The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

4.ฐานการเลี้ยงปูนา เเผนฐาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by JT_Janejira, 2024-01-04 02:26:06

4.ฐานการเลี้ยงปูนา เเผนฐาน

4.ฐานการเลี้ยงปูนา เเผนฐาน

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนของแหล่งเรียนรู้/ฐานการเรียนรู้/กิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. ชื่อฐานการเรียนรู้ การเลี้ยงปูนา เวลา 3 ชั่วโมง 2. ชื่อผู้จัดทำ 1.นายบูรพา ชุ่มภิรมย์ 2.นางสาวสิรินันต์ สุวรรณเลิศ 3. หลักการและความสำคัญ “ปูนา” เป็นสัตว์ประจําท้องถิ่นของไทย แหล่งที่อยู่มักจะอยู่ในนาข้าวจึงเรียกว่า “ปูนา” ปัจจุบันปูนาถือ เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความต้องการจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ประโยชน์ของปูนา ปูนาซึ่งถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมชั้นดีสามารถจับได้ง่ายในนาข้าวและ นำไปทำอาหารได้หลายชนิด เช่น นำปูไปดองไว้ใส่ในส้มตำหรือยำมะม่วง เนื้อใช้ทำลาบปู มันปูใช้ทำปูอ่อง ก้ามปู ใช้ทำก้ามปูนึ่งนำไปจิ้มกับน้ำจิ้มรสแซบ หรือนำก้ามไปผัดผงกระหรี่ก็อร่อยเหลือหลาย ส่วนปูตัวเล็กๆ ชาวบ้านจะ จับมาทำน้ำปูซึ่งเป็นอาหารพื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์ด้านยาจากปูนา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยา ใช้ภายใน ได้แก่ ยารักษาสมรรถภาพทางเพศ ยาแก้ฝีดาษ ยารักษาอาการในสัตว์ (เบื่ออาหาร) ยาล้างสารพิษ (กิน ยาพิษ หรือ สารพิษ) ยารักษาบาดทะยัก ยารักษาอาการฉี่รดที่นอน ยารักษาอาการอัมพฤกษ์อัมพาต และยา อายุวัฒนะ และยาใช้ภายนอก ได้แก่ ยารักษาอาการริมฝีปากแตก ยาสมานแผล ยารักษาโรคต้อกระจก ยารักษา โรคใบข้าวไหม้ น้ำมันร้อยแปดรักษาแผลสดและแผลเน่าและยารักษาอาการไข้และอีสุกอีใส ส่วนแนวทางการ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารและยาจากปูนาพบเป็นผลิตภัณฑ์ น้ำปูปรุงรส และยาอายุวัฒนะ เป็นต้น การทำกิจกรรม การเลี้ยงปูนาจะช่วยเสริมสร้างทักษะและพัฒนาไปสู่อาชีพได้ สถานศึกษาจึงได้จัดเป็น ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงปูนาขึ้น 4. วัตถุประสงค์ ๔.๑ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการเลี้ยงปูนา การแปรรูป การบรรจุผลิตภัณฑ์ การตลาด และการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ๔..๒ เพื่อให้มีทักษะในการเลี้ยงปูนา การแปรรูปปูนา การบรรจุผลิตภัณฑ์ การตลาด การทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ๔.๓ เพื่อฝึกให้มีการทำงานร่วมกัน ๔.๔ เพื่อให้เห็นคุณค่าและนำแนวคิด ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัด กิจกรรมการเลี้ยงปูนา 5. กิจกรรมการเรียนรู้ ๕.๑ แนะนำวิทยากร ๕.๒ แจ้งขอบเขตเนื้อหาสาระและกิจกรรม ๕.๓ อธิบายความรู้ ขั้นตอนและลงมือทำกิจกรรมการเลี้ยงปูนา - ลักษณะของบ่อเลี้ยงปูนา - ขั้นตอนการเลี้ยงปูนา - การแปรรูป การบรรจุผลิตภัณฑ์ การตลาด และการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ๕.๔ แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมฝึกปฏิบัติการเลี้ยงปูนา โดยมีวิทยากรจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาช่วยใน การทำกิจกรรมในแต่ละเรื่อง ๕.๕ แบ่งกลุ่มแปรรูปปูนา บรรจุผลิตภัณฑ์ วางแผนการตลาด ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย


๕.๖ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สอบถาม และให้ข้อเสนอแนะ ๕.๗ ถอดบทเรียนเลี้ยงปูนา 6. สื่อ / วัสดุ,อุปกรณ์ / แหล่งเรียนรู้ 6.1 สื่อ 6.1.1 ใบความรู้ แผ่นพับองค์ความรู้การเลี้ยงปูนา 6.1.2 สื่อpower point 6.1.3 สื่อไวนิล 6.2 วัสดุ,อุปกรณ์ 6.2.1 วัสดุ/อุปกรณ์ในการเลี้ยงปูนา 6.3 แหล่งเรียนรู้ 6.3.1 ฐานการเรียนรู้ การเลี้ยงปูนา 7. การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 7.1 สังเกตความสนใจ และการซักถาม 8. การนำไปประยุกต์ใช้ 8.1 การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 8.1.1 การขยายพันธุ์ปูนานอกฤดูกาล 8.1.2 การจัดการ การวางแผน การเลี้ยงปูนา การตลาด การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย 8.1.3 การแปรรูปอาหารจากปูนา เช่น ขนมจีนน้ำยาปูนา หลนปู ฯลฯ 8.2 การประยุกต์ใช้ในภารกิจตามหน้าที่ 8.2.1 การวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ 9. สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2 : 3 : 4 ) เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม -รู้ปราชญ์ชาวบ้านในการเลี้ยงปูนา -รู้ความสำคัญของการเลี้ยงปูนา -รู้สายพันธุ์และลักษณะของปูนา -รู้แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของปูนา -รู้อาหารสำหรับการเลี้ยงปูนา -รู้วิธีการล่อ/จับปูนาจากบ่อเลี้ยง -รู้วิธีการออกแบบ/การสร้างบ่อแต่ละแบบที่ใช้เลี้ยงปูนา -รู้วิธีการวางระบบน้ำในบ่อที่ใช้เลี้ยงปูนา -รู้วิธีการจัดระบบบ่อ(การจัดสภาพแวดล้อม)ที่ใช้เลี้ยงปูนา -รู้ข้อดี/ข้อเสีย ของบ่อแต่ละแบบที่ใช้เลี้ยงปูนา -รู้วิธีการเลือกบ่อเลี้ยงปูนา -รู้วิธีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย -รู้งบประมาณบ่อแต่ละรูปแบบ - มีความขยันหมั่นเพียร - มีความซื่อสัตย์ - มีความอดทน - มีความรับผิดชอบ


3 หลักการ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี -งบประมาณที่ใช้เหมาะสมกับการเลี้ยงปูนา -บ่อเลี้ยงมีความเหมาะสมกับการเลี้ยงปูนา -สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเลี้ยงปูนา -ปริมาณการเพาะเลี้ยงปูนามีความสอดคล้อง กับความต้องการของตลาด -ราคาขายปูนาสอดคล้องกับต้นทุนในการ เลี้ยง -ปริมาณการให้อาหารมีความเหมาะสมกับปู นาที่เลี้ยง -ปริมาณปูนาที่เลี้ยงมีความเหมาะสมกับ ขนาดของบ่อเลี้ยง - ศักยภาพของตนเองเหมาะสมกับการเลี้ยงปู นา - เพื่อจำหน่าย -เพื่อบริโภคในครัวเรือน - วางแผนสำรวจตลาดและความ ต้องการ - วางแผนการเพิ่มจำนวนผู้เลี้ยง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น - วางแผนการป้องกันศัตรูทางธรรมชาติ ที่อาจจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการเลี้ยงปูนา - วางแผนการป้องกันภัยทางธรรมชาติที่ อาจจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการเลี้ยงปูนา - ตรวจสอบคุณภาพของปูนา - วางแผนการแปรรูปูนา - ตรวจสอบบัญชี รับ-จ่าย สมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ ด้านวัตถุ/ เศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม -เกิดรายได้ ลดรายจ่าย - เกิดการ ประหยัด -เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน -เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน และกัน -เกิดความสามัคคีในชุมชน -เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและ ผู้ซื้อ - เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง สถานศึกษาและชุมชน - สร้างจิตสำนึกในชุมชม ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม -สถานที่มีความสะอาด ร่มรื่น และปลอดภัย -มีการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ อย่างเป็นระเบียบ -ใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น - ใช้ภูมิปัญญา/ผู้รู้เป็นวิทยากรใน การเลี้ยงปูนา -การถ่ายทอดองค์ความรู้การ เลี้ยงปูนาจากรุ่นสู่รุ่น -ใช้วัตถุดิบในธรรมชาติเป็น อาหารของปูนา -แปรรูปปูนาเป็นอาหารท้องถิ่น เช่น น้ำปู ปูอ่อง 10. สอดคล้องกับศาสตร์การพัฒนา/หลัก 3 ศาสตร์ 10.1 ศาสตร์ที่ 1 ศาสตร์พระราชา หลัการทรงงาน ข้อที่ 1 ซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน ข้อที่ 3 ความเพียร ข้อที่ 7 ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำงานอย่างผู้รู้จริง ข้อ 12 ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ข้อ 19 เศรษฐกิจพอเพียง 10.2 ศาสตร์ที่ 2 ศาสตร์สากล 1. ขั้นตอนการเลี้ยงปูนา 2. ประโยชน์/ความสำคัญการเลี้ยงปูนา 3. วัสดุ/อุปกรณ์การเลี้ยงปูนา 4. การทำบ่อเลี้ยงปูนา


10.3 ศาสตร์ที่ 3 ศาสตร์ภูมิปัญญา 1. การเลี้ยงปูนาจากการสืบทอด 2. อาหารปูที่อยู่ในท้องที่ท้องถิ่น (กล้วย มะละกอ) 3. การแปรรูปปูนา น้ำปู ปูอ่อง 4. การทำบ่อเลี้ยงปูนา 11. สอดคล้องกับพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชการที่ 10 การศึกษามุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ด้านที่ 1. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ข้อที่ 1.4 มีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและ ชุมชนของตน ด้านที่ 2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง – มีคุณธรรม ข้อที่ 2.1 รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด – ชอบ / ชั่ว – ดี ข้อที่ 2.2 ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ดีงาม ด้านที่ 3 มีงานทำ – มีอาชีพ ข้อที่ 3.3 ต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตร ให้มีทักษะการประกอบอาชีพ มีงานทำ จนสามารถ เลี้ยงตนเอง และครอบครัว ด้านที่ 4 เป็นพลเมืองที่ดี ข้อที่ 4.1. การเป็นพลเมืองดี เป็นหน้าที่ของทุกคน -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Click to View FlipBook Version