The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 09891, 2022-11-15 09:46:15

มหาเวสสันดรชาดก ตอน กัณฑ์มัทรี

มหาเวสสันดร

มหาเวชสันดรชาดก

จัดทำโดย

นางสาวมณีฉัตร แก้วแท้
ม๕/๕ เลขที่ ๓๙

เสนอ

ครูสุวรรณ ชำนาญธุระกิจ

ประวัติผู้แต่ง

เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

เกิด ช่วงอยุธยาตอนปลาย เสียชีวิต พ.ศ. ๒๓๔๘ สมัยรัชกาล๑
เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้ เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ภาชัย (บุญมี)

กับท่านผู้หญิงเจริญ มีบุตรธิดาหลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ
เจ้าจอมพุ่ม ในรัชกาลที่ ๒, เจ้าจอมมารดานิ่ม

พระมารดาสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง)ในรัชกาลที่ ๒,
นายเกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวีและครูพิณพาทย์

เจ้าพระยาพระคลัง (หน)เป็นต้นสกุล บุญ-หลง เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน
ผลงานด้านวรรณคดีที่ท่านได้แต่งไว้หลายเรื่องด้วยกัน
พระราชนิพนธ์ ในมหาเวสสันดรชาดก 2 กัณฑ์ คือ มัทรี กุมาร

ประวัติความเป็นมา

มาจากร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งใน
ทศชาติชาดก หรือที่เรียกว่า "พระเจ้าสิบชาติ" ภัณฑ์นี้เป็น
กัณฑ์ที่ 9 ในทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยกล่าวถึงเรื่องราวของพระ
โพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เติมแต่งเป็นภาษา
บาลี ต่อมามีการแปลเป็นภาษาไทยในสมัยกรุงสุโขทัย ต่อมา
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตโลกนาถ โปรดเกล้าฯให้ปราชญ์ราช
บัณฑิตแต่งมหาชาติค่าหลวง ซึ่งเป็นมหาชาติ านวนแรก โดยมี
จุด ประสงค์เพื่อใช้สวด ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้า
ให้แต่งกาพย์ มหาชาติ เพื่อใช้สำหรับเทศน์ แต่เนื้อความใน
กาพย์มหาชาติค่อนข้างยาว ไม่สามารถเทศน์ให้จบภายใน ๑
วัน จิงเกิดมหาชาติขึ้นใหม่อีกหลายสานวน เพื่อให้เทศน์จบ
ภายใน 2 วัน มหาชาติสำนวนใหม่นี้เรียกว่า มหาชาติ กลอน
เทศน์ หรือ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ต่อมาในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯโปรดเกล้าฯให้มีการ ชำระ
และรวบรวมมหาชาติกลอนเทศสำนวนต่าง ๆ แล้วคัดเลือก

สำนวนที่ ดีที่สุดของแต่ละกัณฑ์ นำมาจัดพิมพ์เป็น
ฉบับของหลวง ๒ ฉบับ คือ

ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ และ ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ

ลักษณะคำประพันธ์

แต่งเป็นร่ายยาว มีพระคาถาภาษาบาลีน่า และ
พรรณนาเนื้อความโดยมี พระคาถาสลับเป็นตอน ๆ
ไปจนจบกัณฑ์ คำประพันธ์ประเภทร่ายยาว หนึ่ง บท
จะมีกี่วรรคก็ได้ แต่ส่วนมากมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรค
หนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ ๖ คำ ขึ้นไป ถึง ๑0 คำหรือมากกว่า
มีบังคับเฉพาะระหว่างวรรค คือ คำสุดท้าย ของวรรค
จะส่งสัมผัสไปที่คำที่ ๑ ถึง ๕ ของวรรคต่อไป เมื่อจบ
ตอนมักมีค่า สร้อย เช่น นั้นแล" " แล" ร่ายยาวมหา
เวสสันดรชาดก เป็นร่ายยาวสำหรับ เทศน์ จะมีคำ

ศัพท์บาลีขึ้นก่อน แล้วแปลเป็นภาษาไทย
แล้วจึงมีร่ายตามใน ระหว่างการดำเนินเรื่องจะมี

คำบาลีคั่นเป็นระยะ เกี่ยวเนื่องกับข้อความที่
ตามมา ๓ คำบาลนั้นมีความหมาย

ลักษณะคำประพันธ์

เนื้อเรื่อง

พระนางมัทรีเสด็จเข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาปรนนิบัติพระ
เวสสันดรและสองกุมาร ขณะที่อยู่ในป่า พระนางพบว่า
ธรรมชาติผิดปกติไปจากที่เคยพบเห็น เช่นต้นไม้ที่เคยมี
ผลก็กลายเป็นต้นที่มีแต่ดอกต้นที่เคยมีกิ่งโน้มลงมาให้
พอเก็บผลได้ง่าย ก็กลับกลายเป็นต้นตรงสูงเก็บผลไม่
ถึงทั้งท้องฟ้าก็มืดมิดขอบฟ้าเป็นสีเหลืองให้รู้สึกหวาดหวั่น
เป็นอย่างยิ่งไม้คานที่เคยหาบแสรกผลไม้ก็พลัดตกจากบ่า

ไม้ตะขอที่ใช้เกี่ยวผลไม้ก็พลัดหลุดจากมือ
ยิ่งพาให้กังวลใจยิ่งขึ้นบรรดาเทพยดาทั้งหลาย
ต่างพากันกังวลว่าหากนางมัทรีกลับออกจากป่าเร็วและ
ทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาคพระโอรสธิดาเป็น
ทาน ก็จะต้องออกติดตามพระกุมารทั้งสองคืนจากชู ชก
พระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร 3 องค์ให้แปลงกายเป็นสัตว์
ร้าย 3 ตัว คือราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง ขวาง
ทางไม่ให้เสด็จกลับอาศรมได้ตามเวลาปกติ

เนื้อเรื่อง

เมื่อล่วงเวลาดึกแล้วจึงหลีกทางให้พระนางเสด็จกลับอาศรม
เมื่อพระนางเสด็จกลับ ถึงอาศรมไม่พบสองกุมารก็โศก
เศร้าเสียพระทัย เที่ยวตามหาและร้องไห้ คร่าครวญ พระ
เวสสันดรทรงเห็นพระนางเศร้าโศก จึงหาวิธีตัดความทุกข์
โศก ด้วยการแกล้งกล่าวหานางว่าคิดนอกใจคบหากับชาย
อื่น จึงกลับมาถึงอาศรมในเวลาดึกเพราะทรงเกรงว่าถ้า
บอกความจริงในขณะที่พระนางกำลังโศกเศร้าหนัก

แลกำลังอ่อนล้า พระนางจะเป็นอันตรายได้ ในที่สุดพระนา
งมัทรีทรงคร่ำครวญ หาลูกจนสิ้นสติไป ครั้นเมื่อฟื้นขึ้น
พระเวสสันดรทรงเล่าความจริงว่า พระองค์ได้ ประทาน
กุมารทั้งสองแก่ชูชกไปแล้วด้วยเหตุผลที่จะทรงบำเพ็ญ
ทานบารมีพระ นางมัทรีจึงทรงค่อยหายโศกเศร้า
และทรงอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานบารมีของ
พระเวสสันดรด้วย

ข้อคิด

• ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่
เห็นได้จากที่พระนางมัทรีมีความกังวลเมื่อมีลางร้ายหรือ
เศร้าโศกเสียใจเมื่อไม่ เจอลูกอยู่ในอาศรม
และเที่ยวออกเดินตามหาแม้จะไกลแสนไกล จนสิ้นแรง
• การเสียสละเพื่อส่วนรวม เห็นได้จากการที่พระ
เวสสันดรให้ สิ่งของต่าง ๆ แก่คนที่มาขอแม้กระทั่งลูก
ของตน
• ความซื่อสัตย์ที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและทำให้
ครอบครัวพบเจอ กับความสุข เห็นจากที่พระนางมัทรี
ซื่อสัตย์ต่อพระเวสสันดร และชี้แจงเหตุผลตามความ
จริงแม้ว่าพระเวสสันดรจะว่ากล่าว ตนเพียงใด

ข้อคิด

• รู้จักการให้ หรือการทำบุญทำทาน แต่เป็นการให้ที่พอ
ประมาณ ไม่เกินกำลังตัวเองเกินไป จนทำให้ตัวเอง
หรือผู้อื่นต้องทุกข์ใจ
• การมีสติและปัญญาจะทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหา
เฉพาะ หน้าต่าง ๆ ได้เห็นจากเหตุการณ์ที่พระ
เวสสันดรแสร้งทำเป็น ๆ หึงหวงนางมัทรีเพื่อให้นาง
มักลืมความโศกเสร้าและดึงสติกลับมาได้


Click to View FlipBook Version