The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ 3R

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-09-18 03:26:33

แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ 3R

แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ 3R

รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ รหัส ว30103



เรื่อง แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้หลัก 3R



จัดทำโดย



สมาชิกกลุ่มที่ 9 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10



เสนอ

คุณครู รัตนา หมู่โยธา



โรงเรียนสตรีราชินูทิศ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี จ.อุดรธานี

แนวทางการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ
โดยใช้หลัก 3R

3R คือ

3R เป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการ
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถช่วยลด
ปริมาณขยะให้น้อยลง ด้วยการลดการใช้ การนำ

กลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
(Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) โดยเริ่มต้นที่
การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อ
ให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce)

การนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้
กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์

ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้
ประโยชน์ใหม่ หรือ รีไซเคิล (Recycle)

Reduce – ลดการใช้ (คิด
1 ก่อนใช้)
3R Reuse – นำกลับมาใช้ซ้ำ (ใช้
ประกอบด้วย 2 แล้วใช้อีก)
Recycle – นำกลับมา
3
ใช้ใหม่

Reduce

คือ การลดของเสียของโรงงานอุตสาหกรรม ลด
การใช้ของสิ้นเปลือง หรือ ใช้ของให้ประหยัดมาก
ที่สุด เพื่อลดปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้น ไม่ก่อให้

เกิดตั้งแต่เริ่ม

ตัวอย่างการนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน

-ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
-ใช้ปิ่ นโตใส่อาหารแทนกล่องโฟม
-ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษทิชชู
-พกแก้วน้ำส่วนตัวแทนการใช้แก้ว
พลาสติก

REUSE

การใช้ซ้ำ เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดย
การนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ ซึ่งบางอย่างอาจใช้ซ้ำ
ได้หลาย ๆ ครั้ง เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำหลายครั้งก่อน

ทิ้ง ใช้ภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้ เลือกซื้อสินค้าที่
สามารถใช้ซ้ำได้ ซึ่งนอกจากช่วยลดการเกิดขยะแล้ว
ยังช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้ได้เป็นจำนวนมาก

ตัวอย่างการนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน

-เลือกใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์ตได้
-ดัดแปลงของเหลือใช้เพื่อใช้ประโยชน์
-เสื้อผ้าเก่านำไปบริจาค หรือถูพื้น
-ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถใช้
ประโยชน์ต่อไปได้อีก

สรุปกลุ่มของสิ่งของที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ
ได้ดังนี้

1.วัสดุแก้ว ไม่ว่าจะเป็นสีขุ่น สีเขียว สีชาหรือสีใส
มีคุณสมบัติสำคัญเหมือนกัน นั่นคือทนความร้อน

สามารถล้างทำความสะอาด
เพื่อใช้ใส่อาหารหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตัวอย่าง

เช่น น้ำตาล น้ำปลา

2.กระดาษ ส่วนใหญ่ผลิตจากเยื่อของต้นไม้ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญ
ต่อสภาพแวดล้อม เราจึงควรใช้กระดาษทั้งสองด้าน รวมถึงการใช้กระดาษห่อ

ของขวัญหรือ ลังกระดาษซ้ำในงานฝีมือ ตัวอย่างเช่น เปเปอร์มาเช่

3.กระป๋องเหล็กหรืออะลูมิเนียม ก่อนส่งไปรีไซเคิลซ้ำสามารถ
นำมาประดิษฐ์กล่องใส่ดินสอหรือนำไปใช้เป็นกระถางปลูกต้นไม้ได้

4.เสื้อผ้าที่ใส่ไม่ได้ เก่าไป หรือเบื่อแล้ว อาจดัดแปลงรูป
ทรงเพื่อใส่ใหม่หรือประยุกต์เป็นถุงผ้าใส่ของ ผ้ากันเปื้ อน

ผ้าเช็ดมือ ผ้าขี้ริ้ว รวมถึงบริจาคให้ผู้อื่น

5.กล่อง กระป๋อง ขวด หรือภาชนะที่ทำจากพลาสติกซึ่งมีหลาย
ประเภทแบ่งตามชนิดของเม็ดพลาสติกที่เลือกใช้และผลิตมา
ทดแทนภาชนะแก้วหรือโลหะเพราะมีน้ำหนักเบา สะดวกแก่การพก
พา จึงสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ แต่ต้องศึกษาวิธีใช้ที่ปลอดภัย
6.ของเหลือใช้อื่นๆ เช่น ตู้เย็นเก่า เก้าอี้ไม้เก่า ยางรถยนต์เก่า
สามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน หรือประดิษฐ์ เป็นที่ใส่ของ

อเนกประสงค์ได้

RECYCLE

การนำของเสียไปเปลี่ยนสภาพ ผ่านกระบวนการต่างๆ และ
กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ด้วยวิธีอื่ นๆ

ตัวอย่างการนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างการใช้ในชีวิตประจำวัน
-เปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นกระถางปลูกต้นไม้
-คัดแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่นขวด
แก้ว กระดาษ
-เลือกซื้อสินค้าที่นำกลับมารีไซเคิลได้หรือที่
ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล
-นำกางเกงยีนส์ที่ไม่ใช้แล้วตัดทำเป็นกระเป๋า
ผ้า

สมาชิกของกลุ่ม

นางสาว ปริณมัย สุขเกตุ เลขที่1 นางสาว วรินรำไพ เกตุขำ เลขที่22

นางสาวพิมพิศา โสระศรี เลขที่33 นางสาว พิมพ์ชนก วงษา เลขที่25

ขอบคุณค่ะ


Click to View FlipBook Version