The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by autchara.cho, 2022-05-29 11:13:14

หน่วยที่ 5 การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไป

การบัญชีเบื้องต้น-05

หนว่ ยท่ี 5 การผา่ นรายการไปบญั ชีแยกประเภททั่วไป

สาระการเรียนรู้

1. การจดั หมวดหมแู่ ละการกาหนดเลขทบี่ ัญชี
2. ความหมาย ความสาคญั และประเภทของบญั ชแี ยกประเภท
3. รูปแบบบญั ชีแยกประเภท
4. การผ่านรายการไปบญั ชแี ยกประเภททัว่ ไป

การจดั หมวดหมู่และการกาหนดเลขทีบ่ ญั ชี

การจัดหมวดหม่บู ญั ชี การจัดหมวดหมู่บัญชี คือ การจัดบัญชีต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่เพ่ือความเป็น
ระเบียบเรียบร้อย และเพ่ือความสะดวกในการบันทึกบัญชีและการอ้างอิง การจัด
หมวดหม่บู ัญชจี ะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. บัญชีถาวร (Permanent Account) คือ บัญชีหลักของกิจการค้า ได้แก่
บัญชีประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและสว่ นของเจา้ ของ (ในที่นคี้ ือ บญั ชีทุน-เจ้าของกิจการ)

2. บัญชีช่ัวคราว ( Temporary Account ) คือ บัญชีท่ีมีผลกระทบกับบัญชี
ประเภท ส่วนของเจ้าของ แต่ไม่นิยมนาไปบันทึกบัญชีรวมกัน เพราะบัญชีทุน-เจ้าของ
กิจการน้ัน จะบันทึกเฉพาะ รายการลงทุนและถอนทุนเท่าน้ันเพื่อให้ทราบทุนที่แท้จริง
ของเจ้าของกิจการ บัญชีชั่วคราวจะถูกเปิด ขึ้นมาเพ่ือบันทึกรายการที่กระทบกับบัญชี
ทุน-เจา้ ของกจิ การ และเม่ือถงึ วนั สนิ้ งวดบัญชี บัญชเี หล่านนั้ จะถูกปิดไปและคงเหลือไว้
เฉพาะบัญชีถาวรเทา่ น้ัน บญั ชีชวั่ คราวประกอบดว้ ยบัญชตี า่ งๆ



การกาหนดเลขทบี่ ญั ชี

การกาหนดเลขที่บัญชีจะทาหลังจากที่จัดหมวดหมู่บัญชีแล้ว เพื่อใช้ในการเรียงลาดับบัญชีและการอ้างอิง
สาหรับการกาหนดเลขที่บัญชีนั้นจะมีหลายวิธี กิจการสามารถเลือกใช้ได้ ตามความเหมาะสมโดยพิจารณาจากลักษณะ
และขนาดของกิจการคา้ เชน่

- แบบตัวเลขหรือตัวอกั ษรเรียงตามลาดับ โดยกาหนดเป็นหมายเลข 1 2 3 หรือ A B C เรียงลาดับไปเรอ่ื ยๆ เชน่
1 บญั ชีเงินสด 2 บญั ชเี งินฝากธนาคาร 3 บญั ชลี กู หน้ีการค้า หรือ
A บญั ชีเงนิ สด B บัญชีเงนิ ฝากธนาคาร C บญั ชลี ูกหนี้การคา้

- แบบตวั เลขผสมตวั อกั ษร โดยกาหนดเป็นตัวเลขและตวั อักษรผสมกัน เชน่
- A – 101 บัญชเี งินสด B – 111 บัญชอี ุปกรณส์ านักงาน
- แบบเป็นจุดทศนยิ ม โดยกาหนดเลขจานวนเตม็ เป็นเลขแสดงหมวดและกาหนด จุดทศนิยมเรียงลาดับไปเร่ือยๆ
เชน่ 1.01 บัญชเี งินสด 1.02 บญั ชีเงินฝากธนาคาร 1.03 บญั ชีลกู หนี้
- แบบเป็นช่วงเป็นตอน โดยกาหนดหมายเลขเป็นช่วงโดยเลขตัวแรกแสดงหมวดและตัวถัดไปเป็นตัวเลข
เรียงลาดับไปเรื่อยๆ โดยกาหนดเป็นช่วงให้เพียงพอกับปริมาณบัญชีของ กิจการ เช่น 100-199 หมวดสินทรัพย์ 200-
299 หมวดหนส้ี นิ 300-399 หมวดสว่ นของเจ้าของ

ผังบญั ชี (Chart of Accounts)
ผังบัญชี หมายถึง ผังที่แสดงรายละเอียดเก่ียวกับหมวดหมู่บัญชีและเลขท่ีบัญชีของ

กิจการค้าอย่างมีหลักเกณฑ์ โดยจัดทาไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะทาการบันทึกบัญชี การจัดทาผัง
บญั ชีผู้จดั ทาอาจเปน็ ผู้วางระบบบญั ชขี องกจิ การ ผู้สอบบัญชีรบั อนญุ าต หรอื สมุหบ์ ญั ชี

ตวั อยา่ งผังบญั ชีของร้าน
จา๋ รบั ซกั รดี



ความหมาย ความสาคญั และประเภทของบญั ชแี ยกประเภท

ความหมายของบญั ชีแยกประเภท
บัญชีแยกประเภท (Ledger) หมายถึง บัญชีที่รวบรวมรายการค้าไว้เป็นหมวดหมู่ โดยแยกเป็น ประเภทๆ
ตามลักษณะของรายการค้าท่ีเกิดขึ้น และจัดเรียงลาดับผังบัญชีของกิจการ เช่น บัญชีเงินสดเป็นบัญชีที่รวบรวม
รายการคา้ ท่ีเกี่ยวกบั เงินสด บัญชลี ูกหนเ้ี ป็นบัญชีท่ีรวบรวม รายการค้าที่เกี่ยวกับลูกหน้ี การบันทึกรายการในแต่ละ
บัญชี จะบันทึกไม่ปะปนกันเพ่ือให้ตรงตามข้อเท็จจริง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะดวกในการค้นหาหรือ
แก้ไขข้อผดิ พลาด

ความสาคญั ของบญั ชีแยกประเภท

ทกุ ครั้งท่ีมีรายการคา้ เกดิ ขึ้น จะทาใหส้ นิ ทรัพย์ หนสี้ นิ และส่วนของเจา้ ของ ของกิจการเปลี่ยนแปลงซงึ่ มี
ผลทาให้ฐานะการเงินของกิจการเปล่ียนแปลง ถ้ากิจการจัดทางบแสดงฐานะการเงินขึ้นทุกคร้ังจะไม่สะดวกและ
ทาใหเ้ สยี เวลา ดังนั้นกิจการจะบันทกึ รายการคา้ ในสมดุ บนั ทกึ รายการข้นั ตน้ คอื สมุดรายวันท่ัวไปก่อน จากน้ันจึง
จาแนกรายการค้าออกเป็นหมวดหมู่ โดยการ ผ่านรายการจากสมุดรายวันทั่วไปไปบัญชีแยกประเภท ตามหลัก
บัญชีคู่หรือระบบบัญชีคู่ (Double-Entry System) ทาให้กิจการสามารถจัดทางบและรายงานต่างๆ ได้อย่าง
สะดวกและรวดเร็ว ดงั นัน้ ความสาคญั ของบัญชีแยกประเภทจงึ สรปุ ได้ดงั นี้

1. จาแนกรายการคา้ ออกเปน็ หมวดหมู่
2. ค้นหาและแกไ้ ขข้อมลู ไดง้ ่าย
3. ไมต่ ้องจดั ทางบแสดงฐานะการเงนิ ข้นึ ทกุ ครง้ั ท่ีมรี ายการคา้ เกดิ ขึน้
4. สะดวกในการหายอดคงเหลือและจดั ทางบและรายงานตา่ งๆ เชน่ งบทดลอง กระดาษทาการ เป็นต้น
5. ใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง

ประเภทของบัญชีแยกประเภท

บญั ชแี ยกประเภทแบ่งออกเปน็ 3 ประเภท ไดแ้ ก่
1. บัญชีประเภทสินทรัพย์ (Asset Accounts) เป็นบัญชีแยกประเภทที่อยู่ในหมวด สินทรัพย์

หรือหมวด 1 ทุกบัญชี เช่น บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีรถยนต์ บัญชีอาคาร บัญชีท่ีดิน รวมท้ัง
บัญชปี รับมูลค่า เชน่ บัญชคี า่ เส่อื มราคาสะสม-อาคาร เป็นต้น

2. บัญชีประเภทหน้ีสิน (Liability Accounts) เป็นบัญชีแยกประเภทท่ีอยู่ในหมวดหนี้สิน หรือ
หมวด 2 ทุกบัญชี เช่น บัญชีเจ้าหน้ี บัญชีเงินเบิกเกินบัญชี บัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บัญชีภาษีเงินได้ หัก ณ ที่
จ่าย บัญชเี จ้าหน้ีจานอง เป็นตน้

3. บัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity Accounts) เป็นบัญชีแยกประเภทที่อยูใ่ น
หมวดสว่ นของเจา้ ของหรือหมวด 3 คอื บญั ชที นุ -เจา้ ของกิจการ รวมทั้งบัญชีชั่วคราว (หมวด 3 หมวด 4 และ
หมวด 5) ได้แก่ บญั ชถี อนใช้ส่วนตวั /เงนิ ถอน-เจ้าของกจิ การ บญั ชีสรปุ ผลกาไรขาดทุน บัญชีรายได้ และบัญชี
ค่าใชจ้ ่ายต่างๆ

ความหมาย ความสาคัญและประเภทของบญั ชแี ยกประเภท

รูปแบบของบญั ชีแยกประเภทมี 2 รปู แบบ ได้แก่
1. บัญชีแยกประเภททว่ั ไป (General Ledger) ซ่งึ มรี ปู แบบดังน้ี



รปู แบบของบัญชีแยกประเภททว่ั ไป จะแบง่ เปน็ 2 ดา้ น ด้านซ้ายมอื เรียกวา่ ดา้ นเดบติ (Debit) ด้านขวามือเรียกว่าด้าน
เครดติ (Credit) มีลกั ษณะเหมอื นตัวอักษร T ในภาษาองั กฤษ ดงั น้ันจงึ นยิ มเรยี กวา่ แบบตัว T (T Account) และถอื เปน็ แบบ
มาตรฐาน (Standard Form) รปู แบบย่อๆ จะเป็นดงั นี้



การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททวั่ ไป

การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภทท่ัวไป (Posting) จะทาหลังจากที่บันทึกรายการค้า ในสมุด
บันทึกรายการข้ันต้นเรียบร้อยแล้ว ในท่ีน้ีสมุดรายวันข้ันต้นจะใช้เล่มเดียวคือสมุดรายวันท่ัวไป ข้ันตอนในการ
ผ่านรายการจากสมุดรายวนั ทว่ั ไปไปบญั ชีแยกประเภทท่ัวไป มี 3 ข้นั ตอน คอื

1. บันทึก วัน เดือน ปี และจานวนเงินให้ตรงกับในสมุดรายวันทั่วไป ถ้าในสมุดรายวันทั่วไป บันทึก
ทางด้านเดบิต ก็ให้บันทึกในบัญชีแยกประเภททั่วไปทางด้านเดบิต ถ้าในสมุดรายวันท่ัวไปบันทึกทางด้าน
เครดิต ก็ให้บันทึกในบัญชีแยกประเภทท่ัวไปทางด้านเครดิต และอธิบายรายการโดยใช้ช่ือบัญชีท่ีบันทึกคู่กัน
ดังตวั อย่าง



2. อา้ งอิงเลขหนา้ ของสมดุ รายวันทั่วไป ในช่องหนา้ บัญชี
3. อ้างอิงเลขท่ีบัญชีแยกประเภทท่ัวไปในช่องเลขที่บัญชีในสมุดรายวันทั่วไป การอ้างอิงดังกล่าวมี
วัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการท่ีหนึ่ง แสดงให้ทราบว่าได้ผ่านรายการจากสมุดรายวันทั่วไป ไปบัญชีแยก
ประเภททว่ั ไปเรียบร้อยแล้ว ประการท่ีสองแสดงให้ทราบวา่ ไดม้ ีการอา้ งอิงระหว่างสมุดรายวันทั่วไปและบัญชีแยก
ประเภทท่ัวไป (Cross Reference) เรียบร้อยแลว้














Click to View FlipBook Version