The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

น.ส.อรอนงค์ เณรโสภา เลขที่25_2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 24onanongg, 2021-12-21 20:43:43

น.ส.อรอนงค์ เณรโสภา เลขที่25_2

น.ส.อรอนงค์ เณรโสภา เลขที่25_2

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

ประวัติ

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2446
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ทั้งยังเป็นผู้คิดค้นท่ารำใหม่โดยยึด
ระเบียบแบบแผนตามประเพณีโบราณ และมีความสามารถในการ
ประพันธ์บทโขนละคร เคยเป็นหม่อมในสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้า
ฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ถือเป็นหญิงสามัญชนที่
ไม่ใช่ลูกหลานขุนนางคนแรกที่ได้เป็นสะใภ้หลวง หลังสามีทิวงคตจึง
สมรสใหม่กับหม่อมสนิทวงศ์เสนี (หม่อมราชวงศ์ตัน สนิทวงศ์)
ท่านผู้หญิงแผ้วถูกประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(นาฏศิลป์) เมื่อ พ.ศ. 2528 และได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ
สาขาศิลปะ ด้านนาฏศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2529

ประวัติ

ท่านผู้หญิงแผ้วเกิดที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรคนที่สองจากทั้งหมดสามคนของเฮง
และสุทธิ สุทธิบูรณ์ มีพี่สาวชื่อทับทิม คลี่สุวรรณ และน้องชายชื่อสหัส สุทธิบูรณ์ ส่วนย่า
เคยมีตำแหน่งเป็นพนักงานฝ่ายในในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ
เธอเคยอยู่ในพระบรมมหาราชวังกับย่า แต่หลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัวเสด็จสวรรคตจึงกลับบ้านเดิมที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ขณะอายุได้แปดปี บิดามารดา
หมายจะให้เธอไปเรียนหนังสือกับเอ็ดนา ซาราห์ โคล หรือแหม่มโคล เพราะในยุคสมัย
นั้นผู้หญิงไม่ใคร่มีโอกาสได้ร่ำเรียนดั่งบุรุษเพศ ต่อมามีคนจากวังสวนกุหลาบมาบอก
กล่าว ว่าสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาทรงก่อ
ตั้งคณะละครเด็กเล็กในวัง โดยให้เรียนหนังสือและเรียนรำละครด้วย ด้วยเหตุนี้
ท่านผู้หญิงแผ้วจึงถวายตัวเข้าพระตำหนักวังสวนกุหลาบโดยมีท้าวนารีวรคณารักษ์
(แจ่ม ไกรฤกษ์) เป็นผู้ปกครอง เมื่ออยู่ที่นั่นเธอได้เล่าเรียนจนอ่านออกเขียนได้ ทั้งยัง
แตกฉานสามารถแต่งกลอนได้ดี ประกอบกับเป็นหญิงที่มีดวงหน้าสะสวย เพรียบพร้อม
ด้วยจรรยามารยาท จึงได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างเต็มที่

ประวัติ

หลังการถวายตัวเข้าวัง ท่านผู้หญิงแผ้วได้รับการฝึกฝนนาฏศิลป์จากท้าววรจันทร์ (เจ้าจอม
มารดาวาด ในรัชกาลที่ 4) เจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาล
ที่ 5 หม่อมแย้มในสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)หม่อมอึ่งในสมเด็จ
พระบัณฑูรฯ และหม่อมแก้วในเจ้าพระยาสุรวงษ์ฯ ซึ่งล้วนเป็นนางละครผู้มีชื่อ นอกจากวัง
สวนกุหลาบแล้ว เธอยังมีโอกาสไปฝึกฝนการแสดงที่วังแพร่งนราของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ สามารถรับบทเป็นตัวเอกทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เช่นแสดง
เป็น อิเหนาและดรสาจากเรื่อง อิเหนา หรือ สีดา พระพิราพ และทศกัณฐ์ จากเรื่อง รามเกียรติ์
จนทำให้เธอกลายเป็นนางละครที่มีชื่อเสียงยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่
หัว จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเธอเคยออกแสดงถวายหน้าพระ
พักตร์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาแล้วหลายครั้ง
ท่านผู้หญิงแผ้วสำเร็จการศึกษาวิชาสามัญจากโรงเรียนในวังสวนกุหลาบ และสำเร็จการ
ศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ. 3) จากโรงเรียนประชาพิทยากร นอกจากนี้เธอยังมีความ
รู้ด้านภาษาฝรั่งเศสจากภคินีที่โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ และศึกษาภาษาอังกฤษจากคุณ
หญิงดอรีส ราชานุประพันธ์ ทั้งมีความรู้ด้านมารยาททางสังคมและการปฏิบัติตน

ผลงาน

ผลงานเกี่ยวกับการแสดงศิลปะนาฏกรรม เช่น ท่ารำของตัวพระ นาง ยักษ์ ลิง
และตัวประกอบ การแสดงโขน ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ละครพันทาง
และระบำฟ้อนต่างๆ เป็นผู้คัดเลือกการแสดง จัดทำบทและเป็นผู้ฝึกสอน ฝึก
ซ้อม อำนวยการแสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่ง ในวโรกาสต้อนรับพระ
ราชอาคันตุกะ อาคันตุกร และงานของรัฐบาล หน่วยงานองค์กรต่างๆ จัด
ต้อนรับเป็นเกียรติแก่แขกผู้มาเยือนประเทศไทย เป็นผู้คัดเลือกตัวละครให้
เหมาะสมตามบทบาทในการแสดงต่างๆ เป็นผู้คัดเลือกการแสดงวางตัวศิลปิน
ผู้แสดงต่างประเทศเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
เป็นผู้ฝึกสอนและอำนวยการฝึกซ้อมในการแสดงโขน ละคร การละเล่นพื้นเมิง
ระบำรำฟ้อนต่างๆ ที่กรมศิลปากรจัดแสดงแก่ประชาชน ณ โรงละครแห่งชาติ
สังคีตศาลา ในต่างจังหวัดและทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ตลอดทั้งร่วมในงาน
ของหน่วยราชการ องค์กร สถาบันการศึกษา และเอกชน เป็นวิทยากรบรรยาย
และตอบข้อซักถามในการอบรมวิชานาฏศิลป์และวรรณกรรม และเป็นที่ปรึกษา
ในการสร้างนาฏกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นด้วย

ผลงาน

ในด้านบทวรรณกรรมสำหรับใช้แสดง ได้ค้นคิดปรับปรุง เสริมแต่งให้เหมาะสม
กับยุคสมัย ดำเนินไปโดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนอันมีมาแต่ดั้งเดิม เช่น
บทละครเรื่องอิเหนา ตอนเข้าเฝ้าท้าวดาหา ตอนลมหอบ ตอนอุณากรรมชนไก่
ตอนบุษบาชมศาล ตอนศึกกระหมังกุหมิง ตอนประสันตาต่อนัก เรื่องสังข์ทอง
ตอนเลียบเมือง ตอนเลือกคู่หาปลา ตอนตีคลี ตอนนางมณฑาลงกระท่อม เรื่อง
ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก ตอนพระไวยแตกทัพ เรื่องไกร
ทอง ตอนที่ 1 ตะเภาแก้ว ตะเภาทอง และบริวารไปเล่นน้ำ ตอนที่ 2 ตามนางวิ
มาลากลับไปถ้ำ เรื่องพระอภัยมณี ตอนพบนางละเวง ตอนนางละเวงพบดินถนัน
ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร เรื่องไชยเชษฐ์ ตอนนางสุวิญชาถูกขัน ตอนที่ 1 และตอน
ที่ 2 เรื่องมโนราห์ บางตอนเกี่ยวกับพรานบุญ เรื่องรถเสนบาง เรื่องแก้วหน้าม้า
ตอนถวายลูก เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ตอนท้าวเสนากุฏเข้าเมือง เรื่องเงาะป่า เรื่องคาวี
ตอนได้นางใจกลองศึก เรื่องสุวรรณหงส์ ตอนเสี่ยงว่าว-ชมถ้ำ บทโขน ตอน ปราบ
กากนาสูร ตอนไมยราพสะกดทัพ ตอนศึกบรรลัยกัลป์ ตอนปล่อยม้าอุปกา


Click to View FlipBook Version