คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เเพทย์ศาสตร์
สงเคราะห์
เรื่อง ตำราสมุนไพรไทย
สมุนไพรไทย
เสนอ
อาจารย์ วรฉัน พึ่งม่วงศุภสัน
โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
ชื่อสมุนไพร : ทับทิม
ข้อมูล/ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum L. var. granatum.
ชื่อวงศ์ : PUNICACEAE.
ชื่อสามัญ : Pomegranate.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือ มะเก๊าะ
เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน หมากจัง
น่าน พิลาขาว, มะก่อง
แก้ว
ภาคกลาง ทับทิม
หนอง คายพิลา
จีน เซียะลิ้ว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบออกตรง
ข้ามเป็นคู่ ลักษณะใบรูปยาวรีหรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ โคนใบ
มน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ และเป็นคลื่นบางช่วง ปลาย
ใบเว้าบุ๋ม แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบเนียนค่อนข้างบาง ใบ
อ่อนสีแดง
สรรพคุณ : แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ด
ขัดยอก
บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง แก้ท้องอืด
ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะแก้จุกเสียด แก้เสมหะ
เป็นพิษขับน้ำย่อย เจริญอาหารเป็นยาบำรุงกำลังแก้ฝี แก้เบื่อ
อาหาร ช่วยเจริญอาหาร ผอมเหลือง บำรุงธาตุ แก้ลม
ชื่อสมุนไพร : อินทนิลน้ำ
ข้อมูล/ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE.
ชื่อสามัญ : Queen's crape myrtle , Pride of India.
ชื่อท้องถิ่น : กะเหรี่ยง - กาญจนบุรี ฉ่วงมูฉ่องพนา
กรุงเทพฯ ตะแบกดำ
มลายู-ยะลา,นราธิวาส บางอบะซา
มลายู-ปัตตานี บาเย บาเอ
ภาคกลาง, ใต้ อินทนิล
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่ไว สูง ๕-๒๐ เมตร ลำต้น ต้นเล็กมัก
คดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะเปลา ตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน
มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก
ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้น
เล็กน้อยเท่านั้น
สรรพคุณ : ใบ - รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเส้นเลือด
ขับปัสสาวะ
ชื่อสมุนไพร : กระเจี๊ยบแดง
ข้อมูล/ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อวงศ์ : MALVACEAE.
ชื่อสามัญ : Jamaica sorrel, Roselle.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือ ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มพอเหมาะ
ตาก ส้มตะเลงเครง
เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน ส้มปู
ภาคกลาง กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบแดง,
กระเจี๊ยบเปรี้ยว
ภาคอีสาน ส้มพอดี
ระนอง ใบส้มม่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลักษณะลำต้นเป็นทรง
พุ่ม อายุปีเดียว สูงประมาณ 1 – 2 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ
1 - 2 ซม. แตกกิ่งก้านมากมายตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ
ต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ลำต้นและกิ่งก้านสีแดงเข้มหรือสีแดง
อมม่วง เปลือกลำต้นบางเรียบ สามารถลอกเป็นเส้นได้
สรรพคุณ : ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา รสเปรี้ยว ขับเสมหะ ช่วย
ย่อยอาหาร ทำให้โลหิตไหลเวียนดี ขับปัสสาวะ ขับเมือกในลำไส้
ลงสู่ทวารหนัก แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยาบำรุงธาตุ ยาระบาย ยา
บำรุงธาตุ ยาระบาย
ชื่อสมุนไพร : กระเทียม
ข้อมูล/ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
ชื่อวงศ์ : Languas galanga (Linn.) Stuntz.
ชื่อสามัญ : ALLIACEAE
ชื่อท้องถิ่น: อุดรธานี กระเทียมขาว, หอมขาว
ภาคเหนือ หอมเทียม
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ปะเซ้วา
ภาคใต้ เทียม, หัวเทียม
ทั่วไป กระเทียม, กระเทียมจีน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ
30 – 50 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน แต่ละหัวประกอบด้วยกลีบ
หลายกลีบเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ แต่ละกลีบจะมีเปลือกหรือกาบสี
ขาวหรือม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 2 - 4 ชั้นโดยรอบ ลอกออกได้และ
สามารถแยกออกจากหัวเป็นอิสระได้ บางพันธุ์แต่ละหัวมีเพียง
กลีบเดียว เรียกว่า กระเทียมโทน
สรรพคุณ : รสร้อนฉุน มีน้ำมันหอมระเหยใช้เป็นยาขับเหงื่อ ขับ
ปัสสาวะและขับเสมหะ น้ำกระเทียมผสมน้ำ 4 เท่า ใช้ใส่แผลที่เป็น
หนอง น้ำคั้นจากกระเทียมหยอดใส่หูแก้หูอื้อ หูตึง ทาแผลแก้
กลากเกลื้อน ขับลมในลำไส้ แก้ท้องขึ้น แน่นท้องจุกเสียด ท้อง
เฟ้อ ขับพยาธิในลำไส้ แก้หืด อัมพาต โขลกสระผมป้องกันผม
หงอก ทาถูนวดแก้อาการชักกระตุกของเด็ก โขลกพอกหัวเหน่า
แก้ขัดเบา โขลกกับน้ำส้มกวาดคอแก้อักเสบเสียงแหบแห้ง แก้
อาการไขมันอุดตันในเส้นเลือด แก้ความดันโลหิตสูง ใช้พอกตรง
ที่ถูกแมลง ตะขาบ และแมลงป่องต่อย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บ
อ้างอิง
จังหวัดพิษณุโลก. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/n1M0X.
วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕
จังหวัดพิษณุโลก. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/O7dxz.
วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕
จังหวัดพิษณุโลก. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/h1Eog.
วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕
จังหวัดพิษณุโลก. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/YT8vo.
วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕
ผู้จัดทำ
นาย ธนภัทร แก้วกลิ่น เลขที่ ๑๘ ชั้น ม๕.๑
นาย นนทกร สุขประเสริฐศักดิ์ เลขที่ ๒๒ ชั้น ม๕.๑
นาย เหมกร ผิวอ่อน เลขที่ ๒๙ ชั้น ม๕.๑
นาย เอกยุทธ สานุ่ม เลขที่ ๓๓ ชั้น ม๕.๑