The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by E-BOOK MCUKK, 2021-03-16 10:11:22

สภาวะการศึกษาไทย 2561-2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

สภาวะการศกึ ษาไทย 2561/2562
การปฏิรปู การศกึ ษาในยคุ ดจิ ทิ ลั

สำ� นกั งานเลขาธิการสภาการศกึ ษา

379.593 สำ� นกั งานเลขาธิการสภาการศกึ ษา
ส 691 ส สภาวะการศกึ ษาไทย 2561/2562

การปฏิรปู การศึกษาในยคุ ดิจิทลั .--
กรงุ เทพฯ : ส�ำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา 2562.
132 หน้า.
1. การปฏิรูปการศึกษา. I. ช่อื เร่อื ง.
379.593
ISBN 978-616-270-239-6

สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562
การปฏริ ปู การศกึ ษาในยุคดจิ ิทัล

ส่งิ พมิ พ์ สกศ. อนั ดบั ที่ 7/2563
พิมพค์ รัง้ ท่ี 1 มกราคม 2563
จ�ำนวน 1,000 เล่ม
ผูจ้ ัดพมิ พเ์ ผยแพร่ สำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา
สำ� นกั ประเมินผลการจัดการศึกษา
99/20 ถนนสุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศพั ท์ 0-2668-7123
Website: http://www.onec.go.th
พิมพท์ ี่ บริษัท ภาพพิมพ์ จำ� กดั
45/14 หมู่ 4 ถนนบางกรวย-จงถนอม
ตำ� บลบางขนนุ อำ� เภอบางกรวย นนทบรุ ี 11130
โทรศพั ท์ 0-2879-9154 โทรสาร 0-2879-9153

คำ� น�ำ

ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้จัดท�ำรายงานสภาวะการศึกษาไทยขึ้นเป็นประจ�ำทุกปี
โดยเร่ิมต้นต้ังแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และรายงานสภาวะการศึกษาไทย
ในช่วงเวลานั้น รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาการศึกษาท่ีสอดคล้องกับบริบทและ
สภาวการณ์ในแต่ละช่วงเวลาที่จัดท�ำรายงานอันจะเป็นประโยชน์ส�ำหรับผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหาร
สถานศึกษา ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาใช้ในการวางแผนนโยบาย บริหารหน่วยงาน
และจัดการเรียนการสอน และยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชนท่ัวไปที่จะได้ศึกษา ท�ำความเข้าใจสภาวะ
การศกึ ษาของประเทศไทยในปจั จบุ นั
ส�ำหรับรายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2561-2562 จัดท�ำข้ึนในหัวข้อ “การปฏิรูปการศึกษา
ในยุคดิจิทัล” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์สภาวการณ์และแนวโน้มการจัดการศึกษา
ให้สนองความต้องการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
สามารถพยากรณ์ทิศทางและแนวโน้มการจัดการศึกษาของประเทศในอนาคต รวมท้ังการติดตาม
ความเคล่ือนไหวการศึกษา และสมรรถนะด้านการศึกษาของประเทศไทยเปรียบเทียบกับนานาชาติ
เป็นประจ�ำต่อเน่ืองทุกปี เป็นข้อมูลสะท้อนให้เห็นสภาวการณ์ทางการศึกษาไทย และสภาพ
การพฒั นาการศกึ ษาของประเทศ รวมทั้งสมรรถนะความสามารถในการแข่งขนั ดา้ นการศึกษาในรอบปี
ท่ีผ่านมา เพ่ือสะท้อนให้เห็นถึงสมรรถนะด้านการศึกษาของประเทศไทยในเวทีโลก และยกระดับ
ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศให้สูงขึ้น โดยในรายงานฉบับนี้ได้ท�ำการสรุป
วิเคราะห์ ประเมินผลการด�ำเนินการจัดการศึกษาในรอบ 1-2 ปีท่ีผ่านมา ความสามารถในการแข่งขัน
และสมรรถนะทางการศึกษาของไทยในเชิงเปรียบเทียบบทเรียนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศอื่น
แนวทางในการปฏิรูปการศึกษาในด้านครู ผู้บริหาร หลักสูตร วิธีการสอน และวิธีวัดผล โครงสร้าง
การบรหิ ารจดั การแนวทางการปฏริ ปู การศกึ ษาในยคุ เทคโนโลยดี จิ ทิ ลั การปฏริ ปู ทางการเมอื งและสงั คม
เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา เป้าหมายการศึกษาเพื่อชีวิตอยู่ดีมีสุข และได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น
8 ส่วน ประกอบด้วย 1) สภาวะเศรษฐกิจสังคมของไทย ปี 2561/2562 2) สภาวะการศึกษาไทย
3) ความสามารถในการแขง่ ขันและสมรรถนะการศึกษาของไทย 4) ปญั หาหลกั และแนวทางการปฏริ ปู
การศึกษาไทย 5) บทเรียนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศอื่น 6) ความรู้/ทักษะส�ำหรับโลกยุคดิจิทัล
7) การปฏิรูปเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเพ่ือสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล และ 8) สรุป/
ภาพรวมการปฏิรปู การศกึ ษาไทยทีค่ วรเป็น
ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์วิทยากร เชียงกูล ที่ให้เกียรติ
รับเป็นผู้จัดท�ำรายงานฉบับนี้ และขอขอบพระคุณผู้ให้ข้อมูล และข้อเสนอแนะในการจัดท�ำรายงาน
ฉบับน้ีทุกท่าน หวังเป็นอย่างย่ิงว่ารายงานฉบับน้ีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และเป็นจุดเร่ิมต้นให้ผู้อ่าน
ได้เห็นถึงความส�ำคัญของการศึกษา และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
ตอ่ ไปในอนาคต

(ดร.สุภทั ร จ�ำปาทอง)
เลขาธิการสภาการศกึ ษา

บทสรุปสำ� หรับผบู้ ริหาร

รายงานฉบบั นเี้ ปน็ การสรปุ วเิ คราะห์ ประเมนิ ผลการดำ� เนนิ การจดั การศกึ ษาในรอบปี 2561 และ
คร่ึงแรกของปี 2562 ประกอบไปดว้ ย สภาวะเศรษฐกจิ สังคมของไทย ความสามารถในการแข่งขันและ
สมรรถนะทางการศึกษาของไทย ปัญหาหลักและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยด้านการปฏิรูปครู
ผ้บู ริหาร การปฏิรูปหลกั สตู ร การสอน การวดั ผล และโครงสร้างการบรหิ ารจัดการ บทเรียนการปฏิรปู
การศกึ ษาของประเทศอน่ื การจดั การศกึ ษาสำ� หรบั โลกยคุ เทคโนโลยดี จิ ทิ ลั การปฏริ ปู ดา้ นการเมอื งและ
สงั คมเพ่ือสนบั สนนุ การปฏริ ปู การศึกษา สรปุ /ภาพรวมการปฏิรปู การศกึ ษาไทยที่ควรเป็น
1. สภาวะเศรษฐกจิ สงั คมของไทย ปี 2561/2562
สภาวะการเมือง อยู่ในช่วงการปฏิรูปประเทศตามที่ก�ำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มีการจัดท�ำแผน
แมบ่ ทตามยทุ ธศาสตรช์ าติ แผนปฏริ ปู ประเทศดา้ นตา่ ง ๆ ซง่ึ เปน็ กรอบแนวทางใหห้ นว่ ยงานทเ่ี กยี่ วขอ้ ง
ใชเ้ ป็นทิศทางในการกำ� หนดนโยบายการท�ำงานของหน่วยงาน
สภาวะเศรษฐกิจ ในรอบปี 2561 เตบิ โตปานกลาง รฐั บาลกระตนุ้ การลงทนุ และการใชจ้ ่ายผา่ น
โครงการต่าง ๆ มาก เศรษฐกิจโลกมีปัญหาการชะลอตัว ความขัดแย้งในประเทศต่าง ๆ ในประเทศ
ไดร้ ับผลกระทบจากปญั หาการเมืองและการบริหารในประเทศ ปญั หาการกระจายทรัพยส์ ินและรายได้
ทไ่ี ม่เปน็ ธรรม ค่าครองชีพเพิม่ สูง หน้สี ินครัวเรือนเพมิ่ สูงกวา่ รายได้ ปัญหาภัยแล้ง นำ้� ทว่ ม ราคาพืชผล
เกษตรตกต�ำ่ ฯลฯ
สภาวะสงั คม มปี ญั หาเดก็ และเยาวชน อาชญากรรม ยาเสพตดิ สาธารณสขุ สภาพแวดลอ้ ม ฯลฯ
อันเป็นผลมาจากโครงสร้าง และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแนวทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ท�ำให้เมือง
ขยายตัว สังคมเน้นการแข่งขันหาเงินเพ่ือการบริโภค และการที่ภาครัฐ (ทุกรัฐบาลในรอบหลายสิบปี
ที่ผ่านมา) เน้นการเร่งรัดการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมเพื่อความ
เปน็ ธรรมและเพื่อคุณภาพชีวติ ของคนส่วนใหญ่
2. สภาวะการศึกษาไทย งบประมาณการศึกษาของภาครัฐยังคงอยู่ในระดับสูงท้ังใน
เชิงปริมาณ และสัดส่วนของงบประมาณและผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ขณะที่จ�ำนวนนักเรียน
นกั ศกึ ษา ผสู้ ำ� เรจ็ การศกึ ษาเรมิ่ ลดลงบา้ งในบางระดบั เชน่ อาชวี ศกึ ษา เปน็ ตน้ เนอ่ื งจากประชากรวยั เรยี น
ลดลง การจดั การศกึ ษาคงเป็นไปตามแบบแผนเดิม ๆ เช่น จัดโดยเฉพาะกระทรวงศกึ ษาธกิ ารมากกวา่
องค์การปกครองท้องถิ่นและภาคเอกชน นักเรียนสายสามัญมีสัดส่วนมากกว่าสายอาชีวศึกษาในระดับ
65:35 สัดส่วนของเด็กวัยเรียนที่ไม่ได้เรียนและ/หรือออกกลางคัน ก่อนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
คงมสี ดั สว่ นสงู ปกี ารศกึ ษาเฉลย่ี ของประชากรและระดบั การศกึ ษาของแรงงานไทยยงั คงอยใู่ นเกณฑต์ ำ่�
แรงงานปี 2561 มกี ารศกึ ษาระดบั ประถมและตำ่� กวา่ รอ้ ยละ 45 ของแรงงานทง้ั หมด ผลสมั ฤทธ์ิ
ทางการศึกษาของนักเรียนจากการประเมินผลทั้งภายในประเทศ (O-NET) และเปรียบเทียบระหว่าง
ต่างประเทศ (PISA) ยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่�ำ ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการศึกษาระหว่างสถาบันการศึกษา

ในกรงุ เทพฯ และเมอื งใหญท่ มี่ เี ศรษฐกจิ ดี และจงั หวดั อนื่ ทจ่ี นกวา่ ยงั คงแตกตา่ งกนั สงู การแกป้ ญั หาของ
รฐั บาลท�ำได้จำ� กัด มีลกั ษณะตามแกป้ ญั หาเป็นเร่ือง ๆ แก้ไดเ้ ฉพาะบางประเด็น บางจุด แตไ่ มไ่ ด้มกี าร
บรู ณาการปฏริ ูปการศกึ ษาท้งั ประเทศทงั้ ระบบโครงสรา้ งอยา่ งเป็นองค์รวม
3. ความสามารถในการแข่งขันและสมรรถนะการศึกษาของไทย ไทยมีประชากรมากเป็น
อันดับ 21 และพื้นที่การเกษตรใหญ่เป็นที่ 18 ของโลก แต่พัฒนาคุณภาพ/ประสิทธิภาพประชากร
และพัฒนาเศรษฐกิจสังคมได้ในเกณฑ์ต่�ำ รายได้ต่อหัวประชากรค่อนข้างต่�ำ ถูกจัดเป็นประเทศรายได้
ปานกลาง ดัชนีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจสังคม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ดัชนีการพัฒนา
การศึกษาซ่ึงรวมถึงผลการทดสอบเปรียบเทียบของไทยเทียบนักเรียนนานาชาติอยู่ในเกณฑ์ต่�ำกว่า
หลายประเทศในเอเชยี ตะวันออกและเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ด้วย แมด้ ัชนคี วามสามารถในการแข่งขนั
ทางเศรษฐกิจของไทยจะได้คะแนนและล�ำดับปานกลางค่อนข้างดี เพราะรัฐบาลไทยเน้นการพัฒนา
โครงสร้างพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจและการเปิดเสรีให้ต่างชาติมาลงทุน แต่ดัชนีมีการศึกษาและพัฒนา
มนษุ ยท์ ต่ี ำ่� จะมผี ลทำ� ใหไ้ ทยพฒั นาในระยะยาวไดย้ าก เมอ่ื พจิ ารณาดชั นเี ปรยี บเทยี บและประสบการณ์
จากประเทศอื่น ๆ การปฏิรูปการศึกษาและมนุษย์ให้มีคุณภาพและรับผิดชอบเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้
ประเทศเหลา่ น้ีพฒั นาทางเศรษฐกิจสังคมไดผ้ ลเพิ่มขึ้น
4. ปญั หาหลกั และแนวทางการปฏริ ปู การศกึ ษาไทย ปญั หาหลกั มี 2 ดา้ นใหญ่ ๆ คอื 1) ปญั หา
เชงิ ปรมิ าณ ยงั ใหบ้ รกิ ารแกเ่ ดก็ เยาวชน ประชาชนทว่ั ประเทศไดอ้ ยา่ งไมท่ ว่ั ถงึ มคี นทไี่ มไ่ ดเ้ รยี นและออก
กลางคนั กอ่ นจบชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนปลายสงู เยาวชนทไ่ี มไ่ ดเ้ รยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนปลายมรี าวรอ้ ยละ 30
ของประชากรวยั เดยี วกนั 2) ปญั หาเชงิ คณุ ภาพ โรงเรยี นสว่ นใหญย่ งั สอนแบบบรรยายเนอื้ หาใหน้ กั เรยี น
ท่องจ�ำไปสอบแบบปรนัย นักเรียนยังคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้น้อย และมีความแตกต่างด้านคุณภาพ
อย่างมาก (วัดจากคะแนนการสอบระดับชาติและนานาชาติ) ระหว่างโรงเรียนท่ีมีช่ือเสียงในเมืองใหญ่
กว่า 300 แหง่ กับโรงเรยี นรอบนอกราว 3 หมน่ื แห่ง
แนวทางการปฏิรูปที่ส�ำคัญคือปฏิรูปผู้บริหาร ครูอาจารย์ ปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอน
การวดั ผล และปฏริ ปู โครงสรา้ งการบรหิ ารจดั การใหม้ คี ณุ ภาพ/ประสทิ ธภิ าพเพมิ่ ขนึ้ ปฏริ ปู การคดั เลอื ก
คนทต่ี อ้ งการเรยี นครอู ยา่ งเลอื กเฟน้ และปฏริ ปู หลกั สตู รการสอน การวดั ผล นกั ศกึ ษาครู และครตู อ้ งรกั
การอ่าน ใฝ่รู้ เรียนรู้ด้วยตนเอง คิดวิเคราะห์เป็น จึงจะสามารถไปสอนนักเรียนในแนวใหม่ได้ ส�ำหรับ
ครูเก่าต้องประเมินผลใหม่ เช่น จัดให้ครูระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาทดสอบวิชาพ้ืนฐาน จิตวิทยา
การเรียน ความรู้ทกั ษะการสอน แบบคิดวิเคราะหท์ �ำนองขอ้ สอบ PISA ของ OECD ครูท่ีได้คะแนนต่ำ� -
ปานกลาง ควรจดั ฝกึ อบรมใหมแ่ บบเนน้ ภาคปฏบิ ตั แิ ละตดิ ตามผลการฝกึ อบรมอยา่ งจรงิ จงั จดั ฝกึ อบรมใหม่
สำ� หรบั ครทู กุ คน ใหค้ รปู รบั เปลย่ี นพฤตกิ รรมเปน็ คนทร่ี กั การอา่ น รกั การเรยี นรู้ คดิ วเิ คราะหเ์ ปน็ สามารถ
ทำ� งานและสอนแบบใหมไ่ ด้ ขณะเดยี วกนั กค็ วรเพมิ่ ผลตอบแทนและการใหแ้ รงจงู ใจครคู วบคไู่ ปกบั การ

จัดฝึกอบรมเพิ่มเติม มีการช่วยเหลือพัฒนาครูแบบสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่มีคุณภาพ มีการติดตาม
ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่จัดการอบรมแบบบรรยายเปลี่ยนวิธีการประเมินผลของการท�ำงาน
ของครูและผู้บริหารโดยเน้นผลสัมฤทธ์ิของผู้เรียนส่วนใหญ่ มากกว่าการประกวดแข่งขันระดับชาติ
โดยควรใชว้ ธิ ปี ระเมนิ วา่ ครสู ามารถทำ� ใหน้ กั เรยี นของตนทง้ั โรงเรยี นหรอื ทง้ั ชนั้ สอบไดค้ ะแนนเฉลยี่ สงู ขน้ึ
หรือท�ำให้นักเรียนสอบผ่านเกณฑ์ขั้นต�่ำเป็นสัดส่วนสูงข้ึนกว่าปีก่อนหรือไม่ อย่างไร แทนท่ีจะเน้นแต่
การสร้างนักเรียนเก่งส่วนน้อยไปแข่งขันกันว่านักเรียนโรงเรียนจะชนะการแข่งขันหรือสอบเข้า
มหาวทิ ยาลยั รฐั ไดม้ าก เปลย่ี นแปลงวธิ กี ารประเมนิ ความดคี วามชอบครู อาจารย์ ตามสายบงั คบั บญั ชา
ในระบบราชการรวมศนู ย์ การสอบ และการสง่ ผลงานเขยี นขอวทิ ยฐานะแบบเกา่ เปน็ การตงั้ คณะกรรมการ
(ทมี่ ีคณุ ภาพ/เปน็ ธรรม) ติดตามและประเมินผลการท�ำงานครู โดยเนน้ ความตั้งใจในการพัฒนาตนเอง/
ท�ำงานและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของลูกศิษย์ ปฏิรูประบบการบริหารบุคลากร ครูมีเส้นทาง
ความก้าวหน้าในการเป็นผู้สอน ผู้วิจัย และช่วยฝึกอบรมครูรุ่นเยาว์กว่าได้ โดยไม่ต้องแข่งกันเพ่ือเป็น
ผู้บรหิ ารทางเดียว
การปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอน และการประเมินผล ปฏิรูปหลักสูตรให้เน้นผลลัพธ์หรือ
สมรรถนะเพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะท่ีจ�ำเป็นส�ำหรับโลกยุคเทคโนโลยีดิจิทัลที่ต้องพ่ึงพาความรู้
ใหม่ ๆ เชน่ การอยากรูอ้ ยากเห็น รักการอา่ น การเรยี นรู้ เรยี นดว้ ยตนเองเป็น คดิ วเิ คราะห์ สงั เคราะห์
เปน็ มคี วามคดิ รเิ รมิ่ มคี วามเปน็ ผรู้ บั ผดิ ชอบ มคี วามยดื หยนุ่ และความสามารถในการปรบั ตวั มคี วามร/ู้
ทักษะพืน้ ฐานทใี่ ช้งานได้ในโลกจริง มศี กึ ษานิเทศก์ ครู ผูช้ ำ� นาญการ คอยตดิ ตามสนบั สนนุ ฝกึ อบรมให้
ครูอาจารย์เข้าใจ มคี วามรู้ ทักษะ ท่สี ามารถทำ� ตามหลกั สูตรทปี่ ฏริ ปู แลว้ ให้ไดผ้ ลจรงิ รวมทง้ั การปฏริ ูป
วิธีการเรียนการสอน และการประเมินผลผู้เรียน เพ่ือส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ ประยุกต์ใช้และ
แก้ปัญหา ทำ� โครงการ ลงมอื ปฏิบัตเิ ปน็ อยา่ งสอดคลอ้ งกับหลักสูตรใหม่ และโลกการท�ำงานยคุ ใหม่
ปฏริ ปู ระบบการบรหิ ารและการแกป้ ญั หาเชงิ ประเดน็ ทส่ี ำ� คญั ปฏริ ปู ระบบบรหิ ารแบบลดอำ� นาจ
บทบาทของกระทรวงศกึ ษาธกิ ารจากการบรหิ ารการศกึ ษาเองมาเปน็ ผกู้ ำ� กบั ประสานงานและสนบั สนนุ
กระจายอำ� นาจและความรบั ผดิ ชอบใหก้ บั สภาการศกึ ษาและสมชั ชาการศกึ ษาระดบั จงั หวดั ตามแนวทาง
ส่งเสริมให้จังหวัดจัดการศึกษาด้วยตนเองร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษา องค์การบริหารท้องถิ่น ชุมชน
สถานศกึ ษาเพม่ิ ขน้ึ พฒั นาระบบกำ� กบั ตรวจสอบดแู ลและรว่ มมอื กนั ทำ� งานโดยภาคี 4 ฝา่ ย คอื หนว่ ยงาน
การจัดการศึกษา ครูอาจารย์ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ทรงคุณวุฒิ/ประชาชนและองค์กรท้องถ่ิน เพื่อร่วมมือกัน
ปฏริ ปู และสถานศกึ ษาในจงั หวดั เขตการศกึ ษา ใหส้ ามารถบรหิ ารอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ จดั การเรยี นการสอน
การวัดผลแนวใหม่ ผลิตพลเมืองที่มีความรู้ ทักษะท่ีพร้อมใช้งานในโลกยุคดิจิทัลที่การท�ำงานต้องพึ่ง
ความรู้ใหม่และมีการแข่งขนั สงู ขึน้ ได้
การปฏิรูปเชิงประเด็นท่ีส�ำคัญ เช่น การปฏิรูปเร่ืองการเลี้ยงดูเด็กและการศึกษาปฐมวัย
การส่งเสริมการรักการอ่านและการใช้ภาษาไทยได้ดี ปฏิรูปโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางให้มี
คณุ ภาพสงู ขนึ้ แกป้ ญั หานกั เรยี นไมไ่ ดเ้ รยี นและออกกลางคนั ทมี่ หี ลายสาเหตุ สว่ นใหญม่ าจากความยากจน
อย่างถึงรากเหง้าของปัญหาและอย่างเป็นระบบครบวงจร ปฏิรูปการศึกษาอาชีวศึกษา วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี ใหน้ า่ สนใจเรยี นและผสู้ ำ� เรจ็ การศกึ ษามคี วามร/ู้ ทกั ษะทมี่ คี ณุ ภาพขน้ึ ออกไปไดง้ านทด่ี เี พมิ่ ขน้ึ

ปฏริ ปู อดุ มศกึ ษาและการวจิ ยั และพฒั นาเพอื่ สนองตอบโจทยก์ ารพฒั นาประเทศอยา่ งเปน็ ธรรมและยงั่ ยนื
เพม่ิ ขน้ึ ปฏริ ปู การศกึ ษาผใู้ หญแ่ ละการศกึ ษาตอ่ เนอ่ื ง ใหป้ ระชาชนสว่ นใหญม่ คี วามรู้ ทกั ษะ ทใี่ ชง้ านได้
ในโลกยคุ ทเี่ ทคโนโลยีและระบบเศรษฐกิจเปลยี่ นแปลงไปอย่างรวดเรว็
5. บทเรยี นการปฏริ ปู การศกึ ษาของประเทศอน่ื ประเทศและเขตเศรษฐกจิ ทปี่ ระสบความสำ� เรจ็
ในการปฏริ ปู การศกึ ษา เชน่ ฟนิ แลนด์ นวิ ซแี ลนด์ สงิ คโปร์ เซยี่ งไฮ้ ฮอ่ งกง ผนู้ ำ� และประชาชนเขา้ ใจและ
สนใจวา่ การศกึ ษาหรอื การพัฒนามนุษยเ์ ป็นเรื่องส�ำคัญทีส่ ุด มีโครงสรา้ งระบบการบรหิ ารแบบกระจาย
อำ� นาจงบประมาณ ความรบั ผดิ ชอบไปทจ่ี งั หวดั เขตการศกึ ษาหรอื สถานศกึ ษาโดยตรงและมกี ารพฒั นา
ผบู้ รหิ าร ครอู าจารย์ ใหม้ คี วามรู้ ความสามารถสงู สามารถออกแบบหลกั สตู รจดั การเรยี นการสอนสอดคลอ้ ง
กับการพัฒนาผู้เรียนเพื่อโลกการท�ำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบประเมินผลและการติดตาม
ช่วยเหลือพัฒนาทั้งสถานศึกษาและครูอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ท�ำให้สถาบันการศึกษา
ทั่วประเทศพัฒนาการศึกษาได้มีคุณภาพไม่แตกต่างกันนัก และมีระบบบริหารที่คล่องตัว สามารถ
ใชง้ บประมาณและกำ� ลงั คนไปชว่ ยเหลอื พฒั นาสถาบนั การศกึ ษาและนกั เรยี นทอี่ อ่ นแอกวา่ ไดอ้ ยา่ งจรงิ จงั
6. ความรู้/ทักษะส�ำหรับโลกยุคดิจิทัล ความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดในด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี ทน่ี ยิ มเรยี กรวม ๆ วา่ เทคโนโลยดี จิ ทิ ลั ทำ� ใหก้ ารผลติ และการบรหิ ารจดั การเศรษฐกจิ เปลย่ี นไป
อยา่ งขนานใหญ่ สามารถใชร้ ะบบคอมพิวเตอร์ ห่นุ ยนต์ ระบบอัตโนมตั ิ ปัญญาประดษิ ฐ์ (AI) ผลติ และ
กระจายสินค้า/บริการได้เร็วข้ึน มากขึ้น ต้นทุนต�่ำลง ปัญญาประดิษฐ์ท�ำงานหลายอย่างแทนแรงงาน
มนษุ ยไ์ ด้ ระบบเศรษฐกจิ ยคุ ใหมใ่ ชแ้ รงงานภาคอตุ สาหกรรมแบบเกา่ ลดลง เนน้ การใชแ้ รงงานทม่ี คี วามรู้
ทกั ษะ แบบคดิ วเิ คราะหเ์ ปน็ มจี นิ ตนาการ และเรยี นรอู้ ะไรใหม่ ๆ ไดด้ ี ปรบั ตวั ไดเ้ กง่ เพม่ิ ขน้ึ การจดั การ
ศึกษาของไทยต้องเปลี่ยนแปลงปฏิรูปอย่างขนานใหญ่ เพ่ือพัฒนาพลเมืองท่ีมีความรู้/ทักษะท�ำงานกับ
เทคโนโลยีดิจิทัลได้ ฉลาด รับผิดชอบ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้เป็น มีความสามารถในการ
ท�ำงาน แก้ไขปัญหา และแข่งขันทางเศรษฐกิจได้มากข้ึน ประเทศที่ไม่สามารถปฏิรูปการจัดการศึกษา
ของตนให้ก้าวตามทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ จะถูกทอดท้ิงให้ล้าหลังตกต่�ำลง ประชากรจะตกงานและ
ยากจนเพิ่มขึน้
ไทยจำ� เปน็ ตอ้ งปฏริ ปู การจดั การศกึ ษาและการฝกึ อบรมแรงงาน ในเชงิ โครงสรา้ งเศรษฐกจิ สงั คม
ทัง้ ระบบอยา่ งเข้าใจสภาพปัญหา ตระหนกั ถงึ ทรพั ยากร ศักยภาพและความถนดั ของประชากร รวมทงั้
เลอื กเปา้ หมาย/แนวทางการพฒั นาเศรษฐกจิ สงั คม ทเี่ นน้ ประสทิ ธภิ าพเพอ่ื สว่ นรวม กระจายผลการพฒั นา
อย่างสมดุล เป็นธรรม ลดการท�ำลาย และอนุรักษฟื้นฟูระบบนิเวศเพ่ือการพัฒนาอย่างยั่งยืน มากกว่า
การเน้นการเพ่ิมความเจริญเติบโตทางวัตถุ ที่สร้างความเหล่ือมล�้ำต�่ำสูงและปัญหาอ่ืนตามมามากมาย
อย่างทีเ่ ปน็ อยู่
7. การปฏริ ปู เศรษฐกจิ การเมอื ง และสงั คมเพอื่ สนบั สนนุ การปฏริ ปู การศกึ ษาใหไ้ ดผ้ ล การปฏริ ปู
ทางการเมืองและสังคมในแนวทางกระจายทรัพย์สิน รายได้ ความรู้ อ�ำนาจต่อรองไปสู่ประชาชน
ทั้งประเทศอย่างท่ัวถึง เป็นธรรม เป็นแนวทางส�ำคัญที่จะช่วยให้การปฏิรูประบบการจัดการศึกษา
ในเชิงคุณภาพเป็นจริงขึ้นได้ การช่วยให้ประชาชนมีความรู้ จิตส�ำนึก อำ� นาจต่อรองเพิ่มข้ึนเป็นเง่ือนไข
สำ� คญั ในการผลกั ดนั การพฒั นาภาวะผนู้ ำ� เพอื่ ใหไ้ ดผ้ นู้ ำ� ทมี่ วี สิ ยั ทศั น์ กลา้ หาญทางความรู้ และจรยิ ธรรม

ทจ่ี ะผา่ ตดั เปลย่ี นแปลงครง้ั ใหญ่ เชน่ เปลย่ี นระบบราชการแบบรวมศนู ย์ ระบบอำ� นาจนยิ ม ชนชน้ั นำ� นยิ ม
เป็นการบริหารแบบกระจายอ�ำนาจทรัพยากรและความรับผิดชอบไปสู่ท้องถ่ิน และสถาบันการศึกษา
ทค่ี วรสง่ เสรมิ ใหม้ ภี าคหี ลายฝา่ ย ทงั้ ครอู าจารยแ์ ละภาคประชาชนรว่ มรบั ผดิ ชอบ สถาบนั การศกึ ษาทไ่ี ดร้ บั
การปฏิรูปในแนวราบ ควรมีเป้าหมายในการผลิตพลเมืองที่มีความรู้/ทักษะ อุปนิสัย ความคิด ค่านิยม
สนองความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมทั้งในท้องถ่ินและระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นธรรมและย่ังยืนเพม่ิ ขึ้น
8. สรปุ /ภาพรวมการปฏริ ปู การศกึ ษาไทยทคี่ วรเปน็ การปฏริ ปู ศกึ ษาควรจะมเี ปา้ หมายทก่ี วา้ งไกล
มากกวา่ การสรา้ งมนษุ ยท์ างเศรษฐกจิ ทม่ี งุ่ แขง่ ขนั หาเงนิ และบรโิ ภค นน่ั กค็ อื ควรพฒั นามนษุ ยท์ สี่ มบรู ณ์
มีท้ังความรู้/ทักษะที่สามารถใช้ในการท�ำมาหากิน เล้ียงตัวเองและครอบครัว และความฉลาด/ทักษะ
ดา้ นอารมณแ์ ละสงั คม หรอื การใชช้ วี ติ ทส่ี มั พนั ธก์ บั ผอู้ นื่ ไดอ้ ยา่ งมมี นษุ ยสมั พนั ธท์ ดี่ ี เขา้ ใจ เหน็ ใจ เออื้ อาทร
ตอ่ ผอู้ นื่ มคี วามสขุ ความพอใจในชวี ติ และการงาน รสู้ กึ วา่ ชวี ติ มคี วามหมาย รสู้ กึ เปน็ สว่ นหนงึ่ ของสงั คม
เป้าหมายน้ีคือแนวทางพัฒนามนุษย์ท่ีส�ำคัญที่สุด ท่ีจะท�ำให้มนุษย์เราเรียนรู้ได้ดีขึ้น และรู้สึก
อยากท�ำดีต่อผู้อื่น หรือต่อสังคมอย่างเข้าใจถึงสัจธรรมของชีวิตและโลก ตระหนักถึงความจ�ำเป็นของ
การรว่ มมอื กนั เพอื่ ประโยชนข์ องคนทง้ั สงั คม ชว่ ยกนั แกไ้ ขและพฒั นาสงั คมทเ่ี นน้ ความสนั ตสิ ขุ ความสมดลุ
เปน็ ธรรม และการพฒั นาเศรษฐกจิ สงั คมในแนวทางอนุรกั ษ์ระบบนิเวศได้อย่างยง่ั ยนื

สารบญั

คำ� นำ�
บทสรุปสำ� หรบั ผู้บรหิ าร
บทที่ 1 สภาวะเศรษฐกิจสงั คมของไทย ปี 2561/2562 1
บทท่ี 2 สภาวะการศกึ ษาไทย 17
บทที่ 3 ความสามารถในการแข่งขันและสมรรถนะการศกึ ษาของไทย 37
บทที่ 4 ปัญหาหลักและแนวทางการปฏริ ปู การศึกษาไทย 46
บทที่ 5 บทเรียนการปฏริ ูปการศกึ ษาของประเทศอื่น 66
บทท่ี 6 ความรู้/ทักษะสำ� หรบั โลกยุคดจิ ิทลั 84
บทที่ 7 การปฏริ ปู เศรษฐกจิ การเมือง และสังคม 101
เพ่ือสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล 112
บทที่ 8 สรปุ /ภาพรวมการปฏริ ปู การศกึ ษาไทยท่ีควรเปน็ 123
บรรณานุกรม



บทที่ 1 1

สภาวะเศรษฐกิจสังคมของไทย ปี2561/2562

บทท่ี 1

สภาวะเศรษฐกิจสังคมของไทย ปี 2561/2562

บทแรกนคี้ อื การสรปุ เรอื่ งสภาวะการเปลย่ี นแปลงทางการเมอื ง เศรษฐกจิ สงั คมของไทย ในรอบ
1 ปคี รง่ึ ทผ่ี า่ นมา ทเี่ รมิ่ จากบทนแี้ ละเสนอรายละเอยี ดมากพอสมควร โดยเฉพาะเรอื่ งปญั หาทางเศรษฐกจิ
และสงั คม เพราะตอ้ งการใหผ้ อู้ า่ นเหน็ ภาพกวา้ งวา่ สภาวะการเมอื ง เศรษฐกจิ สงั คม และสง่ิ แวดลอ้ มนนั้
มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการศึกษาอย่างส�ำคัญ ในขณะท่ีการบริหารจัดการศึกษาในแนวทางใด
แนวทางหนึ่งก็มผี ลกระทบตอ่ การเปลย่ี นแปลงทางการเมืองและสังคมด้วยเชน่ กนั
ตัวอย่างเช่น โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองแบบมีการรวมศูนย์ผูกขาดอ�ำนาจ/ความม่ังค่ัง
อยู่ในหมู่ชนช้ันสูงส่วนน้อย และนโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมแบบทุนนิยมอุตสาหกรรม
ค่อนข้างสุดโต่งของไทย ท�ำให้เกิดการกระจายทรัพย์สินและรายได้ไปสู่ประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม
คนสว่ นใหญม่ ที รพั ยส์ นิ และรายไดต้ ำ�่ และไดร้ บั การศกึ ษาอยา่ งไมท่ วั่ ถงึ และ/หรอื ไดเ้ รยี นในสถานศกึ ษา
อ�ำเภอรอบนอกท่ีมีคุณภาพต�่ำกว่าโรงเรียนที่มีช่ือเสียงในเมืองใหญ่ไปด้วย การจัดการศึกษา
เน้นการบรรยายแบบให้ท่องจ�ำไปสอบ และใครแพ้ถูกคัดออก ผลิตคนท่ีมีความรู้ ทักษะจ�ำนวนหนึ่ง
ไปท�ำงานรับใช้ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมให้เจริญเติบโตได้ในระดับหนึ่ง แต่การจัดการศึกษาของไทย
ยังไม่สามารถสร้างพลเมืองส่วนใหญ่ให้รู้จักคิด วิเคราะห์ อย่างเป็นเหตุเป็นผล มีวุฒิภาวะและ
ความรบั ผดิ ชอบสงู ไดด้ พี อทจี่ ะหาทางออกแบบสนั ตวิ ธิ ภี ายใตก้ รอบรฐั ธรรมนญู กฎหมาย เชน่ การยบุ สภา
เลือกตั้งใหม่ได้ ซ่ึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแบบเสรีประชาธิปไตย เมื่อ
เปรียบเทียบกบั ประเทศอื่นท่ีมีการพัฒนาทางการเมอื งแบบรฐั สภาไปอย่างม่ันคงต่อเนือ่ งมากกว่าไทย
ปญั หาทางเศรษฐกิจสงั คม โดยเฉพาะท่เี กี่ยวขอ้ งกับการขาดสิทธิและความเสมอภาคทางโอกาส
และสภาพชวี ติ ความเปน็ อยขู่ องเดก็ และเยาวชนจากครอบครวั ยากจนมผี ลกระทบตอ่ เรอื่ งการจดั การศกึ ษา
มากดว้ ยเชน่ กนั เชน่ เดก็ จากครอบครวั ยากจนมคี วามเครยี ด ความกงั วลมากกวา่ มสี มาธิ ความเอาใจใส่
เงื่อนไขสภาพแวดล้อมโดยทัว่ ไปในการเรียนหนังสอื ไดด้ ีนอ้ ยกวา่ เด็กจากครอบครวั ทรี่ �่ำรวย1

1 Though, Paul How Children Succeed ฉบบั แปลภาษาไทยโดย ดลพร รจุ ิรวงศ์ เล้ียงใหร้ งุ่ สสค. Openworld 2557

2 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

1.1 สภาวะทางการเมืองและการบริหารราชการ

ในช่วง 5 ปี ของรัฐบาลที่น�ำโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีการเปลี่ยนแปลง
คณะรัฐมนตรี เช่น รัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ศึกษาธิการ และรัฐมนตรีอื่น ๆ บ้าง นโยบายการพัฒนา
เศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. เน้นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศ
เพอื่ การเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกจิ ตามแนวทนุ นยิ มอตุ สาหกรรมเหมอื นกบั รฐั บาลชดุ กอ่ น ๆ มกี ารลงทนุ
ในโครงการใหญ่ ๆ เช่น การคมนาคม ท่าเรือ โครงสร้างพ้ืนฐานต่าง ๆ เพ่ือการคมนาคม การค้า และ
เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจเสรีพิเศษในภาคตะวันออก ภาคกลาง และตามแนวชายแดนหลายจังหวัด
การด�ำเนินนโยบายเรื่องการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 ที่เน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพ้ืนฐาน การพัฒนา
อตุ สาหกรรมการคา้ การขนสง่ ฯลฯ โดยใชเ้ ทคโนโลยที นั สมยั และมกี ารจดั ตง้ั กระทรวงใหมช่ อ่ื กระทรวง
ดิจิทัลเพ่อื เศรษฐกิจและสงั คม
มีโครงการประชารัฐเพื่อกระจายทั้งเงินกู้และเงินให้เปล่าช่วยเหลือคนมีรายได้ต�่ำ และโครงการ
กระตุ้นลดหย่อนภาษีให้ประชาชน เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย การหมุนเวียนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
มีการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนการผลิต การค้า ของภาคธุรกิจเอกชนหลายเรื่อง มีการร่าง
แผนยทุ ธศาสตรแ์ หง่ ชาติ 2561-2580 แผนพฒั นาเศรษฐกจิ สงั คมแหง่ ชาตฉิ บบั ที่ 12 (พ.ศ. 2560-2561)
และขอ้ เสนอเรอ่ื งการปฏริ ปู ประเทศ จากคณะกรรมาธกิ ารหลายชดุ สว่ นใหญค่ อื เอกสารทม่ี เี ปา้ หมายของ
สง่ิ ท่ีผ้เู ขียนแผนและข้อเสนอเหลา่ น้ตี ้ังเป้าไว้ และคาดว่ารฐั บาลควรจะพัฒนาเรื่องต่าง ๆ อยา่ งกวา้ ง ๆ
การเมอื งและการบรหิ ารราชการทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั การศกึ ษาทส่ี ำ� คญั คอื มกี ารแตง่ ตงั้ คณะกรรมการ
อสิ ระเพอ่ื การปฏริ ปู การศกึ ษา (กอปศ.) ทม่ี ศี าสตราจารยก์ ติ ตคิ ณุ จรสั สวุ รรณเวลา เปน็ ประธาน และมี
คณะกรรมการ 33 คน คณะกรรมการชุดน้ีได้วิจัยและเสนอแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
ให้รฐั บาลในเดือนพฤษภาคม 2562 (ดใู นบทที่ 2)
การตราพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัยและกฎหมายการศึกษาอ่ืน ๆ จัดตั้งกองทุน
เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ซึ่งโอนงานมาจากส�ำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้
และคณุ ภาพเยาวชน (สสค.) กองทนุ นที้ ำ� วจิ ยั คดั กรองและใหเ้ งนิ อดุ หนนุ เดก็ ยากจนพเิ ศษในปี 2561 ปลี ะ
1,600 บาท ราว 5 แสนคน
มกี ารรา่ งพระราชบญั ญตั กิ ารศกึ ษาแหง่ ชาติ โดย กอปศ. และผา่ นกฤษฎกี าแลว้ แตค่ ณะรฐั มนตรี
คสช. มมี ตไิ มอ่ อกเปน็ พระราชกำ� หนด เสนอใหเ้ กบ็ รา่ งพระราชบญั ญตั ฉิ บบั นไี้ วร้ อสภาผแู้ ทนราษฎร หลงั จาก
การเลือกต้ังท่ัวไป เป็นผู้พิจารณา ในปี 2562 มีการจัดต้ังกระทรวงใหม่ช่ือว่า “กระทรวงอุดมศึกษา
วทิ ยาศาสตร์ วจิ ยั และนวตั กรรม” โดยเปน็ การควบรวมสำ� นกั งานคณะกรรมการการอดุ มศกึ ษาเขา้ กบั
กระทรวงวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี และหน่วยงานสนบั สนนุ การวจิ ยั 2 แห่ง เข้าด้วยกัน
มกี ารจดั ตง้ั รฐั บาลทมี่ าจากพรรคการเมอื ง 19 พรรค หลงั จากการเลอื กตง้ั ราว 4 เดอื น คอื ในเดอื น
กรกฎาคม 2562 การจัดต้ังรัฐบาลท่ีพรรคสนับสนุนมีเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มากกว่าพรรค
ฝ่ายค้านเพียงเล็กนอ้ ย ท�ำใหน้ กั วเิ คราะหก์ ารเมืองส่วนใหญค่ าดว่าการเมอื งไทยในช่วงครง่ึ หลงั ปี 2562
อาจจะไมม่ เี สถียรภาพมากนัก

บทที่ 1 3

สภาวะเศรษฐกิจสังคมของไทย ปี2561/2562

1.2 สภาวะทางเศรษฐกจิ

ในแงเ่ ศรษฐกจิ มหภาค (การผลติ และการบรโิ ภคของคนทงั้ ประเทศ) เศรษฐกจิ ไทยในรอบปี 2561
มกี ารขยายตวั รอ้ ยละ 4.1 เปน็ อตั ราเพม่ิ ทส่ี งู สดุ ในรอบ 6 ปี สว่ นใหญม่ าจากการลงทนุ และการผลติ ของ
ภาคเอกชนทง้ั ในสาขาอตุ สาหกรรม การคา้ โรงแรม ภตั ตาคาร คมนาคม การสง่ ออก รายไดจ้ ากการทอ่ งเทยี่ ว
การลงทุนและการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยโครงการและการใช้จ่ายของภาครัฐ ในขณะที่สาขาเกษตรและ
กอ่ สร้างอย่ใู นภาวะชะลอตวั 2
ในปี 2562 คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวในอัตราลดลงจากปี 2561 เล็กน้อย เน่ืองจาก
เศรษฐกจิ โลกมแี นวโนม้ ขยายตวั แบบชะลอลง มปี ญั หาเรอ่ื งนโยบายการคา้ ระหวา่ งประเทศแบบชาตนิ ยิ ม
ของสหรฐั ฯ และการตอบโตข้ องประเทศคคู่ า้ ทสี่ ำ� คญั เชน่ จนี ความไมแ่ นน่ อนของขอ้ สรปุ การออกจาก
สมาชิกสหภาพยุโรป ของสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ความเสี่ยงจากการกระทบกระท่ังเร่ืองเขตแดน
ทรพั ยากร และปัญหาความขดั แยง้ ระหว่างบางประเทศในบางอาณาบริเวณ3
เศรษฐกิจไทยนั้นเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศเป็นสัดส่วนสูง
จึงเปราะบางท่ีจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลกท่ีมีความขัดแย้งกันสูง
ทงั้ ครง่ึ หลงั ปี 2562 กจ็ ะเปน็ การบรหิ ารโดยรฐั บาลผสมจากหลายพรรค มฝี า่ ยคา้ น ประชาชนเรยี กรอ้ งสทิ ธิ
และผลประโยชนต์ า่ ง ๆ เพม่ิ ขน้ึ พรรคการเมอื งซง่ึ เปน็ กลมุ่ อำ� นาจผลประโยชนท์ ต่ี า่ งกนั และหลายพรรค
ไดโ้ ฆษณานโยบายทจี่ ะกระจายงบประมาณสวสั ดกิ าร เพมิ่ คา่ แรง ปฏริ ปู ดา้ นตา่ ง ๆ ใหป้ ระชาชนเพมิ่ ขน้ึ
จงึ อาจมผี ลกระทบตอ่ เร่ืองเศรษฐกจิ ไทยในคร่งึ ปหี ลงั 2562 ทง้ั ทางบวกและทางลบด้วยเช่นกนั
ในช่วงปี 2561 เสถียรภาพด้านเศรษฐกิจและการเงินของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อัตราเงินเฟ้อต่�ำ
(อยรู่ ะดบั 1%) การวา่ งงานคอ่ นขา้ งตำ่� (ราว 1.1%) แตม่ ปี ญั หาดา้ นการกระจายทรพั ยส์ นิ และรายไดไ้ ปสู่
ประชาชนกลมุ่ ตา่ ง ๆ ทไ่ี มเ่ ปน็ ธรรมสงู เศรษฐกจิ โดยรวมทเ่ี ตบิ โตปลี ะ 4.1% ในปี 2561 นนั้ ความมง่ั คง่ั
อยทู่ คี่ นรวย คนชนั้ กลาง ซง่ึ เปน็ คนสว่ นนอ้ ย ขณะทปี่ ระชาชนสว่ นใหญ่ รายไดต้ ำ่� และหนส้ี นิ ของครวั เรอื น
เพ่ิมข้ึน ท�ำให้มีค่าใช้จ่ายเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มข้ึน ค่าครองชีพสินค้าส�ำคัญ ๆ ที่ประชาชนซื้อหาได้
ในตลาดจรงิ ๆ กม็ ักสงู มากกวา่ สถติ ิดัชนรี าคาผูบ้ รโิ ภค/อตั ราเงินเฟ้ออย่างเปน็ ทางการ
การจะเข้าใจภาพท่ีแท้จริงของเศรษฐกิจไทย จึงต้องมองให้กว้างกว่าแค่สถิติการเติบโต
ของเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม คือควรจะมองจากสถานการณ์ความยากจนและความเหล่ือมล�้ำ
ในสงั คมไทยดว้ ย ขอ้ มลู จากบทความเรอื่ ง “ความเหลอ่ื มลำ้� ในสงั คมไทย” โดยสำ� นกั งานสภาพฒั นาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท่ีออกมาเมื่อวันท่ี 1 มีนาคม 25624 ช่วยให้เราเข้าใจสภาพเศรษฐกิจไทย
ไดช้ ัดเจนขนึ้

2 สำ� นกั ยทุ ธศาสตรแ์ ละการวางแผนพฒั นาเศรษฐกจิ มหภาค สำ� นกั งานสภาพฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ภาวะเศรษฐกจิ ไทย
ไตรมาสท่ี 4 ทั้งปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 www.nesdb.go.th
3 ธนาคารแหง่ ประเทศไทย ภาวะเศรษฐกจิ ไทย ปี 2561 www.bot.or.th
4 สำ� นกั งานสภาพฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ บทความเรอ่ื ง “ความเหลอื่ มลำ้� ในสงั คมไทย” ภาวะสงั คมไทยไตรมาสท่ี 4 และ
ภาพรวม ปี 2561, 1 มีนาคม 2562 www.nesdb.go.th

4 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

สินทรัพย์ทางการเงินและการถือครองที่ดิน กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนร่�ำรวยจ�ำนวนน้อยมาก
ในปี 2561 บัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของประชาชนที่มีวงเงิน 10 ล้านบาทข้ึนไป มี 111,517
บัญชี คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของจ�ำนวนบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด 84.11 ล้านบัญชี แต่คนที่
รวยที่สุดราว 1 แสนคนน้ี มวี งเงินฝากสงู ถึงรอ้ ยละ 52.8 ของเงนิ ฝากธนาคารทง้ั หมด บัญชีเงินฝาก
ประชาชนส่วนใหญ่ 74 ล้านบญั ชนี ้ัน แตล่ ะบญั ชมี เี งินฝากตำ�่ กวา่ 5 หมืน่ บาท5
การศึกษาเรื่องการถือครองท่ีดิน โดย ดร.ดวงมณี เลาหกุล (2556) พบว่าในปี 2555 คนที่มี
ฐานะทางเศรษฐกิจสูงสุดรอ้ ยละ 10 แรก ถือครองที่ดินรวม 97.86 ลา้ นไร่ เปน็ สดั ส่วนรอ้ ยละ 61.5
ของทดี่ นิ ทม่ี กี ารถอื ครองทง้ั หมด ขณะทค่ี นทมี่ ฐี านะทางเศรษฐกจิ ตำ่� สดุ รอ้ ยละ 10 สดุ ทา้ ยถอื ครองทดี่ นิ
รวมกัน 68,330 ไร่ เป็นสัดส่วนการถือครองที่ดินร้อยละ 0.1 ของที่ดินท้ังหมด กลุ่มคนท่ีรวยที่สุด
ถือครองทด่ี นิ แตกตา่ งจากกลุม่ คนที่จนที่สดุ ถงึ 853.6 เทา่
ครัวเรือนที่มีรายได้ต�่ำท่ีสามารถเข้าถึงแหล่งทุนท่ีให้กู้ได้ มีภาระหน้ีสินคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้
ของพวกเขาสูงกว่าครัวเรือนที่มีรายได้สูงถึง 2 เท่า ส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเพ่ือท�ำการเกษตร รองลงมา
เปน็ การกู้เพือ่ การอปุ โภคบรโิ ภค
การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและบริการสาธารณสุข คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในหมู่
ประชาชนไทย ยงั มคี วามเหลอ่ื มลำ�้ ทงั้ ในมติ พิ นื้ ทแี่ ละรายได้ กลมุ่ เดก็ จากครวั เรอื นทมี่ รี ายไดส้ งู และอยใู่ น
เขตเทศบาลเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษาได้สูงกว่ากลุ่มเด็กจากครัวเรือน
ท่ีมีรายได้ต�่ำและอยู่นอกเขตเทศบาล ในเรื่องสาธารณสุข กรุงเทพฯ มีบุคลากรทางการแพทย์ดูแล
ประชาชนไดท้ ่วั ถึงกว่าภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือหลายเทา่ มาก
รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2561 โดยฝ่ายวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทยได้กล่าวถึง
ปัญหาเศรษฐกิจไทยไว้บางส่วน เช่น ต้องติดตามประเด็นของทักษะแรงงานท่ีไม่ตรงกับความต้องการ
ของผปู้ ระกอบการ และแนวโนม้ การนำ� เครอ่ื งจกั รมาใชท้ ดแทนแรงงานตอ่ ไป เสถยี รภาพของกลมุ่ ธรุ กจิ
ขนาดกลางและขนาดยอ่ ม (SMEs) ยงั คงเปราะบาง เปน็ ผลมาจากปจั จยั เชงิ โครงสรา้ ง อาทิ ภาคการคา้
ท่ีได้รับผลกระทบจากการเข้ามาแข่งขันของธุรกิจ E-commerce (การค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ต)
ความเปราะบางในตลาดอสังหาริมทรัพย์ทีม่ าจากการแข่งขันทร่ี ุนแรงขึน้ 6
ปาฐกถาพเิ ศษ หวั ขอ้ “เศรษฐกิจไทยทา่ มกลางการเปลีย่ นแปลง” โดย นายวรี ไท สันติประภพ
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วนั ท่ี 6 มนี าคม 25627 ช่วยให้เขา้ ใจสภาพเศรษฐกจิ โดยรวม
ของไทยได้ดขี ึน้ จึงขอสรุปใจความสำ� คญั มาน�ำเสนอในทีน่ ้ี

5 สำ� นกั ขา่ วอศิ รา www.isranews.org 6 ธนั วาคม 2561 30 ปี ขบั เคลอ่ื นเศรษฐกจิ “กอบศกั ด”ิ์ ชไี้ มแ่ กค้ วามเหลอื่ มลำ้� คนจนไรเ้ งนิ ออม
เข้าไมถ่ งึ ความมั่งคงั่
6 ธนาคารแหง่ ประเทศไทย ภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2561
7 ปาฐกถาพเิ ศษ ผวู้ า่ การธนาคารแหง่ ประเทศไทย หวั ขอ้ “เศรษฐกจิ ไทยทา่ มกลางการเปลยี่ นแปลง” 5 มนี าคม 2562 คน้ ไดจ้ ากเวบ็ ไซต์
ของธนาคารแหง่ ประเทศไทย www.bot.or.th

บทท่ี 1 5

สภาวะเศรษฐกิจสังคมของไทย ปี2561/2562

ปาฐกถากลา่ ววา่ แมว้ า่ เสถยี รภาพของเศรษฐกจิ ไทยจะมคี วามเขม้ แขง็ การขยายตวั ของเศรษฐกจิ ไทย
ทร่ี ะดบั 4% สอดคลอ้ งกบั ศกั ยภาพ แตภ่ มู ติ า้ นทานดา้ นการคลงั อาจยงั ตำ่� กวา่ ทคี่ ดิ การใชจ้ า่ ยของภาครฐั
ท่ีมีประสิทธิภาพ ผลิตภาพในระดับต่�ำ อาจจะมีจ�ำนวนมากข้ึนในอนาคต จากแนวโน้มการด�ำเนิน
นโยบายประชานิยมท่ีหวังผลทางการเมืองในช่วงสั้น ๆ อาจจะท�ำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจมหภาค
ตามมาในอนาคตได้
ในช่วง 10 ปีท่ีผ่านมา เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงจากทศวรรษก่อนหน้าน้ีจากเฉล่ีย 4.8% ต่อปี
เหลอื เพยี ง 3.8% ตอ่ ปี และตอ้ งเผชญิ กบั ขอ้ จำ� กดั หลายดา้ น โดยเฉพาะขอ้ จำ� กดั จากโครงสรา้ งประชากร
ทคี่ นวยั ทำ� งานลดลง คนสงู อายมุ สี ดั สว่ นเพมิ่ ขน้ึ เพราะคนอายยุ นื ขนึ้ การจา้ งงานของไทยทหี่ ดตวั ลง ทงั้ ยงั
มีปญั หาเชงิ โครงสรา้ งท่ีฉดุ รงั้ ศักยภาพของเศรษฐกจิ ไทยไว้อยา่ งนอ้ ย 3 เร่ือง คือ
1. ผลติ ภาพ (ประสทิ ธภิ าพการผลติ ของไทย) ทรงตวั ในระดบั ตำ�่ โดยสาเหตเุ ชงิ โครงสรา้ งอยา่ งนอ้ ย
4 เรอื่ ง คอื 1) แรงงานจำ� นวนมากมผี ลติ ภาพตำ่� (โดยเฉพาะภาคเกษตรและภาครฐั ) ขาดการพฒั นาและ
ไมส่ ามารถเคลื่อนย้ายไปส่ภู าคการผลติ ทีม่ ีผลติ ภาพทีส่ ูงขน้ึ ไดส้ ะดวก 2) แรงงานไทยมีทักษะไมต่ รงกบั
ความต้องการของตลาด (Labor mismatch) เนื่องจากระบบการศึกษาไทยท่ีไม่สามารถผลิตแรงงาน
ออกมาตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจได้ 3) การลงทุนที่แท้จริงของท้ังภาครัฐและเอกชนอยู่ใน
ระดบั ตำ่� กวา่ ทศวรรษกอ่ น การลงทนุ ภาคเอกชนในภาคอตุ สาหกรรมสว่ นใหญเ่ ปน็ การลงทนุ เพอ่ื ทดแทน
เคร่ืองจักรเก่าท่ีเส่ือมลงไป ไม่ได้สร้างผลิตภาพเพ่ิมข้ึนมากนัก 4) ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญกับ
ความยากลำ� บากในการดำ� เนนิ ธรุ กิจจากกฎระเบียบข้อบงั คับของทางการท่มี ีจ�ำนวนมากและล้าสมัย
ในอนาคต คนไทยในวยั ทำ� งานจะมจี ำ� นวนลดลง ในขณะทผี่ สู้ งู อายมุ จี ำ� นวนเพม่ิ ขน้ึ เพราะฉะนน้ั
ทางเดียวท่ีจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยได้ คือต้องเร่งพัฒนาผลิตภาพในทุกภาคของระบบ
เศรษฐกจิ ไทยเพ่ือใหค้ นไทยเก่งขน้ึ มคี ณุ ภาพสูงข้นึ และสร้างรายไดไ้ ด้เพ่มิ ขนึ้
2. ความเหล่ือมล้�ำของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนที่มีรายได้สูง
มีสินทรัพย์สูง โดยเฉพาะเจ้าของทุนขนาดใหญ่ ส่วนหนึ่งมาจากภาครัฐขาดประสิทธิภาพและ
ความสามารถทจ่ี ะทำ� หนา้ ทจ่ี ดั สรรผลประโยชนท์ างเศรษฐกจิ อยา่ งเปน็ ธรรม ไมว่ า่ จะเปน็ เรอ่ื งโครงสรา้ งภาษี
โครงสรา้ งการใชจ้ า่ ยภาครฐั หรอื การบงั คบั ใชก้ ฎหมายอยา่ งเปน็ ธรรม ทง้ั ยงั มคี วามเหลอื่ มลำ้� ตำ่� สงู ทง้ั ใน
ภาคอตุ สาหกรรมดว้ ยกนั เองและระหวา่ งครวั เรอื น ผลติ ภาพของโรงงานระดบั หวั แถวสงู กวา่ โรงงานระดบั
ปลายแถวมาก ทำ� ใหก้ ำ� ไร โอกาสขยายตวั และการจา่ ยคา่ ตอบแทนคนงานแตกตา่ งกนั ครวั เรอื นของไทย
มีความเหล่ือมล้�ำด้านทรัพย์สินมากที่สุดในอาเซียน และอยู่ในล�ำดับที่ 97 จาก 106 ประเทศท่ัวโลก
(สถิตจิ าก World Economic Forum-WEF)
3. ภูมิต้านทานของเศรษฐกิจไทย ในระดับมหภาคค่อนข้างดี แต่ในระดับครัวเรือนน้ันถือว่า
ยงั เปราะบางมาก จากปญั หาหนคี้ รวั เรอื นทไี่ ดเ้ พม่ิ ขน้ึ ตงั้ แตป่ ี 2554 เปน็ ตน้ มา ปจั จบุ นั ระดบั หนค้ี รวั เรอื น
ต่อ GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) อยู่ที่ 77.8% ซึ่งถือว่าสูงเม่ือเทียบกับกลุ่มประเทศท่ีมีรายได้
ใกลเ้ คยี งกบั ไทย อกี ทงั้ ยงั มสี ดั สว่ นหนเี้ สยี ในระดบั สงู ยอดหนขี้ องคนไทยจำ� นวนมากไมไ่ ดล้ ดลงแมว้ า่ จะ
มอี ายถุ งึ วยั ใกลเ้ กษยี ณ คนสว่ นใหญจ่ ะแกก่ อ่ นรวย นอกจากนค้ี นไทยยงั ไมม่ แี ผนการออมอยา่ งเปน็ รปู ธรรม
ซงึ่ หากภาคครวั เรอื นไมส่ ามารถพงึ่ พาการออมของตวั เองได้ สดุ ทา้ ยจะกลายเปน็ ภาระคา่ ใชจ้ า่ ยของภาครฐั
ในดา้ นสวัสดกิ ารผ้สู งู อายุ

6 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

รวมทั้งภาครัฐยงั จะมีภาระดา้ นประกันสงั คม รายจา่ ยประจำ� ทต่ี ้องเพ่มิ ข้นึ จากการขยายบทบาท
หนา้ ทข่ี องหนว่ ยงานราชการอกี มาก มภี าระเงนิ อดุ หนนุ สำ� หรบั โครงการลงทนุ ขนาดใหญ่ รวมไปถงึ แนว
โน้มการด�ำเนินนโยบายประชานิยมท่ีหวังผลทางการเมืองในช่วงสั้น ๆ รัฐบาลจะต้องท�ำงบประมาณ
แบบขาดดุล (รายจ่ายสูงกว่ารายรับ-รัฐบาลต้องเป็นหน้ี) ต่อเน่ืองไปอีกประมาณ 12 ปี จึงจะเร่ิมมี
งบประมาณสมดลุ ได้
ขณะเดียวกันการเปล่ียนแปลงของโลกยุคใหม่ท่ีก�ำลังเกิดข้ึนอย่างรวดเร็ว ท�ำให้ไทยต้องปฏิรูป
เชิงโครงสร้างอย่างจริงจังและรอบด้าน นั่นก็คือ 1) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศ ท�ำให้
การแข่งขันจากท่ัวโลกรุนแรงข้ึน และจะมีผลกระทบต่อท้ังเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบการ
อย่างรุนแรง 2) การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ (Climate change) จากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้เกิด
ภยั พบิ ตั ทิ างธรรมชาตบิ อ่ ยครง้ั ขน้ึ กระทบตอ่ ภาคเกษตรและอน่ื ๆ 3) ความขดั แยง้ ระหวา่ งขว้ั มหาอำ� นาจ
ระหวา่ งประเทศและภายในประเทศตา่ ง ๆ จะสง่ ผลกระทบตอ่ เศรษฐกจิ ตลาดเงนิ ตลาดทนุ และราคา
พลังงานทว่ั โลก และกระทบตอ่ เศรษฐกิจไทยอย่างมาก
ปาฐกถาของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยสรุปว่า ไทยควรต้องเตรียมความพร้อมอย่างน้อย
3 เรอื่ ง คอื 1) สง่ เสรมิ ใหท้ กุ ภาคสว่ นขบั เคลอ่ื นเศรษฐกจิ ไทยไปขา้ งหนา้ ดว้ ยคณุ ภาพและผลติ ภาพเปน็ หลกั
โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมและ SMEs มากกว่าเน้นการเติบโตเชิงปริมาณ 2) เร่งยกระดับคุณภาพ
ของแรงงานไทย 38 ล้านคน ในขณะนใ้ี ห้ก้าวทนั กบั การเปลีย่ นแปลงของโลก 3) การปฏิรูปการทำ� งาน
ภาครัฐ ปฏิรูปกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อท่ีจะใช้ทรัพยากรท่ีมีอยู่จ�ำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ท�ำให้ทรัพยากรท้ังทุน คน ท่ีดินสามารถเคลื่อนย้ายออกจากภาคเศรษฐกิจที่มีผลิตภาพต่�ำไปสู่ภาคท่ีมี
ผลติ ภาพสูงกว่าเพ่อื เพ่ิมผลติ ภาพโดยรวม

1.3 สภาวะทางสงั คมและความม่ันคงของมนษุ ย์

รายงานภาวะทางสังคม ปี 2561 โดยส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ8
มีประเดน็ สำ� คัญ คอื
การจ้างงาน ในปี 2561 เพิ่มจากปี 2560 เล็กนอ้ ย ท้ังในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร อัตรา
การวา่ งงานเทา่ กบั รอ้ ยละ 1.1 มผี วู้ า่ งงานราว 4 แสนคน (สว่ นใหญม่ กี ารศกึ ษาระดบั อดุ มศกึ ษา รองลงมา
คือ วิชาชีพช้ันสูง (ปวส.) และมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ) ค่าจ้างแรงงานภาคเอกชนเฉลี่ยท้ังปี
12,292 บาทตอ่ เดอื น เมอื่ ปรบั ลดลงดว้ ยอตั ราเงนิ เฟอ้ รอ้ ยละ 1.1 คา่ จา้ งแทจ้ รงิ ภาคเอกชนเพม่ิ ขน้ึ รอ้ ยละ
1.2 ขณะทผี่ ลติ ภาพ (ประสทิ ธภิ าพการทำ� งาน) แรงงานนอกภาคเกษตรเพมิ่ ขนึ้ รอ้ ยละ 4.0 คา่ จา้ งแรงงาน
ภาคเกษตรลดลงรอ้ ยละ 0.7 ปญั หาการขาดแคลนแรงงานทตี่ รงกบั ความตอ้ งการของการจา้ งงานยงั เปน็
ปญั หาทงั้ แรงงานใชท้ กั ษะและกงึ่ ทกั ษะ รวมทง้ั แรงงานทจ่ี บการศกึ ษาระดบั มธั ยมศกึ ษา ปรญิ ญาตรี และ
สูงกว่า ทีม่ คี วามรู้ ทกั ษะไมต่ รงกบั ตลาดแรงงาน

8 ส�ำนักงานสภาพฒั นาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2561

บทที่ 1 7

สภาวะเศรษฐกิจสังคมของไทย ปี2561/2562

แรงงานท่เี ข้าสู่ระบบประกันสงั คมในปี 2501 มี 15.99 ลา้ นคน เพิ่มจากปี 2560 แต่ถา้ เทียบกบั
แรงงานทง้ั หมด 38.4 ลา้ นคน แรงงานนอกระบบกย็ งั สงู กวา่ แรงงานทอ่ี ยใู่ นระบบประกนั สงั คม (แบบใด
แบบหนึ่งรวม 3 แบบ) แรงงานไทยราว 22.5 ล้านคน ที่อยู่นอกระบบประกันสังคมมีหลักประกัน
ด้านสวัสดิการทางสังคมต่�ำ และจะเป็นปัญหาส�ำหรับผู้สูงอายุ ที่มีแนวโน้มจะมีสัดส่วนต่อประชากร
โดยรวมเพมิ่ ขึน้ ตามล�ำดบั
ภาระหนสี้ นิ ครัวเรอื น (ซง่ึ นา่ จะรวมทั้งหนี้ครดู ว้ ย) สิ้นปี 2561 อยู่ท่ี 12.8 ล้านล้านบาท คดิ เปน็
78.6% ของผลติ ภณั ฑม์ วลรวมของประเทศ (GDP) เปน็ สดั สว่ นทคี่ อ่ นข้างสงู กลมุ่ ทนี่ า่ ห่วงคอื ผมู้ ีรายได้
ตำ�่ กวา่ เดอื นละ 8,000 บาทลงมา มภี าระหนก้ี วา่ 50% ของรายได้ ขณะทกี่ ลมุ่ ผมู้ รี ายไดต้ ำ�่ กวา่ เดอื นละ
15,000 บาท มีภาระหน้ีต่อรายได้เกิน 30% ของคนในกลุ่มน9้ี หนี้ส�ำหรับคนมีรายได้สูงและปานกลาง
คอื หนเ้ี รอื่ งผอ่ นสง่ บา้ น รถยนต์ การลงทนุ และการอปุ โภค นย่ี งั ไมไ่ ดน้ บั รวมหนน้ี อกระบบอกี จำ� นวนมาก
หนส้ี ำ� หรบั คนมรี ายไดต้ ำ�่ มกั เปน็ เรอ่ื งการอปุ โภคบรโิ ภคในสดั สว่ นสงู เนอ่ื งจากการมรี ายจา่ ยสงู กวา่ รายได้
และคนไทยมวี ฒั นธรรมบริโภคนิยมเลียนแบบกนั
ปญั หาดา้ นสาธารณสขุ ผปู้ ว่ ยดว้ ยโรคเฝา้ ระวงั เชน่ ไขห้ วดั โรคปอดอกั เสบ เพม่ิ ขน้ึ จากปี 2560
เลก็ น้อย แต่การเจ็บป่วยและเสียชีวติ ดว้ ยโรคไม่ตดิ ตอ่ (NCDS) เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง
และเน้ืองอก และหลอดเลือดสมองยังเพิ่มข้ึนอย่างต่อเนื่อง ท้ัง ๆ ท่ีเป็นกลุ่มโรคท่ีสามารถป้องกันได้
ถ้าประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง โรคเหล่าน้ียังส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคอื่นตามมา
ท�ำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ
ในอตั ราสงู เทยี บกบั ประเทศในอาเซยี นดว้ ยกนั และตอ้ งสญู เสยี ทางเศรษฐกจิ จากโรคไมต่ ดิ ตอ่ และภาวะ
แทรกซ้อนสงู ถึงราว 2 แสนล้านบาทต่อปี
ปญั หาการดม่ื แอลกอฮอลแ์ ละสบู บหุ รี่ ทท่ี ำ� ใหช้ วี ติ สนั้ ลงและมโี รคภยั อน่ื ตามมายงั คงเปน็ ปญั หา
ทางสุขภาวะในสังคมไทย แม้ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเคร่ืองดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ของคนไทย
ในปี 2561 ลดลงจาก ปี 2560 เลก็ นอ้ ย เนอื่ งจากนโยบายภาษแี ละการรณรงคต์ อ่ ตา้ นการบรโิ ภค แตค่ า่ ใชจ้ า่ ย
ในการบริโภคแอลกอฮอล์ ปี 2561 ก็ยังอยู่ท่ี 139,624 ล้านบาท (ผู้ด่ืมราว 16 ล้านคน) ค่าใช้จ่าย
การสูบบุหร่ี 54,738 ล้านบาท (ผู้สูบบุหรี่ 11 ล้านคน) แม้จ�ำนวนผู้ดื่มสุราและสูบบุหร่ีท้ังประเทศจะมี
แนวโนม้ ลดลงเลก็ นอ้ ย แตย่ งั มปี ญั หาควรเฝา้ ระวงั คอื ในรอบ 3-4 ปที ผ่ี า่ นมา เกดิ นกั สบู นกั ดม่ื หนา้ ใหม่
ในกลมุ่ เดก็ เยาวชนและกล่มุ ผูห้ ญงิ เพมิ่ ขนึ้ เชน่ นักสบู หน้าใหมใ่ นปี 2560 ราว 2 แสนคน เป็นเยาวชน
อายุ 15-19 ปี ถงึ รอ้ ยละ 73.7 ปญั หาทส่ี ำ� คญั คือการสูบบหุ ร่ที ีน่ กั สบู ไทยสบู เฉลีย่ 10 มวนตอ่ วนั ท�ำให้
คนใกล้ชิดได้รับควันบุหร่ี ซ่ึงเป็นมลพิษทางอากาศท่ีมีฝุ่นละอองจ๋ิว PM 2.5 สูงถึง 220 ไมโครกรัม
ตอ่ ลกู บาศกเ์ มตร ซง่ึ อยใู่ นระดบั อนั ตรายตอ่ สขุ ภาพมาก มคี นไทยไดร้ บั ควนั บหุ รม่ี อื สองถงึ ราว 20 ลา้ นคน
ในจำ� นวนนี้ 13 ลา้ นคน ไดร้ บั ทุกวนั

9 ธนาคารแห่งประเทศไทยและศูนยว์ ิจัยกสิกรไทย กรุงเทพธุรกจิ 1 เมษายน 2562 หนา้ 17

8 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

ปญั หาคดอี าชญากรรม ปี 2561 มคี ดอี าญารบั แจง้ ความ 4.29 แสนคดี เพมิ่ ขนึ้ จากปี 2560 รอ้ ยละ
20.6 ส่วนใหญ่คือคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ส่วนคดีชีวิตร่างกายและเพศ ลดลงจาก ปี 2560 เล็กน้อย
คดยี าเสพตดิ นน้ั เกยี่ วขอ้ งกบั เดก็ และเยาวชนมาก ปี 2561 มกี ารจบั กมุ ผคู้ า้ ยารายยอ่ ยกวา่ 3.6 แสนคน
และน�ำผู้ติดสารเสพติดเข้ารับการบ�ำบัด 2.1 แสนคน ยาเสพติดส่วนใหญ่คือยาบ้า รองลงมาคือยาไอซ์
มกี ารแพรร่ ะบาดของสารเสพอน่ื ทเี่ พม่ิ ขน้ึ สงู ในกลมุ่ เดก็ และเยาวชน โดยเฉพาะกรงุ เทพฯ และเชยี งใหม่
และยังมสี ารเสพตดิ รูปแบบใหม่ ๆ ด้วย
ปญั หาอบุ ตั เิ หตกุ ารจราจรทางบก ยงั คงเป็นปัญหาใหญแ่ ละเพิ่มขึ้นในปี 2561 ถงึ ร้อยละ 16.1
รวมแล้วราว 1 แสนราย เสยี ชวี ติ 8,163 ราย บาดเจ็บ 6,812 ราย จ�ำนวนผู้เสียชวี ิตลดลงจากปี 2560
เลก็ นอ้ ย แตจ่ ำ� นวนผบู้ าดเจบ็ เพมิ่ ขน้ึ ยานพาหนะทเ่ี กดิ อบุ ตั เิ หตบุ นทอ้ งถนนมากทสี่ ดุ คอื รถจกั รยานยนต์
และเด็กเยาวชนอายุ 15-25 ปี เป็นกลุ่มที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์
โดยไมส่ วมหมวกกนั นอ็ กมากทสี่ ดุ เปรยี บเทยี บกบั ประเทศอน่ื ๆ ไทยมอี ตั ราการเสยี ชวี ติ จากอบุ ตั เิ หตุ
บนทอ้ งถนนต่อจ�ำนวนประชากรแสนคนสูงสดุ ในภมู ภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เรอ่ื งสทิ ธผิ บู้ รโิ ภค มกี ารรอ้ งเรยี นเรอื่ งมาตรฐานและคณุ ภาพสนิ คา้ และบรกิ ารทข่ี ายผา่ นออนไลน์
เพิ่มข้ึน การร้องเรียนเร่ืองสินค้าและบริการทั่วไปยังคงมีในหมวดอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่โฆษณาเกินจริง และมีค่าใช้จ่ายสูงส�ำหรับโรงพยาบาลเอกชน ปัญหาส�ำคัญข้อหน่ึงคือแม้จะมี
การร้องเรียนผลักดันให้รัฐบาลห้ามใช้สารเคมีอันตรายส�ำหรับก�ำจัดวัชพืช 3 รายการ คือ พาราควอต
ควอร์ไพริฟอส และโกลโฟเซต
สถานการณท์ างสังคมและความมนั่ คงของมนุษย์
กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ย์ (พม.) เสนอรายงานสถานการณท์ างสงั คม
และความม่นั คงของมนุษย์ ไตรมาสแรกของปี 2561 ต่อคณะรัฐมนตร1ี 0 มีสาระส�ำคญั พอสรุปได้ดังน้ี
โครงสร้างประชากร ใน 17 ปีข้างหนา้ (ปี 2579) สัดส่วนผูส้ งู อายุ (วัย 60 ปขี น้ึ ไป) จะเพิ่มขนึ้
สดั สว่ นของประชากรวยั ทำ� งาน (15-59 ป)ี และเดก็ วยั 0-14 ปี จะลดลงตามลำ� ดบั ในปี 2560 คนสงู อายุ
มีสัดส่วนร้อยละ 17 จะเพ่ิมเป็นร้อยละ 30 ในปี 2579 ขณะที่คนวัยท�ำงานจะมีสัดส่วนลดลงจาก
ร้อยละ 65 เหลือเพียงร้อยละ 56 ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน (เด็กมีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 18 เหลือ
รอ้ ยละ 14) ซง่ึ หมายถงึ วา่ อตั ราการพงึ่ พงิ ประชากรวยั แรงงานจะสงู ขนึ้ ประเทศจะมกี ำ� ลงั แรงงานในการ
ผลิตและหารายได้ลดลง11 แต่รัฐบาลจะตอ้ งมีคา่ ใช้จ่ายในการดูแลผสู้ งู อายุ (รวมท้ังเด็ก) เพมิ่ ขึ้น

10 กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ย์ รายงานสถานการณท์ างสงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ย์ ปี 2561 (มกราคม-มนี าคม)
www.tp504.m-society.go.th
11 บทความเรื่อง ประชากรไทยในอนาคต โดย ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และปราโมทย์ ประสาทกุล ให้ภาพว่าในปี 2578 (16 ปีข้างหน้า)
ผู้สงู อายุ อายุ 60 ปีขนึ้ ไปจะเพมิ่ ขึน้ เปน็ 16 ล้านคน และประชากรวัยเรยี น 6-21 ปี จะลดลงเหลือ 11 ลา้ นคน www.ipsr.mahidol.
ac.th/ipsr/annuac conference

บทที่ 1 9

สภาวะเศรษฐกิจสังคมของไทย ปี2561/2562

ปัญหาความยากจน เป็นปัญหาทางสังคมสูงอันดับหนึ่ง มีผู้รายได้ต่�ำท่ีมายื่นขอและได้ผ่าน
การพจิ ารณารบั บตั รสวสั ดกิ ารแหง่ รฐั 11.40 ลา้ นคน (2560) และมกี ารรอ้ งเรยี นทบ่ี รกิ ารศนู ยช์ ว่ ยเหลอื สงั คม
โทร. 1300 เฉพาะช่วงไตรมาสแรก ปี 2561 รวม 25,044 กรณี ท้งั เร่ืองความยากจนและปัญหาอน่ื ๆ
สถานการณ์คนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้ออกบัตรประจ�ำตัวคนพิการทั่วประเทศ
จำ� นวน 1.9 ลา้ นคน สว่ นใหญเ่ ปน็ คนสงู อายุ รองลงมาคอื วยั ทำ� งาน วยั เดก็ และวยั ศกึ ษา (แรกเกดิ -21 ป)ี
คนกล่มุ หลังน้ีมี 143,814 คน และมีความพิการทางสติปัญญามากท่สี ดุ
ผลการสำ� รวจความพกิ าร พ.ศ. 2560 โดยสำ� นกั งานสถติ แิ หง่ ชาตแิ ละองคก์ รยนู เิ ซฟ ประเมนิ วา่
ไทยมีประชากรพิการประมาณ 3.7 ล้านคน หรือร้อยละ 5.5 ของประเทศ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ทส่ี ำ� รวจ รอ้ ยละ 55.6 ไมไ่ ดจ้ ดทะเบยี นคนพกิ ารและไมไ่ ดร้ บั ความชว่ ยเหลอื จากรฐั ประชากรเดก็ พกิ าร
วยั เรยี น 5-17 ปี มถี งึ รอ้ ยละ 37.8 ทไ่ี มไ่ ดร้ บั การศกึ ษา ในขณะนน้ั (บางคนเคยไดเ้ รยี นชนั้ ประถม แตต่ อ้ ง
ออกกลางคัน) หัวหน้าครัวเรือนของคนพิการจ�ำนวนมากไม่ได้ท�ำงานประจ�ำ เพราะต้องคอยดูแลลูก
เด็กพิการจ�ำนวนมากพิการทางสติปัญญา บางคนท่ีพิการแต่ก�ำเนิดก็พิการซ้�ำซ้อนทั้งด้านร่างกายและ
สติปัญญา จากการส�ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2558 โดยส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ
พบว่ามีเดก็ แรกเกดิ ถึง 14 ปี พกิ ารจ�ำนวน 93,129 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 0.87 ของกลุ่มประชากรในวัยนี้
แม้รัฐบาลจะมีนโยบายให้การศึกษาเด็กพิการด้วย แต่ในทางปฏิบัติท�ำได้จ�ำกัด เพราะขาดแคลน
บคุ ลากรเฉพาะทางสำ� หรบั เดก็ พเิ ศษ โรงเรยี นตงั้ อยหู่ า่ งไกลจากบา้ นไมส่ ะดวก การเรยี นรว่ มกบั เดก็ ทว่ั ไป
อาจท�ำให้เด็กพิการถูกล้อเลียน ถูกรังแก ไม่มีทุนทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในการเรียน เด็กพิการท่ีได้เรียน
มปี ญั หาไม่สามารถดแู ลตนเองในชวี ติ ประจ�ำวนั ได1้ 2
สถานการณ์สตรีและครอบครัว ประชากรผู้หญิงมีจ�ำนวนมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย ในรอบ 30 ปี
ผู้หญิงมีการศึกษาโดยเฉลี่ยท้ังประเทศสูงข้ึน ท�ำงานนอกบ้านเพ่ิมข้ึน แต่มีโอกาสก้าวหน้าและได้เป็น
ผู้น�ำน้อยกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในระบบราชการและการปกครองท้องถิ่น สัดส่วนของผู้หญิงท่ีเป็น
หวั หนา้ ครอบครวั เพิ่มขึ้น เนอื่ งจากการหย่ารา้ ง การแยกกนั อยู่หรอื สามเี สียชวี ติ กอ่ น
รายงานสถานการณเ์ ดก็ และสตรใี นประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 โดยองคก์ รยนู เิ ซฟ (องคก์ าร
เพ่ือเด็กแหง่ สหประชาชาต)ิ 13
มเี ดก็ ตงั้ แตแ่ รกเกดิ ถงึ 4 ปี ราว 7 แสนคน (หรอื เกอื บ 20% ของเดก็ วยั เดยี วกนั ) ทไี่ มไ่ ดอ้ าศยั อยกู่ บั
พอ่ แม่ ทง้ั ทบี่ คุ คลทง้ั สองยงั มชี วี ติ อยู่ สว่ นใหญค่ อื เดก็ ในกลมุ่ จนและจนมาก ในภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื
เพราะพอ่ แมย่ า้ ยถนิ่ เพอื่ หางานทำ� ถา้ รวมเดก็ ตง้ั แตแ่ รกเกดิ ถงึ 17 ปี มเี ดก็ และเยาวชนทไ่ี มไ่ ดอ้ าศยั อยกู่ บั
พอ่ แม่ (ทยี่ งั มชี วี ติ อย)ู่ มถี งึ 3.1 ลา้ นคน นคี่ อื ปญั หาทางสงั คมทมี่ ผี ลกระทบตอ่ คณุ ภาพการจดั การศกึ ษา
อย่างส�ำคัญ ที่ไม่ค่อยมีใครสนใจกล่าวถึง เพราะสถานการณ์เช่นน้ีท�ำให้เด็กเศร้า ไม่ได้รับความอบอุ่น
มีปัญหาทั้งสขุ ภาพกาย สขุ ภาพจติ การเรยี นและพฒั นาการในชวี ติ

12 www.tcisthai.com/news/2019/4/scoop/8938 7 เมษายน 2562
13 ยนู เิ ซฟ, รายงานสำ� รวจสถานการณเ์ ด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 www.unicef.org/thailand/tha/
resources.html.

10 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

ปัญหาความเหล่ือมล�้ำต�่ำสูงทางฐานะรายได้สร้างปัญหาให้กับเด็กมาจากครอบครัวยากจน เช่น
ไดร้ บั โภชนาการทไ่ี มส่ มดลุ นำ้� หนกั ตำ�่ กวา่ เกณฑม์ าตรฐาน ไดเ้ ขา้ เรยี นการศกึ ษาปฐมวยั และมธั ยมศกึ ษา
เป็นสัดส่วนน้อยกว่า เข้าเรียนประถมหน่ึงช้ากว่า พ่อแม่มีการศึกษาต่�ำกว่าและมีความรู้ ความเข้าใจ
ความสามารถในการเล้ียงดูน้อยกว่า มีหนังสือและของเล่นในบ้านน้อยกว่า มีโอกาสเรียนรู้จากการ
ไดเ้ ข้าเรยี นศูนยก์ ารศึกษาปฐมวัยตำ่� กวา่ เดก็ จากครอบครวั ท่ีมฐี านะดกี วา่
ปญั หาของเดก็ บางเรอื่ งกเ็ ปน็ เรอื่ งทเ่ี กดิ จากการทพ่ี อ่ แมข่ าดความรู้ ความเขา้ ใจ ความเอาใจใส่ หรอื
พอ่ แมต่ อ้ งใชเ้ วลาทำ� งานเพอ่ื หาเงนิ เปน็ หลกั ไมว่ า่ รำ�่ รวยหรอื จน พกั อยเู่ ขตเทศบาลหรอื นอกเขตเทศบาล
ทำ� ใหเ้ ด็กไทยมปี ัญหาคล้าย ๆ กัน และหลายเรอ่ื งเปน็ ปัญหาทคี่ วรได้รับการแก้ไขได้ ถ้ามกี ารช่วยเหลือ
พอ่ แมท่ ง้ั ในเรื่องความร้แู ละค่าใชจ้ า่ ยในการเลี้ยงดเู ดก็
เดก็ แรกเกดิ ถงึ 6 เดอื น ทไ่ี ดก้ นิ นมแม่ (ซง่ึ ดตี อ่ สขุ ภาพและพฒั นาการทางจติ ใจสงู กวา่ นมววั มาก)
มเี พยี งรอ้ ยละ 10 สว่ นเดก็ ทไี่ ดก้ นิ นมแมห่ ลงั อายุ 6 เดอื นไปแลว้ ยงิ่ ลดลงอยา่ งมาก องคก์ ารยนู เิ ซฟเสนอให้
แม่มีสิทธิลาคลอดได้ 6 เดือน และสถานท่ีท�ำงานจัดให้มีห้องที่เล้ียงเด็กในที่ท�ำงานเพื่อที่แม่ท่ีท�ำงาน
จะไดแ้ วะมาให้นมลกู ได้
เดก็ ไทยอายตุ ำ�่ กวา่ 5 ปี ทนี่ ำ�้ หนกั ตำ�่ กวา่ เกณฑม์ าตรฐานปานกลางและรนุ แรงมถี งึ ราว 2.5 แสนคน
(ราว 10.5% ของเด็กวัยเดียวกัน) จะมีผลเสียต่อทั้งเร่ืองสุขภาพและการพัฒนาสมอง ขณะเดียวกัน
เดก็ วยั เดยี วกนั ทม่ี ภี าวะอว้ น (นำ้� หนกั ตวั สงู กวา่ เกณฑม์ าตรฐานเมอื่ เทยี บกบั สว่ นสงู ) มรี าว 10% พอกนั
ภาวะโภชนาการไมส่ มดลุ นี้ จะมีผลเสียหายตอ่ พฒั นาการด้านสขุ ภาวะของเด็กตอ่ ไปมาก
เดก็ ทมี่ วี ยั ควรไดเ้ รยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาแตไ่ มไ่ ดเ้ ขา้ เรยี น มี 7 แสนคน (14.1%) สว่ นใหญม่ าจาก
ครอบครวั ยากจน การทเ่ี ดก็ วยั นไี้ มไ่ ดเ้ รยี นถงึ ชนั้ มธั ยมศกึ ษาสง่ ผลถงึ ปญั หาอน่ื ตามมา เชน่ การตงั้ ครรภ์
ในวยั รนุ่ การขาดความรู้ การปอ้ งกนั โรคเอดสแ์ ละเรอื่ งอน่ื ๆ เปน็ แรงงานทผ่ี ลติ ภาพตำ่� หรอื วา่ งงานเพมิ่
ปญั หาวยั รนุ่ สถติ กิ ารตงั้ ครรภใ์ นวยั รนุ่ ซง่ึ ขาดแคลนความพรอ้ มทจ่ี ะเปน็ แมท่ ม่ี คี ณุ ภาพ ของไทยสงู กวา่
หลายประเทศ (สัดสว่ นอยู่ท่ี 51 คน ต่อผู้หญิง 1,000 คน)
การเลี้ยงดูลูกอย่างไม่มีความรู้เรื่องจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก เป็นปัญหาของคนไทยท่ัวไป
กลุ่มพ่อแม่ท่ีตอบสัมภาษณ์มีเกือบครึ่งหนึ่งท่ีเช่ือว่าการลงโทษทางร่างกายเป็นส่ิงจ�ำเป็นในการเลี้ยงดู
และสอนเด็ก และการส�ำรวจกลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 1-14 ปี พบว่าเด็กกว่าคร่ึงเคยได้รับการอบรม
โดยพ่อแม่ผู้ปกครองใช้วิธีท�ำร้ายร่างกายและถ้ารวมการใช้ความรุนแรงหรือการท�ำร้ายด้านจิตใจด้วย
มถี งึ รอ้ ยละ 75.2 เดก็ ในชว่ งวยั 3-9 ปี เปน็ เดก็ ในชว่ งวยั ทถี่ กู พอ่ แมผ่ ปู้ กครองใชค้ วามรนุ แรงเพอื่ สรา้ งวนิ ยั
สูงกวา่ ชว่ งวยั อื่น
สถานการณเ์ ดก็ และเยาวชนทีม่ ปี ญั หา
นายสุรนาถ แป้นประเสริฐ แกนน�ำคนท�ำงานด้านเด็กและเยาวชน 30 องค์กร กล่าวในเวที
การประชมุ เครือข่ายองค์กรด้านเดก็ และเยาวชน 30 องคก์ ร วิพากษ์นโยบายพรรคการเมอื งทเ่ี ก่ียวข้อง
กบั เดก็ และเยาวชนเม่อื วันที่ 14 มนี าคม 2562 ว่า

บทที่ 1 11

สภาวะเศรษฐกิจสังคมของไทย ปี2561/2562

เดก็ และเยาวชนอายตุ ำ่� กวา่ 18 กอ่ คดเี ขา้ สสู่ ถานพนิ จิ ฯ มากกวา่ 30,000 คนตอ่ ปี เกอื บครงึ่ หนง่ึ
เป็นคดยี าเสพตดิ ต้องออกจากโรงเรียนกลางคนั อกี เกอื บหมนื่ คนตอ่ ปี ตดิ ยาเสพติด 300,000 คนตอ่ ปี
มนี กั ดมื่ หนา้ ใหม่ 250,000 คนตอ่ ปี เสยี ชวี ติ เพราะอบุ ตั เิ หตปุ ลี ะ 2,510 ราย เลน่ พนนั 3.6 ลา้ นคนตอ่ ปี
ในรอบปนี ม้ี ขี า่ วความรนุ แรงทางเพศในเดก็ และเยาวชนกวา่ 317 ขา่ ว ตลอดจนสถติ กิ ารทอ้ งกอ่ นวยั อนั ควร
ท่สี ูงเป็นอนั ดับสองของอาเซียน ใช้เวลากับหน้าจอ 35 ชว่ั โมงต่อสัปดาห์ เปน็ ต้น14
ดร.สปุ รดี า อดลุ ยานนท์ ผจู้ ดั การกองทนุ สนบั สนนุ การสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพ กลา่ วในเวทรี บั ฟงั ความคดิ เหน็
“เสยี งเลก็ ๆ จากเดก็ ถกู เท” วนั ท่ี 18 กนั ยายน 2560 วา่ มเี ดก็ เยาวชนทอี่ ยใู่ นภาวะเปราะบาง (มปี ญั หาตา่ ง ๆ)
ไม่ต่�ำกว่า 3.17 ล้านคน ท้ังเด็กเยาวชนท่ีมีความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ราว 10% ของประชากร
เดก็ ไทย เดก็ ยากจนพเิ ศษ 476,000 คน ลกู แรงงานตา่ งดา้ ว 250,000 คน กลมุ่ เดก็ ไทยทย่ี งั ไมไ่ ดส้ ญั ชาติ
ราว 200,000 คน แมว่ ยั รนุ่ 104,289 คน (15% ของผหู้ ญงิ ทใี่ หก้ ำ� เนดิ ) กลมุ่ เดก็ เยาวชนทถ่ี กู ดำ� เนนิ คดี
33,121 คน สว่ นใหญม่ าจากครอบครัวท่พี อ่ แม่แยกทางและหลุดจากระบบการศกึ ษา15
นพ.บญุ เรอื ง ไตรเรอื งวรวฒั น ์ อธบิ ดกี รมสขุ ภาพจติ กลา่ วเมอื่ วนั ที่ 13 มกราคม 2561 ในจำ� นวน
ประชากรเดก็ (อายตุ ำ่� กวา่ 18 ปบี รบิ รู ณ)์ ในประเทศไทยมจี ำ� นวน 13,825,194 คน (กรมการปกครอง :
ม.ิ ย.2560) เป็นเด็กดอ้ ยโอกาสอยู่ไมต่ ่�ำกว่า 5 ลา้ นคน ส่วนใหญเ่ ปน็ เด็กยากจน ร้อยละ 80 เป็นกลุม่
เด็กหลายชาติพันธุ์ ท่ียังไม่มีการข้ึนทะเบียนสิทธิด้านสาธารณสุขทั้งหลักประกันสุขภาพและการรักษา
ที่ชัดเจนร้อยละ 6 กลุ่มเด็กที่มีความพิการทางสติปัญญาและออทิสติก จ�ำนวน 220,842 คน ผู้มี
ความด้อยโอกาสในหลายด้านรวมอยู่ด้วยน้ัน เข้าถึงระบบบริการทางสุขภาพ เพียงร้อยละ 5.59 และ
เข้าถึงระบบการศึกษา เพียงร้อยละ 25.33 ซึ่งเด็ก 2 กลุ่มน้ีเป็นกลุ่มที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงระบบ
บรกิ ารดา้ นสาธารณสขุ และดา้ นการศกึ ษามากทสี่ ดุ อนั จะสง่ ผลถงึ การเจรญิ เตบิ โตตามพฒั นาการอยา่ ง
สมวยั และประเทศชาตยิ งั เสียโอกาสทส่ี �ำคัญในการมบี ุคลากรทีม่ ีคุณภาพในอนาคตอกี ด้วย16
ในปี 2559 จากจำ� นวนเด็กทคี่ ลอด 666,207 คน มาจากแมว่ ยั รนุ่ อายุ 10-19 ปี คดิ เปน็ ร้อยละ
15 ของการคลอดทง้ั หมด เทยี บสดั สว่ นตอ่ ประชากรผหู้ ญงิ วยั เจรญิ พนั ธ์ุ คอื 42.5 รายตอ่ ประชากร 1,000 คน
แม้สัดส่วนแม่วยั ร่นุ น้จี ะลดลงมาจากปี 2556 เลก็ นอ้ ย แตก่ ็ยงั ถอื ว่าสงู อยู่ (ปี 2560 สัดส่วน 39.6 ราย
ตอ่ 1,000 คน) ในปี 2556 นนั้ สถติ แิ มว่ ยั รนุ่ ตอ่ ประชากรผหู้ ญงิ วยั เจรญิ พนั ธส์ุ งู เปน็ อนั ดบั 2 ในภมู ภิ าค
อาเซียน คิดเป็น 13 เท่าของสิงคโปร์ แม้จะยังไม่มีตัวเลขท่ีแน่ชัดของจ�ำนวนผู้หญิงที่ต้ังครรภ์ทั้งหมด
ในประเทศไทย เนื่องจากส่วนหนึ่งยุติการตั้งครรภ์ด้วยการท�ำแท้ง ปัญหาน้ีส่งผลต่อการเรียนต่อของ
แม่วัยรุ่น การเลี้ยงดูท่ไี ม่พร้อม คุณภาพของประชากรไทยในอนาคต17

14 นสพ.ไทยรัฐ 15 มนี าคม 2562 หน้า 15
15 ส�ำนักข่าวอศิ รา http://www.isranews.org เวที “เสยี งเล็ก ๆ จากเด็กถูกเท” 18 กนั ยายน 2560
16 https://www.hfocus.org/content/2018/01/15222 13 มกราคม 2561
17 https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/11644 2 พฤษภาคม 2561

12 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

การใช้แรงงานเด็ก กรมสวัสดิการและคมุ้ ครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน แถลงเร่ืองการส�ำรวจ
การทำ� งานของเดก็ ไทยในประเทศไทยปี 2561 วา่ จากประชากร 66.4 ลา้ นคน เปน็ ประชากรเดก็ 10.47
ลา้ นคน ในสว่ นนมี้ เี ดก็ ทำ� งาน 4.09 แสนคน สว่ นใหญอ่ ยใู่ นกลมุ่ อายุ 15-17 ปี รองลงมาคอื กลมุ่ อายุ 5-12 ปี
และกลุ่มอายุ 13-14 ปี ส่วนใหญ่คือช่วยธุรกิจครัวเรือนในภาคเกษตร การค้า และบริการ แต่ก็มีส่วน
ทำ� งานในภาคการผลติ ของธรุ กิจเอกชน รวมท้งั ทำ� งานประเภทเสย่ี งอนั ตรายด้วย แรงงานเด็กส่วนหนง่ึ
รอ้ ยละ 44.9 ทำ� งานไปดว้ ยเรยี นไปดว้ ย แตม่ รี อ้ ยละ 55.1 (มากกวา่ 2 แสนคน) ทไ่ี มไ่ ดเ้ รยี นหนงั สอื 18
สถานการณย์ าเสพตดิ ผู้ป่วยทางจติ และปญั หาทตี่ ามมา
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) กล่าวในพิธีลงนามของ
15 หนว่ ยงาน บนั ทกึ ขอ้ ตกลงวา่ ดว้ ยความรว่ มมอื เพอ่ื ปอ้ งกนั เฝา้ ระวงั และแกไ้ ขปญั หาผปู้ ว่ ยทมี่ อี าการ
ทางจิตอันเน่ืองมาจากการใช้ยาเสพติด19 ว่ากรมสุขภาพจิตคาดการณ์ว่ามีคนติดสารเสพติดประมาณ
3 แสนคนต่อปี ในจ�ำนวนนี้มีโอกาสเกิดโรคภาวะทางจิตเวชประมาณ 21,000-45,000 คน และกว่า
3,000 ราย เป็นผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อพฤติกรรมรุนแรงท่ียังไม่ได้รับการศึกษา (วิจัย) แม้ข้อมูลชุดน้ี
จะไม่ได้แยกเรอ่ื งอายุ แตข่ ้อมลู ชุดอ่นื ๆ รายงานว่าคนตดิ ยาเสพตดิ สว่ นใหญ่คอื เดก็ และเยาวชน
สถานการณ์โรคซึมเศร้าและการฆา่ ตัวตาย
โฆษกกรมสขุ ภาพจติ เปดิ เผยเมอ่ื 20 กมุ ภาพนั ธ์ 2562 วา่ ในชว่ ง 10 ปที ผี่ า่ นมา มคี นไทยฆา่ ตวั ตาย
เกือบ 40,000 ราย ฆ่าตัวตายส�ำเร็จอยู่ท่ีประมาณ 340 รายต่อเดือน สาเหตุมาจากโรคทางจิตเวช
ที่ไม่สามารถรับการวินิจฉัย เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ การติดสุรา ยาเสพติด การพนัน ปัญหา
สขุ ภาพเร้ือรงั ปญั หาเศรษฐกิจ และอื่น ๆ20
ขอ้ นา่ สงั เกต คอื ขา่ วจากสอื่ ตา่ ง ๆ ในชว่ งปี 2561-ครงึ่ แรกปี 2562 เยาวชนหนมุ่ สาวทเ่ี ปน็ นกั เรยี น
นสิ ติ นกั ศกึ ษา เปน็ โรคซมึ เศรา้ โรคเครยี ด พยายามฆา่ ตวั ตาย และฆา่ ตวั ตายสำ� เรจ็ เพม่ิ ขนึ้ บทความชน้ิ หนง่ึ
อ้างกรมสุขภาพจิตวา่ วยั รุ่นเสย่ี งเปน็ โรคซมึ เศรา้ 3 ลา้ นกว่าคน และคาดวา่ ปว่ ยแลว้ กว่า 1 ล้านคน21
สถานการณ์การเล่นการพนนั ของกลุ่มเยาวชน
ศนู ยว์ จิ ยั เพอื่ การพฒั นาสงั คมและธรุ กจิ ไดว้ จิ ยั เรอ่ื ง การศกึ ษา สถานการณ์ พฤตกิ รรม และผลกระทบ
การพนนั ในประเทศไทย ประจำ� ปี 2560 โดยใชว้ ธิ สี มุ่ ตวั อยา่ งแบบหลายขนั้ ประชากรไทยทม่ี อี ายุ 15 ปี
ขึ้นไป ใน 25 จงั หวดั ท่ัวประเทศ จำ� นวน 7,008 ตัวอยา่ ง ช่วงวนั ที่ 15 กนั ยายน ถงึ 12 ตุลาคม 2560
มีตัวอย่างเยาวชน (นยิ ามขององคก์ ารสหประชาชาติ) อายุ 15-25 ปี 1,342 ตัวอย่าง

18 กรุงเทพธรุ กจิ 12 มถิ ุนายน 2562
19 กรุงเทพธรุ กิจ 15 มนี าคม 2562
20 ไทยรัฐ 21 กมุ ภาพนั ธ์ 2562 หนา้ 11
21 จดุ ประกาย กรงุ เทพธรุ กจิ 26 กนั ยายน 2561

บทท่ี 1 13

สภาวะเศรษฐกิจสังคมของไทย ปี2561/2562

การสอบถามกลมุ่ เยาวชนถงึ การเลน่ การพนนั ในรอบ 12 เดอื นทผี่ า่ นมา เยาวชนตอบวา่ เลน่ การพนนั
รอ้ ยละ 36.9 ประมาณการ (ทงั้ ประเทศ) เทา่ กบั 3,649,303 คน การพนนั ทน่ี ยิ มคอื สลากกนิ แบง่ รฐั บาล
หวยใต้ดิน ไพ่ พนันทายผลฟุตบอล และบิงโก เยาวชนราว 1 ล้านคน เล่นท้ังสลากกินแบ่งรัฐบาลและ
หวยใต้ดนิ
เมอ่ื ใหเ้ ยาวชนทเ่ี ลน่ การพนนั ประเมนิ ตนเอง ตามแบบการประเมนิ ของนกั จติ วทิ ยา พบวา่ รอ้ ยละ
11.1 (ถา้ ประมาณการทงั้ ประเทศจะไดเ้ ทา่ กบั จำ� นวน 406,380 คน) ระบวุ า่ ตนเองตดิ การพนนั เยาวชน
ทเ่ี รมิ่ เลน่ การพนนั จากการทายผลฟตุ บอลเปน็ กลมุ่ ทรี่ ะบวุ า่ ตนเองตดิ การพนนั สงู ทส่ี ดุ รองลงมาคอื กลมุ่
ท่ีเร่ิมต้นจากการเล่นพนันไพ่ หวยใต้ดิน และสลากกินแบ่งรัฐบาล และมีอีกประมาณการร้อยละ 19.3
(ราว 7 แสนคน) ท่ีตอบว่าไม่แน่ใจว่าตนเองติดการพนันหรือไม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเส่ียงท่ีมีโอกาสติดต่อไปได้
เช่นกัน22

1.4 สถานการณส์ ิง่ แวดล้อม

สภาพภูมิอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงมาตลอดในช่วง 5 ปีท่ีผ่านมา
จากการที่กิจกรรมขนส่งในการผลิตและบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมและบริการของมนุษย์ ปล่อย
คาร์บอนไดออกไซด์ (จากการใช้เช้ือเพลิงจากฟอสซิล น�้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซ) ขึ้นไปปิดช้ันบรรยากาศ
อุณหภูมิน้�ำตอนกลางและฝั่งตะวันออกในมหาสมุทรแปซิฟิกและอ่ืน ๆ ที่สูงข้ึนกว่าปกติ ท�ำให้เกิด
ปรากฏการณเ์ อลนโี ญ ผลกระทบตอ่ ภมู อิ ากาศแปรปรวนทวั่ โลก นำ� ไปสภู่ าวะแหง้ แลง้ ในพน้ื ทโี่ ดยปกตแิ ลว้
มคี วามชมุ่ ชน้ื เกดิ ไฟปา่ ทรี่ นุ แรงและมวี งกวา้ งมากขนึ้ ขณะทพี่ น้ื ทเ่ี คยแหง้ แลง้ กลบั มฝี นตก ภยั พบิ ตั นิ ำ้� ทว่ ม
ภาวะโลกที่ร้อนขึ้น (มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงข้ึน) ยังส่งผลให้เกิดภัยพิบัติและสภาพอากาศสุดข้ัว เช่น
คลื่นความร้อน ไฟป่า ภาวะแห้งแล้ง น�้ำท่วม พายุรุนแรง กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน
ภาคเกษตร ภาวะอดอยากของประชาชนในบางพ้นื ท่ี การทอี่ ากาศร้อนหรือหนาวจดั แบบสดุ ขั้วเพิ่มขึน้
ประชาชนตอ้ งใชเ้ ครอ่ื งปรบั อากาศเพิม่ ขึน้ (ซ่ึงมีผลท�ำใหใ้ ช้ไฟฟ้าเพม่ิ และท�ำให้โลกร้อนเพิม่ ) ในบรรดา
10 ประเทศ ทจ่ี ะไดร้ บั ผลกระทบจากสภาพภมู อิ ากาศเปลย่ี นแปลงมากทสี่ ดุ อยใู่ นทง้ั เอเชยี ลาตนิ อเมรกิ า
และแอฟริกา มีไทยติดอันดับอยู่ด้วย23 สภาวะอากาศและต้านภัยธรรมชาติจากท่ัวโลก ท่ีรวบรวมโดย
https://www.accuweather.com ระบุว่าไทยมีความเปราะบาง มีโอกาสเสี่ยงต่อความแปรปรวน
ทางสภาพอากาศมากเปน็ อันดบั ที่ 9 ของโลก
อาจารยเ์ สรี ศภุ ราทติ ย์ ผอู้ ำ� นวยการศนู ยก์ ารเปลย่ี นแปลงภูมอิ ากาศและภยั พบิ ัติ มหาวทิ ยาลัย
รังสิต ให้สัมภาษณ์ว่า สภาวะภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงจะท�ำให้ประเทศไทยมีน้�ำท่วมและภัยแล้ง
บอ่ ยครง้ั ขน้ึ กวา่ ในยคุ กอ่ นหนา้ นี้ คอื มโี อกาสทน่ี ำ้� จะทว่ มใหญท่ กุ 10 ปี และภยั แลง้ จะเกดิ ถขี่ น้ึ ทกุ 2-3 ปี
ประเทศไทยยังบริหารจัดการเร่ืองน�้ำไม่ดีพอ การปลูกพืชนิยมปลูกตามกระแสข่าวว่าพืชไหนราคาสูง

22 ศูนยศ์ กึ ษาปัญหาการพนนั จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั สถานการณก์ ารพนนั กลมุ่ เยาวชน ปี 2560 รายงานปัญหาการพนนั
ปี 2561 www.gamblingstudy.th.org
23 http://thaipublica.org 2 มกราคม 2019, 2019 ปีท่โี ลกร้อนทส่ี ุดจากปรากฏการณเ์ อลนโี ญ

14 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

เกษตรกรกจ็ ะปลูกตาม ๆ กนั เช่น ตอนนนี้ ยิ มปลูกทุเรียน ซงึ่ เปน็ พืชกินน�้ำมาก ในภาคตะวันออก ตอ้ ง
ใชน้ ำ้� รว่ มกบั พน้ื ทภ่ี าคอตุ สาหกรรม ดงั นนั้ นำ้� อาจจะไมพ่ อหรอื มรี าคาสงู ขน้ึ และถา้ ตอ่ ไปผลผลติ ทเุ รยี น
ออกมามาก ราคากจ็ ะตกแบบเดยี วกบั ยางพารา รฐั บาลควรใหค้ วามร้แู ละคอยดแู ลชว่ ยเหลอื เกษตรกร
เรอ่ื งแหลง่ น้�ำ การคาดการณเ์ รื่องน�้ำ ภยั แลง้ และความเหมาะสมในการปลกู พชื แต่ละท้องที่ด้วย24
สถานการณม์ ลพิษของไทย
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปสภาพปัญหาน�้ำ อากาศ
และขยะ25 มีประเด็นทนี่ า่ สนใจ เช่น
คณุ ภาพนำ้� ใน 59 แมน่ ำ้� สายหลกั และ 6 แหลง่ นำ�้ นงิ่ อยใู่ นเกณฑด์ รี อ้ ยละ 45 พอใชร้ อ้ ยละ 43
และเกณฑเ์ สอื่ มโทรมรอ้ ยละ 12 ภาคกลางมคี ณุ ภาพนำ�้ เสยี เสอ่ื มโทรมมากกวา่ ภาคอน่ื โดยเฉพาะแมน่ ำ้�
เจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้�ำท่าจีนตอนกลางและลา่ ง ล�ำตะคองตอนลา่ ง พังราดตอนบน
คุณภาพน�้ำทะเล อยู่ในเกณฑ์ดีและดีมาก ร้อยละ 59+1 พอใช้ ร้อยละ 35 เกณฑ์เสื่อมโทรม
และเสื่อมโทรมมากร้อยละ 5+1 บริเวณที่เสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่องคืออ่าวไทยตอนบน และปากแม่น�้ำ
สายหลกั
คุณภาพอากาศ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝุ่นละอองมาก ต้ังแต่ช่วงปลายปีเดือนธันวาคม
ถงึ เดอื นมนี าคมของทกุ ปี จากปญั หายานพาหนะ โรงงาน การกอ่ สรา้ ง การผลติ ไฟฟา้ และอน่ื ๆ จงั หวดั อน่ื
ที่มีปัญหาคือ 9 จังหวัดภาคเหนือ จากปัญหาไฟไหม้ป่าและทุ่ง ต.หน้าพระลาน จ.สระบุรี และ
ต.มาบตาพดุ จ.ระยอง จากปญั หาโรงงานอุตสาหกรรม
ขยะมูลฝอย ปี 2561 มี 27.82 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 1.04 ยังมีขยะท่ีก�ำจัดอย่าง
ไม่ถูกต้อง 7.36 ล้านตัน (ร้อยละ 27) มขี ยะพลาสติกราว 2 ล้านตัน ทม่ี ีการแยกขยะและน�ำกลับมาใช้
ประโยชน์ใหม่ได้เพียง 5 แสนตัน (ร้อยละ 25) นอกจากนี้ยังมีกากของเสียอุตสาหกรรม 22.02 ล้าน
ตัน เป็นกากอันตราย 1.2 ล้านตัน ส่วนหนึ่งมาจากการน�ำขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกเข้ามา
เพอื่ คดั แยก รายการนเี้ ปน็ คนละสว่ นกบั ขยะอนั ตรายจากซากผลติ ภณั ฑเ์ ครอ่ื งใชไ้ ฟฟา้ และอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์
แบตเตอรี่ ถา่ นไฟฉาย ภาชนะบรรจสุ ารเคมี กระปอ๋ งสเปรย์ รวมแลว้ 6.38 แสนตนั ขยะอนั ตรายกลมุ่ น้ี
ได้รับการจดั การอย่างถูกต้องเพียงรอ้ ยละ 13
สถานการณ์ฝนุ่ พษิ ในกรงุ เทพฯ และเมอื งใหญ่อื่น ๆ
รายงานสภาวะสงั คมไทยของสำ� นกั งานสภาการพฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ รายงาน
เรื่องมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน
(PM 2.5) ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ ว่าเกินมาตรฐานความปลอดภัย (ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและอ่ืน ๆ)
โดยเฉพาะในชว่ งเดอื นมกราคม-มนี าคมของทกุ ปี ซง่ึ สภาพอากาศปดิ ลมสงบ ความเรว็ ตำ�่ ทำ� ใหอ้ ากาศ

24 http://www.technologychaoban.com วันทอ่ี ขู่ ้าวอนู่ ำ้� ตอ้ งรบั มอื “ไทย” เปราะบางอนั ดับ 9 ของโลก 16 กรกฎาคม 2561
25 ตรวจสภาพมลพษิ ปี 61 กรุงเทพธุรกิจ 20 มกราคม 2562

บทที่ 1 15

สภาวะเศรษฐกิจสังคมของไทย ปี2561/2562

ลอยตวั ไมไ่ ด้ ในชว่ ง 3 เดอื นแรก ปี 2562 ในกรงุ เทพฯ และเมอื งใหญอ่ น่ื ๆ ฝนุ่ ละอองขนาดเลก็ PM 2.5
มคี า่ เฉลี่ย 24 ชวั่ โมง สงู มากกวา่ 100 ไมโครกรัม/ลกู บาศกเ์ มตร (คา่ มาตรฐานขององคก์ ารอนามัยโลก
คอื ไมค่ วรเกนิ 50 ไมโครกรัมต่อลกู บาศก์เมตร)
สาเหตขุ องฝนุ่ ละอองทเี่ ปน็ อนั ตรายนม้ี าจากการเผาไหมข้ องเครอ่ื งยนต์ โดยเฉพาะเครอ่ื งยนตด์ เี ซล
การกอ่ สรา้ ง การปลอ่ ยควนั ของโรงงานอตุ สาหกรรม การผลติ ไฟฟา้ และการเผาไหมต้ า่ ง ๆ ในภาคเหนอื
ในช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาคม-เมษายน 2562 มีปัญหารุนแรงต่อเน่ืองมากกว่าในกรุงเทพฯ เน่ืองจาก
มกี ารเผาวชั พชื และเผาปา่ กนั มากและตอ่ เนอ่ื ง ปญั หาเรอื่ งฝนุ่ ละอองขนาดเลก็ ทเ่ี ปน็ อนั ตรายนใี้ นประเทศอน่ื
ก็ประสบปัญหาเช่นกัน แต่พวกเขาพยายามหาทางแก้ไขอย่างเอาจริง เช่น สั่งปิดโรงงานผลิตไฟฟ้า
จากถ่านหิน ระงบั โครงการก่อสร้าง หา้ มการเผาใบไม้ ขยะ ทุกชนดิ ห้ามขายอาหารปง้ิ ยา่ ง หา้ มจดุ พลุ
หา้ มรถแทก็ ซ่วี งิ่ บังคับให้รถยนตแ์ ล่นลดลงเฉพาะวันคู่และวันคี่ (แลว้ แต่ทะเบยี น)
สถานการณ์มลภาวะโดยเฉพาะฝุ่นผงขนาดเล็ก PM 2.5 ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองใหญ่
อน่ื ๆ สว่ นหนง่ึ มาจากปญั หาระบบการขนสง่ การจราจรตดิ ขดั ลกั ษณะของเชอ้ื เพลงิ (ดเี ซล) และอายรุ ถ
ท่ีเก่า การเผาไหม้ไม่ดี ปริมาณรถยนต์ในช่วง 10 ปีท่ีผ่านมา เพ่ิมข้ึนมาโดยตลอด โดยเฉพาะรถยนต์
น่ังส่วนบุคคล เพ่ิมข้ึน 8% ต่อปี จาก 1.1 แสนคัน ในปี 2551 เป็น 4.24 ล้านคัน ในปี 2560
รถบรรทุกส่วนบุคคล เฉพาะรถจดทะเบียนในกรุงเทพฯ ในปี 2560 มี 5.5 ล้านคัน ในจ�ำนวนนี้เป็น
รถดีเซล (ท่ีก่อมลภาวะมาก) 38% ของรถบรรทกุ ส่วนบุคคลทั้งหมด
การมีพ้ืนท่ีสวนสาธาณะในเมืองจะช่วยลดฝุ่นได้ องค์การอนามัยโลกก�ำหนดว่าเมืองควรจะมี
พน้ื ทสี่ วนสาธารณะคดิ เฉลย่ี 9 ตารางเมตรตอ่ ประชากร 1 คน แตก่ รงุ เทพฯ มพี น้ื ทส่ี าธารณะเฉลยี่ เพยี ง
3 ตารางเมตรตอ่ คน ตำ�่ กวา่ มาตรฐานขององคก์ ารอนามยั โลก 3 เทา่ ตวั 26 สถานการณม์ ลภาวะในกรงุ เทพฯ
และเมืองใหญ่มีผลทางดา้ นลบต่อสุขภาพและการพัฒนาทางด้านสมอง สติปญั ญาของเดก็ และเยาวชน
สถานการณ์ด้านส่ิงแวดล้อมอ่ืน ๆ คือมีการใช้ถุงพลาสติกมาก และถุงพลาสติกใช้แล้วจะไหล
จากแมน่ ำ้� ลำ� คลองลงทะเล ในชว่ งปี 2561-2562 มกี ารพบวาฬทตี่ ายเนอื่ งจากกลนื ถงุ พลาสตกิ จำ� นวนมาก
เข้าไป ปญั หาภาคประชาชนประท้วง มลภาวะที่เกิดจากการทำ� เหมืองทองคำ� โรงงานไฟฟา้ จากถ่านหนิ
ขยะ และโครงการทมี่ ผี ลตอ่ สภาพแวดลอ้ มอน่ื ๆ ตลอดจนการประทว้ งกรณจี บั นกั ธรุ กจิ ใหญข่ น้ึ ศาลขอ้ หา
บุกรุกล่าเสือด�ำ สัตว์สงวนและสัตว์อื่น ๆ ปัญหาน�้ำท่วมในฤดูฝนบางพื้นที่และปัญหาภัยแล้งในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูร้อน ปญั หาพายุ ดนิ ถลม่ บ้านริมตล่ิงถกู น�้ำเซาะพงั และปญั หาอื่น ๆ ปญั หา
เหลา่ นี้ เช่อื มโยงกบั เรอื่ งคณุ ภาพชีวิตของประชาชนรวมท้งั เด็กและเยาวชน

26 หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ คอลมั นิสตจ์ ับกระแส “บ้าน 1 หลัง-ต้นไม้ 1 ตน้ ” กรุงเทพธรุ กจิ 20 มกราคม 2562 หนา้ 9

16 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

สรุป ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และส่ิงแวดล้อมของไทย ในหลายเรื่องที่ได้กล่าวมา
โดยเฉพาะเรื่องการกระจายทรัพย์สิน รายได้ ระดับการศึกษา การได้รับบริการท่ีจ�ำเป็นจากรัฐ ฯลฯ
อยา่ งไมท่ ว่ั ถงึ ไมเ่ ปน็ ธรรม และปญั หาสงั คมดา้ นตา่ ง ๆ ของเดก็ และเยาวชน มผี ลกระทบทง้ั ทางตรงและ
ทางออ้ มตอ่ เรอ่ื งโอกาสในการไดร้ บั การศกึ ษาของเดก็ เยาวชนไทย ซง่ึ สว่ นใหญม่ าจากครอบครวั ยากจน/
รายไดต้ ำ่� อยา่ งมาก เราไมอ่ าจมองเฉพาะเรอ่ื งการจดั การศกึ ษาแบบโดด ๆ ได้ ควรจะตอ้ งทำ� ความเขา้ ใจวา่
เร่ืองการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ทั้งหมดเป็นเร่ืองท่ีสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ดังน้ันในการคิดถึง
เรื่องปัญหาและการปฏิรูปการศึกษาจึงควรจะต้องตระหนักถึงความจ�ำเป็นของการปฏิรูปทางการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม ในแนวทางท่ีจะช่วยเหลือประชาชนท้ังประเทศให้ได้รับสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค
ทางโอกาสในทางเศรษฐกิจ สังคม อยา่ งทัว่ ถงึ เปน็ ธรรม ควบคกู่ นั ไปด้วย
นอกจากนค้ี วรจะมองเรื่องการใหก้ ารศึกษาทีก่ ว้างกว่าการสอนความรู้พน้ื ฐานและทกั ษะวชิ าชพี
ส�ำหรับเด็กและเยาวชนในระบบโรงเรียน ซ่ึงควรมองการศึกษาในแง่การให้ความรู้ทุกด้านที่เกี่ยวกับ
การร้จู กั และการพฒั นาตัวเองทง้ั เรอ่ื งกาย ใจ และการมีความสมั พนั ธ์ท่ดี กี บั คนอน่ื ๆ ในชมุ ชน สำ� หรบั
ประชาชนทุกช่วงวัย เพ่ือท่ีประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
ไดอ้ ย่างมีคณุ ภาพเพม่ิ ข้ึน

บทที่ 2 17

สภาวะการศึกษาไทย

บทท่ี 2

สภาวะการศกึ ษาไทย

บทนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการรายงานสภาวะการจัดการศึกษาไทย โดยคัดสถิติส�ำคัญ
มาน�ำเสนอ และตั้งข้อสังเกตประเด็นท่ีผู้วิจัยเห็นว่าจะช่วยให้เราเข้าใจพัฒนาการการจัดการศึกษาไทย
ไดด้ ขี นึ้ หรอื เปน็ ประเดน็ สำ� คญั ทค่ี วรมกี ารวจิ ยั ตอ่ เนอื่ งจากชว่ งขณะทเี่ ขยี นรายงานวจิ ยั ฉบบั น้ี (ก.พ.-ก.ค.
2562) สถิติทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการท่ีพิมพ์เผยแพร่มีเฉพาะปีการศึกษา1 2559-2560
จงึ คงเนน้ 2 ปกี ารศกึ ษานเ้ี ปน็ หลกั และหาสถติ ปิ ี 2561 เทา่ ทห่ี าได้ และสถติ ทิ เี่ กย่ี วขอ้ งจากหนว่ ยงานอนื่
มาเปรยี บเทียบในบางเร่อื ง
สว่ นที่ 2 เปน็ การสรปุ และตงั้ ขอ้ สงั เกตของผวู้ จิ ยั ในเรอื่ งการออกกฎหมายทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั การศกึ ษา
การวางแผนยทุ ธศาสตรช์ าติ แผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ และขอ้ เสนอเพอ่ื การปฏริ ปู ประเทศดา้ นการศกึ ษา
โดยคณะกรรมการอสิ ระเพ่อื การปฏริ ูปการศึกษา

ส่วนที่ 1 สภาวะการศกึ ษาไทย 2559-2560 จากมมุ มองทางสถิติ

บทสรปุ ผบู้ รหิ าร หนงั สอื สถติ กิ ารศกึ ษาของประเทศไทยปกี ารศกึ ษา 2559-25602 โดยสำ� นกั งาน
เลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา มีประเดน็ ที่น่าสนใจคอื
คณะรกั ษาความสงบแหง่ ชาตไิ ดม้ คี ำ� สง่ั ที่ 28/2559 วนั ท่ี 15 มถิ นุ ายน 2559 เรอ่ื ง ใหจ้ ดั การศกึ ษา
ขน้ั พน้ื ฐาน 15 ปี โดยไมเ่ กบ็ คา่ ใชจ้ า่ ยตงั้ แตร่ ะดบั กอ่ นประถมศกึ ษา (อนบุ าล) (ถา้ ม)ี ระดบั ประถมศกึ ษา
จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.3) หรือเทียบเท่า และให้หมายความ
รวมถึงการศกึ ษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์
1. การเขา้ ถงึ การจดั การศกึ ษาระดบั กอ่ นประถมศกึ ษาและประถมศกึ ษา ปญั หาเดก็ ไดเ้ ขา้ เรยี น
ชา้ กวา่ เกณฑอ์ ายใุ นระดับการศึกษาต่าง ๆ ท่ีทางการก�ำหนดไว้ ท�ำให้สถิติสัดส่วนผู้เข้าเรียนต่อจ�ำนวน
ประชากรในวยั เดยี วกนั ไมไ่ ดส้ ะทอ้ นอยา่ งแมน่ ยำ� สง่ ผลถงึ การเขา้ รบั การศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐานในอนาคต เชน่
มขี อ้ สงั เกตวา่ เดก็ อายุ 12 ปี ซงึ่ ตามเกณฑค์ วรไปเขา้ เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาแลว้ รอ้ ยละ 40 ยงั ศกึ ษาอยใู่ นระดบั
ประถมศึกษา ส่งผลให้การเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายมีลักษณะ
เช่นเดียวกนั คือไม่เป็นไปตามเกณฑ์อายุในแตล่ ะระดบั การศกึ ษา

1 ปกี ารศกึ ษาสำ� หรบั การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐานและอาชวี ศกึ ษา นบั จากการเปดิ ภาคเรยี นภาคแรกในเดอื นพฤษภาคม ถงึ ปดิ ภาคเรยี นราวมนี าคม
ในปถี ดั ไป สว่ นสถาบนั อดุ มศกึ ษาเปดิ ภาคเรยี นทหี ลงั 2-3 เดอื น แตกตา่ งกนั ไปในแตล่ ะสถาบนั ขณะทปี่ งี บประมาณนบั จากตน้ เดอื น
ตลุ าคมถงึ ส้นิ เดอื นกันยายนของปีถดั ไป
2 ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2559-2560 สิ่งพิมพ์ สกศ.
อนั ดบั ท่ี 47/2561 กนั ยายน 2561

18 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

2. การเข้าถึงการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 12-14 ปี มีอัตราการ
เขา้ เรยี นสทุ ธแิ บบปรบั (ANER)3 อยทู่ รี่ อ้ ยละ 77.9 โดยมเี ดก็ ทไ่ี มร่ บั การศกึ ษา (OOSC)4 รอ้ ยละ 22.1
ที่ประกอบด้วยเด็กที่เข้าเรียนช้า ร้อยละ 13.8 และเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาร้อยละ 8.3 หรือประมาณ
2.1 แสนคน มจี าํ นวนเดก็ ชายเข้าถึงการศึกษาระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ มากกวา่ เดก็ หญงิ เล็กนอ้ ย
การเข้าถึงการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุ 15-17 ปี มีอัตราการเข้าเรียนสุทธิ
แบบปรบั (ANER) อยทู่ รี่ อ้ ยละ 55.3 โดยทม่ี เี ดก็ ทไ่ี มร่ บั การศกึ ษา (OOSC) รอ้ ยละ 44.7 ทป่ี ระกอบดว้ ย
เด็กท่ีเข้าเรียนช้า ร้อยละ 15.8 และเด็กท่ีไม่ได้รับการศึกษาร้อยละ 28.9 หรือประมาณ 7.7 แสนคน
มีจํานวนเด็กหญิงมากกว่าเด็กชายเล็กน้อย (1.01 ล้านคน กับ 9.10 แสนคน) และถ้าเทียบเฉพาะ
สายสามญั เดก็ ผหู้ ญงิ มสี ดั สว่ นสงู กวา่ เดก็ ผชู้ ายคอ่ นขา้ งมาก ผหู้ ญงิ 7.59 แสนคน ตอ่ ผชู้ าย 5.11 แสนคน
3. อตั ราสว่ นนกั เรยี นนกั ศกึ ษาตอ่ ประชากร ปกี ารศกึ ษา 2560 สงู กวา่ ปกี ารศกึ ษา 2559 ทกุ ระดบั
การศึกษา ยกเว้นระดับอุดมศึกษาท่ีมีอัตราส่วนลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 59.5 ของประชากร
วัยเดียวกันในปีการศึกษา 2559 เป็น 58.5 ในปีการศึกษา 2560 น่าสังเกตว่าสัดส่วนระหว่างเพศน้ัน
เยาวชนหญงิ เรยี นระดบั อดุ มศกึ ษาสงู กวา่ เยาวชนชายคอ่ นขา้ งมาก โดยเฉพาะระดบั ตง้ั แตป่ รญิ ญาตรขี น้ึ ไป
เฉพาะระดบั ปรญิ ญาตรี นกั ศกึ ษาหญงิ 1.07 ล้านคน นักศกึ ษาชาย 9.08 แสนคน นกั ศกึ ษาปรญิ ญาตรี
ทเี่ ขา้ ใหมใ่ นปกี ารศกึ ษา 2560 ผหู้ ญงิ กส็ งู กวา่ ผชู้ ายคอ่ นขา้ งมาก 2.48 แสนคนตอ่ นกั ศกึ ษาชาย 1.64 แสนคน
จ�ำนวนผู้สำ� เร็จการศึกษาทกุ ระดบั ในปี 2558 และ 2559 สัดสว่ นผหู้ ญิงก็มากกวา่ ผชู้ าย
4. อตั ราการคงอยขู่ องนกั เรยี นในระดบั การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน ปกี ารศกึ ษา 2559 เรมิ่ จากการเขา้ รบั
การศกึ ษาตงั้ แต่ ป.1 ปกี ารศกึ ษา 2548 ถงึ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย (ม.6/ปวช.3) ปกี ารศกึ ษา 2559
คงอยู่ ร้อยละ 68.8 โดยช่วงที่มีการเล่ือนช้ันจากการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีการตกหล่น
ของนักเรียนมากที่สุด และอัตราการคงอยู่ของนักเรียนตั้งแต่เร่ิมจาก ป.1 ปีการศึกษา 2548 ถึงระดับ
อุดมศึกษา ปี 1 ปีการศึกษา 2560 คงเหลือเพียงร้อยละ 70.3 (หมายถึงนักเรียนท่ีเข้า ป.1 พร้อมกัน
เม่อื 12 ปีกอ่ น รอ้ ยละ 29.7 ออกไปกลางคนั ไมไ่ ดเ้ รียนต่อถึงอดุ มศึกษาปที ี่ 1)
5. การพฒั นากาํ ลงั คนสายอาชพี เปา้ หมายในการเพมิ่ สดั สว่ นนกั เรยี นสายอาชวี ะใหส้ งู ขน้ึ ยงั ไม่
ประสบความสำ� เรจ็ สดั สว่ นนกั เรยี นสายอาชวี ศกึ ษามแี นวโนม้ ลดลงตง้ั แตป่ กี ารศกึ ษา 2550 ทอ่ี ยรู่ อ้ ยละ
39.8 ลดลงอย่างต่อเนื่องและคงท่ีในปีการศึกษา 2556-2558 เหลือประมาณร้อยละ 33 และเพิ่มขึ้น
เล็กน้อยในช่วงปีการศึกษา 2559-2560 ปีการศึกษา 2560 สัดส่วนนักเรียนสายสามัญต่ออาชีวะอยู่ที่
รอ้ ยละ 65.4 ต่อ 34.6
6. งบประมาณรายจา่ ยดา้ นการศกึ ษา ตงั้ แตป่ งี บประมาณ 2545 เพม่ิ ขนึ้ สงู มาตลอด จากงบ 2.2
แสนลา้ นบาท ในปงี บประมาณ 2545 เปน็ 5.5 แสนลา้ นบาท ในปงี บประมาณ 2559 แตห่ ลงั จากปี 2559

3 อตั ราการเข้าเรยี นสทุ ธิแบบปรบั (Adjusted Net Enrolment Ratio: ANER) หมายถึง อัตราสว่ นระหว่างจาํ นวน นักเรียนท่ีเข้าเรยี น
ในระดับการศึกษาตามช่วงอายุระดับการศึกษาและระดับท่ีสูงกว่ากับจํานวนประชากรตามช่วงอายุระดับการศึกษา โดยปรับฐาน
ให้เปน็ 100
4 เดก็ ทไี่ มไ่ ดร้ บั การศกึ ษา (Out of School Children: OOSC) คอื เดก็ ทไ่ี มไ่ ดเ้ ขา้ ถงึ การจดั การศกึ ษาตามเกณฑท์ ก่ี าํ หนด ทแี่ บง่ ออกเปน็
2 ประเภท คอื เดก็ ทเ่ี คยเขา้ รบั การศกึ ษาแตป่ จั จบุ นั ไมไ่ ดร้ บั การศกึ ษา (Drop Out: ออกกลางคนั ) และเดก็ ทไี่ มเ่ คยไดร้ บั การศกึ ษาเลย
และจะเขา้ เรยี นในอนาคต (Enter Late: เขา้ เรียนช้า) หรือไมเ่ ข้ารบั การศกึ ษา

บทที่ 2 19

สภาวะการศึกษาไทย

งบประมาณการศึกษาเร่ิมลดลงบ้าง ปี 2561 อยู่ท่ี 5.2 แสนล้านบาท เทียบเป็นร้อยละ 18.2 ของ
งบประมาณรายจา่ ยประจำ� ปขี องทง้ั ประเทศ และเทยี บเปน็ รอ้ ยละ 3.3 ของผลติ ภณั ฑม์ วลรวมในประเทศ
(GDP) ซง่ึ อย่ใู นเกณฑ์สูงกว่าหลายประเทศ
ข้อที่อยากต้ังข้อสังเกตคือในปีงบประมาณการศึกษา 2560 ขณะที่งบการศึกษาประเภทอื่น
ลดลงบ้าง แต่งบส�ำหรับอุดมศึกษายังคงสูงขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ 112,975.00 ล้านบาท หากค�ำนวณจาก
จ�ำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ (ในปีการศึกษา 2560) 1,584,939 คน ลบออกด้วยจ�ำนวน
นักศึกษามหาวิทยาลัยไม่จ�ำกัดรับ ซ่ึงพ่ึงงบประมาณจากรัฐบาลน้อย จ�ำนวน 283,030 คน จะเหลือ
1,301,909 คน5 โดยเฉล่ียแล้วนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐแต่ละคนจะได้รับการอุดหนุนจากงบประมาณ
ของรัฐในปี 2560 คนละราว 86,777 บาทต่อปี6 ในขณะท่ีนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้รับเงิน
อดุ หนนุ จากรฐั เลย (ระดบั การศกึ ษาพนื้ ฐาน มโี รงเรยี นเอกชนบางสว่ นซง่ึ เปน็ สว่ นนอ้ ยไดร้ บั การอดุ หนนุ
จากรัฐบางสว่ น แต่ไดก้ ารสนบั สนนุ เฉลยี่ ต่อคนตำ่� กว่าโรงเรยี นรฐั บาล)

5 สกศ. สถติ กิ ารศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2559-2560
6 คำ� นวณโดยผู้วจิ ยั เพอ่ื ใหเ้ ห็นภาพครา่ ว ๆ ว่านกั ศึกษาในมหาวิทยาลัยปดิ ของรฐั ได้รบั การอุดหนุนจากรัฐโดยเฉลี่ยค่อนข้างสงู

20 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

สถติ กิ ารศึกษาทสี่ �ำคัญและข้อสงั เกตของผวู้ ิจยั
ตอ่ ไปคอื ขอ้ มลู ทผี่ วู้ จิ ยั เลอื กคดั จากสถติ กิ ารศกึ ษาปกี ารศกึ ษา 2559-2560 บางรายการมานำ� เสนอ
และตั้งขอ้ สังเกตเชงิ อภิปราย
1. จำ� นวนของนักเรียน นักศกึ ษา อตั ราการเขา้ เรยี น จำ� แนกตามระดับการศกึ ษา

ตารางท่ี 1 จ�ำนวนและร้อยละของนักเรียน นักศึกษา จ�ำแนกตามระดับการศึกษา ประเภท
สถานศกึ ษาของรฐั และเอกชน ปีการศกึ ษา 2560

ปกี ารศึกษา

ระดับการศกึ ษา จ�ำนวนนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ
รวม รัฐ เอกชน รัฐ เอกชน
รวมทงั้ หมด 80.1 19.9
การศึกษาข้นั พ้ืนฐาน 13,871,247 11,103,945 2,767,302 79.5 20.5
76.7 23.3
ระดบั ก่อนประถมศึกษา 11,673,165 9,253,460 2,383,705 77.7 22.3
ระดบั ประถมศกึ ษา 83.4 16.6
ระดับมัธยมศกึ ษา 2,688,796 2,062,813 625,938 85.8 14.2
- ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้ 80.6 19.4
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4,761,465 3,697,383 1,064,082 87.2 12.8
- ประเภทสามัญศึกษา 68.1 31.9
- ประเภทอาชวี ศกึ ษา 4,186,904 3,493,264 693,640 82.8 17.2
71.7 28.3
การศึกษาอุดมศกึ ษา 2,287,269 1,962,635 324,634 84.9 15.1
66.7 33.3
อนุปริญญา/เทียบเท่า 1,899,635 1,530,629 369,006 0.0 14.5
ปริญญาตรี 100.0 0.0
ประกาศนียบัตรบัณฑิต 1,242,079 1,082,801 159,278 87.0 13.0
ปริญญาโท
ประกาศนียบตั รบณั ฑติ ชั้นสูง 657,556 447,828 209,728
ปริญญาเอก
2,234,082 1,850,485 383,597

349,673 250,785 98,888

1,715,976 1,457,081 258,895

10,689 7,126 3,563

131,511 112,434 19,077

1,761 1,761 -

24,472 21,298 3,174

ที่มา: สกศ. สถติ กิ ารศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2559-2560 ตารางที่ 7

บทที่ 2 21

สภาวะการศึกษาไทย

เทียบปี 2559 กับ 2560 จ�ำนวนนักเรียน นักศึกษา โดยรวมลดลงจาก 14,026,193 คน เป็น
13,871,247 คน เนอื่ งมาจากประชากรวยั เรยี นลดลง ปี 2560 ภาครฐั ยงั จดั การศกึ ษาใหน้ กั เรยี นนกั ศกึ ษา
ร้อยละ 80.1 ภาคเอกชนจดั ไดเ้ พียงรอ้ ยละ 19.9 ระดบั การศึกษาท่ีภาคเอกชนจัดได้มสี ดั สว่ นสงู หน่อย
คอื ระดบั กอ่ นประถมและประถม อนปุ รญิ ญา/เทยี บเทา่ ประกาศนยี บตั รบณั ฑติ สดั สว่ นใกลเ้ คยี งกนั กบั
ปี 2559

ตารางท่ี 2 อตั ราการเขา้ เรยี นอยา่ งหยาบ จำ� แนกตามระดบั การศกึ ษา ปกี ารศกึ ษา 2559-2560

ระดับการศึกษา กลุ่มอายุ 2559 2560 อัตรา
ประชากร นกั เรียน อตั รา ประชากร นักเรยี น

รวมท้ังหมด 3-21 16,153,699 14,026,193 86.8 15,952,052 13,871,247 87

รวมท้งั หมด ไมร่ วม 3-21 16,153,699 13,086,542 81.0 15,950,052 13,003,095 81.5
ศนู ย์พัฒนาเดก็ เลก็

การศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน 6-17 10,009,928 9,015,958 90.1 9,861,865 8,948,369 90.7

การศกึ ษาภาคบงั คบั 6-14 7,298,461 7,094,475 97.2 7,191,426 7,048,734 98.0

ระดบั กอ่ นประถมศกึ ษา 3-5 2,287,851 2,700,851 118.1 2,268,362 2,688,796 118.5

ศูนยพ์ ฒั นาเดก็ เลก็ 939,651 41.1 868,152 38.3

อนบุ าล เดก็ เลก็ /ปฐมวยั 1,761,200 77.0 1,820,644 80.3

ระดับประถมศึกษา 6-11 4,729,741 4,817,882 101.9 4,667,488 4,761,465 102.0

ระดบั มธั ยมศึกษา 12-17 5,280,187 4,198,076 79.5 5,194,376 4,186,904 80.6

มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ 12-14 2,568,720 2,276,593 88.6 2,523,937 2,287,269 90.6

มัธยมศกึ ษาตอนปลาย 15-17 2,711,467 1,921,483 70.9 2,670,439 1,899,635 71.1

ประเภทสามญั ศกึ ษา 1,270,599 46.9 1,242,079 46.5

ประเภทอาชวี ศึกษา 650,884 24.0 657,556 24.6

การศกึ ษาระดับ 18-21 3,855,920 2,309,384 59.9 3,821,826 2,234,082 58.5
อดุ มศกึ ษา

หมายเหตุ: ข้อมูลจำ� นวนนักเรยี น นกั ศกึ ษา ไมร่ วมการศกึ ษาเฉพาะทาง การศึกษาของสงฆ์แผนกสามญั
ศึกษา และโรงเรียนนานาชาติ
ท่ีมา: สกศ. สถิตกิ ารศกึ ษาของประเทศไทย 2559-2560

22 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

จากตารางที่ 2 ประชากรอายุ 3-21 ปี ในปกี ารศกึ ษา 2560 เขา้ ถงึ การศกึ ษาโดยรวมรอ้ ยละ 87.0
ของประชากร 15,952,052 คน มที ไ่ี มไ่ ดร้ บั การศกึ ษาอยรู่ อ้ ยละ 13.0 คดิ เปน็ จำ� นวนประชากร 2.08 ลา้ นคน
ยิ่งการศึกษาระดับสงู ขึน้ ต้งั แต่ชัน้ มัธยมศกึ ษาตอนปลายขึ้นไป การได้เข้าเรยี นกจ็ ะลดลงตามลำ� ดบั เชน่
มธั ยมศกึ ษาตอนปลายมผี ไู้ ดเ้ รยี นรอ้ ยละ 71.1 ของประชากรวยั เดยี วกนั ซงึ่ ถา้ เทยี บตง้ั แตป่ กี ารศกึ ษา 2555
(สดั สว่ น 76.9) การไดเ้ ขา้ เรยี นมสี ดั สว่ นลดตำ�่ ลงมาตามลำ� ดบั ระดบั อดุ มศกึ ษามปี ระชากรวยั 18-21 ปี
ศึกษาอยู่ร้อยละ 58.5 เป็นอัตราระดับใกล้เคียงกันมาตลอด 5-6 ปีท่ีผ่านมา ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศ
พัฒนาอตุ สาหกรรม สัดส่วนคนที่ไดร้ ับการศกึ ษาระดบั อุดมศึกษาของไทยยงั อยใู่ นเกณฑ์ต่�ำ
การศกึ ษาของสงฆแ์ ผนกสามญั ศกึ ษา นกั เรยี นระดบั มธั ยมศกึ ษามแี นวโนม้ ลดลง ปกี ารศกึ ษา 2559 มี
48,064 คน ปี 2560 มี 40,363 คน ขณะทโ่ี รงเรยี นเอกชนในระบบนานาชาติ รวมทกุ ชนั้ (อนบุ าลถงึ ปที ่ี 13)
มีแนวโนม้ เพมิ่ ข้ึน ปีการศึกษา 2559 มี 50,958 คน ปกี ารศึกษา 2560 มี 53,754 คน

ตารางท่ี 3 อตั ราการเรยี นตอ่ นกั เรยี น นกั ศกึ ษา จำ� แนกระดบั การศกึ ษา ปกี ารศกึ ษา 2559-2560

ปกี ารศึกษา 2559 ปีการศึกษา 2560

ระดับการศึกษา ผ้เู ข้าใหม่ ผสู้ �ำเรจ็ อตั รา ผ้เู ขา้ ใหม่ ผสู้ ำ� เรจ็ อตั รา
ปกี ารศกึ ษา ปกี ารศกึ ษา การเรียน ปกี ารศกึ ษา ปกี ารศกึ ษา การเรียน
2559 2558 ตอ่ 2560 2559 ต่อ

ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น
(ม.1/ป.6) 784,428 785,598 99.9 800,391 791,815 101.1
670,651 657,273 102.0
ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย 784,647 667,128 117.6 426,757 657,273 64.9
243,894 657,273 37.1
- สามญั ศกึ ษา (ม.4/ม.3) 440,717 667,128 66.1

- อาชวี ศกึ ษา (ปวช.1/ม.3) 343,930 667,128 51.6

ระดบั อดุ มศึกษา*

- อนุปรญิ ญา/เทยี บเทา่ 216,454 504,336 42.9
(อนุปริญญา/ม.6+ปวช.3) 165,491 555,663 29.8 413,491 504,336 82.0

- ปริญญาตรี
(ปรญิ ญาตร/ี ม.6+ปวช.3) 440,414 555,663 79.3

ท่มี า: สกศ. สถติ กิ ารศึกษาของประเทศไทย 2559-2560

อัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายค่อนข้างต่�ำกว่าระดับอ่ืน ปี 2560 มีอัตราการ
เรยี นตอ่ ลดลงจากปี 2559 ดว้ ย โดยเฉพาะสายอาชวี ศกึ ษา (ปวช.1/ม.3) จากรอ้ ยละ 51.6 เหลอื รอ้ ยละ
37.1 แตผ่ ้เู รยี นทเี่ รียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายและไปเข้าสู่การศึกษาระดับปริญาตรมี ีสัดส่วนสูง

บทท่ี 2 23

สภาวะการศึกษาไทย

2. ผู้ส�ำเรจ็ การศึกษา

ตารางท่ี 4 อตั ราการสำ� เรจ็ การศกึ ษาของนกั เรยี นระดบั การศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน ปกี ารศกึ ษา 2559-2560

ปกี ารศึกษา 2558 ปกี ารศกึ ษา 2559

ระดับการศึกษา จำ� นวน จ�ำนวน อตั รา จ�ำนวน จำ� นวน อตั รา
นักเรยี น ผสู้ �ำเรจ็ การสำ� เร็จ นักเรยี น ผสู้ �ำเร็จ การส�ำเร็จ
ระดบั ประถมศกึ ษา ชัน้ ปีสุดท้าย การศกึ ษา การศึกษา ชั้นปีสุดทา้ ย การศึกษา
รัฐ ของระดบั ของระดบั
เอกชน การศกึ ษา การศึกษา
ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น
รฐั 803,432 785,598 97.8 811,675 791,815 97.6
เอกชน
ระดับมธั ยมศึกษา 631,760 615,341 97.4 643,538 628,876 97.7
ตอนปลาย
รัฐ 171,672 170,257 99.2 168,137 162,939 96.9
เอกชน
สามัญศึกษา 760,079 667,128 87.8 729,764 657,273 90.1
รัฐ
เอกชน 652,880 562,371 86.1 629,398 560,177 89
อาชีวศกึ ษา
รฐั 107,199 104,757 97.7 100,366 97,096 96.7
เอกชน
682,901 55,663 81.4 617,209 504,336 81.7
555,588 456,706 82.2 508,081 417,155 82.1
127,313 98,957 77.7 109,128 87,181 79.9
467,506 427,650 91.5 412,410 381,732 92.6
408,247 374,877 91.8 362,124 334,569 92.4
59,259 52,773 89.1 50,286 47,163 93.8
215,395 128,013 59.4 1,058,871 122,604 59.9
147,341 81,829 55.5 145,957 82,586 56.6
68,054 46,184 67.9 58,842 40,018 68

ที่มา: สกศ. สถิติการศกึ ษาของประเทศไทย 2559-2560
จากตารางท่ี 4 อตั ราการสำ� เรจ็ การศกึ ษาระดบั ประถมถงึ มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ คอ่ นขา้ งสงู (รอ้ ยละ
90-97) พอถงึ มธั ยมศกึ ษาตอนปลายเรมิ่ ลดลงเหลอื รอ้ ยละ 81.7 ทน่ี า่ สงั เกตคอื มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย
สายอาชวี ศกึ ษามอี ตั ราสำ� เรจ็ การศกึ ษาในสถานศกึ ษาภาครฐั คอ่ นขา้ งตำ่� เพยี งรอ้ ยละ 56.6 ประเดน็ น้ี
น่าจะวิจัยต่อว่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยอะไร และควรจะหาทางแก้ไขอย่างไร เพราะเป็นเรื่องท่ีเก่ียวกับ
ประสทิ ธิภาพ/ประสทิ ธิผลการลงทนุ จดั การศึกษาด้วย

24 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

3. นักเรียน นักศกึ ษา นอกระบบโรงเรยี น

ตารางท่ี 5 จำ� นวนผเู้ รยี นการศกึ ษานอกระบบโรงเรยี น จำ� แนกตามระดบั /ประเภทการศกึ ษา
ปีการศกึ ษา 2559-2560

ระดับ/ประเภทการศึกษา ปกี ารศกึ ษา

รวมท้ังหมด 2559 2560
การส่งเสริมการรหู้ นงั สอื (กศน.)
การจดั การศึกษาพื้นท่สี ูง (ศศช.) 4,834,861 5,675,342
สายสามัญศกึ ษา (กศน.)
ระดบั ประถมศึกษา 302,175 83,996
ระดับมธั ยมศกึ ษา
มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ 91,178 38,933
มธั ยมศึกษาตอนปลาย
สายอาชพี 2,271,551 2,150,413
หลกั สูตรพิเศษ (สอศ.)
หลักสตู รทีเ่ อกชนขออนุมตั ฯิ (สช.) 173,115 154,373
หลกั สตู รอาชีพระยะส้ัน (กทม.)
วทิ ยาลัยชุมชน (หลกั สูตรระยะส้นั ) (สกอ.) 2,098,436 1,996,040
กล่มุ การศกึ ษาอาชีพ (กศน.)
การศกึ ษาเพ่ือพฒั นาอาชพี 881,369 836,285
การศกึ ษาเพอ่ื พฒั นาทกั ษะชวี ติ
การศกึ ษาเพอ่ื สงั คมและชุมชน 1,217,067 1,159,755
กระบวนการการเรียนร้ตู ามแนวปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง
โครงการศูนย์ฝกึ อาชีพชุมชน 2,169,957 3,402,000

219,077 282,991

38,213 -

6,494 19,392

19,350 27,079

1,886,823 3,072,538

185,938 985,382

452,833 506,390

475,871 480,935

278,770 580,888

493,411 518,943

ที่มา: สกศ. สถิติการศึกษาของประเทศไทย 2559-2560 (เล่มเดิม)

จากตารางท่ี 5 สถติ ิท่ีน่าสนใจคือมีผู้เรียนสายสามัญศกึ ษากบั กศน. (สำ� นกั งานสง่ เสรมิ การศึกษา
นอกระบบฯ) ในระดบั มธั ยมศกึ ษาทง้ั ตอนปลายและตอนตน้ สงู มาก (1.99 ลา้ นคน สว่ นหนง่ึ อาจเปน็ คนท่ี
ลงทะเบยี นเรยี นอยเู่ ดมิ และยงั เรยี นไมจ่ บ) หลกั สตู รอนื่ ๆ เปน็ หลกั สตู รระยะสน้ั ซงึ่ ไมม่ ขี อ้ มลู การประเมนิ
วา่ คนทเี่ รยี นแลว้ นำ� ไปใชง้ านไดจ้ รงิ มากนอ้ ยเพยี งไร ดจู ากสถติ เิ ชงิ ปรมิ าณ ปกี ารศกึ ษา 2560 มคี นเรยี น

บทที่ 2 25

สภาวะการศึกษาไทย

นอกระบบในปี 2560 ทุกหลักสูตรเพิ่มจากปี 2559 ค่อนข้างมาก เร่ืองการศึกษานอกระบบนี้น่าจะมี
การประเมินดา้ นคณุ ภาพ ทั้งจดุ แขง็ จุดออ่ น การใชง้ านไดจ้ ริง ฯลฯ เพอ่ื ที่จะปรบั ปรงุ การจัดการศกึ ษา
ประเภทนี้ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่เพ่ิมขึ้น การดูจากสถิติเชิงปริมาณของคนท่ี
ลงทะเบยี นเรยี นไมไ่ ดใ้ ห้ขอ้ มูลท่ีมนี ้ำ� หนักมากเทา่ ทค่ี วร

4. จำ� นวนนกั เรยี นด้อยโอกาสทางการศึกษา

ตารางที่ 6 จ�ำนวนนักเรยี นดอ้ ยโอกาสทางการศึกษา จ�ำแนกตามประเภทนักเรยี นและระดับ
การศกึ ษา ปีการศึกษา 2560

ประเภท ปกี ารศกึ ษา 2560

รวม รวม ก่อน ประถมศึกษา มธั ยมศกึ ษา มธั ยมศึกษา
1. เดก็ ถกู บงั คบั ให้ขาย ประถมศกึ ษา ตอนต้น ตอนปลาย
แรงงาน 3,701,223 258,211
2. เดก็ อยใู่ นธรุ กจิ ทางเพศ 535,481 2,012,406 895,125
3. เด็กถูกทอดทง้ิ 500 9
4. เด็กในสถานพนิ จิ 33 54 330 107 16
5. เดก็ เร่รอ่ น 5,602 3 9 5 1,145
6. ผลกระทบจากโรคเอดส์ 270 358 2,038 2,061 37
7. ชนกลมุ่ น้อย 292 16 130 87 13
8. เด็กทีถ่ ูกท�ำรา้ ย 282 85 157 37 36
9. เด็กยากจน 11,131 18 131 97 2,029
10. เดก็ ทม่ี ปี ญั หาเกย่ี วกับ 610 1,232 5,545 2,325 52
ยาเสพตดิ 3,660,764 187 191 180 251,364
11. ก�ำพร้า 531,043 1,993,759 884,598
12. ทำ� งานรบั ผดิ ชอบตนเอง 466 101
และครอบครัว 17,898 72 88 205 1,908
13. อน่ื ๆ 2,326 9,747 3,917
3,368 1,497
7 87 281 1,503 4
- -3

ท่ีมา: ส�ำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พื้นฐาน กระทรวงศกึ ษาธิการ

26 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

จากสถติ ขิ า้ งตน้ กลมุ่ ทใี่ หญท่ สี่ ดุ คอื กลมุ่ เดก็ ยากจน 3.6 ลา้ นคน อยใู่ นระดบั ประถมศกึ ษามากทส่ี ดุ
รองลงมาคือมัธยมศึกษาตอนต้นและก่อนประถมศึกษา เข้าใจว่าน่าจะเป็นการส�ำรวจของส�ำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐานเฉพาะเด็กท่ีอยู่ในระบบโรงเรียน ไม่ได้นับรวมเด็กท่ีอยู่นอกระบบ
โรงเรยี น ซ่ึงถ้าไปดูจากสถิติของหนว่ ยงานอืน่ ๆ จำ� นวนเดก็ ด้อยโอกาสสงู กวา่ สถิติในตารางขา้ งต้น
จากรายงานสถานการณเ์ ดก็ ดอ้ ยโอกาสในสงั คมไทย ของกรมสขุ ภาพจติ กระทรวงสาธารณสขุ
ระบุว่า จากสถิตขิ องกรมการปกครอง (กระทรวงมหาดไทย) เดือนมิถุนายน 2560 จากจ�ำนวนเดก็ อายุ
ตำ�่ กวา่ 18 ปบี รบิ รู ณ์ จำ� นวน 13,825,194 คน จดั เปน็ เดก็ ดอ้ ยโอกาสไมต่ ำ่� กวา่ 5 ลา้ นคน ในจำ� นวนน้ี
สว่ นใหญร่ อ้ ยละ 80 เปน็ เดก็ ยากจน รอ้ ยละ 6 เปน็ กลมุ่ เดก็ หลายชาตพิ นั ธท์ุ ยี่ งั ไมม่ กี ารขน้ึ ทะเบยี นสทิ ธิ
ดา้ นสาธารณสขุ เปน็ เดก็ ทมี่ คี วามพกิ ารทางสตปิ ญั ญาและออทสิ ตกิ 2.20 แสนคน เดก็ ดอ้ ยโอกาสทเี่ ขา้ ถงึ
ระบบการศึกษามีรอ้ ยละ 25.33 และเขา้ ถึงระบบบริการทางสขุ ภาพเพยี งร้อยละ 5.5917
นักเรียนพิการ สถิตินักเรียนท่ีเรียนร่วมปีการศึกษา 2560 สูงกว่าปีการศึกษา 2559 มาก
อยา่ งนา่ สงั เกต คอื มจี ำ� นวนรวมถงึ 379,572 คน เทยี บกบั 216,719 คน ในปกี ารศกึ ษา 2559 เมอื่ จำ� แนก
ประเภทเปน็ 9 ประเภท กลมุ่ ทม่ี จี ำ� นวนมากทส่ี ดุ ราว 81% (ปกี ารศกึ ษา 2560) คอื ปญั หาทางการเรยี นรู้
รองลงมาคือบกพร่องทางสติปัญญาราว 7.6% ท่ีเหลือคือพิการซ้�ำซ้อน บกพร่องทางร่างกาย/สุขภาพ
บคุ คลออทิสตกิ ปญั หาทางพฤติกรรม อารมณ์ และอื่น ๆ8
สถิติคนพิการท่ัวประเทศของส�ำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2560 มีคนพิการที่ลงทะเบียนรับ
บตั รคนพกิ ารทวั่ ประเทศ 1,867,219 คน9 ผลการสำ� รวจของสำ� นกั งานสถติ แิ หง่ ชาตริ ว่ มกบั องคก์ ารยนู เิ ซฟ
พบวา่ ปี 2560 มคี นพกิ าร 3.7 ลา้ นคน มากกวา่ ครง่ึ หนงึ่ ไมไ่ ดจ้ ดทะเบยี น เดก็ พกิ ารอายุ 5-17 ปี ทไี่ มไ่ ด้
เรียน มีถึงร้อยละ 37.8 ที่ปว่ ยหรือพิการ10

7 www.prdmh.com สถานการณเ์ ด็กด้อยโอกาสในสงั คมไทย
8 สถติ กิ ารศกึ ษาของประเทศไทย ปกี ารศึกษา 2559-2560 (เล่มเดิม)
9 www.nso.go.th
10 www.tcisthal.com/news/2019/4/scoop/8930

บทที่ 2 27

สภาวะการศึกษาไทย

5. นกั เรียนอาชวี ศึกษา

ตารางท่ี 7 จำ� นวนนกั เรยี น นกั ศกึ ษาประเภทอาชวี ศกึ ษา จำ� แนกตามประเภทการศกึ ษา และเพศ
รายสังกัด ปกี ารศกึ ษา 2560

ประเภทการศกึ ษา

สังกดั รวม ปวช. ปวส.

รวม ชาย หญงิ รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง

รวมทง้ั หมด 994,715 593,984 400,731 657,556 399,802 257,754 337,159 194,182 142,977

กระทรวง 989,929 591,126 398,803 653,291 397,270 256,021 336,638 193,856 142,782
ศกึ ษาธกิ าร

สำ� นกั งาน
คณะกรรมการ
การศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน 4,316 1,776 2,540 4,316 1,776 2,540 - - -

สำ� นกั งาน 674,993 426,900 248,093 437,945 279,904 158,041 237,048 146,996 90,052
คณะกรรมการการ
อาชวี ศกึ ษา (รัฐ)

สำ� นกั งาน 308,616 161,159 147,457 209,728 114,734 94,994 98,888 46,425 52,463
คณะกรรมการ
การอุดมศกึ ษา
(เอกชน)

ส�ำนกั งานคณะ 2,004 1,291 713 1,302 856 446 702 435 267
กรรมการการ
อุดมศกึ ษา

กระทรวงวัฒนธรรม 932 527 405 797 449 348 135 78 57

สถาบันบณั ฑิต 932 527 405 797 449 348 135 78 57
พัฒนศลิ ป์
กรมศลิ ปากร

- วทิ ยาลยั 932 527 405 797 449 348 135 78 57
ช่างศลิ ป

กระทรวงมหาดไทย 3,854 2,331 1,523 3,468 2,083 1,385 386 248 138

สงั กดั องคก์ รปกครอง 3,854 2,331 1,523 3,468 2,083 1,385 386 248 138
สว่ นทอ้ งถน่ิ

ท่มี า: สกศ. สถติ ิการศกึ ษาของประเทศไทย 2559-2560

28 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

หนว่ ยงานทจี่ ดั การศกึ ษาใหน้ กั เรยี นอาชวี ศกึ ษามากทสี่ ดุ คอื สำ� นกั งานคณะกรรมการอาชวี ศกึ ษา
(รฐั ) รองลงไปคอื สำ� นกั งานคณะกรรมการการอดุ มศกึ ษา (เอกชน) ซงึ่ จดั ไดเ้ กอื บครง่ึ หนง่ึ ทง้ั 2 ประเภทนี้
ส่วนใหญ่คือระดับ ปวช. รองลงมาคือ ปวส. สถาบันการศึกษาของรัฐทั้ง 2 ระดับ ผู้ชายนิยมเรียน
มากกว่า แต่สถาบันการศึกษาภาคเอกชนระดบั ปวส. ผหู้ ญงิ เรยี นมากกว่า
จ�ำนวนผู้เรียนอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2560 มี 994,715 คน ลดลงจากปีการศึกษา 2559 ที่มี
1,085,480 คน (ปี 2559 มีผู้เข้าใหม่ 507,794 คน) ผู้ชายเรียนมากกว่าผู้หญิงท้ังในระดับ ปวช. และ
ปวส.
สถิติผู้ส�ำเร็จการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2559 มีคนเรียนจบเพียง 170,388 คน
เทยี บกบั ปกี ารศกึ ษา 2558 ทมี่ คี นเรยี นจบถงึ 245,249 คน11 นา่ จะมกี ารวจิ ยั เพมิ่ เตมิ วา่ คนเขา้ ไปเรยี น
อาชีวศึกษาปลี ะเท่าไหร่ แล้วมคี นเรียนไม่จบมากน้อยเพยี งไร เพราะอะไร ควรจะปรับปรุงแกไ้ ขอยา่ งไร
6. การจดั การศึกษาโดยองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถ่ิน ในปกี ารศกึ ษา 2560 อปท. จดั การศึกษา
ให้นักเรียนท่ัวประเทศ ส่วนใหญ่คือระดับปฐมวัย รองลงมาคือประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น
สดั ส่วนน้ีลดลงจากเมื่อ 2-3 ปีทแ่ี ล้วเล็กน้อย
7. การศกึ ษาจัดโดยสงฆ์ การศึกษาของท้งั สงฆ์และคฤหสั ถ์ สำ� นักงานพระพทุ ธศาสนาแหง่ ชาติ
จัดการศึกษาแผนกสามัญศึกษา และแผนกธรรมบาลี ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมการศึกษา
(มหาวิทยาลัยสงฆ์) จัดระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2560 แผนกสามัญศึกษา มีนักเรียนช้ัน ม.1-ม.6
รวม 49,383 คน ถา้ ไปดสู ถติ ยิ อ้ นหลงั ตง้ั แตป่ กี ารศกึ ษา 2555 ทม่ี นี กั เรยี น 53,175 คน จำ� นวนนกั เรยี น
ทจี่ ดั โดยสงฆล์ ดลงมาโดยตลอด ระดบั อดุ มศกึ ษา ปกี ารศกึ ษา 2560 มนี สิ ติ นกั ศกึ ษา 21,094 คน ดสู ถติ ิ
ยอ้ นหลัง 6 ปี ตง้ั แต่ปีการศึกษา 2555 จำ� นวนนกั เรยี นลดลงมาตลอดเช่นกัน12
การศึกษาท่ีจัดโดยวัดและมหาวิทยาลัยสงฆ์เหล่านี้ เป็นช่องทางการจัดการศึกษาอีกทางหน่ึง
โดยเฉพาะส�ำหรับผู้มีรายได้ต�่ำหรือไม่มีโอกาสได้เรียนในช่องทางของสถาบันการศึกษาหลัก น่าจะมี
การประเมินเรื่องคุณภาพการจัดการศึกษาท่ีจัดโดยสถาบันสงฆ์ และส�ำนักการศึกษานอกระบบ และ
หาทางปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพเพ่ิมขึ้น แทนที่จะมีแต่ข้อมูลในเชิงปริมาณของ
ผูไ้ ปเข้าเรยี นเท่านั้น
8. นักเรียนเอกชนในระบบประเภทนานาชาติ มีนักเรียนเอกชนในระบบประเภทนานาชาติ
รวมทกุ ระดบั จากอนบุ าลถงึ มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย (ปที ่ี 13) ปกี ารศกึ ษา 2559 จำ� นวน 50,950 คน ปกี ารศกึ ษา
2560 เพม่ิ เปน็ 53,754 คน สว่ นใหญร่ าว 40,000 คน อยรู่ ะดบั ประถมศกึ ษาถงึ มธั ยมศกึ ษา (ปที ่ี 1-ปที ่ี 13)13
แสดงวา่ การศึกษาโรงเรียนเอกชนในระบบนานาชาตใิ นประเทศไทยมกี ารขยายตวั เพมิ่ ขึ้น รวมทั้งผูว้ จิ ัย
เหน็ ขา่ ววา่ มคี นไทยออกไปเรยี น นกั ศกึ ษาไปเรยี นในตา่ งประเทศตงั้ แตร่ ะดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษาถงึ อดุ มศกึ ษา
เพม่ิ ขน้ึ ดว้ ย แตย่ งั หาสถติ เิ รอื่ งนไ้ี มพ่ บ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ควรจะสบื หาขอ้ มลู เรอ่ื งนแี้ ละพมิ พเ์ ผยแพรด่ ว้ ย

11 สถติ ิการศึกษาของประเทศไทย ปกี ารศึกษา 2559-2560 (เลม่ เดมิ ) ตารางที่ 52, 53
12 สำ� นกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561 สกศ. ธนั วาคม 2561 ตารางท่ี 56
13 สถิติการศกึ ษาของประเทศไทย ปีการศกึ ษา 2559-2560 (เล่มเดิม) ตารางท่ี 57

บทท่ี 2 29

สภาวะการศึกษาไทย

9. นักศกึ ษาระดบั อดุ มศกึ ษา

ตารางท่ี 8 จำ� นวนนกั ศกึ ษาระดบั อดุ มศกึ ษา จำ� แนกตามสถาบนั และเพศ ปกี ารศกึ ษา 2560

ประเภทสถาบนั รวม ปกี ารศกึ ษา หญิง
2,234,082 ชาย 1,292,931
รวมสถาบันจำ� กดั รบั และไม่จำ� กัดรบั 349,673 151,587
ต�ำ่ กว่าปริญญาตรี 1,715,976 941,151 1,041,741
ปรญิ ญาตรี 168,433 198,086
สงู กวา่ ปรญิ ญาตรี 674,235 99,603
- ประกาศนยี บตั รบณั ฑิต 10,689 68,830 7,232
- ปริญญาโท 131,511 3,457 78,766
- ประกาศนยี บตั รบณั ฑิตชน้ั สงู 1,761 52,745 1,081
- ปริญญาเอก 24,472 12,524
ประเภทสถาบนั จ�ำกัดรับ 1,951,052 680 1,125,155
ต�่ำกวา่ ปรญิ ญาตรี 349,673 11,948 151,587
ปริญญาตรี 1,471,609 825,897 899,112
สงู กวา่ ปรญิ ญาตรี 129,770 198,086 74,456
- ประกาศนยี บัตรบัณฑติ 10,543 572,497 7,133
- ปริญญาโท 94,064 55,314 54,215
- ประกาศนียบตั รบณั ฑิตช้นั สงู 1,761 3,410 1,081
- ปรญิ ญาเอก 23,402 39,849 12,027
ประเภทสถาบันไมจ่ ำ� กัดรับ 283,030 680 167,776
ปริญญาตรี 244,367 11,375 142,629
สูงกวา่ ปรญิ ญาตรี 38,663 115,254 25,147
- ประกาศนยี บัตรบณั ฑติ 101,738 99
- ปรญิ ญาโท 146 13,516 24,551
- ปรญิ ญาเอก 37,447 497
1,070 47
12,896
573

ทม่ี า: สกศ. สถติ กิ ารศึกษาของประเทศไทย 2559-2560

30 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

จ�ำนวนนักศึกษาอุดมศกึ ษาโดยรวม 2.23 ลา้ นคน ลดลงจากปี 2559 ทเ่ี คยอยู่ที่ 2,309,384 คน
ท่ีลดลงเห็นได้ชัดคือจ�ำนวนนักศึกษาประเภทสถาบันไม่จ�ำกัดรับ จากสถิติของทั้ง 2 ปี (2559-2560)
ในเรือ่ งเพศน่าสังเกตวา่ ระดบั ปริญญาตรแี ละสูงกวา่ ปรญิ ญาตรี มีนกั ศึกษาหญงิ มากกวา่ นกั ศึกษาชาย

10. ระดบั การศกึ ษาของแรงงาน

ตารางที่ 9 ระดับการศกึ ษาของแรงงานผู้มงี านทำ� (มิถุนายน 2561)

องคป์ ระกอบหลกั 2561

ประชากรอายุ 15 ขึ้นไป ม.ิ ย. ร้อยละ*
กำ� ลงั แรงงานรวม
ผู้มีงานท�ำ 56,271.5 -
ระดบั การศึกษาท่ีส�ำเร็จ
ไมม่ กี ารศึกษาและตำ่� กว่าประถมศึกษา 38,854.0 -
ประถมศึกษา
มธั ยมศึกษาตอนตน้ 38,368.8 -
มธั ยมศึกษาตอนปลาย
อดุ มศึกษา 38,368.8 -
สายวิชาการ
สายวิชาชีพ 8,855.2 23.07
สายวิชาการศกึ ษา
การศกึ ษาอน่ื 8,521.5 22.20
ไม่ทราบ
6,167.9 16.07

6,426.5 16.74

8,038.9 20.95

5,098.8 -

2,130.9 -

809.3 -

135.3 0.35

223.5 0.58

ทม่ี า: ส�ำนักงานสถติ แิ หง่ ชาติ สรุปผลการสำ� รวจภาวะการทำ� งานของประชากร เดอื นมิถนุ ายน 2561
* รอ้ ยละของผูม้ งี านท�ำ ค�ำนวณโดยผ้วู ิจยั

ประเด็นท่ีน่าสนใจ คือ แม้ไทยจะลงทุนเรื่องการให้บริการเร่ืองการศึกษาในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา
คอ่ นขา้ งสงู แตส่ ดั สว่ นของแรงงานทไี่ ดร้ บั การศกึ ษาแคช่ น้ั ประถมและตำ�่ กวา่ ทสี่ ำ� รวจกลางปี 2561 สงู ถงึ
ร้อยละ 45.27 หรือเกือบคร่งึ หน่ึงของผ้มู ีงานทำ� 14 ขณะที่แรงงานของประเทศเพื่อนบา้ นบางประเทศ

14 สัดส่วนนี้ดีข้ึนกว่าเมื่อ 10 ปีท่ีแล้วเพียงเล็กน้อย ปี 2552 แรงงานที่มีระดับการศึกษาระดับประถมและต�่ำกว่า มีร้อยละ 54.2
ระดับมัธยมปลายรอ้ ยละ 13.7 สำ� นกั งานสถิตแิ ห่งชาติ การสำ� รวจภาวะการท�ำงานของประชากรเดือนเมษายน 2552

บทที่ 2 31

สภาวะการศึกษาไทย

แรงงานส่วนใหญ่ของเขาจบชั้นมัธยมศึกษา ซ่ึงโลกยุคปัจจุบันถือเป็นระดับการศึกษาท่ีพอจะเรียนรู้
ทกั ษะสมยั ใหมเ่ พม่ิ เตมิ ไดด้ กี วา่ แสดงวา่ ปญั หาเดก็ เยาวชนไทย (สว่ นใหญค่ อื ยากจน) ไมค่ อ่ ยไดเ้ รยี น
หนงั สอื และ/หรอื ออกกลางคนั ยงั เปน็ ปญั หาทจ่ี ะตอ้ งหาทางแกไ้ ขทสี่ าเหตตุ น้ ตออยา่ งเปน็ ระบบครบวงจร
มากกวา่ แค่ใช้วิธีการเพิม่ งบประมาณ เพ่ิมโรงเรียน ฯลฯ
แม้สถิติคนเรียนการศึกษานอกระบบระดับมัธยมศึกษามีจ�ำนวนมาก (ปี 2559-2560 มีจ�ำนวน
ปลี ะราว 2 ลา้ นคน) แตไ่ มท่ ราบจำ� นวนผสู้ ำ� เรจ็ การศกึ ษา ดจู ากสถติ ริ ะดบั การศกึ ษาของแรงงานปี 2561
ดูเหมือนการศึกษานอกระบบ ยังไม่ได้ช่วยให้สถิติแรงงานไทยโดยรวมมีระดับการศึกษาสูงข้ึนมากนัก
การศึกษานอกระบบหรือการศึกษาเพ่ือผู้ใหญ่หรือคนทุกวัยเป็นเร่ืองท่ีส�ำคัญ ที่เราควรวิจัยและ
หาแนวทางปรับปรุงใหม้ คี ณุ ภาพและใหบ้ รกิ ารไดห้ ลายรปู แบบท่เี ปน็ ประโยชน์จริงอย่างท่ัวถงึ
สำ� หรบั คนวา่ งงาน สถติ เิ ลม่ เดยี วกนั (เดอื นมถิ นุ ายน 2561) รายงานวา่ มคี นวา่ งงานราว 4.26 แสนคน
แตถ่ า้ ดรู ะดบั การศกึ ษาจะพบวา่ คนมกี ารศกึ ษาสงู คอื อดุ มศกึ ษา มสี ดั สว่ นวา่ งงานมากทสี่ ดุ 1.70 แสนคน
รองลงมาคือมัธยมศึกษาตอนปลาย 8.64 หม่ืนคน มัธยมศึกษาตอนต้น 8.53 หมื่นคน ส่วนคนท่ีมี
ระดบั การศกึ ษาตำ่� กวา่ ชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ มสี ดั สว่ นการวา่ งงานนอ้ ยกวา่ เมอ่ื ดสู ถติ ยิ อ้ นหลงั แบบแผน
ท�ำนองนเ้ี กดิ ขึ้นทกุ ปีตดิ ต่อกนั มาหลายปีแล้ว
สรปุ กลา่ วโดยรวมถงึ รฐั บาลยงั คงใชง้ บประมาณการศกึ ษาสงู ขณะทปี่ ระชากรวยั เดก็ และเยาวชน
ลดลง โอกาสในการเขา้ เรยี นของเดก็ วยั เรยี นตอ่ ประชากรโดยรวมไมไ่ ดเ้ พมิ่ ขนึ้ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย
กลบั ลดลงดว้ ย สดั สว่ นคนเรยี นสายอาชวี ศกึ ษากย็ งั ตำ่� กวา่ สายสามญั ผสู้ ำ� เรจ็ การศกึ ษาอาชวี ศกึ ษาระดบั
ปวช. ปวส. มจี ำ� นวนผสู้ ำ� เรจ็ การศกึ ษาในปี 2559 ลดลง จากปกี ารศกึ ษากอ่ นหนา้ น้ี การศกึ ษาจดั โดยสงฆ์
นักเรยี นลดลง การศกึ ษาจดั โดยเอกชนมสี ัดสว่ นต่ำ� กว่าของรฐั มาก ยกเว้นโรงเรียนนานาชาติท่ีมีจ�ำนวน
นักเรียนเพ่ิมขึ้น สัดส่วนผู้หญิงได้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและอุดมศึกษาสูงกว่าผู้ชาย
อยา่ งนา่ สงั เกต ระดบั การศกึ ษาของแรงงานเกอื บครงึ่ หนง่ึ ยงั อยแู่ คร่ ะดบั ประถมและตำ�่ กวา่ ซงึ่ ยนื ยนั วา่
ไทยยงั จดั การศกึ ษาใหป้ ระชาชนในระดบั มธั ยมศกึ ษาโดยเฉพาะมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย (ทงั้ สายสามญั และ
อาชวี ศกึ ษา) ไดอ้ ยา่ งไม่ท่ัวถงึ เท่าทคี่ วร

สว่ นท่ี 2 สภาวะการศกึ ษาไทย จากมมุ มองของกฎหมาย แผนพฒั นา ขอ้ เสนอเรอื่ งการปฏริ ปู

รฐั ธรรมนญู ฉบบั ปี 2560 มปี ระเดน็ ทกี่ ลา่ วถงึ การปฏริ ปู การศกึ ษาอยหู่ ลายเรอื่ ง รวมทงั้ การจดั ตงั้
กองทนุ เพอื่ ความเสมอภาคทางการศกึ ษา (กสศ.) ทเี่ ปลยี่ นแปลงสำ� นกั งานสง่ เสรมิ สงั คมแหง่ การเรยี นรู้
และคณุ ภาพเยาวชน (สสค.) ซงึ่ เคยเปน็ องคก์ รมหาชนทแ่ี ตกตวั มาจากกองทนุ สง่ เสรมิ สขุ ภาวะ (สสส.) และ
ทำ� กจิ กรรมสนบั สนนุ เรอื่ งพฒั นาการเรยี นรขู้ องเยาวชนมากอ่ น ใหม้ าเปน็ ผบู้ รหิ ารกองทนุ ใหมน่ ้ี กองทนุ
กสศ. ไดร้ ับงบประมาณไปคดั กรองและช่วยอุดหนนุ ทางการเงินให้เดก็ และเยาวชนได้จ�ำนวนหนึ่ง15

15 ดเู รอื่ งของกองทนุ เพือ่ ความเสมอภาคทางการศกึ ษา ไดท้ ี่ www.elf.or.th

32 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ประกาศใช้ต้ังแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2561 ประกอบไปด้วย
ยทุ ธศาสตรช์ าติ 6 ด้าน คอื 1. ด้านความมนั่ คง 2. ด้านความสามารถในการแข่งขัน 3. ดา้ นการพัฒนา
และเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพทรพั ยากรมนษุ ย์ 4. การสรา้ งโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม 5. การสรา้ ง
การเติบโตชวี ติ ทเี่ ป็นมิตรกบั สงิ่ แวดลอ้ ม 6. การปรบั สมดุลและพฒั นาระบบการบริหารจัดการภาครฐั 16
ดา้ นทเี่ กย่ี วกบั การศกึ ษาอยลู่ ำ� ดบั ท่ี 3 ดา้ นการพฒั นาและเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพทรพั ยากรมนษุ ย์
ครอบคลมุ ตงั้ แตเ่ รอ่ื งการปรบั เปลย่ี นคา่ นยิ มและวฒั นธรรม การพฒั นาศกั ยภาพคนตลอดชว่ งชวี ติ ปฏริ ปู
กระบวนการเรยี นรทู้ ต่ี อบสนองตอ่ การเปลย่ี นแปลงในศตวรรษที่ 21 การเสรมิ สรา้ งใหค้ นไทยมสี ขุ ภาวะทด่ี ี
การสร้างสภาพแวดล้อมท่ีเอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การเสริมสร้าง
ศกั ยภาพการรกั ษาในการสร้างคุณคา่ ทางสังคมและพฒั นาประเทศ
ยุทธศาสตรช์ าติมลี กั ษณะเป็นการบรรยายเปา้ หมายท่ีควรเป็น โดยไม่ไดม้ ยี ทุ ธศาสตร์ ยุทธวิธีว่า
จะทำ� ใหบ้ รรลเุ ปา้ หมายทบ่ี รรยายไวไ้ ดอ้ ยา่ งไร ในเอกสารอกี เลม่ หนงึ่ ชอ่ื สรปุ สาระสำ� คญั แผนแมบ่ ทภายใต้
ยุทธศาสตร์แห่งชาติ มีการก�ำหนดตัวช้ีวัดไว้ แต่ก็เป็นการประมาณการเชิงปริมาณในแง่ดี ว่าถึงปีน้ัน
ปีนี้ (ภายในช่วง 20 ปีขา้ งหนา้ ) สถานการณจ์ ะดขี ึ้นโดยลำ� ดบั อย่างไรบ้าง17
แผนการศึกษาแหง่ ชาติ 2560-2579
แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560-257918 เป็นแผนที่ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแต่งต้ัง
คณะอนกุ รรมการเฉพาะกจิ ใหเ้ ปน็ ผจู้ ดั ทำ� เพอื่ ใหม้ คี วามสอดคลอ้ งกบั ยทุ ธศาสตรช์ าตริ ะยะ 20 ปี (พ.ศ.
2560-2579) หาอา่ นไดจ้ ากเว็บไซตข์ องสำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา
แผนการปฏริ ปู ประเทศดา้ นการศกึ ษา โดยคณะกรรมการอสิ ระเพอื่ การปฏริ ปู การศกึ ษา (กอปศ.)19
วัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศกึ ษา มี 4 ข้อ คือ
1. ยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา ครอบคลุมผลลัพธ์ทางการศึกษาและการเรียนรู้
ทงั้ ดา้ นความรู้ ทกั ษะ เจตคตทิ ถี่ กู ตอ้ ง และรจู้ กั ดแู ลสขุ ภาพ พฒั นาครู อาจารยแ์ ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา
ใหเ้ ปน็ ผมู้ คี วามรคู้ วามเชย่ี วชาญ มจี ติ วญิ ญาณของความเปน็ ครู หลกั สตู รและกระบวนการจดั การศกึ ษา
และการเรียนรู้ ท่ียืดหยุ่น หลากหลาย ถูกต้อง ทันสมัย ทันเวลา และมุ่งเน้นการสร้างเสริมคุณธรรม
จริยธรรมและคา่ นิยมทางสงั คมท่ีถกู ต้อง สถานศึกษาและระบบสนับสนุนท่ีตอบสนองต่อความตอ้ งการ
ของการจดั การศึกษา ทรพั ยากรดา้ นการศึกษาท่ีมคี ุณภาพ ไดแ้ ก่ งบประมาณและเทคโนโลยี
2. ลดความเหลื่อมล�้ำทางการศกึ ษา

16 ประกาศเร่อื งยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82ก. หน้า 1 13 ตุลาคม 2561
17 สำ� นกั งานเลขานกุ ารของคณะกรรมการยทุ ธศาสตรแ์ ห่งชาติ ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ สรุปสาระสำ� คัญ
แผนแมบ่ ทภายใต้ยุทธศาสตรช์ าติ (พ.ศ. 2561-2580)
18 สกศ. แผนการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2560-2579 สกศ. 2560
19 แผนการปฏิรปู ประเทศดา้ นการศึกษา โดยคณะกรรมการอิสระเพ่ือการปฏิรปู การศึกษา พฤษภาคม 2562 เอกสารอดั สำ� เนา

บทที่ 2 33

สภาวะการศึกษาไทย

3. มุง่ ความเปน็ เลิศและสรา้ งขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั ของประเทศ
4. ปรบั ปรงุ ระบบการศกึ ษาใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพในการใชท้ รพั ยากร เพม่ิ ความคลอ่ งตวั ในการรองรบั
ความหลากหลายของการจดั การศกึ ษา และสรา้ งเสริมธรรมาภิบาล
ทงั้ น้ี การศกึ ษาทจ่ี ะไดร้ บั การปฏริ ปู ตามวตั ถปุ ระสงคท์ กี่ ลา่ วถงึ ขา้ งตน้ นี้ จะครอบคลมุ ถงึ การเรยี นรู้
ตลอดชวี ติ มิไดจ้ ํากัดเฉพาะการจัดการศึกษาเพอื่ คุณวฒุ ติ ามระดบั เท่าน้ัน
กอปศ. ไดก้ าํ หนดแผนงานเพอื่ การปฏริ ปู การศกึ ษา 7 เรอ่ื ง เพอื่ บรรลวุ ตั ถปุ ระสงคข์ องการปฏริ ปู
การศกึ ษาข้างต้น ไว้ดงั นี้
เรื่องที่ 1: การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศ โดยพระราชบัญญัติ
การศกึ ษาแหง่ ชาตฉิ บับใหม่และกฎหมายล�ำดบั รอง
เร่ืองที่ 2: การปฏริ ปู การพัฒนาเดก็ เลก็ และเดก็ ก่อนวัยเรียน
เรื่องท่ี 3: การปฏิรูปเพ่ือลดความเหลือ่ มลำ้� ทางการศึกษา
เรื่องท่ี 4: การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครู และ
อาจารย์
เรือ่ งท่ี 5: การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพอื่ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษท่ี 21
เรอื่ งที่ 6: การปรบั โครงสรา้ งของหนว่ ยงานในระบบการศกึ ษา เพอ่ื บรรลเุ ปา้ หมายในการปรบั ปรงุ
การจดั การเรยี นการสอน และยกระดบั คณุ ภาพของการจดั การศึกษา
เรื่องที่ 7: การปฏิรูปการศกึ ษาและการเรียนรโู้ ดยการพลิกโฉมดว้ ยระบบดิจิทัล
การบรรลผุ ลของการปฏริ ปู การศึกษาตามแผนขา้ งต้น จะแบง่ เปน็ 3 ระยะ คือ 1) ระยะเรง่ ดว่ น
หรือภายในวันท่ี 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งครบวาระการท�ำงาน (2 ปี) ของ กอปศ. 2) ระยะส้ัน
หรอื ภายใน 3 ปี และ 3) ระยะกลาง-ระยะยาว หรอื ภายใน 5-10 ปี ทงั้ นี้ ประเดน็ ปฏริ ปู ทม่ี ลี ำ� ดบั สำ� คญั
สูงสดุ และตอ้ งดำ� เนนิ การใหบ้ รรลผุ ลให้ได้ในระยะเรง่ ดว่ น มี 6 ประเด็น ไดแ้ ก่
(1) ยกเครื่องระบบการศึกษา โดยการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่
รวมถึงกฎหมายสาํ คญั อน่ื ทเี่ สนอโดย กอปศ. ซง่ึ จะเปน็ เครอื่ งมอื สาํ คญั ในการปฏริ ปู การศกึ ษา ไดแ้ ก่ รา่ ง
พระราชบญั ญตั กิ ารพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ....ร่างพระราชบัญญัติพ้ืนนวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. ....
ร่างพระราชบญั ญตั ิการอุดมศกึ ษา พ.ศ. ....และการจดั ต้งั สถาบันหลกั สตู รและการเรยี นรูแ้ ห่งชาติ
(2) บกุ เบกิ นวตั กรรมของการจดั การศกึ ษาระดบั โรงเรยี น กลมุ่ โรงเรยี น หรอื การจดั การระดบั พน้ื ที่
โดยใหโ้ รงเรยี นเปน็ ศนู ยก์ ลางของการยกระดบั คณุ ภาพของการศกึ ษา ผา่ นการขบั เคลอื่ นเรอื่ งสถานศกึ ษา
ที่มคี วามเปน็ อิสระในการบริหารจัดการ และระบบนเิ วศที่สนับสนุนการดําเนนิ การของสถานศึกษา
(3) นาํ เสนอแนวทางการปรบั หลกั สตู รการจดั การศกึ ษาในระดบั การศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐานไปสหู่ ลกั สตู ร
ฐานสมรรถนะ และรูปแบบการปรับหลักสูตรในระดับช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1-3 จัดต้ังสถาบันหลักสูตร
และการเรียนรู้แห่งชาติเพื่อเป็นเสมือนศูนย์ความเป็นเลิศในการวิจัย พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร
การจัดการเรยี นการสอน และการประเมินผลการเรียนรู้ สาํ หรับการจัดการศึกษาในระดับตา่ ง ๆ

34 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

(4) สรา้ ง “ดจิ ทิ ลั แพลตฟอรม์ เพอื่ การเรยี นรแู้ หง่ ชาต”ิ ใชป้ ระโยชนจ์ ากเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั นาํ ความรู้
และวิธกี ารเรยี นรูไ้ ปสโู่ รงเรยี น นกั เรยี นและครู ทว่ั ประเทศ โดยเฉพาะในทอ้ งถ่ินหา่ งไกล
(5) จดั ระบบการผลติ ครใู หม้ คี ณุ ภาพและสมรรถนะความเปน็ ครู ผา่ นการจดั ตงั้ กองทนุ หรอื แผนงาน
เพื่อการผลิตและพัฒนาครู สําหรับครูรุ่นใหม่ และพัฒนาบัณฑิตครูท่ีมีอยู่ ให้ตรงตามความจําเป็น
ของประเทศ ในระยะแรกเนน้ ครูปฐมวัย และครปู ระถมศกึ ษา สําหรับท้องถ่นิ ขาดแคลน
(6) ใหม้ กี ารแตง่ ตง้ั คณะกรรมการนโยบายการศกึ ษาแหง่ ชาติ ตามทกี่ าํ หนดไวใ้ นรา่ งพระราชบญั ญตั ิ
การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคล่ือนแผนการศึกษาแห่งชาติและการปฏิรูป
การศกึ ษาใหเ้ ริ่มดําเนนิ การได้ และมคี วามตอ่ เนอื่ งในระยะยาว
พระราชบญั ญัตกิ ารพัฒนาเดก็ ปฐมวยั 2562
ประกาศใช้ 30 เมษายน 2562 สาระสำ� คญั ทกี่ ลมุ่ นกั วชิ าการและผทู้ เ่ี กยี่ วขอ้ งรา่ งขนึ้ ถกู ตดั ทอนออก
ใน 3 ประเดน็ ใหญค่ อื 1. การกำ� หนดความหมายของเดก็ ปฐมวยั วา่ หมายถงึ เดก็ ซง่ึ อายตุ ำ�่ กวา่ 6 ปบี รบิ รู ณ์
แทนทจี่ ะเปน็ เดก็ อายุ 0-8 ปี ตามมาตรฐานของประเทศพฒั นาอตุ สาหกรรม 2. ไมช่ ช้ี ดั เจนวา่ เดก็ อนบุ าล
จะต้องสอบเข้า ป.1 หรือไม่ จะต้องรอการแต่งต้ังคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยมาเป็น
ผู้ก�ำหนดหลักเกณฑ์ว่าแต่ละโรงเรียนระดับประถมศึกษาเข้าเรียนด้วยวิธีใดท่ีไม่กระทบต่อพัฒนาการ
ของเดก็ แตใ่ นมาตรา 8 ของพระราชบญั ญตั ิ ฉบบั นร้ี ะบวุ า่ การจดั การเรยี นรขู้ องสถานพฒั นาเดก็ ปฐมวยั
ตอ้ งเปน็ ไปเพอื่ เตรยี มความพรอ้ มของเดก็ ปฐมวยั แตต่ อ้ งไมเ่ ปน็ การจดั การเรยี นรทู้ ม่ี งุ่ เนน้ การสอบแขง่ ขนั
ระหว่างเด็กปฐมวัย ซ่ึงเท่ากับการห้ามสอนเสริมเด็กปฐมวัยเพ่ือสอบเข้า ป.1-3 การตั้งคณะกรรมการ
นโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย กลุ่มผู้เสนอร่างเรียกร้องให้เป็นอิสระจากกระทรวงใดกระทรวงหน่ึง
เพ่ือความคล่องตัวในการท�ำงาน แต่พระราชบัญญัติที่ออกมาก�ำหนดให้คณะกรรมการชุดนี้อยู่ภายใต้
ส�ำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา กระทรวงศกึ ษาธิการ20
รา่ งพระราชบญั ญัตกิ ารศกึ ษาแหง่ ชาติ
รา่ งโดยคณะทำ� งานของคณะกรรมการอสิ ระเพอ่ื การปฏริ ปู การศกึ ษา ผา่ นคณะกรรมการกฤษฎกี าแลว้
แต่คณะรัฐมนตรีของ คสช. มีมติไม่ออกเป็นพระราชก�ำหนด เห็นควรรอให้คณะรัฐบาลใหม่ภายหลัง
การเลือกต้ังเป็นผู้พิจารณาตามข้ันตอน กล่าวโดยรวมพระราชบัญญัติฉบับนี้พยายามจะท�ำให้กฎหมาย
เอื้ออ�ำนวยแนวคิดในการปฏิรูปการศึกษาของคณะกรรมการอิสระฯ เช่น เสนอให้มีการแต่งต้ังคณะ
กรรมการนโยบายการศกึ ษาแหง่ ชาติ เพอ่ื ทำ� หนา้ ทเี่ ปน็ กลไกหลกั ในการขบั เคลอ่ื นแผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ
และการปฏิรูปการศึกษาให้ด�ำเนินการได้อย่างต่อเน่ือง หรือกล่าวอีกนัยหน่ึงคือการปรับเปล่ียนองค์กร
สภาการศกึ ษาแหง่ ชาตใิ ห้เปน็ องค์กรท่ีเข้มแขง็ และมีบทบาทเพ่ิมข้ึน

20 สัมภาษณ์ครูก้า-กรองทอง บุญประคอง เว็บไซต์ M.O.M http://aboutmom.co/update/news-update-early-
childhood-act-b-e-2562/12166/

บทที่ 2 35

สภาวะการศึกษาไทย

ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีข่าวคราวการคัดค้านจากชมรมครูในหลายพื้นที่
ในประเด็นเร่ือง เปล่ียนชื่อจากต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการเป็นครูใหญ่ และให้ครูใหญ่แต่งตั้งผู้ช่วยครูใหญ่
จากผู้ที่เป็นครูหรือไม่ก็ได้ เร่ืองการเปลี่ยนใบประกอบวิชาชีพครูเป็นใบรับรองความเป็นครู เร่ือง
การก�ำหนดเงินค่าตอบแทนวิทยฐานะให้การประเมินแบบใหม่ สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
มากกวา่ การเขยี นเอกสารเพื่อขอผลงาน21
การคดั คา้ นรา่ งพระราชบญั ญตั กิ ารศกึ ษาแหง่ ชาตฉิ บบั ใหมน่ ผี้ วู้ จิ ยั มองวา่ นา่ จะมาจากความเขา้ ใจ
ที่ต่างกัน และมาจากการท่ีพวกครูจ�ำนวนหนึ่งเกรงว่าพวกตนจะเสียอ�ำนาจ ผลประโยชน์ที่เคยได้รับ
ร่างพระราชบญั ญัตฉิ บบั นี้คงตอ้ งมีการถกเถียงอภิปรายและแกไ้ ขกันในรฐั สภาตอ่ ไปอกี
โครงการโรงเรยี นร่วมพฒั นา (Partnership School)
เป็นโครงการที่ท�ำโดยกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน โดยเปลี่ยนรูปแบบมาจาก
โรงเรยี นประชารฐั ทบี่ รษิ ทั ธรุ กจิ เอกชนตา่ ง ๆ เคยเขา้ มาชว่ ยพฒั นาโรงเรยี นในโครงการทโ่ี ครงการใหมน่ ี้
ประกาศว่าจะพัฒนาการร่วมมือกับบริษัทธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคมอย่างเข้มข้นขึ้น โรงเรียน
ไดร้ บั การคดั เลอื ก (ตามความสมคั รใจ) เขา้ รว่ มโครงการน้ี จะมคี วามเปน็ อสิ ระ 3 ดา้ น คอื การออกแบบ
หลกั สูตร การจดั การเรียนการสอนเอง ท่ีเนน้ การคิดวิเคราะห์ การเรียนจากของจรงิ ในสถานท่ีจริง และ
การบรหิ ารจดั การเพิม่ ขึ้น คือมรี ะเบยี บบริหารคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งประธานมาจากภาคธรุ กิจ
เอกชน มอี ำ� นาจตดั สนิ ใจไดค้ ลอ่ งตวั กวา่ โรงเรยี นของรฐั ตามปกติ โครงการนเี้ รม่ิ ดำ� เนนิ งานเดอื นมถิ นุ ายน
2561 เฟสแรกมโี รงเรยี นในโครงการ 50 แหง่ จาก 30 จงั หวดั เดอื นเมษายน 2562 เตรยี มประกาศชอ่ื อกี
185 โรงเรียน โดยจะกำ� หนดเป้าหมายหรือจดุ เน้นของแต่ละโรงเรยี นตามบรบิ ทในแตล่ ะพ้ืนที่22

ขอ้ สงั เกตของผวู้ ิจัย
การปฏริ ปู การศกึ ษาในชว่ งปี 2560-2562 สว่ นใหญค่ อื งานดา้ นการวางแผนพฒั นา การรา่ งขอ้ เสนอ
เพอ่ื การปฏริ ปู การศกึ ษา การรา่ งและออกกฎหมายบางฉบบั ทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั เรอ่ื งการจดั การศกึ ษา ขอ้ เสนอ
เรอ่ื งแนวทางและเปา้ หมายในการปฏริ ปู การศกึ ษาครอบคลมุ ประเดน็ ตา่ ง ๆ อยา่ งหลากหลาย มกี ารสรา้ ง
ตวั ชว้ี ดั เชงิ ปรมิ าณ ซง่ึ สว่ นใหญเ่ ปน็ การตง้ั เปา้ หมายเชงิ อดุ มคตวิ า่ ถงึ ชว่ งไหนจะตอ้ งทำ� ใหส้ ำ� เรจ็ ไดเ้ ทา่ ไหร่
แต่ไม่ได้มียุทธวิธี โครงการ มาตรการที่ชัดเจนว่าจะท�ำให้เกิดผลจริง ๆ ได้อย่างไร และไม่ได้จัดล�ำดับ
ความสำ� คัญวา่ ปัญหาอะไรสำ� คญั ทตี่ อ้ งท�ำใหไ้ ด้กอ่ นอยา่ งชัดเจน
ตวั อยา่ งเชน่ ขอ้ เสนอเพอื่ การปฏริ ปู ประเทศดา้ นการศกึ ษา โดยคณะกรรมการอสิ ระเพอ่ื การปฏริ ปู
การศกึ ษา (กอปศ.) เนน้ การใชง้ บประมาณกอ้ นใหญท่ สี่ ดุ เพอื่ การลดความเลอ่ื มลำ้� แตแ่ ผนการในรายละเอยี ด
จะกลา่ วถงึ การช่วยเหลือเด็กพกิ าร เดก็ ดอ้ ยโอกาส เดก็ ในชนบทหา่ งไกล ทุรกันดาร ฯลฯ มากกวา่ ทจี่ ะ
มุ่งแก้ปัญหาความเหล่ือมล�้ำที่ใหญ่กว่านั้นคือความเหล่ือมล้�ำของการที่ลูกคนจนส่วนใหญ่ได้เรียน
ในโรงเรียนรอบนอก 3 หมนื่ แหง่ ท่ีมีคุณภาพต�ำ่ กว่าลูกคนรวย คนช้ันกลางที่ได้เรียนโรงเรียนยอดนยิ ม/
มีชื่อเสียงในเมืองใหญ่ 300 กว่าแห่ง

21 สยามรัฐออนไลน์ 23 มถิ นุ ายน 2562 http://siamrath.co.th/n/86360
22 แนวหน้า 25 กรกฎาคม 2561 ผจู้ ัดการออนไลน์ 24 พฤษภาคม 2562

36 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

ผวู้ จิ ยั เหน็ วา่ แผนพฒั นาขอ้ เสนอเพอ่ื การปฏริ ปู ดา้ นการศกึ ษา และโครงการทงั้ หลาย เชน่ ของกองทนุ
เพ่ือความเสมอภาคก็ดี โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา โรงเรียนคุณภาพฯ ของ สสวท. (สถาบันส่งเสริม
การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ฯลฯ มักจะเป็นโครงการเสริมหรือโครงการใหม่ที่ท�ำได้บางจุด
แบบตา่ งหนว่ ยงานตา่ งทำ� โดยหวงั วา่ จะเปน็ โครงการตน้ แบบทจี่ ะคอ่ ย ๆ ขยายตวั ออกไปภายหลงั มากกวา่
ทจี่ ะมกี ารบรู ณาการกนั หรอื มแี ผนการดำ� เนนิ งานในระดบั ประเทศแบบผา่ ตดั รอื้ ถอนเปลย่ี นแปลงระบบ
โครงสรา้ งการบรหิ ารแบบเดิมท้งั ระบบ
โครงการปฏิรูปการศึกษาแบบน�ำร่องหรือต้นแบบทั้งหลายนี้ ท�ำได้เพียงบางสถานการณ์
ในบางสถาบนั การศกึ ษาและ/หรอื บางชมุ ชน เพราะมกี ารสนบั สนนุ อยา่ งเขม้ แขง็ และมกี ารแกไ้ ขกฎระเบยี บ
การบริหารให้เป็นข้อยกเว้นที่สามารถท�ำงานแบบยืดหยุ่นคล่องตัวได้ แต่โครงการเหล่าน้ีช่วยปฏิรูป
การสอน การเรียน ให้มีคุณภาพข้ึนในระดับหนึ่ง แต่ยากที่จะขยายผลไปท่ัวประเทศ เพราะติดขัดอยู่ท่ี
ระบบบริหารแบบราชการรวมศูนย์ ท่ีผู้ปฏิบัติงานท�ำงานตามระเบียบราชการไปวัน ๆ แบบเอ้ืออ�ำนาจ
และผลประโยชน์ของข้าราชการมากกว่าจะกล้าคิดกล้าท�ำ ปฏิรูปการเรียนการสอนให้เด็กเยาวชนไทย
มีผลสมั ฤทธทิ์ างการศึกษาทีด่ ีขนึ้ อย่างเอาจริงเอาจงั
เมื่อมองภาพรวมท้ังหมดจากประวัติศาสตร์ 60-80 ปีท่ีผ่านมา ชนชั้นน�ำไทยเขียนรัฐธรรมนูญ
มาหลายฉบบั แผนพฒั นาเศรษฐกจิ สงั คมแหง่ ชาติ 5 ปี กอ็ อกมาอยา่ งตอ่ เนอ่ื งถงึ 12 ฉบบั รา่ งพระราชบญั ญตั ิ
การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ (ปี 2562) น้ีก็เป็นฉบับที่ 4 แผนการหรือข้อเสนอเพ่ือการปฏิรูปประเทศ
ดา้ นตา่ ง ๆ รวมทง้ั เรอ่ื งการปฏริ ปู การศกึ ษากเ็ ขยี นโดยคณะกรรมการชดุ ตา่ ง ๆ ในหลายยคุ สมยั มากมาย
หลายฉบับเช่นกนั เอกสารเหล่านก้ี ลา่ วถงึ ปญั หา ทศิ ทาง เปา้ หมาย ยุทธศาสตรพ์ ัฒนาเศรษฐกิจ สังคม
และการศึกษา ตามหลักวิชาการและประสบการณ์ของประเทศอื่น เช่น เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล�้ำ
พฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ประชาชนสว่ นใหญอ่ ยา่ งยง่ั ยนื ไวอ้ ยา่ งคอ่ นขา้ งเปน็ อดุ มคตสิ วยงาม แตไ่ มไ่ ดน้ ำ� เสนอ
ยุทธวิธี โครงการ มาตรการ ขั้นตอนการด�ำเนินการท่ีจะท�ำให้เกิดผลได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจน
ถึงจะมีการเขียน เป้าหมาย และตัวชี้วัดเชิงปริมาณในประเด็นต่าง ๆ ไว้ละเอียดพอสมควร แต่ก็เป็น
เปา้ หมายแบบคาดคะเนวา่ สถานการณจ์ ะดขี นึ้ ตามลำ� ดบั เมอื่ ถงึ ปนี นั้ ปนี ้ี แตใ่ นความเปน็ จรงิ มกั ไมไ่ ดเ้ ปน็
เช่นนั้น ประเด็นน้ีเราควรจะได้วิจัย อภิปรายกันต่อไปว่าท�ำไมจึงเป็นเช่นน้ัน และจะแก้ไขปัญหานี้
ไดอ้ ย่างไร

บทที่ 3 37

ความสามารถในการแข่งขันและสมรรถนะทางการศึกษาของไทย

บทท่ี 3

ความสามารถในการแข่งขนั และสมรรถนะทางการศกึ ษาของไทย

บทน้ีเสนอเรื่องปัญหา/สภาวะเศรษฐกิจสังคมและความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
สมรรถนะการศึกษาและการพัฒนาทางสังคมของไทย เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ จากการวิจัยและ
จดั อนั ดบั โดยองคก์ รระหวา่ งประเทศตา่ ง ๆ เพอื่ ใหผ้ อู้ า่ นไดเ้ หน็ ภาพในมมุ มองทก่ี วา้ งขนึ้ วา่ ประเทศไทย
ซ่ึงเป็นส่วนหน่ึงของระบบเศรษฐกิจโลกนั้นมีสถานภาพอย่างไรในเวทีแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่าง
ประเทศในโลกยุคปัจจุบัน มีประเด็นใดที่ไทยควรจะต้องแก้ไขปรับปรุง ปฏิรูป และเรียนรู้จากตัวอย่าง
ของประเทศท่ีประสบความสำ� เรจ็ มากกวา่
เหตุท่ีทุกประเทศถือความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องส�ำคัญ เพราะประชาชน
แตล่ ะประเทศตอ้ งพยายามผลติ สนิ คา้ และบรกิ ารมาสนองความตอ้ งการทจ่ี ำ� เปน็ ของประชาชนไดอ้ ยา่ งมี
ประสทิ ธภิ าพ และเนอ่ื งจากแตล่ ะประเทศตอ้ งคา้ ขายแลกเปลย่ี นสนิ คา้ กบั ประเทศอน่ื ดว้ ย การผลติ สนิ คา้
และบรกิ ารไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ ตน้ ทนุ ตำ่� คณุ ภาพดี ยอ่ มจะมสี ว่ นชว่ ยใหป้ ระเทศมรี ายไดจ้ ากการสง่ ออก
มากพอทจ่ี ะสง่ั ซอื้ สินค้า/บริการทีจ่ �ำเปน็ จากประเทศอื่น ๆ มาสนองความตอ้ งการของประชาชนได้

3.1 สถานะเศรษฐกิจไทยโดยรวม

ไทยเปน็ ประเทศใหญร่ ะดบั กลาง ๆ ในแงจ่ ำ� นวนประชากรทม่ี มี ากเปน็ ลำ� ดบั ท่ี 21 ของโลก (นอ้ ยกวา่
ฝรง่ั เศสและมากกวา่ องั กฤษเลก็ นอ้ ย) และมพี นื้ ทท่ี ท่ี ำ� การเกษตรไดใ้ หญเ่ ปน็ ลำ� ดบั ท่ี 18 ของโลก จากจำ� นวน
ประเทศตา่ ง ๆ ในโลกราว 200 ประเทศ มลู คา่ ผลติ ภณั ฑม์ วลรวมภายในประเทศ (GDP) ไทยคดิ ตาม
ตวั เลขทางบญั ชี (Nominal) อยใู่ นลำ� ดบั ที่ 24 ของโลก ธนาคารโลกจดั ใหไ้ ทยอยใู่ นกลมุ่ ประเทศรายได้
ปานกลางค่อนข้างสูง (Upper Middle Income) อย่างไรก็ตาม มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว
ประชากรคิดตามสัดส่วนอ�ำนาจซื้อ PPP (Purchasing Power Parity) หรือปรับตามค่าดัชนี
ค่าครองชีพแลว้ อยู่ล�ำดบั ต�่ำกว่าลำ� ดบั ขนาดทางเศรษฐกจิ ของประเทศคอื อยู่ลำ� ดับที่ 68 ของโลก1

3.2 ความสามารถในการแขง่ ขันทางเศรษฐกิจ

องค์กร WORLD ECONOMIC FORUM รายงานการจัดล�ำดับความสามารถในการแข่งขันทาง
เศรษฐกจิ ของประเทศตา่ ง ๆ ในปี 2018 (พ.ศ. 2561) โดยใชเ้ กณฑแ์ ละวธิ คี ำ� นวณแบบใหมท่ สี่ ะทอ้ นภาพ
ของการปฏวิ ตั อิ ตุ สาหกรรม 4.0 เพมิ่ ขน้ึ ไทยไดล้ ำ� ดบั รวมอยทู่ ่ี 38 จาก 140 ประเทศ ซงึ่ ดขี นึ้ จากปกี อ่ น
เลก็ นอ้ ย และอยรู่ ะดบั ปานกลาง สว่ นหนงึ่ เพราะไทยไดค้ ะแนนและลำ� ดบั สงู ในดา้ นระบบการคลงั การเงนิ
ขนาดของตลาดทคี่ ่อนข้างใหญ่ และการเตบิ โตทางธุรกจิ แต่ถา้ พิจารณาลกึ ลงไปถงึ เฉพาะเร่อื งท่สี �ำคญั

1 www.wikipedia.org List of Countries by Population, Cultivated Areas, GDP (Nominal), GDP (PPP) Per Capita สืบค้น
เม่ือ 13 พฤษภาคม 2562

38 สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562

การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล

ท่ีจะส่งผลต่อไปในอนาคต เช่น เร่ืองทักษะฝีมือแรงงานและความสามารถ การคิด ประดิษฐ์สร้างสรรค์
(นวตั กรรม) ไทยไดค้ ะแนนลำ� ดบั ทตี่ ำ่� ไปทางทา้ ย ๆ คอื ความสามารถทางนวตั กรรม ลำ� ดบั ที่ 51 การประยกุ ตใ์ ช้
ICT (เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสือ่ สาร) อนั ดบั ที่ 64 ทกั ษะ อนั ดบั ที่ 602 จาก 140 ประเทศ
องค์กร International Institute for Management Development (IMD) จัดอันดับ
ความสามารถในการแขง่ ขนั เฉพาะ ประเทศในกลมุ่ รายไดส้ งู และปานกลาง ราว 60 กวา่ ประเทศ ปี 2561
ไทยอยทู่ ่ลี �ำดบั ท่ี 30 จาก 63 ประเทศ ไทยตกอันดบั จากปี 2560 ลงมา 3 อนั ดับ ประเทศในเอเชียท่ีได้
ลำ� ดับสงู กวา่ ไทย คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ ไตห้ วนั มาเลเซีย เกาหลใี ต้ ญปี่ นุ่
ส่ิงท่ีน่าห่วงเพราะมีผลต่อไปในอนาคตคือเร่ืองการศึกษา ซึ่งอยู่ในหมวดโครงสร้างพื้นฐาน
ไทยได้คะแนนต่�ำที่สุด เมื่อเทียบกับด้านอ่ืน ๆ เช่น ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพการบริการ
ประสิทธิภาพทางธุรกิจ เมื่อแยกเฉพาะเรื่องสมรรถนะด้านการศึกษา ไทยอยู่ท่ีอันดับ 56 และดัชนี
ดา้ นสาธารณสขุ และสภาพแวดล้อมอยูอ่ นั ดับที่ 58 จาก 63 ประเทศ3
การจดั ลำ� ดบั ความสามารถแขง่ ขนั ของประเทศตา่ ง ๆ โดยทง้ั 2 องคก์ รทเ่ี นน้ เรอื่ งเศรษฐกจิ ธรุ กจิ น้ี
เขาพจิ ารณาจากสถติ ทิ างเศรษฐกจิ เชน่ การจา้ งงาน ประสทิ ธภิ าพธรุ กจิ การบรหิ าร ฯลฯ และการสำ� รวจ
ทัศนคติของนักธุรกิจต่างประเทศท่ีมองว่าประเทศใดมีศักยภาพทางเศรษฐกิจเอ้ืออ�ำนวยต่อการลงทุน
ของพวกเขามากนอ้ ยเพยี งไร ไทยซงึ่ เปน็ ประเทศทมี่ นี โยบายเปดิ รบั การลงทนุ และการคา้ จากตา่ งประเทศสงู
จงึ ได้คะแนนภาพรวมสูงระดบั ปานกลาง แต่ถ้าพจิ ารณาแยกเฉพาะเร่ือง เชน่ ในเรื่องการศึกษา ซงึ่ จะมี
ผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกจิ ในอนาคตนัน้ ไทยยงั อย่ลู ำ� ดบั ที่ต่�ำคอ่ นไปทางท้าย ๆ

3.3 ความสามารถในการแข่งขนั ดา้ นการศกึ ษา

ถา้ พจิ ารณาเฉพาะเรอื่ งความสามารถในการแขง่ ขนั ดา้ นการศกึ ษา ซง่ึ เปน็ 1 ใน 5 ของปจั จยั ยอ่ ย
ในปัจจัยหลักด้านโครงสร้างพ้ืนฐานท่ี IMD ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศต่าง ๆ ไทยมีอันดับด้านการศึกษาอยู่ในอันดับ 56 (จาก 63 ประเทศ) ลดลง 2 อันดับ
เมอ่ื เปรยี บเทยี บกบั ปี 2560 เมอ่ื พจิ ารณา 18 ตวั ชว้ี ดั ยอ่ ย พบวา่ ตวั ชว้ี ดั ทมี่ อี นั ดบั ดขี น้ึ มี 4 ตวั ชว้ี ดั ไดแ้ ก่
(1) งบประมาณดา้ นการศกึ ษาตอ่ ประชากร (2) อตั ราสว่ นนกั เรยี นตอ่ ครู 1 คน ทสี่ อนระดบั มธั ยมศกึ ษา
(3) ความคดิ เหน็ จากผบู้ รหิ ารธรุ กจิ เรอื่ งการสอนวทิ ยาศาสตรใ์ นโรงเรยี น (4) ทกั ษะทางภาษาทตี่ อบสนอง
ต่อความตอ้ งการของผู้ประกอบการ
ตวั ชว้ี ดั ทมี่ อี นั ดบั เทา่ เดมิ มี 8 ตวั ชว้ี ดั เชน่ (1) งบประมาณดา้ นการศกึ ษารายหวั ตอ่ นกั เรยี นระดบั
มัธยมศึกษา (2) ร้อยละของผู้หญิงที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (3) จ�ำนวนนักศึกษาไทย
ทไ่ี ปศึกษาตอ่ ระดบั อุดมศกึ ษาตอ่ ประชากร 1,000 คน

2 World Economic Forum Global Competitvenss Report 2018 www.weforum.org
3 IMD World Competetiveness 2018 www.imd.org

บทที่ 3 39

ความสามารถในการแข่งขันและสมรรถนะทางการศึกษาของไทย

ตวั ชวี้ ดั ทมี่ อี นั ดบั ลดลง มี 6 ตวั ชว้ี ดั ไดแ้ ก่ (1) งบประมาณดา้ นการศกึ ษาตอ่ GDP (2) อตั ราสว่ น
นักเรยี นตอ่ ครู 1 คน ทีส่ อนระดบั ประถมศกึ ษา (3) อัตราการเข้าเรยี นระดบั มธั ยมศกึ ษา (4) ผลสัมฤทธ์ิ
ของการอุดมศึกษา (5) ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (TOEFL) (6) อัตราการไม่รู้หนังสือของ
ประชากรอายุ 15 ปขี น้ึ ไป
เมอื่ พจิ ารณาอนั ดบั ตวั ชว้ี ดั ดา้ นการศกึ ษาจำ� แนกตามวตั ถปุ ระสงคโ์ ดยรวมของรา่ งแผนการปฏริ ปู
ประเทศดา้ นการศกึ ษา เฉพาะตวั ชว้ี ดั ของไทยโดย IMD ในปี 2561 ทมี่ อี นั ดบั ลดลงจากปี 2560 มรี ายละเอยี ด
ดงั นี้
ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ตัวชี้วัดท่ีมีอันดับลดลง 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) อัตราส่วน
นักเรียนต่อครู 1 คน ที่สอนระดับประถมศึกษา เท่ากับ 16.88:1 (อันดับ 62) 2) ผลสัมฤทธ์ิของ
การอุดมศึกษา พบว่ามีผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาร้อยละ 33.2 (อันดับ 41) 3) ผลการประเมิน
ผลสมั ฤทธท์ิ างคณติ ศาสตรแ์ ละวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรยี นทมี่ อี ายุ 15 ปี (ผลการทดสอบ PISA) (อนั ดบั 49)
4) ความสามารถในการใชภ้ าษาองั กฤษ (TOEFL) (อนั ดบั 59) และ 5) อตั ราการไมร่ หู้ นงั สอื ของประชากร
อายุ 15 ปี (อนั ดับ 59)
ด้านการลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ตัวชี้วัดมีอันดับลดลงท้ัง 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) อัตรา
การเข้าเรยี นระดับมธั ยมศกึ ษาของประเทศไทยมอี ันดบั ลดลง จากอนั ดับ 53 (ร้อยละ 83.6) ในปี 2560
มาเปน็ อันดบั 55 (รอ้ ยละ 77.3) ในปี 2561 ซึง่ ต่ํากวา่ ประเทศสว่ นใหญใ่ นกลมุ่ เอเชยี แปซิฟกิ ทีม่ ีอตั รา
การเขา้ เรยี นระดบั มธั ยมศกึ ษารอ้ ยละ 90 ขน้ึ ไป และ 2) รอ้ ยละของผหู้ ญงิ ทจ่ี บการศกึ ษาระดบั ปรญิ ญาตรี
ขน้ึ ไป พบวา่ ประเทศไทยมผี หู้ ญงิ ทจี่ บการศกึ ษาระดบั ปรญิ ญาตรขี น้ึ ไป ลดลงถงึ 21 อนั ดบั จากอนั ดบั 23
(ร้อยละ 60.9) ในปี 2558 เปน็ อนั ดับ 44 (ร้อยละ 22.8) ในปี 2561
ดา้ นการปรบั ปรงุ ระบบการศกึ ษาใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพในการใชท้ รพั ยากร ตวั ชวี้ ดั ทม่ี อี นั ดบั ลดลง
คืองบประมาณด้านการศึกษาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ในปี 2561 ประเทศไทย
มกี ารลงทนุ ทางการศกึ ษารอ้ ยละ 3.8 ของ GDP (อนั ดบั 45)
กล่าวโดยรวม สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากลยังอยู่ในระดับท่ีไม่ดีนัก เม่ือเปรียบเทียบกับ
ประเทศในกลมุ่ เอเชยี แปซฟิ กิ รวมทงั้ ตวั ชว้ี ดั ดา้ นการศกึ ษาสว่ นใหญข่ องประเทศไทยในปี 2561 มแี นวโนม้
ของอันดับและคะแนนที่ลดลงจากปี 2560 ทั้งด้านการยกระดับด้านคุณภาพการศึกษา ปัญหาด้าน
ความเหล่ือมล้ําทางการศึกษา ด้านการมุ่งความเป็นเลิศและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ รวมทง้ั ดา้ นการปรบั ปรงุ ระบบการศกึ ษาใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพ ดงั นน้ั ไทยจงึ ถกู จดั อนั ดบั อยใู่ น
กลุ่มระดับลา่ งทีม่ อี ันดบั ไมเ่ กนิ ครงึ่ จากประเทศทีเ่ ข้ารบั การประเมินทง้ั หมด 63 ประเทศ4
งบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาของไทยมีเพียงราว 0.35% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP)
ซง่ึ อยใู่ นเกณฑต์ ำ�่ สดุ ในภมู ภิ าคแถบน้ี แมไ้ ทยจะลงทนุ ดา้ นการจดั การศกึ ษาโดยรวมเปน็ สดั สว่ นราว 4%
ของผลผลติ ภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศ อยู่ในระดบั สงู กวา่ หลายประเทศ

4 สกศ. สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2561 (IMD 2018) ส่ิงพมิ พ์ สกศ. อนั ดับท่ี 48/2561 ธนั วาคม 2561


Click to View FlipBook Version