The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การออมและการลงทุน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by gift.sasiwimon07, 2022-07-06 16:15:59

การออมและการลงทุน

การออมและการลงทุน

การออมและการลงทุน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Saving &
Investment

ปัจจุบันการออมของคนไทยยังมีข้อจำกัด เนื่องจากรายได้ของคนไทยมี
จำกัดและขาดการวางแผนการใช้เงินอย่างรัดกุม ทำให้เกิดช่องว่างของการออม
ทำให้ต้องประสบกับปัญหาหนี้สินและขาดคุณภาพชีวิตที่ดี

ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการออมและนำเงินออมส่วนหนึ่งไปลงทุน
เพื่อให้เงินออมเพิ่มพูนขึ้น สามารถสร้างความมั่นคงในการดำเนินชีวิต

T 1) ความหมายของการออมและการลงทุนต่อระบบเศรษฐกิจ
o


2) การบริหารจัดการเงินออมและการลงทุนภาคครัวเรือน

p
i 3) ปัจจัยของการลงทุนและการออม

c 4) ปัญหาของการลงทุนและการออมในสังคมไทย

ความหมาย การออม

การออม คือ การเก็บสะสมเงินทีละเล็กทีละน้อยให้
พอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งการออมส่วนใหญ่มักจะอยู่
ในรูปของเงินฝากกับธนาคาร หรือบริษัทเงินทุน โดยได้รับ
"ดอกเบี้ย" เป็น ผลตอบแทน

ความสำคัญ 1. ช่วยให้ครัวเรือนมีความมั่นคง
2. ช่วยให้ครัวเรือนมีรายได้มากขึ้น
3. ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น
4. ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
5. ช่วยลดปัญหาการพึ่งพาต่างประเทศ

การบริหารจัดการ 1. การกำหนดเป้าหมายของการออมอย่างชัดเจน
เงินออมของ 2. การจัดทำรายรับและรายจ่ายในแต่ละเดือน
ภาคครัวเรือน 3. การนำเงินออมแต่ละเดือนไปทำให้เกิดประโยชน์
เพิ่มขึ้น

หลักเกณฑ์ที่ควรพิจารณา

การสะสมเงินออมของเราปลอดภัยหรือไม่
เราสามารถได้ผลตอบแทนจากการออมในอัตราที่มากพอหรือไม่
เราสามารถนำเงินออมที่สะสมได้มาใช้ในยามที่ต้องการได้หรือไม่
เราจะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรจากการออมบ้าง

การบริหารจัดการ Ex.
เงินออมของ
ภาคครัวเรือน

ปัจจัยของ 1. รายสุทธิส่วนบุคคล
การออมเงิน 2. ผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับจากการออม
3. ค่าของเงิน
4. การใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นตามลักษณะนิสัยส่วนบุคคล
5. การคะเนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในอนาคต
6. เทคโนโลยีของการให้บริการทางการเงิน
7. ระบบการให้สวัสดิการหลังการเกษียณอายุ

ปัญหาการออม 1. ประชากรไทยส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำ
ในสังคมไทย 2. ประชากรขาดความรู้ในเรื่องการออมและการลงทุน
3. ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
รัฐบาลมักดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
4. ประเทศไทยยังประสบปัญหาช่องว่างของการออม

ปัญหาการออม
ในสังคมไทย

ความหมาย การลงทุน

การลงทุน คือ การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผล
ตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล
หรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะมี ความเสี่ยง ที่สูงขึ้น

ความสำคัญ 1. ทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทน
2. ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ขยายกิจการและดำเนินการผลิตได้
มากขึ้น
3. ช่วยให้รัฐบาลมีเงินทุนไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

การบริหารจัดการ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการลงทุนภาคครัวเรือน
การลงทุน 2. การจัดทำแนวทางการลงทุนของครัวเรือน
3. การวิเคราะห์และเลือกหลักทรัพย์ลงทุน
ในภาคครัวเรือน 4. การประเมินผลการลงทุนของครัวเรือน

หลักเกณฑ์ที่ควรคำนึงในการลงทุน

1. มีความปลอดภัยของเงินลงทุนหรือไม่
2. มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ มีความรู้ในการลงทุนหรือไม่
3. มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสินทรัพย์หรือไม่
4. เสถียรของรายได้เป็นอย่างไร
5. มีความคล่องตัวในการซื้อขายมากหรือน้อยเพียงใด
6. ภาษีที่ต้องชำระ
7. การได้รับผลประโยชน์ด้านภาษีอันเนื่องมาจากการลงทุน
8. ควรมีการลงทุนหลายประเภทเพื่อลดความเสี่ยง

ปัจจัยที่เป็น 1. อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง
ตัวกำหนด 2. ค่าของเงิน
การลงทุน 3. จำนวนทรัพย์สินที่จำหน่ายในตลาด
4. การคาดคะเนเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต
5. อายุของผู้ลงทุน สภาพครอบครัว

ปัจจัยที่เป็น
ตัวกำหนด
การลงทุน

ปัจจัยที่เป็น
ตัวกำหนด
การลงทุน

ปัจจัยที่เป็น
ตัวกำหนด
การลงทุน

ปัญหาการลงทุน 1. ประชากรไทยมีรายได้ต่ำ
ในประเทศไทย 2. ประชากรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในด้านการลงทุน
3. ความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ
4. การเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้น
ในบางกรณีก็เป็นไปเพื่อเก็งกำไร
5. ภาคชนบทยังมีการลงทุนน้อย

ปัญหาการลงทุน
ในประเทศไทย

ปัญหาการลงทุน
ในประเทศไทย

ความแตกต่างระหว่างการออมและการลงทุน

บบททสสรรุุปป

การออมกับการลงทุนมีความสัมพันธ์กัน เพราะการออมเงิน
เพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้เงินเหล่านั้นเพิ่มมูลค่า หรือ การฝาก
เงิน กับธนาคารอย่างเดียวอาจไม่ได้ผลตอบแทนที่มากพอ

ดังนั้น การนำเงินออมไปลงทุนจะเป็นการสร้างผลตอบแทน
ให้เพิ่มขึ้นได้ แต่ในการลงทุนจะต้องมีการศึกษาข้อมูลและความ
เสี่ยงในการลงทุนให้ดีก่อน เพื่อป้องกันการสูญเสียเงินออมและ
ทำให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เพื่อเก็บเงินเหล่านั้นไว้เป็นเงินออม
เพื่ออนาคตต่อไป

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ธนาคารแห่งป
ระเทศไทย. (2565). อัตราดอกเบี้ย
เงินฝาก. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565.

สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/Pages/default.aspx.


Click to View FlipBook Version