The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การนิเทศติดตาม ภาคเรียนที่ 1 ปี 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kai.eiamthongkul, 2023-05-27 10:06:07

การนิเทศติดตามภาคเรียนที่ 1 ปี 2566

การนิเทศติดตาม ภาคเรียนที่ 1 ปี 2566

Keywords: การนิเทศติดตาม

ประจำ ปี การศึกษา 2566 รายงานผลการนิเทศ ติดตาม และ การจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนในเครือข่ายพรหมเทพ นางฐาสสิร์ นวิชญ์ญาณสุธี นางภภรณ์ฉัตร ต้นวิชา นางล้อมศกุนต์ เอี่ยมทองกุล นำ เสนอโดย


ก คำนำ การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งใชเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียน การสอนใหบรรลุวัตถุประสงค หลักการสำคัญของการนิเทศคือ ความทั่วถึงความต่อเนื่องและนิเทศ อย่างมีคุณภาพโดยคาดหวังวาโรงเรียนทุกโรงเรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ ครูและบุคลากร เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนจากการสอนเนื้อหาเป็นการสอน ใหเกิดการเรียนรูและนักเรียน มีคุณภาพ ดังนั้น การนิเทศ ติดตาม เป็นกระบวนการที่สำคัญที่ช่วยให้การจัดการศึกษาของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนของครู พัฒนาสู่ผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ให้ศึกษานิเทศก์ ออกนิเทศติดตามโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนจัดการการเรียนสอนเป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษา การดำเนินการตามจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต นโยบายของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของรัฐบาล และอื่น ๆ และกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดการเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖6 ดังนั้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ออกนิเทศติดตาม ความพร้อม การจัดการเรียนการสอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ ส่งเสริม การจัดการเรียน การสอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ เพื่อสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ คณะนิเทศ ติดตาม หวังว่า การนิเทศ ติดตามในครั้งนี้จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และนำข้อมูลจากการนิเทศไปพัฒนาต่อยอด การจัดการเรียนการสอนต่อไป กลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต


ข สารบัญ หน้า คำนำ.......................................................……………………………………………………………………………. ก สารบัญ…………………………………………………………………………………………………………………………... ข ส่วนที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญ.................................................................................... ความเป็นมาและความสำคัญ……………………………………….......................................... 1 วัตถุประสงค์................................................................................................................ 2 เป้าหมาย..................................................................................................................... 2 ประเด็นการนิเทศ........................................................................................................ 2 ระยะเวลาการดำเนินการ............................................................................................ 2 ส่วนที่ 2 วิธีดำเนินงานการ……………………………………………………………………..…………………… การดำเนินงาน………………………………………………………………………............................. 3 กำหนดการนิเทศ........................................................................................................ 4 คณะผู้นิเทศ………………………………………………………………………………….……………….. 4 ส่วนที่ 3 ผลการนิเทศ………………………………………………………………………………………………….. ผลการนิเทศโรงเรียนบ้านกะตะ (ตรีทศยุทธอุปถัมภ์)………………………………………….. 5 ผลการนิเทศโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีเขต..................……………………………………..……….. 7 ผลการนิเทศโรงเรียนเกาะโหลน...........................……………………………………..……….. 9 ผลการนิเทศโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์..............................................................……….. 11 ผลการนิเทศโรงเรียนบ้านฉลอง...........................……………………………………..……….. 14 ผลการนิเทศโรงเรียนวัดลัฏฐิวนาราม..................……………………………………..……….. 16 จุดเด่นในภาพรวมจากการนิเทศ ติดตาม.………………………………………………………….. 17 ข้อเสนอแนะ...........................................................…………………………………………….. 17 ภาคผนวก • ภาพประกอบการนิเทศ • การบันทึกการนิเทศโรงเรียน/สมุดนิเทศ • โครงการนิเทศบูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา • สำเนาบันทึกข้อความ คำสั่ง หนังสือราชการ • เครื่องมือการนิเทศ • ปฏิทินการนิเทศ • จดหมายข่าว/ประชาสัมพันธ์ • แผนที่การเดินทางนิเทศติดตามฯ


ส่วนที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนานิเทศ การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างคน สร้างสังคม และสร้างชาติ เป็นกลไกหลัก ในการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และในกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกศตวรรษที่ 21 การศึกษามีบทบาทสำคัญ ในการ สร้างความได้เปรียบของประเทศเพื่อการแข่งขันและยืนหยัดในเวทีโลกภายใต้ระบบเศรษฐกิจและ สังคมที่เป็นพลวัต ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญและทุ่มเทกับการพัฒนาการศึกษาเพื่อ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตนให้สามารถ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ และสังคมของ ประเทศ ภูมิภาค และของโลก ควบคู่กับการธำรงรักษาอัตลักษณ์ของประเทศ ในส่วนของประเทศ ไทยได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทย ให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการ พัฒนาประเทศ ภายใต้แรงกดดันภายนอกจากกระแสโลกาภิวัตน์ และแรงกดดันภายในประเทศที่เป็น ปัญหาวิกฤตที่ประเทศต้องเผชิญ เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีสังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรม จริยธรรม และประเทศสามารถก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและส่งผล กระทบต่อระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพอย่างแท้จริง การนิเทศการศึกษา เปนกระบวนการหนึ่งใชเป็น แนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนใหบรรลุวัตถุประสงค หลักการสําคัญของการนิเทศ คือ ความทั่วถึงความต่อเนื่องและนิเทศอยางมีคุณภาพโดยคาดหวังวาโรงเรียนทุกโรงเรียนไดรับ การพัฒนาเต็มศักยภาพ ครูและบุคลากรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนจากการสอนเนื้อหา เปนการสอน ใหเกิดการเรียนรูและนักเรียน มีคุณภาพ การนิเทศการศึกษา หมายถึง การให้คําปรึกษา แนะนํา ส่งเสริม สนับสนุนเพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนั้น การนิเทศ ติดตาม เป็นกระบวนการที่สำคัญที่ช่วยให้การจัดการศึกษาของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนของครู พัฒนาสู่ผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ให้ศึกษานิเทศก์ ออกนิเทศติดตามโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนจัดการการเรียนสอนเป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษา การดำเนินการตามจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต นโยบายของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของรัฐบาล และอื่น ๆ และกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดการเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖6 ดังนั้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ออกนิเทศติดตาม ความพร้อมการ จัดการเรียนการสอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ ส่งเสริม การจัดการเรียน การสอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ เพื่อสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ


๒ วัตถุประสงค์ เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ ส่งเสริม การจัดการเรียนการสอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ โรงเรียนในเครือข่ายพรหมเทพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต เป้าหมาย เชิงปริมาณ โรงเรียนในเครือข่ายพรหมเทพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จำนวน ๖ โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนบ้านกะตะ (ตรีทศยุทธอุปถัมภ์ โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีเขต โรงเรียนเกาะโหลน โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ โรงเรียนบ้านฉลอง และโรงเรียนวัดลัฏฐิวนาราม เชิงคุณภาพ . โรงเรียนในเครือพรหมเทพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต มีความพร้อม การจัดการเรียนการสอเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ จัดการเรียนการสอนอบ่างมีคุณภาพ ประเด็นการนิเทศ ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ ได้แก่ ความ ปลอดภัยของสถานศึกษา อาคารสถานที่ อาหารกลางวัน ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) การจัดการเรียนการสอนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม และความพร้อมของสื่อเทคโนโลยี (อินเตอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์) ระยะเวลาดำเนินการ ๑๖ – 19 พฤษภาคม ๒๕๖๖


๓ ส่วนที่ 2 วิธีดำเนินการ การนิเทศ ติดตาม ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ โรงเรียนเครือข่ายพรหมเทพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ซึ่งออก นิเทศติดตาม ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ ส่งเสริม การจัดการเรียนการสอน สอนอย่างมีคุณภาพ มีวิธีการดำเนินการดังนี้ การดำเนินงาน การนิเทศ ติดตาม ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ โรงเรียนเครือข่ายพรหมเทพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ซึ่งออก นิเทศติดตาม ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖ มีการดำเนินงานต่อไปนี้ ๑. ประชุมวางแผนการการนิเทศ ติดตาม ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนเปิดภาคเรียน ที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ ในวันอังคาร ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ – 1๖.00 น. ณ ห้อง กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต 2. ดำเนินการแต่งตั้งคณะนิเทศ ติดตาม ตามคำสั่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาภูเก็ต ที่ ๑๖๗ /256๖ เรื่องแต่งตั้งคณะนิเทศ ติดตามความพร้อมการจัดการเรียนการ สอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๖ 3. จัดทำแบบนิเทศติดตาม ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ 4. ออกนิเทศติดตาม ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๕. รายงานผลเป็นรูปเล่ม ๖. นำผลการนิเทศติดตามไปพัฒนาต่อยอดการนิเทศติดตามครั้งต่อไป เครื่องมือนิเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จัดทำแบบนิเทศแบบนิเทศติดตาม ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต เพื่อใช้ในการนิเทศติดตาม โรงเรียนเครือข่ายพรหมเทพจำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านกะตะ (ตรีทศยุทธอุปถัมภ์ โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีเขต โรงเรียนเกาะโหลน โรงเรียน วัดสว่างอารมณ์ โรงเรียนบ้านฉลอง และโรงเรียนวัดลัฏฐิวนาราม


๔ กำหนดการนิเทศ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ โรงเรียนบ้านกะตะ (ตรีทศยุทธอุปถัมภ์) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีเขต 08.00 – 10.0๐ น. 10.00 – 12.00 น. วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ โรงเรียนโรงเรียนเกาะโหลน 08.00 – 10.0๐ น. โรงเรียนโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ 10.00 – 12.00 น. วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖ โรงเรียนบ้านฉลอง 08.00 – 10.0๐ น. โรงเรียนวัดลัฏฐิวนาราม 10.00 – 12.00 น. ผู้นิเทศ ๑. นายกิติรัตน์ เบ้าลี รอง.ผอ.สพป.ภูเก็ต ๒. นางฐาสสิร์ นวิชญ์ญานสุธี ศึกษานิเทศก์ ๓. นางภภรณ์ฉัตร ต้นวิชา ศึกษานิเทศก์ ๔. นางล้อมศกุนต์ เอี่ยมทองกุล ศึกษานิเทศก์


๕ ส่วนที่ 3 ผลการนิเทศ การนิเทศติดตาม ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ โรงเรียนเครือข่ายพรหมเทพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ซึ่งออกนิเทศ ติดตามในระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ปรากฏผลการนิเทศดังนี้ปรากฏผลการนิเทศดังนี้ ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๖ 1 โรงเรียนบ้านกะตะ ( ตรีทศยุทธอุปถัมภ์ ) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน..........1..........คน ข้าราชการครู จำนวน...........6..........คน อื่นๆ ได้แก่................................................... จำนวน...........6........คน บรรยากาศความพร้อมการจัดการเรียนการสอน เปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2๕66 ความปลอดภัยของสถานศึกษา โรงเรียนได้ขอความอนุเคราะห์บุคลากรจากเทศบาลตำบลกะรน ในการจัดเจ้าหน้าที่ (อปพร.) มารักษาความปลอดภัยร่วมกับครูเวรประจำวัน ณ ประตูทางเข้าของโรงเรียน ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง จำนวน 4 คน ด้านละ 2 คน โดยแบ่งเวลา ช่วงเช้าเวลา 06.00 – 08.00 น.และ ช่วงเย็น ตั้งแต่เวลา 15.00 – 17.00 น. ทางโรงเรียนได้จัดระบบ ไว้ดังนี้ - จัดครูดูแลนักเรียนครบชั้น - จัดครูเวรรักษาความปลอดภัยในเวลาราชการและวันหยุด - จัดบริเวณที่จอดรถให้กับผู้ปกครองที่มารับส่ง บุตร หลาน - เทศบาลกะรนให้ความอนุเคราะห์พ่นยากำจัดยุงลายบริเวณห้องเรียนและพื้นที่โดยรอบ อาคารสถานที่ - คณะครูมีการร่วมสำรวจอาคารเรียน บริเวณโยรอบภายในและภายนอกโรงเรียน - สำรวจตรวจสอบความปลอดภัยของห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ ห้องส้วม โรงอาหาร และห้องพยาบาล - จัดตกแต่ง ทำความสะอาดห้องเรียน ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ - ร่วมกันทำความสะอาด ตักตกแต่งกิ่งไม้ ตัดหญ้าให้สะอาด มีความปลอดภัย อาหารกลางวัน - โรงเรียนมีการจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนตามหลักโภชนาการ มีการกำหนด รายการอาหารกลางวัน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch - จัดครูผู้รับผิดชอบร่วมตรวจสอบคุณภาพอาหาร


๖ ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) - มีการกำหนดให้สัปดาห์แรกในการเปิดภาคเรียน มีการคัดกรองนักเรียนด้านการอ่าน เพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียน และช่วยเหลือนักเรียน - มีการจัดห้องเรียน ป.7 เพื่อช่วยเหลือนักเรียนด้านการอ่าน การเขียน การจัดการเรียนการสอนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม โรงเรียนได้มีการวางแผนและดำเนินการจัดการเรียนการสอนสถานศึกษานำร่องพื้นที่ นวัตกรรม โดยใช้โครงงานฐานชุมชน จะเริ่มทุกระดับชั้น ตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 กำหนด ชั่วโมง 2 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์ ความพร้อมของสื่อเทคโนโลยี (อินเตอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์) ลำดับ รายการ เพียงพอต่อการใช้ ความพร้อมใช้งาน กรณีที่ใช้งานไม่ได้ โรงเรียนมีวิธีการ แก้ปัญหาอย่างไร พร้อม ไม่พร้อม เพียงพอ ไม่เพียงพอ 1 อินเตอร์เน็ต งบประมาณที่ได้รับ (..........................บาท) √ √ 2 คอมพิวเตอร์สำหรับ งานบริหารจัดการ จำนวน .....3.... จำนวน ....-..... √ 3 สื่อคอมพิวเตอร์สำหรับ นักเรียน จำนวน .....25.. จำนวน ............ √ 4. ชื่อ-สกุล บุคลากรที่รับผิดชอบงานไอซีทีโรงเรียน....นางสาวภาวิณี สิงห์สิทธิ์ โทร.................. ปัญหาอุปสรรค - บุคลากรไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน แนวทางแก้ไขพัฒนา - รอตำแหน่งบรรจุใหม่ ข้อค้นพบของผู้นิเทศ การเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีรองผู้อำนวยการโรงเรียนย้ายมา 1 ตำแหน่ง คือนางสาว นราวรรณ พิศดู ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้มาปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการโรงเรียนและรักษาการใน โรงเรียนบ้านกะ (ตรีทศยุทธอุปถัมภ์) ทำให้การบริหารจัดการในโรงเรียน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ครูมีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน มีการพัฒนามากขึ้น


๗ 2.โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีเขต ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน.........-...........คน (รักษาราชการแทน) ข้าราชการครู จำนวน.........6............คน อื่นๆ ได้แก่................................................... จำนวน.........3..........คน บรรยากาศความพร้อมการจัดการเรียนการสอน เปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2๕66 ความปลอดภัยของสถานศึกษา อาคารสะถานที่ มีความปลอดภัยต่อนักเรียน และบุคลากรภายในโรงเรียน มีความสะอาดตา เป็นระเบียบ อาคารสถานที่ ชั้นเรียนห้องเรียนมีความพร้อม กับบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ อาคารเรียนมีเพียงพอ อาหารกลางวัน - โรงเรียนมีการจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนตามหลักโภชนาการ มีการกำหนด รายการอาหารกลางวัน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch - จัดครูผู้รับผิดชอบร่วมตรวจสอบคุณภาพอาหาร ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) - มีการกำหนดให้สัปดาห์แรกในการเปิดภาคเรียน มีการคัดกรองนักเรียนด้านการอ่าน เพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียน และช่วยเหลือนักเรียน - มีการจัดห้องเรียน ป.7 เพื่อช่วยเหลือนักเรียนด้านการอ่าน การเขียน การจัดการเรียนการสอนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม โรงเรียนได้มีการวางแผนและดำเนินการจัดการเรียนการสอนสถานศึกษานำร่องพื้นที่ นวัตกรรม โดยใช้โครงงานฐานชุมชน จะเริ่มทุกระดับชั้น ตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 กำหนด ชั่วโมง 2 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์ ความพร้อมของสื่อเทคโนโลยี (อินเตอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์) ลำดับ รายการ เพียงพอต่อการใช้ ความพร้อมใช้งาน กรณีที่ใช้งานไม่ได้ โรงเรียนมีวิธีการ แก้ปัญหาอย่างไร พร้อม ไม่พร้อม เพียงพอ ไม่เพียงพอ 1 อินเตอร์เน็ต งบประมาณที่ได้รับ (..........................บาท) √ √ 2 คอมพิวเตอร์สำหรับ งานบริหารจัดการ จำนวน ......... จำนวน ......... 3 สื่อคอมพิวเตอร์สำหรับ นักเรียน จำนวน ............ จำนวน ............ 4. ชื่อ-สกุล บุคลากรที่รับผิดชอบงานไอซีทีโรงเรียน.........................................................โทร....


๘ ปัญหาอุปสรรค นักเรียนย้ายเข้ามาเรียนมากยิ่งขึ้น ทำให้ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่เพียงพอ แนวทางแก้ไขพัฒนา ซ่อมแซม โต๊ะเก้าอี้ ให้กับนักเรียน ข้อค้นพบของผู้นิเทศ เนื่องจากทางโรงเรียนขาด ผู้บริหารเป็นเวลานาน ทำให้ การทำงาน เอกสารต่างๆ ขาดความ เป็นระบบ ข้อเสนอแนะ ให้ดูแลและฝึกฝนเรื่องระเบียบวินัย ของนักเรียน


๙ 3. โรงเรียนเกาะโหลน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน............-...........คน ข้าราชการครู จำนวน...........1..........คน อื่นๆ ได้แก่................................................... จำนวน...........1..........คน บรรยากาศความพร้อมการจัดการเรียนการสอน เปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2๕66 ความปลอดภัยของสถานศึกษา โรงเรียนได้ ดำเนินการดูแลนักเรียน ซึ่งมี นักเรียน 2 คน อาคารสถานที่ - ครูมีการสำรวจอาคารเรียน บริเวณโดยรอบภายในและภายนอกโรงเรียน - สำรวจตรวจสอบความปลอดภัยของห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ ห้องส้วม โรงอาหาร และห้องพยาบาล - จัดตกแต่ง ทำความสะอาดห้องเรียน ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ - ร่วมกันทำความสะอาด ตัดตกแต่งกิ่งไม้ ตัดหญ้าให้สะอาด มีความปลอดภัย อาหารกลางวัน - โรงเรียนมีการจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนตามหลักโภชนาการ มีการกำหนด รายการอาหารกลางวัน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch และครูผู้รับผิดชอบร่วม ตรวจสอบคุณภาพอาหาร ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) - เนื่องจากมีนักเรียน 2 คน ระดับ ป.5 หนึ่งคน ปฐมวัย 1 คน คุณครูสามารถสอนได้ อย่างทั่วถึง และมีพัฒนาการ เน้นการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning การจัดการเรียนการสอนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม โรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม โดยได้นำ Learning Modual ในชุดรายวิชาที่ 4 โครงงานฐานชุมชน (ป.1 - ป.6) ซึ่งจัดการเรียนการสอนรายวิชา ในคาบ ลดเวลาเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/ 1 สัปดาห์ เน้นการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ร่วมกับครู และชุมชน


๑๐ ความพร้อมของสื่อเทคโนโลยี (อินเตอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์) ลำดับ รายการ เพียงพอต่อการใช้ ความพร้อมใช้งาน กรณีที่ใช้งานไม่ได้ โรงเรียนมีวิธีการ แก้ปัญหาอย่างไร พร้อม ไม่พร้อม เพียงพอ ไม่เพียงพอ 1 อินเตอร์เน็ต งบประมาณที่ได้รับ (..........................บาท) √ √ 2 คอมพิวเตอร์สำหรับ งานบริหารจัดการ จำนวน .....1.... จำนวน ....-..... √ 3 สื่อคอมพิวเตอร์สำหรับ นักเรียน จำนวน .....25.. จำนวน ............ √ 4. ชื่อ-สกุล บุคลากรที่รับผิดชอบงานไอซีทีโรงเรียน................................. โทร.................. ปัญหาอุปสรรค - เป็นพื้นที่เกาะ แนวทางแก้ไขพัฒนา ข้อค้นพบของผู้นิเทศ คุณครูตั้งใจทำการสอน และต้องรับผิดชอบงานหลายหน้าที่ได้เป็นอย่างดี


๑๑ 4. โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน........๒............คน ข้าราชการครู จำนวน.........๓๒........คน อื่นๆ ได้แก่......ครูอัตราจ้าง ......................... จำนวน...........๑........คน บรรยากาศความพร้อมการจัดการเรียนการสอน เปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2666 เป็น อย่างไรบ้าง ความปลอดภัยของสถานศึกษา ๑. โรงเรียนมีการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาค ในเรื่องของความสะอาด โดยมีการแบ่งเขต รับผิดชอบแต่ละห้องเรียน ให้เด็กลงพื้นที่ทำความสะอาดทุกเช้าก่อนเข้าแถว โดยมีครูประจำชั้นเป็น ผู้คอยดูแลและช่วยเหลือ ๒. มีครูเวรประจำวันรอรับเด็กที่ประตูโรงเรียนทุกวัน เพื่อทักทายเด็กและผู้ปกครองที่มาส่ง เด็ก รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้ทำความเคารพคุณครูและผู้ปกครองที่มาส่ง เพื่อเป็นการส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรมทีดีงามในเรื่องการไหว้ให้กับเด็ก ๓. โรงเรียนจัดตั้งคำสั่งครูเวรประจำวัน ทั้งเวรกลางวันและกลางคืน เพื่อสอดส่องดูแลความ ปลอดภัยในสถานศึกษา ๔. โรงเรียนมีนโยบายให้นักเรียนทุกคนทำประกันอุบัติเหตุ เพื่อรองรับความเสี่ยงในเรื่อง ความปลอดภัยของเด็ก ๕. โรงเรียนมีนโยบายหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับเด็ก ๖. โรงเรียนมีโครงการตำรวจแด เข้ามาให้ความรู้และช่วยสอดส่องดูแลในเรื่องการป้องกัน ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ๗. โรงเรียนมีห้องพยาบาลเพื่อรองรับกรณีเด็กไม่สบายในขณะอยู่โรงเรียน ก่อนจะประสาน ให้ผู้ปกครองมารับ อาคารสถานที่ โรงเรียนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day เมื่อวันที่ ๕ พ ฤษภาคม ๒๕๖๖ ได้จัด สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ สะอาด ร่มรื่น สวยงามปลอดภัย อาคารเรียน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่างๆ อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ อยู่ในสภาพพร้อมใช้ มั่นคง แข็งแรง จัดบรรยากาศใน ห้องเรียน สะอาด สวยงาม จัดโต๊ะ - เก้าอี้นักเรียน/ครู เป็นระเบียบและเพียงพอกับจำนวนนักเรียน มีเครื่องมือ อุปกรณ์ในสภาพดี พร้อมใช้งาน 3. อาหารกลางวัน โรงเรียนได้จัดเตรียมทำความสะอาด ห้องครัว/วัสดุ/อุปกรณ์/ประกาศแตงตั้งคณะกรรมการ ดําเนินงานโครงการอาหารกลางวันนักเรียน/คําสั่งแตงตั้ง/มอบหมายใหมีครูผูรับผิดชอบโครงการ อาหารกลางวันอยางเหมาะสม โดยกําหนดหนาที่ขอบเขตที่ชัดเจน - มีการวางแผนการจัดทํารายการอาหารตามหลักโภชนาการ โดยใชโปรแกรม Thai school lunch จัดทําเป็นรายเดือน - มีการจัดทําบัญชี และหลักฐานการเงินที่ครบถวนตามระเบียบของทางราชการ กําหนด และเปนปจจุบัน


๑๒ - โรงเรียนดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนโดยใช้รูปแบบจ้างบุคคลภายนอกเพื่อ ประกอบอาหาร (โรงเรียนซื้ออาหารสดอาหารแห้งเอง) - โรงเรียนจัดรูปแบบให้นักเรียนรับประทานอาหารกลางวัน โดยแบ่งเป็นช่วงเวลา ดังนี้ เวลา ๑๐.๓๐ น. ระดับอนุบาล/เวลา ๑๑.๐๐ น. ระดับ ป.๑ - ๓/ เวลา ๑๑.๓๐ น. ป.๔-๖, ม. ๑ – ๓ ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) โรงเรียนได้มีการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านจะช่วยแก้ปัญหา ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับผู้เรียน เป็นการสร้าง พฤติกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อาทิ - กิจกรรมห้องสมุดมีชีวิตการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เวลา ๑๑.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. - กิจกรรมรักการอ่าน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนบันทึกการอ่านเป็นประจำ - กิจกรรมซ่อมเสริม เป็นรายบุคคล - นำ สื่อและนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน - การนิเทศ ติดตาม ในการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม Learning Module ที่โรงเรียนนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนสถานศึกษานำร่องพื้นที่ นวัตกรรม โรงเรียนจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม ปีการศึกษา 2566 ดังนี้ 1. ระดับปฐมวัยได้นำเสาหลักที่ 1 Gastronomy อัตลักษณ์ด้านอาหาร (หน่วยการเรียนรู้ ของหรอยภูเก็ตหยัดได้) มาใช้กับเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 2 และ ระดับชั้นอนุบาล 3 โดยจัดใน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ วันละ 20 นาที และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ วันละ 30 นาที โดย มอบหมายให้ครูประจำชั้นเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักวิทยาศาสตร์น้อย 1 จำนวน 40 ชั่วโมง/ปี จัดตารางสอนโดย บรรจุในคาบลดเวลาเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง มอบหมายให้ครูประจำชั้นเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ 3. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิทยาศาสตร์พลังสิบ 1 จำนวน 40 ชั่วโมง/ปี จัดตารางสอนโดย บรรจุในคาบลดเวลาเรียนแทน จำนวน 1 ชั่วโมง มอบหมายให้ครูประจำวิชาเป็นผู้ดำเนินการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ 4. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 การสื่อสารภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 80 ชั่วโมง/ปี จัดตารางสอน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ มอบหมายให้ครูประจำวิชาเป็นผู้ดำเนินการจัด กิจกรรมการเรียนรู้


๑๓ ความพร้อมของสื่อเทคโนโลยี (อินเตอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์) ลำดับ รายการ เพียงพอต่อการใช้ ความพร้อมใช้งาน กรณีที่ใช้งานไม่ได้ โรงเรียนมีวิธีการ แก้ปัญหาอย่างไร พร้อม ไม่พร้อม เพียงพอ ไม่เพียงพอ 1 อินเตอร์เน็ต งบประมาณที่ได้รับ (..๖๐,๐๐๐....บาท) / / 2 คอมพิวเตอร์สำหรับ งานบริหารจัดการ จำนวน ....๑๑... จำนวน ......... / 3 สื่อคอมพิวเตอร์สำหรับ นักเรียน จำนวน ..๓๕... จำนวน ............ / 4. ชื่อ-สกุล บุคลากรที่รับผิดชอบงานไอซีทีโรงเรียน นายนันทวัฒน์ สงค์รักษ์ โทร ๐๘๐๓๘๕๒๙๓๐ ปัญหาอุปสรรค ด้วยโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ธรณีสงฆ์ ทำให้พื้นที่มีบุคคลเข้าออกตลอดเวลา ทำให้การเรียน การสอนมีเสียงรบกวน อาคารเรียนอยู่ห่างกันทำให้เสียเวลาเดินเรียน ประมาณ ๕ – ๑๐ นาที แนวทางแก้ไขพัฒนา - โรงเรียนทำหนังสือแจ้ง สภ.ฉลอง ขอตู้แดงเพื่อให้ตำรวจสายตรวจเข้ามาตรวจทุก ๆ วัน - โรงเรียนได้จัดทำคำสั่งครูเวรประจำวัน เพื่อรับและดูแลความปลอดภัยนักเรียน ในเวลา ๐๗.๐๐ น. และ เวลา ๑๕.๓๐น. บริเวณหน้าโรงเรียน - โรงเรียนจัดสภานักเรียน ดูแลเรื่องการจราจร ให้กับนักเรียนตอนเช้า - ในชั่วโมงที่ต้องเดินเรียน แจ้งให้นักเรียนทราบล่วงหน้า เพื่อให้นักเรียนเตรียมตัว พร้อม อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ประกอบการเรียนการสอน ข้อค้นพบของผู้นิเทศ โรงเรียนมีความพร้อมมาก ทั้งด้านอาคารสถานที่ และครูผู้สอน


๑๔ 5. โรงเรียนบ้านฉลอง ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน............1...........คน ข้าราชการครู จำนวน...........22..........คน อื่นๆ ได้แก่...พนักงานราชการ.......................จำนวน...........1..........คน บรรยากาศความพร้อมการจัดการเรียนการสอน เปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2๕66 ความปลอดภัยของสถานศึกษา ประชุมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อมอบหมายงานและ เตรียมความพร้อมด้านต่างๆโรงเรียนมีการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยของนักเรียน ได้แก่ - แต่งตั้งครูเวรประจำวันคอยควบคุม กำกับ ติดตามดูแลการรักษาความปลอดภัยตลอด ทั้งวัน - จัดให้มีผู้รับผิดชอบปฐมพยาบาลเบื้องต้น และนำส่งสถานพยาบาล - ดูแลตัดกิ่งไม้ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย - จัดให้มีระบบการขออนุญาตออกนอกสถานศึกษา อาคารสถานที่ - มีการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม - จัดบรรยากาศในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ - สำรวจตรวจสอบความปลอดภัยของห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ ห้องส้วม โรงอาหาร และห้องพยาบาล - ร่วมกันทำความสะอาด ตัดตกแต่งกิ่งไม้ ตัดหญ้าให้สะอาด มีความปลอดภัย อาหารกลางวัน - โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันจาก อปท. เพื่อจัดอาหารกลางวัน ให้กับนักเรียน - โรงเรียนมีการจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนตามหลักโภชนาการ มีการกำหนด รายการอาหารกลางวัน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch และครูผู้รับผิดชอบ ร่วมตรวจสอบคุณภาพอาหาร ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) - โรงเรียนดำเนินการแก้ปัญหา ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ของนักเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรก ยังไม่จัดการเรียนการสอนใน 8 กลุ่ม สาระ ได้ใช้เวลาในการปรับพื้นฐานของผู้เรียนใน 3 วิชาหลัก ได้แก่ วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ การจัดการเรียนการสอนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม โรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม โดยได้ใช้โครงงาน ฐานชุมชนกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 เป็นรายวิชาเพิ่มเติม จัดการเรียนการสอน สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง


๑๕ ความพร้อมของสื่อเทคโนโลยี (อินเตอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์) ลำดับ รายการ เพียงพอต่อการใช้ ความพร้อมใช้งาน กรณีที่ใช้งานไม่ได้ โรงเรียนมีวิธีการ แก้ปัญหาอย่างไร พร้อม ไม่พร้อม เพียงพอ ไม่เพียงพอ 1 อินเตอร์เน็ต งบประมาณที่ได้รับ (......3,900.........บาท) √ √ ติดต่อบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 2 คอมพิวเตอร์สำหรับ งานบริหารจัดการ จำนวน .....4.... จำนวน ....6..... √ 3 สื่อคอมพิวเตอร์สำหรับ นักเรียน จำนวน .....15.. จำนวน .....20.. √ 4. ชื่อ-สกุล บุคลากรที่รับผิดชอบงานไอซีทีโรงเรียน..นางสาวเกสรินทร์ หนูมาก โทร 086-9457649.................. ปัญหาอุปสรรค - นักเรียนมีจำนวนเพิ่ม ทำให้โต๊ะเรียนและเก้าอี้ ไม่เพียงพอ - โรงอาหารมีความแออัด เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น - อาคารเรียนชำรุด ทำให้ไม่สามารถนำนักเรียนเข้าไปใช้งานห้องที่อยู่ในอาคารนั้นได้ (ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด) - ตำแหน่งนักการ มี 1 คน ทำให้ ดูแลไม่ทั่วถึง เนื่องจาก พื้นที่ โรงเรียนมีจำนวนมาก แนวทางแก้ไขพัฒนา - ใช้เก้าอี้พลาสติกเสริมในห้องเรียนที่มีเก้าอี้ไม่เพียงพอ - ปรับเวลาการพักกลางวันของนักเรียนออกเป็น 2 ช่วงเวลา ละจัดโต๊ะและเก้าอี้เสริม อาคารหลวงพ่อแช่ม - ครูและนักเรียนช่วยกันดูแลและทำความสะอาดพื้นที่ภายในบริเวณโรงเรียน ข้อค้นพบของผู้นิเทศ ผู้บริหาร บริหารจัดการได้ดี โรงเรียนมีความพร้อมสูงคุณครูตั้งใจทำการสอน และงานหน้าที่ อื่นๆได้เป็นอย่างดี


๑๖ 6. โรงเรียนวัดลัฏฐิวนาราม ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน............1...........คน ข้าราชการครู จำนวน...........10..........คน อื่นๆ ได้แก่...พนักงานราชการ.......................จำนวน...........1..........คน บรรยากาศความพร้อมการจัดการเรียนการสอน เปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2๕66 ความปลอดภัยของสถานศึกษา ประชุมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อมอบหมายงานและ เตรียมความพร้อมด้านต่างๆโรงเรียนมีการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยของนักเรียน ได้แก่ - แต่งตั้งครูเวรประจำวันคอยควบคุม กำกับ ติดตามดูแลการรักษาความปลอดภัยตลอด ทั้งวัน - จัดให้มีผู้รับผิดชอบปฐมพยาบาลเบื้องต้น และนำส่งสถานพยาบาล - ดูแลตัดกิ่งไม้ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย - จัดให้มีระบบการขออนุญาตออกนอกสถานศึกษา อาคารสถานที่ - มีการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม - จัดบรรยากาศในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ - สำรวจตรวจสอบความปลอดภัยของห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ ห้องส้วม โรงอาหาร และห้องพยาบาล - ร่วมกันทำความสะอาด ตัดตกแต่งกิ่งไม้ ตัดหญ้าให้สะอาด มีความปลอดภัย อาหารกลางวัน - โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันจาก อปท. เพื่อจัดอาหารกลางวัน ให้กับนักเรียน - โรงเรียนมีการจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนตามหลักโภชนาการ มีการกำหนด รายการอาหารกลางวัน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch และครูผู้รับผิดชอบร่วม ตรวจสอบคุณภาพอาหาร ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Lose) - โรงเรียนดำเนินการแก้ปัญหา ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ของนักเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรก ปรับพื้นฐานของนักเรียน การจัดการเรียนการสอนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม โรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม โดยได้ใช้โครงงาน ฐานชุมชนกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 เป็นรายวิชาเพิ่มเติม จัดการเรียนการสอน สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง


๑๗ ความพร้อมของสื่อเทคโนโลยี (อินเตอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์) ลำดับ รายการ เพียงพอต่อการใช้ ความพร้อมใช้งาน กรณีที่ใช้งานไม่ได้ โรงเรียนมีวิธีการ แก้ปัญหาอย่างไร พร้อม ไม่พร้อม เพียงพอ ไม่เพียงพอ 1 อินเตอร์เน็ต งบประมาณที่ได้รับ (......2,000.........บาท) √ √ ติดต่อบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 2 คอมพิวเตอร์สำหรับ งานบริหารจัดการ จำนวน .....4.... จำนวน ....6..... √ 3 สื่อคอมพิวเตอร์สำหรับ นักเรียน จำนวน .....23.. จำนวน ....17... √ 4. ชื่อ-สกุล บุคลากรที่รับผิดชอบงานไอซีทีโรงเรียน................... โทร .................. ปัญหาอุปสรรค อาคารเรียนมี แค่ 1 หลัง ทำให้ ไม่สามารถรับนักเรียนเพิ่มได้ทั้งหมด แนวทางแก้ไขพัฒนา รับนักเรียนได้จำกัด ต่อห้องเรียน ข้อค้นพบของผู้นิเทศ ผู้บริหาร บริหารจัดการได้ดี โรงเรียนมีความพร้อมสูงคุณครูตั้งใจทำการสอน และงานหน้าที่ อื่นๆได้เป็นอย่างดี จุดเด่น (ภาพรวมโรงเรียนเครือข่ายพรหมเทพ) 1. ผู้บริหารและครู มีความตระหนักและมีการวางแผนที่ดี บริหารจัดการตามนโยบายและ ประชุมให้ทุกฝ่ายรับทราบแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน 2. ผู้บริหารสถานศึกษา มีความรู้ ความสามารถ เป็นผู้นำทางวิขาการ ทำให้โรงเรียน ในเครือข่ายจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพตามบริบท 3. ครูยินดีที่จะเปลี่ยนแปลงและเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนในเรื่องการปรับพื้นฐาน ผู้เรียนเมื่อเข้าสู่ห้องเรียนปกติ ข้อเสนอแนะ 1. การทำหลักสูตรสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดภูเก็ต 2. การตระหนักและให้ความสำคัญ กับทักษะการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น และเน้นย้ำให้ นักเรียนท่องสูตรคูณ พัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3. เน้นความสำคัญของการนิเทศภายใน เพื่อช่วยเหลือ รับรู้ปัญหาให้ข้อเสนอแนะได้ทันที


๑๘ ภาคผนวก


๑๙ ภาพนิเทศติดตามความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์


๒๐ ภาพนิเทศติดตามความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โรงเรียนเกาะโหลน


๒๑ ภาพนิเทศติดตามความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โรงเรียนวัดลัฏฐิวนาราม


๒๒ ภาพนิเทศติดตาม ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โรงเรียนบ้านฉลอง


๒๓ ภาพนิเทศติดตาม ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีเขต


๒๔ ภาพนิเทศติดตาม ความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โรงเรียนบ้านกะตะ (ตรีทศยุทธอุปถัมภ์)


๒๕ สมุดนิเทศ


๒๖


๒๗


๒๘


๒๙


๓๐


จดหมายข่าว/ประชาสัมพันธ์


Click to View FlipBook Version