The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

มหาเวสสันดรชาดก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by vbbdc24, 2022-12-06 09:45:56

มหาเวสสันดรชาดก

มหาเวสสันดรชาดก

มหาเวสสั นดรชาดก

ตอน กัณฑ์มัทรี

ผู้จัดทำ

นางสาวประสิตา ดำใหม่
ม.๕/๒ เลขที่ ๒๙

ผู้แต่ง

เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

เจ้าพระยาพระคลัง มีนามเดิมว่า หน
เป็นเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า เดิมเป็น
หลวงสรวิชิต เคยตามเสด็พระราชดำเนิ น
ราชการสงคราม ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้ง
หลวงสรวิชิตรับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี มี
ความดีความชอบมากโดยเฉพาะฝีมือในการ
เรียบเรียงหนั งสือ รัชกาลที่ ๑ จึง โปรดเกล้า
ให้ตั้งเป็น พระยาพิพัฒโกษา
ต่อมาตำแหน่ งเจ้าพระยาพระคลังว่างลง รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯ แต่ง
ตั้งพระยาพิพัฒโกษาขึ้นเป็นเจ้าพระยา พระคลัง (หน) เจ้าพระยาพระคลัง
มีบุตรธิดาหลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ เจ้าจอมพุ่ม ในรัชกาลที่ ๒ เจ้าจอม
มารดานิ่ ม พระมารดาสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง) ในรัชกาลที่ ๒
นายเกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวีและครูพิณพาทย์ เป็นต้นสกุล บุญ-หลง
และถึงแก่อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๑
พ.ศ. ๒๓๔๘
ผลงาน
แต่งในสมัยกรุงธนบุรี : ลิลิตเพชรมงกุฎ,อิเหนาคำฉันท์
แต่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : สามก๊ก,ราชาธิราช,ร่ายยาวมหาชาติ
กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี

ลักษณะคำประพันธ์

มหาเวสสันดรชาดกเป็นมหาชาติกลอนเทศน์ มีลักษณะคำ
ประพันธ์เป็นร่ายยาวที่มีคาถาบาลีนำ

ที่มาของเรื่อง

มาจากร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นชาดกเรื่องที่ยิ่ง
ใหญ่ที่สุด โดยกล่าวถึงเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติ
เป็นพระเวสสันดร เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี ต่อมามีการแปลเป็น
ภาษาไทยในสมัยกรุงสุโขทัย

จุดประสงค์ของการแต่ง

เพื่อที่จะนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาสอนประชาชน

เนื้ อเรื่องย่อ

พระนางมัทรีฝันร้ายว่ามีบุรุษมาทำร้าย จึงขอให้พระ
เวสสันดรทำนายฝันให้ แต่พระนางก็ยังไม่สบายพระทัย ก่อน
เข้าป่า พระนางฝากพระโอรสกับพระธิดากับพระเวสสันดรให้
ช่วยดูแล หลังจากนั้ นพระนางมัทรีก็เสด็จเข้าป่าเพื่อหาผลไม้
มาปรนนิ บัติพระเวสสันดรและสองกุมาร ขณะที่อยู่ในป่า
พระนางพบว่าธรรมชาติผิดปกติไปจากที่เคยพบเห็น เช่นต้นไม้
ที่เคยมีผลก็กลายเป็นต้นที่มีแต่ดอก ต้นที่เคยมีกิ่งโน้ มลงมา
ให้พอเก็บผลได้ง่าย ก็กลับกลายเป็นต้นตรงสูงเก็บผลไม่ถึง
ทั้งท้องฟ้าก็มืดมิด ขอบฟ้าเป็นสีเหลืองให้รู้สึกหวั่นหวาดเป็น
อย่างยิ่ง ไม้คานที่เคยหาบแสรกผลไม้ก็พลัดตกจากบ่า ไม้
ตะขอที่ใช้เกี่ยวผลไม้พลัดหลุดจากมือ ยิ่งพาให้กังวลใจยิ่งขึ้น
บรรดาเทพยดาทั้งหลายต่างพากันกังวลว่า หากนางมัทรีกลับ
ออกจากป่าเร็วและทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาคพระ
โอรสธิดาเป็นทาน ก็จะต้องออกติดตามพระกุมารทั้งสองคืน
จากชูชก

เนื้ อเรื่องย่อ

พระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร 3 องค์ให้แปลงกายเป็นสัตว์
ร้าย 3 ตัว คือราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง ขวางทางไม่ให้
เสด็จกลับอาศรมได้ตามเวลาปกติ เมื่อล่วงเวลาดึกแล้วจึงหลีก
ทางให้พระนางเสด็จกลับอาศรม เมื่อพระนางเสด็จกลับถึง
อาศรมไม่พบสองกุมารก็โศกเศร้าเสียพระทัย เที่ยวตามหาและ
ร้องไห้คร่ำครวญ พระเวสสันดรทรงเห็นพระนางเศร้าโศก จึง
หาวิธีตัดความทุกข์โศกด้วยการแกล้งกล่าวหานางว่าคิด
นอกใจคบหากับชายอื่น จึงกลับมาถึงอาศรมในเวลาดึก เพราะ
ทรงเกรงว่าถ้าบอกความจริงในขณะที่พระนางกำลังโศกเศร้า
หนั กและกำลังอ่อนล้า พระนางจะเป็นอันตรายได้ ในที่สุดพระ
นางมัทรีทรงคร่ำครวญหาลูกจนสิ้นสติไป ครั้นเมื่อฟื้ นขึ้น
พระเวสสันดรทรงเล่าความจริงว่า พระองค์ได้ประทานกุมาร
ทั้งสองแก่ชูชกไปแล้วด้วยเหตุผลที่จะทรงบำเพ็ญทานบารมี
พระนางมัทรีจึงทรงค่อยหายโศกเศร้าและทรงอนุโมทนาใน
การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสั นดรด้วย

ข้อคิดจากเรื่อง

๑. ความรักของแม่ที่มีต่อลูกนั้ นยิ่งใหญ่นั ก
๒. ผู้ที่ปรารถนาสิ่งต่างๆ อันยิ่งใหญ่จะต้องทำด้วยความ
อดทนและเสี ยสละอันยิ่งใหญ่ด้วย
๓. ความซื่อสัตย์ระหว่างสามีภรรยาทำให้ชีวิตครอบครัว
มีความสุข
๔. ผู้มีปัญญาย่อมแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้ าได้ดี

คุณค่าที่ได้รับ

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑. ใช้ถ้อยคำไพเราะ มีการเล่นคำ เล่นสัมผัสอักษร มีการใช้
โวหารภาพพจน์ และการพรรณนาให้เกิดความรู้สึกที่ละเอียด
อ่อน รวมทั้งเกิดจินตภาพชัดเจน
๒. แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับอารมณ์
ความรู้สึ กของตัวละครได้อย่างชัดเจน

คุณค่าด้านสั งคม

๑. สะท้อนให้เห็นค่านิ ยมแนวโลกุตตรธรรมของประชาชนว่า มี
ความปรารถนาจะบรรลุสั มมาสั มโพธิญาณ
๒. เป็นภาพสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนี ยม และค่า
นิ ยมของคนในยุคนั้ น ๆได้ดี
๓. ให้แง่คิดเกี่ยวกับบทบาทหน้ าที่ของผู้หญิงในฐานะที่เป็นแม่
และเป็นภรรยาที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเหนื อสิ่งอื่นใด
๔. สะท้อนแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับความรักของแม่ที่มีต่อลูก
อย่างสุดชีวิต
๕. การเป็นคู่สามีภรรยาที่ดี การเสียสละ เป็นคุณธรรมที่น่ า
ยกย่อง และการบริจาคทาน เป็นการกระทาที่สมควรได้รับการ
อนุโมทนา


Click to View FlipBook Version