามิมีความคิด รวบ ยอดทางคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สนธิยา โกมลเปริน (2554: 62-64) ศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เปเปอร์มาร์เช่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการท ากิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์เปเปอร์มาเช่โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความเหมือนและความต่างด้านต าแหน่งของสิ่ง ต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน ด้านการต่อเข้าการแยกออกจากกันของวัตถุ 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัด กิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เปเปอร์มาร์เช่โดยรวมและรายด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่ก าลังศึกษาอยู่ในชั้น อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนอนุบาลราชบุรี สังกัดส านักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จ านวน 26 คน โดยมีการสุ่มอย่างง่ายมา 1 ห้องเรียน (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เปเปอร์มาเช่ จ านวน 24 แผน 2. แบบทดสอบเชิงปฏิบัติวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ จ านวน 3 ชุด คือ ด้านความ เหมือนและความต่างด้านต าแหน่งของสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน ด้านการต่อเข้าการแยกออกจากกันของวัตถุ รวมทั้งสิ้น 20 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กปฐมวัยมีความสามารถด้ามมิติสัมพันธ์ทั้งโดยรวมและรายด้านหลังการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ เปเปอร์มาเช่อยู่ในระดับสูง 2. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ทั้งโดยรวม และรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เปเปอร์มาเช่สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เปเปอร์มาร์เช่อย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิตที่ระดับ .01 วารินทิพย์ ศรีกุลา (2554: 79-81) ศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการพับกระดาษที่มีต่อทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยในครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชายหญิง จ านวน 35 คน ซึ่งมีอายุ 4- 5 ปี ที่ก าลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเล็กโกเมศอนุสรณ์ จังหวัดนนทบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม


(Cluster random sampling) เลือกจ านวน 1 ห้องเรียน จากจ านวนทั้งหมด 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1. แผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษจ านวน 24 แผน และ 2. แบบประเมิน ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการพับกระดาษมี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้าน ประกอบด้วยด้านการนับจ านวน 1-20 อย่างรู้ค่า จ านวน ด้านการบอกต าแหน่ง และด้านการจ าแนกรูปเรขาคณิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ .05 เบญจา สนธยานาวิน (2556: 80-82) ศึกษาเรื่องผลการจัดประสบการณ์ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ ในชุมชนบ้านวังลานที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และพฤติกรรมร่วมมือของเด็กปฐมวัย โรงเรียน บ้านวังลาน จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนบ้านวังลาน 2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมร่วมมือของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ทัศน ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนบ้านวังลาน จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดประสบการณ์ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ใน ชุมชน 24 แผน 2. แบบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เชิงสถานการณ์ และแบบสังเกตพฤติกรรมร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าขนาด อิทธิพลผลการวิจัย พบว่า 1. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับประสบการณ์ทัศนศึกษาแหล่ง เรียนรู้ในชุมชนโรงเรียนบ้านวังลาน สูงขึ้นในระดับมาก เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการมองเห็น รับรู้ถึง ความสัมพันธ์มิติต่างๆ เมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน พบว่า สามารถน าชิ้นส่วนต่างๆ ของภาพ/สิ่งของที่ ก าหนดให้มาต่อเข้าด้วยกันเกิดเป็นภาพที่สมบูรณ์ สามารถปฏิบัติและบอกความเหมือนความต่างของ ขนาด รูปร่างและรูปทรงปฏิบัติและบอกต าแหน่งของวัตถุ ข้างหน้า-ข้างหลัง ข้างบนข้างล่าง ข้างใน – ข้างนอก ระหว่างปฏิบัติและบอกทิศทางของวัตถุ ทางตรง-ทางอ้อม ทางซ้ายทางขวา สูงขึ้น ในระดับมาก 2. พฤติกรรมร่วมมือของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับประสบการณ์ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โรงเรียนบ้านวังลาน มีพฤติกรรมร่วมมือ การแสดงออก ด้วยการปฏิบัติ หรือค าพูดของเด็กปฐมวัย ที่แสดง ถึงความร่วมมือ สังเกตได้ในขณะเล่นหรือท างานร่วมกับผู้อื่นเป็นกลุ่มจากการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ ชุมชนมีลักษณะพฤติกรรม พูดแสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็น ปฏิบัติตามข้อตกลง และท างาน ร่วมกับเพื่อนจนเสร็จ สูงขึ้นในระดับมากและสูงขึ้นทุกด้าน


จิตรวรรณ ประจุดทะเนย์. (2557: 82-83) ศึกษาเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส าหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็ก ปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเรียนด้วย ชุด กิจกรรมศิลปะ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้ามมิติสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จ านวน 27คน โรงเรียนอนุบาลบ้านด่าน ส านักงาน เขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก โดยใช้ห้องเรียน เป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จ านวน 20 ชุด แผนการจัดประสบการณ์ประกอบ ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ จ านวน 20 แผน แบบทดสอบวัด ความสามารถด้ามมิติสัมพันธ์ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ส าหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 85.43/84.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ 2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส าหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สูง กว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้ามมิติสัมพันธ์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก งานวิจัยต่างประเทศ Cockburm (1996: 2350-A-2351-A) ศึกษาเรื่องการศึกษาประสบการณ์การเล่นของเล่นที่มีต่อ ทักษะการจินตนาการภาพในความคิดของเด็กหญิง อายุ 4 ปี และ 6 ปี ศึกษาเกี่ยวกับการแปล ภาพ 2 มิติ เป็นวัตถุ 3 มิติและการแปลวัตถุ 3 มิติเป็นภาพ 2 มิติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทักษะการ เรียนรู้ด้านมิติ สัมพันธ์ ของเล่นที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ LEGO DUPLO บล็อกกับบัตรกิจกรรม และชุดการสร้าง บล็อกกับบัตรกิจกรรม ผลการศึกษาพบว่ากิจกรรมการเล่นของเล่นช่วยส่งเสริมทักษะการจินตนาการภาพ ในความคิดของเด็ก Liu (2007: 343-352) ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการวาดภาพและการมองเห็น/สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับเกรด 3 ของ


โรงเรียนพื้นที่เขตชิชูในประเทศใต้หวัน ผลการศึกษาพบว่า ความคิดสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์ทางบวก กับความสามารถในการวาดภาพและการมองเห็น/สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ยัง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ของนักการศึกษาทางศิลปะท้องถิ่น และตัวนักเรียนเอง พบความ แตกต่างอย่างมีนัยส าคัญในการตอบตามปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ชุมชน ที่อยู่อายุ และ เวลาที่ท าแบบประเมิน โดยนักเรียนหญิงเกรด 3 แสดงภาพพจน์ของตนเองดีกว่ามีความคิดริเริ่มมากกว่า และมีความสามารถในการมองเห็นได้ชัดเจนกว่านักเรียนชายเกรด 3 โดยรวม พบว่า นักเรียนที่อยู่ในตัว เมืองมีความสามารถในการมองเห็นพร้อมกับมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ดีกว่านักเรียนที่อยู่ชานเมือง ใน ชนบทและพื้นที่ห่างไกล พบว่านักเรียนที่อยู่ในชนบทมีความ คล่องแคล่วในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ มี ความสามารถในการยืดหยุ่น และมีความละเอียดลออมากกว่านักเรียนที่อยู่ในตัวเมือง อยู่ชานเมือง และ อยู่ในพื้นที่ห่างไกล พบว่า นักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ ห่างไกลมีความสามารถในการมองเห็นดีกว่านักเรียนที่อยู่ ในตัวเมือง อยู่ซานเมืองและอยู่ในชนบท พบว่าเด็กที่มีอายุ 9-12 ปี โดยรวมแล้วจะได้คะแนนสูงกว่าเด็ก ในกลุ่มเดียวกันจากแบบประเมินย่อย ความคล่องแคล่ว พบว่า เด็กที่ท าแบบประเมินในช่วงบ่ายโดยรวม แล้ว จะได้คะแนนความสามารถในการมองเห็นสูงกว่าเด็กที่ท าแบบประเมินในช่วงเช้า


บทที่ 3 วิธีด าเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ด าเนินการในลักษณะการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมการพับกระดาษ โดยได้มีการด าเนินการวิจัยดังนี้ 1. ประขากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. การเก็บรวบรวมข้อมูล 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ 5. แบบแผนการทดลอง 6. การวิเคราะห์ข้อมูล 7. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประขากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 4 – 5 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) จ านวน 2 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 4 – 5 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล ปี ที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) ได้มาจากการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อน ามาคัดเลือกนักเรียนที่มีคะแนนความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ระดับต่ าจ านวน 15 คน จากนักเรียนจ านวน 27 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้น าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้รูปแบบ One Group Pretest-Posttest Design ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ 1 คณะผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับเด็กนักเรียนเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ 2 คณะผู้วิจัยน าแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยท าการทดสอบ เด็ก นักเรียนก่อนการทดลอง (Pre - test) ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความเหมือนความต่าง ด้านการต่อเข้าด้วยกัน


ด้านการแยกออกจากกัน และด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ ด้านละ 10 ข้อ โดยด าเนินการ ทดสอบตามคู่มือการใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย 3 คณะผู้วิจัยน าคะแนนที่ได้จากการท าแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็ก ปฐมวัยก่อนการทดลองมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยคัดเลือกเด็กนักเรียนที่มีคะแนนน้อยจากการท า แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์จ านวน 15 คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง 4 คณะผู้วิจัยด าเนินการทดลองตามแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นกับเด็กนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เป็น ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที ซึ่งใช้การจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 24 แผน 5. คณะผู้วิจัยน าแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยท าการทดสอบ เด็ก นักเรียนหลังการทดลอง (Post - test) ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความเหมือนความต่าง ด้านการต่อเข้าด้วยกัน ด้านการแยกออกจากกัน และด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ ด้านละ 10 ข้อ โดยด าเนินการ ทดสอบตามคู่มือการใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่เป็นชุดเดียวกันกับ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลอง (Pre - test) 6 คณะผู้วิจัยน าคะแนนที่ได้จากการท าแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็ก ปฐมวัยหลังการทดลองมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติ สัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คณะผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ 1. แผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็ก ปฐมวัย จ านวน 24 แผน 2. แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย จ านวน 4 ด้าน 4 ชุด ชุดที่ 1 ด้านความเหมือนความต่าง จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 2 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 3 ด้านการแยกออกจากกัน จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 4 ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ จ านวน 10 ข้อ รวมทั้งหมด จ านวน 40 ข้อ


การสร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การสร้างแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ การสร้างแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของ เด็ก ปฐมวัยมีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย หลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมการพับ กระดาษ เพื่อน ามาเป็นแนวทางในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย 2. สร้างแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็ก ปฐมวัย จ านวน 24 แผน 3. น าแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็ก ปฐมวัย ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เพื่อประเมินแผนการจัดกิจกรรมและ พิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของการจัดกิจกรรม ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 3.1 รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นาคุณทรง อาจารย์ประจ าสาขาการศึกษาปฐมวัย 3.2 อาจารย์ศิริลักษณ์ เหมาะศรีครูประจ าชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม 3.3 คุณครูทิพย์มณี เลขาข า หัวหน้าฝ่ายวิชาการระดับปฐมวัย โรงเรียนเซนต์ไมเกิ้ล เขตสาทร โดยแบบประเมินแผนการจัดกิจกรรมนั้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) (บุญชม ศรีสะอาด. 2545: 99 - 100) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ได้ก าหนดน้ าหนักคะแนน ดังนี้ แปลความหมาย คะแนน เหมาะสมมากที่สุด ให้ 5 คะแนน เหมาะสมมาก ให้ 4 คะแนน เหมาะสมปานกลาง ให้ 3 คะแนน เหมาะสมน้อย ให้ 2 คะแนน เหมาะสมน้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน


4. น าคะแนนจากแบบประเมินแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษเพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินเสร็จเรียบร้อยแล้วมาหาค่าเฉลี่ย โดยใช้เกณฑ์การ แปลความหมายค่าเฉลี่ย ดังนี้ คะแนน แปลความหมาย ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 อยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 อยู่ในระดับเหมาะสมน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 อยู่ในระดับเหมาะสมน้อยที่สุด และท าการปรับปรุงแก้ไขตามค าแนะน า โดยจากการประเมินแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติ สัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 (ภาคผนวก ข) 5. ปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ของเด็กปฐมวัยจากค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ก าหนดจุดประสงค์ในแผนการจัดกิจกรรมให้เป็นราย ข้อ 6. น าแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็ก ปฐมวัยที่ปรับปรุงแก้ไขตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้(Try out) กับเด็กนักเรียนใน ระดับชั้น อนุบาล 2 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อปรับปรุง แผนการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม ซึ่งพบว่าเด็กสามารถท ากิจกรรมได้ตามขั้นตอน เด็กให้ความสนใจและให้ ความร่วมมือในการท ากิจกรรม 7. น าแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็ก ปฐมวัยไปทดลองจัดกิจกรรมกับเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2/2 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 15 คน โดย ใช้เวลาในการทดลองกิจกรรมจ านวน 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที ซึ่งใช้การจัดกิจกรรม ทั้งสิ้น 24 แผน ดังตารางต่อไปนี้


ตารางที่ 2 การจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย สัปดาห์/วัน กิจกรรมการพับกระดาษ เวลา 9.00 – 10.40 น. ผลการพับกระดาษ ความสามารถ ด้านมิติ สัมพันธ์ สัปดาห์ที่ 1 กิจกรรมที่ 1 โรงเรียนของฉัน 1. ด้านความเหมือน ความต่าง 2. ด้านการต่อเข้า ด้วยกัน 3. ด้านการแยกออก จากกัน 4. ด้านความสัมพันธ์ ของต าแหน่งของสิ่ง ต่างๆ กิจกรรมที่ 2 บ้านแสนสุข กิจกรรมที่ 3 สถานที่ท่องเที่ยวในฝัน สัปดาห์ที่ 2 กิจกรรมที่ 4 รถไฟ ปู๊น ปู๊น 1. ด้านความเหมือน ความต่าง 2. ด้านการต่อเข้า ด้วยกัน 3. ด้านการแยกออก จากกัน 4. ด้านความสัมพันธ์ ของต าแหน่งของสิ่ง ต่างๆ กิจกรรมที่ 5 จรวดแสนสวย กิจกรรมที่ 6 เรือน้อยร่องทะเล


สัปดาห์/วัน กิจกรรมการพับกระดาษ เวลา 9.00 – 10.40 น. ผลการพับกระดาษ ความสามารถ ด้านมิติ สัมพันธ์ สัปดาห์ที่ 3 กิจกรรมที่ 7 ตู้เสื้อผ้าใบใหญ่ 1. ด้านความเหมือน ความต่าง 2. ด้านการต่อเข้า ด้วยกัน 3. ด้านการแยกออก จากกัน 4. ด้านความสัมพันธ์ ของต าแหน่งของสิ่ง ต่างๆ กิจกรรมที่ 8 ฉันคือโต๊ะวางของ กิจกรรมที่ 9 เตียงนอนแสนสวย สัปดาห์ที่ 4 กิจกรรมที่ 10 แมวเหมียว เหมี้ยว เหมี้ยว 1. ด้านความเหมือน ความต่าง 2. ด้านการต่อเข้า ด้วยกัน 3. ด้านการแยกออก จากกัน 4. ด้านความสัมพันธ์ ของต าแหน่งของสิ่ง ต่างๆ กิจกรรมที่ 11 เจ้าหมาซุกซน กิจกรรมที่ 12 ช.ช้างตัวใหญ่


สัปดาห์/วัน กิจกรรมการพับกระดาษ เวลา 9.00 – 10.40 น. ผลการพับกระดาษ ความสามารถ ด้านมิติ สัมพันธ์ สัปดาห์ที่ 5 กิจกรรมที่ 13 ดอกจ าปีชวนชม 1. ด้านความเหมือน ความต่าง 2. ด้านการต่อเข้า ด้วยกัน 3. ด้านการแยกออก จากกัน 4. ด้านความสัมพันธ์ ของต าแหน่งของสิ่ง กิจกรรมที่ 14 ดอกไม้แสนสวย กิจกรรมที่ 15 ดอกทิวลิปน่าชม สัปดาห์ที่ 6 กิจกรรมที่ 16 เพนกวินแสนรู้ 1. ด้านความเหมือน ความต่าง 2. ด้านการต่อเข้า ด้วยกัน 3. ด้านการแยกออก จากกัน 4. ด้านความสัมพันธ์ ของต าแหน่งของสิ่ง ต่างๆ กิจกรรมที่ 17 นกกระจอก ร้อง จิ๊บ จิ๊บ กิจกรรมที่ 18 เป็ดก๊าป ก๊าป


สัปดาห์/วัน กิจกรรมการพับกระดาษ เวลา 9.00 – 10.40 น. ผลการพับกระดาษ ความสามารถ ด้านมิติ สัมพันธ์ สัปดาห์ที่ 7 กิจกรรมที่ 19 ปลาหมึกหนวดยาว 1. ด้านความเหมือน ความต่าง 2. ด้านการต่อเข้า ด้วยกัน 3. ด้านการแยกออก 4. ด้านความสัมพันธ์ ของต าแหน่งของสิ่ง ต่างๆ กิจกรรมที่ 20 จดหมายสื่อรัก กิจกรรมที่ 21 ป. ปลาว่ายวน สัปดาห์ที่ 8 กิจกรรมที่ 22 พัดคลายร้อน 1. ด้านความเหมือน ความต่าง 2. ด้านการต่อเข้า ด้วยกัน 3. ด้านการแยกออก จากกัน 4. ด้านความสัมพันธ์ ของต าแหน่งของสิ่ง ต่างๆ กิจกรรมที่ 23 หมวกหลากสี กิจกรรมที่ 24 ปูน้อยหลายขา


การสร้างแบบทดสอบด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยมีขั้นตอน การสร้าง ดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ในการสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และเอกสารงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส าหรับเด็กปฐมวัย 2. สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย จ านวน 4 ด้าน 4 ชุด คือ ชุดที่ 1 ด้านความเหมือนความต่าง จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 2 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 3 ด้านการแยกออกจากกัน จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 4 ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ จ านวน 10 ข้อ รวมทั้งหมด 40 ข้อ 3. สร้างคู่มือในการใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย โดยมีเกณฑ์ การให้คะแนน ดังนี้ - ตอบถูกให้ 1 คะแนน - ตอบผิด หรือไม่ตอบ ให้ 0 คะแนน - ตอบมากกว่า 1 ตัวเลือก ให้ 0 คะแนน 4. น าแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และคู่มือด าเนินการทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) และความสอดคล้อง กับ จุดมุ่งหมาย จ านวน 3 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้ 4.1 นางนวรัตน์ อ้วนแพง หัวหน้าสายชั้นอนุบาลโรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา72 (เทศบาล8) 4.2 คุณครูมัทนา ศรีสุข ครูประจ าชั้นอนุบาล 2/1 โรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา72 (เทศบาล8) 4.3 คุณครูจันทราพร หว้านเครือ ครูประจ าชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา72 (เทศบาล8) 5. น าแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ผ่านการตรวจสอบจาก ผู้เชี่ยวชาญมาคัดเลือกและปรับแก้แบบทดสอบบางส่วน และคัดเลือกข้อที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 -1.0 จึงถือว่าใช้ได้ (ไพศาล วรค า. 2555: 253) ได้จ านวน 40 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 - 1.0 แล้ว ปรับปรุงตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญ คือ การปรับรูปภาพตัวเลือกให้มีความชัดเจนมากขึ้น 6. น าแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ตาม ค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้ (Try out) กับเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ไม่ใช่กลุ่ม ตัวอย่าง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา72 (เทศบาล 8)


7. น าผลการทดสอบมาวิเคราะห์แบบทดสอบรายข้อเพื่อหาค่าความยากง่าย (p) (ไพศาล วรค า. 2555: 285) และค่าอ านาจจ าแนก (r) (ไพศาล วรค า. 2555: 287) และคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยาก ง่ายเหมาะสมส าหรับใช้ในการทดลองโดยคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .40 - .80 และมี ค่าอ านาจจ าแนกอยู่ระหว่าง .20 - .80 ได้ข้อสอบจ านวน 40 ข้อ ดังนี้ ชุดที่ 1 ด้านความเหมือนความต่าง จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 2 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 3 ด้านการแยกออกจากกัน จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 4 ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ จ านวน 10 ข้อ 9. น าแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบ โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของ Cronbach ซึ่งได้ค่า ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยมีค่าเท่ากับ .95 10. น าแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยและคู่มือด าเนินการ ทดสอบ ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม แบบแผนการทดลอง ตาราง 3 แบบแผนการทดลอง เมื่อ T1 แทน การทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ก่อนการทดลอง X แทน การจัดกิจกรรมการพับกระดาษ T2 แทน การทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์หลังการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1 การวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลอง ท าการทดลอง หลังการทดลอง T1 X T2


2 การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อน การ ทดลอง และหลังการทดลอง โดยใช้สถิต t-test (Dependent Samples) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยได้น าข้อมูลที่ได้จากการทดลองวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย มา วิเคราะห์ โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สถิตที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1.1 วิเคราะห์หาค่าความตรงตามเนื้อหา IOC (Content Validity) โดยใช้สูตร (ไพศาล วรค า. 2555: 253) ดังนี้ เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ∑R แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด N แทน จ านวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 1.2 วิเคราะห์หาค่าความยาก (Difficulty) ของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร (ไพศาล วรค า. 2555: 285) เมื่อ P แทน ระดับความยาก f แทน จ านวนผู้ที่ตอบถูก n แทน จ านวนผู้ที่สอบ เมื่อ P แทน ระดับความยาก f แทน จ านวนผู้ที่ตอบถูก n แทน จ านวนผู้ที่สอบ


1.3 วิเคราะห์หาค่าอ านาจจ าแนก (Discrimination) ของข้อสอบรายข้อวิเคราะห์โดยใช้สูตร (ไพศาล วรค า. 2555:: 287) เมื่อ r แทน อ านาจจ าแนกของข้อสอบ แทน จ านวนคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูก แทน จ านวนคนในกลุ่มต่ าที่ตอบถูก , แทน จ านวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ าตามล าดับ n แทน จ านวนผู้ที่สอบทั้งหมด ( n = + ) 1.4 วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน โดย ใช้สูตร (ไพศาล วรค า. 2555 : 273 - 274) KR20 = เมื่อ KR20 แทน สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ k แทน จ านวนข้อสอบ แทน สัดส่วนผู้ตอบถูกในข้อที่ i แทน สัดส่วนของผู้ตอบผิดในข้อที่ i หรือ เท่ากับ 1 – แทน ความแปรปรวนของคะแนนรวม t 2. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้โปรแกรมส าเร็จรูป SPSS for windows ท าการ วิเคราะห์ข้อมูล 2.1 วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) ของคะแนนใช้สูตร (สุรวาท ทองบุ. 2555: 102) เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ย Xi แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด n แทน จ านวนคะแนน


2.2 วิเคราะห์หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน (Standard Deviation) โดยใช้สูตร (สุ รวาท ทองบุ. 2555: 104) เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ย แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน แทน คะแนนของนักเรียนที่ I เมื่อ I แทน 123 แทน ผลรวม แทน จา นวนนกัเรียนกลุ่มตวัอยา่ง 2.3 วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนท าการทดลอง และหลัง การทดลอง โดยค านวณจากสูตร t-test แบบ Dependent (สุรวาท ทองบุ. 2555: 132) เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่จะใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤต เพื่อทราบนัยส าคัญ D แทน ความแตกต่างของคะแนนแต่ละคู่ N แทน จ านวนคู่ของคะแนนหรือจ านวนนักเรียน D แทน ผลรวมทั้งหมดของผลต่างของคะแนนก่อนและหลังการทดลอง D2 แทน ผลรวมของก าลังสองของผลต่างของคะแนนก่อนและหลังการทดลอง


บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การด าเนินการวิจัยในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมการพับกระดาษโดยรวม ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมการพับกระดาษเป็นรายด้าน


ตอนที่ 1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัด กิจกรรมการพับกระดาษโดยรวม ตารางที่ 4 คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการ พับกระดาษโดยรวม * มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตารางที่ 4 แสดงให้เห็นว่า คะแนนเฉลี่ยของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษเท่ากับ 25.27 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.63 และหลังการจัด กิจกรรมการพับกระดาษมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.46 ซึ่ง คะแนนเฉลี่ยของ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมหลังการจัดกิจกรรมการพับกระดาษสูงกว่าก่อนการ จัดกิจกรรมการพับกระดาษ โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ทักษะพื้นฐาน ด้านมิติสัมพันธ์ ของเด็กปฐมวัย N คะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง S.D S.D df t Sig 15 25.27 2.63 35.53 3.46 14 16.96* .000


ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัด กิจกรรมการพับกระดาษเป็นรายด้าน ตารางที่ 5 คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรม การ พับกระดาษเป็นรายด้าน ทกัษะพ้ืนฐาน ด้านมิติสัมพันธ์ ของเด็กปฐมวัย N คะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ก่อน การทดลอง หลัง การทดลอง df t Sig S.D S.D ดา้นความเหมือนความต่าง 15 5.00. 1.69 7.73 1.62 14 6.19* 000 ดา้นการต่อเขา้ดว้ยกนั 15 7.73. 0.45 9.93 0.25 14 20.57* 000 ดา้นการแยกออกจากกนั 15 6.40. 1.8 8.53 1.41 14 7.34* 000 ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่ง ของสิ่งต่างๆ 15 6.13. 2.13 9.33 0.90 14 6.81* 000 * มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตารางที่ 5 แสดงให้เห็นว่า คะแนนเฉลี่ยของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยราย ด้าน ทั้ง 4 ด้าน พบว่าก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ มีดังนี้ ด้านความเหมือนความต่าง มีค่าเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษเท่ากับ 5.00 ค่าเฉลี่ย หลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 7.73 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนการจัดกิจกรรมเท่ากับ 1.69 หลังการจัด กิจกรรมเท่ากับ 1.62 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน มีค่าเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษเท่ากับ 7.73 ค่าเฉลี่ยหลัง การจัดกิจกรรมเท่ากับ 9.93 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนการจัดกิจกรรมเท่ากับ 0.45 หลังการจัดกิจกรรม เท่ากับ 0.25


ด้านการแยกออกจากกัน มีค่าเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษเท่ากับ 6.40 ค่าเฉลี่ย หลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 8.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนการจัดกิจกรรมเท่ากับ 1.8 หลังการจัด กิจกรรมเท่ากับ 1.41 ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ มีค่าเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เท่ากับ 6.13 ค่าเฉลี่ยหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 9.33 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนการจัดกิจกรรม เท่ากับ 2.13 หลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 0.90


บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ จากการศึกษาเรื่อง การใช้กิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัด กิจกรรม การพับกระดาษ โดยมีผลการวิจัย ดังนี้ สรุปผลการวิจัย ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ มี ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในทุกด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ.05 อภิปรายผล การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ ได้รับการ จัดกิจกรรมการพับกระดาษ จากการทดลองพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการพับกระดาษมี ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความเหมือนความต่าง ด้านการต่อเข้าด้วยกัน ด้านการ แยกออกจากกัน และด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ สูงขึ้นภายหลังการทดลองอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เนื่องมาจาก 1. การศึกษางานวิจัยการใช้กิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อส่งเสริมความส ามารถด้านมิติสัมพันธ์ ของเด็กปฐมวัยรวมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความเหมือนความต่าง ด้านการต่อเข้าด้วยกัน ด้านการแยกออกจากกัน และด้าน ความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง เนื่องจากการจัด กิจกรรมการพับกระดาษเพื่อส่งเสริมความสามารถทางด้านมิติสัมพันธ์ส าหรับเด็กปฐมวัย ที่จัดขึ้นมีความ เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการ และเป็นกิจกรรมที่เด็กมีความสนใจ ซึ่งในการจัดกิจกรรมการพับ กระดาษเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความเหมือน ความต่าง ด้านการต่อ เข้าด้วยกัน ด้านการแยกออกจากกัน และด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ เด็กจะได้เรียนรู้ผ่าน การพับกระดาษจากง่ายไปหายาก เด็กได้ใช้ทักษะการสังเกต และการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ได้ลง มือปฏิบัติ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ดังที่ในหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัยพุทธศักราช 2546 กระทรวงศึกษาธิการ (2546: 31-43) กล่าวไว้ว่า ในการจัดกิจกรรมหรือ การจัดประสบการณ์ส าหรับเด็ก


ปฐมวัย จะต้องจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ คือ เหมาะกับอายุ วุฒิภาวะ และ ระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เด็กได้ลงมือกระท า เรียนรู้ผ่านประสาท สัมผัสทั้ง 5 ได้เคลื่อนไหว ส ารวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญญาด้วยตนเอง มีการวางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระท า และน าเสนอความคิดโดยผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนอ านวยความสะดวกและเรียนรู้ ร่วมกับเด็ก และสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นมีความสุข และเรียนรู้การท ากิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะ ต่างๆ กัน อีกทั้งกิจกรรมการพับกระดาษเด็กจะ ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของการพับ ได้เรียนรู้ในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะต่างๆ ของกระดาษ จากการพับในแต่ละขั้นตอน ซึ่งในขณะที่เด็กพับเด็กจะได้ เห็นถึงความแตกต่างของการพับกระดาษที่ เปลี่ยนรูปแบบไป เช่น จากสี่เหลี่ยม กลายเป็นสามเหลี่ยม หรือเมื่อพับแล้ว คลี่กระดาษออกกระดาษ กลับมามีลักษณะเป็นเหมือนเดิม และในขณะที่พับเด็กได้ เรียนรู้ในเรื่องของทิศทางในการพับ คือ การพับไปข้างบน ข้างล่าง ตรงกลาง ระหว่าง ด้านขวาและ ด้านซ้าย ซึ่งเป็นทักษะด้านมิติสัมพันธ์ที่เด็กปฐมวัยจะต้องเรียนรู้ และสามารถน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ วารินทิพย์ ศรีกุลา (2554: 79-81) ที่ได้ศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการพับ กระดาษที่มีต่อทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมการพับกระดาษมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้าน ประกอบด้วยด้านการนับ จ านวน 1-20 อย่างรู้ค่าจ านวน ด้านการบอกต าแหน่ง และด้านการจ าแนกรูปเรขาคณิต พบว่าหลังการ ทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการบอกต าแหน่ง ที่ เป็น ส่วนหนึ่งความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ที่ได้รับการพัฒนามาจากกิจกรรมการพับกระดาษ 2. การจัดกิจกรรมการพับกระดาษเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์นอกจากเด็กจะ ได้ เรียนรู้ทักษะด้านมิติสัมพันธ์ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความเหมือนความต่าง ด้านการต่อเข้าด้วยกัน ด้านการ แยกออกจากกัน และด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ จากการพับกระดาษแล้ว เด็กยังได้ เรียนรู้ทักษะ ด้านมิติสัมพันธ์ผ่านการต่อยอดผลงานการพับกระดาษ คือ การวาดภาพต่อเติม และการ ตกแต่งกระดาษที่พับ ซึ่งจากการสังเกตในขณะที่เด็กได้ต่อยอดผลงานจากการพับ เด็กจะได้คิดตัดสินใจ ร่วมกันสนทนาระหว่างการท ากิจกรรมกลุ่มในการวางต าแหน่ง การวาดต่อเติมกระดาษที่ พับ และเด็กมี โอกาสได้น าเสนอผลงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551:58- 59) ที่ได้กล่าวถึง หลักในการสอนพับกระดาษ และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการพับกระดาษที่สามารถท าให้ เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ไว้ 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สร้างมโน ทัศน์ เป็นขั้นของการวางพื้นฐานความรู้ โดยครูให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนเป็นเบื้องต้นก่อน เพื่อวางกรอบแนวคิดและมโนทัศน์ในเรื่องที่มา เพราะการ สร้างมโนทัศน์เป็นการกระตุ้นให้เด็กอยาก เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ขั้นที่ 2 พับกระดาษ เป็นขั้นของการพับสิ่งที่เรียน เช่น ถ้าเรียนเรื่องปลาต้องพับปลา


เรียนนกให้พับนก โดยการพับนั้นจะต้องดูในเรื่องของรูปแบบการพับกระดาษที่มีความยากง่าย เหมาะสม กับอายุของเด็ก เพื่อเด็กจะได้สนุกกับการพับ ขั้นที่ 3 พัฒนาผลงาน เป็นขั้นการน าผลงานพับกระดาษ มาจัดแสดงในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะผลงาน โดยการจัดเป็นกลุ่มเล็กๆ 4-6 คน เช่น การตกแต่ง ผลงาน เป็นต้น ขั้นที่ 4 น าเสนอและสรุปการเรียนรู้ เป็นขั้นที่เด็กต้องน าผลงานกลุ่มมาน าเสนอหน้าชั้น เรียน โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการน าเสนอด้วยการเล่นหรือตอบค าถามปลายเปิด โดยในการที่เด็กได้ท า กิจกรรมการพับกระดาษ ครูมีการกระตุ้นค าถามเชิงมิติสัมพันธ์ให้เด็กได้คิดตอบค าถาม เด็กมีอิสระในการ ท าผลงาน การวาด และต่อเติมกระดาษตามจินตนาการผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สอดคล้องกับ นพรัตน์นามบุญมี (2556: 29) กล่าวถึงการส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ควรส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก โดยการจัดสิ่งแวดล้อม และ กิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย เน้นการจัดกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสในการค้นพบใช้ค าถาม ค าสั่ง กระตุ้นท าให้ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความสามารถในด้านมิติสัมพันธ์การรับรู้เชิงมิติสัมพันธ์เป็น ความสามารถในการ จินตนาการเกี่ยวกับลักษณะรูปร่าง โดยผ่านการประดิษฐ์ การวาด การวัด การมองเห็นการเปรียบเทียบ การแปลง การจ าแนกรูปเรขาคณิต และการคิดอย่างอิสระ การท าความ เข้าใจสิ่งที่เป็นพื้นฐาน หรือ โครงสร้าง จะช่วยให้เข้าใจสิ่งที่เรียนได้ดีขึ้น โดยเด็กได้ผ่านการใช้ประสาท สัมผัสทั้ง 5 เมื่อผู้เรียนได้ท า กิจกรรมเช่นนี้อย่างสม่ าเสมอ ซึ่งต่อมาเด็กก็จะได้คิดอย่างอิสระใน สภาพแวดล้อมทั่วไป วิธีนี้จะช่วยให้ เด็กสามารถถ่ายโยงระหว่างกิจกรรมที่กระท าไปสู่ความนึกคิด ภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้นสิ่งที่สังเกตได้จากการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ นอกจากจะช่วยส่งเสริมความสามารถด้าน มิติสัมพันธ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการด้านสติปัญญาแล้ว กิจกรรมการพับกระดาษยังส่งผลต่อ พัฒนาการด้านอื่นๆ ดังนี้ ด้านอารมณ์ – จิตใจ เนื่องจากเด็กได้มีอิสระในการท าผลงานตามจินตนาการ มีโอกาสได้น าเสนอ ผลงานที่ท าให้ครูและเพื่อนในห้องดู จึงส่งผลให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่ท า และในขณะที่เด็ก พับกระดาษทั้งการพับไปพร้อมกันกับครู หรือการพับไปและเล่านิทานประกอบ เมื่อเด็กสามารถทายได้ว่า กระดาษที่พับเป็นอะไร ยิ่งส่งผลให้เด็กมีความสุข และสนุกสนานในการท ากิจกรรม ด้านสังคม เนื่องจากในการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เด็กจะได้มีส่วนร่วมในการท างานกลุ่ม กับ เพื่อนๆ เด็กสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในกลุ่มขณะที่ต่อยอดผลงาน และสิ่งที่สังเกตเห็นได้ คือ เด็ก จะมีการช่วยเหลือกัน เมื่อเพื่อนพับกระดาษไม่ได้ โดยเพื่อนช่วยเพื่อน และครูคอยเป็นผู้แนะน า ด้านร่างกาย เนื่องกิจกรรมการพับกระดาษเป็นกิจกรรมที่เด็กใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการพับ กระดาษให้เป็นรูปแบบต่างๆ การพับกระดาษของเด็กในช่วงสัปดาห์แรก ความสามารถในการใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กในการพับกระดาษยังไม่คล่องแคล่วและกระดาษที่พับยังไม่เรียบ แต่เมื่อเด็กได้รับ


การจัดกิจกรรมการพับกระดาษอย่างซ้ าๆ จะสามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงการพับ กระดาษของเด็ก ว่ามีการพัฒนาที่ขึ้น ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้ 1. ก่อนที่จะจัดกิจกรรมการพับกระดาษควรมีการศึกษาพัฒนาการในการพับของเด็ก และมีการ ฝึกพับกระดาษอย่างเป็นขั้นตอนประกอบการอธิบาย เพื่อให้เกิดความช านาญในการพับกระดาษ 2. การน ากิจกรรมการพับกระดาษไปจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ควรใช้กระดาษที่มีขนาดพอเหมาะใน การพับ และกระดาษที่ครูน ามาเป็นตัวอย่างในการพับควรมีขนาดที่ใหญ่ เพื่อให้เด็กสามารถมองเห็นได้ ทั่วถึง 3. การจัดกิจกรรมการพับกระดาษ โดยเฉพาะกับเด็กในวัยอนุบาล ควรค านึงถึงความปลอดภัยใน การใช้กระดาษ โดยเลือกใช้กระดาษที่ไม่บางมากจนเกินไป เพราะอาจบาดนิ้วมือเด็กได้ 4. กิจกรรมการพับกระดาษเป็นกิจกรรมที่ครูสามารถน ามาต่อยอดการเรียนรู้ให้ส าหรับเด็ก ได้ เช่น การวาดภาพต่อเติม การท าเครื่องแขวน และมีการใช้ค าถามกระตุ้นให้เด็กได้ตอบ รวมถึงเปิดโอกาส ให้เด็กท าทั้งงานเดี่ยว และงานกลุ่ม ข้อเสนอแนะในการท าวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาผลการใช้กิจกรรมการพับกระดาษเพื่อพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ส าหรับเด็ก ปฐมวัย เช่น ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการกล้าแสดงออก เป็นต้น 2. ควรมีการเปรียบเทียบวิธีการใช้กิจกรรมการพับกระดาษที่แตกต่างกัน เช่น การเล่าไป พับไป หรือการพับตามแบบที่ครูก าหนดโดยมีแบบให้เด็กสังเกตแล้วพับตาม ว่าทั้งสองวิธีการมีผลอย่างไรต่อเด็ก


เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย: ตามหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส าหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์. __________ . (2551) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส าหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน - เบส บุ๊คส์ จ ากัด. __________ . (2551) นวัตกรรมกิจกรรมการเรียนรู้การพับกระดาษ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: เบรน – เบส บุ๊คส์ จ ากัด. แก้วตา ริวเชี่ยวโชติ. (2555). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้ท ากิจกรรมละเลงสี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. จิตรวรรณ ประจุดทะเนย์. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ ส าหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตร และการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ฉวีวรรณ กินาวงศ์. (2533). การศึกษาเด็ก. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติงเฮ้าส์. ถนนสายวรรณกรรมของนายขวัญ. (2560). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์วัดแวว 2.2 มกราคม 2560. http://www.exteen.com. นพรัตน์ นามบุญมี. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรม สร้างสรรค์แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มสืบสอบ. ปริญญานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการสอนมหาวิทยาลัยขอนแก่น.บัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏ บุรีรัมย์. นภเนตร ธรรมบวร. (2544). การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาศาส์น.


เบญจา สนธยานาวิน.(2556). ผลการจัดประสบการณ์ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนบ้านวังลาน ที่มีต่อ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และพฤติกรรมร่วมมือของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านวังลาน จังหวัดกาญจบุรี. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตร และการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ประพันธ์ศิริ สุเสารัฐ (2551). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เทคนิคพริ้นติ้ง. ประพิมพ์พักตร์ พละพงศ์. (2550). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยในการท ากิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระดาษเส้น. ปริญญานิพนธ์ กศม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. ปัญญา คลังมนตรี. (2554). ผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์พับกระดาษแบบออริกามิที่มีต่อ ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. พัชรี สวนแก้ว. (2551). เอกสารประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาพัฒนาการและการดูแลเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. พิมพา จันทาแล้ว (2547). ผลการใช้ชุดงานประดิษฐ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พุ่มสุวรรณ. 2543.,แปล. ศิลปะการพับกระดาษ. กรุงเทพฯ: คู่มือการพับกระดาษแบบญี่ปุ่นด้วย ตนเอง. เยลโล่การพิมพ์. พุ่มสุวรรณ. 2551. ศิลปะการพับกระดาษ คู่มือการพับกระดาษแบบญี่ปุ่นด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง จ ากัด แปลจาก Harbin. 1992. Teach Yourself Origami. London: Hodder and Stoughton Ltd. เพ็ญวิไล ผาสุกมูล. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานแบบวาดไปเล่าไปที่มีต่อความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย.ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรละการสอน) แพง ชินพงศ์. (2553). สร้างลูกน้อยให้ฉลาดและมีคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร ฐานบุคส์. ไพศาล วรค า. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ล้วน สายยศ. (2543). มิติสัมพันธ์ส าคัญไฉน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 1(2), 22- 25. วรัญญา ศรีบัว. (2553). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ท ากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้กระดุม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.


วารินทิพย์ ศรีกุลา. (2554) . ผลของการใช้กิจกรรมการพับกระดาษที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย. ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต (ปฐมวัยศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วรรณวิภา สุทธเกียรติ. (2542). การพัฒนาบทเรียนเรขาคณิตที่ใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ในการเรียนรู้. กศ.ม. (คณิตศาสต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. วรวรรณ เหมชะญาติ. (2536). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของกาเย่ที่มีต่อ ความสามารถในการรับรู้ทางด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กก่อนวัยเรียน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรีวรรณ มากชู และช านาญ สุขชาญไชย. (2524). สนุกกับการพับกระดาษ. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช. สนธิยา โกมลเปริน (2554). ความสามารถทางมิติสิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เปเปอร์มาร์เช. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2544). “ทฤษฏีการเรียนรู้ระดับปฐมวัย" เอกสารการสอนวิชาพฤติกรรม การสอนปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 7 พิมพ์ครั้งที่11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2545). เอกสารการสอนวิชาพฤติกรรมการสอนปฐมวัยศึกษาหน่วยที่ 1-8. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สิรินทร์ โกมลสุทธิ์. (2556). การศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมเคลื่อนไหวแบบโยคะ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การวัดและประเมินผลแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชา หลักสูตรและการสอน สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. สุรวาท ทองบุ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. อภิชาติการพิมพ์. สุรีพร กัลปดี. (2558). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ ศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยใช้กิจกรรมการพับกระดาษ. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. อมรา หวังสวัสดิ์ปรีชา. (2554). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการประดิษฐ์เศษวัสดุ. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและ การสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.


Paper Lover. (2553). พับง่าย พับสนุก Origami Animal 1 ชุดสัตว์น้อยน่ารัก. กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์คลื่นอักษร. Bruner,J.S.(1969). The Process of Education. New York: Harvard University Press. Cockburm.K (1996). “Effects of Specific Toy Playing Experiences on the Spatial Visualization Skills of Girl Ages 4 and 6” Dissertation Abstracts international. 57(6): 235-A-2351-A. Grande,J.D.&Morrow,L.(1995). Curriculum and Evaluation Standards for School Mathermatics adddaen series Grades K-6. 3rd ed. USA.: Library of Congress Cataloging. Liu, Li-Ming. (2007). The Relationships Among Creativity, Drawing Ability, and Visual / Spatial Intelligence: a Study of Taiwan’s Third – Grade Children, Asia Pacific Education Review. 8(3)


ภาคผนวก


ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - แผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย - คู่มือการใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส าหรับเด็กปฐมวัย - แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส าหรับเด็กปฐมวัย


แผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย สัปดาห์ ที่ 1 กิจกรรมที่ 2 บ้านแสนสุข ระดับชั้น อนุบาล 2 เวลา 40 นาที ____________________________________________________________________________ จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการพับบ้าน การสังเกตความเหมือนความต่าง การต่อ เข้าด้วยกัน การแยกออกจากกัน การบอกความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ 2. เพื่อให้เด็กสร้างสรรค์ผลงานจากการพับกระดาษ และการแสดงความร่วมมือในการท า กิจกรรมร่วมกัน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นน า 1. ครูสร้างข้อตกลงกับเด็กในการท ากิจกรรม 2. ครูแนะน ากิจกรรม และสนทนากับเด็กเกี่ยวกับลักษณะของบ้านว่ามีลักษณะอย่างไร โดยการ วาดภาพบ้านให้เด็กดู และบอกว่าบ้านมีลักษณะ และประกอบไปด้วยส่วนใดบ้าง และครูท่องค าคล้องจอง ให้เด็กฟัง นี่คือบ้าน นี่คือหลังคา เปิดประตูเข้ามา เจอคนมากมาย เดินเข้าไปข้างใน เห็นคนไต่บันได แง้มประตูเข้าไป เห็นคนสวัสดี ขั้นด าเนินกิจกรรม 3. ครูแนะน าอุปกรณ์ที่ใช้ในการท ากิจกรรมให้เด็กฟัง พร้อมทั้งสาธิตตัวอย่างการพับบ้านให้เด็กดู เป็นตัวอย่าง 4. ครูให้เด็กมารับอุปกรณ์ในการท ากิจกรรม จากนั้นครูสอนให้เด็กพับบ้านไปพร้อมๆ กันกับครู 5. ครูตั้งค าถามในขณะที่สอนเด็กพับกระดาษเป็นบ้าน ดังนี้ - บ้านที่พับมีลักษณะเป็นอย่างไร


- หลังคาของบ้านที่พับเหมือนกับอะไร 6. ครูให้เด็กแบ่งกลุ่มน าผลงานการพับกระดาษมาวาดภาพต่อเติมลงบนกระดาษในกิจกรรม บ้านแสนสุข และครูเปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการท ากิจกรรมร่วมกัน 7. ในขณะที่เด็กท ากิจกรรมครูคอยสังเกตการบอกถึงความเหมือนความต่าง การต่อเข้าด้วยกัน การแยกออกจากกัน การบอกความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ จากการพับ กระดาษ และการวาด ภาพต่อเติมของเด็ก ขั้นสรุป 8. ครูให้เด็กได้มีโอกาสน าเสนอผลงานให้เพื่อนๆ ในห้องเรียนฟัง และน าผลงานไปจัดแสดงไว้ใน พื้นที่ที่ครูก าหนด 9. เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์ และท าความสะอาดให้เรียบร้อย การประเมินผล 1. สังเกตความสามารถของเด็กในทักษะด้านมิติสัมพันธ์ ความเหมือนความต่าง การต่อเข้า ด้วยกัน การแยกออกจากกัน และการบอกความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ 2. สังเกตผลงานการพับกระดาษของเด็ก 3. สังเกตความสนใจของเด็ก 4. สังเกตการณ์ท ากิจกรรมร่วมกันของเด็ก สื่อวัสดุ และอุปกรณ์ 1. กระดาษ ขนาด 15 × 15 เซนติเมตร 2. กระดาษวาดภาพ 3. สีไม้/สีเทียน/กาว


ขั้นตอนการพับ บ้านแสนสุข 1. 2. 3. 4.


แผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย สัปดาห์ ที่ 4 กิจกรรมที่ 11 เจ้าหมาซุกซน ระดับชั้น อนุบาล 2 เวลา 40 นาที _______________________________________________________________________ จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการพับบ้าน การสังเกตความเหมือนความต่าง การต่อ เข้าด้วยกัน การแยกออกจากกัน การบอกความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ 2. เพื่อให้เด็กสร้างสรรค์ผลงานจากการพับกระดาษ และการแสดงความร่วมมือในการท า กิจกรรมร่วมกัน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นน า 1. ครูสร้างข้อตกลงกับเด็กในการท ากิจกรรม 2. ครูแนะน ากิจกรรม และสนทนากับเด็กเกี่ยวกับเรื่องสุนัข ขั้นด าเนินกิจกรรม 3. ครูให้เด็กมารับอุปกรณ์ในการท ากิจกรรม จากนั้นครูเล่านิทานประกอบการพับกระดาษ เป็น รูปสุนัขให้เด็กฟัง และให้เด็กพับกระดาษตามครู 4. เมื่อเล่านิทานประกอบการพับกระดาษจบเรื่อง ครูน าปากกามาวาดต่อเติมกระดาษที่พับ เสร็จ และถามเด็กว่า “สัตว์ชนิดใดเอ่ยที่เดินอยู่บนสนามหญ้า” ค าตอบ “สุนัข” 5. ครูให้เด็กวาดต่อเติมกระดาษที่พับ และครูคอยสังเกตการบอกถึงความเหมือนความต่าง การ ต่อเข้าด้วยกัน การแยกออกจากกัน การบอกความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ จากการพับกระดาษ และการวาดภาพต่อเติมกระดาษ ขั้นสรุป 6. ครูให้เด็กได้มีโอกาสน าเสนอผลงานให้เพื่อนๆ ในห้องเรียนฟัง และน าผลงานไปจัดแสดงไว้ใน พื้นที่ที่ครูก าหนด 7. เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์ และท าความสะอาดให้เรียบร้อย การประเมินผล


1. สังเกตความสามารถของเด็กในทักษะด้านมิติสัมพันธ์ ความเหมือนความต่าง การต่อเข้า ด้วยกัน การแยกออกจากกัน และการบอกความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ 2. สังเกตผลงานการพับกระดาษของเด็ก 3. สังเกตความสนใจของเด็ก 4. สังเกตการท ากิจกรรมร่วมกันของเด็ก สื่อวัสดุ และอุปกรณ์ 1. นิทานประกอบการพับกระดาษ 2. กระดาษ ขนาด 15 × 15 เซนติเมตร 3. ส่วนประกอบของสุนัข 4. กระดาษวาดภาพ กาว 5. สีเทียน สีเมจิก


ขั้นตอนการพับ เจ้าสุนัขซุกซน 1. 2. 3. 4. 5.


คู่มือการใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส าหรับเด็กปฐมวัย 1. ค าชี้แจง 1.1 แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส าหรับเด็กปฐมวัย ระดับชั้น อนุบาล 2 (อายุ 4-5 ปี) 1.2 แบบทดสอบนี้มีทั้งหมด 4 ชุด ชุดละ 10 ข้อ รวมทั้งหมด 40 ข้อ มีลักษณะเป็นรูปภาพ แบบ เลือกตอบจาก 3 ตัวเลือก ใช้ส าหรับประเมินความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยด้าน ต่างๆ คือ ด้านความเหมือน ความต่าง ด้านการต่อเข้าด้วยกัน ด้านการแยกออกจากกัน และด้านความสัมพันธ์ของ ต าแหน่งของสิ่งต่างๆ 2. ค าแนะน าในการใช้แบบทดสอบ 2.1 ลักษณะทั่วไปของแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ประกอบด้วย แบบทดสอบ จ านวน 4 ด้าน 4 ชุด ชุดที่ 1 ด้านความเหมือนความต่าง จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 2 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 3 ด้านการแยกออกจากกัน จ านวน 10 ข้อ ชุดที่ 4 ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ จ านวน 10 ข้อ รวมทั้งหมด จ านวน 40 ข้อ 2.2 การเตรียมตัวก่อนสอบ 2.2.1 ผู้ด าเนินการทดสอบต้องศึกษาคู่มือในการประเมินให้เข้าใจในกระบวนการใน การ ทดสอบทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเข้าและฝึกให้เกิดความช านาญในการใช้แบบทดสอบ ใช้ภาษาที่ชัดเจนใน การอ่านข้อค าถามในแบบทดสอบแต่ละข้อ โดยอ่านข้อละ 2 ครั้ง ซึ่งจะท าให้การด าเนินการทดสอบ เป็นไปอย่างราบรื่น และก่อนการทดสอบต้องเขียนชื่อ – นามสกุล ผู้เข้ารับการทดสอบไว้ในชุดข้อสอบแต่ ละชุด 2.2.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ มีดังนี้ - คู่มือการใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส าหรับเด็กปฐมวัย - แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ส าหรับเด็กปฐมวัย - ดินสอส าหรับการท าเครื่องหมายในแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ส าหรับเด็กปฐมวัย


- นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน 2.2.3 ข้อปฏิบัติก่อนสอบ - ผู้ด าเนินการทดสอบสร้างความคุ้นเคยกับเด็กโดยการพูดคุย ร้องเพลง ฯลฯ - ก่อนด าเนินการทดสอบให้ผู้ที่ได้รับการทดสอบปฏิบัติภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย - ให้ผู้เข้ารับการทดสอบนั่งประจ าที่ให้เรียบร้อย ทั้งก่อนและขณะท าการทดสอบ 3. การให้คะแนน ข้อที่ตอบถูกให้ 1 คะแนน ข้อที่ตอบผิด หรือไม่ตอบ หรือตอบมากกว่า 1 ตัวเลือก ให้ 0 คะแนน


ตัวอย่างแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย (อายุ 4-5 ปี) ชื่อ ..................................นามสกุล .............................. ชั้นอนุบาลที่ 2/........ โรงเรียน ................................................................................................................ คะแนนที่ได้ ........................................... ค าชี้แจง 1. แบบทดสอบนี้มีจ านวนทั้งหมด 10 ข้อ 2. ให้นักเรียนพิจารณาภาพที่ก าหนดให้ และฟังค าถามที่ครูถามในแต่ละข้อ แล้วท าเครื่องหมาย X เลือก ข้อที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว


ชุดที่ 1 ด้านความเหมือนความต่าง 1. ให้เด็ก × กากบาทภาพลูกโป่งที่เหมือนกับภาพด้านบนที่ก าหนดให้ 2. ให้เด็ก × กากบาทภาพบ้านที่เหมือนกับภาพด้านบนที่ก าหนดให้


ชุดที่ 2 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน 1. ให้เด็ก × กากบาทภาพสับปะรดที่เกิดจากการน าภาพย่อยด้านบน มาต่อเข้าด้วยกัน 2. ให้เด็ก × กากบาทภาพฟุตบอลที่เกิดจากการน าภาพย่อยด้านบนมาต่อเข้าด้วยกัน


ชุดที่ 3 ด้านการแยกออกจากกัน 1. ให้เด็ก × กากบาทภาพชิ้นส่วนปลาที่แยกมาจากภาพด้านบน 2. ให้เด็ก × กากบาทภาพชิ้นส่วนเต่าที่แยกมาจากภาพด้านบน


ชุดที่ 4 ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งของสิ่งต่างๆ 1. ให้เด็ก × กากบาทภาพที่ลอยอยู่ด้านบนสุด 2.ให้เด็ก × กากบาทภาพสิ่งของที่อยู่ใต้โต๊ะ


ภาคผนวก ข การประเมินคุณภาพของเครื่องมือ การประเมินคุณภาพแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของ เด็กปฐมวัย ของผู้เชี่ยวชาญ และค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดความสามารถ ด้านมิติ สัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย


ตารางผนวกที่ 1 การประเมินคุณภาพแผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยของผู้เชี่ยวชาญ รายการประเมิน ระดับความคิดเห็น ระดับการ คนที่1 คนที่2 คนที่3 ประเมิน 1. แผนการจัดกิจกรรมมีความสอดคล้องกับพัฒนาการ ของเด็ก 5 5 5 5.00 เหมาะสม มากที่สุด 2. แผนการจัดกิจกรรมมุ่งพัฒนาเด็กได้ตรงตาม วัตถุประสงค์ 5 5 5 5.00 เหมาะสม มากที่สุด 3. แผนการจัดกิจกรรมมีความน่าสนใจ สามารถน าไป ปฏิบัติได้จริง 5 5 5 5.00 เหมาะสม มากที่สุด 4. แผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมสภาพที่พึงประสงค์ตาม หลักสูตร 5 5 5 5.00 เหมาะสม มากที่สุด 5. แผนการจัดกิจกรรมใช้ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม ได้เหมาะสม 5 5 5 5.00 เหมาะสม มากที่สุด 6. แผนการจัดกิจกรรมมีการจัดกิจกรรม การพับ กระดาษที่หลากหลาย เพื่อส่งความสามารถด้านมิติ สัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย 5 5 5 5.00 เหมาะสม มากที่สุด 7. แผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ครบทั้ง 4 ด้าน 5 4 4 4.33 เหมาะสม มากที่สุด 8. แผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านสื่อที่ หลากหลาย 4 4 5 4.33 เหมาะสม มากที่สุด 9. แผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กได้มีส่วนร่วมใน การแสดงความคิดเห็น เน้น กระบวนการคิด และการ ลงมือปฏิบัติผ่าน การใช้ประสามสัมผัส 5 5 5 5.00 เหมาะสม มากที่สุด 10.แผนการจัดกิจกรรมมีวิธีการวัดและประเมินที่ สอดคล้องกับจุดประสงค์การ เรียนรู้ 5 5 5 5.00 เหมาะสม มากที่สุด รวมเฉลี่ย 4.87 เหมาะสม มากที่สุด


ตารางผนวกที่ 2 ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ชุด ที่ แบบทดสอบ วัดความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ ข้อ ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ รวม IOC การแปล ความหมาย คนที่1 คนที่2 คนที่3 1 ด้านความ เหมือน ความต่าง 1 1 1 1 3 1 คัดไว้ 2 1 1 1 3 1 คัดไว้ 3 1 1 1 3 1 คัดไว้ 4 1 1 1 3 1 คัดไว้ 5 1 1 1 3 1 คัดไว้ 6 1 1 1 3 1 คัดไว้ 7 1 1 1 3 1 คัดไว้ 8 1 1 1 3 1 คัดไว้ 9 1 1 1 3 1 คัดไว้ 10 1 1 1 3 1 คัดไว้ 2 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน 1 1 1 1 3 1 คัดไว้ 2 1 1 1 3 1 คัดไว้ 3 1 1 1 3 1 คัดไว้ 4 1 1 1 3 1 คัดไว้ 5 1 1 1 3 1 คัดไว้ 6 1 1 1 3 1 คัดไว้ 7 1 1 1 3 1 คัดไว้ 8 1 1 1 3 1 คัดไว้ 9 1 1 1 3 1 คัดไว้ 10 1 1 1 3 1 คัดไว้


ชุด ที่ แบบทดสอบ วัดความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ ข้อ ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ รวม IOC การแปล ความหมาย คนที่1 คนที่2 คนที่3 3 ด้านการแยกออกจากกัน 1 1 1 1 3 1 คัดไว้ 2 1 1 1 3 1 คัดไว้ 3 1 1 1 3 1 คัดไว้ 4 1 1 1 3 1 คัดไว้ 5 1 1 1 3 1 คัดไว้ 6 1 1 1 3 1 คัดไว้ 7 1 1 1 3 1 คัดไว้ 8 1 1 1 3 1 คัดไว้ 9 1 1 1 3 1 คัดไว้ 10 1 1 1 3 1 คัดไว้ 4 ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่ง ของสิ่งต่างๆ 1 1 1 1 3 1 คัดไว้ 2 1 1 1 3 1 คัดไว้ 3 1 1 1 3 1 คัดไว้ 4 1 1 1 3 1 คัดไว้ 5 1 1 1 3 1 คัดไว้ 6 1 1 1 3 1 คัดไว้ 7 1 1 1 3 1 คัดไว้ 8 1 1 1 3 1 คัดไว้ 9 1 1 1 3 1 คัดไว้ 10 1 1 1 3 1 คัดไว้


Click to View FlipBook Version