จัดทำ โดย นางสาวธัญญารัตน์ อุทธา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/3 เลขที่9 เสนอ นางสุภัทรกุล มั่นหมาย โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสุรินทร์ ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสุรินทร์ ผ้าไหม จังหวัดสุรินทร์
1 คำ นำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้ได้กล่าวถึงเรื่องราวของ ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม สิ่งประดิษฐ์จาก ภูมิปัญญาท้อง ถิ่นเมืองสุรินทร์ ผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ได้สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของ ผ้าไหม และประเภทของ ผ้าไหมผู้จัดทำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้ได้สรุปเนื้อหาเพื่อใช้เป็นสี่ประกอบการ การสอนในรายวิชา งาน ประดิษฐ์(ง33102) และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ ฉบับนี้จะสร้างประโยชน์ ให้กับผู้ที่ศึกษาต่อไป ผู้จัดทำ ขอขอบคุณ นายเสกสันต์ สัมฤทธิ์ผู้อำ นวยการผู้อำ นวยการโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน และคุณครูประจำ วิชานางสุภัทรกุล มั่่่นหมาย เป็นอย่างสูงที่ได้ให้คำ แนะนำ ในด้านการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้ หากมี ข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำ ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย จัดทำ โดย นางสาวธัญญารัตน์ อุทธา
2 สารบัญ เรื่อง ประวัติผ้าไหม จังหวัดสุรินทร์ การปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหม การสาวไหม การย้อมสี การทอผ้าไหม เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า การทอมัดหมื่ ลวดลายผ้าไหม สิ่งประดิษฐ์ที่ทำ จากผ้าไหม อ้างอิง หน้า 3 4 5 6 7 8 9 10 11-19 20
จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทาง วัฒนธรรม มานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่สนใจยิ่ง หากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว จะค้นพบเหตุผล หลายประการที่สนับสนุนว่า จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหมตลอดจนประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของ ผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และกรรมวิธีการทอ จังหวัดสุรินทร์นิยมนำ เส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก "โชกซัก" มาใช้ในการทอผ้า ไหม น้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบายนอกจากนี้การทอผ้าไหมของ จังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและ ความชำ นาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำ ให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรม ราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีก ทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย 3 ประวัติผ้าไหม จังหวัดสุรินทร์
(๑)พื้นที่เลี้ยงไหมต้องอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ๒๐ จังหวัด (๒) กระบวนการเลี้ยงไหมจนได้รังไหม โรงเลี้ยงไหม และวัสดุอุปกรณ์ ต้องสะอาดและปลอดภัย ไหมวัยอ่อน : ให้ใบหม่อนที่มีขนาดเหมาะสมแก่วัยไหม และมีการเลี้ยงอย่างถูกต้องและ เหมาะสมกับ สภาพพื้นที่ ไหมวัยแก่ : ให้ใบหม่อนที่มีขนาดเหมาะสมแก่วัยไหม และมีการเลี้ยงอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพ พื้นที 4 การปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหม (๑) พื้นที่ปลูกหม่อนต้องอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) (๒) กรรมวิธีในการดูแลรักษาแปลงหม่อนต้องปลอดภัยจากสารพิษ (๓) สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกหม่อน (๔) พันธุ์หม่อนเป็นพันธุ์พื้นบ้านและพันธุ์ส่งเสริม (๕) คุณภาพใบหม่อนต้องดีเหมาะสมในการเลี้ยงไหมในแต่ละวัย (๖) มีการดูแลรักษาต้นหม่อนอย่างสม่ำ เสมอ๔๒ กรณีซื้อรังไห การเลี้ยงไหม
5 การสาวไหม เมื่อได้รับไหมสดจะต้องนำ ไปอบให้แห้ง จากนั้นนำ หมที่อบแห้งไปต้มในน้ำ ที่สะอาดที่มีคุณสมบัติเป็น กลาง รัง ไหมจะเริ่มพองตัวออก ใช้ปลายไม้เกี่ยวเส้นใยออกมารวมกันหลายๆ เส้น การสาวต้องเริ่มต้นจากขุย รอบนอก และเส้นใยภายในรวมกัน เรียกว่า" ไหมสาว " หรือ " ไหมเปลือก " ครั้นสาวถึงเส้นใยภายในแล้ว เอารังไหมที่มี เส้นภายในแยกไปสาวต่างหากเรียกว่า " เส้นไหมน้อย "หรือ ไหมหนึ่ง " ผู้สาวไหมต้องมีความ ชำ นาญและ ทักษะจึงจะได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดี เมื่อเติมรังไหมลงไปอีก รังไหมใหม่สามารถรวมเส้นกับรังไหม เก่าได้ โดยไม่ ทำ ให้เส้นไหมขาด การตีเกลียว การตีเกลียวไหมจะช่วยทำ ให้ผ้าที่จะทอมีความหนา หลังจากเอาไหมสองไหมสามออก ใช้ไม้คีบ ลักษณะ คล้ายไม้พาย มีร่องกลางสำ หรับคีบ เกลี่ยรังไหมกดให้เส้นไหมตีเกลียวแน่นดูเล็ก ต้องระมัดระวัง ต่อจากนั้นจะ นำ มากรอเข้า " กง " แล้วนำ ไปหมุนเข้า " อัก " เพื่อตรวจหาปุ่มปม หรือ ตัดแต่งเส้น ไหมที่ไม่เท่ากันออก จึง เอาเข้าเครื่องปั่นเพื่อให้เส้นไหมแน่นขึ้น เรียกว่า " ไหมดิบ "เส้นไหมดิบที่ได้จะต้องทำ การชุบให้อ่อนตัว หมั่น กระตุกให้เส้นไหมแยกตัวเพื่อนำ ไปเข้าระวิงได้จาก นั้นก็กรอเส้นไหมเข้า หลอดๆ ละเส้น แล้วดึงปลายไหม แต่ละหลอดเข้าไปรวมกัน ม้วนเข้าหลอดควบตามขนาดที่ต้องการ เพื่อป้องกันมิให้เกลียว เส้นไหมหมุนกลับ หลังจากนั้นก็จะชุบน้ำ เย็นแล้วกรอเข้าระวิง เรียกว่า " ทำ เข็ด " ซึ่งจะทำ ให้เกลียวอยู่ตัว
6 การย้อมสี การย้อมสีไหมจะต้องนำ ไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหมเรียกว่า " การ ดองไหม " จะทำ ให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงนำ ไปย้อม ในสมัยก่อนนิยมใช้สีจากธรรมชาติ เช่น สีแดงจากครั้ง , ผลและใบคำ แสด , รากยอป่า , มะไฟป่า หรือรากของต้นเข็ม สีเหลืองจากแก่นของต้นเข สีจำ ปาหรือสีส้มจากดอก คำ แสดหรือดอกกรรณิการ์ สีน้ำ เงินจากต้นคราม สีเขียวจากเปลือกไม้มะหูด สีเขียว มะกอกจากแก่นไม้ขนุน เปลือก นนทรีและเปลือกต้นตะแบก สีไพลจากใบสัปปะรดอ่อนกับน้ำ มะนาว สีน้ำ ตาล จะต้นหมาก สีม่วงจากต้นหว้า สีดำ จากมะเกลือ ,รากต้นชะพลูและสมอ แต่ปัจจุบันการย้อมด้วยสีธรรมชาติ เริ่มหายไป เนื่องจากมีสีวิทยาศาสตร์เข้ามา แทนที่ ที่หาซื้อง่ายตามร้านขายเส้นไหมหรือผ้าไหม เมื่อละลายน้ำ จะแตกตัว ย้อมง่าย สีสดใสราคาค่อนข้างถูก ทน ต่อการซักค่อนข้างดี การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำ ให้สีของผ้า งดงาม สัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติด สีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย วิธีย้อมคือ การนำ คั้นเอาน้ำ จาก พืชที่ให้สีนั้นๆ ต้มให้เดือด จากนั้นนำ ไหม ชุบน้ำ ให้เปียกบิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้นจึงแช่ในน้ำ ย้อม สี นำ ไปผึ่งให้แห้ง จะได้ไหมสีตามต้องการ
การทอผ้าถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีการใช้ศิลปะหัตกรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานแต่โบราณ ผ้า ไหมของแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะ พื้นที่ สังคมและวัฒนธรรม ผ้าไหมสุรินทร์โดยส่วนใหญ่ใช้ เส้นไหมน้อยเป็นวัตถุดิบในการผลิต เพราะมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความเงางามจากเส้นไหมมีเส้นใยเล็กเรียบ นุ่ม แต่ เดิมนั้น การทอผ้าไหมของชาวสุรินทร์มักนิยมทอไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานบุญและงานพิธีต่างๆโดยจะนิยมทอผ้า หลังจากสิ้นสุดในฤดูที่ว่างเว้นจากการทำ นานับจากอดีตจนถึงปัจจุบันชาวสุรินทร์ได้คิดค้น พัฒนา ปรับปรุงคุณภาพผ้าไหมมาอย่างต่อเนื่อง มีการสั่งสมประสบการณ์ทักษะการทอ โดย ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น 7 การทอผ้าไหม วิธีการทอผ้า ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำ เนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำ เชือก ทอ เสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำ นวนมาก ตามแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึง กล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกงานหนึ่งหลักของการทอผ้า ก็คือการทำ ให้เส้นด้ายสองกลุ่ม ขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืนและอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัด กันของด้ายพุ่งและด้ายยืนจะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามี ลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา
เทคนิคพิษที่ใช้ในการทอผ้า การขิด ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่ง พิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำ คือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้น ด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดซ้อน จังหวะการสอดเส้น ด้ายพุ่งนี้เอง ที่ทำ ให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ การจก เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำ ให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำ สลับสี ลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสีเดียว การทอผ้าวิธีจกใช้ เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวชิ่น เรียกว่า "ชิ่นตีนจก" 8
การทอมัดหมี่ ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำ เส้นด้ายหรือไหมมา ย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำ ไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วนโดยย้อมเรียงลำ ดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจน ครบ ตามลวดลายที่กำ หนด หลังจากนั้นจึงนำ ด้ายกรอเข้าหลอดตามลำ ดับ แล้วนำ ไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มี ลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อม ล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำ นาญใน การมัด ย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ 1. มัดหมีเส้นพุ่ง 2. มัดหมี่เส้นยีน 3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยื การทอผ้ายก เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำ นวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และ ความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์ ลายพีช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลาย เรขาคณิตการทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำ นาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ 1. มัดหมี่เส้นพุ่ง 2. มัดหมี่เส้นยืน 3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน 19
10 ลวดลายผ้าไหม ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำ เส้นด้ายหรือไหมมา ย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำ ไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วนโดยย้อมเรียงลำ ดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจน ครบ ตามลวดลายที่กำ หนด หลังจากนั้นจึงนำ ด้ายกรอเข้าหลอดตามลำ ดับ แล้วนำ ไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มี ลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อม ล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำ นาญใน การมัด ย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ มัดหมีเส้นพุ่ง มัดหมี่เส้นยีน มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยื 2. ผ้าอัมปรม,อันปรม อัมปรม เป็นผ้ามัดหมี่สองทางคือ โดยมีการมัดย้อมทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ซึ่งแตกต่างจากผ้ามัดหมี่ทั่วไปของ ประเทศไทยที่ส่วนใหญ่เป็นมัดหมี่เฉพาะเส้นพุ่ง อัมปรม เป็นผ้ามัดหมี่ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรในบริเวณอิสาน ใต้ ได้แก่ บริเวณจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ การทอผ้าแบบนี้มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย 3.ผ้าสมอ,ผ้าสะมอ,ซมอ ผ้าสะมอ เป็นผ้าของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรในบริเวณอิสานใต้ ได้แก่ บริเวณจังหวัดสุรินทร์บุรีรัมย์ เป็นผ้าในกลุ่ม ของผ้าลายอันลูน หรือผ้าลายตาราง ซึ่งใช้ไหมพุ่งและไหมยืนหลายสีแบบเดียวกัน ทอขัดกัน เกิดเป็นตาราง ผ้าดัง กล่าวนิยมใช้ในกลุ่มหญิงสูงวัยใช้นุ่งอยู่บ้าน 4. ผ้าอันลุยซึม,อันลูนซึม,อันลูญซึม ผ้าอันลูนซึม เป็นผ้าในกลุ่ม ผ้าลายอันลูนหรือผ้าลายตาราง เป็นผ้าของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรในบริเวณอิสานใต้ ได้แก่ บริเวณจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ซึ่งใช้ไหมพุ่งและไหมยืนหลายสีแบบเดียวกันทอขัดกัน เกิดเป็นตาราง ถ้ามีขนาด ใหญ่เรียกว่า อันลูนธม ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ผ้า ดังกล่าวนิยมใช้ในกลุ่มหญิงสูงวัยใช้นุ่งอยู่บ้าน 5.ผ้าละเบิก ผ้าอันลูนซึม เป็นผ้าในกลุ่ม ผ้าลายอันลูนหรือผ้าลายตาราง เป็นผ้าของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรในบริเวณอิสานใต้ ได้แก่ บริเวณจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ซึ่งใช้ไหมพุ่งและไหมยืนหลายสีแบบเดียวกันทอขัดกัน เกิดเป็นตาราง ถ้ามีขนาด ใหญ่เรียกว่า อันลูนธม ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ผ้า ดังกล่าวนิยมใช้ในกลุ่มหญิงสูงวัยใช้นุ่งอยู่บ้าน
1.ชุดผ้าไหมมัดหมี่ลายช้างม้าปราสาท ใช้ไหมบ้านสาวมือ มัดหมี่ลายช้างม้าและลายปราสาท ซึ่งเป็นเอกลักษร์อีกแบบของ สุรินทร์ ทอมือทั่งผืน ยกดอกลายลูกแก้ว เนื้อนิ่มและหนา 2.ผ้าไหมทอยกดอก ผ้าทอที่โดดเด่นด้วยผิวสัมผัสสูงต่ำ ซึ่งผสานเข้าไว้ด้วยกันในเนื้อเดียว เทคนิคการทอ ผ้ายกดอกสามารถสร้างลวดลายแบบพิเศษ สร้างลวดลายด้วยการทอยกสลับเส้นไหม เชิดขึ้นเรียกว่า "ยก" และเส้นไหมที่จมลงเรียกว่า "ข่ม" ในบางครั้งเพื่อให้ได้ลวดลายที่ สวมงามยิ่งขึ้น 11 สิ่งประดิษฐ์ที่ทำ จากผ้าไหม
สิ่งประดิษฐ์ที่ทำ จากผ้าไหม 3.ประดิษฐ์ผีเสื้อจากผ้าไทย โดยผีเสื้อที่ประดิษฐ์จะใช้เศษผ้าไหมจากชุมชนต่างๆ เสมือนเป็นการรีไซเคิลเศษผ้าให้มี คุณค่าแทนที่จะนำ ไปทิ้ง 4.พวกกุญแจจากผ้าไหม เป็นผลิตภัณฑ์มาจากผ้าด้นมือ โดยการนำ เศษผ้าด้นมือที่เหลือใช้มาออกแบบชิ้นงานเป็น พวงกุญแจ มีหลากหลายขนาด หลายรูปแบบ มีความสวยงาม คงทน เหมาะเป็นของใช้ เป็นของขวัญ ของฝาก ของที่ระลึก ในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณค่า 12
สิ่งประดิษฐ์ที่ทำ จากผ้าไหม 5.ผ้าถุงจากผ้าไหม ผ้าถุง/ย่าม/ทอจากผ้าไหมประดิษฐ์ ทำ จากใยสังเคราะห์ มีความสวยงามและราคา ย่อมเยา สามารถนำ ไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าได้หลากหลายแบบ 6.ผ้าไหมทอยกดอก ร่มผ้าไหม" เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช้านาน มีการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่ม มูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน 13
สิ่งประดิษฐ์ที่ทำ จากผ้าไหม 7.กระโปรงที่ทำ จากเศษผ้าไหม การตัดเย็บ ก็เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงได้นำ มาตัดต่อเป็นฝืนผ้า ฝืนใหญ่ แล้วนำ มาตัดเย็บเป็นกระโปรงไหม ผ้าต่อหลากหลายสี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ กับผลิตภัณฑ์ของเรา เหมาะกับการสวมใส่ตามสมัยนิยม แฟชั่น 8.ปลาตะเพียนผ้า ปลาตะเพียนจากผ้า มีทั้งผ้าต่วน ผ้าไหม สามารถซักล้างได้ มีความคงทนมากกว่า ปลา ตะเพียนใบลาน สามารถโดนน้ำ ได้ ไม่มีเชื้อรา 14
สิ่งประดิษฐ์ที่ทำ จากผ้าไหม 9.เข็มกลัดผีเสื้อจากผ้าไหม เข็มกลัดผีเสื้อจากผ้าพื้นเมือง ช่วยเพิ่มมูลค่าผ้าไหมที่มีลวดลายสวยงาม ให้คงความงาม แบบมีอัตลักษณ์ของลายผ้าไหมผ้าพื้นเมืองไว้อย่างสวยงาม เหมาะเป็นของฝากของ ที่ ระลึก 10.ตุ๊กตาช้างผ้าไหม ตุ๊กตาช้างผ้าไหมสีสันสวยงามและหมอนใบสวยที่รูปทรงก็ยังคงเป็นช้างเช่นกันเป็นที่ นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ 15
สิ่งประดิษฐ์ที่ทำ จากผ้าไหม 11.หมอนผ้าไหม หมอนผ้าไหม ทำ จากผ้าไหมยัดด้วยใยนุ่น ตกแต่งด้วยพู้ที่ทำ จากเส้นไหม มีหลากหลายล วดลวยที่สวยงาม เหมาะแก่การนำ ไปตกแต่งบ้าน หรือนำ ไปเป็นของฝาก 12.กระเป๋าผ้าไหม เป็นผ้าไหมพื้นเมืองจากกลุ่มผู้ทอผ้าต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนและสร้างรายได้ให้ กลุ่มชุมชนผู้ทอผ้า ซึ่งเป็นกระเป๋าแฟชั่นรูปแบบผสมที่ใช้ได้ในชีวิตประจำ วัน ทั้งยังได้รับ ความสนใจจากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ 16
สิ่งประดิษฐ์ที่ทำ จากผ้าไหม 13.ตุ้มหูผ้าไหม เศษผ้าผ้าทอมือ หรือเศษผ้าไหม ที่ไม่ได้ใช้แล้วสามารถนำ มาเพิ่มมูลค่าได้ด้วยการนำ มาสร้างสรรค์ทำ เป็นพวกเครื่องประดับต่าง ๆ ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ต่างหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ 14.กระเป๋าสะพายข้างผ้าไหม กระเป๋าสะพายข้าง ผ้าไหมสังเคราะห์ทอลายไทยทรงบอย ผ้าไหมสังเคราะห์ทอลายไทย ลายพระราชทานตะขอ งามอย่างไทยทรงสวย สายสะพายยาวปรับระดับได้ 17
15.หมวกผ้าไหม หมวกผ้าไหมแต้มหมี่ที่ถูกบรรจงถักทอ ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการผลิตเพียงเล็กน้อยก็ได้ผ้า ไหม ดัดแปลงสร้างความแปลกใหม่ 16.เบาะรองนั่ง เบาะรองนั่งในรถยนต์ผ้าไหม เพิ่มมูลค่าได้ด้วยการนำ มาสร้างสรรค์ 18 สิ่งประดิษฐ์ที่ทำ จากผ้าไหม
19 อ้างอิง ผ้าไหมสุรินทร์ (2553), ประวัติผ้าไหมสุรินทร์ (ออนไลน์) ได้จาก https://homyeesun.wordpress.com (สืบค้นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566) คู่มือผ้าไหมสุรินทร์. (2553).การผลิตผ้าไหมสุรินทร์.(ออนไลน์).ได้ จากhttps://gsds.go.th/wp-_ content/uploads/2017/pdf/2013-07-25- Handbook_of_indigenous _Thai_Silk_Yarn.pdf (สืบค้นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 )
ขอบพระคุณค่ะ 20