The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Medsai Medsai, 2020-02-19 21:15:45

โครงงานโปรแกรมเกมฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยภาษาซี

More or Less

Keywords: C program

โครงงานคอมพวิ เตอร์
เรอื่ ง โปรเเกรมเกมสรา้ งทักษะกระบวนการคดิ โดยใช้ภาษาซี

จดั ทำโดย

น.ส.ภัททยิ า ตะนา เลขท2่ี 2

น.ส.ร้งุ ตะวัน หตั ถกิจ เลขท่ี23

น.ส.นรกมล พนากลุ ชัยวทิ ย์ เลขท2่ี 4

น.ส.พมิ พ์วภิ า รังแก้ว เลขท2ี่ 6

น.ส.กัลยดา เบญจลักษณพร เลขที่31

ชน้ั มัธยมศึกษาปที ี่ 5/1

เสนอ
คณุ ครปู รีชา กจิ จาการ

เป็นสว่ นหนึ่งในรายวชิ า ว32101 สาระการเรยี นรู้การงานอาชพี และเทคโนโลยี
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
โรงเรยี นราชวินิตบางแกว้

สำนักงานพื้นทก่ี ารศึกษามธั ยมศกึ ษา เขต6



คำนำ
โครงงานเล่มนเ้ี ป็นส่วนหน่ึงในหน่วยสาระการเรยี นรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเกยี่ วกับเกมสร้างทักษะ
กระบวนการคิดโดยนำวิชาคณิตศาสตร์เรื่องจำนวนนับและจำนวนเฉพาะประยุกต์เข้ารวมกับวิชาการงานอาชีพ
และเทคโนโลยีในเรื่องการใช้ภาษาซีจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาษาซี,จำนวนนับและจำนวน
เฉพาะไดศ้ กึ ษาหาความรู้ความเข้าใจจากเกมสร้างทักษะกระบวนการคิดโดยภาษาซนี ้ี
ทางคณะผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่าทุกคนที่ได้เห็นโครงานและได้เล่นเกมสร้างทักษะโดยใช้ภาษาซี แล้วจะได้
ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่สามารถเรียนรู้และเข้าใจในเร่ืองภาษาซี,จำนวนเฉพาะและจำนวนนับได้อย่างดีและ
สามารถนำไปต่อยอดเป็นเกมใหม่ๆสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆหรือสามารถพัฒนาไปเป็นสิ่งต่างๆที่ดีขึ้นได้ใน
อนาคต หากมีขอ้ ผิดพลาดประการใดเกิดขึน้ ทางคณะผจู้ ดั ทำขออภยั มา ณ ทน่ี ดี้ ว้ ย

18 กมุ ภาพันธ์ 2563
คณะผจู้ ัดทำ



กิตตกิ รรมประกาศ

คณะผ้จู ัดทำขอขอบคุณ คณุ ครปู รชี า กจิ จาการ เป็นอย่างย่ิงท่ีคอยให้ความรู้ ความเข้าใจและใหค้ ำปรึกษา
เกย่ี วกบั เร่ืองการเขยี นภาษาซแี ละเทคนิคต่างๆในภาษาซที ี่ทางผูจ้ ดั ทำยังขาดตกบกพร่องอีกท้งั ยังคอยอำนวยความ
สะดวกในการจัดทำโครงงานและสร้างเกมสร้างทักษะ ทำให้โครงงานและเกมสร้างทักษะกระบวนการคิดโดย
ภาษาซีนส้ี ามารถเกดิ ขึน้ ไดแ้ ละสำเร็จได้อยา่ งสมบรู ณแ์ บบ นอกจากนี้

ทางคณะผูจ้ ดั ทำขอขอบคุณ พอ่ แม่ ผูป้ กครอง รุ่นพท่ี คี่ อยให้คำปรึกษาและคอยสนบั สนุนทางผู้จดั ทำและ
สนับสนนุ โครงงานเรื่องน้ีเป็นอย่างดี

สุดท้ายนี้ขอขอบใจเพื่อนๆสมาชิกภายในกลุ่มทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ร่วมใจ ช่วยกันทำงานและคอย
ช่วยกันแก้ปัญหาอุปสรรคทุกอย่างที่พบเจอในการทำโครงงานเล่มนี้ ทำให้สามารถผ่านปัญหาต่างๆมาได้ คอยให้
ข้อเสนอและคำแนะนำเพื่อให้โครงงานออกมาดีที่สุด จนโครงงานเรื่องนี้สามารถสำเร็จลุล่วงได้และมีผลงานอัน
สมบูรณ์

คณะผ้จู ดั ทำ



ชอ่ื โครงงาน โปรแกรมเกมฝึกทักษะการคดิ ดว้ ยภาษาซี
ประเภท
ระดบั ชน้ั โครงงานประดิษฐ์
ผจู้ ดั ทำ
มัธยมศกึ ษาปีท่ี 5 ห้อง 1
ครทู ป่ี รึกษา
สถานศกึ ษา นางสาวภัททยิ า ตะนา เลขที่ 22

นางสาวรุ้งตะวนั หตั ถกิจ เลขที่ 23

นางสาวนรกมล พนากลุ ชยั วิทย์ เลขที่ 24

นางสาวพิมพว์ ิภา รงั แกว้ เลขที่ 26

นางสาวกลั ยดา เบญจลักษณพร เลขที่ 31

นายกติกร รัตนสมบตั ิ

โรงเรยี นราชวนิ ิตบางแกว้ ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวดั สมทุ รปราการ

บทคดั ยอ่
เกม (อังกฤษ: game) เปน็ ลกั ษณะของกิจกรรมของมนุษย์เพอื่ ประโยชนอ์ ยา่ งใดอยา่ งหน่งึ เชน่ เพือ่ ความ
บันเทิง เพื่อฝึกทักษะ และเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น เกมมักจะมีไว้เพื่อความสนุกสนานและความบันเทิง แต่ใน
บางครั้งก็สอดแทรกความรู้ไว้ด้วย จะเห็นได้ว่าเกมสามารถสร้างประโยชน์ได้ รวมถึงการจะเข้าถึงกลุ่มเด็กและ
วัยรุ่น เกมจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างนึ่งที่จะสร้างความสนใจให้กับวัยเหล่าน้ีได้ และยังเป็นรูปแบบของสื่อท่ี
เข้าได้ใจงา่ ย ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้จดั ทำได้เล็งเหน็ ถงึ ประโยชน์ของเกม จึงเป็นทีม่ าของการจดั ทำโครงงานเกมเพอื่
สร้างทักษะ กระบวนการคิด โดยเกมที่จะจัดสร้างขึ้นน้ันจะนำวิชาคณิตศาสตรม์ าบูรณาการ เพื่อมุ่งเน้นเสริมสรา้ ง
ประโยชน์ใหก้ ับผ้เู ล่นเกมมากกว่าความรุนแรง และสรา้ งความเพลิดเพลนิ ให้แก่ตวั ผู้เลน่ ได้ ใน การทำโครงงานครั้ง
นี้ได้ทำการศึกษาในเรื่องของการสร้างเกม ภาษาซี จำนวนเฉพาะ จนได้ออกมาเป็นโปรแกรม เกมสร้างทักษะ
กระบวนการคิด More or Less ด้วยภาษาซี และได้นำเสนอแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที ี่ 5 ห้อง 1 โรงเรียนราช
วนิ ิตบางแก้ว ซ่งึ ผลความพงึ พอใจจากการเลน่ โปรแกรมเกม More or Less สรปุ ผลไดว้ า่ ความพงึ พอใจในการเล่น
เกมสร้างทักษะกระบวนการคิดโดยใช้โปรแกรมภาษาซี โดยรวมมีค่าความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ซึ่งอยู่ใน
เกณฑ์มาก

สารบัญ หนา้
รายการ ก
บทคัดยอ่ ข
กิตตกิ รรมประกาศ ค
สารบัญ 1
บทท่ี 1 บทนำ 1
1.1 ท่ีมาและความสำคญั 1
1.2 คำถามโครงงาน 2
1.3 วัตถุประสงค์ 2
1.4 สมมติฐานโครงงาน 3
1.5 ขอบเขตการศกึ ษา 3
1.6 ระยะเวลาและสถานท่ใี นการดำเนินงาน 3
1.7 นยิ ามศัพทเ์ ฉพาะ 3
1.8 ประโยชน์ที่คาดวา่ จะได้รับ 4
บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยทเี่ ก่ยี วข้อง 4
ตอนท่ี 1 เกม 5
ตอนท่ี 2 ภาษาซี 9
ตอนท่ี 3 จำนวนเฉพาะ 10
ตอนท่ี 4 เอกสารและงานวิจัยที่เกยี่ วขอ้ ง 10
บทท่ี 3 วธิ ีการดำเนนิ งาน 11
3.1 วัสดุ อปุ กรณ์ เครือ่ งมือหรอื โปรแกรมท่ใี ช้ในการพฒั นา 11
3.2 ขนั้ ตอนดำเนนิ งาน 12
3.3 การนำเสนอ 13
3.4 การทดสอบประสทิ ธิภาพและการประเมินผล 14
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 14
4.1 ผลการเขียนเกมสร้างทกั ษะกระบวนการคิดดว้ ยภาษาซี 15
4.2 ผลการตรวจสอบคณุ ภาพการใช้งานโปรแกรมเกมสร้างทักษะกระบวนการคิด

ด้วยภาษาซี

สารบัญ(ตอ่ )

รายการ หนา้
บทท่ี 5 สรปุ อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ 18
18
5.1 สรปุ ผล 18
5.2 อภิปรายผล 19
5.3 ขอ้ เสนอแนะ 20
บรรณานกุ รม 21
ภาคผนวก

1

บทที่ 1
คำนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ
ศตวรรษที่ 21 ยุคแห่งโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นที่ยอมรับในยุค
ปัจจุบัน บุคคลต่างๆได้เห็นถึงความจำเป็นและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ ทั้งในเรื่องของการ
อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน รวมถึงการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในการสร้าง
เทคโนโลยสี ารสนเทศให้เกิดคุณภาพ รวมถึงการใช้ทรพั ยากรสารสนเทศให้เกิดประโยชน์และเหมาะสม จำต้อง
มีกระบวนการจัดผ่านคอมพิวเตอร์ที่ดี มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดคุณภาพด้านการผลิต การจัดเก็บ การ
ประมวลผล การเรียกใช้ และการแลกเปล่ียนข้อมลู สารสนเทศ เกิดข้นึ ได้อย่างมีประสิทธภิ าพสูงสุด ดังน้ันวิชา
คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทสำคัญ ที่จะเป็นรากฐานของกระบวนการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของคนในสงั คม และก่อให้เกดิ ความเจริญกา้ วหน้า
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เครื่อง
อิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปญั หาตา่ งๆ ที่ง่ายและซับซอ้ นโดยวิธีทาง
คณิตศาสตร์” กล่าวคือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มนุษย์ใช้เป็นเคร่ืองมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจ
เป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนด
ชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือป้อนคำสั่งให้ทำงานได้ ทำให้สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่
เลือกมาใช้งาน ทำใหส้ ามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง (วิภารตั น์ เอีย้ งหลง, 2554)
ซึ่งในสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสัง่ ได้ หรือที่เรียกว่าการโปรแกรม จำเป็นต้องใช้
ภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ประเภทของ
ภาษาคอมพิวเตอร์มีมากมาย แต่ที่นิยมใช้กันมากสุดคือ ภาษาระดับสูง เนื่องจากสามารถเขียนและอ่าน
โปรแกรมไดง้ า่ ยขึน้ เพราะมีลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษทัว่ ๆไป หนึง่ ในนั้นคือภาษาซี ภาษาสรา้ งชุดคำส่ังหรือ
โปรแกรมสำหรับวตั ถปุ ระสงค์ท่วั ไป สามารถประยกุ ต์พฒั นาไปใช้ไดห้ ลากหลายรูปแบบ

ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสารชนิดต่างๆ สามารถเข้าถึงผู้คนได้อย่าง
กว้างขวาง ทำให้การถึงสารสนเทศต่างๆเป็นไปได้ง่าย เกมถือเป็นสารสนเทศประเภทหนึ่งที่มีการพัฒนามา
อยา่ งยาวนาน มีจดุ ประสงคจ์ ดั ทำขนึ้ เพอ่ื ให้เกดิ ความบันเทิง ความสนกุ สนาน เสริมสรา้ งทักษะในดา้ นต่างๆ ซ่งึ
ขึ้นอยู่กับประเภทและการพัฒนารูปแบบของเกมนั้นๆ และเป็นประเภทของสื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มบุคคลได้มา
กดดยเฉพาะเด็กและวัยรุน่ ไดม้ ากกว่าสื่อในรปู แบบอน่ื

สือ่ การเรียนรผู้ า่ นเกม เกดิ จากแนวคิดของนักการศึกษายุคใหมท่ ี่ต้องการพฒั นาเกมรวมเข้ากับเน้ือหา
การเรียนรโู้ ดยใช้แนวคิดที่สาคัญ คือ การไดร้ บั ความรู้พร้อมกับความสนุกสนานจากการเล่นเกม (Wang et al,
2551) โดยเกมการศึกษาเป็นการนาทฤษฎี สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทาให้เกิดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
(Effective Learning Environment Theory) และทฤษฎพี หุปัญญา (Multiple Intelligent Theory) รวมเข้า
ไว้ด้วยกันก่อให้เกิดสื่อการเรียนรู้แนวใหม่ ในปัจจุบันได้มีพัฒนาเกมการศึกษาขึ้นอย่างกว้างขวางและได้แตก

2

แขนงออกเป็นประเภทใหม่ของเกมการศึกษาทเี่ รียกว่าเกมคิดไตรต่ รอง (Serious game) ซึง่ เปน็ คำศัพท์ใหม่ท่ี
เกิดจากการรวมคาว่า “Serious” มีความหมายว่าการคิดหรือตริตรองในสิ่งหนึ่ง ด้วยความจดจ่อ และคำว่า
“Game” หมายถึงกิจกรรมที่จัดทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสนุกสนาน โดยรวมคำว่า เกมคิดไตร่ตรอง
(Serious Game) หมายถึง เกมที่ต้องมีการคิด หรือตริตรองด้วยความจดจ่อในกิจกรรมที่จัดทาขึ้นโดยมีความ
สนกุ สนานและได้รับความรูใ้ นเร่ืองนั้นๆ (Boughzala et al, 2556)

จะเห็นได้ว่าเกมสามารถสร้างประโยชน์ได้ รวมถึงการจะเข้าถึงกลุ่มเด็กและวัยรุ่น เกมจึงเป็น
องค์ประกอบสำคัญอย่างนึ่งที่จะสร้างความสนใจให้กับวัยเหล่านี้ได้ และยังเป็นรูปแบบของสื่อที่เข้าได้ใจง่าย
ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของเกม จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงงานเกมเพื่อสร้าง
ทักษะ กระบวนการคิด โดยเกมทจ่ี ะจัดสรา้ งขนึ้ น้นั จะนำวชิ าคณิตศาสตร์มาบูรณาการ เพอื่ งจากคณิตศาสตร์มี
ความสำคัญตอ่ การพัฒนาความคิดของมนษุ ย์เป็นอย่างมาก ทำให้มนุษยม์ ีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุมี
ผล เป็นระบบ สามารถคิดวิเคราะหป์ ัญหาและสถานการณ์ได้อยา่ งถี่ถ้วนรอบคอบ ทำ วางแผน และแก้ปัญหา
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์
อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต (กลุ่มส่งเสริมการ
เรียนการสอนและประเมินผล สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2548:1) โดยเรื่องที่จะนำมาใช้คือเร่ือง
ของจำนวนเฉพาะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เหมาะแก่การนำมาใช้ในการสร้างเสริมทักษะกระบวนการคิด และเหมาะสม
กับทุกวัย ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้จึงเป็นที่มาของโครงงาน เพื่อมุ่งเน้นเสริมสร้างประโยชน์ให้กับผู้เล่นเกม
มากกว่าความรุนแรง และสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ตัวผู้เล่นได้ และปลูกฝังทักษะให้กับเยาวชน รุ่นใหม่
สร้างเจตคติที่ดใี ห้กับคนในสังคม

1.2 คำถามโครงงาน
การสรา้ งเกมโดยใชภ้ าษาคอมพวิ เตอรม์ ีวธิ กี ารอยา่ งไร

1.3 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อสรา้ งเกมโดยใชภ้ าษาซี
2. เพอ่ื สร้างเกมท่ีมปี ระโยชน์ เพมิ่ ทกั ษะทางกระบวนการคิด โดยใชเ้ รื่องจำนวนเฉพาะ
3. เพ่อื สามารถสรา้ งเจตคติท่ีดตี อ่ เกมใหแ้ ก่ตัวผูเ้ ลน่ และคนในสังคม

1.4 สมมติฐานของโครงงาน
จากการศึกษาเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ พบว่าภาษาซีเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะแก่การนำมา

ศึกษาและนำมาประยุกต์การเขียนโปรแกรมที่จะสามารถนำมาสร้างเป็นเกมโดยใช้โปรแกรม DEV C++ ใน
การเขยี นเกมได้

3

1.5 ขอบเขตของการทำโครงงาน
1. เนื้อหาทศ่ี ึกษาเปน็ การเขียนภาษาซีเบอ้ื งตน้ เพอื่ นำมาพฒั นาเป็นเกม โดยใชโ้ ปรแกรม DEV C++
2. ศึกษาความพึงพอใจจากการเล่มเกมท่สี ร้างขนึ้ มา ของนกั เรยี นชั้นมัธยมศกึ ษาปที ี่ 5 หอ้ ง 1
โรงเรียนราชวนิ ติ บางแกว้
ประชากร คือ นักเรียนช้นั มัธยมศกึ ษาปที ่ี 5 หอ้ ง 1 โรงเรยี นราชวินติ บางแกว้
กลุ่มตัวอยา่ ง คอื นักเรียนช้ันมัธยมศกึ ษาปีท่ี 5 ห้อง 1 โรงเรียนราชวินติ บางแกว้
จำนวน 20 คน
3. ตัวแปรทีใ่ ช้ในการศกึ ษา
ตวั แปรต้น โคด้ โปรแกรม
ตัวแปรตาม เกมสร้างทกั ษะกระบวนการคดิ

1.6 ระยะเวลาและสถานที่ในการดำเนินงาน
ระยะเวลา 6 – 20 กมุ ภาพนั ธ์ 2563
สถานท่ี หอ้ ง 428 อาคารสิรยิ าคาร โรงเรียนราชวนิ ิตบางแก้ว

1.7 นิยามศัพทเ์ ฉพาะ
เกมสร้างทักษะกระบวนการคดิ หมายถึง เกมทายตัวเลข โดยใช้ความรเู้ รื่องจำนวเฉพาะ สร้างขึ้นจาก

การเขยี นภาษาซี โดยใชโ้ ปรแกรม DEV C++
ภาษาซี หมายถึง ภาษาคอมพวิ เตอรท์ ่ใี ช้สำหรบั พัฒนาโปรแกรมทว่ั ไป
จำนวนเฉพาะ หมายถึง จำนวนท่ีมตี ัวหารที่เปน็ บวกอยู่ 2 ตัว คอื 1 กับตัวมันเอง

1.8 ประโยชนท์ ค่ี าดวา่ จะได้รับ
1. สามารถสร้างเกมโดยใชภ้ าษาซี
2. ได้เกมที่มปี ระโยชน์ เพมิ่ ทักษะทางกระบวนการคดิ โดยใช้เร่ืองจำนวนเฉพาะ
3. สามารถสรา้ งเจตคติทีด่ ตี อ่ เกมให้แก่ตวั ผ้เู ลน่ และคนในสังคม

4

บทท่ี 2
เอกสารและงานวจิ ัยทเ่ี ก่ียวขอ้ ง

ในการจัดทำโครงงาน เรื่องเกมสร้างทักษะกระบวนการคิด โดยใช้ภาษาซี เพื่อเพิ่มกระบวนการคิด
และเจตคติที่ดีต่อเกมของคนในสังคม ทางคณะผู้จัดทำจึงได้รวบรวมข้อมูล ทฤษฎีและเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เพ่ือ
ใช้ในการศกึ ษา โดยแบ่งเน้อื หา ออกเป็น 4 ตอน ดงั น้ี

ตอนท่ี 1 เกม
ตอนที่ 2 ภาษาซี
ตอนท่ี 3 จำนวนเฉพาะ
ตอนท่ี 4 เอกสารและงานวิจยั ท่ีเกีย่ วขอ้ ง

ตอนท่ี 1 เกม
1.1 ความหมายของเกม
เกม (อังกฤษ: game) หรือ การละเล่น เป็น ลักษณะของกิจกรรมของมนุษย์เพื่อประโยชน์อย่างใด

อย่างหนึง่ เช่น เพอื่ ความบันเทิง เพ่อื ฝกึ ทักษะ และเพอื่ การเรียนรู้ เป็นต้น อาจมผี ู้เลน่ คนเดยี วหรือหลายคนก็
ได้ เกมมักจะมไี วเ้ พื่อความสนกุ สนานและความบันเทิง แต่ในบางครงั้ ก็สอดแทรกความรไู้ ว้ด้วย

เกมจะมีคุณลักษณะและจำนวนผู้เล่นที่แตกต่างกันออกไป ตามจุดประสงค์ของเกม ส่วนใหญ่จะเป็น
การแข่งขันระหว่างผูเ้ ล่นสองคน การกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดท่ีผิดกฎกติกาของเกมหนึ่งๆ เรียกว่า การโกง ในอดีต
กาล มนุษย์เล่นเกมเพื่อความบันเทิง หรือเพื่อตัดสินบางสิ่งบางอย่าง เกมนั้นมีหลายประเภท เช่น เป่ายิ้งฉุบ
หมากกระดาน เกมวางแผน เกมเสย่ี งโชค ความร้หู ลายแขนงนำมาใช้ในการศกึ ษาเกีย่ วกับเกม เช่น ความนา่ จะ
เปน็ สถิติ และทฤษฎเี กม

1.2 องค์ประกอบของเกม
1.2.1 Goal (จุดหมาย)
สิ่งที่บ่งบอกถึงจุดสิ้นสุดของการเล่นที่ผู้เล่นต้องไปให้ถึง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่คอยกระตุ้นและท้า

ทายผู้เลน่ ให้รูส้ ึกอยากเล่น เพื่อจะได้ผ่านไปเล่นในฉากต่อไปหรือได้ชื่อว่าเปน็ ผูท้ ีส่ ามารถพิชิตเกมนน้ั
ได้ Goal ของเกมต้องไม่ง่ายเกนิ ไปจนทำให้ผู้เล่นรู้สึกไม่ท้าทาย หรอื ยากจนเกนิ ไปจนทำให้ผู้เล่นรู้สึก
วา่ ตนเองไรซ้ ง่ึ ความสามารถ

1.2.2 Decisions (การตัดสินใจ)
ให้ผู้เล่นได้ใช้ความคิดในการวิเคราะห์ทางเลือกสำหรับแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการ
เล่น ผู้เล่นจะเกิดความสนุกสนานและรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของเกม “เกมที่น่าสนใจเกิดจาก
ความน่าสนใจของการตัดสินใจทีม่ ีในเกม”ในการสร้างเหตุการณ์ทจ่ี ะใหผ้ ู้เลน่ ไดต้ ัดสินใจ

5

1.2. 3. Balance (ความสมดุล)
การให้ความสำคัญถึงความเหมาะระหว่างองค์ประกอบของเกม ซึ่งมสี ่วนช่วยสนับสนนุ ให้เกม
ทส่ี ร้างน้ันมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยมสี งิ่ ท่ตี ้องพจิ ารณา ไดแ้ ก่

1. Balance between players (ความสมดลุ ระหวา่ งผเู้ ลน่ )
2. Balance between the player and the game play

(ความสมดุลระหว่างผเู้ ลน่ กับเกม)
3. Balance between game feature (ความสมดลุ ของรูปแบบของเกม)
1.2. 4. Reward (รางวัล)
หลังจากที่ผู้เล่นใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งในการพยายามฟันผ่าอุปสรรคต่างๆของเกม การให้
รางวัลถือเป็นสิง่ ที่สำคัญมาก ทที่ ำให้ผเู้ ลน่ รสู้ กึ ว่าประสบความสำเรจ็ กบั ความพยายาม ท่ีไดท้ ำไป และ
อยากทีจ่ ะเผชิญกบั ความท้าทายอ่ืนๆต่อไป รางวัลทีจ่ ะให้กับผ้เู ลน่ มีหลายรปู แบบด้วยกัน เช่น คะแนน
(score) ไอเทม (Items) หรือพลัง(Power) เป็นต้นโดยทั่วไปจะแบ่งรางวัลออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
แบบ Temporary Reward เป็นรางวัลย่อย และแบบ Permanent Reward เป็นรางวัลที่ให้กับผู้
เล่นเมอ่ื สามารถบรรลจุ ดุ หมายหลัก
1.2. 5. Challenges (ความทา้ ทาย)
ความท้าทายเป็นสิ่งที่จะทำให้เกมเกิดความน่าสนใจ ความน่าติดตาม และความสนุก
เน่อื งจากทำให้ผู้เลน่ ได้ใช้ ความรู้ ความคิด หรือทกั ษะอ่นื ๆ ในการแก้ไขปญั หาที่กำลงั เผชิญในเกม ทำ
ให้ผู้เล่นรูส้ ึกภูมิใจในตัวเองเมื่อสามารถเอาชนะความท้าทายเหลา่ นั้นไดค้ วามทา้ ทายของเกมสามารถ
เห็นได้จากความยากที่เกมนั้นมีอยู่ ในขณะที่ผู้เล่นเล่นเกม ความสามารถของผู้เล่นจะได้รับการ
พฒั นาจากความยากท่ตี นได้เผชิญ

ตอนท่ี 2 ภาษาซี
การเร่ิมต้นพฒั นาภาษาซเี กิดขึน้ ที่เบลล์แล็บสข์ องเอทีแอนด์ทรี ะหวา่ ง ค.ศ. 1969-1973 แต่ตามขอ้ มูล

ของริตชี ช่วงเวลาที่เกิดความสร้างสรรค์มากที่สุดคือปีค.ศ. 1972 ภาษานี้ถูกตั้งชื่อว่า "ซี" เพราะคุณลักษณะ
ต่าง ๆ ต่อยอดมาจากภาษาก่อนหน้าคือ "บี" ซึ่งจากข้อมูลของเคน ทอมป์สัน (Ken Thompson) กล่าวว่า
ภาษาบเี ปน็ รุ่นทีแ่ ยกตัวออกจากภาษาบีซพี ีแอลอีกทอดหน่ึง

จุดเริ่มต้นของภาษาซีผูกอยู่กับการพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งเดิมพัฒนาด้วย
ภาษาแอสเซมบลีบนหน่วยประมวลผลพีดพี ี-7 โดยริตชีและทอมป์สัน โดยผสมผสานความคิดหลากหลายจาก
เพื่อนร่วมงาน ในตอนท้ายพวกเขาตัดสินใจที่จะย้ายระบบปฏิบัติการนั้นลงในพีดีพี-11 แต่ภาษาบีขาด
ความสามารถบางอย่างที่จะใช้คุณลักษณะอันได้เปรียบของพีดีพี-11 เช่นความสามารถในการระบุตำแหน่งท่ี
อยูเ่ ปน็ ไบต์ จึงทำใหเ้ กิดการพฒั นาภาษาซรี ุน่ แรกขึน้ มา

รุ่นดั้งเดิมของระบบยูนิกซ์บนพีดีพี-11ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาแอสเซมบลี เมื่อประมาณ พ.ศ. 2516
ภาษาซีเพิ่มชนิดข้อมูล struct ทำให้ภาษาซีเพียงพออย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเคอร์เนลยูนิกซ์ส่วนใหญ่ถูกเขียน

6

ด้วยภาษาซี นี้ก็เป็นเคอร์เนลหนึ่งของระบบปฏิบัติการที่พัฒนาด้วยภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาแอสเซมบลี
(ระบบอื่นเช่นมัลติกส์เขียนด้วยภาษาพีแอล/วัน เอ็มซีพีสำหรับเบอร์โรส์ บี5000เขียนด้วยภาษาอัลกอล ในปี
พ.ศ. 2504) โดยภาษาซีได้ถูพัฒนามาเรื่อยๆ

2.1 โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี แบ่งออกเปน็ 3 สว่ น
2.1.1 สว่ นหัวของโปรแกรม
ส่วนหัวของโปรแกรมนี้เรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้ คอมไพเลอร์

กระทำการ ใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรม ในที่นี่คำสั่ง #include <stdio.h> ใช้บอกกับ
คอมไพเลอร์ให้นำเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ คือ stdio.h เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดยการกำหนด
preprocessing directives น้ีจะต้องขึ้นต้นด้วยเคร่อื งหมาย # เสมอ คำส่งั ทใ่ี ช้ระบใุ หค้ อมไพเลอร์นำ
เฮดเดอร์ไฟลเ์ ขา้ รว่ มในการแปลโปรแกรม สามารถเขียนได้ 2 รปู แบบ คอื

- #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจาก
ไดเรกทอรีทใี่ ชส้ ำหรับเก็บเฮดเดอรไ์ ฟลโ์ ดยเฉพาะ (ปกติคือไดเรกทอรีช่อื include)

- #include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์” คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟที่ระบุ จากไดเร็ค
ทอรีเดียวกันกับไฟล์ source code นั้น แต้ถ้าไม่พบก็จะไปค้นหาไดเร็คทอรีที่ใช้เก็บเฮดเดอร์ไฟล์
โดยเฉพาะ

2.1.2 ส่วนของฟังก์ชนั่ หลัก
ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมี
ฟังก์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ จะเห็นได้จากชื่อฟังก์ชั่นคือ main แปลว่า “หลัก” ดังนั้น การเขียน
โปรแกรมภาษซจี ึงขาดฟังกช์ ่นั นไ้ี ปไม่ได้ โดยขอบเขตของฟงั ก์ช่นั จะถูกกำหนดด้วยเคร่ืองหมาย {
และ } กล่าวคือ การทำงานของฟังก์ชั่นจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย }
ฟังก์ชั่น main() สามารถเขียนในรูปแบบของ void main(void) ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน คือ
หมายความว่า ฟังก์ชั่น main() จะไม่มีอาร์กิวเมนต์ (argument) คือไม่มีการรับค่าใด ๆ เข้ามา
ประมวลผลภายในฟังก์ชนั่ และจะไมม่ กี ารคนื ค่าใด ๆ กลับออกไปจากฟงั ก์ช่ันด้วย
2.1.3 สว่ นรายละเอยี ดของโปรแกรม
เป็นส่วนของการเขียนคำสงั่ เพอื่ ใหโ้ ปรแกรมทำงานตามท่ีไดอ้ อกแบบไวค้ อมเมนต์ในภาษาซี

2.2 คอมเมนต์
คอมเมนต์ (comment) คือส่วนทเี่ ปน็ หมายเหตุของโปรแกรม มีไว้เพ่ือใหผ้ ้เู ขียนโปรแกรมใส่ข้อความ
อธิบายกำกับลงไปใน source code ซึง่ คอมไพเลอรจ์ ะขา้ มาการแปลผลในส่วนท่ีเปน็ คอมเมนต์น้ี คอมเมนต์ใน
ภาษาซีมี 2 แบบคือ

2.2.1 คอมเมนต์แบบบรรทัดเดยี ว ใช้เคร่อื งหมาย //
2.2.2 คอมเมนต์แบบหลายบรรทดั ใช้เครอื่ งหมาย /* และ */

7

2.3 ตวั แปรในภาษาซี

ตัวแปร (Variable) คือ การจองพื้นที่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลที่ต้องใช้ใน

การทำงานของโปรแกรม โดยมีการตั้งชื่อเรียกหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นด้วย เพื่อความสะดวกในการ

เรียกใช้ข้อมูล ถ้าจะใช้ข้อมูลใดก็ให้เรียกผา่ นชื่อของตัวแปรที่เก็บเอาไว้ และจะไม่สามารถนำคำสงวนต่อไปน้ี

มาต้ังช่ือเป็นตัวแปรได้

Auto Break Case Char Const

Default Do Double Else Enum

Short Signed Sizeof Extern Float

For Goto If Int Long

Return Register Continue While Static

Struct Switch Typedef Union Unsigned

Void Volatile
ตารางที่ 1 ตารางแสดงคำสงวน

2.4 ชนดิ ของข้อมลู มดี งั นี้คือ
2.4.1 ข้อมูลชนดิ ตัวอักษร
ข้อมูลชนิดตัวอักษร (Character) คือข้อมูลที่เป็นรหัสแทนตัวอักษรหรือค่าจำนวนเต็มได้แก่

ตวั อกั ษร ตวั เลข และกลมุ่ ตัวอักขระพิเศษใชพ้ นื้ ที่ในการเกบ็ ข้อมูล 1 ไบต์
2.4.2 ขอ้ มูลชนิดจำนวนเต็ม
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม (Integer) คือข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม ได้แก่ จำนวนเต็มบวก

จำนวนเต็มลบ ศนู ย์ ใช้พืน้ ท่ีในการเก็บ 2 ไบต์
2.4.3 ข้อมลู ชนดิ จำนวนเตม็ ที่มขี นาด 2 เทา่
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มที่มีขนาด 2 เท่า (Long Integer) คือข้อมูลที่มีเลขเป็นจำนวนเต็ม ใช้

พืน้ ที่ 4 ไบต์
2.4.4 ข้อมูลชนิดเลขทศนิยม
ข้อมูลชนดิ เลขทศนิยม (Float) คือขอ้ มูลท่เี ป็นเลขทศนยิ ม ขนาด 4 ไบต์
2.4.5 ข้อมูลชนิดเลขทศนิยมอยา่ งละเอียด
ข้อมูลชนิดเลขทศนิยมอย่างละเอียด (Double) คือข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ใช้พื้นที่ในการ

เกบ็ 8 ไบต์

8

ชนิดของตวั แปร ขนาด ขอบเขต ข้อมูลท่เี ก็บ
(bits)
char 8 -128 ถงึ 127 ขอ้ มูลชนิดอักขระ ใช้เนอ้ื ท่ี 1 byte
unsigned char 8
int 16 0 ถงึ 255 ขอ้ มูลชนดิ อกั ขระ ไม่คิดเครื่องหมาย
unsigned int 16
short 8 -32,768 ถงึ 32,767 ขอ้ มลู ชนิดจำนวนเต็ม ใช้เน้ือที่ 2 byte
unsigned short 8
long 32 0 ถงึ 65,535 ขอ้ มูลชนดิ จำนวนเตม็ ใชเ้ นื้อท่ี 2 byte

-128 ถงึ 127 ข้อมลู ชนดิ จำนวนเตม็ แบบส้ัน ใชเ้ นื้อที่ 1 byte

0 ถึง 255 ข้อมลู ชนดิ จำนวนเตม็ แบบสน้ั ไม่คดิ เครอ่ื งหมาย

- 2 , 1 4 7 , 4 8 3 , 6 4 8 ถึ ง ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มแบบยาว ใชเ้ น้ือท่ี 4 byte

2,147,483,649

unsigned long 32 0 ถงึ 4,294,967,296 ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มแบบยาว ไมค่ ิดเครือ่ งหมาย
float 32
double 64 3.4*10e(-38) ถงึ 3.4*10e(38) ข้อมูลชนิดเลขทศนิยม ใช้เนอื้ ท่ี 4 byte
long double 128
3.4*10e(-308) ถงึ 3.4*10e(308) ขอ้ มลู ชนดิ เลขทศนยิ ม ใช้เนอื้ ที่ 8 byte

3 . 4 * 1 0 e( - 4032) ถึ ง ข้อมูลชนิดเลขทศนยิ ม ใช้เนือ้ ที่ 16 byte

3.4*10e(4032)

ตารางที่ 2 ตารางแสดงชนดิ ของตวั แปร

2.5 ค่าคงทใี่ นภาษาซี
ค่าคงที่ (constant) เป็นตัวแปรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าในภายหลังได้ ค่าของตัวแปรค่าคงท่ี
จะต้องถูกกำหนดพร้อมกับการประกาศตัวแปรเสมอ ค่าคงที่สามารถเป็นขอ้ มูลประเภทต่างๆ เหมือนประเภท
ข้อมูลพื้นฐานได้ เช่น integer, floating-point, characters, boolean, pointers, และ user-defined
literals.

2.6 เครือ่ งหมายและการดำเนนิ การ

2.6.1 เคร่อื งหมายการคำนวณทางคณติ ศาสตร์

ตัวดำเนินการ ความหมาย ตัวอย่าง

+ บวก (Addition) x+y

- ลบ (Subtraction) x-y

* คูณ (Multiplicatoin) x*y

/ หาร (Division) x/y

++ เพิม่ คร้ังละ 1 (Increment) x++

-- ลดครั้งละ 1 (Decrement) x--

% หารเอาผลลัพธเ์ ฉพาะเศษ (Modulus) x%y

ตารางท่ี 3 ตารางแสดงตวั ดำเนินการทางคณติ ศาสตร์

9

2.6.2 ตวั ดำเนนิ การเปรยี บเทยี บ

== เท่ากับ
!= ไม่เทา่ กบั
> มากกวา่
>= มากกวา่ หรอื เทา่ กับ
< นอ้ ยกวา่
<= น้อยกวา่ หรอื เทา่ กบั

ตารางท่ี 4 ตารางแสดงตัวดำเนินการเปรียบเทยี บ

2.7 รหัสรูปแบบ

รหสั รปู แบบ ชนิดตวั แปร ลักษณะการแสดงผลออกจอภาพ
ใช้แสดงข้อมลู ทเ่ี ป็นจำนวนเต็มฐานสิบ
%d Int ใช้แสดงขอ้ มูลท่เี ปน็ จำนวนเตม็ ฐานสิบแบบ long
ใช้แสดงขอ้ มลู ท่ีเปน็ จำนวนเต็มฐานสิบแบบ unsigned
%ld Long int ใช้แสดงขอ้ มลู ทเ่ี ปน็ เลขทศนยิ ม ท่ีไม่มเี ลขชีก้ ำลงั
ใช้แสดงขอ้ มูลท่ีเปน็ เลขทศนยิ ม ทม่ี เี ลขชีก้ ำลงั
%u Unsigned int ใชแ้ สดงขอ้ มูลที่เป็นเลขทศนยิ มแบบ double
ตารางท่ี 5 ตารางแสดงรหสั รปู แบบ
%f Float

%e Float,double

%lf double

ตอนที่ 3 จำนวนเฉพาะ
3.1 ความหมายจำนวนเฉพาะ
จำนวนเฉพาะ หมายถึง จำนวนที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัว คือ 1 และ ตัวของมันเอง โดยอริสโตเติล

(Aristotle 384-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และยุคลิด ได้แยกจำนวนเต็มบวกออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก
ได้แก่ 2, 3, 5, 7, 11, 13,… ซึ่งเรียกว่า จำนวนเฉพาะ และอีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ 4, 6, 8, 9, 10, 12, 14,… ซึ่ง
เรียกวา่ จำนวนประกอบ

บทนยิ าม 1 เราจะเรยี กจำนวนเต็ม p ว่า จำนวนเฉพาะ (prime number) กต็ อ่ เม่อื p ≠ ± 1 และถ้า
a, b Z และ p = ab แลว้ a = ± 1 หรอื b = ± 1

จากบทนิยามของจำนวนเฉพาะ พบวา่
1) 2, -2 เป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นจำนวนเตม็ คู่ จำนวนเฉพาะอื่นๆ จะเป็นจำนวนเตม็ ค่ี
2) ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะ แล้ว –p เปน็ จำนวนเฉพาะ
3) ให้ p เปน็ จำนวนเฉพาะและ a Z ถ้า a | p แลว้ a = ± 1 หรอื a = ± p
4) ให้ p เปน็ จำนวนเฉพาะและ a Z จะไดว้ า่ p a ก็ตอ่ เมื่อ (p, a) = 1
5) ให้ p เป็นจำนวนเฉพาะและ a Z จะไดว้ า่ p | a กต็ ่อเม่ือ (p, a) = |p|
6) ถ้า p และ q เปน็ จำนวนเฉพาะและ p | a แลว้ p = q
บทนิยาม 2 จำนวนเต็ม p จะเป็นจำนวนเฉพาะ ก็ต่อเมื่อ p ≠ 0, p ≠ 1, p ≠ -1 และถ้ามีจำนวน
เตม็ ท่หี าร p ลงตัว จำนวนเต็มน้นั ต้องเปน็ สมาชิกของ {-1, 1, p, -p}

10

3.2 วิธีการหาจำนวนเฉพาะ
วิธีการหาจำนวนเฉพาะที่เก่าแก่ที่สุดคือ ตะแกรงจำนวนเฉพาะของเอราโตสเทเนส (Eratosthenes'
sieve) มีวิธีดังน้ี

1) หาจำนวนเฉพาะที่ยกกำลัง 2 แลว้ ไม่เกินจำนวนท่ีต้องการทดสอบว่าเปน็ จำนวนเฉพาะ
หรือไม่

2) นำฐานของเลขยกกำลงั มาลองหารจำนวนท่ีตอ้ งการทดสอบ

ตอนที่ 4 เอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กี่ยวข้อง
ภัทรวิท สรรพคณุ : การพัฒนาเกมคอมพวิ เตอรเ์ พอ่ื ส่งเสรมิ การใช้ยาปฏิชีวนะอยา่ งสมเหตุสมผล
อาจารยท์ ่ปี รึกษาวิทยานพิ นธ์ : ภก.ผศ.ดร.พีรยศ ภมรศลิ ปธรรม และ ภญ.ผศ.ดร.ลาวัลย์ ศรทั ธาพุทธ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล
สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์และประเมินผลการเรียนรู้และความพึงพอใจผ่านการเล่นเกมคอม พิวเตอร์ของ
นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ถึง 6 การศึกษานี้มีรูปแบบวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน
คือ การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล และ ประเมินการใช้เกม
คอมพวิ เตอร์เพื่อสง่ เสริมการใช้ยาปฏชิ ีวนะอยา่ งสมเหตสุ มผล

การพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลใช้ซอฟต์แวร์
โอเพนซอร์ส Renpy รุ่น 6.18.3 โดยมีขอบเขตเนื้อหาของเกมคือ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลใน 6
สถานการณ์ ได้แก่ ไข้หวัด คอหอยอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ท้องร่วงเฉียบพลัน และแผล
เลือดออก โดยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเน้ือหาจากผูเ้ ช่ียวชาญดา้ นเภสชั กรรมชุมชนและเทคโนโลยี
สารสนเทศ เมื่อปรับปรุงและพัฒนาเกมจนเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนการประเมินการใช้เกมคอมพิวเตอร์เพื่อ
ส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ช้ันปีที่ 1-6 จานวน 180 คน โดยทาการ
ทดสอบความรู้ก่อนและหลังใช้เกมคอมพิวเตอร์เป็นแบบกลุ่มเดียวสอบก่อน-หลัง ผลการวิเคราะห์ พบว่า
คะแนนผลการทดสอบความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลหลังจากเล่นเกมสูงกว่าก่อนเล่นเกม
อย่างมีนัยทางสถิติ (p<0.05) และ ผลประเมินด้านความพึงพอใจต่อระบบของเกมคอมพิวเตอร์ โดยเฉลี่ยอยู่
ใระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 3.73±1.0 (คะแนนเต็ม 5) ความพึงพอใจต่อเนื้อหาของเกมคอมพิวเตอร์ โดยเฉลี่ยอยู่
ในระดับ มาก มคี า่ เฉลีย่ 3.91±0.83 (คะแนนเต็ม 5) และการประเมินโครงสร้างพื้นฐานทีพ่ ึงมีในเกมการศึกษา
ดา้ นการแพทย์และสขุ ภาพตามไลเบอร์แมน โดยเฉล่ยี อยู่ในระดับ มาก มีคา่ เฉล่ยี 3.84±0.93 (คะแนนเตม็ 5)

จากผลการศึกษานี้การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล
สามารถเสริมความรู้ให้กับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 1-6 ดังนั้นการใช้เกมคอมพิวเตอร์จึงเป็นทางเลือกอีก
รปู แบบหนึง่ ที่สามารถนามาใช้ในการพฒั นาการเรยี นการสอนได้

11

บทที่ 3
วธิ ดี ำเนินงานโครงงาน
ในการวิจัยและพัฒนาเกมสรา้ งทกั ษะกระบวนการคิด More or Less ด้วยภาษาซี ผู้จัดทำโครงงานมี
ขนั้ ตอนดังต่อไปนี้
3.1 วัสดุ อปุ กรณ์ เคร่ืองมอื หรือโปรแกรมท่ีใช้ในการพฒั นา
3.1.1 เคร่ืองคอมพิวเตอรส์ ่วนบบคุ คล
3.1.2 โปรแกรม Code block , Devc++ สำหรับการเขยี นและพัฒนาตัวโปรแกรม

3.2 ขน้ั ตอนดำเนนิ งาน
การวจิ ยั รอบที่ 1
3.2.1 ในครัง้ แรกผจู้ ัดทำโครงงานได้ทดลองเขียนโปรแกรมภาษาซีการหาจำนวนเฉพาะซึง่ สามารถ
ตรวจสอบจำนวนท่เี ราตอ้ งการรูว้ า่ เป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่
พัฒนาการรอบท่ี 1
3.2.2 ได้โปรแกรมภาษาซีตรวจสอบจำนวนเฉพาะ

การวิจัยรอบที่ 2
3.2.3 ได้ทดลองศึกษาและนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับฟังก์ชันอื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ได้แก่
ฟังกช์ นั

If, while และ random
พัฒนาการรอบที่ 2
3.2.4 นำฟังก์ชันที่ได้ทดลองว่าสามารถใช้ด้วยกันและเกิดประโยชน์มาทำเป็นเกมเพื่อพัฒนาทักษะ
การคิด

โดยไดท้ ำเป็นเกมเดาตวั เลขทีต่ วั โปรแกรมจะบอกวา่ ตัวเลขท่เี ราพ่งึ เดาไปมีคา่ มากหรอื น้อยกวา่
ตัวเลขคำตอบที่ถูกต้อง และได้มีการใช้โปรแกรมหาจำนวนเฉพาะเพื่อเป็นคำใบ้ที่ช่วยในการ
เดา
ตัวเลข โดยมตี วั โปรแกรมดงั ต่อไปน้ี

12

- ในบรรทดั ท5ี่ -15 คอื การประกาศตัวแปรที่ใช้ใน
โปรแกรมเกมเพ่ือทำให้คอมพิวเตอร์รู้จกั ตัวแปรท่ี เราจะใช้

- บรรทดั ท2่ี 4-52 จะเป็นตวั ส่ังฟงั ก์ชันwhile
เพอื่ ให้รันส่วนของการสมุ่ เลขคำตอบจนกวา่
จำนวนชีวิตจะเหลอื 0ซ่ึงแปลว่าจบเกมและได้ใส่
ตัวโปรแกรมการหาจำนวนเฉพาะเพื่อเปน็ คำใบ้เข้า
ไปในส่วนนีพ้ ร้อมกับคำนวณว่าตวั เลขคำตอบเป็น
จำนวนคหู่ รอื คี่
- ตัง้ แตบ่ รรทัดที่53–71 จะยังอยู่ในฟังกช์ นั while
แตจ่ ะใส่ตวั ฟังกช์ นั Ifเขา้ มาเพิ่มเพ่ือใชใ้ น
การกำหนดเง่ือนไขของการเดาตวั เลข เช่น ถ้า
ตัวเลขท่เี ราเดามีคา่ มากกว่าตัวเลขคำตอบระบบจะ
แสดงผลวา่ MORE THAN “Your number” Try
Again!
- เมื่อชีวติ เหลือ0จะถือวา่ จบเกมลิน้ สดุ
โปรแกรมหรอื การส้นิ สุดเงอ่ื นไขwhile

3.2.5 วธิ กี ารเลน่ เกม
1.ให้สุม่ ตัวเลขต้งั แต่0 – 100 สามารถดคู ำใบเ้ พ่ือชว่ ยในการตดั สนิ ใจเลอื กตัวเลขในครัง้ แรกและคร้ัง
ตอ่ ไปโดยเร่มิ แรกจะมีชวี ิตให้10ชวี ติ เมอื่ ตอบ1ครง้ั ชีวติ จะลด1
2.เมื่อทำการตอบในครั้งแรกและยงั ไม่ถกู ระบบจะบอกว่าตวั เลขคำตอบมากหรือน้อยกว่าตัวเลขที่
เดาและให้คุณไดต้ อบอีกคร้งั ระบบจะรันเช่นน้ีไปเร่อื ยๆจนกว่าคุณจะตอบถูกหรอื ชวี ติ เหลือเท่ากบั 0
3.ถา้ คุณตอบถูกเกมจะรนั ไปในรอบต่อไปเพื่อสะสมคะแนนไปเรื่อยๆ และคุณจะได้พลังชีวิตเพิ3
ชีวิตต่อการตอบถกู 1ครัง้

3.3 การนำเสนอ
นำเกมสร้างทักษะกระบวนการคิดMore or Less เผยแพร่ใหก้ นักเรยี นชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 5 ห้อง 1

โรงเรียนราชวินติ บางแก้ว

3.4 การประเมนิ ผล
การจัดทำแบบสำรวจความพงึ พอใจในการเล่นเกมสร้างทักษะกระบวนการคดิ More or Less

13

แบบสำรวจความพงึ พอใจในการเลน่ เกมสรา้ งทกั ษะกระบวนการคดิ More or Less
ของนกั เรยี นชน้ั มธั ยมศึกษาปที ี่ 5หอ้ ง 1 โรงเรยี นราชวนิ ติ บางแกว้

คำช้แี จง : แบบสอบถามฉบับนจ้ี ดั ทำขน้ึ เพ่ือสำรวจความพงึ พอใจในการเล่นเกมสรา้ งทักษะกระบวนการคดิ
More or Less ของนักเรยี นช้นั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 5ห้อง 1 โรงเรยี นราชวินิตบางแกว้ โปรดทำเครอื่ งหมาย /
ลงในชอ่ ง ทต่ี รงกับความพึงพอใจของทา่ น

ตอนท่ี 1 ข้อมูลท่ัวไปของนกั เรียน
ชาย ( )
หญิง ( )

ตอนที่ 2 แบบสำรวจความพงึ พอใจในการเลน่ เกมสรา้ งทกั ษะกระบวนการคดิ More or Less
5 = มากทส่ี ุด 4 = มาก 3 = ปานกลาง 2 = น้อย 1 = น้อยที่สดุ

รายการ ความพงึ พอใจ

5432 1

1.รูปแบบของเกมมีความสนุกสนาน

2.รูปแบบของเกมสามารถเข้าใจได้ง่าย

3.ช่วยเสริมสร้างทักษะด้านกระบวนการคิด

4.ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของจำนวนเฉพาะมากย่ิงขึ้น
5.ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเล่นเกมเกมให้คนในสังคมมากย่ิงขึ้น

ขอ้ เสนอแนะ
.................................................................................................................................................. ............................
..............................................................................................................................................................................

14

บทท่ี 4
ผลการวเิ คราะหข์ อ้ มลู
การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมเกมสร้างทักษะกระบวนการคิด More or Less ด้วยภาษาซี ด้วย
โปรแกรม
DEV C++ มผี ลการวเิ คราะหข์ อ้ มูล ดงั น้ี
4.1 ผลการเขยี นโปรแกรมภาษาซตี รวจสอบจำนวนเฉพาะ
ผลการวจิ ัยรอบที่ 1
หลังจากที่คณะผู้จัดทำลงมือเขียนโปรแกรมจำนวนเฉพาะเสร็จ และได้ทดสอบโปรแกรม พบว่า
โปรแกรมสามารถประมวลผลการตรวจสอบไดค้ ่อนข้างดี

ภาพการแสดงผลของโปรแกรมจำนวนเฉพาะในการวิจัยรอบที่ 1

ผลการวจิ ยั รอบที่ 2
หลงั จากเขยี นโปรแกรมเกมและไดล้ อง compile and run พบวา่ โปรแกรม error จึงได้ลองหา
ข้อผดิ พลาด พบในส่วนของการไมไ่ ดป้ ระกาศตวั แปรบางตัวท่ใี ชใ้ นฟงั ก์ชนั จงึ ได้แกไ้ ขให้ถูกต้อง

ผลการวจิ ยั รอบท่ี 3
หลังจากทำงานวิจยั และตรวจสอบการใชง้ านของโปรแกรมเกมสร้างทักษะกระบวนการคิดเสร็จแล้ว
จากในขั้นตอนสุดทา้ ยคอื การ compile จะได้โปรแกรมเกมดงั รปู ภาพดงั ต่อไปน้ี

15

4.2 ผลการตรวจสอบคณุ ภาพการใชง้ านโปรแกรมเกมสรา้ งทกั ษะกระบวนการคดิ More or Less
ดว้ ยภาษาซี

ตารางที่ 1 ความพงึ พอใจการใชง้ านโปรแกรมภาษาซตี รวจสอบจำนวนเฉพาะ

ตารางท่ี 1.1 เพศ

เพศ จำนวน(คน) คดิ เปน็ รอ้ ยละ

ชาย 9 45

หญงิ 11 55

จากตารางที่ 1.1 พบวา่ เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม เปน็ เพศหญงิ มากทส่ี ดุ คดิ เปน็ ร้อยละ 55
และเพศชาย คดิ เปน็ ร้อยละ 45

16

ตารางท่ี 1.2 ความพงึ พอใจการเล่นเกมสรา้ งทักษะกระบวนการคดิ More or Less ด้วยภาษาซี

ความพงึ พอใจในการ จำนวน (คน)
เลน่ เกมสรา้ งทกั ษะ

กระบวน

การคดิ โดยภาษาซี มากทส่ี ดุ % มาก % ปานกลาง % นอ้ ย % นอ้ ยทส่ี ุด %

1. รูปแบบของเกมมี 8 40 11 55 1 5 -- - -
ความสนุกสนาน

2.รูปแบบของเกม 11 55 5 25 4 20 - - - -
สามารถเข้าใจได้ง่าย

3.ช่วยเสริมสร้าง

ทักษะด้าน 13 65 7 35 - - - - - -

กระบวนการคิด

4.ทำให้เข้าใจ

เกี่ยวกับสมบัติของ 11 55 5 25 4 20 - - - -
จำนวนเฉพาะมาก

ยิ่งข้ึน

5.ช่วยสร้างเจตคติที่

ดีต่อการเล่นเกมเกม 12 60 4 20 3 15 1 5 - -
ให้คนในสังคมมาก

ยิ่งข้ึน

เกณฑ์การประเมนิ ความพงึ พอใจ
ค่าเฉลย่ี 4.51 - 5.00 หมายถึง มากทีส่ ดุ
ค่าเฉลย่ี 3.51 - 4.50 หมายถงึ มาก
ค่าเฉลยี่ 2.51 - 3.50 หมายถงึ ปานกลาง
คา่ เฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง น้อย
คา่ เฉลี่ย 0.00 – 1.50 หมายถงึ นอ้ ยท่สี ุด

17

จากตารางที่ 1.2 แสดงให้เห็นว่าความพึงพอใจในการเล่นเกมสร้างทักษะกระบวนการคิดโดยใช้
ภาษาซี มีผู้พึงพอใจในรูปแบบของเกมซึ่งมีความสนุกสนานคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาก
รปู แบบของเกมสามารถเข้าใจได้ง่ายคิดคา่ ความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ซ่งึ อยู่ในเกณฑ์มาก ช่วยเสริมสร้าง
ทักษะด้านกระบวนการคิดมีค่าความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับ
สมบัติของจำนวนเฉพาะมากย่ิงขึ้นมีค่าความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ซึ่งอยู่ในเกณฑม์ าก และสุดท้ายช่วย
สร้างเจตคติที่ดีต่อการเล่นเกมให้คนในสังคมมากยิ่งขึ้นมีค่าความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์
มาก จากผลการตรวจสอบวามพึงพอใจของผู้เล่นเกมแสดงใหเ้ ห็นว่ามผี ูพ้ ึงพอใจในระดบั มากอย่จู ำนวนมาก แต่
ยังคงต้องมกี ารปรับรปู แบบของโปรแกรมให้ใชง้ านไดม้ ปี ระโยชนห์ ลากหลายมากกว่านี้

18

บทที่ 5
สรปุ อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ
5.1 สรุปผล
5.1.1 ผลการทดลองโปรแกรมเกม More or Less ดว้ ยภาษาซี
การวิจยั และพัฒนา โปรแกรมเกมMore or Less ด้วยภาษาซี มีจำนวนเลขสูงสดุ ได้ถงึ 100
5.1.2 ความพึงพอใจในการใชโ้ ปรแกรมเกม More or Less
โปรแกรมเกม More or Less ได้ประเมินความพึงพอใจการใช้งานโปรแกรมเกมMore or Less
ด้วยภาษาซี สามารถสรปุ ผลได้ดังน้ี
ในหัวข้อรูปแบบของเกมมีความสนุกสนานมีผู้พึงพอใจในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 ใน
ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 55 ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 5 และไม่มีผู้พึงพอใจในระดับน้อยและ
นอ้ ยท่สี ุด
ในหวั ขอ้ รูปแบบของเกมสามารถเข้าถึงได้ง่าย มผี ูพ้ งึ พอใจในระดบั มากท่ีสุด คดิ เป็นรอ้ ยละ 5 ใน
ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 25 ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 20 และไม่มีผู้พึงพอใจในระดับน้อยและ
นอ้ ยที่สุด
ในหัวข้อ ช่วยเสริมสร้างทักษะด้านกระบวนการคิด มีผู้พึงพอใจในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อ ใน
ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 35 และไมม่ ีผ้พู งึ พอใจในระดับปานกลาง นอ้ ยและน้อยทสี่ ุด
ในหัวข้อ ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของจำนวนเฉพาะมากยิ่งขึ้น มีผู้พึงพอใจในระดับมากที่ คิด
เป็นรอ้ ยละ 55 ในระดบั มาก คดิ เปน็ ร้อยละ 25 ในระดบั ปานกลาง คดิ เปน็ รอ้ ยละ 20 และไม่มีผู้พึงพอใจ
ในระดับนอ้ ยและน้อยทีส่ ุด
ในหัวข้อ ช่วยสร้างเจตคติที่ดตี ่อการเล่ห้คนในสงั คมมากยิ่งขึน้ เกมเกมใ มีผู้พึงพอใจในระดับมาก
ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60 ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 20 ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 15 ในระดับ
น้อย คิดเปน็ รอ้ ยละ 5 และไมม่ ีผู้พงึ พอใจในระดบั น้อยท่สี ุด
โดยความพึงพอใจในการเลน่ เกมสร้างทักษะกระบวนการคิดโดยใช้โปรแกรมภาษาซี โดยรวมมีค่า
ความพงึ พอใจเฉลย่ี เทา่ กบั 4.41 ซ่งึ อยใู่ นเกณฑม์ าก

5.2 อภิปรายผล
การวิจยั และพัฒนาโปรแกรมเกม More or Less ด้วยภาษาซไี ดม้ กี ารนำหลักการทางคณติ ศาสตร์เก่ียวกับ

จำนวนเฉพาะมาใช้ประกอบเป็นข้อมูลในการเขียนโปรแกรมเกม More or Less ด้วยภาษาซี เม่อื ทำการเขียนโค้ด
ของโปรแกรมเกมเดาตัวเลขโดยโปรแกรมเกมจะบอกว่าตัวเลขทเ่ี ราพง่ึ เดาไปมีค่ามากหรือน้อยกว่าตวั เลขคำตอบท่ี
ถูกต้อง และไดม้ ีการใชโ้ ปรแกรมหาจำนวนเฉพาะเพอ่ื เปน็ คำใบ้ท่ีช่วยในการเดาตวั เลข

19

ปญั หาในการทดลอง
1.ในตอนแรกโปรแกรมไม่สามารถประมวลผลเมอ่ื ใส่เลข
2 โปรแกรม error compile ไมไ่ ด้เพราะลืมประกาศตัวแปรบางตัว

5.3 ขอ้ เสนอแนะ
จากการทำโครงงาน คณะผจู้ ัดทำมขี อ้ เสนอแนะดังต่อไปนี้
1. อาจมกี ารพฒั นาต่อโดยใชซ้ อฟตแ์ วรห์ รือฮาร์ดแวรต์ ัวอน่ื ๆมาใชเ้ พื่อเพ่มิ เพดานหลกั สูงสุดหรือ
ประมวลผลเลขที่มีหลักเยอะไดร้ วดเร็วขนึ้
2. นำไปต่อยอดทำเปน็ แอปพลิเคชัน่ เพ่ือความสะดวกในการใช้งาน และอาจเป็นสอ่ื การสอนได้

20

บรรณานุกรม
กลุม่ ส่งเสรมิ การเรียนการสอนและประเมินผล สำนกั วชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา. 2548

ความสำคัญของวชิ าคณติ ศาสตร์. [ออนไลน์]. แหล่งทมี่ า :
https://sites.google.com/site/mathforu277/ (สืบคน้ เมอ่ื วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563)
วิภารตั น์ เอ้ียงหลง. 2554. ความสำคัญของคอมพวิ เตอร.์ [ออนไลน์]. แหลง่ ที่มา :
https://sites.google.com/site/wiparat0001/ (สบื คน้ เมือ่ วันท่ี 18 กุมภาพนั ธ์ 2563 )
ภัทรวทิ สรรพคณุ . ม.ป.ป. การพฒั นาเกมคอมพิวเตอร์เพอ่ื สง่ เสริมการใช้ยาปฏชิ วี นะอยา่ งสมเหตุสมผล.
[ออนไลน์]. แหล่งทมี่ า : http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/ (สืบคน้ เมือ่ วนั ที่
18 กมุ ภาพันธ์ 2563 )
ความหมายของเกม. 2552. [ออนไลน์]. แหล่งทมี่ า : http://game-nukuppoh.blogspot.com
(สืบค้นเมือ่ วันท่ี 18 กมุ ภาพันธ์ 2563 )
ภาษาซี. 2558. [ออนไลน์]. แหลง่ ทม่ี า : http://marcuscode.com/lang/c
(สบื คน้ เมื่อวนั ที่ 18 กมุ ภาพันธ์ 2563 )
องค์ประกอบของเกม. 2554. [ออนไลน์]. แหลง่ ที่มา : https://sites.google.com/site/combypuifaii/
(สืบคน้ เมอ่ื วันที่ 18 กมุ ภาพันธ์ 2563 )


Click to View FlipBook Version