The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปอด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-09-22 15:18:11

คู่มือการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปอด

คู่มือการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปอด

คู่มือการให้
ความรู้เกี่ยว
กับโรคมะเร็ง

ปอด

ผู้ จั ด ทำ
นางสาวฐิติพร จันทร์แก้ว 62124780054

ส า ข า ส า ธ า ร ณ สุ ข ศ า ส ต ร์

คำนำ




ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของ
ประชากรทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จากสถิติพบว่าโรคมะเร็งเป็น
สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 16 ของเหตุการเสียชีวิต
ทั้งหมด สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และโรคหัวใจเฉลี่ย 2
ถึง 3 เท่า หรือมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเฉลี่ย 8 รายต่อชั่วโมง ในปี
พ.ศ. 2561 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ โดยประมาณอยู่ที่
170,495 ราย และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 114,199 ราย
สำหรับ 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ มะเร็งปอด
มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ มะเร็งถุง
น้ำดี

ผู้จัดทำจึงมีวัตถุประสงค์จัดทำคู่มือการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค
มะเร็งปอดเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางป้องกันในการดูแลรักษา
การสังเกตุอาการ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อสุขภาพแข็งแรงและปลอด
ภัยมากยึ่งขึ้น

นางสาวฐิติพร จันทร์แก้ว

ผู้จัดทำ

มะเร็งปอดเก
ิดจากอะไร

มะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่
สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถ
ตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมากและแพร่กระจายไปตามบริเวณ

ต่างๆ ของร่างกาย โดยมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) : เซลล์เจริญ
เติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตรวดเร็ว ซึ่ง

พบได้ 10 – 15%
มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) :
แพร่กระจายได้ช้ากว่าและสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด หาก
ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ โดยมะเร็งชนิดนี้พบได้ประมาณ 85 – 90%

ระยะมะเ
ร็งปอด

ระยะของมะเร็งปอดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง โดยกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง
การแพร่กระจายของมะเร็ง เซลล์และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย ซึ่งระยะของ
มะเร็งนั้นมีความสำคัญต่อการรักษา เพราะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษา และหาวิธี
การรักษาที่เหมาะสม
ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ

ระยะที่ 1 ระยะจำกัด (Limited Stage) พบเซลล์มะเร็งอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำ
เหลืองข้างเดียวเท่านั้น
ระยะที่ 2 ระยะลุกลาม (Extensive Stage) เซลล์มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่อง
ทรวงอกข้างนั้น หรือกระจายสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่พบว่ามีก้อนบางอย่างอยู่ในปอด ในระยะแรกนี้ผู้ป่วยมักไม่มีการ
แสดงความผิดปกติออกมา
ระยะที่ 2 พบมะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด โดยในระยะที่ 1 และ 2
เป็นระยะที่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกจากร่างกาย
ระยะที่ 3 พบมะเร็งแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่นๆ หรือลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่กลาง
ช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้นๆ
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งกระจายตัวไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำ
เหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น

ปัจจัย
เสี่ยง

1.การสูบบุหรี่ – ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยผู้ที่
สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากถึง 10 เท่า ของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
2.ควันบุหรี่มือสอง – แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่มือสอง มือสาม จาก
กาสูดหายใจเข้าไปจะทำให้มีสารพิษตกค้างซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง
3.การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง – การสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น
โครเมียม ไรแย่หิน แร่เรดอน นิกเกิล เป็นต้น
4.สภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ – จากการศึกษาพบว่า ฝุ่น PM2.5 ทำให้มีความ
เสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1 – 1.4 เท่า ซึ่งถือว่ามีความร้อยแรงเทีย
เท่ากับการสูบบุหรี่
5.พันธุกรรม – แม้โรคมะเร็งปอดจะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง แต่พบว่า
หากมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อยๆ สมาชิกใน
ครอบครัวก็มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

สัณญาณเตือน

สัญญาณเตือนของมะเร็งปอด
อาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่

- อาการไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้
- อาการไอเป็นเลือด
- หอบเหนื่อย หายใจลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรบั หายใจเหลือ
น้อยลง หรือก้อนมะเร็งนั้นกดเบียดหลอดลม
- เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
- ปอดอักเสบ มีไข้

แต่อาการเหล่านี้ อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ของปอดได้เช่นกัน จึงไม่ใช่อาการของมะเร็งปอด
เสมอไป

อาการของระบบอื่นๆ ได้แก่
- เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- บวมที่หน้า แขน คอ และทรวงอกส่วนบนเนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
- เสียงแหบเพราะมะเร็งลุกลามไปยังเส้นประสาทบริเวณกล่องเสียง
- ปวดกระดูก
- กลืนลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดอาหาร
- อมั พาตเนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง
- มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง

ซึ่งอาการเหล่านี้ก็ไม่จำเพาะต่อโรคมะเร็งปอดเช่นกัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรได้รับ
การตรวจจากแพทย์

การตรวจวินิจฉัย

โรคมะเร็งปอดอาจตรวจพบได้จากการถ่าย
ภาพรังสีทรวงอกและการทำซีทีสแกน การ
ยืนยันการวินิจฉัยทำโดยการตัดชิ้นเนื้อปอดออกมาตรวจ การตัดชิ้นเนื้อปอดส่วนใหญ่ทำ
โดยส่องกล้องหลอดลมเพื่อเก็บชิ้นเนื้อหรือการเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้ผลตรวจซีทีช่วย
นำทาง

1.การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (biopsy)
2.การใช้เข็มขนาดเล็กตัดชิ้นเนื้อ (fine-needle aspiration)
3.การส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม (bronchoscopy)
4.การใช้เข็มเจาะช่องเยื่อหุ้มปอดแทงผ่านผนังทรวงอก (thoracentesis)
5.การตรวจช่องกลางทรวงอกโดยการส่องกล้อง (mediastinoscopy)
6.การตรวจช่องทรวงอกโดยการส่องกล้อง (thorocoscopy)
7.การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และการตรวจโดยใช้

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI): เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อน
เนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
8.การตรวจด้วยเครื่อง PET scan (positron emission tomography scan):
เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์
มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิด
ความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง

การรักษา



การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer, SCLC)
การรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นการรักษาที่จำเป็นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เนื่องจากการแพร่กระจาย
ของโรคไปยังอวัยวะอื่ นๆรวดเร็วมาก
ในผู้ป่วยที่โรคยังไม่แพร่กระจาย การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่กับการฉายแสงจะให้ผล
การรักษาที่ดีกว่าการรักษาด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว

การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (non-small cell lung cancer,
SCLC)

การรักษาจะขึ้นกับชนิดของเนื้อเยื่อมะเร็ง ระยะของโรค และระดับความสามารถของผู้
ป่วย
ในผู้ป่วยที่ระยะการดำเนินไปของโรคยังไม่มากและไม่มีการแพร่กระจายของโรค การ
รักษามักทำโดยการผ่าตัด การฉายแสงหรือเคมีบำบัด
ในผู้ป่วยที่มะเร็งปอดอยู่ในระยะลุกลาม มักจะได้รับการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนร่วม
ด้วย โดยผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีนควรได้รับการรักษาด้วยการรักษาแบบเฉพาะ
เจาะจง (targeted therapy) และผู้ป่วยที่ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีนควรได้รับการ
รักษาด้วยเคมีบำบัด

การรักษา



การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer, SCLC)
การรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นการรักษาที่จำเป็นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เนื่องจากการแพร่กระจาย
ของโรคไปยังอวัยวะอื่ นๆรวดเร็วมาก
ในผู้ป่วยที่โรคยังไม่แพร่กระจาย การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่กับการฉายแสงจะให้ผล
การรักษาที่ดีกว่าการรักษาด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว

การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (non-small cell lung cancer,
SCLC)

การรักษาจะขึ้นกับชนิดของเนื้อเยื่อมะเร็ง ระยะของโรค และระดับความสามารถของผู้
ป่วย
ในผู้ป่วยที่ระยะการดำเนินไปของโรคยังไม่มากและไม่มีการแพร่กระจายของโรค การ
รักษามักทำโดยการผ่าตัด การฉายแสงหรือเคมีบำบัด
ในผู้ป่วยที่มะเร็งปอดอยู่ในระยะลุกลาม มักจะได้รับการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนร่วม
ด้วย โดยผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีนควรได้รับการรักษาด้วยการรักษาแบบเฉพาะ
เจาะจง (targeted therapy) และผู้ป่วยที่ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีนควรได้รับการ
รักษาด้วยเคมีบำบัด

การดูแลและการป้องกัน



วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ
-การงดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสองเพื่อลด
ความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
สมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
-ใช้เครื่องฟอกอากาศ ช่วยกำจัดกลิ่นและอนุภาคในอากาศ ที่เป็น
สาเหตุกระตุ้นให้โรคหอบหืดกำเริบ เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยดูแลปอดให้
แข็งแรงได้เช่นกัน
-ฟอกปอดด้วยต้นไม้ การนำต้นไม้ หรือพืช ที่มีความสามารถตาม
ธรรมชาติในการกำจัดสารพิษจากอากาศ มาประดับในบ้าน ไม่ใช่
แค่ช่วยให้บ้านดูสวยสบายตายังช่วยให้อากาศภายในบ้านมี
คุณภาพที่ดี

เอกสารอ้างอิง



ทำความรู้จักกับมะเร็งปอด (Lung Cancer), โรง
พยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์

http://www.siphhospital.com/th/news/arti
cle/share/621/Lungcancer
มะเร็งปอด,

https://www.roche.co.th/th/disease-
areas/lung-cancer.html

มะเร็งปอด อันตรายที่ไม่มีสัญญาณเตือน
, โรงพยาบาลเพชรเวช

https://www.petcharavejhospital.com/th/A
rticle/article_detail/Lung-Cancer


Click to View FlipBook Version