เอกสารประกอบการให้ข้อมูลการผ่าตัด/การทำหัตถการผู้ป่วย กลุ่มงานอายุรกรรม หมายเลขเอกสาร MED 039 งานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด โรค/การผ่าตัด/การทำหัตถการ การตรวจหลอดเลือดระบบประสาท ( Cerebral Angiogram ) การตรวจหลอดเลือดระบบประสาท ( Cerebral Angiogram ) เป็นการตรวจพิเศษทางรังสีอย่างหนึ่ง เพื่อวินิจฉัยหลอดเลือดที่สมอง เป็นหัตถการที่ทำโดยใส่สายสวนซึ่ง มีลักษณะเป็นสายสวนขนาดเล็กเข้าไปในหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบหรือข้อมือ ผ่านเข้าไปในหลอดเลือดที่ สมองจากนั้นทำการฉีดสารทึบรังสีพร้อมกับใช้เอกซเรย์บันทึกภาพของหลอดเลือดสมองแต่ละเส้นไว้ เพื่อดูพยาธิ สภาพ รอยตีบตัน โป่งพองหรือภาวะอื่นๆของหลอดเลือดสมองในตำแหน่งต่างๆ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค และเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป ข้อบ่งชี้ในการตรวจ แพทย์จะพิจารณาทำในรายที่มีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น มีอาการใบหน้า เบี้ยว ปากเบี้ยว แขนขาชาหรืออ่อนแรงอย่างเฉียบพลัน หรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆที่สงสัยความผิดปกติ จากหลอดเลือดสมอง ขั้นตอนการฉีดสีหลอดเลือดสมอง 1. จัดให้ผู้ป่วยนอนราบบนเตียงตรวจ ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณข้อมือหรือขาหนีบ 2. ปูผ้าสะอาดปราศจากเชื้อ เปิดเฉพาะช่องบริเวณที่จะใส่สายสวนไว้ 3. แพทย์จะฉีดยาชาบริเวณที่จะใส่สายสวนใน(บางรายอาจต้องดมยาสลบ) และใช้เข็มขนาดเล็กเจาะ บริเวณเส้นเลือดและทำการสอดสายสวนขนาดเล็กเข้าสู่หลอดเลือด จนผ่านไปถึงหลอดเลือดสมอง 4. แพทย์ฉีดสารทึบรังสีผ่านสายสวน และเก็บบันทึกภาพของหลอดเลือดสมอง 5. เมื่อเสร็จขั้นตอนการตรวจ กรณีใส่สายสวนทางขาหนีบแพทย์จะถอดสายสวนออกจากหลอดเลือด และ ทำการกดห้ามเลือดบริเวณที่ใส่สายสวนจนเลือดหยุด MED 039 ภาพแสดงลักษณะเส้นเลือดสมองตีบ ตันหรือแตก
ข้อดีของการตรวจ ข้อดีของการวินิจฉัยด้วยวิธีนี้จะสามารถทำการตรวจวินิจฉัยในหลอดเลือดสมองได้อย่างชัดเจนที่สุด (Gold standard) เมื่อเทียบกับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นๆ เช่นการตรวจด้วยเครื่องซีทีสแกน (CT Scan) หรือตรวจ ด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI) เป็นต้น ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวอาจไม่ชัดเจนจากภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็ม อาร์ไอ ข้อเสียของการตรวจ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งขณะทำหัตถการ และหลังทำหัตถการ โดยโรงพยาบาลมีระบบการดูแล ความพร้อมผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ ถึงกระนั้นก็ยังมีโอกาสเกิดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่อาจ ป้องกันได้ เช่น ภาวะแทรกซ้อนขั้นรุนแรง พบได้น้อยแต่สามารถพบในผู้ป่วยเกิดขึ้นมากน้อยไม่เท่ากัน ได้แก่ 1. ภาวะแทรกซ้อนจากการแพ้สารทึบรังสีรุนแรงและภาวะไตวายจากสารทึบรังสีพบน้อยกว่า 3% 2. ภาวะแทรกซ้อนจากการแพ้ยาชาเฉพาะที่หรือจากการให้ยาระงับความรู้สึกโดยพบภาวะนี้น้อย กว่า 0.01% 3. อาจเกิดการอุดตันของหลอดเลือดสมองทำให้สมองขาดเลือด ซึ่งอาการผิดปกติขึ้นอยู่กับความ รุนแรงและความสำคัญของหลอดเลือดนั้นๆ โดยอาจจะมีอาการตั้งแต่ไม่มีอาการ มองเห็นภาพซ้อน ตา มองเห็น เกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ซึ่งสามารถพบได้ 1% และพบภาวะแทรกซ้อนถึงรุนแรงถึง เสียชีวิตสามารถพบได้ 0.0001 % 4. อาจเกิดภาวะหลอดเลือดแดงและดำเชื่อมต่อกันผิดปกติบริเวณที่เจาะเลือดหรือหลอดเลือดแดง บาดเจ็บและเกิดหลอดเลือดโป่งพองประมาณ 0.1% ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งไม่รุนแรง ได้แก่ เลือดออกจากบริเวณแผลที่ทำ แผลบวมอักเสบเขียวช้ำ หรือ คลื่นไส้อาเจียน ผื่นลมพิษ จากการแพ้สารทึบแสง สภาพผู้ป่วยหลังการฉีดสีหลอดเลือดสมอง 1. หลังทำหัตถการฉีดสีหลอดเลือดสมองเสร็จ กรณีใส่สายสวนหลอดเลือดบริเวณขาหนีบพยาบาลจะนำท่อ นำสายสวนออกให้ที่ห้องพักฟื้นและกดหยุดห้ามเลือดประมาณ 10-15 นาที ปิดทับด้วยก๊อซไว้ ผู้ป่วยต้องนอน ราบบนเตียงห้ามงอขาข้างที่แทงหลอดเลือดเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง หลังจากนั้นสามารถงอขา ลุกนั่ง หรือ เดินในระยะใกล้ ๆ ได้ 2. หลังการฉีดสีหลอดเลือดสมองเสร็จ ผู้ป่วยจะต้องพักฟื้นที่ห้องพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เจ้าหน้าที่จะคอยดูแลตลอดเวลาและจะมาถามอาการและตรวจตำแหน่งที่ใส่สายสวนเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่า 2/ 2
ไม่มีเลือดออกก่อนจะทำการย้ายผู้ป่วยกลับห้องพักผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยดมยาสลบ ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลในหอ ผู้ป่วยจนกว่าอาการจะปลอดภัย จึงย้ายกลับหอผู้ป่วยสามัญ 3. ภายหลังการตรวจถ้าไม่มีอาการผิดปกติสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ และควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อขับสารทึบรังสีออกทางปัสสาวะ ถ้าไม่มีข้อห้ามหรือหลังดมยาสลบ โดยต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ 4. แพทย์จะตรวจเช็คแผลและตรวจเช็คอาการผิดปกติให้อีกครั้งในเช้าวันรุ่งขึ้น และอนุญาตให้กลับบ้าน ได้ถ้าไม่มีความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ระยะเวลาการนอนรักษาในโรงพยาบาลขึ้นกับสภาพผู้ป่วยและขั้นตอนการรักษาเพิ่มเติม 2/ 3